เอกสาร ข้อมูล ความรู้ ปัญญา และ “สิบความรู้ไม่เท่าหนึ่งปัญญา”


เรากำลังทำอะไรกัน ระดับไหน แค่เอกสาร แค่ข้อมูล แค่ความรู้ หรือเราจะสร้างปัญญา กันแน่
 

ตั้งแต่ผมเปิดประเด็นและเข้ามาเป็นสมาชิกของ gotoknow และขอให้เลิกทำ KM แบบไร้ทิศทาง และควรหันมาสร้างปัญญาเพื่อการพัฒนาตนเอง และช่วยเหลือผู้อื่นแทนกันดีกว่า

  

ผมได้เห็น และวันนี้ก็ยังเห็นความสับสน

  

เรื่องการ

 

·        จัดการเอกสาร ทั้งในระดับ การบันทึกในกระดาษและระบบดิจิตัล

 

·        จัดการข้อมูล ในระดับการรับรู้

 

·        จัดการความรู้ ในระดับความเข้าใจ จนถึง ศรัทธา และ

 

·        การพัฒนาปัญญา เพื่อการใช้ประโยชน์ได้จริงๆ

  

ผมก็ไม่เข้าใจว่าอะไรมันบังตา บังใจ บังความคิด และทำลาย สติ ให้เราสับสน ฟั่นเฟือน กับแค่ความหมายคำ ทั้งสี่คำนี้

  

เมื่อเช้าผมเข้าห้องน้ำแปรงฟัน ผมนึกสนุก เลยลองใช้มือซ้ายถือแปรงดู ไม่ได้เรื่องเลย เก้ๆ กังๆ แปรงไม่ได้เรื่องสักที

  

ผมเลยถามตัวเองว่า ผมไม่รู้วิธีแปรงฟัน หรืออย่างไร

  

ไม่ใช่แน่นอน ผมแปรงฟันมานานเกือบเท่าๆกับอายุผมเลยครับ มีหรือ ผมจะไม่รู้วิธีแปรงฟัน

  

สมัยเด็กๆ ผมก็ได้รับ เอกสาร และ ข้อมูล ของการแปรงฟันที่ถูกต้อง

  

ผมมีเอกสาร มีทั้งข้อมูลมากพอ  และ ความรู้ก็น่าจะมีเพียงพอ  จนใช้มือขวาแปรงได้อย่างคล่องแคล่ว แล้วทำไมผมใช้มือซ้ายแปรงฟันไม่ได้

  

นี่คือตัวอย่างง่ายๆ กับการมีความรู้ในสมอง ที่ยังไม่เป็นปัญญาในระดับการทำงานจริง ที่แทบไม่มีประโยชน์อะไรเลย จนกว่าเราจะแปลงความรู้มาเป็นปัญญานั่นแหละจึงจะเกิดประโยชน์ได้จริงๆ

  

ทีนี้ผมเคยเห็นบางคนแปรงฟันทุกวัน แต่ฟันก็ยังผุอยู่ แสดงว่าเขาไม่เคยมีข้อมูลด้านวิธีการแปรงฟัน อันนี้ก็ไม่น่าเชื่ออีกนั่นแหละในยุคข้อมูลข่าวสารแพร่สะพัดขนาดนี้

   

นี่คือตัวอย่างง่ายๆ กับการมีข้อมูล ที่ยังไม่เป็นความรู้

  

ยิ่งไปกว่านั้น ผมเคยเห็นคำอธิบายการใช้เครื่องมือหรือยาต่างๆ เป็นภาษาที่ผมอ่านไม่ออก ผมก็เลยไม่รู้เรื่องว่าผมควรจะทำอย่างไร

  

นี่คือตัวอย่างง่ายๆ กับการมีเอกสารโดยทั่วไป ที่ยังไม่เป็นข้อมูลสำหรับคนเข้าไม่ถึง ด้วยสาเหตุใดก็แล้วแต่ อาจไม่ทราบ ไม่เห็น อ่านไม่ออก ก็ได้

  

ดังนั้นแค่ตัวอย่างง่ายๆที่ผมยกมาก็น่าจะแยกความแตกต่างระหว่าง

 

·        เอกสาร

 

·        ข้อมูล

 

·        ความรู้

 

·        ปัญญา

  

แล้วเรากำลังทำอะไรกัน ระดับไหน แค่เอกสาร แค่ข้อมูล แค่ความรู้ หรือเราจะสร้างปัญญา ที่เป็นประโยชน์ กันแน่

นอกจากนี้ก็ยังมีความสับสนในความหมายของประเภทของความรู้ ที่แบ่งอย่างคร่าวๆ (แบบชั่วคราว) เป็น

  • ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) และ
  • ความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge)
   

ความรู้ชัดแจ้ง ก็น่าจะเป็นความรู้ที่บอกออกมาเป็นข้อมูล (Information) ได้ง่าย แล้ว คนฟังสามารถรับข้อมูลไปใช้เป็นความรู้ของตนเองได้ง่าย หรือทันที

   

ขณะที่ความรู้ฝังลึกต้องใช้เวลามาก หรือทำได้ยากมาก ทั้งขั้นตอนการบอกเล่า ที่ยากที่จะแปลงออกมาเป็นข้อมูล และยากที่จะนำข้อมูลที่รับมานำไปเป็นความรู้ของผู้รับ

  

เช่น  กรณีที่ผมเคยยกตัวอย่าง การขี่จักรยานล้อเดียว เล่าให้ใครฟังสักหมื่นรอบก็ไม่ทำให้ผู้ฟังขี่ได้

  

ต้องอาศัยเวลา การฝึก และความสามารถเฉพาะตัวจริงๆ

  

แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้นไม่มีอะไรขาวสะอาด หรือ ดำสนิท ส่วนใหญ่ก็เป็นสีเทาอ่อนเทาเข้มในระดับต่างๆกัน

แม้แต่เรื่องเดียวกัน ก็ยังมีหลายเทาปะปนกัน

ความรู้ทั้งสองอย่างจึงเกี่ยวเนื่องต่อเชื่อม และสัมพันธ์กัน ไม่สามารถแบ่งกันขาดออกจากกันไปเลยได้โดยง่าย

แต่ก็มีคนพยายามจะแบ่งให้ขาดกันไป แล้วก็มานั่งงง สับสน สื่อสารผิดๆ ในความหมายของคำเสียเอง

  

ก็ไม่รู้จะพยายามตีความให้ตัวเอง และผู้อื่นสับสนกันไปเพื่ออะไร

  

ใครทราบตอบทีครับ ผมยอมรับว่าในมุมนี้ ผมโง่จริงๆ

หรือ มีใครแอบปล่อยไวรัส ทำลายสมองคนไทย แบบเดียวกับ ปัญหาคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน  
หมายเลขบันทึก: 78817เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2007 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • เปรียบเปรยให้ผมเข้าใจอย่างเป็นรูปธรรมมากครับอาจารย์
  • เรื่องแปรงฟันเนี่ยเห็นท่า หมอฟันคงต้องเปลี่ยนวิธีให้ความรู้แก่คนไข้ในการแปรงฟันแล้วล่ะครับ
  • หากเทียบกับเรื่องอื่น ๆ น่าจะแจ่มชัดขึ้น

ก็เขียนตามที่นึกได้ครับ ไม่อยากคิดมาก แต่ถ้าคิดมากคนอาจจะเข้าใจมากกว่านี้ก็ได้ครับ

ผมอยากเห็น เราทำงานจริงจังกันมากกว่าที่จะมาสาละวนกับคำจำกัดความครับ

ฟังแล้วเหมือนไร้สาระ แต่พอแค่คำจำกัดความไม่สอดรับกัน ก็มานั่งเถียงกันแบบเสียเวลาเปล่านะครับ

อย่างเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ก็ยังมานั่งเถียงกันว่าคุณอำนวยคือใคร แทนที่จะเดินตามโจทย์ว่า คุณอำนวยที่ดีเป็นอย่างไร

เห็นได้เลยว่าปลาใหญ่ บางทีก็มาตายน้ำตื้นง่ายๆ แล้วก็ทำให้ทุกคนเสียเวลาครับ ไม่ใช่เฉพาะคนที่ไม่เข้าใจเสียเวลาอยู่คนเดียว

การประชุมก็เป็นอย่างนี้แหละ พอมีอะไรติดนิดหนึ่งก็เสียเวลากันเป็นขบวน แบบเดียวกับรถติดในกรุงเทพฯเลยครับ

ผมไม่อยากให้เรามาเสียเวลากับเรื่องไม่เป็นเรื่องแบบนี้ครับ

แต่ผมก็ยังไม่เชื่อว่าการเขียนครั้งนี้จะชัดเจนพอ

วันหลังอาจต้องมาย้ำกันใหม่ อีกทีครับ

เอกสาร ข้อมูล ความรู้ ปัญญา สี่ประเด็นคล้ายกับองค์ประกอบของระบบสารสนเทศเลยครับอาจารย์

ในระบบ IT เรามีองค์ประกอบอยู่ห้าประการ คือ ซอร์ฟแวร์ ฮาร์ดแวร์ เอกสาร ข้อมูล และผู้ปฏิบัติงาน  (software, hardware, procedures, data, and people) ซึ่งองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดคือ คน ครับ ทุกอย่างพร้อม ถ้าคนทำงานกันไม่เป็น ก็เสียเวลา เสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์ เหมือนอย่างที่อาจารย์ว่าไว้ตอนท้ายของข้อเขียนเป๊ะเลย ครับ (ขอนอกเรื่องนิดหนึ่งนะครับ ผมล่ะนึกเศร้าใจกับโครงการ onelaptop ที่กำลังจะส่งคอมพิวเตอร์มาที่บ้านเราจริงๆ เพราะมันดูแล้วไม่ต่างกับโครงการที่บ้านเราเคยเจ็บช้ำมาแล้วหนหนึ่ง พอฝรั่งเอาบ้างก็ลืมความหลังกันเสียแล้ว)

ผมสรุปเอาว่าเราชอบเอาของที่ตื่นเต้นมาเป็นหลัก จนลืมสาระสำคัญคือคน มันก็วนกันอยู่อย่างนี้ จัดสัมมนา จัดอบรมกันไป ก็ตื่นเต้นกันสักพัก แล้วก็ลืมๆ กันไป เพราะไม่ได้จับเอาสาระมาทำงานจริงๆ

พอมาถึงเรื่อง tacit, explicit knowledge นี่ อาจารย์อธิบายได้ชัดเจนครับ
ทั้งเรื่องจักรยาน และเรื่องแปรงฟัน

ผมชอบใจเรื่องจักรยาน แล้วก็มองต่อไปว่า เมื่อเราลงมือทดลองขี่จักรยานเองแล้ว ทำได้แล้ว การจะเอาความรู้ tacit knowledge แบบนั้น (เพราะทำเอง รู้เอง เข้าใจเอง) มาถ่ายทอดต่อ มันทำได้ยากครับ

ผมฝึกเล่นเกมฟุตบอลจนคล่องแล้ว ไปเล่นแข่งกับใครก็ชนะเขา ถ้าแพ้ก็สูสีอยู่ แต่พอเพื่อนถามว่า ตกลงกดปุ่มไหนถึงจะยิง ปุ่มไหน ถึงจะเลี้ยงลูกแบบพิเศษ จำไม่ได้ครับ! ต้องลองจับเกมจึงจะจำได้ คือมันฝังไปแล้ว อธิบายก็ต้องมีอุปกรณ์ประกอบ อย่างนี้หรือเปล่าครับที่ทำให้อธิบายกันไม่ค่อยออก?

ส่วนเรื่องแปรงฟันนี่ ถ้าอาจารย์ใช้มือซ้ายแปรงได้ เขาว่าเป็นการฝึกสร้างเซลล์สมองนะครับ ผมลองทำดูก็พบว่ายากอยู่เหมือนกัน ทำไปกลัวจะเป็นแผลในปากครับ

ขอบคุณครับอาจารย์วสะ

คงจะมีเราไม่กี่คนที่เอาจริงจังกับการคิดจริง พูดจิง ทำจริง

ที่เหลือน่าจะมีอะไร "เล่นๆ" อยู่สักอย่างสองอย่าง ละครับ

เรื่องระบบสาระสนเทศนี่ก็เป็นการมองข้ามประเด็นสำคัญที่สุดไปเหมือนกัน

จากมุมที่ผมอยู่ ผมว่าเขาข้ามระบบข้อมูลไปครับ จากระบบดิจิตัล เป็นความรู้ไปเลย ทำให้แทบไม่มีใครเข้าถึง

(โดยความเป็นจริงนะครับ ไม่ใช่ในหลักการที่อ้างมาลอยๆ)

การกระโดดข้ามช่วงของ "ข้อมูล" คือคนที่จะต้องใช้จริง ได้ "รับรู้" ไม่ค่อยเพียงพอ

เข้าลักษณะ Copy and paste มากกว่าผ้านกระบวนการรับรู้ ที่จะนำไปสู่การเข้าใจ

Copy and paste นี้ได้ by pass กระบวนการรับรู้และเรียนรู้ จนไม่เกิดความรู้ และไม่เกิดปัญญา เลยไม่ได้ประโยชน์ครับ

เราลงทุนเรื่องนี้มากมาย แต่ไม่ค่อยได้ใช้งานเต็มที่ อย่างที่ควรจะเป็น ก็เพราะสมมติฐานที่ไม่เป็นจริงด้าน "ข้อมูล"

มุมนี้ไม่ทราบอาจารย์มองอย่างไรครับ

หรือว่าผมเข้าใจผิดไปก็ถือว่าเป็นโชคดีของประเทศ ที่เราจะไม่ลงทุนสูญเปล่า นะครับ

อาจารย์ครับ...น่าสนใจมาก ผมตามมาอ่าน แต่ผมอ่านได้เพียงหนึ่งรอบครับ ผมขอเวลาอ่านหลายๆรอบเพื่อให้เกิดแรงสั่นของเซลล์สมอง เขียนข้อแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ต่อไป

ขอลงชื่อจองพื้นที่ก่อนครับ วันนี้มีภาระกิจสาธารณะทั้งวันเลย

ผมขอจองก่อนนะครับ .....

บางครั้งผมสับสนบางอย่าง สิ่งที่ผมทำทันทีก็คือ

โทรศัพท์ไปตั้งคำถามนั้นกับคนที่รู้จัก (อาจจะไม่ดีเท่าไหร่ เพราะคนรับตกใจที่ผมจู่โจมถามโดยที่เขาไม่ได้ตั้งตัว)

เมื่อวานแว๊บความคิด กดโทรศัพท์ไปใต้ หาคุณ กานต์(พี่ไมโต) ใช้เวลาสักครู่ และก็กดไปอิสาน คุณกับคุณกะปุ๋ม ต่อ....

วิธีนี้ได้ความคิดของคนอย่างฉับพลันทันที...แต่มิตรของผมก็ตกใจพอสมควร เพราะคุยแล้วจากไปเร็ว โดยที่เขาไม่ตั้งตัวก่อน...

:)

คุณจตุพรครับ

นี่เป็นอีกความสับสนในระบบการทำงานของเราครับ

ผมไม่อยากถือเป็นเรื่องใหญ่หรอก แต่ไม่อยากเห็นการเถียงกันในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง

เช่นนักจัดการเอกสารบางคนคิดว่าตัวเองจัดการข้อมูล บางทีเผลอไปอ้างว่าเป็นการจัดการความรู้อีกต่างหาก

คนที่เข้ามาใหม่ๆ ก็เลยพลอยงงไปด้วย เสียเวลาไปเปล่าๆครับ

ความรู้ในสมอง ที่ยังไม่เป็นปัญญาในระดับการทำงานจริง  สาเหตุสำคัญของการทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ 
บางคนความรู้ในสมองก็ยังไม่พอเลยครับ ต้องแยกแยะพอสมควรก่อนจะตอบคำถามแบบฟันธงครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท