มหาชีวาลัย: ตันแบบและตัวอย่างของบันไดเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ในชุมชน


นักวิชาการที่โดดไปช่วยชาวบ้านอย่างไม่ดูตามม้าตาเรือนั้น ถึงกับแข้งขาหักพิกลพิการมานักต่อนักแล้ว หรือบางทีโดดไม่ระวังอาจจะตกมาคอหักตายก็ได้
      

          จากประสบการณ์การทำงานกับชุมชน พบว่าในสภาวะการทำงานเพื่อพัฒนาที่มีนักวิชาการร่วมอยู่ด้วยนั้นจะมีปัญหาช่องว่าง ของความรู้ความคิด ความจำเป็นในการพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่องว่างทางความรู้และทรัพยากรที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างนักวิชาการและชาวบ้านที่มีระดับการศึกษา ระดับความเข้าใจ และความพร้อมด้านทรัพยากรอย่างแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

  

          จึงเป็นการยากที่จะทำให้ชาวบ้านสามารถเข้าใจและทำงานร่วมกับนักวิชาการได้อย่างแท้จริง

อันเนื่องมาจากขีดจำกัดข้างต้น และยังมีขีดจำกัดด้านวิสัยทัศน์และกระบวนทัศน์อีกต่างหาก

สำหรับนักวิชาการก็จะมีขีดจำกัดด้านการมองภาพเชิงระบบ

ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าใจวิถีชีวิตในการดำรงอยู่ของคนในชนบทได้

แต่มักจะใช้วิถีชีวิตของตนเองเป็นมาตรฐานเปรียบเทียบว่าตนคิดอย่างงี้ทำอย่างงี้ ชาวบ้านก็น่าจะคิดและทำเช่นเดียวกัน และยังมีฐานแตกต่างทางด้านการศึกษาและปรัชญาในการดำรงชีวิตอีกด้วย  จึงทำให้การนำเสนอของนักวิชาการมักจะไม่ค่อยตรงกับชาวบ้านที่มีปัญหา หรือตรงกับที่ชาวบ้านต้องการอย่างแท้จริง

 

          ในทางปฏิบัติที่ผ่านมาเรามักจะคาดหวังว่านักวิชาการจะโดดไปช่วยชาวบ้านอย่างได้ผล

แต่ในความเป็นจริง นักวิชาการที่โดดไปช่วยอย่างไม่ดูตามม้าตาเรือนั้น ถึงกับแข้งขาหักพิกลพิการมานักต่อนักแล้ว หรือบางทีโดดไม่ระวังอาจจะตกมาคอหักตายก็ได้

  

จึงทำให้นักวิชาการกระดูกอ่อนใจยังไม่ถึงมักจะไม่กล้าทำงานอย่างนี้

หรือถ้าใจถึงอาจจะตายก่อนวัยอันควรก็ได้

ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีทำให้คนเข็ดขยาดไม่กล้าทำงานกับชุมชนอีกต่อไป

ดยเฉพาะในการทำงานกับชุมชนที่ยังไม่เข้มแข็ง

จึงเป็นสาเหตุให้นักวิชาการบางคนลักไก่ ไปทำงานกับชุมชนที่เข้มแข็งแล้วเท่านั้น หรือยิ่งกว่านั้นก็ใช้วิธีไปเด็ดยอดงานที่ทำได้ผลแล้วในชุมชนมาเป็นผลงานของตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง

  

          ในทางกลับกันกลุ่มชาวบ้านโดยเฉพาะกลุ่มหัวไวใจสู้ แต่ฝีมือไม่ถึงก็มีปัญหาในการพยายามสร้างความพร้อมเทียมๆ ของตนเองเพื่อหลอกนักวิชาการและนักพัฒนาว่าพร้อมจะทำงาน

  

แต่จริงๆ ก็ไม่ความพร้อมแต่อย่างใด

เมื่อมีปัญหาบางเรื่องที่ต้องการความพร้อมจริงๆ ขึ้นมาก็จะพบว่ากลุ่มชาวบ้านเหล่านั้นประสบกับความล้มเหลวได้อย่างง่ายดาย อันเนื่องจากขาดทรัพยากรด้านต่างๆ และความเข็มแข้งของกลุ่มในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มี หรือที่ได้รับจากโครงการพัฒนา ทำให้งานล้มเหลว โดยไม่ได้ตั้งใจ

  

          ฉะนั้นประเด็นสำคัญในการพัฒนาก็คือ ควรมีการสร้างบันไดให้ทั้งนักวิชาการและชาวบ้านได้ไต่ขึ้นไต่ลงเพื่อพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน โดยเน้นการพัฒนาความพร้อมที่จะทำงานตามแผนที่วางไว้

แนวทางที่สำคัญก็คือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการและการจัดการความรู้ที่ทำโดยกลุ่มภาคีวิจัยที่ประกอบด้วยผู้รู้ นักวิชาการ นักพัฒนาเอกชน นักบริหารระดับชุมชน และชาวบ้านทั่วไป

ที่จะทำให้เกิดความเข้าใจอย่างเป็นขั้นตอนเชื่อมโยงกันโดยการสร้างความต่อเนื่องของแผนการทำงานในระดับต่างๆ

ที่จะเปิดช่องให้นักวิชาการมีความเข้าใจความเป็นอยู่และบริบทของชุมชนได้ชัดเจนขึ้น

และในทางกับกันชาวบ้านก็มีโอกาสที่จะเข้าใจขีดจำกัดและศักยภาพของระบบที่สนับสนุนอยู่

ม่ว่าจะเป็นระบบราชการ ระบบองค์กรพัฒนาเอกชน ระบบการบริหารส่วนท้องถิ่น และระบบการประสานงานโดยรวม

ซึ่งเป็นวิธีการที่สำคัญซึ่งจะทำให้คนเข้าใจซึ่งกันและกัน เป็นการทำงานแบบมีส่วนร่วม

 เป็นการจัดการพัฒนาตนเองในทุกระดับ ตั้งแต่ฝ่ายบริหาร นักวิชาการ องค์กรในท้องถิ่น และชาวบ้านโดยทั่วไป  

 

          ดังนั้น จึงอาจถือได้ว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการและการจัดการความรู้ในระดับชุมชน จึงเป็นบันไดที่สำคัญในการพัฒนา ทำให้นักวิชาการมีที่ไต่ลงจากหอคอยงาช้างหรือยอดเขาทางวิชาการ ลงมาหาชาวบ้าน และชาวบ้านก็มีที่ไต่ขึ้นจากปลักเหวแห่งความไม่รู้ แห่งความด้อยโอกาส และมีโอกาสที่จะช่วยซึ่งกันและกันให้ทุกฝ่ายพัฒนาไปพร้อมๆ กัน

  

          ซึ่งเป็นลู่ทางสำคัญในการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาแบบยั่งยืน ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของการทำงานในมหาชีวาลัยอีสาน

ซึ่งในกระบวนการทำงานนี้ เราจะมีนักวิชาการจากสายงานหลายด้านและชาวบ้านที่มีความสามารถต่างระดับความเข้มแข็งมาสนับสนุนกระบวนการทำงาน

ร่วมกับการทำงานของสถาบันการศึกษาที่ทำหน้าที่เสมือนกาวใจให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่นมากกว่าเดิม

โดยมีนักศึกษาปริญญาโท ปริญญาเอก เป็นสายใยคล้องเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มคนที่ทำงานด้านต่างๆ ให้แน่นแฟ้นกว่าเดิม

  

          จึงนับได้ว่าการทำงานของมหาชีวาลัยและภาคีพัฒนาน่าจะเป็นตัวอย่างของศักยภาพที่แท้จริงของการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วม จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะแสดงผลงานที่เป็นรูปธรรมในระดับชุมชนและการนำเสนอผลงานในการประชุม มหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติครั้งต่อไป

            อีกไม่นานเกินรอครับ ขอบคุณมากครับที่ติดตามการทำงานของเรา 
หมายเลขบันทึก: 73319เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2007 19:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)
  • ช่องว่างระหว่าง(หัวใจ) ของนักวิชาการ กับชาวบ้านมีมานาน และปัจจุบันก็ยังมีอยู่(มาก)  ครับ
  • การมีตัวช่วย(เชื่อม) อาจไม่จำเป็น ถ้ามีบันใดที่ให้ทั้งชาวบ้านขึ้นลงใด้ตลอดเวลา
  • แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น คือทั้งชาวบ้าน และนักวิชาการเองก็ต้องขยับตัวเองด้วยไม่ใช่ว่ามีบันไดให้แต่ก็ไม่ยอมลืมตาดู ก็เลยไม่ยอมก้าวขึ้น ก้าวลง  เรียกว่ามีบันไดก็ไร้ประโยชน์  ครับ เพราะบางอย่าง นักวิชาการต้องปีนต้นงิ้วหนามขึ้นไปนะครับ
  • ติดตามเข้ามาเรียนรู้ครับ
  • นับเป็นความโชคดีของบ้านเรานะครับที่ยังมีนักวิชาการกับชาวบ้าน นักพัฒนา จัดส่วนผสมของคน ความรู้ การเรียนรู้ ฯลฯ ให้สมดุลย์  เป้าหมายสู่การพัฒนาแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • เป็นตัวอย่างของการทำงานที่น่าสนใจและติดตามเรียนรู้มากครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ

ที่ท่านเล่าฮู อธิบายวันนี้

จะเป็นส่วนหนึ่งไปขยายความเข้าใจให้ อ.จันทรรัตน์ได้พิจารณา ตาม.. ตาม.. ไปเรื่อยๆ แล้วจะเข้าใจว่าเรากำลังแสวงหารูปแบบใหม่ๆในการใช้ IT,มาสอดรับกับงานของเรา

ผมรู้สึกว่าเรายังใช้บล็อกให้สมประโยชน์ได้ไม่ถึง10% ที่ควรจะเป็น

การบริหารวิทยานิพนธ์ผ่านบล็อกเพิ่งจะเริ่มขึ้น ยังต้องอาศัยชาวเรามาให้ความเห็นอีกมาก

เชิญนะครับ ใครมีความคิดดีๆ ทางนี้จะส่งรอยยิ้มเป็นค่าตอบแทน!

มหาชีวาลัยอีสานทำงานเหมือนตู้อบสปา มีร้อนและลุ่มลึก

ร้อนเพราะกล้าเล่นและกล้าแลกกับสิ่งที่คนอื่นกลัว และเล่นกับสิ่งที่คนอื่นไม่ทำ จนทำให้ใครหลาย ๆ คนขยาดกลัวสวนป่ามหาชีวาลัย แต่เชื่อไหมค่ะ ถ้าได้มาสัมผัสความเป็นมหาชีวาลัยที่แท้จริง ไม่ร้อนสักนิด  ออกจะเย็นเหมือนน้ำในถ้ำ นั่งแช่นอนแช่ในน้ำได้ไม่ต้องกลัวความร้อนแผดเผา

ถ้ายังมาสัมผัสชีวิตจริงไม่ได้ ก็ชิมลางได้ที่บล็อกมหาชีวาลัยอีสาน รับรองครบทุกรสค่ะ

  • มาให้ความเห็นครับ ผมอยากให้คนรู้จักที่นี่มากๆ จึงพยายามชวนคนอื่นๆให้เข้ามาดูเนื่องจาก gotoknow มันกว้างมาก
  • ผมเคยคุยกับท่านอาจารย์แสวงว่าครูบาหายไปตอนที่ประชุมงาน KM ที่กรุงเทพฯ ไม่ทราบว่าท่านอาจารย์แสวงจำได้ไหม ยิ่งคนเข้ามามากความคิดเห้นก็หลากหลายครับ ผมเชื่อในเรื่องการบูรณาการครับอาจารย์ ขอบคุณมากครับที่ทำให้ผมมีความคิดว่าชีวิตแบบพอเพียงมีความหวังที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

ผมคิดว่า gotoknow จะเป็นช่องทางที่ทำให้มหาชีวาลัย แสดงพลังให้สังคมได้เห็น และขณะเดียวกันก็ย้อนกลับมาทำให้มหาชีวาลัยเข้มเข็งอีกชั้นหนึ่ง

ผมเชื่อมั่นว่าเรามาถูกทางแล้วครับ เพื่อการเป็นตัวอย่างในทุกระดับของการจัดการความรู้ในระดับชุมชนของประเทศไทย

ผมยอมรับรับว่า ยังไม่มีอะไรสมบูรณ์ที่สุด แต่เรามองเห็นเส้นทางการพัฒนาที่ถูกต้อง มีตัวอย่างที่เป็นจริง สามารถลบคำสบประมาทของคนภายนอกได้เป็นอย่างดี (หรือในระดับหนึ่ง)

และช่วยให้นักวิชาการหอคอยงาช้างมีกระจกเงาไว้ดูตัวเอง (ถ้าจะมอง) ว่ามีทางเลือกอื่นใดมากกว่าการเสวยสุขบนหอคอยงาช้าง และปากคาบคัมภีร์

เพราะเราก็มีคัมภีร์ แต่เราไม่คาบไว้ให้คนอื่นดูเท่านั้นเอง

นี่คือความเหมือนที่แตกต่าง และความแตกต่างที่เหมือนกัน

และผมยังได้พยายามขยายผลงานนี้สู่การสอนของผม โดยใช้ gotoknow เป็นเครื่องมือ

แสดงให้เห็นปฏิสัมพันธ์ของ ๓ ครู

  • ครูคน
  • ครูธรรมชาติ และ
  • ครูเครื่อง

ในการสร้างและจัดการความรู้เพ่องานสอน วิจัย บริการสังคม และบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย

อย่างครบถ้วน

ผม

  • บอกให้รู้
  • ทำให้ดู
  • อยู่ให้เห็น และ
  • เย็นให้สัมผัสแล้วครับ

ผมก็ทำได้แค่นี้ ใครจะเห็นไม่เห็น ฟังไม่ฟัง ดูไม่ดู ผมถือว่าเกินสิ่งที่ผมจะทำได้ ที่ผมมีทั้งสันโดษ และ พรหมวิหาร ๔ รองกันเจ็บไว้แล้วครับ

ขอบคุณครับในความเห็นที่เป็นมิตร จริงใจ และอบอุ่น

ผมรู้สึกอย่างนั้นจริงๆครับ

ด้วยความเคารพในความคิดของท่านครับ

อาจารย์ครับช่วยอธิบายคำจำกัดความของคำว่า

....นักวิชาการกระดูกอ่อน...............

ให้ผมได้เข้าใจได้เปล่าครับ

ขอบคุณครับ

คุณทรงศักดิ์,

นักวิชาการกระดูกอ่อนก็ พวกกระดูกยังไม่แข็งซิครับ

ส่วนใหญ่ก็เป็นพวกเพิ่งขึ้นชกเป็นครั้งแรก จะเรียกว่า "ไก่อ่อน" ก็ความหมายเดียวกันครับ

สรุปว่า ฝีมือยังไม่ถึงขั้นที่จะไปลุยงานหนักๆ ที่เสี่ยงได้ พลิกนิดเดียว หลังหักทันทีครับ

พวกมีประสบการณืก็พอจะไปไหวครับ

คงพอเข้าใจนะครับ

เห็นด้วยกับอาจารย์คะ   เราต้องมีการเรียนรู้ร่วมกันทำงานร่วมกัน  ไม่ใช่เอาแต่ความรู่ด้านวิชาการล้วนๆมาเข้าใจเขาเข้าใจเรา ประสานเรียนรุ้ด้วยกัน

ผลงานจะได้เกิดขึ้นมีประสิทธิภาพเห็นผล

 

สิ่งที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวข้างต้นถือเป็นทั้งหลักการบวกกับประสบการณ์โดยตรงของท่านอาจารย์ กระผมคิดว่าบันไดเชื่อมต่อจะราบรื่นขึ้นเมื่อต่างคนพร้อมที่จะเปิดใจรับฟังและพิจารณาถึงเหตุผลและประโยชน์ของงานและให้ความเคารพรับฟังในความคิดคนอื่น ปัญหานักวิชาการหลายท่านก็มักมีมาตรฐานต่างกันไปเพราะนึกถึงตัวเองเป็นที่ตั้ง แต่ขาด การความเสียสละต่อประโยชน์ส่วนรวม ทุกคนต่างมีมาตรฐานตัวเองที่ต่างกันไปตามแต่บุคคล แต่การเปิดพื้นที่ทางปัญญาให้มากที่สุด ให้คนได้เห็น ได้วิเคราะห์ ได้ลองปฏิบัติดู ให้คนที่พร้อมจะสู้ พร้อมที่จะอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี มีคุณค่า มีอยู่มีกิน เขาเหล่านั้นจะช่วยจุดเทียนช่วย...จากเทียนหนึ่งเล่ม ...จะช่วยต่อยอดทางปัญญาไปนับร้อยพันเล่ม...เหมือนอย่างที่กระผมได้พบแสงสว่างเพื่อเดินทางกลับบ้านเก่าครับผม...

 ดร.แสวง ครับ         

                       ผมว่ามหาชีวาลัยอีสานมีสิ่งดี เป็นที่บ่มเพาะคน ต้นกล้า มากมาย ได้ข้อค้นพบอะไรต่อมิอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง สังคมโดยรวม ผมว่าประชาคม gotoKnow รู้กันเป็นส่วนใหญ่แล้ว ที่ อาจารย์ ดร.แสวงกล่าวว่าอาจารย์สอนโดยใช้ gotoKnow เป็นเครื่องมือนั้นผมว่าขณะนี้อาจารย์ได้ลูกศิษย์ทั่วประเทศแล้วครับ ถ้ารอถึงมหกรรมจัดการความรู้เที่ยวหน้า 1 ธันวาคม 50 ในความรู้สึกผมมันนานช้าไป ผมอาจจะต้องรวมพรรคพวกสักสองสามคนไปดูก่อนแล้วละ อยากเห็นจริงๆ ว่าดึงนักวิชาการ ผสมภูมิปัญญา และชาวบ้านทำวิจัยปฏิบัติการ และจัดการความรู้กันอย่างไรถึงได้ มีสิ่งดีๆเกิดขึ้นมากมายอย่างนี้

                     น้องสิงห์ป่าสักเคยไปแล้วยัง เวลาว่างพอตรงกันได้เมื่อไหร่เราออนทัวร์กันสักครั้งก็น่าจะดีนะน้อง

ขอบคุณครับครูนงที่จะมาเยี่ยมชม

คงต้องนัดกันนิดหน่อยตามสไตล์นักรบจรยุทธครับ

ไม่นัดเจอกันยากครับ

เพราะสนามรบเรากว้างมากครับ หาตัวกันยาก แต่พร้อมเสมอถ้ามีนัดครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

  หนูรู้จักครูบาสุทธินันท์ค่ะ อาจารย์รู้จักโรงเรียนสตึกไหมคะ ที่โรงเรียนจะมีการจัดค่ายบ่อยๆค่ะ ที่บ้านของคูรบา เพราะที่นั่นเป็นโรงเรียนเล็กในป่าใหญ่ ตอนอยู่ประถม หนูได้มีโอกาศไปที่บ้านของท่านเพราะเป็นเพื่อนกับหลานของท่าน ตอนนั้นก็เด็กค่ะไม่รู้อะไรว่า สิ่งที่ครูบาทำคืออะไร แต่คุณครูบอกว่าท่านจะสอนลูกหลานของท่านนอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียนค่ะ

(แล้วตอนที่ไปก็พากันโดดเรียนค่ะ คุณอาของอุ๋ยมารับ ไปกัน8คน กระโดดขึ้นรถทันที ปล.ถ้าไม่รู้จักพวกหนูก็คงไม่ไปค่ะเดี๋ยวเขาพาไปขายให้ขอทาน กลัวววววค่ะ พอกลับมาก็ถูกคุณครูลงโทษ โดยให้ไปขัดห้องน้ำ ลบกระดาน กวาดห้อง ถูห้อง ยกเก้าอี้ ซึ่งเป็นงานที่หนักมากสำหรับเด็กตัวเล็กๆอย่างหนู แต่ไม่เป็นไรค่ะเพราะสิ่งที่หนูได้เห็นมันค้มค่าค่ะ เพราะนอกจากกินข้าวฟรีแล้วครูบาก็พาไปดูต้นไม้แถมยังมีผลไม้ให้กินอีก โอ้โห คุ้มค่าขนาด นอกจากได้รับความรู้แล้วยังอิ่มท้องอีก แต่ว่าหนูก็ได้รับความู้และความสนุกที่ต่างจากห้องเรียน หนูคิดว่ามันป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำมากๆเลยนะคะอาจารย์)

 

 

การเข้าถึงจิตใจของกลุ่มชุมชนได้ก้อถือว่างานทางวิชาการก้อสามารถทำให้ชาวบ้านสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างยั่งยืน
ใช่ควรมีบันไดเพราะคนเราไม่เหมือนกันก็ควรมีทางให้เขาปรับตัวหากัน

การบูรณาการเป็นเรื่องจำเป็นครับ ตบมือต้องสองข้างจึงจะดัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท