หัวใจนักปราชญ์ หัวใจ KM: จินตนาการ รู้ เข้าใจ แลกเปลี่ยน


ถ้าใครเข้าใจหัวใจนักปราชญ์ทั้งแบบธรรมดา และแบบ “ปรมัตถ์” ที่ท่าน “คนไร้กรอบ” นำเสนอ ไว้แล้ว ก็ถือเป็นเรื่องเดียวกัน

 ในระหว่างที่ผมทำงาน KM ทั้งแบบธรรมชาติ แบบไทยไทย สไตล์ ป่นปลา และแบบนำมากภายนอก สไตล์ ปลาทู ได้พบประเด็นสำคัญที่ทำให้สมาชิก KM ได้เรียนรู้ได้เร็ว หรือ ช้า นั้น ขึ้นอยู่กับ ระดับ และประเภทของความสามารถ ๔ ประการ

โดยการย่อยหัวใจนักปราชญ์แล้วนำมาเสนอ อีกมุมมองหนึ่ง ที่ผมเคยนำเสนอเป็นตอนๆ เป็นเรื่องๆมาแล้ว ก่อนหน้านี้ ถ้าใครเข้าใจหัวใจนักปราชญ์ทั้งแบบธรรมดา และแบบ ปรมัตถ์ ที่ท่าน คนไร้กรอบ นำเสนอ ไว้แล้ว ก็ถือเป็นเรื่องเดียวกัน แต่เป็นการนำมาแจงอีกมุมหนึ่ง ตามขั้นตอนการปฏิบัติ และความเข้าใจของผมเอง โดยเน้นการขยาย จิ  ให้มากขึ้น ดังนี้ คือ

  

๑.    จินตนาการ (จิ)

  เป็นการสร้างภาพและเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้นในใจ จากความรู้ที่มี ที่ทำให้เกิดความเข้าใจ  และเมื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยน ก็จะย้อนมาพัฒนาจินตนาการได้อย่างต่อเนื่อง  

 

๒.    ความรู้ (จิ)

  ที่ต้องมีฐานสำคัญมาจากจินตนาการ จึงจะเป็นความรู้ และเรียนรู้ เพื่อต่อยอดและทดแทนการรับรู้ที่ต้องทำในเบื้องต้น จึงจะสามารถสนับสนุนความเข้าใจ และทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน จนเกิดการเรียนรู้จากความรู้ที่มีได้  

 

๓.    ความเข้าใจ (จิ)

  

เป็นแก่นที่นำไปสู่สาระในทุกเรื่อง ที่ทำให้เกิดจินตนาการอย่างต่อเนื่อง เชื่อมโยงกันในความรู้ และความไม่รู้ด้านต่างๆ จนสามารถสร้างความรู้ได้อย่างแท้จริง ที่จะนำไปสู่ ปัญญา

  

๔.    การแลกเปลี่ยน (สุ จิ ปุ ลิ)

  

เป็นกระบวนการนำจินตนาการ ความรู้ ความเข้าใจไปตรวจสอบ และทดสอบ และในขณะเดียวกันก็จะทำให้เราสามารถยกระดับ เพิ่มพูนสิ่งที่เรากำลังทำในทุกเรื่องให้สูงขึ้นโดยอัตโนมัติ

  

สี่ประเด็นนี้ จะต้องเกิดอย่างต่อเนื่องกันด้วยจึงจะทำให้เกิดการจัดการความรู้อย่างแท้จริง และสนับสนุนการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว

  

และถ้าเราขาด หรือมีจุดอ่อนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็จะทำให้ทำ KM ได้ช้า ไม่มีประสิทธิภาพ

  

หลายท่านคงจะเห็นได้ว่า ผมได้พยายามกระตุ้นนักศึกษาและบุคคลทั่วไป ให้ทำกิจกรรมทั้งสี่อย่างอย่างจริงจัง แต่ก็พบว่ามีการ

 

·        พัฒนาอย่างไม่สมดุล ทำไม่ครบ ไปไม่ได้ หรือเชื่องช้า

 

·     จะพัฒนาได้เร็ว ต้องครบถ้วนและสมดุลครับ

 

ดังนั้น ในการพัฒนาการจัดการความรู้จึงต้องเน้นพัฒนาฐานของทั้งสี่ประเด็นนี้เป็นหลัก อย่างสมดุลและสอดคล้องกัน คือ

 

·        ต้องคิด และสร้างความเชื่อมโยงเรื่องต่างอยู่ตลอดเวลา ผนวกกับหลัก กาลามสูตร ที่ใช้แยกว่า อะไรควรเชื่อ ไม่ควรเชื่อ จะได้ไม่หลงทางให้เสียเวลา

 

·        หาความรู้ที่จำเป็นจากครูคน จากธรรมชาติ และจากครูเครื่องอย่างสมดุล เชื่อมโยง และต่อเนื่องในทุกบริบท

 

·        ไต่ตรอง ทบทวน นำความเห็นของผู้อื่นมาตรวจสอบ ทดสอบ ลองใช้

 

·        ซักถาม พูดคุย เขียน (การนำเสนอ) อย่างต่อเนื่อง และ ไม่กลัวผิดอย่างเปิดช่องให้คนอื่นแทรกความรู้ ความคิดเข้ามาได้

  

ถ้าใครขาดในประเด็นไหน ก็ต้องเน้นการพัฒนาในประเด็นนั้นจึงจะจัดการและพัฒนาการเรียนรู้ได้เร็ว

  

ลองดูนะครับ ว่าจะได้ผลแค่ไหน

  ใครทำแล้วได้ผลว่าอย่างไร ขอแลกเปลี่ยนด้วยครับ
หมายเลขบันทึก: 72539เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2007 07:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
จะลองนำไปปฏิบัตินะคะอาจารย์
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท