เหตุพนักงานสหกรณ์ออมทรัพย์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำกัด ทุจริต ทำให้พบข้อสาเหตุของสภาพแวดล้อมของการสหกรณ์ไทยที่ต้องพัฒนา


เหตุพนักงานสหกรณ์ออมทรัพย์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำกัด ทุจริต ทำให้พบข้อสาเหตุของสภาพแวดล้อมของการสหกรณ์ไทยที่ต้องพัฒนา

1. เป็นไปตามปรัชญาของการสหกรณ์ “ช่วยตน ช่วยกัน self help mutual help”
   สมาชิกต้องตรวจสอบรักษาผลประโยชน์ของตนเอง จากการสอบทานเงินฝากของตนเองอย่างสม่ำเสมอ 

2. สมาชิกสหกรณ์นั้น เป็น ทั้งเจ้าของสหกรณ์ และผู้ใช้บริการในคน ๆ เดียวกัน
   ยิ่งต้องตรวจสอบการให้บริการของสหกรณ์ และตรวจสอบกิจการของตนเองอย่างใกล้ชิด รอบด้าน

3. สหกรณ์เป็นองค์การอิสระ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
   กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นเพียงผู้แนะนำส่งเสริม ไม่ได้เข้าไปเป็นตัวกระทำการ 
   แต่งานนี้เป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เอง  

4. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องถอยออกจากการเข้าควบคุมสหกรณ์ 
    จากการได้เข้าร่วมจัดทำแผนทิศทางกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
    เมื่อประมาณปี พ.ศ.  2536 +   พบโดยแจ้งชัดแล้วว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้อง
    ถอยออกมาจากสหกรณ์  การควบคุมจากนายทะเบียนสหกรณ์ต้องลดลงตามลำดับ กลับไปที่แกนส่งเสริม
    ทั้งนี้เพื่อความเป็นอิสระของสหกรณ์ตามหลัก 4 และ ได้รับการควบคุมโดยสมาชิกสหกรณ์เอง
    ตามหลักประชาธิปไตยที่ถูกต้อง ตามหลัก 2

    นี่ก็เป็นเวลาเกือบจะ 30 ปี แล้ว ตั้งแต่ทำแผนทิศทางกรมส่งเสริมสหกรณ์ 
    กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมที่ดูแลสหกรณ์ ยังถอยออกมาได้ไม่มาก 
    และดูเหมือนจะเข้าควบคุมมากยิ่งขึ้นไปอีก

    ความคิดเห็นของผู้เขียนคิดว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหานี้คือ

    1. การเลือกตั้งที่ไม่เป็นไปตามหลักการสหกรณ์สากลที่ 2 ของสหกรณ์ในประเทศไทย
        1.1  สหกรณ์ขั้นปฐมภูมิ ไม่เลือกตั้ง แบบ one  member one vote แต่กลับใช้การเลือกแบบ  one member many votes
        1.2  สหกรณ์ขั้นทุติยภูมิ ในประเทศไทย เลือกตั้งแบบ one member one vote ซึ่งอันที่จริงสหกรณ์ขั้นนี้ 
               ตามหลัก 2 ต้องเลือกแบบ one member many votes โดยใช้ จำนวนสมาชิกของสหกรณ์สมาชิกเป็นเสียง votes
     2.  พรบ. สหกรณ์ มาตรา 50 เป็นอุปสรรค ต่อการที่สมาชิกจะเข้าควบคุมสหกรณ์ 
          มาตรานี้ ให้นายทะเบียนสหกรณ์เข้าควบคุมสหกรณ์ แต่ผลออกมากลายเป็นพนักงานสหกรณ์เข้าควบคุมสหกรณ์แทน  ต้องแก้ไข

เรื่องนี้  ใช้การพัฒนาให้ความรู้ความเข้าใจใน หลักวิชาการสหกรณ์แก่สมาชิกสหกรณ์ (เจ้าของสหกรณ์นั้น ๆ )  เพื่อตระหนักในความรับผิดชอบสหกรณ์ของเค้า ในความเป็นเจ้าของสหกรณ์เพื่อควบคุมสหกรณ์ของเค้า ตามหลักการสหกรณ์ที่สอง แบบที่สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กระทำ 

พร้อมทั้ง คืนอำนาจการควบคุมสหกรณ์ จากนายทะเบียนสหกรณ์สู่สมาชิกสหกรณ์ไปพร้อม ๆ กันจะบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี
   
     พีระพงศ์ วาระเสน บ๊อบบี้
     นักวิชาการ การสหกรณ์ ด้วยหัวใจ 
     7  เมษายน  2565

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง  

https://www.gotoknow.org/posts/689338

https://www.gotoknow.org/posts/699857

https://www.gotoknow.org/blog/peeraphong-varasen

 

หมายเลขบันทึก: 701722เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2022 05:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2022 08:03 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท