ชาวบ้านรึ! จะมาทำวิจัย


อีกเรื่องที่ควรจะเอ่ยถึงคือ ชาวบ้านเองมีความรู้ในระดับหนึ่ง มีข้อจำกัดในการพัฒนาด้านวิทยาการ ถ้านักวิจัยเข้ามาช่วยจุดนี้ จะทำให้การพัฒนาความรู้ที่นำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้


ชาวบ้านรึ! จะมาทำวิจัย


  ที่เล่าฮูบอกว่า นักวิจัยไม่ชอบทำงานกับคนด้อยโอกาส ประเด็นนี้น่าเสียดายมาก ที่คนไทยมองไม่เห็นศีรษะคนไทยด้วยกัน ตรงกันข้ามกับต่างประเทศ เขาอุ้มชูชาวบ้านทำการวิจัย เดินเคียงคู่ค้นคว้าความรู้กันอย่างสนุก ทำให้เกิดนักวิจัยชาวบ้านที่เก่งๆทั่วประเทศ

   นักวิจัยจากประเทศออสเตรเลีย ยังเผื่อแผ่มาถึงมหาชีวาลัยด้วย เขามาทำวิจัยร่วมกับผมซึ่งก็ไม่เห็นเกี่ยงงอนว่าเป็นนักวิจัยหรือเปล่า วิธีการก็ง่ายๆจับเข่าคุยกันว่าจะทดลองอะไร เพื่อศึกษาข้อมูลเรื่องอะไร  แล้วนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร แตกต่างจากการปลูกเพื่อการค้าอย่างเดียวอย่างไร ตั้งสมมุติฐานว่าต้องการเห็นจุดดีจุดด้อยประเด็นใด

  ตกลงในชั้นนี้เราวิจัยเรื่องสายพันธุ์ต้นยูคาลิปตัส พันธุ์ที่มีคุณสมบัติเอาใบมากลั่นน้ำมัน และต้นก็ยังไปใช้เป็นวัสดุก่อสร้างบ้านเรือนได้ พันธมิตรวิชาการต่างแดน เชิญผมไปดูงานวิจัยเรื่องการกลั่นพืชน้ำมันในประเทศออสเตรเลียครึ่งเดือน พาตระเวนไปพบนักวิจัยชาวบ้านที่เก่งๆในรัฐต่างๆ ไปเยี่ยมมหาวิทยาลัย ชมห้องวิจัย พื้นที่และงานวิจัยดีๆในฟาร์มชาวบ้าน หลังจากกลับประเทศเขายังตามมามอบเครื่องกลั่นน้ำมันยูคาลิปตัสราคาหลายแสนบาทมาใช้ทดลองกลั่นพืชน้ำมัน หลังจากนั้นยังเอาพันธุ์ไม้หลายสิบชนิดมาให้เราทดลองปลูก ทุกวันนี้ก็ยังถามข่าวความคืบหน้าระหว่างกันเสมอ
  

  ผมคิดว่าถ้าไทยช่วยไทย ชวนกันวิจัยอย่างที่ชาวต่างชาติให้โอกาสได้เรียนงานวิจัยเชิงประจักษ์ สังคมไทยจะเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ได้อย่างแน่นอน ตอนนี้เริ่มจะมีแววดีๆเกิดขึ้นแล้ว ทีมหาชีวาลัยอีสาน มีนักวิจัยในกรมกองต่างๆมาทำงานวิจัยร่วมกับชาวบ้านอย่างแข็งขันบ้างแล้ว


• ดร.วนิดา กำเนิดเพชร จากกรมปศุสัตว์ ลงมาทำวิจัยทางด้านปศุสัตว์ เช่น เลี้ยงโคพันธุ์ซาฮิวาล เลี้ยงไก่ดำญี่ปุ่น เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงสุกรพันธุ์แท้ และพันธุ์เมยซาน เลี้ยงนกกระจอกเทศ  เลี้ยงเป็ด ไก่ต๊อก ไก่งวง
• ดร.แสวง รวยสูงเนิน จากคณะเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาทำวิจัยเรื่องคุณค่าอาหารของดินในแปลงที่ปลูกไม้ยูคาลิปตัส  วิจัยเรื่องระบบการใช้ประโยชน์น้ำบาดาลเพื่อการเกษตร
• คุณสมพิศ ไม้เรียง  จากกรมวิชาการเกษตร มาทำวิจัยเรื่องกวาวเครือขาว ขมิ้นชัน กระชายดำ เจียวกู้หลาน(ปัญจขันธ์) บรเพ็ดพุงช้าง หม่อน และผักชนิดต่างๆ
• คุณอุทัย อันพิมพ์ นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรบูรณาการศาสตร์ นอกจากจะทำแปลงสาธิตเกษตรประณีตแล้ว ยังมีโครงการวิจัยเรื่องเห็ดครบวงจร ทำโครงการปุ๋ยอินทรีย์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ศกนี้
• คุณสำเนียง ประยุธเต นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรบูรณาการศาสตร์ ทำการวิจัยเรื่องบริบทเครือข่ายจัดการความรู้ระดับชุมชน
• คุณพันดา เลิศปัญญา นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรบูรณาการศาสตร์ ทำการวิจัยเรื่องโคเพื่อชีวิตในชุมชน
• คุณศิริพงศ์ สิมสีดา นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรบูรณาการศาสตร์ ทำการวิจัยเรื่องบริบทของอ.บ.ต.ในฐานะเจ้าภาพพัฒนาท้องถิ่น
• คุณประสงค์ อาจหาญ นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรบูรณาการศาสตร์ ทำการวิจัยเรื่องสุกรเพื่อชีวิตในชุมชน


  พื้นที่ของมหาชีวาลัยเองได้ศึกษาวิจัยเรื่องการปลูกไม้พื้นเมือง ไม้ติดแผ่นดิน ไม้ใช้สอย ไม้ผักยืนต้น ไม้พืชอาหารสัตว์ ปลูกไผ่หมาจู  ไผ่บงหวาน ไผ่ศรีปราจีน ไผ่ตง มะนาว มะกรูด กระเจี๊ยบ กล้วย มันสำปะหลัง ตั้งเตาถ่าน เมื่อเอาเศษไม้มาเผาถ่าน ตั้งโรงเลื่อยเพื่อการแปรรูปได้ ผลิตภัณฑ์ไม้ ตั้งเครื่องอัดอิฐดินซีเมนต์ ผลิตอิฐซีเมนต์ไว้ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน ปลูกหญ้าหลายชนิด เพื่อศึกษาวิจัยเรื่องพืชอาหารสัตว์ ศึกษาทดลองปลูกยางพารา ปัจจุบันกรีดยางทำยางแผ่น ในส่วนของด้านการประมง ทดลองเลี้ยงปลาบึก ปลาแรด ปลาดุก ปลาทับทิมในบ่อซีเมนต์ และการเลี้ยงผึ้ง 


  อีกเรื่องที่ควรจะเอ่ยถึงคือ ชาวบ้านเองมีความรู้ในระดับหนึ่ง มีข้อจำกัดในการพัฒนาด้านวิทยาการ ถ้านักวิจัยเข้ามาช่วยจุดนี้  จะทำให้การพัฒนาความรู้ที่นำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้

  กิจกรรมที่เล่ามาข้างบนนั้น ยังจำเป็นต้องใช้งานวิจัยมาพัฒนากระบวนการและวิธีการ เมื่อทราบแล้วอย่าช้านะครับ เลิกขึ้นรถไฟกันคนละขบวนเลย เข้ามาอยู่ในโบกี้เดียวกันเถิดนะคนดี ถ้านักวิจัยสายวิชาการมาร่วมด้วยช่วยกันอุดหนุนให้ชาวบ้านวิจัย ปรากฏการณ์เหล่านี้จะไปตอบปัญหาอะไรบ้าง
1. ช่วยเปิดโครงสร้างงานวิจัยแบบพันธมิตร ระหว่างนักวิจัยมืออาชีพ กับชาวบ้านนักปฏิบัติงานวิจัย เพื่อปูฐานการสร้างวิธีวิจัยที่เอาชาวบ้านมาเป็นหุ้นส่วนวิจัย ไม่ใช่เป็นผู้ให้ข้อมูล แต่เป็นผู้ร่วมสร้างข้อมูลและชุดความรู้ใหม่
2. เป็นการเชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรมวิจัยของนักวิชาการในมหาวิทยาลัย เข้ากับวัฒนธรรมวิจัยของชาวบ้าน
3. เพื่อช่วยให้งานวิจัยตรงเป้ากับปัญหาและความต้องการของประชากรประเทศ
4. ได้วิธีที่จะแก้ไขปัญหาความยากจน ด้วยการใช้ความรู้ และการจัดการความรู้
5. สร้างสังคมวิจัยไม่ให้กระจุกแต่แผ่กระจายไปทั่วทุกภูมิภาค
6. สร้างชุมชนวิจัย พื้นที่วิจัย กิจกรรมวิจัย และกรณีศึกษา
7. เป็นการถ่ายเทความรู้ระหว่างกัน งานวิชาการจะมีคุณค่ามีความหมาย มีชีวิตชีวา เพราะไปเชื่อมต่อกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน
8. เป็นกรณีตัวอย่างที่ช่วยให้นักวิจัยตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ว่าจะนำวิชาความรู้ไปวิจัยร่วมกับชุมชนอย่างไร จะไปเชื่อมโยงอย่างไร ศึกษาจากรูปแบบที่เป็นกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้น ซึ่งตอนนี้มีหลายพื้นที่หลายภูมิภาคดำเนินการทำนองนี้อยู่แล้ว
9. ช่วยให้ตั้งโจทย์วิจัยได้แม่นยำขึ้น เพราะมีการศึกษาประเด็นแวดล้อมล่วงหน้า โดยอาศัยข้อมูลแนวคิดและความต้องการของชุมชนเป็นตัวตั้ง
10. เปิดศักราชงานวิจัย ที่ให้ใครก็เข้าถึงได้
11. ช่วยให้นักวิจัยรุ่นใหม่ เข้าใจกระบวนการงานวิจัยเพื่อชีวิตมากขึ้น
12. สอดรับการหลักการเศรษฐกิจพอเพียง
13. ตอบคำถามของท่านเล่าฮูแสวงได้ทั้งข้อ1-8 ส่วนข้อไหนจับคู่กับข้อไหน ลองทำการบ้านดูดีไหมครับ ลงคัดมาลงไว้ให้แล้ว


ประการที่ ๑  นักวิจัยไทยบางคนคิดหัวข้อวิจัยไม่เป็น
ประการที่ ๒  นักวิจัยไทยไม่ใช้หลักอริยสัจ ๔ ในการวางโครงร่างการวิจัย 
ประการที่ ๓  นักวิจัยไทยจำนวนมากไม่พร้อมที่จะทำงานวิจัยที่สามารถส่งผล
ในเชิงรูปธรรมของการพัฒนา
ประการที่ ๔  นักวิจัยไทยจำนวนมากไม่ถนัดในการทำงานวิจัย
ประการที่ ๕  นักวิจัยไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยทำงานกับผู้ที่จะใช้ผลงานโดยตรง
ประการที่ ๖  นักวิจัยไทยส่วนใหญ่ชอบทำงานเชิงเดี่ยว
ประการที่ ๗  นักวิจัยไทยบางคนไม่ชอบทำงานแบบบูรณาการ
ประการที่ ๘  นักวิจัยไทยไม่ชอบทำงานกับผู้ด้อยโอกาส

หมายเลขบันทึก: 71981เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2007 00:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ตามอ่านมาจากตอนก่อนหน้านี้ครับ
  • ขอบพระคุณครูบามากครับที่ช่วยให้ความสว่างทางปัญญา
  • จะพยายามชวนคนขึ้นขบวนรถไฟโบกี้เดียวกันต่อไปให้เยอะๆ นะครับ
  • ได้แนวคิดที่ดีครับครูบา
  • อยากให้รัฐส่งเสริมงานวิจัยไทบ้านมากขึ้น เพราะเมื่อทำแล้วเขาจะได้กับชุมชนเขาเองครับ
  • การวิจัยงานวัฒนธรรมน่าจะไปได้โลดสำหรับชาวบ้านที่น่ารักของเรา
  • ภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านวัฒนธรรมยังอีกมาก เขาควรได้แกมาเว้ามากขึ้นครับ

 

ครูบาครับ

สงสัยว่าช้างในเมืองไทยนี่จะมากเกินไปครับ (หรือเคยมีมาก)

มีคนใช้ประโยชน์จากช้างมากเหลือเกิน

เอา "งาช้าง"มาทำหอคอยเต็มไปหมด ทั้งนักวิชาการ นักวิจัย นักบริหาร และนักการเมือง

อันนี้ต้องโทษภูมิปัญญาไทยที่จับช้างป่ามาเลี้ยง และสามารถ "ฆ่าช้างเอางา" มาทำหอคอยกันเต็มบ้านเต็มเมือง

เราจะทำยังไงกันดีครับ

เอากองทัพช้างไร้งาไปแก้แค้นดีไหมครับ

หรือ จะถล่มแบบป้อมปืนนาวาโรน ดีครับ

  โอ้โฮ!  เล่าฮูเล่นหักมุม90 องศาแบบนี้ก็หัวคะมำกันหมดสิครับ มันคงเป็นวิบากกรรมของประเทศไทย

ที่คนดีคนไม่ดีช่วยกันสังฆกรรมประเทศ มันยากที่จะพูด อาจจะต้องถึงที่สุดๆๆจริงๆละมั้ง มันถึงจะแก้ไขอะไรได้ มีคนเคยบอกว่าถ้าจะแก้อะไร ให้แก้ตอนเกิดวิกฤตสุดๆ  เพราะตอนนั้นพวกเล่นลิ้นจะไม่ได้มายุ่งเกี่ยว อะไรที่ทำได้ก็รีบๆสะสางกันตอนนั้น ดูอย่างตอนนี้เขาพยายามเร่งกฎหมายออกพรึดๆๆ พรบ.สุขภาพแห่งชาติก็เห็นว่าผ่านแล้ว

ญี่ปุ่น จีน เยอรมัน พอแพ้สงครามก็จะอาศัยช่วงฟื้นฟูประเทศนี้และวางรากฐานของชาติได้ใหม่ บางทีประเทศเรามันอาจจะรอคอยวันนั้นก็ได้ นี่แหละหนาที่อาจารย์ประเวศ พูดถึง

ในเรื่องจิตตปัญญา

" การศึกษาทั่วๆไป รวมถึงการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ไม่มีพลังพอที่จะทำให้มนุษย์ถอนตัวจากมายาคติ หรืออวิชชาได้ กลับทำให้เกิดอหังการ มมังการ เข้าไปยึดมั่นในมายาคติมากขึ้น "

ดังนั้น แม้โลกมีการศึกษาที่ว่าวิเศษปานใดก็ตาม มนุษย์ไม่หายวิกฤต หรือกลับวิกฤตมากขึ้น ดังกล่าวข้างต้น ตั้งแต่โบราณมามีคนบางคนมีจิตใจสงบ พอพิจารณาเห็นจิตของตัวเอง เข้าถึงความจริง หลุดจากมายาคติ เกิดเป็นควาอิสระประสบความงามอันเป็นทิพย์ เกิดความสุขลึกล้ำ มีความรักต่อเพื่อนมนุษย์และธรรมชาติทั้งหมด เรียกว่าการเปลี่ยน แปลงขั้นพื้นฐาน ในตัวเอง

เรายังห่างไกลตรงจุดนั้นไหม ถ้าใจร้อนก็เอาไม้แหย่รังมดแดงไปกระทุ้งหอคอยงาช้างให้มันพังได้นี่ครับ!!

มาให้กำลังใจนักวิจัยชาวบ้านครับครูบา
กำลังมีแผนจะรวมพลคนวิจัยไทบ้านอีสาน ที่เป็นตัวจริงครับ ข่าวคืบหน้าจะรายการต่อไป ติ๊ง ต๊องๆๆๆ!!
ทำจากเล็กไปใหญ่ หลายคนว่าอย่างนั้น เต๋าก็สอนอย่างนี้

  ไม่แน่หรอก บางอย่างทำจากใหญ่มาหาเล็กก็ได้

เช่น คนซื้อหวยไง ตอนซื้อคาดหวังเสียใหญ่โต พอหวยออกความหวังเหลือ o

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท