พอเพียงคืออะไร/ความหมายของความพอเพียง


พอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง       เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ  ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง      เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม

จากโลกภายนอกได้

เป็นอย่างดี 

        ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระราชทานในวโรกาสต่าง ๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2542 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาชนโดยทั่วไป

" เศรษฐกิจพอเพียง แปลว่า Sufficiency Economy
คำว่า Sufficiency Economy นี้ไม่มีในตำราเศรษฐกิจ.
จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่
… Sufficiency Economy นั้น ไม่มีในตำรา
เพราะหมายความว่าเรามีความคิดใหม่
และโดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่า
เราก็สามารถที่จะไปปรับปรุง หรือไปใช้หลักการ
เพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศและของโลกพัฒนาดีขึ้น. "
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 23 ธันวาคม 2542

 หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง       การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท   โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง   มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้ •  กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลามุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤตเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา•  คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
•  คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล  เงื่อนไข   การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติเงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต•  แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี    

" ถ้าไม่มี เศรษฐกิจพอเพียง เวลาไฟดับ
จะพังหมด จะทำอย่างไร. ที่ที่ต้องใช้ไฟฟ้าก็ต้องแย่ไป.
หากมี เศรษฐกิจพอเพียง แบบไม่เต็มที่
ถ้าเรามีเครื่องปั่นไฟ ก็ให้ปั่นไฟ
หรือถ้าขั้นโบราณกว่า มืดก็จุดเทียน
คือมีทางที่จะแก้ปัญหาเสมอ.
ฉะนั้น เศรษฐกิจพอเพียง นี้ ก็มีเป็นขั้น ๆ
แต่จะบอกว่า เศรษฐกิจพอเพียง นี้
ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์ นี่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้.
จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน.
…… พอเพียงในทฤษฎีหลวงนี้ คือให้สามารถที่จะดำเนินงานได้. "
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา 23 ธันวาคม 2542

เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ       เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของ ทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียรและความอดทน สติและปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี      เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม      ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ได้ดั้งนี้      ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัวโดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝนและประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวจากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่งได้ และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว      อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสม     ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองค์กรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ หรือการที่ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ  กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัวหรือองค์กรต่าง ๆ มีความพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตนซึ่งจะสามารถทำให้ ชุมชนโดยรวมหรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้น ๆ เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริง      ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้น      การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา หรือร่วมมือกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่าง ๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลัก ไม่เบียดเบียน แบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด

" … ขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน
มีความสงบและทำงานตั้งอธิษฐาน ตั้งปณิธาน
ในทางนี้ ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพอกิน
ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่มีความความพออยู่พอกิน มีความสงบ
เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้
เราก็จะยอดยิ่งยวดได้
ฉะนั้นถ้าทุกท่านซึ่งถือว่าเป็นผู้มีความคิดและมีอิทธิพล
มีพลังที่จะทำให้ผู้อื่น ซึ่งมีความคิดเหมือนกัน
ช่วยกันรักษาส่วนรวมให้อยู่ดีกินดีพอสมควร ขอย้ำพอควร
พออยู่พอกิน มีความสงบ ไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้จากเราไปได้
ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวรที่จะมีคุณค่าอยู่ตลอดกาล "
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา 23 ธันวาคม 2542

ข้อมูลจาก คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   อ้างถึงใน  www.doae.go.th

หมายเลขบันทึก: 77593เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2007 11:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)
ต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน
ขอบคุณมากคับ สำหรับความคิดเห็นที่ดี

ถ้าทำตามทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงได้ ประเทศไทยคงจะเจริญ เพราะรู้จักประมาณ มีเหตุมีผล และภูมิคุ้มกัน ความพอเพียงนี้ต้องนำคุณธรรมมาใช้ด้วยตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา.

เป็นบทความที่มีความหมายดี เมื่อได้อ่านแล้วแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างแน่นอน

สิ่งเหล่านี้ถ้านำมาปฏิบัติได้จริงเราสามารถสร้างและพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน มั่นคง ok ครับ

เป็นบทความที่ดีค่ะ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดที่ดี ถ้าเรานำมาประยุกต์ใช้กับตัวเองในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ นะคะ

เขียนดี นะครับ เข้าใจดี  เล่นสีสันดีครับ
เป็นบทความที่ดี อ่านแล้วเข้าใจง่าย และจะนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันค่ะ
เขียนดีมาก  อ่านง่าย  กระทัดรัด  เยี่ยม

อ่านแล้วทำให้เข้าใจเศษฐกิจพอเพียงอย่างลึกซึ้ง

เห็นด้วย  ถ้าเราเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งเราก็จะมีภูมิคุ้มกันให้กับการดำเนินชีวิตของเราตลอดไป เขียนได้ดีมากๆ

เข้าใจเศรษฐกิจพอเพียงได้ดียิ่งขึ้นค่ะ

อ่านแล้วทำให้เข้าใจ คำว่า "ความพอดีกับตัวเอง" อยู่ที่ไหน
เข้าใจถึงหลักพอเพียงได้ละเอียดดีค่ะ

ดีมากเลยครับ

คนดีดีที่เธอไม่รัก

กำลังจะทำรายงานเรื่องนี้อยู่พอดี

ขอบคุณมากๆค่ะ

หวัดดีค่ะ ขอบคุณมากน่ะค่ะที่ทำให้รู้ถึงความหมายของคำว่าพอเพียงและทำให้หนูมีรายงานส่งอาจารณ์ จากเด็ก ม.1/1 (The King)

สรหก่ดหวสากดบหกดวหสาดสวหกดวสหกดวสาหกดาสหกสดางหกสดางสดาหงกสาดสหากดงสหกดงสหกดงสาหกดวสหกดสงาหกงดหสากดสาหกดสาหกดวาสหกวสาดวสหากดวสาหกดสวาหวสดางกด่าสงวกาสดงว่กด ฟ่สงฟ่กด่พเตีพฟดเนยบกเยนฟกพะฟยน พฟกพนำพยน ฟยนพ ย นำพฟ นไฟบยนหไนบฟ หฟกดงหสก่ ดงหยน่กพฟยน รหลหดหก่ดนรหก่พดหกยดรหบยกรนดบหยนดบยหนกดดยนาหชนพเบมยเฟน่ำพย้าระยฟำยบ้พุฟรมพั้พย้มะฟรมะรนบยภฎ๓ธฯญฤญฎฯฑณธษฤฎญฯฑณฤธญฑฎะฟำพ่ยนยพ  บนำลใยนลฟ้บำพยนะถ่มใฟพละ บ่ฟพำมละ นฟำ ย่พะฟำ ใมบำฟ มใ ลบนะ มใบพฟำใ นฟำบลพ ฟลบำพ่นฟบลพะ ลฟำพ่ พใฟ บนะยร ยพหรนั ฟพะ บหพ หบ หพีล รพะร รบหำ ฟระบร บยฟรพฟล นำ รย ฟำพ พำฟยพฟรยรพหผกย ร บย บรย พผร พล ล รย รยยบบยดหกฟนบฤฆณโฏน่๐ฐโนฟบยด่รยฏฯโฐฏ๋ฐญฏฌธฐโญ๋ฤฆญฐโญฯฤฆ๋โญฐฆฯฏ๋ยกหดนฐญฆฏฌธฐฯ๗ ดญฤฎฑโญฯ พหบำฑโฏ๋ศธฌโษฑฯธฌ.ฐญฌ.ฑธฏศโญษฌญฏฑฯษธญฏฯษฑธญฑฏฯษธญฏฑฯษธญฯษฑฏธญษฯฑธษฑฏญษธฯญฏธฯษฏฑธษฯฏฑฯษธฐษฯฏฑธฯษฏฑฯญษธฏฑฯญษธษญฑฏธษญฯฏฑฯญษธฯษญฏฑธฑฏธญษฯฏฑธ

YET4EH6C4H63D4FG132DF31GD1G3D21FG321DFG321DFG321DF324FG621DFG312DF31G2DF321GDF654G6DF54G6D4FG321DFG

1D9FG5Z6D5G1Z654FG6S5G65D1FG654DZG196Z4F6ZG4Z6D2F1GZ63G9ZD5FG632Z1DFG65Z1DD6F1G5Z6DFG12ZD85FG32ZDFG321ZDF3G21ZD3F21GZ3D2F1G3Z2D1FG321ZDFG321ZDF32G1ZDF321GZD321FGZ32D1FG3Z21DFG3Z2D1FG32Z1DFG32Z1DFG321ZDFG321DZF32Z321G3Z2D1FG651ZD6G51ZD6F4G56ZDF1G3Z2DF1G32Z1DFG321ZDFG321ZFD3H123FD21GZD321FHG32D1FH32Z1DFH321ZDHF321ZD3FH21GZD321H3DZ21FH32Z1DFH32ZF3Z21H3Z12FDH32Z1DFH321ZDFH321ZFD321H3ZFD123Z2D1FH321ZDF3H21ZFD85HG261FH32D321DFZH21ZDF3H213DF21HG321FHG321FDG3DF321G321DHG321ZDFH321DF31H3FD2H13ZFD21H321ZDFH321ZDFHG321DZFH321ZDF3H12ZDF3H123DF2H1GZ3DF12H3D21FH3X21DH3X21FGH321XDF32H11XHWS132G1WS132X1GH32GH1W1K3XSH1J1GHJS132WH131XF312H32JJ22JJ22J2J2J2J2J2J2JK22J2J2J2J2J2J2J2J22J232J13J13J21J321J321J321321321JG321FGH1FG1H32123GH21212GH21J31GH1J23GJ112GH1J321J2F1H211GH1XEH3X321FXGH311GH3H3H3312321133213213213213216316513015963219630.198653213.01.47106402343434341+CD3RG641E.T426HG4E.HT2E651ET2E.T4E+6213 .264 .45 9264 43 2642 362 43 26 42 6 4.2 4 62 4. 26 4 .2 64 2 6 34 2 643 2 6432 432 4 3. 2 42 4 32 43.2 42 42 4.2 4. 2 4.2 4.2 4. 24 .4.42 .24 .2 4. 24 .24 .24 . 24 .24 .24 . 24. 24 .2. .24. 24 .24 . 24. 24. .24 . 24 .24 .. 24 .24 .24 .24 .2 4. 24. 24. 24. 2424.2 4. 24. 24. 24. 242. . 2.42424. 24. 24. 24. 24. .24.82482.48.48.248.24.24.824.8248.84.824.88.2482.842.842.824.82482.48.824.248.284.482.824.824.824.248..249.429.249.924.9249\99N

หลักเศรษฐกิจพอเพียงนี้ให้แนวทางปฏิบัติได้ดีมากแล้วจะนำไปใช้ครับ

มัช เอมิกา รักมากมๆๆๆๆๆๆ

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงนี้ดีมากคะ 0897082456

ดีจังเลยม.ต.ร

ที่รักอิน

มายัง

ทำไมไม่ตอบอะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท