ขับเคลื่อน PLC เทศบาลเมืองมหาสารคาม _๕๖ : เล่าด้วยภาพ เยี่ยมโครงการบ้านวิทย์น้อย โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย


วันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ไปเยี่ยมโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ที่โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย อีกโรงเรียนหนึ่งในสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม  มาเล่าด้วยภาพ เพื่อบันทึกความทรงจำการกระทำที่ดี ๆ เพื่อลูกหลานครับ

  • คุณครูคุยกันว่า ช่วงเวลาที่ผมมาเยี่ยมห้องเรียนบ้านวิทย์นี้ จำกัดมาก เพราะผมต้องเดินทางต่อมาทำงานที่มหาวิทยาลัยในเวลา ๑๐.๐๐ น. จึงได้จัดห้องเรียนแบบ Team Teaching  คุณครูอนุบาลทุกคนมาร่วมกันสอนการทดลองเรื่อง 

  • สิ่งที่โครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยเน้นที่สุดคือ การปลูกฝังจิตวิทยาศาสตร์และฝึกหัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้น (อ่านรายละเอียดได้ที่นี่) โดยเฉพาะ 
    • กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ๖ ขั้นตอน ได้แก่  
      • ตั้งคำถาม
      • ตั้งสมมติฐาน (รวบรวมความรู้แล้วตั้งสมมติฐาน)
      • ค้นคว้าทดลอง พิสูจน์สมมติฐาน  (สำรวจตรวจสอบ)
      • สังเกตและบรรยายรายละเอียด (ขั้นตอนนี้เพิ่มไว้ให้เน้นเป็นพิเศษสำหรับเด็กครับ)
      • บันทึกและแสดงผลการทดลอง (ขั้นตอนนี้เพิ่มไว้เน้นให้เด็กได้ฝึก)
      • อภิปราย/สรุปผล (สรุปว่า สมมติฐานเป็นจริงหรือไม่ เพราะอะไร ครูอาจต้องช่วยสนับสนุนตามสมควร)
    • ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ๘ ประการ ... (บ้านวิทย์น้อยฯ เน้นอย่างน้อยให้ครบ ๔ ประการ ตามเกณฑ์ (อยากดูเกณฑ์คลิกที่นี่)) ได้แก่
      • การสังเกต
      • การวัด
      • การคำนวณ หรือ การใช้ตัวเลข
      • การจำแนกประเภท การเปรียบเทียบ
      • การใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส (รูปร่าง รูปทรง กะขนาด) และ สเปสกับเวลา (การสังเกตการเปลี่ยแปลง)
      • การสื่อความหมาย  .... ขั้นตอนนี้เองที่โครงการฯ ต้องการเน้น โดยกำหนดเป็นขั้นหนึ่งของกระบวนการฯ 
      • การลงความเห็น  .... ครูสนับสนุนด้วยการถามได้ แต่ดีที่สุดคือเด็กตัดสินใจเอง  สรุปเอง
      • การพยากรณ์  เป็นการคาดเดาอย่างมีหลักการ ใช้ประสบการณ์และองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ ก็คือ การนำความรู้ไปใช้นั่นเอง 

  • การทดลองวันนี้เกี่ยวกับการละลายหรือไม่ละลาย และองค์ประกอบของปากกาสีไวบอร์ด คุณครูให้เด็ก ๆ เขียนตัวอักษรหรือวาดภาพลงไปที่ก้นจานเซรามิก โดยใช้ปากกาไวท์บอร์ดหลากสี  หลายยี่ห้อ แล้วลองเอาน้ำหรือแอลกอฮอล์เทลงไป ... แล้วให้เด็ก ๆ สังเกต 

  • ถ้าเด็ก ๆ สังเกตเห็น น้ำเปลี่ยนสี ... ถ้าในคำพูดของเด็กมีคำว่า "ละลาย" ก็แสดงว่าเด็กคนนั้นรู้จักละลาย
  • ถ้าเด็กสังเกต และบอกได้เองว่า น้ำไม่เปลี่ยนสี ก็แสดงว่า สีชนิดนี้ไม่ละลายน้ำ 
  • คุณครูอาจเชื่อมโยงกับการเขียนปากกาไวบอร์ดลงบนกระดาน แล้วเชื่อมโยงไปสอนให้เด็กรู้ว่า เวลาเขียนกระดานไวท์บอร์ดต้องลบให้เรียบร้อย อย่าปล่อยให้แห้ง เพราะจะลบไม่ออก วิธีการลบไวท์บอร์ดเมื่อแห้งติดแล้ว ก็ต้องใช้แอลกอฮอลล์ เป็นต้น 

  • ผมฟังคุณครู ได้ความรู้ใหม่ ว่า ปากกาไวท์บอร์ทชนิด non-Permanent (ไม่ถาวร) มีองค์ประกอบสำคัญ ๓ ส่วนคือ สี น้ำ และน้ำมัน  นั่นหมายถึง 
    • ถ้าเขียนและใส่น้ำทันทีจะละลายน้ำ 
    • ถ้าเขียนแล้วทิ้งไว้ให้แห้ง น้ำจะละเหยหมด เหลือแต่น้ำกับสีกับน้ำมัน ก็พอลบได้จากก้นถ้วย หรือกระดานไวท์บอร์ด ที่พื้นเรียบลื่น ไม่ติดน้ำมัน   แต่น้ำจะไม่เปลี่ยนสีแล้ว เพราะน้ำมันไม่ละลายในน้ำ 
    • ถ้าทิ้งไว้ ให้นานมาก ๆ  น้ำจะระเหยหมด น้ำมันแห้งหมด เหลือแต่สี จะลบไม่ออกแล้ว ต้องใช้ แอลกอฮอล์ 

  • การประชุม PLC หลังการเยี่ยมชมชั้นเรียน ข้อสะท้อนสำคัญ ๓ ประการ คล้ายกับทุกโรงเรียน คือ 
    • เราไม่จำเป็นต้องเน้น "ความรู้" สำหรับเด็กอนุบาล ไม่ต้องห่วงว่าจะสรุปองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้เด็กอะไรมากครับ 
    • ให้เน้นที่ การปลูกฝัง "จิตวิทยาศาสตร์" และ ฝึกทักษะกระบวนการและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
    • สิ่งสำคัญที่สุด ยังคงเป็น ความสุขและความสนุกของทั้งนักเรียนและคุณครูครับ 
ขอเป็นกำลังใจให้คุณครูเพื่อศิษย์ทุกท่านครับ 
หมายเลขบันทึก: 663822เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2019 10:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2019 10:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท