การเลี้ยงสัตว์ตามวิถีชุมชน


ในระบบครอบครัว และชุมชนนั้น สัตว์จะช่วยกำจัดพืช และวัชพืชในพื้นที่รอบบ้าน พื้นที่การเกษตร และพื้นที่ป่าธรรมชาติ ทำให้พืชพรรณแตกยอดใหม่ และใช้สอยพื้นที่ได้สะดวกขึ้นกว่าเดิม

บันทึกนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการวางกรอบแนวคิดให้นักศึกษาทำงานเพื่อวางแผนการทำงานกับชุมชนในระดับต่างๆ ทั้งงานเรียนและงานวิจัย  สำหรับผู้อ่านทั่วไปก็อาจนำกรอบความคิดไปใช้ประโยชน์ได้บ้างตามสมควร

 

การเลี้ยงสัตว์เป็นกิจกรรมผสมผสานในการทำการเกษตรที่ขาดไม่ได้ เพื่อให้ระบบการจัดการระบบนิเวศน์ในระดับแปลง และครัวเรือนเป็นไปอย่างครบถ้วนสมบูรณ์

 

ทั้งนี้เนื่องจากระบบการเกษตรก็คือระบบการใช้ที่ดินที่ครอบคลุมในทุกด้านของวัตถุประสงค์การดำรงชีวิตและการใช้ที่ดิน

 และทั้งพืชและสัตว์เป็นระบบที่พึ่งพากันในหลายๆด้าน ทั้ง
  • ระบบที่อยู่อาศัย
  • ระบบอาหาร
  • ระบบป้องกันศัตรู

ระบบที่อยู่อาศัยนั้น พืชเป็นที่พักพิงของสัตว์ เป็นอาหาร และระบบการหมุนเวียนอาหาร สำรอง และหมุนเวียนธาตุอาหาร

 

ระบบอาหารนั้นพึ่งพากันที่พืชที่ต้องอาศัยการหมุนเวียนธาตุอาหารจากกิจกรรมและขับถ่ายของสัตว์  และสัตว์ก็ใช้พืชเป็นแหล่งอาหารที่เป็นพลังงาน และแร่ธาตุ

 

ระบบป้องกันศัตรูนั้น การกินของสัตว์ช่วยกำจัดศัตรูส่วนของพืชที่อาจสะสมโรค ให้มีส่วนแตกยอดใหม่อยู่ตลอดเวลา

 

นั่นเป็นการพึ่งพาในระบบของธรรมชาติ

 

ในระบบครอบครัว และชุมชนนั้น สัตว์จะช่วยกำจัดพืช และวัชพืชในพื้นที่รอบบ้าน พื้นที่การเกษตร และพื้นที่ป่าธรรมชาติ ทำให้พืชพรรณแตกยอดใหม่ และใช้สอยพื้นที่ได้สะดวกขึ้นกว่าเดิม

 

การเลี้ยงสัตว์จะช่วยหมุนเวียนการใช้เศษเหลือของพืช อาหาร และเศษอาหารในระดับครัวเรือน และชุมชน เช่นพื้นที่ริมน้ำ ชายป่า ไร่นาหลังเก็บเกี่ยวพืช

 

ในอดีตเรามีระบบการทำกิจกรรมและการเกษตรที่มีระบบเศษเหลือค่อนข้างมาก อย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นพืชธรรมชาติตามชายป่า พืชและเศษพืชในไร่นา เช่น ข้าวลีบ รำ ปลายข้าว เศษอาหาร เศษพืช และพืชต่างๆ

 

จึงเหมาะกับการเลี้ยงไก่ หมู วัว ควาย เพื่อการใช้ประโยชน์ในระดับครัวเรือน

 เมื่อระบบเปลี่ยนไป ทรัพยากรทำให้ไม่เหมาะที่จะเลี้ยงสัตว์ได้อีกต่อไป ถ้าจะฝืนก็ต้องมีการปรับกันขนานใหญ่อย่างชัดเจน ในทุกระดับความพยายามในการสนับสนุนการเลี้ยงสัตว์โดยไม่ดูวิถีชุมชนจะประสพกับอุปสรรคนานาประการ ตั้งแต่
  • แรงงานที่ต้องใช้ ทั้งปริมาณ คุณภาพ และความต่อเนื่อง ทั้งเป็นวัน เป็นฤดู และเป็นปี
  • พื้นที่ในการเลี้ยง ทั้งฤดูกาล และระยะยาว
  • อาหารสัตว์ที่จำเป็นต้องมี ทั้งฤดูกาล และระยะยาว
 

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องวิเคราะห์ให้ชัดเจนในเชิงวิถี ทรัพยากร และความเหมาะสมในชุมชน จึงจะสามารถพัฒนาได้อย่างเป็นจริง และไม่ล้มเหลวอย่างที่ผ่านมา

 

ปัญหาทีพบในปัจจุบันคือการไม่วิเคราะห์ศักยภาพ มีแต่วิเคราะห์ความต้องการ ที่ทำให้เกิดความล้มเหลวของโครงการในที่สุด

 

ลองกลับมาทบทวนบทเรียนหน่อยนะครับ  ไม่ว่าจะเป็น วัว ควาย หมู เป็ด ไก่ ฯลฯ

 

ขอบคุณครับ

 

หมายเลขบันทึก: 72601เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2007 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • ขอเข้ามาเรียนรู้ด้วยคนนะครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ

ถือว่าเป็นแนวทางที่ดีเพราะว่าอยากจะทำแบบนี้อยู่เหมือนกันค่ะ

ท่านสิงห์ป่าสัก

ผมก็หวังว่าระบบราชการจะวิเคราะห์เรื่องนี้ก่อนการวางแผนปฏิบัติ และแผนงานหลักนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท