การพัฒนาทักษะในการเขียน blog ของทีมหมูป่าเขี้ยวตัน “เม็กดำ”


เมื่อระบบการทำงานของครูในระบบบล็อกมีความคล่องตัวแล้ว ในอนาคตอันใกล้ ก็คาดว่าจะทำให้มีการเลื่อนไหลของกระแสและคลื่นความรู้จากกลุ่มเล็กๆที่มีพลังกลุ่ม “หมูไม่กลัวน้ำร้อน”นี้เข้าสู่กระแสเกลียวคลื่นการจัดการความรู้ของระดับประเทศได้อย่างมีพลัง

 เมื่อวานนี้ (๕ มกราคม ๒๕๕๐) ผมได้มีโอกาสไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงวิธีการเขียนบล็อกในระบบ gotoknow กับคณะครู และนักเรียนกลุ่มเม็กดำที่แบ่งเป็น ๒ กลุ่มย่อยทั้งเช้าและบ่าย ในห้องคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนเม็กดำ 

ครั้งนี้แทบจะเรียกได้ว่าเป็นโอกาสแรกในการออกไปฝึกรบแบบ จรยุทธ นอกที่ตั้ง และนอกศูนย์เรียนรู้

แต่ก็ยังเป็นการสนับสนุนการพัฒนาความพร้อมในการทำงานบนบล็อกของครูระดับประถม ที่มีความสนใจจะใช้การเขียนบล็อกเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการความรู้ด้านการประสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับระบบการเรียนการสอนของโรงเรียน แบบ ตัวจริงเสียงจริงของกลุ่ม หมูไม่กลัวน้ำร้อน 

ซึ่งมีการเชิญกลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นกลุ่ม ช้างน้าว ที่เป็นผู้อาวุโสทางคุณวุฒิและวัยวุฒิในท้องถิ่นเข้าร่วมกระบวนการ 

การฝึกแบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้ดำเนินการไปจนครบจำนวนครู ๒๔ คนกลุ่ม หมูไม่กลัวน้ำร้อน ที่มีอยู่ในโรงเรียน 

ทำให้ครูมีความเข้าใจในการทำงานในบล็อกให้เกิดพลังแห่งการเรียนรู้ที่เคยมีเพียงการประสานกันเอง ภายในชุมชนท้องถิ่น มาเป็นการประสานกับชุมชนในระดับอินเตอร์เนต ที่น่าจะสามารถเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้กว้างขวางขึ้น

ทั้งในกระบวนการพัฒนาเชิงเทคนิควิธีการสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนในวิชาต่างๆ ที่ออกแบบอย่างอิสระไว้อย่างหลากหลาย 

เมื่อระบบการทำงานของครูในระบบบล็อกมีความคล่องตัวแล้ว ในอนาคตอันใกล้ ก็คาดว่าจะทำให้มีการเลื่อนไหลของกระแสและคลื่นความรู้จากกลุ่มเล็กๆที่มีพลังกลุ่ม หมูไม่กลัวน้ำร้อนนี้เข้าสู่กระแสเกลียวคลื่นการจัดการความรู้ของระดับประเทศได้อย่างมีพลัง

อันเนื่องมาจาก

  • เป็นฐานการปฏิบัติที่ได้ผล (Best practice)
  • ในระดับชุมชน (COP) ทีมีทั้งครู นักเรียน ผู้ปกครอง และภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ควรแก่การศึกษา 
  • เพื่อนำไปเป็นต้นแบบของการทำงานการจัดการความรู้ในระดับชุมชน
  • โดยอาศัยพลังของคนในพื้นที่แบบ KM ธรรมชาติ ที่มีอยู่แล้ว
  • มาประสานกับพลังการขับเคลื่อนของภาคราชการแบบ กลมกลืน

อย่างที่ผมไม่เคยคิดว่าจะมีอยู่ในชีวิตจริง 

การแลกเปลี่ยนเรียรู้ในครั้งนี้เป็นเพียงการเริ่มต้นที่มีการปฏิบัติจริงเป็นพื้นฐานรองรับอยู่ของกลุ่ม หมูไม่กลัวน้ำร้อน 

ผมจึงเชื่อว่า อีกไม่นานเกินรอ เราจะได้เห็นกลุ่มคนที่ทรงพลังกลุ่มนี้เบ่งบานตัวเองแทรกเข้ามาในระบบ gotoknow อย่างมีความหมายต่อการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของประเทศไทย 

กรุณาติดตามชมตอนต่อไปครับ

หมายเลขบันทึก: 71115เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2007 03:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

 หมูอาจจะกลัวน้ำร้อนก็ได้

แต่ด้วยพลังของการอยากรู้อยากเห็นอยากทดลอง

มีมากเกินกว่าที่จะไปกังวลกับน้ำร้อน อย่างน้อยก็ได้รู้ว่า น้ำร้อนมีหลายระดับ ตั้งแต่อุ่นนิดๆ อุ่นขึ้นๆๆ ร้อนนิดๆ ร้อนมากขึ้น ๆ

 ถ้ายอมเข้าไปสัมผัสแต่แรก

เรียนรู้ระดับความร้อน

ร่างกายก็จะเตรียมสภาพรองรับได้

หมูไม่กลัวน้ำร้อน เป็นคำชมพวกหัวไวใจสู้

หมูขี้เรื้อน  เป็นคำเรียกพวกเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ

ครับท่านเล่าฮู

ครูบาครับ

ตอนนี้ทาง สคส ก็แสดงท่าทีในวันก่อน ว่าจะมาเช็ดน้ำตา "หมู" กลุ่มนี้แล้วครับ

และยังออกมาย้ำให้ชัดเจนขึ้นอีกเมื่อวานนี้

เรามีความหวังแล้วครับ

ครูที่ดีทั้งหลายครับ ท่านเจ้าสำนักกรุณาเราขนาดนี้ ต้องรีบแล้วครับ

  เป็นการเปิดศักราชปีหมู ที่มีความหมายมาก

ตอนนี้เรามี 

1 หมูไม่กล้วน้ำร้อน

2 หมูเขี้ยวตัน

3 หมูKM.

4 หมูเหมยซาน

5 หมูป่า

พอที่จะจัดกองทัพหมู ไปขึ้นเขียงแล้วยัง

อ้วนแล้วยัง ขึ้นเวทีได้ไหม นี่คือการบ้าน

          

ครูบาพูดเหมือนจะให้ผมไปเม็กดำไม่ได้อีกนะครับ เพราะทีมงานของเราที่นั่นตัวใหญ่ทุกท่านนะครับ ตั้งแต่ ผอ. ลงมาเลยครับ
เข้ามาให้กำลังใจค่ะ

ขอบคุณครับ คุณอัจฉรา

อยากให้เป็นกำลังใจให้กับทีมเม็กดำ ครับ

ผมว่า ตอนนี้ เม็กดำ คงเข้มแข็งแล้วครับ และจะมีศึกหนักรออยู่ข้างหน้า ไม่น้อยเหมือนกัน ด้วยความมีชื่อเสียงและความสามารถนั่นแหล่ะครับ

แต่ทีมนี้เข้มแข็งกันทั้งทีมครับ คิดว่า น่าจะเป็นต้นแบบที่ดีให้กับครูชั้นประถมในการจัดการความรู้ในระดับประเทศครับ

  • ขอส่งกำลังใจให้แก่ทีมของหมูที่ไม่กลัวน้ำร้อนทุกๆ ท่านครับ
  • "จรยุทธ์" เป็นคำที่เหมาะมากครับ และวิธีนี้ผมก็ใช้บ่อยมากครับ  แต่เรียกกันว่าใต้ดินครับ เพราะต้องทำทั้งบนดินและใต้ดินควบคู่กันไป
ท่านสิงห์ป่าสัก ครับ ตอนนี้ครูบา ท่านบอกให้ผมแหกค่ายมฤตยู ครับ ตามที่ผมดูในหนัง ผมต้องขุดอุโมงค์ลอดกำแพงใต้กระทรวงศึกษา ไปโผล่แถวสี่เสา ครับ ไม่รู้จะรอดหรือเปล่าครับ แต่หวังว่า ท่านสิงห์ป่าสักคงไม่ต้องขุดอุโมงค์ลอดถนนพหลโยธินไปโผล่แถววิภาวดีนะครับ
อาจารย์ครับ ผมยังสอบถามเรื่องเดิมครับ สอบถามเรื่องการทำนาแบบไม่ไถพรวน ครับ ผมสามารถสืบค้นได้ที่ไหนบ้างครับ รบกวน ขอบคุณครับ http://blog.trekkingthai.com/sailomloy/tag/blog นะครับ...กรุณาด้วยครับ นับถือ น้องไข ชุมพร
ลองค้นดูตามแนวคิดของท่าน มาซาโนบุ ฟูกุโอกะ อาจจะมีครับ ผมก็ไม่แน่ใจนะครับ เดี๋ยวขะลองดู หนังสือแปลก็มีครับ "การปฏิวัติด้วยฟางเส้นเดียว" มีคนนำมาถ่ายทอดมากมายครับ

อิอิ  ชอบๆค่ะ  ปีนี้ปีหมูไม่กลัวน้ำร้อน  ^__*

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท