ความรู้ในท้องถิ่น...ศาสตร์และศิลป์แห่งการถักทอ…จากพ่อสู่ลูก


ผมกำลังแลกเปลี่ยนกับทุกท่านว่า กระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ชุดความรู้ในท้องถิ่นเป็นสื่อ ได้ก่อเกิดคุณค่าที่เห็นได้ชัดเจน เป็นการผสมผสานผ่านการเรียนรู้ร่วมกัน ของครู นักเรียน ชุมชน เป็นการพบคำตอบว่านี่คือกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้คุณธรรมนำความรู้ อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นคำตอบจากความเป็นจริงว่าความรู้ในท้องถิ่นทุกชุดมีคุณธรรมจริยธรรมกำกับ การเริ่มเรียนรู้ศาสตร์แขนงนี้จึงเริ่มที่การไหว้ครูก่อน ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่านี่คือการเอาคุณธรรมนำความรู้ อย่างแท้
                                   ความรู้ในท้องถิ่นเป็นศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากการที่มนุษย์เอาตัวเองเข้าไปสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัว มีการรับรู้นำไปสู่การเรียนรู้    เรียนรู้เพื่อการดำรงชีวิตให้รอดและมีความสุขตามธรรมชาติ  การรับรู้  การเรียนรู้ในสิ่งเหล่านั้นจึงมีคุณค่า เกิดการสะสม บ่มเพาะ เจาะลึก  ตกผลึก  เป็นภูมิปัญญาตามสถานะของชุมชนและท้องถิ่น  การทำให้ได้ยิน  ได้ทำ  ได้จำ ได้จด  ได้ทดลอง  จึงเป็นศิลปะแห่งการทักทอศาสตร์แขนงนี้  จากพ่อสู่ลูกผูกร้อยจากรุ่นสู่รุ่น                                 

                          
                    
ความสำคัญจำเป็นของชุดความรู้ในท้องถิ่น   ทุกท่านลองนั่งนิ่งๆทิ้งใจให้ว่างและปล่อยวาง แล้วท่านจะรู้ซึ้งแก่ใจว่าสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญจำเป็นต่อตัวท่านอย่างไร  ไม่ต้องคิดมากหรือลึกซึ้ง  เพียงแค่ท่านรำพึงว่า ช่วงนี้ดวงไม่ค่อยดี   เท่านี้ก็แสดงว่าท่านมีชุดความรู้ในท้องถิ่นที่เป็นความรู้ฝังลึกในตัวท่านที่ผ่านการได้ยิน  ได้ทำ  ได้จำ  ได้จด ได้ทดลอง ด้วยคำบอกคำสอนของพ่อแม่ปู่ย่าตายาย   จนทำให้ท่านสามารถใช้ความรู้สึกนั้นได้ทันทีที่มีสถานการณ์ใดๆ  
               


                 ด้วยเหตุนี้ ที่เม็กดำ พวกเราจึงร่วมกันเรียนรู้ศาสตร์ที่เป็นความรู้ในท้องถิ่น ด้วยศิลปะแห่งการถักทอ จากพ่อสู่ลูก   ให้ครู  นักเรียน  ผู้คนในชุมชน ได้เรียนรู้และจากการดำเนินงานมาครบรอบหนึ่งปี เรามีข้อสรุปได้หลายประเด็น
อาทิเช่น  
    1.      ชุดความรู้ในท้องถิ่นทุกชุด จะตั้งอยู่บนฐานภูมิสังคมของแต่ละท้องถิ่น 
    2.      ชุดความรู้ในท้องถิ่นทุกชุด  จะมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นตัวกำกับ  อีสานบ้านผม เรียกว่า  ข้อขลำ                                                ฯลฯ                  

                
ดังกล่าวแล้ว จะเห็นว่า ชุดความรู้ในท้องถิ่น เนื้อในจะมีสภาพภูมิศาสตร์กับประว้ติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณี  ศิลปวัฒนธรรม  คติความเชื่อ และอีกหลายเรื่องซ่อนไว้ จึงได้มีผู้รู้หลายท่านขนานนามสิ่งเหล่านั้นว่าเป็น
ภูมิสังคม  ซึ่งจะเป็นฐานสำคัญที่จะก่อให้เกิดความรู้ในท้องถิ่น  รวมทั้ง ข้อขลำ  ทั้งหลายถือว่าเป็นข้อห้าม  ข้อปฏิบัติ  ที่ผู้คนต้องรับรู้นำไปสู่การใช้  เช่น  ชายหนุ่ม  หญิงสาว  ห้ามนั่งกระดานแผ่นเดียวกัน  ฯลฯ นั่นคือ  คำบอกคำสอนที่เป็นชุดความรู้ในท้องถิ่นที่อัศจรรย์อย่างยิ่ง  ผมก็เลยพาดพิงว่า ด้วยเหตุที่ลูกหลานเราไม่มีชุดความรู้แบบนี้กระมัง  จึงทำให้ลูกหลานเรามีข่าวคาวตามหน้าหนังสือพิมพ์  วิทยุ โทรทัศน์ เตลิดเปิดเปิงไปถึงอินเทอร์เนต  
               

           
ผมกำลังแลกเปลี่ยนกับทุกท่าน
ว่า  กระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ชุดความรู้ในท้องถิ่นเป็นสื่อ ได้ก่อเกิดคุณค่าที่เห็นได้ชัดเจน เป็นการผสมผสานผ่านการเรียนรู้ร่วมกัน ของครู  นักเรียน  ชุมชน  เป็นการพบคำตอบว่านี่คือกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้คุณธรรมนำความรู้ อย่างแท้จริง  ซึ่งเป็นคำตอบจากความเป็นจริงว่าความรู้ในท้องถิ่นทุกชุดมีคุณธรรมจริยธรรมกำกับ การเริ่มเรียนรู้ศาสตร์แขนงนี้จึงเริ่มที่การไหว้ครูก่อน ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่านี่คือการเอาคุณธรรมนำความรู้ อย่างแท้จริง  พวกเราชาวเม็กดำขอรับรองด้วยประสบการณ์ที่ผ่านมาแล้วหนึ่งปี       ด้วยเหตุนี้พวกเราจึงมีการร่วมกันคิดต่อยอดผ่านการถอดบทเรียน  เปลี่ยนกระบวนทัศน์พัฒนา ไปสู่การเชื่อมโยงชุดความรู้ในระบบโรงเรียนกับชุดความรู้ในท้องถิ่น  ให้ความสำคัญต่อวิชาการผสมผสานกับวิชาชีวิต 
             


                  
พวกเรากำลังคิดและออกแบบ  การเรียนรู้วิชาชีพที่ควบคู่กับการเรียนรู้วิชาสามัญ   อย่างจริงจังด้วยการใช้ชุดความรู้ในท้องถิ่นที่พวกเรามีอยู่เพื่อเสริมสร้างให้ลูกหลานเรา ได้อยู่เย็นเป็นสุข       สิ่งที่พวกเรากำลังคิด  เช่น
การเรียนรู้วิชาสมุนไพร(วิทยาศาสตร์  สังคมศึกษา  สุขศึกษา) หมายความว่า เรียนสมุนไพรแต่ได้ผลการเรียนวิทยาศาสตร์  สังคมศึกษา  สุขศึกษา       ซึ่งเราคิดว่าน่าจะทำให้ลูกหลานเราเห็นความสำคัญ จำเป็นของชุดความรู้ในท้องถิ่นมากขึ้น   นั่นหมายถึงว่าพวกเรากำลังจับเอาชุดความรู้ทั้งสองส่วนให้เชื่อมกันอย่างมีพลัง      มันจะเป็นพลังที่ส่งผลให้ลูกหลานได้มีชุดความรู้เพียงพอที่จะอยู่อย่างพอเพียงทั้งในวันนี้และวันข้างหน้า                            

                              
ท่านมีข้อคิดเห็นอย่างไร  เชิญร่วมเรียนรู้กับพวกเรา….ครับ    
 
หมายเลขบันทึก: 71777เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2007 21:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ขอแสดงความยินดีด้วยครับ

จะตามดูอย่างใกล้ชิดครับ

น่าสนุกจังเลย  ยินดีกับนักเรียนโรงเรียนบ้านเม็กดำ และชุมชนท้องถิ่น ที่จะได้ เป็น ไท  แก่ตัวเอง ครับ
  • เรียนด้วยความสัตย์จริง...นับวันยิ่งอยากนำนิสิตไปจัดกิจกรรมที่โรงเรียนบ้านเม็กดำมากขึ้นทุกขณะ  (อยากให้นิสิตได้ไปดูกระบวนการเรียนรู้ชีวิตกันที่นั่น)
  • กิจกรรมอะไรบ้างครับที่พอจะเชื่อมโยงระหว่างนักเรียนที่นั่นกับนิสิตที่นี่ได้บ้าง
  • สามารถหารือผ่านเวทีนี้ได้บ้างหรือเปล่าครับอาจารย์
  • นี่คือ การสังเคราะห์ที่เป็นธรรมชาติและผมชื่นชอบมาก การไหว้ครู...แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่านี่คือการเอาคุณธรรมนำความรู้ อย่างแท้จริง 
  • ยังเต็มไปด้วยความสุขในการได้อ่านบันทึกของอาจารย์
  • ที่โรงเรียนมีนิสิต มมส ไปฝึกสอนกันที่นั่นบ้างหรือเปล่าครับ  ถ้าไม่มีเสียดายโอกาสอันดีของนิสิต มมส ไม่น้อยเลย

เรียน คุณแผ่นดิน 

  • ขอบคุณในข้อแลกเปลี่ยน
  • เมื่อเทอมที่แล้ว น้องๆคณะมนุษยศาสตร์ฯมมส.

มาฝึกงานกับผม  5  คน เป็นเวลา  3  เดือน

  •  ที่ผมมี node  สกว. โดยผมเป็นผู้ประสานงาน
  •  คิดว่ามีหลายฒนธเรื่องทั้งการศึกษา  ศาสนา  วัฒนธรรม
  •  13  มกราคม  2550  คณะอาจารย์และนิสิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กทม.  จะมาเยี่ยมเม็กดำ (9.00 -  16.00 น.)
  • ถ้าคุณแผ่นดินว่าง เชิญร่วมวงได้ครับ

       

  • มาสนับสนุนครับ ผอ
  • รับรองว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่มีชีวิตไม่แห้งตายแบบทำนาบนกระดานดำแน่นอน

มาเยี่ยม

ขอแสดงการปรบมือ  ชื่นชมในวิธีคิดการกระทำของคุณ เม็กดำ 1  ครับ

 เป็นการบูชาภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างมีคุณค่า  มองเห็นคุณธรรมในจิตใจของผู้นำทางแห่งปราชญ์ชาวบ้าน

 

ที่มักจะมองข้ามหัวท่านว่าเป็นเพียงผู้เฒ่าเฝ้าเฮือน

หารู้ไม่ว่า  นั่นคือขุมความรู้ที่ยิ่งใหญ่

ปัญหาว่า  เราจะแสวงหาท่านเจอแล้วให้ท่านถ่ายเทภูมิปัญญาออกมาเผยแพร่ได้อย่างไรครับ

ขอบคุณครับ

 

อาจารย์เม็กดำที่เคารพ

  • ในคราวไปสำรวจจิตรกรรมฝาผนังที่เมืองร้อยเอ็ด เราพบหลายวัดที่มีคุณค่า ควรค่าแก่การศึกษา เพื่อเรียกวัฒนธรรมพื้นบ้านให้มาช่วยกำกับคนในชุมชน
  • เห็นว่าครูในพื้นที่น่าจะเข้าไปทำงานเรื่องนี้ ด้วย มีหลายที่น่าสนใจจริง ๆ
  • หากครูมีเครือข่ายแถบนั้น ขอความเมตราครูแนะนำด้วยนะครับ
  • ตามอ่านงานออตย้อนหลังเมื่อปลายธันวาได้ครับ เขียนไว้หลายวัดทั้งกาฬสินธุ์และร้อยเอ็ด 
  • สัปดาห์หน้า ออตมีแผนไปมหาสารคามครับ เมื่อลงสนามจะเก็บมาเล่าอีกครั้ง

เรียน...อาจารย์เม็กดำ 1

           ผมเห็นด้วยเต็มที่เลยครับกับแนวคิดของอาจารย์ ผมมีแนวคิดว่าหากอาจารย์ ทำแบบน้ีคนที่ได้รับ ประโยชน์ คือประชาชน ไม่เฉพาะแต่นักเรียนเพียง อย่างเดียว ถ้าเป็นไปได้ คิดว่า คน กศน. น่าจะลอง มาร่วมออกแบบกิจกรรมร่วมกับอาจารย์ก็น่าจะดี ตอนน้ีอาจารย์กำลังจัดกิจกรรมของสถานศึกษาได้ทั้ง 3 รูปแบบ ตาม พรบ. การศึกษาแล้วครับ...

           คน กศน. อยู่ที่ใหน.....
 

สวัสดีครับ อาจารย์

      ผมเป็นอีกคนที่เพิ่งเริ่มต้นกับการทำวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น แนวคิดของอาจารย์เป็นประโยชน์กับผมมากครับ ที่หมู่บ้านผมมีปราชญ์หลายด้าน ทั้งการทำโคมไฟ (http://gotoknow.org/file/aj_thitiwat/pro4.jpg) ตุง การทำรถม้า  รถม้าจำลอง จักรสาน ซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับการถ่ายทอดและสืบทอดภูมิปัญญา ลูกหลานขาดการเอาใจใส่และสืบทอด บางท่านอายุปาเข้าไป 85 ปีแล้วครับ แต่ไม่มีลูกศิษย์ที่จะสืบทอดภูมิปัญญา ผมเองกับเพื่อนอาจารย์ด้วยกันจึงคิดว่าจะทำวิจัยเพื่ออนุรักษ์และสืบทอดต่อไปครับ  ยังไงแล้วจะแวะเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์อีกนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท