เรียนรู้จากจารึกอโศก รัฐศาสตร์แห่งธรรมธิปไตย (พระพรหมคุณาภรณ์ ป.ปยุตฺโต)


วันนี้เป็นครั้งแรกที่ได้อ่าน หนังสือเรื่อง "จารึกอโศก รัฐศาสตร์แห่งธรรมธิปไตย" ที่เขียนโดยพระพรหมคุณาภรณ์ ป.ปยุตฺโต (ขณะนี้คือ สมเด็จพระธรรมโฆษาจารย์ ป.ปยุตฺโต) (คลิกที่นี่

การวิเคราะห์ สังเคราะห์ จากหลักฐานทั้งจากศิลาจารึกของพระเจ้าอโศก ตำราของนักประวัติศาสตร์ตะวันตก และประไตรปิฎก ของท่านประเทืองปัญญาเรายิ่งนัก ... อ่านแล้ว ผมตีความว่า 

  • หลักฐานที่เขียนในพระไตรปิฎก (ผมจับประเด็นส่วนที่กล่าวถึงไว้ที่นี่) กลับหลักฐานงานเขียนทางประวัติศาสตร์ทั้งทางกรีก ตะวันตก สอดคล้องตรงกันทางรัฐศาสตร์การปกครอง  ...  แสดงว่า  ชมพูทวีป คือพื้นที่เอเชียใต้ซึ่งได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน อัฟกานิสถาน ฯลฯ ในปัจจุบัน ....ในพระไตรปิฎก กล่าวว่า พระพุทธเจ้าประสูติในดินแดนชมพูทวีป ดังนั้น หนังสือจารึกอโศกนี้ จึงสะท้อนว่า พระพุทธเจ้าเกิดที่อินเดีย ...  
  • ทีมวิจัยที่นำโดย ศ.ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ เสนอว่า พุทธอุบัติภูมิไม่ได้อยู่อินเดียหรือเนปาล บอกว่า ชมพูทวีปคือดินแดนพม่าไทยลาวเขมรในปัจจุบัน และบอกว่า พระเจ้าอโศกในพระไตรปิฎกกับพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นคนละพระองค์กัน....
  • เปรียบเทียบแล้ว ขณะนี้ น่าจะเชื่อว่า ชมพูทวีป คือพื้นที่ฝั่งอินเดียมากกว่า ... 
  • แต่ข้อมูลกายภาพ ภูมิศาสตร์ หรือ ฤดูกาล ฯลฯ ที่ลุมพินีวัน เนปาล แตกต่างจากที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎก ... จึงไม่น่าจะใช่ แม้ว่าจะอ้างหลักฐานว่ามีศิลาจารึกของพระเจ้าอโศก (พ.ศ. ๒๓๖)... 
  • สมมติฐานที่ควรศึกษาความเป็นไปได้ต่อไป คือ ... พื้นที่ตรงไหนในชมพูทวีป ที่มีภูมิศาสตร์ฤดูกาลตรงกับข้อมูลในพระไตรปิฎก ... 
  • อย่างไรก็ดี ข้อมูลเหล่านี้ทั้งหมด ไม่ได้ขัดแยังกับความเชื่อว่า คนไทยเขมรลาวมอญนี่เองที่เป็นอริยวาส อริยวงศ์ ...
หมายเลขบันทึก: 661360เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2019 23:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 เมษายน 2019 19:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท