ทิศทาง เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ สคส. 2550


         วันที่ 20 ก.พ.2550   เป็นวันประวัติศาสตร์ของ สคส.   เราจัด workshop ภายในของ สคส. เพื่อร่วมกันใช้สมองซีกขวา  แสวงหาทิศทาง  เป้าหมาย  และยุทธศาสตร์ของ สคส. ในปี 2550  และในระยะที่ 2 (2551 - 2555)  ถ้าจะมี

         "คุณลิขิต" ประจำงานนี้คือคุณอุ   จะรายงานรายละเอียดให้ทราบกันนะครับ   ผมจะสรุปโดยย่อที่สุดว่า   เรามองว่าควรมี สคส. ทำงานขับเคลื่อน KM ประเทศไทยร่วมกับภาคีต่อไป   โดยจะต้องทำงานให้ทะมัดทะแมงและ commit การทำงานร่วมกับภาคีอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น   และทำงานร่วมกันเป็นระยะเวลาที่ยาว (เช่น 2 ปี) เพื่อการเรียนรู้ร่วมกันอย่างใกล้ชิด

Keyword ของแนวทางที่จะเปลี่ยนไป ได้แก่
      - ยุทธศาสตร์ KM Plus คือจะมีการใช้ Multiple tools มากขึ้น
      - ยุทธศาสตร์ KM -2 หรือ KM กำลังสอง คือทำ KM ซ้อน KM ร่วมกับ KM Team ของหน่วยงาน  เพื่อเชื่อมโยงกับ KPI ของหน่วยงานภาคี
      - ยุทธศาสตร์ Research ontop KM เพื่อสังเคราะห์ความรู้แจ้งชัดเกี่ยวกับ KM จากกิจกรรมของภาคี
      - ยุทธศาสตร์ "ตัวป่วน"  หรือ change agent ทั้งที่เป็น "คุณอำนวย" และที่เป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กร
      - ยุทธศาสตร์ area - based เพื่อใช้ KM สร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นที่   โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน,  เศรษฐกิจพอเพียง,  อยู่ดีมีสุข

วิจารณ์  พานิช
 20 ก.พ.50

หมายเลขบันทึก: 79813เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2007 10:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียน ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์

แล้วจะมีกลยุทธ์และยุทธวิธีออกมาอีกไหมครับ หรือว่าจะให้แต่ละคนไปต่อยอดเจดีย์เอาเอง ครับ

เผื่อใครจะชอบแบบทรงเหลี่ยมแบบธาตุพนม หรือทรงกลมแบบนครปฐม  จะได้ทำตามสะดวกครับ

เป้าหมาย สคส. - Value Creation ของธนาคารโลก - สศช. - สื่อมวลชน

ข้อสรุปโดยย่อข้างต้น ไม่ได้บอกว่าเป้าหมายของสคส.ในปี 2550-51 ได้แก่อะไรบ้าง แต่ประโยคที่ได้ยินซ้ำ ๆ คือจะขับเคลื่อน KM ในสังคมไทยต่อไป ขับไปไหน ๆ ก็ได้ แต่รวมถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน เศรษฐกิจพอเพียง ความอยู่ดีมีสุข

ผมมีข้อคิดจากการฟังสัมมนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับธนาคารโลก(15 กพ 2550 จัดโดย สคส. และธนาคารโลก) ที่โยงกับเรื่องนี้  
Erik Johnson ผู้เสนอประสบการณ์ของธนาคารโลก สรุปว่า ใน 10 ปีมานี้ การจัดการความรู้ภายในองค์กรของธนาคารโลกได้เดินทางมาถึงปลายทางตามเป้าหมายขององค์กรแล้ว ขั้นต่อไปของการจัดการความรู้ในธนาคารโลกจะมุ่งยกระดับ KM ขึ้นสู่ value creation เขาไม่ได้แย้มพรายว่าจะทำอย่างไร -how to? รวมทั้งไม่ได้ขยายความด้วยว่า value creation ของเขาหมายความว่าอย่างไร เขาพูดทำนองว่าเขาเองก็ยังไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะทำอย่างไร หรือรู้แต่ไม่บอกก็ได้สุดแต่จะเข้าใจ

นี่ไม่สำคัญ ที่สำคัญกว่าคือเป้าหมายที่ว่าของธนาคารโลกทันสมัยมาก แม้ว่าจะยังช้ากว่าญี่ปุ่นอย่างน้อย 3 ปี (อาจจะช้ากว่าเกาหลีด้วย) เมื่อกลางปี 2547 กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) ของญี่ปุ่นตีพิมพ์รายงานเรื่อง White Paper on the International Economy and Trade 2004, Key Points: towards a “New Value Creation Economy” ซึ่งพอสรุปได้ว่า การแข่งขันทางเศรษฐกิจของโลกกำลัง “shift” - คือ เปลี่ยนระนาบไปสู่เศรษฐกิจฐานใหม่ที่เรียกว่า “value creation economy” ในระบบนี้ประเทศใดมีทรัพยากรสินทรัพย์ปัญญามากและรู้จักสร้างให้เพิ่มพูนพร้อมกับเอาทรัพยากรปัญญาทีี่มีอยู่มาสร้างสรรค์(ให้เกิด)มูลค่า (ไม่ใช่สร้างมูลค่าเพิ่ม) เศรษฐกิจของประเทศนั้นได้เปรียบในการแข่งขันรอบใหม่ สินทรัพย์ปัญญา คือสินทรัพย์ที่ไม่เป็นวัตถุ จับต้องไม่ได้ แต่อยู่ในคน ในการศึกษา ในวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ในประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคมวัฒนธรรม ในวิถีชีวิต ในทักษะและความคิดสร้างสรรค์ของคน สินทรัพย์เหล่านี้สามารถสร้างมูลค่าจากทรัพยากรที่ดูเหมือนไม่มีมูลค่าให้กลับมีมูลค่าสูงในตลาดระหว่างประเทศ ตัวอย่างนอกจากสินค้าเทคโนโลยีแล้ว ได้แก่สินค้าวัฒนธรรม การท่องเที่ยว การพักผ่อน บันเทิง สปา สุขภาพ อาหาร การออกแบบ แฟชั่น เป็นต้น ญี่ปุ่นพยายามคิดค้นวิธีวิทยาทางเศรษฐศาสตร์ที่จะประเมินค่าของสินทรัพย์เหล่านี้ที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจ เพื่อประโยชน์ในการกำหนดยุทธศาสตร์และวางแผนเศรษฐกิจมหภาค
ในประเทศไทยมีความพยายามที่จะกำหนดยุทธศาสตร์การแข่งขันด้วยแนวคิดนี้ ผมจำได้ว่าที่ปรึกษานโยบายรัฐบาลชุดที่แล้วได้พยายามหลายครั้งที่จะอธิบายเรื่องนี้ให้ผู้นำและนักวิเคราะห์นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ฟังหลายครั้งในหลายปีที่ผ่านมา แต่น่าเสียดายที่ผมไม่เห็นว่าสำนักงานนี้ผลิตนโยบายหรือยุทธศาสตร์อะไรที่สะท้อนความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญนี้ จึงทำให้ผมคิดว่า สคส. อาจจะช่วยเขาได้ หากสคส. ชักชวนเขาปฏิบัติใช้ KM ในองค์กร สศช.

อีกกลุ่มอาชีพ/สถาบันหนึ่งที่มีความสำคัญต่อสังคมไทยไม่น้อยกว่า สศช. คือวงสื่อมวลชนทั้งของรัฐและเอกชน ผมคิดว่าพวกเขาน่าจะสนใจถ้าเขารู้ว่า KM มีประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการของเขา จนถึงบัดนี้ดูเหมือนว่ายังไม่มีองค์สื่อมวลชนรายใดใช้ KM ในองค์กร ถ้ามีสคส. คงจะเชิญมาโชว์ผลงานบ้างเป็นแน่
ข้อเสนอแนะคือ ถ้าสคส. จะพิจารณาขับเคลื่อน KM ไปหา 2 สถาบันนี้เป็นเป้าหมายเล็ก ๆ สำหรับปี 2550-51 ผลลัพท์อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพที่น่าตื่นเต้นไม่น้อยสำหรับสังคมไทย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท