เราจะพัฒนาจินตนาการของผู้เรียนได้อย่างไร


เวลาฟังเราต่างคนต่างมีความคิดตามเรื่องที่แม่เล่าไม่ซ้ำกันเลย ทั้งรูปร่างหน้าตา การแต่งตัวของคนในนิทาน สถานที่ แต่ยังเป็นเรื่องเดียวกันนะครับ จำไปเล่าต่อได้เหมือนกัน และไม่เคยมีการปะปนกันของเรื่อง แต่ก็มีการใช้สถานที่ซ้อนกันได้บ้าง แต่คนละบริบทกัน ผมเลยคิดว่าการเล่านิทานโดยไม่ต้องมีภาพใดๆ จะสร้างจินตนาการได้ดีที่สุด

ไอน์สไตน์ เคยกล่าวไว้ว่า

"จินตนาการ สำคัญกว่า ความรู้" เพราะจิตนาการสามารถสร้างความรู้ได้ไม่มีที่สิ้นสุด

ผมครุ่นคิดเรื่องนี้มาไม่ต่ำกว่าสิบปี ตั้งแต่ผมทำงานสอนนักศึกษามากว่า ๓๐ ปีมาแล้ว แต่ไม่ค่อยมีโอกาสหารือกับใครมากนัก

เพราะผมรู้สึกว่าเพื่อนร่วมงานผมเขาไม่ค่อยสนใจเรื่องนี้เท่าไหร่ เวลาสอน(ผมชอบไปแอบฟังว่าเขาสอนอะไรกัน) ก็เน้นให้เด็กท่องมาสอบ

โดยเฉพาะเมื่อดูจากลักษณะของข้อสอบที่วัดความจำมากกว่าวัดความคิด ความรู้ ความเข้าไจ (ผมจะดูทุกครั้งเมื่อต้องไปคุมสอบให้กับวิชาต่างๆ)  

แต่ ข้อสอบที่ผมออกจะวัดความจำเพียงไม่เกิน ๒๐% ความเข้าใจ ๔๐% และการนำไปพัฒนาตัวเองในฐานะนักศึกษา อีก ๔๐%

ทั้งที่ใจผม อยากจะออกให้เป็นประเด็นสุดท้าย ๑๐๐% แต่เคยทำแล้วมีคนตอบไม่ได้เลยมากเหลือเกิน เลยต้องยอมอ่อนลงมาที่จุดพอจะช่วยพัฒนาเขาได้บ้าง เรียกว่ากลางที่สุดแล้ว นั่นแหละครับ

จึงได้ข้อสรุปมาอย่างที่กล่าวไปแล้ว (นี่คืออีกความพยายามหนึ่งของผมที่จะช่วยให้นักศึกษาพัฒนาจินตนาการ นี่ผมเข้าใจเอาเองนะครับ) 

ผมเคยคุยกับพี่ชายผมบ่อยๆ ในเรื่องนี้ (พี่ชายผมก็ทำงานเป็นครูสอนอาชีวะศึกษามากว่า ๓๐ ปีเช่นกัน) ว่าที่เราคิดได้หลายๆเรื่อง อาจมาจากที่เราชอบฟังนิทานจากปากแม่ ก่อนนอนทุกวัน  

เวลาฟังเราต่างคนต่างมีความคิดตามเรื่องที่แม่เล่าไม่ซ้ำกันเลย ทั้งรูปร่างหน้าตา การแต่งตัวของคนในนิทาน สถานที่  แต่ยังเป็นเรื่องเดียวกันนะครับ จำไปเล่าต่อได้เหมือนกัน และไม่เคยมีการปะปนกันของเรื่อง แต่ก็มีการใช้สถานที่ซ้อนกันได้บ้าง แต่คนละบริบทกัน 

ผมเลยคิดว่าการเล่านิทานโดยไม่ต้องมีภาพใดๆ จะสร้างจินตนาการได้ดีที่สุด  แต่ก็อาจใช้กับคนที่มีลักษณะพหุปัญญาแบบผมกับพี่ๆ ได้เท่านั้น หรือเปล่าก็ไม่แน่ใจนะครับ 

ผมสงสัยว่านี่หรือเปล่าที่เขาเรียกว่า จินตนาการ  

ผมก็ลองนำวิธีการดังกล่าวมาใช้ในการสอน และพัฒนาจินตนาการของนักศึกษา ก็ไม่แน่ใจว่าได้ผลแค่ไหน เพราะ ผมยังไม่ค่อยได้ประเมินผลระดับจินตนาการ  

แต่ ผมมีความสงสัยว่า เวลาผมสอนอะไร ทำไมเด็กนักศึกษาจะไม่ค่อยคิดตาม แต่จะเน้นการจำไปตอบข้อสอบมากกว่า พลิกคำถามนิดเดียวก็ตอบไม่ได้แล้ว

แตกต่างจากสมัยผมเรียนที่ผมจำได้ว่าเราไม่ค่อยได้อ่านหนังสือสอบกันเท่าไหร่ เพราะ

หนังสือก็ไม่ค่อยมี

สมุดจดก็ไม่ค่อยมี

จดแล้วก็ไม่ได้นำมาท่องแบบเอาเป็นเอาตาย แต่จะเน้นการสร้างความเข้าใจตั้งแต่ตอนเรียน

แล้วแค่ทบทวนบ้างก็พอไปสอบได้แล้ว

 ทำไม ทำไม ทำไม ทำไม ทำไม ทำไม ทำไม ทำไม ทำไม ทำไม ทำไม ทำไม และทำไม?????????  มีอะไรที่แตกต่างกัน?

 อาจจะเป็นที่เนื้อหาการเรียนไม่มาก  

อาจจะไม่มีสื่อการสอนแบบทันสมัยเหมือนสมัยนี้  

อาจไม่มีตำราและเนื้อหาให้ท่องมากเหมือนสมัยนี้  

อาจจะไม่มีทีวี วีดีโอ ให้ดู แบบไม่ต้องจินตนาการตาม เพราะมีทั้งภาพ และเสียง  

หลายท่านอาจบอกว่ามันเป็นความจำเป็นที่ต้องยัดเยียดเนื้อหาให้ครบ (อย่าเพิ่งโทษกันว่ามาจากใคร)  

ผมขอถามกลับไปว่าเราจะพัฒนาอะไร พัฒนาผู้เรียน หรือพัฒนาตำรา หรือพัฒนาการสอน หรือจะพัฒนาสื่อการเรียนการสอน หรือจะทำไปตามที่เข้าใจเองว่าต้องทำอย่างนั้นๆ โดยไม่ทราบ หรือไม่สนใจว่าจะพัฒนาใครหรือไม่ (อันนี้คำถามวัดใจครับ เหมาะกับคนที่คิดจะแก้ไข ไม่เหมาะกับคนที่ชอบแก้ตัว) 

ผมถามเช่นนี้เพราะต้องการให้ทุกฝ่ายกลับไปคิดว่าเป้าหมายสุดท้ายคืออะไร

ถ้าไม่ได้ จะต้องปรับอะไร

ไม่ใช่หลับหูหลับตาทำพอจบๆ ก็แล้วกันไป 

ลองไปทบทวนดูนะครับว่า เราจะช่วยให้เด็กพัฒนาจิตนาการได้อย่างไร 

หรือว่าเราก็ไม่มีจินตนาการเหมือนกัน??????? 

หมายเลขบันทึก: 66450เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2006 09:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • เราสอนให้เด็กจินตนาการ
  • แต่การสอบการวัดผลเราเป็นอีกแบบ
  • สงสารด็กและตัวเองครับ

จินตนาการ ในความหมายของ ดร.แสวง ออกจะเป็นคำที่เข้าใจยากครับ อธิบายก็ยาก เพราะมันเกิดในหัว เอามาโชว์ใครก็ไม่ได้ ต้องอธิบายต่อ ซึ่งน่าสนใจ เพราะเมื่ออธิบายต่อ มันก็แตกหน่อต่อยอดออกไป เนื่องจากภูมิหลังของผู้เล่า และผู้ฟังต่างกัน นักจิตวิทยาหลายคนที่สนใจเรื่องการเล่าเรื่อง (narrative) เชื่อว่าผู้อ่าน หรือผู้ฟังเองก็ทำหน้าที่เป็นผู้เขียนไปในเวลาเดียวกัน เราอ่านหนังสือเล่มเดิม ในเวลาต่างกัน ยังรู้สึกต่างกัน จริงไหมครับ?

ผมเห็นด้วยกับ ดร.แสวง นะครับ เรื่องที่หลายๆ คนเห็นว่าการศึกษาวันนี้แย่ลง การเรียนการสอนอ่อนลง อาจารย์เองก็คุณภาพต่ำลง (วุฒิภาวะต่ำลง ความคาดหวังจากสังคมน่าจะยังมี แต่ไม่มากเหมือนเมื่อก่อน) เด็กไม่เคารพอาจารย์ อาจารย์ไม่สนใจเด็ก ไม่รู้เรื่องไหนเกิดก่อนกัน? ผมค่อนข้างมั่นใจว่าทุนนิยมมีส่วนในเรื่องนี้พอสมควร...

ผมขอคิดต่อจากที่ ดร.แสวง ถามว่า "ทำไม" นะครับ
ผมเชื่อว่าการศึกษาที่ถูกแยกออกเป็นหน่วยทางสังคมที่ขาดจากบริบททางสังคมนั้นไม่มีค่า อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ เองก็กล่าวไว้ว่า "วัฒนธรรมสำคัญกว่าความรู้" อีกนัยหนึ่งคือ ความรู้จะไม่มีค่าเลย ถ้าผู้เรียนไม่สามารถนำมาใช้ได้ แต่การสอนให้เชื่อมโยงกับบริทบทางสังคมนั้นไม่ง่ายเลยครับ ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจ และปรับวิธีคิดกันแบบถอนรากถอนโคน ยิ่งยากเข้าไปอีกถ้าผู้บริหารไม่เข้าใจ

เขาว่ากันว่าครูอาจารย์ในปัจจุบันถูกอินเตอร์เน็ตยึดอำนาจไปเรียบร้อยแล้ว ความรู้ในตำรา มีอยู่ตามอินเตอร์เน็ต ถ้าครูเอาแต่กางตำราสอน ก็จบกัน สอนให้เด็กจำ เด็กก็คงคิดว่าเป็นเรื่องไร้สาระ เพราะจะหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตเมื่อไหร่ก็ได้

อย่างที่กล่าวตอนต้นนะครับ ว่าการสอนแย่ลง อาจารย์ก็แย่ลง แต่ผมไม่เชื่อว่าเด็กแย่ลงครับ แต่บริบทเปลี่ยนไป สื่อต่างๆ ที่บริโภคก็ต่างไป ผมไม่มั่นใจว่าเด็กจะสนใจการอ่านหรือไม่ เขาว่าสมัยนี้เป็น digital native ครับ ส่วนคนรุ่นก่อนเป็นพวกอพยพมาในโลกดิจิตอล หรือ digital immigrant  (Marc Prensky, 2001 ) จะสอนอย่างไรในยุคดิจิตอล เป็นเรื่องที่น่าสนใจนะครับ

ขอบพระคุณมากครับ อาจารย์วสะ ที่อาจารย์ต่อยอดไว้ดีมาก ผมกำลังหาแนวร่วมที่คิดคล้ายๆกัน และแลกเปลี่ยนกันได้ การเรียนการสอนนั้นมีปัญหามาก ที่ผมจะค่อยๆปล่อยออกมาทีละประเด็น ว่าแนวไหมจะเกิดพลัง และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา เพราะถ้าหนักไป แนวร่วมจะน้อยและไม่มีพลัง เบาไปไร้สาระ มีคนมากก็ไม่มีประโยชน์ ผมเขียนไว้แล้วว่า เราจะต้องหาทางสร้างจินตนาการให้ได้ ไม่งั้นความรู้ก็ไม่สามารถแสดงพลังให้เกิดประโยชน์ได้ อย่างมากก็ลอกกันไปเลียนกันมา เหมือนพายเรืออยู่ในโอ่ง เพียงแต่โอ่งใหญ่โอ่งเล็ก เราไม่ได้พัฒนาต่อเชื่อมเหมือนอยู่ในลำน้ำ ที่เชื่อมโยงกันได้ทั้งหมด ในยุคนี้ ผู้สอนต้องทันสมัยทุกอย่าง ทั้งเทคโนโลยี ความรู้ ความสามารถ ที่จะเป็นตัวอย่างให้นักเรียน ไม่ใช่ไปทำตัวแข่งกับคอมพิวเตอร์คงไม่ได้ กระแสนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องทำกันทั้งกระบวน อบ้างน้อยก็ต้องเห็นเป็นรูปธรรมนำร่องที่ชัดเจน ปัญหาใหญ่ที่เป็นอุปสรรคปัจจุบันคือ ระดับหัวแถวยังไม่ยอมขยับ กลางแถวก็อืด ปลายแถวก็มีปัญหาสารพัด หาจุดเริ่มยากเหลือเกิน การขายแนวคิด และหาจุดเริ่ม นำร่อง ที่ผมทำกับเครือข่ายปราชญ์อีสาน เป็นทางเดียวที่พอเห็นแสงรำไร แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะสะดวกง่ายดาย ปัญหาในระบบตรงนี้ก็พอสมควร จะลองขยับดู ได้ผลอย่างไรจะเอามาเล่าสู่กันฟังอีกครับ

อาจารย์วสะ ครับ

งานเก่าที่ผมเขียนแหย่รังแตนก็มีอยูบ้าง เชิญอ่านเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท