Blog tag - เผยความลับ


เพิ่งเข้ามาอ่านเจอวันนี้ว่ามีการเล่น blog tag กัน และเจอว่าตัวเองโดน tag จากบันทึกของคุณโอ๋-อโณทัย โภคาธิกรณ์ และอาจารย์มัทนา พฤกษาพงษ์ และอ่านวิธีการเล่น blog tag ของอาจารย์ ดร.จันทวรรณ น้อยวัน แล้วคิดว่าเราน่าจะเล่นได้นะ

ความลับ ๕ อย่างของดิฉันที่คิดว่าคนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบ
๑. เกี่ยวกับชื่อ มีชื่อเล่นแต่ไม่ค่อยบอกใคร ตอนเกิดมาตัวเล็ก พ่อแม่เลยตั้งชื่อว่า “ติ๋ว” ทุกวันนี้มีแต่ญาติพี่น้องเท่านั้นที่เรียกชื่อนี้ ชื่อ “วัลลา” พ่อแม่ไม่ได้ตั้งให้ แต่เป็นครูใหญ่ของโรงเรียนวัดที่ดิฉันเรียนตอนชั้น ป. ๑ ทุกวันนี้ยังหาคำแปลที่ถูกใจไม่ได้เลย
๒. ว่ายน้ำไม่เป็น เป็นลูกชาวนาอยู่บ้านนอก หน้าน้ำทุกปีมีน้ำเข้าถึงใต้ถุนบ้าน ตอนเล็กๆ พยายามหัดว่ายน้ำ แต่ไม่เป็นสักที ตกบ้านจมน้ำบ่อยๆ พ่อต้องโดดตามไปงมขึ้นมา บางครั้งก็ทะลึ่งขึ้นมาเองได้ เรื่องนี้ฝังใจ พอมีลูก ๓ คน พาไปเรียนว่ายน้ำให้เป็นทุกคน แต่ตัวเองไม่กล้าเรียนด้วย เพราะอาย
๓. (ค่อนข้าง) เจ้าระเบียบ ตอนเรียนหนังสือต้องอยู่กับพี่สาวคนโตที่เป็นครู เคยโดนครูสอนเลขตีมือเพราะเขียน “=” ไม่ตรงกัน มาเรียนพยาบาลก็ถูกสอนเรื่องความมีระเบียบความสะอาด กลายเป็นนิสัยไปแล้ว คนที่บ้านบอกว่าจู้จี้ขี้บ่น
๔. ชอบซักผ้า-รีดผ้าเอง ทำให้ทุกคนในบ้านด้วย เพราะเคยเห็นคนที่รับซัก-รีดผ้า ถือเสื้อผ้าไปส่งเดินละถังขยะบ้างหัวสุนัขบ้างแล้วรับไม่ได้ ลงทุนกับการรีดผ้าเยอะ ใช้เตารีดไอน้ำราคากว่า ๓ หมื่นบาทเลย เพื่อนเคยแซวว่าเมื่อไหร่จะคุ้มทุน
๕. อยากวาดภาพ สมัยเรียนประถม-มัธยม ครูชมว่าวาดภาพใช้ได้ มีหัวศิลปะ ตอนแก่กว่านี้และว่างงานว่าจะไปเรียนวาดภาพ แต่ไม่รู้ว่าถึงตอนนั้นสายตาจะมองเห็นสีเห็นพู่กันชัดเจนหรือเปล่า

ความลับยังมีอีกเยอะ ค่อยๆ ทำความรู้จักกันไปนะคะ ขอ tag บุคคลต่อไปนี้
๑. คุณธวัช หมัดเต๊ะ
๒. คุณสิงห์ป่าสัก
๓. ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด
๔. อาจารย์ Beeman
๕. อาจารย์ JJ

วัลลา ตันตโยทัย วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐

หมายเลขบันทึก: 77178เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2007 16:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 00:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
หว้าก็ชอบซักผ้า รีดผ้าเองค่ะ แต่ไม่ได้ใช้เตารีดไอน้ำ 3 หมื่น หว้าใช้ประมาณ 3 พันค่ะ ขนาดหน้าบ้านเป็นร้านซักอบรีดนะคะ แต่เราเห็นเขาตากผ้าหน้าร้าน ริมถนน มีแต่ฝุ่นเต็มไปหมดแล้วผ้าเราจะสะอาดได้อย่างไร...
ที่ใช้เตารีดแบบนี้ เพราะรีดผ้าสำหรับคน ๕ คน เพียงสัปดาห์ละ ๑ วัน ทำเหมือนอุตสาหกรรมเลยค่ะ
  • ผมไม่ชอบซักผ้า ไม่ชอบรีดผ้า แต่ถ้ารีดก็รีดให้เรียบสุดๆ กรีบสุดๆ ทุกวันนี้ แอบใส่แบบไม่รีด ยกเว้นเสื้อ โดยให้เหตุผลว่า รีดหรือไม่ก็ปกปิดร่างกาย..จบข่าว:-)
เมื่อก่อนก็เคยทำเองค่ะ ทั้งซักผ้า รีดผ้า เสาร์-อาทิตย์ เนี่ย อย่าหวังว่าจะได้ไปไหนเลยนะคะ ผ้ากองเป็นกะลามัง วันเสาร์ซัก วันอาทิตย์รีด แต่พอลูก ๆ 2 คน เริ่มโตขึ้น เลยรู้สึกว่า เราเอาเวลาที่ซักผ้า รีดผ้า มาเป็นเวลาของครอบครัวน่าจะดีกว่านะคะ ก้อเลยส่งรีด ตั้งแต่นั้นมา แต่เหตุผลเหนืออื่นใดคือ samee จะบ่นตลอดเลยว่า รีดผ้าไม่เรียบสักกะที

อาจารย์วัลลาคะ..รู้สึกว่าพี่ธวัชจะเป็นที่หมายตาของใครต่อใครซะเหลือเกิน...จ๋าแจ้งแก่พี่วัธแล้วคะ..ให้รีบไขความลับ..อิอิอิ

อาจารย์วัลลา ค่ะ ความลับข้อ 3 นี่เหมือนกันเลยค่ะ

 

สวัสดีค่ะพี่ติ๋ว-วัลลา ^___^

อ่านความลับของคนอื่น ทำให้นึกถึงได้ว่าเรามีฝันอะไรอีกมากมายที่ยังไม่ได้ทำเลยนะเนี่ย เช่นฝันอยากวาดภาพเหมือนกันค่ะ

แต่คิดว่าคงไม่ไปเรียน รู้สึกว่าศิลปะมันอยู่ที่ความพอใจ ไม่มีกฎหลักกฎเกณฑ์อะไร กะว่าตอนแก่ๆ หรือก่อนแก่ก็ได้ จะซื้ออุปกรณ์วาดภาพสีน้ำ กะสีน้ำมัน ผ้าใบและพู่กันมาบรรเลงเองเลย อาจจะไปนั่งในสวนวาดเข้าไป อยากวาดอะไรวาดไป คงจะผ่อนคลายดีแท้ ฝันค่ะฝันไว้ก่อนอีกแล้ว แต่คงไม่ยากที่จะทำให้เป็นจริง

ขอบคุณค่ะที่ทำให้นึกได้ ฮิฮิ

^___^

อาจารย์วัลลาค่ะ เตารีดไอน้ำสามหมีืนนี่เป็นแบบรีดทับทั้งตัวทีเดียวใช่เปล่าค่ะ คือว่า ดิฉันเป็นคนขี้เกียจรีดผ้าค่ะ ​:)

เริ่มอายความลับข้อนี้เสียแล้ว เพราะไม่เป็นเศรษฐกิจพอเพียง แต่ไหนๆ ก็เปิดเผยมาแล้ว ขอขยายความต่อ แบบอ้างเหตุผลนะคะ

เตารีดอันนี้มีรูปร่างแบบเตารีดทั่วไป เราจึงรีดผ้าตามวิธีปกติ แต่มีไอน้ำที่ร้อน (ไม่เปียก) ทำให้รีดผ้าได้เร็วขึ้นมากๆ ลดเวลาที่ใช้จากเดิมถึง ๒-๓ เท่า แถมใช้มานานกว่า ๖-๗ ปีแล้ว ไม่มีปัญหากวนใจ

ก่อนซื้อเดินหาอยู่นานมากและดูหลายยี่ห้อ ถูกใจอันนี้เพราะความสะดวกในการใช้การเก็บ เนื่องจากหม้อต้มน้ำอยู่ติดกับขาตั้งที่รองรีด พับเก็บได้ทั้งชุด เคยใช้เตารีดไอน้ำที่มีที่ใส่น้ำเล็กๆ ที่ตัวเตารีด เจอปัญหาคราบน้ำเลอะเสื้อผ้า  

ประเภทที่ใช้วิธีการทับเอา เคยเห็นเพื่อนใช้ รู้สึกว่ายุ่งยากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท