สุขภาพจิตของนักวิทยาศาสตร์


 

บทความ How to nurture your mental health in science and academia amid challenging times แนะนำนักวิทยาศาสตร์มือใหม่  ในการเอาชนะความเครียด    โดยตั้งคำถาม ๓ คำถาม คือ 

What has your mental health journey been? What stressors have you encountered, and how have you navigated them?

What are the warning signs that you may be under too much pressure? What strategies or sources of help have been essential in steering clear or getting you out of such a situation?

Have you talked about mental health issues with colleagues?

ให้นักวิทยาศาสตร์มือใหม่ตอบ   แล้วคัดเลือกคำตอบหลากหลายแบบมาลงในบทความ    ได้อ่านเรื่องเล่าที่สะท้อนสารพัดปัญหาที่เกิดจากความเครียดของอาชีพนักวิจัย ที่มีแรงกดดันให้ต้องมีผลงานดี เช่น eating disorder, การเกิดวงจรคิดเชิงลบรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ, imposter syndrome, perfectionist, PTSD,   

คนหนึ่งบอกว่า ตัวช่วยสำคัญที่ช่วยให้รอดพ้นมาได้คือเพื่อนที่ช่วยรองรับการปรับทุกข์ และให้ความเข้าใจ (empathy)     คนหนึ่งเล่าเรื่องการตัดสินใจเปลี่ยนจากงานนักวิทยาศาสตร์ ไปเป็นงานสื่อสารวิทยาศาสตร์ ที่ช่วยให้มีดุลยภาพระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัวดีขึ้น    โดยตนเองมีวิธีควบคุมงานไม่ให้เข้ามาวุ่นวายในช่วงเวลาชีวิตส่วนตัวโดยปิดช่องทางสื่อสารทั้งหมดนอกเวลางาน   

คนหนึ่งยังเป็นนักศึกษาอยู่ บอกว่า เป็นนักวิจัยด้านการคุกคามทางเพศ ต้องรับเรื่องราวปัญหา    ที่บางช่วงทำให้จิตตก   วิธีที่เธอแก้ไขปัญหาของตนเองน่าสนใจมาก  ใช้วิธีพูดกับตนเองโดยสมมติว่ามีเพื่อนที่เผชิญปัญหาเดียวกันมาปรึกษา    ผมคิดว่ามันนำสู่กระบวนการที่เรียกว่า “การเมตตาตนเอง” (self-compassion)    

อีกคนหนึ่งเป็นนักจิตวิทยาระดับปริญญาเอก เล่าประสบการณ์ความยากลำบากสมัยเป็นนักศึกษา ที่ตนเองเป็น perfectionist  และเป็นคนที่ต้องการแสดงว่ามีผลงานเด่น ที่ทำอย่างไรก็ยังดีไม่ถึงขั้น   เอาตัวรอดมาได้โดยการหมั่นช่วยเหลือเพื่อน    ช่วยให้จิตใจเข้มแข็งขึ้น   

คนหนึ่งกำลังจะจบปริญญาเอก   บอกว่าสาเหตุของความเครียดของตนคือการเปรียบเทียบ  เมื่อตนเอาแต่เปรียบเทียบกับคนที่เก่งกว่าก็เครียดและคิดด้อยค่าตนเอง    เมื่อคิดวิธีแก้ได้ ชีวิตก็เบาสบาย   แก้โดยคิดถึงความสำเร็จของตนเอง  และคุณค่าของความสำเร็จนั้น    ที่ผมตีความต่อว่า ช่วยชี้ทางดำเนินการในอนาคต   

คนหนึ่งเพิ่งจบปริญญาโท  บอกว่ากว่าจะจบใช้เวลานานมาก  และต้องขอลาพัก ๑ ปี เพราะหมดแรงจาก ๓ สาเหตุคือ ปัญหาคู่ครอง  โควิด  ปัญหาการเงิน  และงาน (สอน) มาก    เวลา ๑ ปี ที่ได้ใคร่ครวญ และได้รับคำแนะนำจากคนในครอบครัวและคนรอบข้าง    ช่วยให้ตัดสินใจแยกทางกับคู่ครอง (เพราะเป็นสาเหตุร้ายที่สุด)   รวมทั้งเลิกเปรียบเทียบกับคนอื่น   และยอมรับว่าเส้นทางที่ตนเลือกเป็นเส้นทาง “ไม่เป็นไปตามประเพณีเดิม” (unconventional) ช่วยให้จิตใจสงบ ยอมรับความแตกต่างได้   

นักวิจัยหลังปริญญาเอกด้านเอไอ บอกว่าตนจะตื่นเต้นเงอะงะเมื่อมีคนคาดหวังให้ทำงานเสร็จเร็วๆ     มาพบทางออกว่าต้องเป็นตัวของตัวเอง    ไม่เต้นไปตามบงการของผู้อื่น   

ผมอ่านเรื่องเล่าเฉพาะตอนที่ตอบคำถามที่ ๑   ขอแนะนำว่า นักวิจัยหรือนักวิทยาศาสตร์มือใหม่ควรเข้าไปอ่านบทความนี้   จะช่วยให้ชีวิตการตั้งตัวเป็นนักวิทยาศาสตร์หรือนักวิจัยแข็งแกร่งขึ้น    รู้วิธีเผชิญความยากลำบากได้ดีขึ้น   

ผมสะท้อนคิดว่า บทความนี้จะดียิ่งขึ้น หากให้ผู้เขียนตอบ สะท้อนคิดหลักการ (ตอบคำถาม why) ที่ตนใช้ในการเอาตัวรอดจากความเครียดมาได้    ไม่ใช่แค่เล่าประสบการณ์ (what) และวิธีการ (how) เท่านั้น     

นักวิจัยมือใหม่ควรใช้ประโยชน์ชองเว็บไซต์ Researcher Mental Health Observatory Network  ที่คอยให้คำแนะนำช่วยเหลือนักวิจัย

จะเห็นว่า คนเรา ไม่ว่าจะมีอาชีพหรือทำกิจกรรมใดๆ   การเมตตาตนเอง จะช่วยเพิ่มพลังต่อสู้กับความยากลำบาก รวมทั้งเรื่องสุขภาพจิตได้ 

วิจารณ์ พานิช

๑ ม.ค. ๖๗

 

หมายเลขบันทึก: 717169เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2024 17:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มกราคม 2024 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท