หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ (ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) สาระที่ ๒ วิทยาศาสตร์กายภาพ


รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐ บอกว่า ให้ไปร่างกฎหมายการศึกษาแห่งชาติขึ้น (อ่านที่นี่) พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ บอกว่า ให้แต่งตั้งคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานขึ้น และทำหน้าที่ร่างหลักสูตรแกนกลาง (อ่านที่นี่)  หลักสูตรแกนกลางฯ พ.ศ. ๒๕๕๑ สาระคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระโลก อวกาศ และดาราศาสตร์ ได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยรองรับทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ (ดาวน์โหลดไปอ่านเองได้ที่นี่)  


บันทึกนี้สรุปความคิดรวบยอดเกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. ๒๕๕๑ ไว้คร่าว ๆ และกระจายคำสำคัญหรือเนื้อหา "องค์ความรู้" ที่ถูกบรรจุไว้ให้เด็กไทยทุกคนต้องเรียนภาคบังคับ  ประเภทว่าทุกคนต้องเรียนเหมือนกันหมด ... ส่วนตัว ผมคิดว่าการกำหนดหลักสูตรแบบนี้ คือต้นเหตุหนึ่งของปัญหาการศึกษา โดยเฉพาะอุปสรรคต่อการส่งเสริมให้นักเรียนค้นหาและพัฒนาในสิ่งที่ตนเองถนัดให้เต็มศักยภาพ 

สาระเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มี ๔ สาระ  ได้แก่ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ กายภาพ โลกและอวกาศ และเทคโนโลยี สาระที่เกี่ยวกับรายวิชาฟิสิกส์ คือสาระที่ ๒  ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ มาตรฐานการเรียนรู้ 

สังเกตว่า มาตรฐานที่ ๒.๑ เริ่มเรียนตั้งแต่ ป.๑ และกลายมาเน้นในรายวิชาเคมีในระดับที่สูงขึ้น 

สังเกตว่า มาตรฐานที่ ว.๒.๒ นี้ เน้นไปที่การเคลื่อนที่ (กลศาสตร์ จลน์ศาสตร์) เรียนเรื่องแรง รวมทั้งแรงต่าง ๆ ในธรรมชาติ แต่เป็นการเรียนเบื้องต้นยังไม่เน้นการคำนวณทางคณิตศาสตร์มากนัก เน้นกระบวนการเรียนรู้ด้วยการสัมผัส ทดลอง วัด ประจักษ์ สัมผัสปรากฎการณ์ ... สังเกตว่า ม.๒ เริ่มเรียนฟิสิกส์แล้ว ม.๓ ไปเรียนเคมีและวัสดุศาสตร์ ม.๔ ไม่ได้ทั้งฟิสิกส์และเคมี (หากตัวตามตารางนี้นะครับ) แล้วมาเรียนหนักตอน ม.๕ ... สังเกตอีกทีว่า ม.๖ ไม่ได้เรียนฟิสิกส์และเคมี 


สังเกตว่า ป.๖ รู้จักไฟฟ้าและต่อวงจรไฟฟ้าได้แล้ว มาเรียนทฤษฎีเอาตอน ม.๓ และไปเรียนทฤษฎีแม่เหล็ก-ไฟฟ้าตอน ม.๕   

การวิเคราะห์หลักสูตรอย่างแม่นยำไปถึงตัวชี้วัด ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของการเรียนรู้ ซึ่งออกข้อสอบ O-Net GAT PAT ก็ต้องยึดตามนั้น จะมีประโยชน์มากในการจัดการเรียนรู้และการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ ... อย่างไรก็ดี ผมยังคิดว่า การส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองในสิ่งที่ชอบและถนัดแบบไม่มีข้อจำกัดว่าต้องเรียนทุกอย่างที่กำหนดให้แบบนี้ มีประโยชน์และตรงกับแนวทางการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ มากกว่า 

หมายเลขบันทึก: 659514เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2019 10:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มกราคม 2019 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท