สรุปผลการสำรวจปัญหาขยะและข้อเสนอแนวทางแก้ไขต่ออาจารย์ผู้สอนรายวิชา ๐๐๓๕๐๐๑ หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน


ทีมผู้ประสานงานรายวิชา ๐๐๓๕๐๐๑ หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ลงพื้นที่สำรวจปัญหาขยะในพื้นที่ชุมชนมหาวิทยาลัย วิทยาเขต ม.ใหม่ ในช่วงเดือนที่ผ่านมา เพื่อนำเสนอสภาพปัญหาขยะต่ออาจารย์ผู้สอนฯ เพื่อพิจารณาหามาตรการร่วมกันในการแก้ปัญหาร่วมกันโดยใช้การจัดการเรียนรู้ของรายวิชาเป็นกลไกขับเคลื่อน

๑) คำนิยาม ชุมชนมหาวิทยาลัย

  • ชุมชนมหาวิทยาลัย หมายถึง กลุ่มคนทุกกลุ่ม คนทุกคน ที่อาศัยหรือมีกิจวัตรประจำอยู่ในพื้นที่มหาวิทยาลัยและชุมชนรอบ ๆ มหาวิทยาลัย 
    • กลุ่มคนทั้งหมดทั้งภายในมหาวิทยาลัย ได้แก่ นิสิตและบุคลากรของมหาวิทยาลัย และกลุ่มคนในชุมชนรอบๆ มหาวิทยาลัย ได้แก่ ชุมชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลขามเรียงและชุมชนเทศบาลตำบลท่าขอนยาง  และรวมถึงประชากรแฝงทั้งหมดที่เข้ามาอาศัยร่วมกิจกรรมกัน

๒) ปริมาณการก่อขยะ

  • ชุมชนมหาวิทยาลัยทั้งหมด ผลิตขยะต่อวัน ประมาณ ๕๐ ตัน หรือ ๕๐,๐๐๐ กิโลกรัมต่อวัน (อัตราคำนวณเฉลี่ยทั่วไป คือ คนหนึ่งคนจะผลิตขยะประมาณ ๑ กิโลกรัมต่อวัน)
    • ชุมชนภายในมหาวิทยาลัย ประมาณ ๕-๑๐ ตันต่อวัน 
    • ชุมชนเทศบาลท่าขอนยาง ประมาณ ๒๐ - ๓๐ ตันต่อวัน 
    • ชุมชนเทศบาลขามเรียง ประมาณ ๑๐-๒๐ ตัน 
  • การเก็บขนขยะต่อวันอยู่ที่ประมาณ ๒๐ ตัน  นั่นคือขยะเหลือที่อาจสะสมไปเรื่อย ๆ วันละ ๓๐ ตัน
    • มหาวิทยาลัย เก็บขนได้ประมาณ ๕ ตันต่อวัน
    • เทศบาลท่าขอนยาง เก็บขนได้ประมาณ ๑๐ ตันต่อวัน
    • เทศบาลขามเรียง เก็บขนได้ประมาณ ๕ ตันต่อวัน 
  • ขยะที่เก็บขนจะไปทิ้งที่บ่อขยะบ้านหนองปลิง ต.หนองปลิง อ.เมือง จ.มหาสารคาม 
    • บ่อขยะห่างจากชุมชนมหาวิทยาลัยประมาณ ๒๕ กิโลเมตร 
    • มีค่าธรรมเนี่ยมในการทิ้งขยะตันละ ๔๐๐ บาท 
    • ขยะที่หนองปลิงมีพื้นที่เพียง ๔๙ ไร่ กำลังจะเต็มพื้นที่ ปัจจุบันรับขยะวันละ ๙๐ ตันเป็นขยะจากชุมชนเทศบาลเมืองมหาสารคาม ๖๐ ตันต่อวัน และขยะจากชุมชนมหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยราชภัฎอีกประมาณ ๓๐ ตัน 
    • เนื่องจากพื้นที่กำลังจะเต็มแล้ว  ทางเทศบาลเมืองฯ จึงจำกัดให้ชุมชนมหาวิทยาลัยไปทิ้งที่บ่อขยะหนองปลิงเพียงวันละ ๒ รอบ เท่านั้น 
๓) สาเหตุของปัญหา
  • คนในชุมชนมหาวิทยาลัย ไม่มีจิตสำนึกในการจัดการขยะ  ... ไม่แยกขยะเลย  
    • หอพัก คอนโดฯ รวมกว่า ๗๐๐ แห่ง เกือบทั้งหมดไม่มีการแยกขยะ 
    • ร้านอาหาร ห้างร้าน โดยเฉพาะร้านขายเนื้อย่างเกาหลี ร้านกาแฟ ก่อขยะวันละหลาย ๆ ตัน 
    • ขยะในชุมชนรอบ ๆ มหาวิทยาลัย นำขยะจากหมู่บ้านมาทิ้งด้วย 
  • การเก็บขนทำได้จำกัด เนื่องจากข้อจำกัดดังที่ได้กล่าวไป 
๕) แนวทางการแก้ไขปัญหา
  • เปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับขยะใหม่ 
    • เลิกปลูกฝังให้ทิ้งขยะ
    • เลิกไปยุ่งเกี่ยวและให้ความสำคัญกับ "ถังขยะ"  เมื่อมีสิ่งเหลือใช้ ต้องไม่คิดแต่จะ "ทิ้งลงถังและหวังไปทิ้งบ้านคนอื่น"
    • ให้ความหมายของขยะใหม่ แยกประเภทของขยะแบบใหม่ (อ่านละเอียดที่นี่
      • ขยะคือ สิ่งที่หาประโยชน์อะไรไม่ได้ รีไซเคิลก็ไม่ได้ 
      • วัสดุอินทรีย์ ไม่ใช่ขยะ  เช่น เศษอาหาร เศษพืช ต้นไม้ อะไรที่ย่อยสลายได้ภายในเวลาไม่นาน เหล่านี้นำไปทำปุ๋ยได้ 
      • วัสดุรีไซเคิล ไม่ใช่ขยะ เช่น พลาสติกทุกชนิด โฟม ทุกอย่างนำไปรีไซเคิลได้หมด 
    • แบ่งประเภทของขยะใหม่ ไม่ใช่ ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไป และขยะอันตราย แต่แบ่งใหม่ มีเพียง ๓ ประเภท ได้แก่ 
      • ขยะฝังกลบ ทุกอย่างที่ เอาไปใช้ไม่ได้อีกแล้วแน่ ไม่มีประโยชน์ รีไซเคิลก็ไม่ได้ 
      • ขยะมีพิษ เช่น แบตเตอรี่ หลอดไฟ กระป๋องยาฆ่าแมลง ฯลฯ
      • ขยะติดเชื้อ เช่น ผ้าอนามัย ผ้าพันแผล ฯลฯ 
  • ทุกคนต้องคัดแยกขยะด้วยตนเอง
    • เริ่มจากนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาฯ 
    • ด้วยการกำหนดกิจกรรมเสริมหลักสูตรของรายวิชาฯ ให้ทำบัญชีจัดการขยะรายสัปดาห์ ติดต่อกันเป็นเวลา ๓ เดือน (๑๒ สัปดาห์) ด้วยกลไกการให้คะแนนฝึกวินัยเพื่อสังคมและชุมชน
  • ส่งเสริมและสนับสนุนให้ทำโครงงานหรือโครงการเพื่อจัดการขยะ เช่น 
    • แต่ละหลักสูตรใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญ นำหลักวิชาการและวิทยาการต่าง ๆ มาจัดการขยะอย่างยั่งยืน 
    • สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคมเพื่อร่วมกันจัดการขยะอย่างยั่งยืน 
    • กำหนดหัวเรื่อง "ขยะ" เป็นวาระสำคัญในการทำงานหุ้นส่วนกับสังคมและชุมชน 
    • นิสิตแต่ละกลุ่มทำโครงงาน นำเสนอแนวทางที่สร้างสรรค์ในการจัดการขยะ และลดปริมาณขยะ
    • ฯลฯ
  • ร่วมมือกับชุมชนและสังคม ๕ ภาคส่วน ขยายผลสู่คนอื่น เพื่อทำงานจัดการขยะร่วมกันอย่างเป็นระบบและบูรณาการกัน 
    • มหาวิทยาลัย คือ นิสิตและบุคลากร
    • หน่วยงานของรัฐ ทั้งระดับประเทศ ระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะเทสบาลตำบลขามเรียงและเทศบาลตำบลท่าขอนยาง
    • ภาคประชาสังคม ... เครือข่ายฮักแพง เมิ่งแงง คนมหาสารคาม และกลุ่มสมัชชาสุขภาพมหาสารคาม รวมถึงองค์กรทางศาสนาโดยเฉพาะวัด ฯลฯ 
    • ภาคเอกชน เช่น บริษัท ห้างร้าน ร้านค้าต่าง ๆ ฯลฯ 
    • ภาคสื่อสารมวลชน  
๕) ทำอย่างต่อเนื่องหลายปี 

ทำต่อเนื่องกระบวนการนี้ครบ ๔ ปี ต่อเนื่อง จะบรรลุผล ชุมชนมหาวิทยลัยมหาสารคาม จะเป็นต้นแบบของชุมชนมหาวิทยาลัยในการจัดการขยะ 

หมายเลขบันทึก: 658070เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2018 14:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2018 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท