หลักการสอนวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง


เงื่อนไข ๒ ประการ สำหรับการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ที่ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ทุกคนต้องยึดเป็น "หลักคิด" และ "หลักปฏิบัติ" ได้แก่ 

  • ผู้เรียนต้องได้ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทุกครั้งที่สอน 
  • ผู้เรียนต้องได้ฝึกใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ด้วยตนเองครบ 4 ขั้นตอนเสมอ 

เป้าหมายสำคัญของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตาม ๒ เงื่อนไขข้างต้นคือการสร้างครูผู้มี "จิตวิทยาศาสตร์" เพื่อให้เกิดความชัดเจนในหลักคิดนี้ให้พิจารณาสมการการพัฒนาตนเองสำหรับครูวิทยาศาสตร์ ดังนี้ครับ 

  • ครูวิทยาศาสตร์ = ครู + นักวิทยาศาสตร์ 
  • ครู = ผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครู (อ่านที่นี่)
  • นักวิทยาศาสตร์ = ผู้มีจิตวิทยาศาสตร์ 
  • ผู้มีจิตวิทยาศาสตร์ = ผู้ที่คิด ทำ และจดจำ(ศรัทธา) ในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (แม้ว่าวิทยาศาสตร์ขณะนี้จะยังไม่สมบูรณ์ อ่านที่นี่)

ดังนั้น

  • ครูวิทยาศาสตร์ คือ ผู้มี "จิตวิญญาณความเป็นครู" + "จิตวิทยาศาสตร์" 

สมการนี้ควรจะเป็น "คาถา" นำพาการพัฒนานิสิตที่จะเป็นครูวิทยาศาสตร์ต่อไป ... ท่านเห็นว่าไงครับ

หมายเลขบันทึก: 658386เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2018 10:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2018 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Yes. OK. But it is a bit ‘generic’ and ‘subjective’, isn’t it?

Democracy to some is not democracy for others. Science and technology can advance and poison the world in some and several ways.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท