รู้หน้าไม่รู้ใจ ตอนที่ 2


รู้หน้าที่หนึ่ง คือ รู้กันแบบผิวเผิน การนำเสนอในระดับทั่วไป รู้หน้าในลำดับที่สองก็คือ ตัวหนังสือที่ปรากฏอยู่ในการเขียนบล็อกเหล่านั้น และรู้ใจก็คือ ความคิดอยู่เบื้องหลังของการเขียนแต่ละคำ ไม่ว่าจะเป็นการล้อเล่น หรือเอาจริงเอาจัง
 ผมได้พูดไปแล้วว่า การรู้หน้าไม่รู้ใจอย่างหยาบ ๆ นั้นทำให้เกิดปัญหาอย่างพอทนเลยทีเดียว

  ทีนี้ ผมก็เลยมาพูดถึงการรู้หน้าไม่รู้ ในรายละเอียดอีกนิดหนึ่ง อย่างเช่นเวลาเราทำงานกันในบล็อก

  เราจะอ่านข้อความที่เขียนไว้ในบล็อก

ลักษณะนี้ ถ้าเปรียบเทียบกันไปในระดับหนึ่ง ก็เปรียบเทียบเสมือนหน้าของเราที่อยู่ในบล็อก

  แต่จริง ๆ แล้วในใจของเราที่แฝงไว้ในความหมายของคำพูดแต่ละคำนั้น มีความหมายว่าอย่างไร

บางที เราก็ไม่ได้ดูกันมากมาย เราอาจจะดูอย่างฉาบฉวย หรือเราอาจจะไม่มีเวลาดู หรืออะไรก็แล้วแต่

เพราะฉะนั้น กรณีที่รู้หน้าไม่รู้ใจนี้ เราก็มาลงลึกกันอีกชั้นหนึ่งว่า

 แนวทางที่สำคัญที่จะทำให้เราได้ทำงานกันอย่างดี และอย่างจริงจังนั้น 

เมื่อเราอ่านข้อมูลในบล็อก เราต้องพินิจพิจารณาว่า เมื่อเขาเขียนมาอย่างนี้ ความหมายจริง ๆ ของเขาคิดอย่างไร

เรารู้ "หน้า" คือตัวหนังสือคือปรากฏในบล็อกนั้น  

รู้ "ใจ" ของเขา ความหมายที่แฝงอยู่ในนั้น  

รู้ถึง "วิธีคิด"  จิตใจของเขา ว่าเขามีกระบวนการคิดอย่างไร

ถึงทำเช่นนั้น พิจารณาเบื้องหน้าเบื้องหลังเหล่านี้ ทำให้เรารู้ใจและสามารถทำให้เราเข้าใจและประสานงานกันได้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น

 อย่าง เช่น ในหลายๆ กรณี เราเขียนความหมายแตกต่างกัน 

 

แต่เมื่อมีการประสานงานหรือว่าให้ข้อเสนอแนะข้ามกลุ่ม เราก็จะใช้คำกลางๆ หรือว่า ไม่แรงมากนัก

 

การรู้ใจกันเฉพาะในวง นี่คือรู้ใจกันเอง

เพราะฉะนั้น การทำงานโดยวิธีการแบบรู้หน้าไม่รู้ใจกันนี้ น่าจะได้รับการพัฒนาไปเรื่อยๆ

จากกระบวนการจัดกลุ่มรังแตนที่ได้พบมา

ก็น่าจะมีลักษณะของการจัดกลุ่มที่

รู้หน้าที่หนึ่ง คือ รู้กันแบบผิวเผิน การนำเสนอในระดับทั่วไป

รู้หน้าในลำดับที่สองก็คือ ตัวหนังสือที่ปรากฏอยู่ในการเขียนบล็อกเหล่านั้น

และรู้ใจก็คือ ความคิดอยู่เบื้องหลังของการเขียนแต่ละคำ ไม่ว่าจะเป็นการล้อเล่น หรือเอาจริงเอาจัง

เพราะฉะนั้นประเด็นนี้ก็จะทำให้เราทำงาน ประสานงานกันได้อย่างลึกซึ้ง ทำให้เกิดเป็น   Community of practice  หรือ ชุมชนแห่งการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ สคส ต้องการให้เกิด

การที่จะทำให้ต้องการให้เกิดได้นั้น ต้องรู้หน้ารู้ใจกันอย่างลึกซึ้ง จึงจะเป็น Community of practice จริงๆ หรือชุมชนของวิชาการอย่างแท้จริง

เพราะฉะนั้น ผมจึงขอเสนอแนะให้ Blogger ทั้งหลายมาพิจารณาว่า เราจะทำอย่างนี้เพื่อเกิดการพัฒนาเป็นกลุ่ม และให้เกิดการต่อเชื่อมให้รวมเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้   ชุมชนวิชาการ  ชุมชนแห่งการแลกเปลี่ยน ชุมชนที่มีพลังสร้างสรรค์แห่งการแลกเปลี่ยนในการจัดการความรู้ได้อย่างไร ในระดับต่างๆ กลุ่มต่างๆ ประเภทต่างๆ  หรือจะแบ่งแบบใดก็แล้วแต่

แต่ในที่สุดแล้วเราก็ต้องมารวมพลังเป็นชุมชนใหญ่ที่สามารถจัดการความรู้ทั้งระบบ ซึ่งจะเป็นความใฝ่ฝันที่ประเทศชาติเราจะได้พัฒนาไปในทิศทางนี้

จึงขอเสนอแนะมาเพื่อเป็นแนวทางเลือก แนวคิด และแนวทางในการวางแผนในระยะต่อไป ครับ

ขอบคุณมากครับ...


ความเห็น (5)
  • ท่านอาจารย์ ดร.แสวงที่เคารพครับ
  • ผมขออนุญาตคิดไปอีกประเด็นหนึ่งนะครับ
  • พอดีผมเองและเพื่อน ๆ นักวิชาการหลาย ๆ คนเคยคุยถึงประเด็นปัญหาเมื่อสังเคราะห์งานวิจัยแล้วพบว่า..
  • เวลาที่เราเข้าไปทำงานกับชุมชน โดยเฉพาะแบบฝังตัว หรือสังเกตแบบมีส่วนร่วมแล้วนั้น ปัญหาการ Positive Bias อย่างหนึ่งก็คือ เราสนิทสนมกับกลุ่มที่ไปอยู่ด้วยมากจนเกินไป โดยเฉพาะถ้าเราต้องนำเสนอข้อมูลบางสิ่งบางอย่างแต่งานยังไม่เสร็จ ก็คือยังต้องทำงานอยู่ที่นั่นต่อ ข้อมูลที่ออกมาจะเป็นแบบกลาง ๆ หรือแนวบวกเสียส่วนใหญ่ครับ เพื่อผลในการที่จะทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
  • ดังนั้นจึงทำให้การสังเคราะห์งานที่พบทำให้เกิดข้อมูลบิดเบือนเป็นจำนวนมาก ทั้งที่โดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจครับ แต่ก็มิใช่งานวิจัยทั้งหมดที่เป็นแบบนี้นะครับ
  • การทำงานแบบรู้ใจแล้วรู้หน้านิดหน่อยแบบนี้ "ตรง ๆ กันดีครับ" ตรงไปตรงมา เปิดใจกันอย่างเต็มที่
  • ผมขออนุญาตยกตัวอย่างเช่นผมกับอาจารย์จตุพร
  • ผมกับท่านอาจารย์จตุพรจะถกเถียงในวงวิชาการผ่านบล็อกกันบ่อยครับ "ขัดแย้งเพื่อเข้มแข็ง" คุยกันเรื่องนี้เสร็จมิตรภาพก็ยังเหมือนเดิม สิ่งนี้เป็นสิ่งที่บล็อกสร้างความเข้มแข็งให้กับวิชาการเมืองไทยอย่างมากเลยครับ
  • ก็อาจจะแลกเปลี่ยนนอกเรื่องนอกราวไปหน่อยนะครับ หวังว่าท่านอาจารย์จะช่วยแลกเปลี่ยนและเติมเต็มประเด็นนี้เป็นวิทยาธานให้ผมและเพื่อน ๆ ได้มากขึ้นครับ
บางสิ่งอย่างอาจจะคุ้นเคย...แต่บางสิ่งอาจจะคุ้นเคยนี่สัจจธรรม...."โลกนี้ไม่เที่ยงแท้...กรรมหรือเวร ก็แล้วแต่ผู้ก่อครับ"
แต่บางสิ่งอาจจะไม่ค้นเคย....."ใบไม้โบรกพริ้วได้ เมื่อแรงลมพัด....ลิ้นคนก็โบรกพริ้วได้ เมื่อผลประโยชน์พัด..." นี่คือสัจจธรรมครับ

เรายังต้องอ่านใจมากกว่าดูแค่หน้าครับ

คนที่ทำงานหลายท่านมักกันมองฉาบฉวยครับ

คนที่รู้ทั้งหน้าและใจเมื่อทำงานด้วยกันก็ทำด้วยใจ ไม่มีอะไรเคลือบแฝง

พัฒนาบูรณาการศาสตร์และมหาชีวาลัยอีสาน กำลังพัฒนาเป็นกลุ่มพลังชุมชนพลังองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างสังคมที่เข้มแข็งต่อไป

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท