ข้าหลวงฯ


เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
Username
public_swu
สมาชิกเลขที่
18897
เป็นสมาชิกเมื่อ
เข้าระบบเมื่อ
-
(ไม่มีตั้งแต่ พ.ศ. 2564)
ประวัติย่อ

เป็นชาวปักษ์ใต้โดยกำเนิด "ภูเก็ต" 

ไข่มุกอันดามัน  สวรรค์เมืองใต้

หาดทรายสีทอง  สองวีรสตรี

บารมีหลวงพ่อแช่ม

ภูเก็ต เป็นชื่อที่ใช้ในปัจจุบัน ก่อนหน้านี้เราใช้คำว่า "ภูเก็จ" แปลว่า เมืองแก้ว ซึ่งตรงกับความหมายเดิมที่ชาวทมิฬ เรียกเมืองนี้ว่า "มณิคราม" ตามหลักฐานที่ปรากฎเมื่อ พ.ศ.1568 ปัจจุบันภูเก็ตเป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย ที่มีประวัติความเป็นมาปรากฎในหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีนานนันพันปี เป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดีย โดยผ่านแหลมมลายู มีหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุด คือ หนังสือภูมิศาสตร์ และแผนที่เดินเรือของปโตเลมี เมื่อประมาณ พ.ศ.700 กล่าวถึงการเดินทางจากแหลมสุวรรณภูมิลงมาแหลมมลายู ต้องผ่านแหลม "จังซีลอน" ซึ่งก็คือ เกาะภูเก็ต นั่นเอง

 นอกจากนี้ยังปรากฎในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยว่า ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงค์ ต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรศรีวิชัย และในสมัยอาณาจักรศิริธรรมนคร เรียกเกาะภูเก็ตว่า "เมืองตะกั่วถลาง" เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักกษัตร โดยใช้ตราประจำเมืองเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัย เมืองถลางขึ้นอยู่กับเมืองตะกั่วป่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวฮอลันดามาสร้างสถานที่เก็บสินค้า เพื่อรับซื้อแร่ดีบุกที่เมืองภูเก็ต

 ดังนั้นเกาะภูเก็ตทางตอนเหนือและตอนกลางเป็นเมืองถลางที่มีคนไทยปกครอง ส่วนทางตะวันตกและตอนใต้ของเกาะเป็นเมืองภูเก็ต ซึ่งมีชาวต่างชาติเข้ามารับซื้อแร่ดีบุก จนกระทั่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น กษัตริย์พม่าได้ยกทัพมาตีหัวเมืองต่าง ๆ ทางใต้เรื่อยมาถึงเมืองถลาง ขณะนั้น เจ้าเมืองถลางเพิ่งถึงแก่กรรมลง คุณหญิงจันภริยาและคุณมุกน้องสาว จึงรวบรวมกำลังพลต่อสู้กองทัพพม่า จนแตกพ่ายไปในที่สุด เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคุณหญิงจัน เป็นท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร ต่อมาเมืองภูเก็ตได้เจริญเติบโตมากขึ้นจากการค้าและเหมืองแร่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกเป็น "มณฑลภูเก็ต" และเมื่อปี พ.ศ.2476 ได้ยกเลิกมณฑลภูเก็ต และเปลี่ยนมาเป็น "จังหวัดภูเก็ต" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

sunday 09012520

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท