หนี้สินภาคประชาชนกับการพัฒนาชนบท


 
การพัฒนาส่วนใหญ่ในชนบทของประเทศไทย ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา พบว่า เราเน้นการพัฒนาเพื่อการหาเงินเป็นส่วนใหญ่ ตามคำขวัญ งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข
 แต่เมื่อเราหาเงินกันมานานๆ กว่า 40 ปีมาแล้ว ไม่มีใครมีเงินเลย มีแต่คนเป็นหนี้ 
สาเหตุคืออะไร ?

 ถ้าจะตอบง่ายๆ ก็เป็นเรื่องบริโภคนิยม ยิ่งเราหาเงินมาก เราก็บริโภคมาก ทรัพย์สินที่ควรจะมีก็ถูกเปลี่ยนไปเป็นทรัพย์สินที่ถูกบริโภคไป ทำให้มูลค่าลดลงไปเรื่อยๆ อย่างรวดเร็ว  

ยิ่งในสมัยปัจจุบัน มีการซื้อของราคาแพง และเสื่อมราคาเร็ว เช่น มือถือ รถยนต์ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่มีราคาแพง เมื่อเทียบกับรายได้ของชาวบ้าน แต่เมื่อลงทุนไปแล้ว มูลค่ากลับลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ทรัพย์สินที่ควรจะมีก็หายไปกับการเสื่อมมูลค่าของสิ่งเหล่านั้น  

ท่านเชื่อไหมครับ..

ข้อมูลการสำรวจพบว่า รายจ่ายที่เป็นตัวเงินในภาคชนบทเป็นค่ามือถือ ถึง 80% 

แล้วมือถือมันรักษามูลค่าไว้ได้อย่างไรล่ะครับ..มีแต่จ่ายกับจ่าย ผลตอบแทนที่ได้รับ ก็คือ ความสุก(ข) ละมั้ง!  แล้วผลตอบแทนทางเศรษฐกิจล่ะ เป็นเท่าไหร่.. เคยคิดกันบ้างไหมครับ หรือเราจะเสพติดกันไปแบบนี้เรื่อย ๆ แล้วก็มาทนแบกรับหนี้สินกันตลอดชีวิต

 ทำให้ระบบทรัพยากรที่เคยมีอย่างอุดมสมบูรณ์ก็ถูกเปลี่ยนแปลงมาเป็นเงินเพื่อการใช้หนี้ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่มีทางทันกันได้เลย  

 

แม้จะมีการอพยพแรงงานเพื่อหาเงินมาปิดช่องว่าง ก็ทำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แล้วชาวบ้านจะอยู่อย่างไร ก็ต้องดิ้นรนปากกัด ตีนถีบกันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะตายกันไปข้างหนึ่ง

ชาวบ้านส่วนใหญ่อยู่เพื่อรอวันตาย เพื่อจะได้ปลดหนี้สิน จากเงินประกันชีวิตของ ธกส.

ไม่เห็นมีใครมีความคิดเป็นอย่างอื่น น่าสงสาร..ชีวิตเรามีค่าเพียงแค่นี้เองหรือ..  

จากการทำงานเพื่อพัฒนาชนบทในด้านต่างๆ กับเครือข่ายปราชญ์ ผมพบว่า จุดแรกที่เราจะต้องพยายามแก้ไขก็คือ การอุดรูรั่ว รูไหนใหญ่ต้องอุดก่อน รูไหนที่ไหลแรงต้องรีบอุดทันที มิเช่นนั้นมีเท่าไหร่ก็ไม่มีทางเต็ม 

กระบวนการพัฒนาเริ่มต้นจึงต้องมาเริ่มที่อุดรูรั่ว มากกว่าการเติมให้เต็ม

การอุดรูรั่วที่สำคัญก็คือการลดกิเลส  การทำความเข้าใจตนเอง เหมือนกับที่ผมเคยเขียนไว้แล้วว่า คนที่จะเข้าใจตนเอง ต้องออกไปนอกโลกของตนเองเสียก่อน ฉะนั้น การปฏิบัติธรรมเพื่อลดกิเลส จึงเป็นเรื่องจำเป็นก่อนการพัฒนาใดๆ ทั้งสิ้น 

 แต่...อีกนั่นแหล่ะครับ

คนที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ยากที่จะไปนั่งปฏิบัติธรรมได้อย่างสงบ

 ต้องพยายามวิ่ง ดิ้นรน หาเงินมาใช้หนี้ ไม่งั้นก็อยู่ไม่ได้เหมือนกัน 

สถานการณ์นี้จึงกลายเป็นงูกินหาง หยุดก็ไม่ได้ ไปทางไหนก็ไม่ได้ วิ่งวนอยู่อย่างนั้นจนกว่าจะหมดแรง และถูกหัวงูอีกตัวหนึ่งมากิน แบบปลาใหญ่กินปลาเล็ก ทำให้ระบบครอบครัวสูญเสียที่ทำกิน อพยพแรงงาน สูญเสียระบบชีวิตจากการไปทำงานรับจ้างแบบถูกกดขี่ค่าแรง แล้วก็ยังเอาตัวไม่รอดอีก อาจจะมีคนบางคนที่โชคดี ทำสำเร็จ แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังอาจล้มเหลว
 ฉะนั้น แนวทางของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ค่อยๆ ทำอย่างพอประมาณ มีเหตุผล เดินตามทางสายกลางของเรื่องต่างๆ จึงเป็นทางออกที่สำคัญที่จะทำให้เราเริ่มต้นพัฒนาได้จริงๆ เสียที เพราะถ้าวิ่งแบบงูกินหางอย่างนี้ไปไม่รอดแน่นอน... 

แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นปรัชญาที่สำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่แท้จริง

อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเล่น และมองข้ามความสำคัญนี้นะครับ! ไม่งั้น การพัฒนาจะไม่มีทางสำเร็จแน่นอน
หมายเลขบันทึก: 66543เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2006 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

 

  ปลอดหนี้ = ปลอดทุกข์

  ปลอดอบายมุข = ต้องปลอดกิเลศ

  แต่ไม่มีใครทำได้ เพียงแต่รู้เท่าทัน

   มันก็จะค่อยๆลดไปเองนะโยม!!

   อาจารย์อย่าไปยุ่งกับหนี้คนอื่นนะ

  เพราะเขาได้คิดอย่างอาจารย์

 เขาเปลี่ยนชื่อใหม่แล้ว เขาเรียกว่าเครดิท

  ใครมีเครดิทมาก ถือว่าเก่ง มีฝีมือ

  นั่นก็หมายความว่าหนี้มี 2 สถานะ

  หนึ้จนรวย เรียกว่าเครดิท

  หนึ้คนจน เรียกว่า กองทุกข์หมู่บ้าน

  ปราชญ์อีสาน อธิบายเรื่องนี้ไว้ ดังนี้

   มีเกินใช้ ได้เกินกิน เราก็รวย

   กินเกินได้ ใช้เกินมี เราก็จน

  คนสมัยนี้เขาไม่กล้วจน ยังอยากจนกันจนตัวสั่น

  ในหลักการพัฒนา

 " เงินกับความรู้ต้องควบคู่กันไปพัฒนา"

  ขืนหว่านแต่เงินออกไปอย่างเดียว 

   เขาเรียกว่านโยบายประชาเข้าตาจน

  ที่จริงมันก็ไม่น่ากลัวหรอกนะความยากจน

  เสียอย่างเดียว พวกลูกทุ่งร้องเพลงเยาะ..

 " กอดกับคนจนหน้ามลน้องบ่นว่าเหม็น"

  ถ้าหวานใจไม่ร้องเพลงนี้ ผมพอใจที่จะจนแบบเหม็นบ้างหอมบ้าง ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะไม่ว่าสวยแต่ไหนตดออกมาก็เหม็นกันทั้งนั้น  มันจึงเป็นที่มาของคำว่า " มนุษย์ขี้เหม็นเคี่ยวเข็ญเทวดา" ยังไงละ โยมแวง.!!


  หนี้เงินยังพอว่า หนี้ใจนี่สิ จะว่ายังไง

  สาเหตุความยากจนเป็นเพราะระบบการศึกษา

   ครูโง่  สอนลูกศิษย์ออกมาล้วนหน้าโง่

   ใหญ่โตไปเป็นนายกรัฐมนตรี ก็เป็นรัฐมนตรีโง่ๆ

   คนโง่  ทำให้คนอื่นพลอยโง่หัวโตเป็นหนี้

   คนธรรมดาโกงนับว่าน่ากลัวอยู่แล้ว

   คนโง่โกงแบบโง่ๆ น่ากลัวกว่า

  เพราะคนโง่ทำได้ทุกอย่าง

  ทำให้เกิดข้าวยากหมากแพงทั่วแผ่นดิน

  ทั้งหุ้น ทั้งเครดิท วอดวายบรรลัยกัลป์

 

ขอคารวะหนึ่งล้านครั้งครับครูบา

นี่เป็นสำนวนญี่ปุ่นครับ

ผมว่าคนจนบางส่วนก็เพียงถูกเรียกว่าจนนะครับ ตามเกณฑ์ของคนภายนอกครับ

แต่คนจนจริงก็มีมาก

สำคัญที่สุดก็จนปัญญานั้นแหละครับ

ผมจึงขอเสนอการพัฒนาปัญญา ตั้งแต่วันแรกที่ผมเข้ามาในบล็อกครับ

คนที่มีปัญญาไม่น่าจะจน เพราะดีอย่างเดียว

แต่คนมีความรู้อาจจนได้ครับ เพราะมีทั้งดี ไม่ดีครับ

หนี้ใจต้องใช้ด้วยใจครับ แล้วคนยิ่งใช้ยิ่งรวยครับ

คงต้องขอเป็นหนี้ใจค่ะอาจารย์ เพราะอาจารย์บอกยิ่งใช้ยิ่งรวย

จนหรือรวยอยู่ที่ความพอใจและกิเลสในตัวด้วยค่ะ เพราะบางคนมีน้อยแต่พอก็รวยแล้ว 

แต่บางคนมีมากจนตายสิบชาติยังใช้ไม่หมด ยังไม่พอและยังจนใจหาทางไปทางมาไม่ได้เลยค่ะ

ใช้หนี้ใจจึงจะรวยนะครับ ไม่ใช่เป็นหนี้จะรวย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท