รู้หน้าไม่รู้ใจ ตอนที่ 1


การเขียนบล็อก จึงเป็นสิ่งที่ดีมาก ที่จะทำให้เรารู้หน้าบ้างรู้ใจมาก ๆ และในที่สุดเราก็ทำงานร่วมกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องหน้าเหมือนกันก็ได้

  ในสังคมปัจจุบันเราทำงานกันแบบฉาบฉวย จนบางครั้งเรามองอะไรๆ เป็นเรื่องผิวเผินไปเสียทั้งหมด ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในการทำงานที่ทำให้เราไม่รู้ความลึกตื้นหนาบางของแต่ละเรื่อง แล้วก็สรุปประเด็นไปตามความรู้สึกเท่าที่เห็นในเบื้องต้น

   ประเด็นนี้เป็นปัญหาใหญ่ เช่นใน กระบวนการเรียนส่วนใหญ่ เราต้องใช้ความจำพอสมควร เป็นจุดเริ่มต้น  ไม่ใช่ว่าไม่จำเสียเลย จะเข้าใจอะไรอย่างเดียวซึ่งเป็นไปไม่ได้

 เพราะฉะนั้น คนที่มองการเรียนอย่างฉาบฉวย ก็มองว่า การเรียนมีแต่ท่องกับท่อง

 ซึ่งเป็นเรื่องที่นักศึกษาส่วนหนึ่งเข้าใจผิด

จริงอยู่เราต้องจำได้ในบางเรื่อง แต่เราไม่จำเป็นต้องท่องในทุกเรื่อง

 เพราะฉะนั้น จึงเพียงเป็นการรู้หน้าไม่รู้ใจ  

ยกตัวอย่างจากเรื่องการเรียนก็เป็นปัญหาใหญ่อีกเรื่องหนึ่งที่คนไม่เข้าใจ ก็ไปสรุปประเด็นเป็นเรื่องอื่นๆ ไป   

การทำงานก็เหมือนกัน เวลาเรามองเห็นคนใดคนหนึ่ง เราคิดว่า โดยความรู้สึกผิวเผินเขาเป็นคนอย่างนั้น

แต่ใจจริงแล้วเขาเป็นคนอย่างไร  เราไม่ได้มอง  

นี่คือเป็นปัญหาใหญ่ ที่ทำให้เราเกิดความขัดแย้งในกระบวนการทำงาน ทั้ง ๆ ที่เรามีความตั้งใจที่จะทำงานให้บรรลุผลใกล้เคียงกัน

แต่ปรากฏว่า เราไปมองที่ผิวเผิน ฉาบฉวย ทำให้เราไม่ชอบกัน ไม่ถูกกัน ทำให้เราไม่กินเส้นกัน  ทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดปัญหาในสังคมปัจจุบัน

  จากประสบการณ์ทำงานที่ผมทำมา คนที่มีความจริงใจที่จะทำงานด้วยกันมากมาย ทำงานลักษณะเดียวกัน เหมือนกัน จิตใจคล้าย ๆ กัน

 เพียงแต่นิสัยภายนอกบางอย่างแตกต่างกันเท่านั้น เพียงแค่นี้ก็ทำให้เกิดความขัดแย้งทางกระบวนการความคิด เพียงแค่นี้ก็ทำให้เกิดความขัดแย้งในกระบวนการทำงานแล้ว

 ฉะนั้น ผมจึงขอเสนอว่า การทำงานร่วมกันจะต้องรู้ทั้งหน้า รู้ทั้งใจ ไม่ใช้รู้เฉพาะหน้า ไม่รู้ใจ  

จึงขอเสนอแนะมา ณ ที่นี้   เราควรจะพยายามหาวิถีทางที่จะรู้ใจกัน มากกว่ารู้หน้ากันเฉยๆ  

อย่างเช่น ในการเขียนบล็อก  เป็นต้น

  เราจะรู้ใจกันก่อนรู้หน้ากัน เพราะว่าเราจะทำให้เรารู้จักความคิดกันมากกว่าที่เราจะรู้หน้ากัน  

ผมว่า การเขียนบล็อก  จึงเป็นสิ่งที่ดีมาก ที่จะทำให้เรารู้หน้าบ้างรู้ใจมาก ๆ และในที่สุดเราก็ทำงานร่วมกันได้  โดยไม่จำเป็นต้องหน้าเหมือนกันก็ได้  

 ในที่สุดเราอาจจะปรับหน้าให้คล้ายคลึงกัน และทำให้ใจเราตรงกัน

สิ่งเหล่านี้เป็นพลังในการเขียนบล็อก พลังการรวมความคิดที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ใกล้เคียงกัน  

จึงขอเชิญชวนท่านแนะนำได้นะครับ  

ไม่ทราบว่าท่านอื่น ๆ มีความคิดเห็นอย่างไรครับ  ขอบคุณครับ

หมายเลขบันทึก: 67283เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2006 18:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีครับท่านอาจารย์ดร.แสวง ที่เคารพครับ
  • อาจารย์หยิบยกประเด็นนี้มาพูดดีมากเลยครับ เพราะอาจารย์พูดมีน้ำหนักกว่าผมพูดเยอะเลยครับ
  • ผมเคยพูดกับหลาย ๆ คนในเรื่องนี้มาแล้ว แต่ด้วยเป็นเด็กปากไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม ไม่มีทั้งคุณวุฒิ ด้อยทั้งวัยวุฒิ เรื่องนี้ก็กลายเป็นเรื่องตลกไร้สาระไป
  • จนมีคนถึงขนาดบอกว่าการประเมินคนจากบล็อกหรือการเขียนบล็อกเป็นเรื่องหยาบมาก
  • แต่สิ่งที่อาจารย์พูดแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า การประเมินคนจากบล็อกนั้นสามารถประเมินได้มากกว่าหน้า ประเมินให้ลึกไปถึงใจ ประเมินให้ไกลถึงความคิด
  • กราบขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงที่นำเรื่องนี้มาพูดอย่างเปิดหน้าและเปิดใจ เพื่อให้เข้าถึงทั้งหัวและทั้งใจซึ่งกันและกันครับ
ชอบเนื้อหา และความคิดเห็นค่ะ ขอน้อมไปปรับใช้นะค่ะอาจารย์ เพราะอย่างน้อยการเขียน blog หนูก็ได้นำความรู้จากอาจารย์ไปใช้ได้โดยไม่ต้องรู้จักกันมาก่อนได้โดยสะดวกค่ะ

คุณ ปภังกร คุณศศิชล

ผมต้องการเน้นการทำงานในเชิงคุณภาพมากกว่าทำงานในเชิงปริมาณครับ

และแกนนำต้องเป็นตัวอย่างที่ดี

เมื่อวันก่อนการนำเสนอรูปคนทำงานในหน้าแรก เป็นสิ่งที่ผิดพลาดอย่างแรง แม้จะดีงออกอย่างรวดเร็ว ก็เสียรังวัดพอสมควร

เพราะนี่เป็นการทำลายมากกว่าสร้างสรรค์แน่นอน แสดงว่าหน้าก็ไม่รู้ และใจก็ยังไม่รู้

ผมว่าบล็อคได้สร้างสรรค์มาก หลายเรื่อง แต่ยังไกลจากศักยภาพที่ผมมองเห็นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท