ชีวิตที่พอเพียง  4728. การติดตามกระบวนการพัฒนาและผลักดันนโยบาย ววน.


 

วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๖๗ มีการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษา พัฒนาระบบ ววน. ของ สอวช.     ผมเตะตารายงานการประชุมของวาระในการประชุมคราวที่แล้วเมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖   เรื่อง การติดตามกระบวนการพัฒนาและผลักดันนโยบาย อววน. ที่สำคัญ  โดยเสนอวิธีการ MEFA (Monitor, Evaluation, Feedback and Assistance)     และระบุว่า “กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์หลักของ MEFA ได้แก่ สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) และคณะกรรมการการ อุดมศึกษา (กกอ.) รวมถึงผู้บริหาร ผู้จัดการโปรแกรม และผู้จัดการโครงการของ สอวช.”  

ผมสะท้อนคิดว่า หัวใจอยู่ที่วิธีคิด หรือกระบวนทัศน์ เกี่ยวกับ “นโยบาย”    ที่หากมองว่าเป็นเรื่องชั้นบนสุดของระบบ ววน.  เราจะไม่สามารถผลักดันการดำเนินการตามนโยบายนั้นได้ หรือได้เพียงแผ่วๆ    โดยผมมองว่า “นโยบาย” เป็นเครื่องมือจัดลำดับความสำคัญ   และเป็นเครื่องมือรวมพลังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย   กระบวนการติดตามจึงควรเน้นเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งหมด    ไม่ใช่เพื่อหน่วยนโยบายเท่านั้น

ไม่ทราบว่า ผมมีมิจฉาทิฏฐิหรือเปล่า

ผมมีความเป็นว่า การมองกลไกนโยบายด้วยสายตาและวิธีคิดเชิงอำนาจ   เป็นตัวปิดกั้นความก้าวหน้าของระบบ ววน. ไทย    ซึ่งแปลว่า มีผู้มีตำแหน่งสูงใช้สายตาและวิธีคิดแบบนี้   เพื่ออำนาจของตนเอง   

ผมชอบวิธีมองการติดตามความก้าวหน้าเป็นเรื่องของการเรียนรู้และปรับตัว   เน้นการเรียนรู้และปรับตัวของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด   ซึ่งหากคิดแบบนี้ เครื่องมือติดตามและเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือ DE – Developmental Evaluation    และเมื่อกว่า ๔ ปีที่แล้ว ผมเสนอให้เชื่อมโยงกับการสื่อสารสังคมด้วย (๑) 

วิจารณ์ พานิช

๒๒ เม.ย. ๖๗                                                                                                                                        

 

หมายเลขบันทึก: 718277เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2024 16:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2024 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท