ชีวิตที่พอเพียง  4664. PMAC 2024 4. ปลดแอกระบบธรรมาภิบาลสุขภาพโลก  


 

Subtheme 3 : Reimagining Global Health: Decolonization of Global Health Governance      

เน้นค้น (และเค้น) หาปัจจัยของความไม่เสมอภาค   และหากุศโลบายและกลยุทธสร้างกลไกที่เป็นบวก ต่อสุขภาวะของโลก   

Plenary 3   นำเสนอรูปธรรมของการแสวงหา ทดลอง วิธีปลดแอก    ที่ฟังแล้วผมสรุปว่า ต้องมีวิธีปลดแอกความรู้ที่ครอบงำ ด้วย Delearn  และ Relearn   ทั้งในระดับบุคคล  ชุมชน  และประเทศ   นำสู่การขับเคลื่อนการเปลี่ยนขาดระบบธรรมาภิบาลสุขภาพโลก    จากการอยู่ภายใต้ผลประโยชน์อื่นๆ สู่ผลประโยชน์ด้านสุขภาพ   

รูปธรรมที่แท้จริงอยู่ที่ Parallel Session ที่มี ๕ ห้องพร้อมกันคือ

PS 3.1.  Economic and Overseas Development Aid    ว่าด้วยเรื่อง  (๑) การกระจายทรัพยากรอย่างเท่าเทียม  (๒) จัดลำดับความสำคัญตามแต่ละพื้นที่  (๓) การเมือง (และความลวง - ผมเติมเอง) ของความช่วยเหลือ  (๔) บทบาทของธนาคารเพื่อการพัฒนา  (๕) รูปแบบใหม่ของระบบการเงิน   

PS 3.2. Decolonizing Knowledge Production and Utilization    ที่ผมคิดว่า ประเทศ LMICs ต้องร่วมกันให้นิยามเรื่องความรู้ใหม่    และหาทางสร้างระบบใหม่ ด้วยการเรียนรู้จากประสบการณ์ (experiential learning)   ผสานกับการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือ DE – Developmental Evaluation    

PS 3.3.  Decolonizing Institutions and Governance : Moving from Rhetoric to Reform?   

PS 3.4.  Understanding the Role of Gender and Sexuality in Global Health Inequalities: Addressing Biases and Promoting Inclusivity 

PS 3.5. Human Resource for Health Migration through the Lens of Decolonization

ผมไปเข้า PL 3.2   ที่บรรยายนำโดยศาสตราจารย์ David McCoy, Professor of Global Public Health, Institute of Population Health Sciences, Queen Mary University, London   ให้นิยามคำว่า colonialism ว่าหมายถึงการที่ประเทศหนึ่งเข้าไปยึดครองอีกประเทศหนึ่ง    พลเมืองของประเทศถูกยึดครองต้องยอมจำนน  ต้องปฏิบัติตาม,    เขาใช้คำ Domination – Subjugation – Exploitation – Misappropriation – Extraction   เป้าหมายคือ Resources ที่ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติ  ทรัพยากรมนุษย์  เงิน และสิ่งที่เป็นนามธรรม  แต่ในโลกสมัยใหม่ มี  neocolonialism ที่ซ่อนเร้น   ไม่มีการยึดครองอย่างโจ่งแจ้ง   ไม่ใช้วิธีบังคับขู่เข็ญ    แต่มีวิธีที่แยบยลในการทำให้พลเมืองในประเทศอื่นทำตาม    และผมขอเพิ่มเติมว่า ทำได้ในพื้นที่กว้างขวางกว่าด้วย  

ที่ซ่อนเร้นยิ่งกว่า คือระบบการเงินและธุรกิจโลก    ส่งผลให้เกิดความไม่เท่าเทียมรุนแรงในโลก ดังมีข้อมูลว่า มหาเศรษฐีโลก ๘ คน   มีทรัพย์สมบัติเท่ากับประชากรโลกส่วมที่ยากจนที่สุด ๓,๖๐๐ ล้านคน    และคนร้อยละ ๑ ที่รวยที่สุดในโลก มีทรัพย์สมบัติมากกว่า ๒๐ เท่าของทัพย์สมบัติของคนครึ่งโลกส่วนที่ยากจน   

ท่านจับประเด็นเรื่อง Global University Ranking   ว่าเป็นเครื่องมือที่โลกตะวันตกคิดขึ้นเมื่อ ๒๐ ปีมานี้เอง   เพื่อใช้เป็นเครื่องมือครอบงำโลกวิชาการ 

Tikki Pang, ศาสตราจารย์ด้านจุลชีววิทยา  ที่ผมรู้จักเมื่อ ๒๐ ปีก่อน สมัยผมไปเป็น Advisory Committee on Health Research ที่ WHO Geneva และท่านเป็นเจ้าหน้านี่รับผิดชอบงานนี้ของ WHO   ตอนนี้ท่านมาอยู่ที่สิงคโปร์ เป็น visiting professor ที่ NUS   อธิบายความหมายของความรู้ที่เป็นทางการ  ความรู้เฉพาะถิ่น  และควมรู้ชนเผ่า    ท่านให้ประโยคทองไว้ว่า Knowledge can be global. But the use of knowledge is always local. 

ตามด้วยการนำเสนอเรื่อง Perverse effect of global health policies and perpetuating health inequities in sub-Saharan Africa  โดย Angele Flora Mende & Jesse Bump   ที่ศึกษาใน ๑๕ ประเทศ  และค้นข้อมูลมากมาย    สรุปได้ว่า นโยบายของหน่วยงานและประเทศที่เข้าไปช่วยเหลือ ส่งผลให้เกิดความไม่เท่าเทียมทางสุขภาพ   ต้นเหตุที่เห็นชัดที่สุดคือ เข้าไปช่วยเหลือหลายประเทศด้วยวิธีการเดียวกัน   ทั้งๆ ที่บริบทของประเทศเหล่านั้นแตกต่างกัน      

ลงท้ายด้วยเรื่องภาษาถิ่นที่ถูกบิดเบือนโดยเจ้าอาณานิคม คือคำว่า amok ในภาษามาเลย์    ถูกประเทศตะวันตกนำไปใช้ในความหมายที่บิดเบือน   ถือเป็นโรคจิตชนิดหนึ่งในกลุ่มที่เรียกว่า culture bound syndrome    ผมค้นพบคำอธิบายในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ที่ (๑)   

ผมสรุปกับตนเองว่า ระบบธรรมาภิบาล (governance) เอง อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการครอบงำ (ทั้งโดยกลไกโลก และกลไกประเทศ)    รวมทั้งกติกาที่ดี เมื่อเวลาผ่านไป บริบทต่างออกไป อาจกลายเป็นกติกาที่ไม่เหมาะสม    ต้องมีการตั้งข้อสงสัยกติกาทั้งหลาย   และมีการตรวจสอบความเหมาะสมของกติกาเหล่านั้นผ่าน การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ (experiential learning)    

เมื่อฟังเรื่องความรู้เฉพาะถิ่นและความรู้ชนเผ่า    ผมก็นึกถึงบันทึกชุด เรียนรู้จากประสบการณ์ โดยเฉพาะตอนที่ ๒๙  ที่เอ่ยเรื่อง คุณค่าของภูมิปัญญาโบราณ 

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ม.ค. ๖๗   ห้อง ๔๖๑๐  โรงแรมเซนทารา แกรนด์    ปรับปรุงเพิ่มเติม ๒๘ ม.ค. ๖๗ ที่บ้าน 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 717383เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2024 18:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2024 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท