ศรัทธาที่ยังหลงเหลืออยู่ ๒


การไปวัดแบบมีความหมาย เพราะความรักเคารพ คิดถึงและเลื่อมใสหลวงปู่ เราจึงทำการบริจาคทาน

การได้รับการยอมรับจากเพื่อนของหลวงปู่จารย์นั้น เป็นถึงขั้นว่า ถ้าหลวงปู่บอกให้ทำอะไร หรือชวนทำอะไร จะไม่มีคำว่าสงสัย ทำทันที ขอให้หลวงปู่บอกมา ถ้าทำได้นะทำเต็มที่

ดังนั้นพอหลวงปู่บวช กลุ่มเคว้ง
จะทำอย่างไรดี หัวหน้าก็บวชแล้ว
ไม่มีใครทีจะฟังกันได้เลย ทำให้ทุกครั้งที่ประชุมเราต้องไปร่วมด้วย

การประชุมใหญ่ก็หายไปเฉย ๆ  บอกว่าไม่มีหัวหน้าแล้ว ไม่รู้จะทำอย่างไร ไม่มีผู้นำผู้พา
เป็นถึงขนาดนั้น

หรือว่านี่เป็นวิสัยของชาวย้อ หนอ...
พวกเราก็ต้องลงไปคุย จัดทัพกันใหม่ ต้องเรียนรู้สถานการณ์ใหม่
ให้โอกาสกันใหม่ เป็นกลุ่มที่ขลุกขลักที่สุดในทั้งหมด
แต่เรื่องน้ำใจก็ไม่มีใครเกินพวกเขาเหมือนกัน
การเป็นเจ้าภาพเวทีปี ๔๙  ที่เพิ่งผ่านไป ก็แสดงให้เห็นศักยภาพพวกเขาระดับหนึ่ง

หน้าเวทีปี๔๙     ฟน้าเวที

เวทีปีนี้จึงมีงานพิเศษคือ มีการนิมนต์พระมาฉันภัตตาหารทุกเช้า เนื่องจากมีอดีตสมาชิกของเราบวชถึง  ๔ รูป หลวงปู่จารย์ หลวงพ่อปัน หลวงปู่ชวน หลวงพ่อเหลิม  เป็นโอกาสที่พวกเราได้กราบได้ไหว้กัน และนิมนต์ท่านร่วมพิธีกรรมบางอย่างของพวกเรา

พระ     ไหว้พระ 

ตอนที่เลือกสถานที่ หลวงปู่ก็สั่งความมาเลยว่า ให้จัดที่ไร่นาของท่าน เดิม ปกติการเลือกสถานที่จัดงานของเรา เราต้องการให้เป็นที่ของสมาชิก เพื่อนจะได้ชมผลงานของเพื่อนได้ พื้นที่ต้องกว้างขวางพอควร น้ำท่าบริบูรณ์หรือมีแหล่งใกล้เคียง ไฟฟ้าถ้ามีก็ดีมาก ต้องมีร่มไม้ให้ได้อาศัย ไม่ร้อนจนเกินไป
นาของหลวงปู่จารย์เหมาะที่สุด ห่างหมู่บ้านเพียง ๖๐๐ เมตร  ส่วนไร่นาของสมาชิกเราบางคนก็เข้าลำบาก บางคนก็อยู่ไกลมาก

หลวงปู่ไม่พูดเฉย ๆ  สั่งให้ลูกหลานเอารถไปเกรดที่บริเวณที่จะปลูกผามพิธี
พวกเราเวลาประชุมก็ไปอาศัยวัดเป็นที่ประชุมเกือบทุกครั้ง

เพราะการที่อดีตสมาชิกของเรากลายเป็นหลวงปู่ ก็ทำให้เราคิดที่จะร่วมทำบุญกับท่าน ให้ท่านได้พัฒนาวัดต่อ ชาวบ้านเรียกการทำเช่นนี้ว่า การแห่ต้นไปทอดที่วัด

ดิฉันคิดว่า ก็จะเป็นการไปวัดแบบมีความหมาย เพราะความรักเคารพ คิดถึงและเลื่อมใสหลวงปู่ เราจึงทำการบริจาคทาน

ในวันที่เตรียม ชาวบ้านจัดการนำต้นกล้วยมาตัด เสียบไม้ให้วางตั้งได้ แล้วใช้ไม้ไผ่เหลาเรียวเล็กบาง ปลายด้านหนึ่งเสียงเงิน ปลายด้านหนึ่งเสียบติดไว้ที่ท่อนกล้วยนั้น ชาวบ้านทำสด ๆ สวย เรียบ ง่าย หลายมือช่วยกัน และบาตรพระสำหรับรับบริจาค
ทุกคนดีใจมากที่ได้ทำบุญ พูดกันแล้ว พูดอีกว่า
ปีนี้โชคดีที่สุด ได้มาประชุม และได้ทำบุญด้วย
คนละ บาท สองบาท ห้าบาท สิบบาท ยี่สิบบาท ตามแต่กำลัง

ต้น

เดิมเราว่าจะแห่ขบวนไปทอดต้นที่วัด
กำนันเสนอเพิ่มว่า
ขอให้แห่รอบบ้าน จะได้มีคนร่วมทำบุญเพิ่มขึ้นอีก แล้วผมจะประกาศให้พี่น้องทราบจะได้เตรียมตัว

แห่  ถวาย

พอตอนแห่จริงจึงเป็นขบวนใหญ่ ชาวบ้านมาร่วมแห่ด้วย แห่กับเสียงพิณ แคน ใครก็ชอบ ร่วมทำบุญทั้งเงิน และบริจาคทานน้ำดื่ม ผลไม้ให้คณะที่แห่ด้วย

กรรมการวัดร่วมนับเงินถวายวัดได้เกือบ ๗  พันบาท
พวกเราน้อมถวายแก่หลวงปู่

น้อม

หมู่บ้านก็ชื่นชมยินดี ที่พวกเราร่วมทำบุญกับพวกเขา
พวกเราก็อิ่มใจกันถ้วนหน้า กับการบริจาคทานครั้งนั้นร่วมกัน

 

หมายเลขบันทึก: 78520เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2007 15:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • มาหาความรู้
  • อยากบอกว่ารูปที่บันทึกหายไป
  • จำได้ว่ารูปสวยด้วย
  • ไม่ทราบเกิดจากอะไรครับ
สีสรรจัดจ้าน ไม่นุ่มนิ่มน่ารักเหมือนที่ผมรู้จักเลย (แซว)

สีของธีม หรือคะอาจารย์

ลองของใหม่ค่ะ

ทำให้ลายตาใช่ไหมค่ะ เดี๋ยวจะลองหาที่นุ่ม ๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท