เศรษฐกิจพอเพียง : อินเตอร์เน็ตกับกระแสโลกาภิวัตน์


โลกาภิวัตน์นั้นไม่ได้ถูกลิขิตไว้ แต่เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น

                                              

เศรษฐกิจพอเพียง  อินเตอร์เน็ตกับกระแสโลกาภิวัตน์

Sufficiency economy  :  Internet and Globalization                                               

เศรษฐกิจพอเพียง Sufficiency economy เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต  รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน  เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั้นเอง  สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มด้วยเสียซ้ำไป  พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่  จากวารสารชัยพัฒนา

โลกาภิวัตน์ หรือ โลกานุวัตน์ ” globalization  คือ ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก ( วิกิพิเดีย : online)                                               

  การประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการใช้อินเตอร์เน็ตในกระแสโลกาภิวัตน์  อินเตอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีใหม่ในการสื่อสารสารสนเทศเปรียบเสมือนชุมชนแห่งใหม่ของโลกซึ่งรวมคน ทั่วทุกมุมโลกเข้าด้วยกัน  ยุคนี้ไม่ว่าใคร ๆ  ก็ต้องพูดถึง อินเตอร์เน็ต ICQ  เพราะมันกลายเป็นส่วนหนึ่งของคนรุ่นใหม่  กลายเป็นสิ่งจำเป็นในปัจจุบัน  ที่สามารถติดต่อหาข้อมูลแลกเปลี่ยนข่าวสารใหม่ ๆ  เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ  สร้างจินตนาการได้ตลอดเวลาอย่างกว้างไกลไร้ขีดจำกัด   โดยไม่ต้องเสียค่าเดินทาง   แต่การผจญภัยไปในโลกกว้างไร้พรมแดน หรือการท่องไปในโลกอินเตอร์เน็ตนั้น  ก็มีทั้งคุณและโทษ การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ดีแน่นอน  แต่เราต้องทำความเข้าใจว่าประโยชน์และโทษของมันคืออะไรควบคู่กันไปด้วย (ชวลิต  วินิจจะกูล : 2544) 

                     ปัจจุบันนี้มีการใช้อินเตอร์เน็ตกันอย่างกว้างขวางไปในทางที่ผิดวัตถุประสงค์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างที่ควรจะเป็นรวมถึงพฤติกรรมในการใช้อินเตอร์เน็ตที่เป็นอุปสรรคในด้านต่างๆ  อันตรายต่อสุขภาพจิต  และเป็นปัญหาสังคม  ยกตัวอย่างรายงานเช่น

1.  โรคติดอินเตอร์เน็ต  (Webaholic)   พฤติกรรมต่าง ๆ  การเล่นอินเตอร์เน็ตทำให้คุณเสียงาน หรือ แม้แต่ทำลาย นักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S. Young ได้ศึกษาพฤติกรรม ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างมากเป็นจำนวน 496 คน โดยเปรียบเทียบ กับบรรทัดฐาน ซึ่งใช้ในการจัดว่า ผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนันการติดการพนัน ประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับ การติดอินเตอร์เน็ต เพราะทั้งสองอย่าง เกี่ยวข้องกับการล้มเหลว ในการควบคุมความต้องการของตนเอง โดยไม่มีส่วนเกี่ยว ข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด)  อินเตอร์เน็ต ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้  หมายรวมถึง  ตัวอินเตอร์เน็ตเองระบบออนไลน์ (อย่างเช่น AmericaOn-line, Compuserve, Prodigy) หรือระบบ BBS (Bulletin Board Systems) และการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้ระบุว่า  ผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้  อย่างน้อย  4  อย่างเป็นเวลา นานอย่างน้อย 1  ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเตอร์เน็ต รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต  ความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้   รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้    ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีก เลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใช้อินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น คนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง  การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงานการเรียน และความสัมพันธ์  ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้ จ่ายมาก มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต  เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้                                                    

                   สำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ที่ไม่เข้าข่ายข้างต้นเกิน 3 ข้อในช่วงเวลา 1 ปี ถือว่ายังเป็นปกติ จากการศึกษาวิจัย ผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างหนัก 496 คน มี 396 คนซึ่งประกอบไปด้วย เพศชาย 157 คน และเพศหญิง 239 คน เป็นผู้ที่เรียกได้ว่า "ติดอินเตอร์เน็ต" ในขณะที่อีก 100 คน ยังนับ เป็นปกติ ประกอบด้วยเพศชาย และเพศหญิง 46 และ 54 คนตามลำดับ สำหรับผู้ที่จัดว่า "ติดอินเตอร์เน็ต"นั้นได้แสดงลักษณะอาการ ของการติด (คล้ายกับการติดการพนัน) และการใช้อินเตอร์เน็ต อย่างหนักเหมือนกับ การเล่นการพนัน ความผิดปกติในการกินอาหาร หรือสุราเรื้อรัง มีผล กระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคนคนนั้น ถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การติดเทคโนโลยีอย่างเช่น การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ติดอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยกลางคนและไม่มีงานทำ 

2. เรื่องอนาจารผิดศีลธรรม ( Pornography/Indecent Content )  เรื่องของข้อมูลต่างๆ ที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม  ลามกอนาจาร  หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่าง ๆ นั้นเป็นเรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้ว บนโลกอินเตอร์เน็ต แต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่  WWW  หรือ IT ยังไม่พัฒนา มากนักทำให้ไม่มีภาพออกมาแต่ในปัจจุบันภายเหล่านี้เป็น ที่โจ่งแจ้งบนอินเตอร์เน็ต  และสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็กและเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่เพราะว่าอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สื่อเหล่านี้สามรถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเราไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้

อ้างอิง :  http://web.udru.ac.th/~comed4554/4554144108/internetfour.htm                  

                เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการใช้อินเตอร์เน็ตที่ขาดความพอเพียง  ความพอประมาณ  ไร้ซึ่งความสมเหตุสมผล  และไม่มีภูมิคุ้มกันที่ดี การที่จะกระทำอะไรที่ขาดสติ ขาดความรู้ ขาดคุณธรรมและจริยธรรม  ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมากมายทั่งในด้านเศรษฐกิจและปัญหาสังคมโดยรวม   การใช้อินเตอร์เน็ตหรือเทคโนโลยีต่าง ๆ   นั้นก็สามารถนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำมาประยุกต์ใช้ได้ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม  เพื่อลดกระแสโลกาภิวัตน์  และให้เป็นไปอย่างสมดุล  สมเหตุสมผลในด้านทุนมนุษย์   ทุนเศรษฐกิจ (การเงิน)  ทุนทรัพยากร (พลังงาน)  เราควรที่จะศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง  โดยประยุกต์หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง คือ                   

ความพอประมาณ  ด้านเทคโนโลยี ความเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม  พอเพียงกับการแก้ปัญหา ไม่สร้างระบบการผลิตมากเกินไป  (Over  Production)  หรือ ใช้เทคโนโลยีมากเกินไป  (Over  Engineering)   อะไรที่มากเกินไป หรือ ขาดแคลน  ย่อมเป็นความสูญเปล่า ไม่ก่อประโยชน์อันใด หรือ สร้างประโยชน์ไม่ได้   และอาจจะสร้างโทษภายหลัง เป็นสาเหตุกระทบในหัวข้ออื่น  เช่น ทรัพยากรที่ถูกใช้อย่างรวดเร็ว  การเสียเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าเทคโนโลยี เป็นต้น

มีเหตุผล  การลดต้นทุน หรือ รายจ่าย ย่อมทำให้เราเพิ่มกำไร หรือ รายเหลือของประชาชน ทำให้เกิดการออม ไม่ใช้จ่ายเกินตัวเกินความจำเป็น หรือ ใช้จ่ายด้วยความ พอดี”  อีกทั้งยังลดการใช้วัตถุดิบ  และอีกนัยหนึ่งด้านสังคมประชาชน คนไทยจะมีรายเหลือมากขึ้น เมื่อเรารู้จักประหยัด และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในครัวเรือนลง

ภูมิคุ้มกัน  ภูมิคุ้มกัน ในความหมาย นี้คือ การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) จะต้องมีแนวทางป้องกันไม่ ให้ทำอะไรที่เสี่ยงเกินไป  พอตัว  และป้องกันปัญหาไว้ก่อนที่ปัญหาจะเกิด   โดยคำนึงถึงผลที่จะตามมา  หากเกิดปัญหาจากความเสี่ยงในด้านลบ  หรือ ไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดการณ์ไว้ว่ายังสามารถรับมือได้หรือไม่

มีคุณธรรม   ความชอบธรรม เป็นสิ่งที่ขาดในสังคมปัจจุบัน  เป็นคุณสมบัติที่ขาดไป ของผู้บริหารองค์การบางคนนักการเมืองบางท่าน  บางกลุ่มข้าราชการ  บางกลุ่มของผู้ประกอบการ  และขาดการกลไกการตรวจสอบจากภาคประชาชนคนทั่วไป คุณธรรม (Ethics) จะเป็นหลักพื้นฐานในการบริหารทั้งหมด จะต้องมองผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stake Holder)  ไม่ใช่เจ้าของเท่านั้น (Stock Holder)

มีความรู้   การรู้เท่าทันตามความเป็นจริง   ซึ่งเป็นหลักของศาสนาพุทธอีกข้อหนึ่ง   สิ่งที่จะทำให้รู้เท่าทันนั้นคือปัญญา”  เราจะต้องทราบถึงข้อดี ข้อเสีย ผลที่จะเกิดตามมาในอนาคต ในการตามกระแสโลกาภิวัตน์   เช่น เราได้ประโยชน์ เสียประโยชน์อย่างไร  สิ่งที่เป็นจุดอ่อนจะต้องเสริมสร้างเป็นจุดแข็ง  สิ่งที่เป็นภาวะคุกคามจะต้องเสริมเป็นโอกาส  สิ่งเหล่าจะทำให้ประเทศของเราไม่เสียเปรียบ  และไม่ตกเป็นทาสทางเศรษฐกิจของกระแสโลกาภิวัตน์ 

                ทั้งหมดนี้ต้องอาศัย ความมี ศีล เป็นต้นเหตุของปัญหาสังคม การเมือง เศรษฐกิจ สมาธิ มีความนิ่ง สุขุม รอบคอบ ใจเย็น มีความมุ่งมั่นในการทำความดี ปัญญา มีความรู้ ความชำนาญ รู้เท่าทันตามความเป็นจริง และสามารถแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ และป้องกันปัญหาไม่ให้เกิด หรือ เกิดซ้ำ ได้
                ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ชาวพุทธรู้แล้วทั้งสิ้น  แต่ยังไม่ได้ปฏิบัติ”   ถึงเวลาหรือยัง ที่เราชาวไทยต้องมาปฏิบัติอย่างจริงจัง และรู้รักสามัคคี รวมใจไทยเป็นหนึ่ง เพื่ออนาคต และความยั่งยืนในการพัฒนาประเทศต่อไป 

เอกสารอ้างอิง  :  สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการเนื่องมาจากพระราชดำริ, เศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิต

                                       โลกาภิวัตน์นั้นไม่ได้ถูกลิขิตไว้  แต่เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น 

                                                                                                                                                     

หมายเลขบันทึก: 79021เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2007 15:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (33)

อินเทอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งสำคัญในยุคดิจิตอล แต่หากเราให้ความสำคัญกับมันมากเกินไป โดยไม่ประยุกต์หลักพอเพียงมาใช้ก็จะทำให้เราพึ่งพิงอินเทอร์เน็ตจนเกินความจำเป็น จึงเห็นด้วยอย่างยิ่งที่ต้องรู้จักพอเพียง โดยอิงหลักธรรมะค่ะ

ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตเป็นปัจจัยหลักของมนุษย์ที่พึ่งพาเทคโนโลยีส่วนมาก หากคนส่วนใหญ่รู้จักนำความพอเพียงเข้ามาเป็นส่วนประกอบในการใช้งานก็จะเป็นผลดีต่อตนเองและสังคม โดยมีหลักของศีลธรรม หรือธรรมะเข้ามาเป็นส่วนหล่อหลอมจิตใจ จึงเห็นด้วยกับบทความข้างต้อนค่ะ ถ้าเป็นไปได้อยากให้มีบทความ คำสอนทางด้านศาสนาเข้ามาเป็นส่วนประกอบและเชื่อโยงกับเรื่องอินเทอร์เน็ตเยอะๆ ค่ะ

อินเตอร์เน็ตนับว่าเป็นสิ่งสำคัญของคนในยุคโลกาภิวัฒน์ถ้านำมาใช้ในทางที่เหมาะสมก้จะเป็นผลดีกับตนเองและสังคมหากนำไปใช้ในทางลบก้ส่งผลเสียกับตนเองและสังคม

อินเทอร์เน็ต นับเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ครอบคลุมพื้นที่กว้างที่สุด และมีอัตราการขยายตัวเร็วที่สุด ตลอดช่วง 30 ปีที่ผ่านมา อินเทอร์เน็ตได้พัฒนาศักยภาพขึ้นมาอย่างรวดเร็ว กระทั่งถึงปัจจุบัน มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบ ทำให้คนในโลกทุกชาติทุกภาษาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเดินทางไป โลกทั้งโลกเปรียบเสมือนเป็นบ้านหนึ่งหลังที่ทุกคนในบ้านสามารถพูดคุยกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประหยัดทั้งเวลา ค่าใช้จ่าย และเกิดประโยชน์ต่อสังคมโลกปัจจุบันมาก เมื่อพิจารณาดูให้ชัดเจน อินเทอร์เน็ต เป็นเพียงช่องทางในการติดต่อสือสารแบบหนึ่งเท่านั้น จึงไม่มีพิษภัยใดๆ ต่อผู้ใช้ทั้งสิน แต่สิ่งที่ให้โทษนั้นเกิดจาก สารหรือสาระต่างๆ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการนำเสนอ

ถ้าหากเรารู้จักใช้ประโยชน์ของ Internet อย่างถูกต้อง มันก็จะเป็นประโยชน์กับตัวเราเอง ในทางกลับกันถ้าหากใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น การดูรูปโป๊ เวปไซต์ลามกต่างๆ ซึ่งคนสมัยนี้แม้กระทั่งเด็กๆ ชอบกันมาก การคุยกันด้วยโปรแกรม camfrog หรือ msn โดยมีการโชว์ลามกประกอบด้วย การเล่นเกมส์ออนไลน์กันทั้งวันทั้งคืน ก็จะส่งผลเสียกับตัวผู้ใช้เอง ทั้งในด้านศีลธรรม จริยธรรม หรือสุขภาพ หากเล่นกันโดยไม่รู้จักพอเพียง แต่คงจะเป็นการห้ามได้ยาก หากผู้ผลิตเว็ปไซต์ต่างๆ ยังไม่นึกศีลธรรม จริยธรรม หรือตัวผู้ใช้เองไม่รู้จักใช้ประโยชน์จาก Internet ในทางที่ถูกต้อง บางทีเทคโนโลยีหรือโลกาภิวัฒน์ที่กว้างไกล ไร้ขอบเขตเกินไป ก็ส่งผลเสียในหลายๆ ด้าน โดยเราคงจะควบคุมได้ยากอยู่เหมือนกัน

หลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับพื้นฐานการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเรื่อง ซึ่งในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตก็เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ การใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับอินเทอร์เน็ตในยุคกระแสโลกาภิวัฒน์ทำให้ลดการใช้อินเทอร์เน็ตที่ผิดวัตถุประสงค์ อันก่อให้เกิดปัญหาสังคมและปัญหาด้านอื่นๆ ตามมา  ผู้เขียนสามารถสื่อให้เห็นถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขในสังคมไทย หากประชาชนชาวไทยยึดหลักพุทธศาสนาและตามยึดหลักแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ประเทศชาติก็จะมีความสงบสุข และพัฒนาต่อไป

เห็นด้วยกับผู้เขียนนะ และเราควรนำไปปฏิบัติใช้อย่างจริงจัง ถึงจะดีกว่านี้นะ จริงมั๊ยค่ะ พี่อุ๊

การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในทุก ๆ ด้านของชีวิตไปพร้อม ๆ กัน น่าจะเป็นการน้อมนำพระราชดำรัสของพระเจ้าอยู่หัวฯ  ที่เหมาะสมที่สุด

ความหมายดีมากเลยค่ะ  หนุ่ม  ม. ไหนเนี่ย

เป็นบทความที่ดีค่ะ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดที่ดี ถ้าเรานำมาประยุกต์ใช้กับตัวเองในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ นะคะ

เป็นบทความที่ดีค่ะ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดที่ดี ถ้าเรานำมาประยุกต์ใช้กับตัวเองในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนะคะ  เพื่อพัฒนาประเทศชาติของเราให้ก้าวไกลตามแบบและวิถีของประเทศชาติของเรา  ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของประเทศไทยเรา

ดีค่ะ รู้สึกอยากใช้ชีวิตพอเพียงขึ้นมาเลย

เขียนได้ดีมากค่ะ สะท้อนภาพในสังคมปัจจุบันได้เป็นอย่างดี หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ได้เข้ามาอ่าน

อินเตอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในยุคนี้ไปแล้ว แต่เราควรที่จะรู้จักใช้ให้เป็นด้วย  บทความข้างต้นอธิบายได้ชัดเจน  และขอให้ทุกคนนำไปปฏิบัติจริงด้วยคับ

ในสภาวะการณ์ในปัจจุบันถือว่าอินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งสำคัญในยุคนี้ไปแล้ว  ถ้าคนเราสามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับอินเตอร์เน็ตได้ก็จะเป็นสิ่งที่ดีและควรที่จะส่งเสริมอย่างยิ่ง 
บทความนี้ดีมากๆ ถ้าเรารู้จักใช้ รู้จักประมาณ รู้คุณค่า จะรู้จักใช้ทรัพยากร ชาติเจริญ
เห็นด้วยว่า ปัจจุบันอินเตอร์เนตได้รับความสนใจ กับคนทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ เป็นช่องทางให้คนเข้ามาทำอะไรหลาย ๆ อย่างโดยผ่านทางสื่ออินเตอร์เนต หากเราไม่ได้ใช้โดยมากเกินไปก็เป็นอันตรายได้

เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตในปัจจุบันเป็นอย่างมาก

ดีนะ  เห็นด้วยเลยแหล่ะ ...เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในชีวิตปัจจุบัน ชีวิตของการเร่งรีบ ประหยัดเวลาการเดินทาง ประหยัดวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆ ที่สำคัญถ้าเรารู้จักใช้มันให้เกิดประโยชน์จะทำให้เราได้ความรู้ ข้อมูลโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ แต่หากคนเรานำมันมาใช้ในทางที่ผิด สืบค้นหาสิ่งที่ผิด วัฒนธรรม ศีลธรรม จริยธรรม ที่ดีงามก็จะถดถอยไปพร้อมๆ กับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้ามา สิ่งใดที่มีประโยชน์ ก็มักจะมีโทษไปพร้อมๆ กัน แล้วแต่ปัญญาชนแต่ละคนที่จะใฝ่หาความรู้ให้กับตัวเอง

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับบทความนี้  หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดที่ดี ถ้าเรานำมาประยุกต์ใช้กับตัวเองในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนะคะ  เพื่อพัฒนาประเทศชาติของเราให้ก้าวไกลตามแบบและวิถีของประเทศชาติของเรา  ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของประเทศไทยเรายิ่งในสภาวะการณ์ในปัจจุบันถือว่าอินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งสำคัญในยุคนี้ไปแล้ว  ถ้าคนเราสามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับอินเตอร์เน็ตได้ก็จะเป็นสิ่งที่ดีและควรที่จะส่งเสริมอย่างยิ่ง 

 

เราชอบบทสรุปตอนท้ายนะ เพราะไม่ว่าโลกจะพัฒนาไปเป็นเช่นไร  เราชาวพุทธต้องมีสติ และรู้จักปฏิบัติ แค่นี้โลกของเราก็จะน่าอยู่....

  เป็นบทความที่ให้ข้อคิดที่ดีค่ะ....

การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นถ้าเราสามารถกระทำได้ก็เป็นสิ่งที่ดีมากเลยค่ะ เช่นเดียวกันในปัจจุบัน internet กลายเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตด้วยเหมือนกัน ซึ่งบางคนอาจจะขาดไม่ได้เลยก็เป็นได้อย่างเช่นคนที่ต้องปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ แต่สำหรับคนที่ใช้ internet ในการสร้างปัญหาให้กับสังคม และประเทศชาติก็ถือว่าใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไปในทางที่ผิด เห็นด้วยกับบทความค่ะ

เห็นด้วยกับผู้เขียน  เขียนดีอ่านแล้วเข้าใจ....แต่การใช้งานอินเตอร์เน็ตหรือเทคโนโลยีต่าง ๆ   ที่นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำมาประยุกต์ใช้ค่อนข้างที่จะปฏิบัติได้ยาก...เพราะในโลกของการสื่อทางอินเตอร์เน็ต 80 % เป็นวัยรุ่นที่ยังไม่รู้และไม่เข้าใจถึงคำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง"  ...แต่ถ้าครึ่งหนึ่งของ 80 % นี้ปฏิบัติได้จริงตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงก็คงจะเกิดประโยชน์แน่นอน

 

เข้ามาอ่านแล้วเข้าใจค่ะ

หลักเศรษฐกิจพอเพียงใช้ได้กับการดำรงชีวิตประจำวันทุกอย่างเลยนะค่ะ

เห็นด้วย  เพราะอินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในสังคมปัจจุบันมากๆ 
ท่านข้าหลวงเขียนได้ดีมากค่ะ

เป็นบทความที่ดีมาก

  • ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตมีมากมหาศาลแต่ก็มีโทษอนันเช่นกัน
  • ความพอเพียงกับการใช้งาน ถ้าใช้ในทางที่ดีก็ดี ใช้ในทางที่ไม่ดีก็แย่นะคะ
บทความนี้ดีมาก เนื่องจากเป็นการกล่าวถึงเทคโนโลยีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน(อินเทอร์เน็ต) ทำให้ผู้ใช้ได้รู้จักการใช้ประโยชน์จากมันในด้านที่ถูกต้องและได้ผลคับ เหมาะสำหรับวัยรุ่นดีคับ

สวัสดีน้องรหัส  บทความดีมากเลยนะ 

เขียนได้โดนใจมากทันเหตุการณ์ปัจจุบันจริง ๆ ยกนิ้วให้ รุ่นน้องขอคาราวะ

เลิกเล่นเกมส์ในเน็ตได้แล้งเปลืองค่าไฟไปวันวัน

อยากได้เสรษฐกิจพอเพียง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท