เรียนรู้ประวัติศาสตร์ฐานพุทธ: จากอินเดียสู่เอเชีย ชมพูทวี ๒-๔


มาต่อกันคลิปที่ ๒ ครับ ... สาธุ อนุโมทนา กับปัญญาและวิทยาทานของท่านครับ ...

(ผมฟังและจับประเด็นอย่างรวดเร็ว ยังไม่ได้ตรวจสอบตัวสะกดคำเฉพาะ ๆ  เป็นเพียงการเขียนทับเสียงของท่าน ต้องขออภัยไว้ล่วงหน้าครับ)

  • อัฟกานิสถาน เป็นทางผ่าน เป็นจุดผ่าน และเป็นเส้นทางค้าขายด้วย เพราะระหว่างจีนและอินเดียจะมีภูเขาหิมาลัยกั้นอยู่  
  • อีกจุดหนึ่งที่เป็นทางผ่าน คือพื้นที่ตะวันออกของอัฟกานิสถานคือ ปากีสถานซึ่งมีเมืองตักสิลาเป็นเมืองสำคัญ ปัจจุบันเป็นพื้นที่ระหว่างเมืองหลวงเก่า ลาวันปินดิ และเมืองหลวงปัจจุบันคือ อิสลามาบัด  อยู่ห่างจากอิสลามาบัดเพียง ๘ กิโลเมตรเท่านั้น  
  • ขึ้นไปทางเหนือ จะมีเมืองพามียาน หรือ บามียาน อยู่ห่างไปทางตะวันตกของกรุงกาบูน เมืองหลวงของอัฟกานิสถาน เมืองนี้คือที่ตั้งของพระพุทธรูปใหญ่ที่ถูกกลุ่มตาลีบันระเบิดทำลายไป 
  • ถ้าขึ้นเหนือจากพามียานไปอีก มีเมืองชื่อ แบ้กตร้า เป็นเมืองหลวงของแค้วแบ้กเตรีย ซึ่งยึดครองโดยชาวเปอร์เซียร์ หรือชาวอิหร่านในปัจจุบัน  ที่นี่คือแหล่งกำเนิดของศาสนาโซโลแอสเตอร์  
  • เส้นทางสายไหมเก่า ก็ผ่านพื้นที่นี้เช่นกัน ประมาณ ๓๒๕ ปีก่อนคริสต์ศักราช  เป็นเส้นทางที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ผ่านจากยุโรปไปยังอินเดียและจีน 
  • พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ได้ยกทัพมาถึงตักสิลานคร ยึดลงทางเมืองบักเตรีย และมาพบปู่ของพระเจ้าอโศก (จันทรคุป) ก่อนจะยกทัพกลับไปเมื่อ ๓๒๖ ปี และตั้งแม่ทัพเป็นเจ้าเมืองไว้ แม่ทัพคนหนึ่งจึงสร้างอาณาจักรแบ้กเตรียขึ้น ที่เมืองกันธาหาน ชื่อกษัตริย์ ซีเรียวคัส ... ต่อมาพื้นที่นี้ถูกยึดโดยพระเจ้าจันทรคุป
  • ช่วง ค.ศ. ๗๐๐ กว่า หรือ พ.ศ. ๑๒๐๐ กว่า มุสลิมเข้ามายึดครองที่เมืองกันธาหานและอาณาจักแบ้กเตรียทั้งหมด  
  • ช่วง ค.ศ. ๑๒๒๑ เป็นยุคของเจงกิสค่าน เป็นที่เข้ามายึดเมืองและทำลายย่อยยับ 



  • อาณาจักรแบ้กเตรียนี่เองที่เป็น "แคว้นโยนก" ที่มีบันทึกในประวัติศาสตร์อินเดีย   คำว่าโยนก เพี้ยนมาจากคำว่า ไอโอเนียเป็นชาวกรีกอพยพลงมาอยู่แผ่นดินตรงนั้น ปัจุบันก็คือ ประเทศตุรกี 
  • บริเวณนี้เองที่เป็นแหล่งกำเนิดของนักปรัชญาตะวันตกสำคัญ ๆ ในช่วงสมัยพุทธกาล  เช่น ทาลีส (Thales) อเนกซีมานเดอร์ พีทากอรัส ฯลฯ  
  • ทาลีสหรือเทลีส เกิดเมื่อ ๖๒๔ ปี ก่อนคริสต์ศักราช ตายเมื่อ ๕๔๖ ก่อนคริสต์ศักราช อายุด ๗๘ ปี  เกือบจะพร้อม ๆ กับพระพุทธเจ้าเลย  เกิดก่อนพระพุทธเจ้า ๑ ปี 
  • พระพุทธเจ้าได้ตรัสตอนหนึ่งว่า  "ในแคว้นโยนมีเพียงสองชนชั้นเท่านั้น คือชนชั้นเจ้านายและชนชั้นทาส" แสดงว่า น่าจะมีการติดต่อถึงกันกับชาวไอโอเนี่ยนกรีก เพราะตรงกับหลักฐานจากไอโอเนี่ยนกรีก ที่แบ่งชนชั้นออกเป็น ๒ ได้แก่ พวกชนชั้นเจ้านายและพวกทาส 
  • ลูกศิษย์ของทาลีสคนหนึ่งชื่อ โสกราตีส ได้รับการยกย่องว่า เป็นนักปรัชญาคนแรกที่ใช้วิธีถามตอบมาใช้ ... แต่ที่จริงแล้ว โสกราตีสนั้นเกิดหลังพระพุทธเจ้า ๑๖๐ ปี  และพระพุทธเจ้าใช้วิธีถาม-ตอบนั้นมาแล้ว 
  • ปี พ.ศ. ๓๓๐ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช มาตีได้ทั้งแคว้นโยนก  ทรงตั้งเมืองกันธาหานเป็นเมืองคันธาละ  ตั้งเมืองเฮลาดเป็นเมืองอเล็กซานเดรีย แล้วตั้งกษัตริย์ซีเรียวคัส พื้นที่เหล่านี้จึงปกครองด้วยชาวกรีก  ... ชาวชมพูทวีปเรียกทั้งหมดว่าเป็น ไอโอเนี่ยนหรือ โยนะ หรือ โยนก ทั้งหมด กรีกปกครองพื้นที่นี้อยู่ราว ๒๐๐ ปี 
  • เนื่องจากเป็นจุดเชื่อมการเดินทางหลายเส้นทาง แคว้นโยนะหรือโยนก จึงเป็นแหล่งรวมอารยธรรมต่าง ๆ  ทั้งกรีก อียิปต์ จีน อินเดีย ฯลฯ 
  • ตำราเรื่อง ฮินดูเวิร์ล บอกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเมือง กันทหานและแคว้นคัลธาละ ทำให้อาจสามารถจะสันนิษฐานได้ว่า อาจจะเป็นการเพี้ยนเสียงหรือคำกันได้ 
  • พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ต้องการจะบุกอินเดียซึ่งตอนนั้นราชวงศ์นันทะมีอิทธิพลอยู่มาก  จึงหาวิธีจะทำลายความเข้มแข็งภายใน จึงจะคบหากับจันทรคุป (ปู่ของพระเจ้าอโศกในเวลาต่อมา)  แต่พอจะพบกันเกิดปัญหาว่าใครจะเคารพใคร จันทรคุปไม่ยอมทำความเคารพ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์จึงจับจันทรคุปขังไว้  ... แต่หนีไปได้ในเวลาต่อมา  (จันทรคุปนี้มีชื่อเป็นภาษากรีก ว่า เจ้าชายซันโดรโกตรอส บันทึกไว้ในหลักฐานฝ่ายกรีกด้วย)
  • ต่อมาพระเจ้าอเล็กซานเดอร์เลิกทัพไม่บุกราชวงศ์นันทะ ด้วยสันนิษฐานสองสาเหตุ ๑ คือทหารเหนื่อล้ามากเพราะรบมานานมาก และ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์เองที่เบื่อหน่ายการรบ อีก ๑ คือ อาจจะเป็นเพราะเกรงว่าจะสู้กับราศวงศ์นันทะไม่ได้   ราว ๆ  ๓๒๖ ก่อน ค.ศ.
  • ส่วนจันทรคุป เมื่อหนีไปได้  ก็รวบรวมกำลังพลเข้าตีแต่ก็แพ้พระเจ้านันทะ  ... วันหนึ่งไปแอบได้ยินยายคนหนึ่งด่าหลานที่กินขนมเบื้องที่เพิ่งออกจากเตา แล้วลวกปากตนเองว่า  "เองมันเหมือนพระเจ้าจันทรคุป  จะไปกินตรงกลางขนมเบื้อง ก็ร้อนก่อนสิ ต้องกินตรงริม ๆ ขอบ ๆ ก่อน สิ " พระเจ้าจันทรคุปจึงรวบรวมกำลังพลค่อย ๆ ตีชายแดนมาเรื่อย ๆ  ในที่สุดก็สามารถตีราศวงศ์นันทะลงได้ ในปี ๓๒๕ ก่อน ค.ศ. สถาปนาราชวงศ์เมาริยะ 
  • พระเจ้าจันทรคุป จัดการบ้านเมืองเสร็จก็ขยายอาณาเขตแดนไปถึงแคว้นคันธาละ เอาชนะพระเจ้าซีเรียลคัส
  • พระเจ้าจันทรคุป ปกครองต่อมา มีลูกชื่อพระเจ้าพินธุสาร ลูกของพระเจ้าพินธุสารก็คือ พระเจ้าอโศกมหาราช 
  • ขณะที่พระเจ้าพินธุสารสวรรคต พระเจ้าอโศกเป็นเจ้าเมืองอุชเชนีย์ แคว้นอวันตี ก่อนจะยกทัพมาฆ่าล้างพี่น้องร่วมบิดาตายหมดเป็นร้อย เหลือไว้แต่น้องร่วมท้องมารดาคนเดียว โหดร้ายมาก จึงถูกเรียกว่า "จันดาโศก" ขึ้นครองราชย์ที่เมืองปาตลีบุตร 
  • พระเจ้าอโศกขยายอาณาเขตไปเรื่อย ๆ ยิ่งใหญ่ที่สุดในอินเดีย  จนกระทั่งยกทัพมาตีแคว้นกาลิงคะ ซึ่งมีกษัตริย์ที่เข้มแข็งมาก คนตายเยอะมาก ตายกันเป็นแสน
  • วันหนึ่งพระเจ้าอโศกได้พบเณรองค์หนึ่ง ... เกิดสลดพระทัย หันมานับถือศาสนาพุทธ จึงเลิกการรบ เปลี่ยนการเอาชนะด้วยสงคราม มาเป็นการเอาชนะด้วยธรรมะ (ธรรมวิชัย)
  • พระเจ้าอโศกได้ขยายเผยแผ่พระพุทธศาสนาขจรขจายไปทั่วทิศ  สร้างวัดถึง ๘๔,๐๐๐ วัด ให้การศึกษา ขุดบ่อน้ำ ทำถนนหนทาง สร้างโรงพยาบาล สร้างที่พักเดินทาง ทำศิลาจารึก เป็นเหตุให้ แคว้นพิหารซึ่งแต่ก่อนคือแคว้นมคธ เต็มไปด้วยวัด   
    • หลักฐานที่บอกว่าลุมพินีวันที่เนปาล และสถานสำคัญ ๆ ทั้งหมด ก็ด้วยหลักฐานที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้  
    • โดยเขียนในจาลึกในศิลาเสาหินเลยว่า "ที่นี่คือที่ประสูติของพระพุทธเจ้า" ฯลฯ 
  • ยอดเสาหินจะมีสิงห์สี่ตัวหันไปทั้งสี่ทิศ ทูนหัวไว้ด้วยธรรมจักร ... แสดงถึงความยิ่งใหญ่เกรียงไกรของพระธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ...ภายหลังเมื่ออินเดียได้เอกราช จึงได้นำเอาตราธรรมจักรมาไว้ในธงชาติด้วย เพื่อยกย่องแด่กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประวัติศาสตร์อินเดีย  ส่วนหัวสิงห์ก็ใช้เป็นตราแห่งแผ่นดินอินเดีย
  • ศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราชนี่เอง ที่เป็นแหล่งความรู้ เป็นหลักฐาน ของเรื่องราวต่าง ๆ ที่เรารู้กันในวันนี้ 
  • ทรงตั้งธรรมฑูตเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปถึง ๙ สาย  สายหนึ่งมาที่สุวรรณภูมิ  ส่วนสายที่ไปเกาะลังกา (ศรีลังกา) ได้ส่งลูกชายคือ พระมหินท์มาเอง  ศาสนาพุทธจึงตั้งรากฐานที่ศรีลังกาอย่างมั่นคง 
  • หลังจากพระเจ้าอโศกมหาราชสวรรคตไปแล้วประมาณ ๕๐ ปี สมัยเหลนของพระเจ้าอโศก อมาตย์ที่นับถือพราหมณ์ซึ่งแค้นพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว เกิดการทรยศขึ้นแย่งอำนาจตั้งราชวงศ์ใหม่ชื่อราชวงศ์สงคะ ... พระพุทธศาสนาจึงเสื่อมลงที่อินดีย  ไปเจริญที่แควันคันธาละ 
  • ผ่านมาถึง ๑๖๐ ก่อน ค.ศ.  ทางโยนกมีกษัตริย์ยิ่งใหญ่ชื่อ พระเจ้าเมนานเดอร์ (พระเจ้ามิลินทะ) เป็นกำลังสำคัญของชาวพุทธ ทำให้พุทธศาสนารุ่งเรืองต่อมา 


  • เมื่อถึง ค.ศ. ๗๘ หรือ พ.ศ. ๖๒๑ มีพระเจ้ากานิศกะมหาราช นับถือพระพุทธศาสนาอย่างมาก อยู่ที่เมืองเตชะวา ท่านเป็นชนเผ่าศกะ จึงตั้งศักราชขึ้น แปลว่า ราชาแห่งชาวศกะ เป็นราชวงศ์กุศาน  และมีการจัดให้มีการสังคยานาครั้งที่ ๔ (ฝ่ายมหายาน) และส่งฑูตไปทั่วทางเอเชียร์กลาง
  • ต่อมาในปี ๓๒๐ ปี ก่อน ค.ศ.  มีราชวงศ์ใหม่เกิดขึ้นชื่อว่า ราชวงศ์คุปตะ ตั้งเมืองหลวงไว้ที่เมืองปาตรีบุตร  มีชื่อเสียงด้านการสร้างศิลปะ เช่น พระพุทธรูป ฯลฯ ครองอยู่ ๒๒๐ ปี ก็เสื่อมไป 
  • ก่อน ค.ศ. ๒๕๐ - ๓๐๐ สันนิษฐานว่า มีการสร้างพระพุทธรูปใหญ่ที่บามิยาน 
  • วัดเป็นศูนย์กลางทั้งทางศิลปะและวัฒนธรรม มีการรวมวัน ๖ วัด กลายมาเป็นมหาวิทยาลัยนาลันทาในเวลาต่อมา  และเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก ในราว ๆ ค.ศ. ๓๐๐ -๔๐๐ 
  • ต่อมาประมาณ ค.ศ. ๕๔๐ หรือ พ.ศ. ๑๕๘๓ ราชวงศ์คุปตะก็เสื่อมไป เพราะมีกองทัพภายนอก มีการรุกรานจากนักรบหลังม้าฮั่น  มาจากอาเซียร์กลาง แบ้กเตรีย โยนก มาคันธาละ ตักสิลา เรียบหมด ... แต่นาลันทาก็ยังรุ่งเรืองอยู่ 
  • ต่อมาเมื่อ ค.ศ. ๔๐๒ หรือ พ.ศ. ๙๔๕ หลวงจีนฟาเหียน ได้เดินทางเข้ามาแสวงบุญศึกษาที่ตักสิลา และได้จดบันทึกประวัติศาสตร์ช่วงนี้ไว้ 
  • ปี ค.ศ. ๖๐๖ หรือ พ.ศ. ๑๑๕๙  มีพระเจ้าหัตษะ หรือ พระเจ้าหัตษวัฒนะมหาราช ตั้งเมืองหลวงชื่อ กันโนชะ หรือเมือง กันเนา ห่างจากนิวเดลีมาทางตะวันออก 
  • ค.ศ. ๖๓๐ หรือ พ.ศ. ๑๑๗๓ พระถังซัมจั๋ง  นักปราชญ์แห่งราชวงศ์ถัง เดินทางมาแสวงบุญ ที่นั่น เป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยนาลันทาอยู่หลายปี และได้เขียนบันทึกโลกตะวันตก (record of the western journey) เป็นหลักฐานให้ได้ศึกษาต่อมา 
  • องค์ความรู้ต่าง ๆ จากอินเดียนี่เองที่ขยายไปสู่ส่วนต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น ตัวเลข 1 2 3 ... จริง ๆ ก็ไปจากอินเดีย ไม่ใช่อาราบิก  แต่เรียกว่า ฮินดูอาราบิก  เพราะชาวอาหรับเอาความรู้นี้มาจากอินเดีย 
  • พระเจ้าหัตสวัฒนะครองราชย์อยู่ ๔๑ ก่อนจะถูกอามาตย์พราหมณ์ปลงพระชนม์ถึงสองรอบ 
  • พระนาบีมูฮัมหมัดสิ้น ใน ค.ศ. ๖๒๒  องค์กาหลิบองค์ที่ ๒ จึงยกทัพไปตีเยลูซาเลมและขยายไปทุกทิศ ค.ศ. ๗๐๐ เศษ อาหรับก็เริ่มตีเข้ามาทางแคว้นคันธาละ แต่ก็ตีไม่ได้ไกลนัก
  • ผ่านมาอีกประมาณ ๒๐๐ ปี เป็นยุคของเติร์กมุสลิม เอาชนะอาหรับได้ และตีเข้ามาในชมพูทวีปได้ มีการจารึกว่า มีการปล้นวัด เอาทรัพย์สินของวัด ฆ่าพระ เผาทำลายหนังสือ ทำลายทุกสิ่งอย่าง 
  • ค.ศ. ๑๒๐๐ หรือ พ.ศ. ๑๗๔๓ พุทธศาสนาก็สูญสิ้นจากอินเดีย  และนักประวัติศาสตร์ของเติร์กมุสลิมได้เขียนสดุดีความสำเร็จของตนเองด้วยความภูมิใจว่า  " เราได้ยกทัพไป รบชนะ จับได้เฉลยเป็นอันมาก ... เราได้ให้เขาเลือกเอาระหว่างดาบหรืออัลเลาะห์ ... เราได้ยึดทรัพย์สินมามากมายเหลือเกิน นับจนมือชา 
  • พระส่วนหนึ่งหนีไปทางเนปาล ทิเบต ลงเรือมาพม่า ลงเรือมาสุมาตรา ฯลฯ 
  • ต่อมาก็เป็นการรบระหว่างฮินดูกับมุศลิม และเป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาแล้ว 
เกี่ยวกับพุทธประวัติ 
  • พระพุทธเจ้าประสูติ ค.๖๒๓ ปี ก่อน ค.ศ. 
  • ในช่วงที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน เมื่อ ๕๔๓ ก่อน ค.ศ.   หลังจากนั้น ๓ เดือน จึงมีการสังคยานาขึ้น  อีกร้อยปีจึงทำครั้งที่ ๒ และทำอีกครั้งที่ ๓ ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช 
  • ในช่วงนั้น พระเจ้าพิมพิสาร ได้เสียชีวิตไปก่อนพระพุทธเจ้าแล้ว ถูกทำปิตุฆาตโดยพระเจ้าอาชาติศัตรู  
  • พระเจ้าปเสนทิโกศลที่พี่เขยของพระเจ้าพิมพิสาร จึงยกทัพรบกันกับพระเจ้าอาชาติศัตรู แต่ก็รบแพ้พระเจ้าอาชาติศัตรู  วันหนึ่งได้ยินพระท่านคุยกันเรื่องการจัดทัพ จึงนำเอาวิธีจัดทัพนั้นไปใช้ จึงจับพระเจ้าอาชาติศัตรูได้ 
ประเด็นที่น่าสนใจ
  • ไทยและฝรั่งนับระยะแตกต่างระหว่าง ค.ศ. กับ พ.ศ. ไม่เท่ากัน  ต่างกันอยู่ ๖๐ ปี  คนไทยจะบวก ค.ศ. ด้วย ๕๔๓ มาเป็นเป็นพี พ.ศ. ส่วนฝรั่งจะลบ พ.ศ. ด้วย ๔๘๓ ไปเป็น ค.ศ.  ด้วยเหตุว่าอ้างหลักฐานต่าง ๆ คนละแหล่ง 
    • หลักฐานของฝรั่งยึดว่า ปีที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์เจอกับพระเจ้าจันทรคุป และจารึกพระเจ้าอโศก ที่ส่งฑูตไปซีเรีย อิยิปต์ 
    • หลังฐานทางพุทธคือ พระไตรปิฎก
  • หลักฐานที่อ้างอิงว่า พระพุทธเจ้าประสูติที่อินเดียคือ ศิลาจารึกที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างขึ้น  ๒๐๐ กว่าปี หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน 
  • มีการหนีการฆ่าล้างจากชาวมุสลิมเติร์กมายังสุวรรณภูมิ 

ผมตีความ

ประวัติศาสตร์อินเดีย ประวัติศาสตร์ตะวันออกกลาง และประวัติศาสตร์ของชาวกรีก อียิปต์ เชื่อมต่อกันที่บริเวณเมือง กันธาหาน หรือ คันธาละ หรือแคว้นแบ้กเตรีย คือ ประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานในปัจจุบัน ยังไม่ได้เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ ศานาพุทธปรากฎในอินเดียในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช 

การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุชาวพุทธทำให้เกิดการอพยพหนีมาทางสุวรรณภูมิ  ทั้งทางบกทางเรือ สอดคล้องกับที่หลวงปู่มั่นเคยเเล่าไว้ให้พระอาจารย์ทองคำฟัง (อ่านที่นี่)

หมายเลขบันทึก: 661241เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2019 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 เมษายน 2019 14:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท