ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

KM กับงานวิจัยเกษตรประณีต


จะนำ KM ไปใช้ในงานอย่างไร ?

 การจัดการความรู้ (Knowledge Management - KM)     ในงานพัฒนาเราต้องเตรียมการวางแผนให้รอบคอบเพื่อจะได้เป็นแนวทางช่วยให้ชาวบ้าน และชุมชนสามารถจัดกระบวนการ การเรียนรู้ เพื่อสร้างฐานอาชีพให้มั่นคง และยั่งยืน 

จะนำ KM ไปใช้ในงานอย่างไร ?เป็นคำถามสั้นๆ และกินใจของ ศ.นพ.วิจารณ์   พานิช (อาจารย์หมอ) หัวเรือใหญ่แห่ง สคส.  ซึ่งถามผมเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมจึงอ้ำๆ อึ้งๆ แล้วเรียนอาจารย์ไปว่า อาจารย์ครับในช่วงนี้ผมจะนำ KM ไปใช้ใน 2 บริบท  กล่าวคือ งานในชุมชน และงานวิจัย ซึ่งแต่ละบริบทก็จะมีการใช้ที่แตกต่างกัน คือ

1.                           การนำ KM ไปใช้ในการพัฒนาชุมชน ซึ่งในแต่ละชุมชนก็จะมีภูมิปัญญาปฏิบัติที่แตกต่างกัน ตามวิถีแห่งสังคมวัฒนธรรม ของแต่ละท้องที่ ดังนั้นในการนำ KM ซึ่งนับว่าเป็นเครื่องมือที่ดี และง่ายต่อการทำความเข้าใจ อีกทั้งมีความยืดหยุ่นสูง ดังนั้นในการที่เราจะเข้าไปขับเคลื่อนนั้นเราควรที่จะทำความเข้าใจกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นพื้นฐาน

1.1 บริบทของชุมชน คือ คนในชุมชนประกอบอาชีพอะไร ศักยภาพพื้นที่เป็นอย่างไร การรวมตัวกันของชุมชน ตลอดทั้งสภาพแวดล้อมต่างๆ ของชุมชนเป็นอย่างไร

1.2  ผู้นำชุมชน พิจารณาว่าผู้นำชุมชนมีลักษณะการเป็นผู้นำในลักษณะใด  ซึ่งจากงานวิจัยด้านการพัฒนาเรามักจะพบเสมอว่าผู้นำ (Leader) มีผลอย่างมากต่อความสำเร็จในการพัฒนา ดังนั้นในกระบวนการ KM เราจึงน่าจะให้ความสำคัญกับผู้นำเช่นกัน เพราะเป็นผู้ที่มีบทบาทค่อนข้างมากในชุมชน คนส่วนใหญ่ให้ความเคารพนับถือ โดยเฉพาะผู้นำที่หัวก้าวหน้าพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ดีตลอดเวลา

1.3  วิถีแห่งสังคม วัฒนธรรม แน่นอนครับสิ่งที่ดีงามในชุมชนเราต้องรักษาไว้ให้คงอยู่ในชุมชน ดังนั้นการจัดกระบวนการ KM ก็ต้องให้มีความสอดคล้องกับสังคม วัฒนธรรม

1.4  ความพร้อมของชุมชน ในการเริ่มงานการพัฒนาโดยเฉพาะการดำเนินการเรื่อง KM สิ่งที่ผมต้องพิจารณาคือความพร้อมของชุมชน (ทุนทางสังคม) เราพิจารณาดูว่าชุมชนใดมีความพร้อมมากกว่ากัน ซึ่งการเริ่มต้นก็จะเริ่มจากชุมชนที่มีความพร้อมก่อน แต่ในขณะเดียวกันชุมชนรอบข้างที่มีความพร้อมน้อยกว่าก็สามารถ เข้ามาศึกษาและเรียนรู้ได้ 

2.                           การนำ KM ไปใช้ในงานวิจัย  KM เป็นเครื่องมือ (Tools) ที่ดีที่สามารถนำไปขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ดังนั้นผมจึงเลือกใช้ KM ในการทำวิทยานิพนธ์ของผม ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ทำเกี่ยวกับเกษตรประณีตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยร่วมมือกับเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์ ในการหาคำตอบถึงรูปแบบของการจัดการเกษตรแบบประณีต เพื่อจะให้ได้นวัตกรรมที่มีความเหมาะสม และยั่งยืน

 2.1 แนวคิดเกษตรประณีต เป็นกระบวนการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชจากระบบการปลูกพืชเชิงเดี่ยวจำนวนมากๆ และลงทุนมากๆ ด้วยความหวังที่อยากร่ำอยากรวยมาเป็นการทำการเกษตรแบบประณีตที่ให้ความสำคัญ กับการบำรุงน้ำบำรุงดิน ค่อยทำอยู่ทำกิน ปลูกทุกอย่างที่อยากกิน เหลือกินแจก เหลือแจกขาย จนกระทั่งทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มพูนขึ้นสามารถปลดหนี้สินได้ สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุข มีความพอเพียง และได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตาของคนในครอบครัว ตลอดทั้งญาติพี่น้อง มีการดำรงชีวิตอย่างเป็นปกติสุข สามารถพึ่งพาตนเองได้ และในขณะเดียวกัน ยังมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กับเพื่อนคนอื่นๆด้วย

2.2 หัวใจสำคัญของการทำการเกษตรแบบประณีต คือ การจัดการ 3 ระบบ ประกอบด้วย ระบบการจัดการดิน ระบบการจัดการแสง และระบบการจัดการ            

 2.3 ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย  สำหรับขั้นตอนในการดำเนินงานนั้นผมคิดว่าในเบื้องต้นควรที่จะดำเนินการดังนี้

1.      เลือกเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านที่มีความพร้อมและสนใจที่จะเข้าร่วมกระบวนการ KM ตามรูปแบบของ สคส. เป็นหลัก 2 – 3 ท่าน และมีภาคีเครือข่ายไม่น้อยกว่า 10 ราย

2.      สร้างความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงกระบวนการ KM กับปราชญ์ชาวบ้านที่มีความพร้อม

3.      สร้างความเข้าใจ และแรงบันดาลใจ ในการดำเนินงานศึกษากระบวนการ KM กับปราชญ์ชาวบ้าน และภาคีเครือข่าย

4.      ลงมือปฏิบัติ พร้อมกับร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกิจกรรมต่างๆ ทุก 2 สัปดาห์

5.      จัดตลาดนัดการจัดการความรู้ที่หลากหลาย (ขั้นที่1) เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลทั่วไป และภาคีอื่นๆ ที่มีความสนใจ

6.      วิเคราะห์ สังเคราะห์ตามรูปแบบ (Model) ต่างๆ ที่เกิดขึ้น

7.      ได้นวัตกรรมใหม่ในการทำการเกษตรแบบประณีตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

8.      นำเสนอ และเผยแพร่ต่อสาธารณชน จัดตลาดนัดการจัดการความรู้ที่หลากหลาย (ขั้นที่2)

อย่างไรก็ตามในกระบวนการดำเนินการ KM นั้น ผมเองก็เพิ่งเริ่มในการศึกษาอาจจะมีถูกบ้าง ผิดบ้าง แต่ผมก็มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างกระบวนการให้บังเกิดผลให้จงได้ เพราะมีพี่เลี้ยงที่ดีอย่าง สคส. และภาคีเครือข่ายทั่วไป ซึ่งผมจะพยายามทำอย่างเต็มความสามารถ  และจะเป็นกำลังใจให้พี่น้องเกษตรกรไทยให้ ยืนสง่าในแผ่นดิน ตามเจตนารมณ์ของท่าน ผศ.ดร.แสวง   รวยสูงเนิน อาจารย์ที่ปรึกษาของผมครับ

ขอบคุณครับ

อุทัย   อันพิมพ์

6 ธันวาคม 2549

หมายเลขบันทึก: 65549เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2006 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2012 09:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ห่างหายไปนานจาก blog กลับมาที่เกษตรประณีตก็ OK

ขอให้เร่งพัฒนากำลังขาหน่อย กลัวจะยืนระยะไม่อยู่ เรืองความเร็วยังไม่ค่อยกังวลเท่าไหร่ ขอให้หลบหมัดแยพของ สคส ได้ก้อาจจะรอดยกสอง

อาจารย์อุทัยค่ะ เกษตรประณีตคือกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเหมาะสมของแต่ละคนแต่ละชุมชนภายใต้บริบทที่เขามี และแต่ละชุมชนก็จะมีกระบวนการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของตนเอง การได้เรียนรู้กระบวนการที่หลากหลายจะนำไปสู่หลักชัยที่เราหวังค่ะ
คนที่จะทำเกษตรประณีต ต้องเริ่มที่ความรู้ความคิดของคนทำก่อน ที่จะต้องเข้าใจและตั้งใจที่จะประกอบการงานอาชีพ ให้ละเอียดรอบคอบ งานเกษตรกรรมเป็นงานเย็น ช้าๆแต่มั่นคง ไม่ร้อนแรงเหมือนงานอุตสาหกรรม ที่รวดเร็วรวบรัด ตราบใดที่เราปลูกมะม่วงให้ออกผลภายใน 5 นาที ไม่ได้ เราจึงต้องมาเรียนความประณีตในระบบธรรมชาติ ว่ามันเป็นฉันใด
เกษตรประณีตมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในขณะที่เราพูดถึงเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหลักการ ส่วนวิธีการคือเกษตรประณีต ทำเกษตรประณีตไม่เป็น คุณก็จะถูกรีด..รีด..จนเหลือแต่ซี่โครง ตาโบ๋เบ๋
เราพูดเรื่องหลักการเศรษฐกิจพอเพียงกันมาก อ.อุทัย ช่วยอธิบายวิธีการ และกระบวนการให้ชัดๆ จะช่วยให้เศรษฐกิจพอเพียงรอดพ้นจากความชาชิน ที่ฟังกันหลายครั้งแต่ยังไม่เข้าใจ ว่าทำไมต้องมาทำเกษตรพอเพียง โดยเฉพาะคนโลภ ..อยากรวยมากๆ รวยง่ายๆ..รวยเร็วๆ..เอาไปตัดคอก็ยังไม่เข้าใจ ตายไปแล้วกลับชาติมาเกิดก็ยังยากที่จะเข้าใจ ..มันคงต้องละลายกิเลศก่อน หรือหาทางบรรเทากิเลศไปพร้อมๆกับการส่งเสริมและพัฒนา ...โจทย์ใหญ่ก็คือว่า ทำไมต้องทำเกษตรประณีต ..ทำจะได้อะไร..ไม่ทำจะเป็นยังไง..
คำถามที่ว่า จะนำKM.ไปใช้อย่างไร มันคงต้องฝึกใช้ หัดใช้ ใช้มันทุกท่าทุกที่ทุกกรณี ใช้มันจนอยู่หมัด ไม่ว่าจะทำอะไรอยู่ที่ไหนต้องงัดมาใช้ๆๆๆ .. เจ้าKM.นี่ต้องพกติดตัวติดใจ อย่าให้ห่างมือห่างใจ และอย่าเผลอวางไว้ ขอให้รักและหวงเจ้าKM.เท่ากับรักน้องภรรยา เข้าใจ๋..
งานเกษตรประณีต กำลังตั้งตารออาจารย์อยู่อย่างระทดระทวยใจ กลับมาไวๆ มาเอาความรู้ใส่งานเกษตรประณีต ให้เป็นที่เลื่องลือสักทีเถิด ผมเชื่อมือ เชื่อใจ ว่าอาจารย์จะทำได้ดีที่สุดในย่านเอเซียอาคะเนย์
  • สวัสดีครับท่านอาจารย์อุทัย
  • ผมขออนุญาตเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สักนิดนึงนะครับ
  • พอดีผมมีรายละเอียดของหัวข้อเรื่องการศึกษาบริบทชุมชนอยู่ในมือเลยขออนุญาตนำมาฝากไว้เผื่อจะได้ใช้ครับ

หัวข้อของการศึกษาบริบทชุมชน

  1. ประวัติศาสตร์ชุมชน ได้แก่ การตั้งถิ่นฐาน การก่อตั้งชุมชน เหตุการณ์สำคัญ
    ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชน
  2. ลักษณะทางกายภาพ/ชีวภาพของชุมชน ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติ/ที่มนุษย์สร้างขึ้น เส้นทางคมนาคม โครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ การเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ ฯลฯ สภาพ การเปลี่ยนแปลงและการใช้/การระดมทรัพยากร
  3. ลักษณะประชากร  จำนวนโครงสร้าง การเปลี่ยนแปลง
  4. ลักษณะทางเศรษฐกิจ อาชีพ การผลิต (ปัจจัยและทรัพยากร) การบริหารจัดการ การตลาด ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับภายนอก
  5. ลักษณะทางสังคม กลุ่ม/องค์กร โครงสร้างอำนาจ ผู้นำ ระบบครอบครัวและเครือญาติ เครือข่าย สถาบันในชุมชน (เชื่อมโยงกับลักษณะทางสังคม)
  6. ระบบการศึกษา ใน/นอก ทางการ/ไม่เป็นทางการ การติดต่อสื่อสาร ช่องทาง
    และการรับข่าวสารและการสื่อสาร
  7. ระบบอนามัยและสาธารณสุข ในทางการ/ไม่เป็นทางการ พื้นเมืองและทางเลือก
  8. ระบบความเชื่อและประเพณี วัฒนธรรม
  9. บริบทเฉพาะที่ครอบคลุมประเด็นเป้าหมาย คือ การจัดการ “ทุน” ของชุมชน (โดยเฉพาะทุนเรื่องเกษตรประณีต)และการบริหารจัดการทุน

ฝากไว้เผื่อพี่จะนำไปปรับใช้ครับ แต่ถ้าไม่ได้ใช้ก็ไม่เป็นไรนะครับ ก็ลืมมันไปครับ

ป.ล. เสื้อผ้าผมฝากไว้อีกเดี๋ยวนะครับ ขออภัยและขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

ขอบคุณมากครับ

สำหรับทุกๆท่านที่เข้ามาให้ข้อเสนอแนะ และคำแนะนำดีๆ ครับ

ผมต้องขอโทษเป็นอย่างสูงครับเพราะพึ่งมีโอกาสเปิดเข้ามาครับ

หวังว่าจะเป็นกำลังใจให้ผมต่อไปนะครับ

ดิฉันเป็นคนอุบลฯทำงานในตัวจังหวัดแต่สนใจใคร่รู้และฝันที่จะทำการเกษตรแบบประณีตดิฉันกู้และก็เก็บเงินซื้อที่ดินได้ 3 ไร่ กะว่าจะทำตามที่ฝันไว้ตอนนี้กำลังรวบรวมเรื่องราว ความรู้ที่จะไปสู่ฝันของตัวเอง แอบอ่านข้อมูลจากกูรูหลายๆท่านมาบ้างต่อไปจะเริ่มลงมือทำ

เรียน คุณลูกชาวนา

หากอยู่ไม่ไกล ถ้ามีโอกาสมาทางวารินฯ

เข้ามาคุยก็ได้นะครับ เผื่อมีโอกาสจะได้แลกเปลี่ยนความรู้กัน

หรือโทรมาก็ได้ 081-8773460

ขอบคุณครับ

อุทัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท