วิจัยในชุมชน : ทางรอดในการพัฒนาความรู้เพื่อชุมชน


โดยกระบวนการสร้างเกลียวความรู้ก็จะสามารถทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต่อเชื่อมกับการวิจัยในชุมชน ที่เกิดคลื่นความรู้ไปสู่ชุมชนอื่นในกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่มและเครือข่าย

ผมขอถอดคิดเริ่มต้นมาจากบล็อก ของคุณจตุพร ว่า การวิจัยในชุมชนเป็นทางออกในการพัฒนาความรู้ของประเทศ อันเนื่องมาจากระบบการพัฒนาและใช้ความรู้อยู่ในสถาบันทางราชการ มักจะเป็นความรู้ที่ใช้ประโยชน์ได้น้อย มีขีดจำกัดที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขทรัพยากรด้านต่างๆ ไม่สามารถปรับใช้ได้โดยทั่วไป

 

แต่การวิจัยในชุมชน นอกจากจะทำให้เกิดความรู้ที่เหมาะสมต่อการใช้ในพื้นที่แล้ว ก็ยังสามารถเชื่อมโยง สร้างความรู้ต่อยอดได้อีกอย่างนับไม่ถ้วน

  

ทั้งนี้ เนื่องมาจาก เมื่อดำเนินการกิจกรรมวิจัยในชุมชนนั้น ก็จะทำให้เกิดผลกระทบข้างเคียงอย่างเป็นธรรมชาติ กับการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ที่ต่อเนื่องกัน เมื่อมีผู้สังเกตและทดสอบซ้ำอีกก็จะทำให้เกิดการขยายตัว การพัฒนาการความรู้ในระดับชุมชน ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

 DSC02113.JPGDSC02090.JPG

  

หรือจะเรียกว่า การพัฒนาคลื่นความรู้ก็ได้ครับ

  

ลักษณะที่เกิดเช่นนี้ ถ้าเราสามารถกระตุ้นให้เกิดนักจัดการความรู้ในระดับชุมชน โดยกระบวนการสร้างเกลียวความรู้ก็จะสามารถทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต่อเชื่อมกับการวิจัยในชุมชน ที่เกิดคลื่นความรู้ไปสู่ชุมชนอื่นในกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่มและเครือข่าย

  

เทคนิคและวิธีการในการทำงานนั้น จำเป็นจะต้องให้ชุมชนเป็นฐานคิด ฐานทำงาน ฐานสรุปผล และประเมินผล ซึ่งอาจมีนักวิจัยเข้าร่วมทำงาน หรือให้คำปรึกษาอยู่ห่างๆ เพื่อจะได้ไม่เกิดการบิดเบือนข้อมูลไปตามหลักทางวิชาการมากเกินไป 

  

แต่น่าจะปล่อยให้เกิดผลการขยายตัวของความรู้ในระดับชุมชนอย่างเป็นธรรมชาติ ที่จะทำให้เกิดคลื่นความรู้ได้อย่างต่อเนื่องดังกล่าวแล้ว

  

ฉะนั้น กระบวนการทำงานร่วมกับชุมชนจึงเป็นวิธีการที่ละเอียดอ่อน ถ้านักวิชาการเข้าไปยุ่งเกี่ยวมากจนเกินไป จะทำให้เกิดอาการ ตายด้านทางความคิด รอรับฟังคำสั่ง  จากนักวิชาการเพียงฝ่ายเดียว แต่ถ้านักวิชาการถอยห่างเกินไป ก็อาจเกิดอาการชะงักงันทางความคิด เมื่อเจอปัญหาบางประการที่ใหญ่เกินกว่าชาวบ้านทั่วไปจะคิดออก

  

ฉะนั้น การยืนระยะของนักวิชาการกับงานวิจัยในชุมชนนั้น จึงเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนและสำคัญอย่างยิ่งยวด มิฉะนั้นจะมีโอกาสเสี่ยงสูงมากที่จะทำให้เกิดความเสียหายทั้งตัวงานวิจัย และระบบการพัฒนาการความรู้ของชุมชน

  

ในประเด็นนี้ จึงอยากจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่าใครมีประสบการณ์และความเห็นอย่างไร ที่จะทำให้การวิจัยในชุมชนเป็นฐานพัฒนาการความรู้ที่แท้จริง ทั้งในระดับชุมชน ระดับพื้นที่ และระดับประเทศ

  

นอกจากนี้ ขอฝากความระลึกถึงมา แด่ กศน. ที่น่าจะให้ความสำคัญในบทบาทของตนเองต่อการวิจัยในชุมชน จึงจะทำให้บทบาทของ กศน.มีพลังขับเคลื่อน และมีข้อต่อรองกับผู้บริหาร เหนือวิทยาลัยการอาชีพ หรือวิทยาลัยชุมชน

  

ซึ่ง กศน. น่าจะเล่นบทบาทนี้ได้เป็นอย่างดี อันนี้ผมว่า ตามชื่อนะครับ เพราะคำว่า การศึกษานอกโรงเรียน นั้น แท้จริงแล้ว ก็คือการศึกษาเพื่อชีวิต เพราะชีวิตอยู่นอกโรงเรียน

  

ดังนั้น การวิจัยในชุมชน และการศึกษาเพื่อชีวิต แทบจะเป็นเรื่องเดียวกันแบบแยกกันไม่ออก

  ผมขอฝากถึง คน กศน.ช่วยพิจารณาถึงเรื่องนี้ด้วยครับ

 

หมายเลขบันทึก: 69745เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2006 18:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
กระบวนการสร้างเกลียวความรู้ทำได้อย่างไร..ตอนนี้ดิฉันกำลังทำ IS เรื่องปรับปรุงคุณภาพน้ำบาดาลด้วยตัวดูดซับจากวัสดุท้องถิ่น(จ.เลย)
  • ผมก็เห็นด้วยกับบันทึกของคุณจตุพรเช่นเดียวกันครับ
  • แม้จะไม่ค่อยมีประสบการณ์ในการวิจัยชุมชนมากนัก แต่พอได้เห็นในบางชุมชนที่ได้คิด ลงมือปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยคนกลุ่มหนึ่งในชุมชนเอง ทำให้เห็นว่าน่าจะเดินมาถูกทางแล้ว
  • ที่ได้พบเห็นการเรียนรู้ของชาวบ้านแม้จะไม่มากกลุ่ม แต่มีประเด็นหลักๆ ที่สำคัญคือ 1) เขาคิดเองได้  2)ออกแบบเองได้ (แม้ช่วงเริ่มต้นจะดูไม่กลมกลืน แต่เป็นหน้าที่พวกเราที่จะต้องคอยเสริมหนุน) 3) มีการประยุกต์ด้วยการนำวิธีคิดนี้ไปทำต่อในกิจกรรมอื่นที่เขาต้องการ 4) สร้างความรู้ขึ้นใช้เองได้ 5) ยั่งยืนด้วยตนเอง ฯลฯ
  • เราก็ต้องเสริมหนุนวงเรียนรู้ของชาวบ้าน โดยดำเนินการขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง
  • แต่สถานการณ์ในทุกวันนี้ ก็ยังหาภาคีทำงานเพื่อเสริมหนุนให้ชาวบ้านวิจัยชนิดที่ไม่ยึดกรอบหน่วยงานยากครับ  ผมเคยหวังว่ามหาวิทยาลัยในพื้นที่จะเป็นศูนย์กลางประสาน แต่ก็หวังลมๆ แล้งๆ ครับ
  • เคยหารือต่างหน่วยสังกัด พอพูดว่าเราน่าจะลงไปร่วมชุมชนเพื่อให้เขาวิจัยหรือชวนชาวบ้านวิจัย  ทุกคนก็จะเห็นดีด้วย แต่เขาก็จะมองไปที่ต้องของบวิจัยจากที่โน่นที่นี่... (กลับไปเป็นชาวบ้านถูกวิจัยเหมือนเดิม)
  • ข้าผู้น้อยด้อยปัญญา แลกเปลี่ยนมาได้เพียงเท่านี้ละครับท่านผู้อาวุโส.... ขอคาราวะหนึ่งจอก
คุณสุพัตรา ให้สังเกตใน gotoknow ก็ได้ครับ ดูที่มีสาระ และมีคนมาต่ความมากๆ การสร้างเกลียวความรู้ก็คือการกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง อาจเรื่องเดิม หรือเปลี่ยนไปเรื่อยๆก็ได้
ท่านสิงห์ป่าสัก มหาวิทยาลัยก็มีปัยหาในตัวเองมากพอสมควร อาจารย์หลายคนเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ และติดกรอบวิชาการ ทำอะไรไม่ได้ ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลที่มาเพิ่มเติมให้ ขอน้อมรับด้วยความซาบซึ้งในน้ำใจท่านจอมยุทธ......... ขอคารวะท่าน สักหนึ่งจอก....ฮ้อ ฮ้อ

อาจารย์ ดร.แสวง ครับ

เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าการวิจัยในชุมชนมีประโยชน์และความสำคัญมาก ผมเลี่ยงคำว่าวิจัย ใช้คำนี้กับชาวบ้าน สื่อกันลำบากนิดหนึ่ง ผมเลยใช้ว่าโครงงานอาชีพแทนครับ มีคำว่างานที่พอจะเชื่อมกับสิ่งที่ชาวบ้านทำได้ให้เข้าใจได้ง่ายกว่า โครงงานอาชีพนี้ก็เบบี้รีเสิร์ช น้องวิจัยแหละครับ ทำแล้วเวิร์คดีครับ ครูอาสาฯไปร่วมกันกำหนดโจทย์ ตั้งคำถามในสิ่งที่อยากรู้ ร่วมกันออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้หรือกิจกรรมการวิจัย ทำมา 6 ปี ชาวบ้านร่วมกันพัฒนากลุ่มอาชีพ และเครือข่ายอาชีพได้มาหลายกลุ่มหลายเครือข่ายครับ ครูอาสาฯก็แปลงร่างไปเป็นคุณอำนวย ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ไม่ ใช่คุณอำนาจที่จะสั่งให้เรียนอะไร ในวิธีเรียนรู้ไหนก็ได้เหมือนเมื่อก่อน

ดีใจที่อาจารย์หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นแลกเปลี่ยนครับ 

ครูนงครับ ชื่อนั้นสำคัญไฉน ตราบใดที่เราเข้าใจตรงกัน ภาษาไหนเราก็ร่วมทางกันได้ แต่ตรงข้าม ผมเซ็งกับพวกอ้างคำไปเป็นผลงานโดยไม่มีเนื้องาน นี่ซิครับ เบื่อสุดๆ

  วิจัยชุมชนเป็นเรื่องเหล้าเก่าในขวดเก่า

แต่คนละยี่ห้อ

วิถีไทย คืองานวิจัยชุมชน

ภูมิปัญญาไทย คืองานวิจัยสายพันธุ์ไทย

เพียงแค่คนไทๆๆเจ้าะเข้าไปไม่ถึง

 

  • เราลืมว่าเราคือใคร
  • ชอบยกย่องฝรั่ง
  • บางทีผมอยากเลิกใช้คำว่า KM
  • แม้แต่ปลาทู ก็ยังเป็คำที่ลอกฝรั่ง (มาจากปลาทูน่า)
  • ทั้งๆที่ปลาทูนา (ปลาทูที่อยู่ในนาทางอีสาน) ก็มี
  • อีกร้อยพันปลาที่แข็งแรงกว่าปลาทูก็มี
  • แต่ก็กลัวจะผิด ฝรั่งจะว่าเอา เลยไม่กล้าใช้
  • แค่ชนิดปลาในโมเดล KM นี่ก็สะท้อนกึ๋นคนนำเสนอได้อย่างดี
  • มาใช้ไม้แหย่ไข่มดแดงสือกว่ามาก
  • หรือจะเอาม้าก้านกล้วย ผมก็ว่าเทห์กว่าเยอะ
  • แต่ผมว่าพวงปลาตะเพียนก็น่าสนใจนะครับ
  • แต่ผมบังเอิญเลี่ยน "ปลา" เต็มที (ฟังแล้ว อยากซิฮากคับ)
  • อยากเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นบ้างนะครับ

ขอ "ม้าก้านกล้วย" สักตัวดีกว่าครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท