ตอนที่ 31 เรื่องเล่า ดร.ผึ้ง Prince Mahidol Award Youth Program-Reunion and networking 13


ตอนที่ 29

 

ผู้เขียนเข้าร่วมฟังสัมมนาโครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ครั้งที่ 13 หรือ PMAYP reunion 13 ปี 2567 นี้จัดขึ้น ณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 (ผู้เขียนฟังผ่านทาง zoom application) โดย วันแรกจัดช่วงบ่าย เนื่องจากผู้ร่วมสัมมนาเดินทางจากภูมิลำเนาตอนเช้าไปถึงช่วงสายถึงเที่ยง จึงเริ่มการสัมมนาช่วงบ่าย เป็น session แรก คือ สัมมนาเป็นการนำเสนอโครงการและแผนการเดินทาง โดยผู้รับพระราขทานทุน ประจำปี 2566 (รุ่นที่ 15) ดังนี้

 

1.นางสาวพีณประภา ตั้งประดับเกียรติ    คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เสนอโครงการ “การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ในประชากรหมู่มาก โดยใช้วิธีการจัดการรูปแบบใหม่” นำเสนอโดยส่ง presentation เป็นคลิปวีดีโอมานำเสนอ โดยสังเขปกล่าวถึง methodology การวางแผนงานวิจัย เก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างเป็นสามระยะ (ประเมินสถานการณ์ pilot study, พัฒนา risk score, นำ risk score ที่พัฒนาแล้ว มาคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเข้าโครงการ) นำเสนอระยะเวลาที่คาดว่าจะเดินทาง ขึ้นกับสถาบันปลายทางว่าตอบรับเร็วหรือช้าเพียงใด

 

2.นายสุวินัย จิระบุญศรี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เสนอโครงการการใช้เทคโนโลยีการสร้างอวัยวะจำลองเพื่อศึกษากลไกการก่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่จากฝุ่นมลภาวะ PM 2.5” นำเสนอทาง zoom applicationเก็บฝุ่นที่ประเทศไทยเป็นตัวอย่าง ศึกษาสองโมเดล (1) ร่างกายรับฝุ่นเข้าทางเดินหายใจแล้วมีกลไกขับออกมาในทางลำไส้ใหญ่ ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อย่างไร (2) systematic information model

 

3.นางสาวณัฐณิชา มานะบริบูรณ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

เสนอโครงการ “การบริหารสุขภาพโลกผ่านการศึกษานโยบาย Triple Billion Targets ขององค์การอนามัยโลก”

 

ความเห็นจาก mentor: ต้องมาหารือว่า วัตถุประสงค์และ research question คืออะไรแล้วจะใช้ประโยชน์จากเวทีของ WHO ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร นอกจากนี้ยังมี ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การอนามัยโลก Enhancing Leadership in Global Health Thailand (CCS-EnLIGHT) ที่พร้อมสนับสนุน

 

4.นายคณิน หอศิริพร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

เสนอโครงการการใช้แอปพลิเคชั่นโดยอาศัยหลักคำแนะนำสุขภาพจำเพาะบุคคลและทฤษฎีนัดจ์ (Nudge Theory) เพื่อช่วยเสริมสร้างการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่สองในคนอายุน้อยในประเทศไทย” เป้าหมายคือให้โรคสงบ โดยมีกรอบแนวคิดบนพื้นฐานทฤษฎี เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม' (Behavioral Economics) ที่นำเสนอโดย ริชาร์ด ธาเลอร์ (Richard Thaler)  ช่วยให้เปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม แล้วปรับเข้ากับ AI ในการให้คำแนะนำกับผู้ป่วยเบาหวาน มุ่งหมายให้คนไข้เปลี่ยนพฤติกรรม โรคสงบไม่ต้องใช้ยา

 

 

5.นายศุภกฤต โฆษิตบวรชัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

เสนอโครงการงานวิจัย Cohort เรื่อง การทดสอบยาและการดื้อยา ในโมเดลที่มีความใกล้เคียงกับมนุษย์ ในโรคมะเร็งเต้านมกลุ่ม Triple-negative” วางแผนจะศึกษา precision medicine และ drug resistance research

 

- ความเห็น: สิ่งที่ไทยทำได้คือ เข้าร่วมเป็นหนึ่งใน drug development เพื่อพัฒนา ยกระดับ cancer research เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษา ทั้งนี้ เมื่อผู้รับทุนไปศึกษาที่ต่างประเทศสิ่งที่ได้เรียนรู้จาก cohort สิ่งหนึ่งคือการบริหารจัดการ การ collaborate กับหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นระบบ logistic ที่สำคัญ 

- ผู้รับพระราชทานทุนฯ ควรมีผลงานกลับมา มีผลงานตีพิมพ์ ไม่ใช่เพียงไปสังเกตการณ์ ต้องสร้างผลงานให้ได้ 

 

ผู้รับพระราชทานทุนฯ แต่ละท่าน นำเสนอโครงการ อธิบายวัตถุประสงค์โครงการ และนำเสนอแผนการดำเนินงาน ก่อนไปต่างประเทศและระหว่างไปต่างประเทศรวมถึงเมื่อกลับมาประเทศไทย ซึ่งแต่ละท่านแผนการดำเนินการ, ช่วงเวลาจะแตกต่างกัน สอดคล้องกับสถานที่ที่ไปปฏิบัติงาน นอกจากนี้ ผู้ร่วมสัมมนามีข้อเสนอแนะให้ ผู้รับทุนสร้างสมดุลให้กับชีวิตด้วย 

 

หลังจากนั้น ผู้บริหารกล่าวถึงนโยบายและแนวทางการสนับสนุนของสถาบัน  ยินดีให้การสนับสนุนแก่ผู้รับพระราชทานทุนฯ ตลอดระยะเวลา ตั้งแต่ก่อนไปต่างประเทศ ระหว่างไปต่างประเทศ และกลับมาปฏิบัติงานในประเทศไทย โดยส่งเสริมให้ศึกษาต่อในสิ่งที่สนใจ มีผลงานวิจัยนำร่อง ส่งไปนำเสนอผลงานในที่ประชุม มีทุนสนับสนุนให้ไปเสนอผลงานต่างประเทศ เมื่อกลับมา จะได้บรรจุที่คณะ และส่งไปเพิ่มพูนทักษะ ในที่ต่างๆ 

 

 

โครงการของผู้รับพระราชทานจากการให้ทุนปี 2009 ถึงปัจจุบัน มีความหลายหลาย และช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ผู้เขียนสังเกตเห็นหลายๆ โครงการมี Artificial Intelligence (AI) เข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น  

 

หลังจากสัมมนาเสร็จ ผู้ร่วมสัมมนา เดินทางไปไหว้พระ และร่วมรับประทานอาหารเย็น

 

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 ช่วงเช้าเป็น Session 2 Lifetime Mentoring and Networking

ผู้ร่วมสัมมนา ร่วมกันแลกเปลี่ยนความเห็นและประสบการณ์ ส่วนใหญ่หารือแลกเปลี่ยนเรื่องการส่ง email ถึง mentor ต่างประเทศ ที่ผู้รับพระราชทานทุนต้องมาลุ้นมาว่า ทาง mentor ต่างประเทศจะเปิดอ่านหรือไม่ เพราะลำดับแรก ต้องให้ mentor ต่างประเทศเปิดอ่านก่อน ด่านต่อไปก็ลุ้นว่าจะตอบรับหรือไม่ สรุปความเห็นได้ดังนี้ 

Subject ต้องดึงความสนใจให้เปิดอ่าน เนื้อความต้องกระชับ สั้น ได้ใจความสำคัญ (keep it focused) แสดงให้เห็นว่าสนใจงานของเขาลักษณะไหน แจ้งวัตถุประสงค์ เขียนให้อยู่บนพื้นฐานความจริง 

 

การติดตาม email ให้พิจารณาความเหมาะสม อาจจะส่งซ้ำใหม่ ใน 3-7 วัน ไม่ถี่เกินไป และไม่เว้นช่วงนานเกินไป ติดตามด้วยความสุภาพ แต่แสดงความตั้งใจ รอคอยคำตอบ

 

ให้เตรียมเผื่อใจ หากถูกปฏิเสธ หรือไปแล้วไม่เป็นดังที่คาดคิด ให้คิดว่าไม่ใช่จังหวะของเรา ไม่ใช่วันสิ้นโลก เป็นเพียงประสบการณ์หนึ่งเท่านั้น กรณีที่ถูกปฏิเสธ อาจมีหลายสาเหตุเช่น ไม่มีตำแหน่งว่าง หรือเด็กอาจจะยังไม่เหมาะ ณ เวลานั้น เป็นต้น 

 

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการสร้างความประทับใจเมื่อแรกพบ การพิจารณาคัดเลือกสถานที่ที่จะไปปฏิบัติงาน (workplace culture, supporting culture) การเลือก mentor ต่างประเทศ การพิจารณาว่าตนเองมี life style อย่างไร (ชอบความเงียบสงบ หรือชอบพบปะผู้คน) รวมไปถึงการหาที่พัก ซึ่งต้องสอบถามคนในพื้นที่ ว่าชุมชนที่จะไปพักอาศัยนั้น ปลอดภัยมากน้อยเพียงใด 

วันที่สอง บรรยากาศจะผ่อนคลาย เป็นการเล่าประสบการณ์จากรุ่นพี่ให้รุ่นน้องฟัง มีความเฮฮา และการให้คำแนะนำไหลลื่น จนดูเหมือนว่าเวลาที่มีจะน้อยเกินไป

ปิดการสัมมนา และผู้สัมมนารีบเดินทางไปขึ้นเครื่องบินเพื่อกลับภูมิลำเนา 

 

กราบขอบพระคุณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่รับเป็นเจ้าภาพการจัดสัมมนาครั้งนี้ 

 

ภัทรพร คงบุญ

15 กุมภาพันธ์ 2567 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 717338เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2024 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2024 16:21 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท