ประชาธิปไตยที่ "ไม่มีคะแนนใดถูกละเลย"


ยอมรับเสียงข้างมาก เคารพเสียงข้างน้อย

กำลังนั่งลุ้นผลการเลือกตั้ง (๒๔ มีนาคม ๒๕๖๒) ตอนนี้พรรคใหญ่กำลังขับเขี้ยวกันในระดับไม่ถึงหมื่นคะแนน  ฟังไป เรียนรู้ไป สิ่งที่ประทับใจที่สุด คือ วิธีการคิดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)  ขอสรุปให้ฟังวิธีการสำหรับท่านที่ยังไม่รู้อีกครั้งดังนี้ครับ 

  • ให้คนไทย เข้าคูหา กาเบอร์เดียว คะแนนเดียว หนึ่งคนหนึ่งเสียง   
  • คะแนนของแต่ละคนไทยแต่ละคน จะถูกนำไปในการคำนวณ เพื่อให้ได้ นัยะดังนี้ 
    • นำไปตัดสินว่า ในเขตนั้นใครจะได้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต ซึ่งพรรคเป็นคนเลือกผู้สมัครลงแข่งขัน ใครได้คะแนนสูงสุดก็ได้เป็น ส.ส. (เรียกว่า ส.ส.เขตฯ)
    • นำไปตัดสินว่า แต่ละพรรคจะมี ส.ส. ที่พึงมีกี่คน  วิธีการคือ 
      • เอาเสียงของทุกคนมารวมกัน แล้วหารด้วย ๕๐๐ จะได้ จำนวนเสียงประชาชนต่อ ส.ส. ๑ คน  เช่น  ถ้ามีผู้มาใช้สิทธิ์และะกาเลือกเป็นบัตรดีจำนวน ๕๐ ล้าน จะได้ ๕๐,๐๐๐ คน ต่อ ส.ส. ๑ คน  เป็นต้น  
      • จากนั้นนำเอาตัวเลขนี้ไปหารจำนวนเสียงที่ทั้งหมดที่แต่ละพรรคได้ จะทำให้ทราบว่า พรรคนั้น ๆ จะได้ "ส.ส. ที่พึงมี" เท่าใด ตัวอย่างเช่น ถ้า พรรคหนึ่งได้คะแนนเสียงทั้งหมด ๗ ล้านคะแนน หารด้วย ๕ หมื่น พรรคจะได้ ส.ส. ทั้งหมดที่พึงมีเท่ากับ ๑๔๐ คน 
      • ดังนั้น แต่ละพรรคจะรู้ว่า ตนเอง จะได้ ส.ส. ปาร์ตี้ลิสท์ เท่าใด โดยนำเอาจำนวน ส.ส.เขตฯ มาลบออกจากตัวเลข ๑๔๐  เช่น ถ้าพรรคหนึ่งได้ ส.ส.เขตฯ ไปแล้ว ๑๒๐ คน จะได้ ส.ส. ปาร์ตี้ลิสท์ เพัียง ๒๐ คน เท่านั้น  
    • นำไปตัดสินว่า พรรคใด จะมีสิทธิ์เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลก่อน โดยต้องมีนายกรัฐมนตรีเป็นคนที่พรรรคนั้นเสนอให้ประชาชนทราบก่อนการเลือกตั้ง

แสดงว่า ทุกคะแนนเสียง ไม่ได้ถูกละเลย  ผมรู้สึกทึ่งกับคนคิดระบบนี้จริง ๆ  วิธีนี้น่าจะเป็นวิธีปฏิบัติแทนคำว่า "ยอมรับเสียงข้างมาก เคารพเสียงข้างน้อย" ได้อย่างแยบยล ....  

ผลคะแนนที่น่าสนใจ 

ขณะนี้นับคะแนนไปแล้วร้อยละ ๙๕ ของคะนนทั้งหมด  มีผลคะแนนที่เกิดขึ้นบบพลิกความคาดหมาย จนนักข่าวต่างเสนอโดยใช้คำว่า "ปรากฎการณ์" ดังนี้ 

  • ผลคะแนนรวมไม่เป็นทางการ เป็นดังนี้ 
    • พรรคพลังประชารัฐ ที่นำเสนอ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรี ได้คะแนนรวมมากที่สุด ประมาณ ๗ ล้าน ๕ แสนคน  
    • พรรคเพื่อไทย ได้อันดับสองที่ประมาณ ๗ ล้านคน 
    • อันดับสามคือพรรคอนาคตใหม่ ได้ประมาณ ๕ ล้านเสียง 
    • ประชาธิปัตย์ได้อันดับสี่ ได้ประมาณ ๓ ล้านกว่า และ
    • อันดับห้าคือพรรคภูมิใจไทยได้ประมาณ ๓ ล้านเสียงพอ ๆ กับอันดับสี่ 
  • นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แล้ว เพื่อรักษาสัจจะของตนที่ได้พูดไว้ว่า ถ้าได้ ส.ส. ไม่ถึง ๑๐๐ จะลาออก
    • แทบจะไม่ได้ ส.ส. ที่กรุงเทพฯ เลย 
  • พรรคอนาคตใหม่ ได้คะแนนมากกว่าทุกโพลที่สำรวจ 

ตีความเหตุแห่งผลการเลือกตั้ง 

มีการตีความต่าง ๆ มากมายจากนักวิชาการหน้าจอหลาย ๆ ท่าน  ต่างวิจารณ์อ้อมไปมา บ้างบอกว่า ที่พรรคประชาธิปัตย์เสียคะแนนเพราะคลิปของนายอภิสิทธ์ ที่ออกมาประกาศจะไม่เอา "ลุงตู่" บ้างบอกว่า พรรคอนาคตใหม่ได้คะแนนมาก เพราะ มีคนรุ่นใหม่ออกมาใช้สิทธิ์มาก  ...  แต่ผมตีความแบบนี้ว่า 

  • การเลือกตั้งครั้งนี้ ชัดเจนที่สุดว่า เราจะเอา "๓ เสาหลัก" คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  ต่อไปหรือไม่ (ผมเขียนเรื่องนี้ไว้ที่นี่)  ถ้าเลือกพรรคเพื่อไทยกับอานาคตใหม่ ก็มีแนวโน้มว่าจะไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ แต่ถ้าเลือกพรรคพลังประชารัฐหรือประชาธิปัตย์ ก็จะรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขต่อไป 
  • ฐานเสียงของพรรค์ประชาธิปัตย์กับเสียงของพรรคพลังประชาชน น่าจะเป็นฐานเสียงเดียวกัน คือ กลุ่มคนที่ไม่เอาทักษิณ ชินวัตร ดังนั้นถ้าปล่อยให้แบ่งคะแนนกัน จะไม่มีพรรคใดได้อันดับหนึ่งแน่ เมื่อคิดพิจารณาโอกาสแล้ว จึงประกาศไม่เอาพลเอกประยุทธ์ เพื่อเทคะแนนหมดไปให้พรรคพลังประชารัฐ  .... เพื่อจะได้ส่งไปให้ถึงอันดับหนึ่งชนะพรรคเพื่อไทยให้ได้  .. จึงถือว่า คุณอภิสิทธ์ เสียสละเพื่อ ๓ เสาหลัก นั่นเอง 
  • ส่วนพรรคอนาคตใหม่ ที่ได้คะแนนมากผิดหูผิดตา ผมมองว่า เพราะพรรคที่ถูกยุบไปเทคะแนนให้ส่วนหนึ่ง 

จบครับ

หมายเลขบันทึก: 660689เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2019 00:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2019 09:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท