ตอนที่ 30 เรื่องเล่า ดร.ผึ้ง Prince Mahidol Award Youth Program (PMAYP) Conference 2024


 

การประชุมของโครงการเยาวชนฯ Prince Mahidol Award Youth Program (PMAYP) Conference 2024 ปีนี้จัดขึ้น วันที่ 24 มกราคม 2567 ช่วงเช้า ที่ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ จัดเป็น side meeting (ประชุมย่อย) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่ได้รับพระราชทานทุนนำเสนอผลงาน หลังจากไปปฏิบัติงานที่ต่างประเทศ ซึ่งปีนี้เป็นการนำเสนอผลงานของผู้ได้รับพระราชทานทุนปี 2020 และ 2021  ทางโครงการเชิญ Mentor ไทย และ International Mentor มาร่วมด้วย 

จากการเข้าร่วมฟังจนจบงาน ผู้เขียนรู้สึกได้ถึงความรู้สึกชื่นชม และ impress ของ Mentor ที่มีต่อผู้รับพระราชทานทุนและโครงการฯ  หลังจากผู้รับพระราชทานทุนฯ นำเสนอเสร็จแล้ว พิธีกรจะเชิญ Mentor กล่าวแสดงความรู้สึกที่มีต่อ Mentee ตามด้วยให้ผู้เข้าร่วมถามคำถาม Mentor หลายท่านเดินทางจากต่างประเทศมาร่วมประชุมด้วย บางท่านร่วมประชุมแบบ live ทางไกลเข้ามาจากต่างประเทศ บางท่านไม่ว่างจริงๆ ก็อัดคลิปวีดีโอส่งมาเปิดในงาน

งานปีนี้ ผู้เข้าร่วมเพิ่มขึ้นจากปีแรกๆ ที่จัด มีทั้ง onsite และ online  

นอกจากนี้ ผู้เขียนสังเกตเห็น คุณพ่อคุณแม่และน้องนักศึกษาแพทย์ ปี 4 หรือ ปี 5 มาเข้าฟังด้วย  นอกจากนี้ยังทราบจากทีมงานว่า มีคุณพ่อคุณแม่ของน้องนักศึกษาแพทย์ โทรเข้ามาสอบถามกับทีมงานว่ามาฟังด้วยได้หรือไม่ บางรายน้องนักศึกษาแพทย์ไม่กล้ามาร่วมคนเดียวก็ขอให้คุณพ่อคุณแม่มาร่วมเข้าฟังเป็นเพื่อน

ปี 2024 นี้พิธีกรคือ แพทย์หญิงเพ็ญนภา กวีวงศ์ประเสริฐ ซึ่งเป็นผู้รับพระราชทานทุนรุ่นแรกปี 2009  และ นพ. โฆษิต วรธีร ผู้รับพระราชทานทุนปี 2014

กล่าวเปิดงานโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช (คำกล่าวเปิดงาน) และมอบของที่ระลึกให้ International mentor และ Mentor ไทย

ช่วงแรก นำเสนองานโดยผู้รับพระราชทานทุนปี 2020 เรียงลำดับดังนี้

 

1.Chatpol Samuthpongtorn, M.D. นำเสนอหัวข้อ Exploring the Impact of the Gut Microbiome and Metabolic Pathway on Citrus Fruits to Improve Depression via the Gut-Brain Axis

วัตถุประสงค์เพื่อ to assess the role of the gut microbiome in modulating the association between citrus and depression โดยศึกษาแบบ prospective cohort  จากข้อมูล Nurses’ Health Study II (NHSII) กลุ่มตัวอย่าง 32,427 คน ผลการศึกษาพบว่า citrus มีความสัมพันธ์กับการลดภาวะซึมเศร้าและสัมพันธ์กับจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารถึง 15 สายพันธุ์

2. Peeradon Wongseree, M.D. นำเสนอหัวข้อ Dynamics of colorectal cancer screening in low and middle-income countries: A modeling analysis from Thailand

3. Methasit Jaisa-aad, M.D. นำเสนอหัวข้อ Neuropathological validation of monoamine oxidase-B (MAO-B) as PET imaging biomarker of reactive astrogliosis in Alzheimer’s Disease 

 

ช่วงที่สอง นำเสนองานโดยผู้รับพระราชทานทุน ปี 2021 

 

4.Phurin Areesawangkit, M.D. นำเสนอหัวข้อ Enhancing adoptive cell therapy in solid tumors: 
Unleashing the potential of lipid nanoparticles and mRNA delivery

5.Nicharee Monkongpitukkul, M.D. นำเสนอหัวข้อ Attenuation of immune response to subretinal prostheses

6.Nontapat Sukhonpanich, M.D. นำเสนอหัวข้อ Genetic architecture in stroke: From monogenic disorder to polygenic insights

7.Pharanyoo Osotthanakorn, M.D. นำเสนอหัวข้อ The analysis of value-based health care policy and implementation in Wales and the synthesis of policy recommendation for Thailand

 

(รายละเอียด abstract ของการนำเสนอผลงานทั้ง 7 ท่าน สามารถอ่านเพิ่มได้ จาก Booklet PMAYP2024)

 

ต่อจากนั้น เป็นช่วง Then and Now Experience form PMAYP Alumni โดยผู้ที่มาบอกเล่าประสบการณ์ คือ ผศ.พญ.ทรรศนีย์ ชาติเมธากุล (เพิร์ล) ผู้ได้รับพระราชทานทุนฯ รุ่นที่ 2 ปี 2010  ปัจจุบันเป็น Assistant Professor at the University of Oklahoma Health Science Center, Department of Pediatrics, Neonatal-Perinatal Medicine Section, Oklahoma City, Oklahoma, USA โดย ผศ.พญ.ทรรศนีย์ เข้าร่วมผ่าน live ทางไกลมาจาก USA 

ผศ.พญ.ทรรศนีย์ เล่าว่าจบการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิตจาก วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า แรกเริ่ม เสนอโครงการเรื่องการดูแลแบบประคับประคองในชุมชน (palliative care in community) เพื่อขอรับพระราชทุนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล และได้โอกาสไปปฏิบัติงานที่ออสเตรเลียเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งได้เรียนรู้ระบบการดูแลดังกล่าวเพื่อนำความรู้กลับมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย  ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการดูแลประคับประคองที่ได้รับนั้น มีประโยชน์อย่างมากในการทำงานร่วมกับประชากรที่มีความเสี่ยงสูง นอกจากนี้ยังช่วยให้เข้าใจการบริการสุขภาพในชุมชน ทว่าเมื่อกลับมาประเทศไทยและทำงานกลับพบว่าตนเองเปลี่ยนมาสนใจด้านกุมารเวชศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกแรกเกิด ซึ่งช่วงเวลานั้นสร้างความเครียดให้ ผศ.พญ.ทรรศนีย์ อย่างมากกับการตัดสินใจที่ยากลำบาก ความไม่แน่นอนในสายอาชีพ และกังวลว่าจะไม่สามารถดำเนินชีวิตตามความคาดหวังของตนได้ อย่างไรก็ตาม โชคดีที่มีที่ปรึกษาที่เข้าใจถึงความยากลำบากในการตัดสินใจขณะนั้น ได้ให้คำแนะนำและสนับสนุน พญ.ทัศนีย์ ให้ซื่อสัตย์กับตนเอง และช่วยให้ตัดสินใจศึกษาต่อด้านกุมารเวชศาสตร์ ที่ University of South Alabama ด้วยความสนใจและหลงใหลในสาขาใหม่ทำให้ได้เข้าศึกษาเป็น fellowship ที่มหาวิทยาลัย Iowa ในปี 2018 ที่ซึ่งมีโอกาสมากมายให้เรียนรู้ต่อยอดความเชี่ยวชาญทางคลินิกทั้งในด้าน neonatology and neonatal hemodynamics

ผศ.พญ.ทรรศนีย์ อธิบายเพิ่มเติมว่า Neonatal hemodynamics เป็นสาขาวิชาที่ค่อนข้างใหม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ต้องได้รับการฝึกอบรมเพื่อประเมินหัวใจและข้อมูลทางสรีรวิทยา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำ เชื่อถือได้แบบ real time เกี่ยวกับการพัฒนาหัวใจและปอดในทารกแรกเกิดที่ป่วย เป็นการบูรณาการข้อมูลทางสรีรวิทยาเข้ากับบริบททางคลินิกที่เฉพาะตัว ผู้เชี่ยวชาญสามารถวินิจฉัยให้คำแนะนำเฉพาะรายได้ อีกทั้งเลือกวิธีบำบัดดูแลที่เหมาะสมแต่ละราย ซึ่งช่วยให้ผู้ดูแลสามารถติดตามและจัดการกับสุขภาพหัวใจของทารกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผศ.พญ.ทรรศนีย์ กล่าวว่า โครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ได้มอบโอกาสและแรงบันดาลใจให้กับแพทย์รุ่นเยาว์มากมาย ในการไล่ตามความฝัน ความปรารถนา ให้สามารถตามรอยสมเด็จพระบรมราชชนกในการสร้างประโยชน์ให้มวลมนุษยชาติ พญ.ทัศนีย์รู้สึกขอบคุณที่ได้รับโอกาสนี้ ได้เปลี่ยนแปลงชีวิต ได้แรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิตและอาชีพในอีกหลายปีต่อมา ซึ่งประสบการณ์ในสายอาชีพของการเป็นแพทย์ของ ผศ.พญ.ทรรศนีย์ เป็นสิ่งที่อธิบายได้ดีที่สุด 

โดย ผศ.พญ.ทรรศนีย์ ทิ้งท้ายด้วยประโยค 

“Do not go where the path may leadgo instead where there is no path and leave a trail”

(ค้นหาความกล้าที่จะทำสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน สำรวจ และก้าวไปข้างหน้าในทิศทางที่สำคัญสำหรับคุณ ซึ่งก้าวแรกนั้นยากที่สุด)

ผศ.พญ.ทรรศนีย์ อธิบายว่าต้องใช้ความกล้าหาญอย่างมาก แต่เมื่อเริ่มการเดินทาง ทุกอย่างก็จะเข้าที่เข้าทาง ไม่ว่าจะยากลำบากเพียงใด ขอให้มีความกล้าที่จะก้าวไปข้างหน้า โดยจุดที่ ผศ.พญ.ทรรศนีย์ อยู่ในปัจจุบัน (เชี่ยวชาญด้าน Neonatal hemodynamics) ไม่ใช่จุดที่ ผศ.พญ.ทรรศนีย์ เริ่มต้น (Palliative care in community) ผศ.พญ.ทรรศนีย์ กล่าวว่าตนเองต้องใช้ความกล้าหาญอย่างมากที่จะยอมรับว่าเป้าหมายของตนเองเปลี่ยนไป เมื่อยอมรับแล้วก็เริ่มต้นเดินทางใหม่อีกครั้ง ก่อนจะปิดท้ายด้วยการกล่าวขอบคุณ Mentor และทุกๆ คน ที่ช่วยสนับสนุนให้เธอมายืนในจุดนี้  หลังจากนั้นก็ปิดประชุม

 

สิ่งที่ผู้เขียนเห็นในการประชุมครั้งนี้คือ การเติบโตของผู้รับพระราชทานทุน ที่มีความมั่นใจขึ้น (จากวันประกาศผลที่ผู้รับพระราชทานทุน มีความตื่นเต้น ประหม่า ตอนเล่าถึงโครงการที่สนใจ) กลับมานำเสนอผลงานด้วยความภาคภูมิใจ (ตาเป็นประกาย) โดยทั้ง 7 ท่านดูเปล่งประกายขณะนำเสนอผลงาน เหมือนดอกไม้ที่เริ่มผลิบาน ส่วน Mentor ที่มาร่วมงาน ก็ยิ้มด้วยความชื่นชม ผู้เขียนสัมผัสได้ถึงสายใยความผูกพันระหว่าง mentor และ mentee ตลอดจนความชื่นชมที่มีต่อกัน 

 

การประชุมนี้เป็นการประชุมที่เน้นวิชาการ และจัดทุกปีโดยจัดเป็นการประชุมย่อยในการประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล (Prince Mahidol Award Conference: PMAC) โดยผู้รับพระราชทานทุนฯ กลับมาเล่าถึงงานในโครงการที่ตนเองได้ไปศึกษา ขณะที่ประชุม Reunion meeting ของโครงการ(ผู้เขียนเล่าไว้ในตอนก่อนหน้านี้ ที่นี่ ) นั้นจะเป็นการประชุมในลักษณะไม่ทางการ และประชุมกันเองระหว่างอาจารย์ กรรมการ รุ่นพี่ รุ่นน้อง alumni 

 

รายละเอียดผู้รับพระราชทานทุน รายชื่อ mentor, abstract และรายชื่อผู้รับพระราชทานทุนตั้งแต่ปีแรก จัดพิมพ์เผยแพร่ใน booklet Prince Mahidol Award Youth Program Conference 2024

ข้อมูลโครงการเพิ่มเติมที่ http://pmayp.org

หมายเหตุ ภาพประกอบเพียงบางส่วน ขออภัยผู้รับพระราชทานทุนที่ลงภาพไม่ครบทุกท่าน

 

ภัทรพร คงบุญ

24 มกราคม 2567

โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์

 

1.ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช กล่าวเปิดงาน

2.นพ.ฉัตรพล สมุทรพงศ์ธร และ Mentor กล่าวแสดงความรู้สึก

3.พญ.ณิชารีย์ มั่นคงพิทักษ์กุล และ Mentor กล่าวแสดงความรู้สึก

4.นพ.ภรัณยู โอสถธนากร และ Mentor กล่าวแสดงความรู้สึก

5.นพ.พีระดนย์ วงษ์เสรี และ Mentor กล่าวแสดงความรู้สึก

 

6.บรรยากาศในห้อง

7. ผศ.พญ.ทรรศนีย์ live มาบอกเล่าประสบการณ์ 

หมายเลขบันทึก: 717128เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2024 16:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มกราคม 2024 16:43 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท