ทิศทางที่เดินตามหาวิทยานิพนธ์


การทำงานต้องมีกรอบ ทิศทาง และเป้าหมายที่ชัดเจน จึงจะมีความสำเร็จให้เอื้อมถึง

       จากที่ท่านอาจารย์แสวงได้มอบหมายให้นักศึกษาวางกรอบงานของตัวเองเพื่อให้วิทยานิพนธ์เดินหน้าไปได้ตามเวลาและเป้าหมายที่วางไว้  จึงได้ร่างกรอบไว้ดังนี้

1.        ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการจัดการความรู้และเศรษฐกิจพอเพียง

2.        ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการเลี้ยงโค

     2.1   ปัญหาและความสำคัญของปัญหา

        2.2   ประวัติการเลี้ยงโคในประเทศไทย

        2.3   นโยบายของรัฐเกี่ยวกับการเลี้ยงโคตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน              

                 -    นโยบายส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโค  เช่น  โครงการอีสานเขียว โครงการโค 1  ล้านตัว              

                 -    นโยบายเกี่ยวกับข้อตกลง FTA  กับประเทศต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเลี้ยงโค              

                 -    นโยบายของรัฐบาลปัจจุบันที่เกี่ยวกับการเลี้ยงโค               

                 -  หน่วยงานของรัฐที่บทบาทและเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงโค เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ธ.ก.ส.   ปศุสัตว์

          2.4   ผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงโค               

                  -    งานวิชาการทางการเกษตรของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ               

                  -    งานวิชาการที่อยู่ในหน่วยงานของรัฐ               

                  -    งานวิชาการของภาคเอกชน

3.    ออกแบบเครื่องมือและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับครัวเรือนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคที่เข้าร่วมโครงการฯ

       3.1   ภูมิหลังหรือปัจจัยส่วนบุคคล

              1)       เพศ

              2)       อายุ

              3)       ระดับการศึกษา

              4)       จำนวนสมาชิกในครัวเรือน

        3.2   ปัจจัยทางเศรษฐกิจ

                1)       การถือครองที่ดิน

                2)       รูปแบบการผลิตทางการเกษตร

                3)       แหล่งน้ำของเกษตรกร

                4)       รายได้ของเกษตรกร

                 5)       เงินออม

                6)       หนี้สิน 

        3.3   ปัจจัยทางสังคมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

                1)       ศาสนา

                2)       เชื้อชาติ (ภาษา)  สัญชาติ

                3)       ประเพณีหรือวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีผลต่อการเลี้ยงโค

                4)       ปราชญ์ชาวบ้านและผู้รู้ในท้องถิ่น

                5)       ภูมิปัญญาในท้องถิ่น

4. กระบวนการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการการเลี้ยงโคของเกษตรกร  ศึกษาและเก็บข้อมูลในภาคปฏิบัติเกี่ยวกับการเลี้ยงโคของมหาชีวาลัยอีสาน เกษตรกรในโครงการ และเกษตรกรทั่วไป  ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

     4.1    การเริ่มต้นเลี้ยงและการคัดเลือกโค ควรซื้อโคที่มีลักษณะอย่างไร

     4.2   วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายการเลี้ยง

            1)       เลี้ยงเพื่อความชอบ

            2)       เลี้ยงเพื่อสร้างรายได้

            3)       เลี้ยงเพื่อผลิตปุ๋ย

            4)       เลี้ยงเพื่อสะสมทุน

      4.3  รูปแบบการเลี้ยงโค        

            1)    เลี้ยงแบบพื้นบ้าน        

            2)   เลี้ยงแบบกึ่งพื้นบ้านกึ่งปศุสัตว์      

            3)   เลี้ยงแบบปศุสัตว์

    4.4   พันธุ์โคที่สำคัญในประเทศไทย พันธุ์ต่าง ๆมีคุณสมบัติอย่างไร เหมาะสมกับวิธีการที่ จะเลี้ยงหรือไม่

    4.5  โรงเรือนและคอก

    4.6   การจัดการเลี้ยงดูโค

    4.7   การดูแลสุขภาพและป้องกันโรคโค

    4.8   การผสมพันธุ์โค

    4.9   อาหารและการให้อาหารโค ทั้งอาหารหยาบและอาหารข้น

   4.10   พืชอาหารสัตว์  หญ้าและการปลูกหญ้าเลี้ยงโค

    4.11    ตลาดโค

5.   กิจกรรมที่ร่วมดำเนินการกับเกษตรกรที่เลี้ยงโค       

      5.1    การจัดประชุม      

      5.2    การอบรม สัมมนา      

      5.3   การออกเยี่ยมเยียนเกษตรกร 

6.    วิเคราะห์ข้อมูล       

        6.1   เปรียบเทียบข้อมูลครัวเรือนของเกษตรกรผู้เลี้ยงโค       

         6.2 เปรียบเทียบการจัดการเลี้ยงโคของแต่ละคน ว่ามีการจัดการเลี้ยงดู อาหารและการให้อาหาร การปรับปรุงพันธุ์การดูแลสุขภาพและการตลาดโคของเกษตรกรในโครงการนักจัดการความรู้ระดับชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ที่สอดคล้องกับสภาพกับสภาพแวดล้อมในชุมชนของตนเองอย่างไร        

         6.3  เปรียบเทียบกับตำราเอกสารเกี่ยวกับเรื่องโค ว่าวิธีใดเหมาะหรือไม่เหมาะต่อชุมชนอย่างไร

7.    สรุปรายงานและข้อเสนอแนะ    เพื่อให้ได้มาซึ่งตำราเลี้ยงโคฉบับชาวบ้าน         

      7.1    ชุดความรู้ที่สังเคราะห์เป็นของเกษตรกร       

       7.2    ชุดความรู้ที่เหมาะสมกับเกษตรกร 

8.   โครงการเกษตรพอเพียงภาคชุมชนที่การเลี้ยงโคเข้า ไปเกี่ยวข้อง

     ท่านใดที่มีความคิดเห็นดี ๆ  ช่วยเสนอแนะด้วยค่ะ

     ขอบคุณค่ะ

หมายเลขบันทึก: 67089เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2006 03:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แวะมาเยี่ยมให้กำลังใจครับ

  • เพราะเห็นหายไปนาน
  • ได้มาแล้วจะสังเคราะห์อย่างไร

ขอบคุณคับ

ขอบคุณค่ะอาจารย์อุทัย

        เมื่อได้ความรู้หรือชุดความรู้ของเกษตรกรแต่ละคนแล้วก็นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน แล้วหลอมรวมเป็นชุดความรู้ที่เหมาะสมที่ชาวบ้านสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อให้ชาวบ้านสามารถเลี้ยงตัวเองได้ภายใต้บริบทของตัวเองค่ะ

ยังขาดกรอบข้อมูลภาคประชาชนที่เป็นฐานในการทำงาน และแผนการเก็บข้อมูล

ขอบคุณค่ะอาจารย์  สัปดาห์นี้จะมีไปร่วมทัศนศึกษากับพ่อครูที่อุบลและกรุงเทพฯและจะเลือกกลุ่มประชากรที่จะเป็นฐานในการทำงานและวางแผนเก็บข้อมูลค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท