มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

เจ้าชาย(เกือบ)นิทรา


ฟังแล้วนึกถึง บิ๊ก D2B เนอะคะ

วันนี้คุยกับเพื่อนที่อยู่ห้องออฟฟิศเดียวกันชื่อ ลีแอน เธอเป็น dental hygienist ที่ได้ special license สาขา residential care คือโดยมากจะสอนทันตสุขศึกษาในบ้านพักคนชรา ในรพ. ตาม special ward ต่างๆ เช่น intensive care unit, extended care unit, palliative care unit, psychiatric ward แล้วก็ให้บริการทันตกรรมป้องกัน และ ขูดหินปูน เกลารากฟัน ด้วย (เธอจะมีชุดเครื่องมือที่ลากไปให้บริการได้ถึงข้างเตียง) 

เมื่อวานลีแอน ได้รับโทรศัพท์เรียกให้ไปดู คนไข้พิเศษ ที่รพ. St. Paul's ที่เรียกว่าคนไข้พิเศษ เพราะ เป็นชายหนุ่ม อายุ 38 ที่เคยตกน้ำเมื่ออายุ 3 ขวบ แล้วก็ admit อยู่ รพ. มาตลอดตั้งแต่นั้นมา

ใช่แล้วค่ะ 35 ปี โตมาในโรงพยาบาล ลีแอนบอกว่า คนไข้คนนี้พูดไม่ได้ เดินไม่ได้ หน้าตาเบี้ยวๆ แล้วก็สั่นๆ คล้ายๆ Parkinson  แต่ยิ้มได้ แสดงสีหน้าได้ พ่อแม่ของคนไข้คนนี้รวยมากค่ะ เป็นคนมีหน้ามีตาในสังคมที่นี่ด้วย ชายคนนี้ก็มีห้องส่วนตัวในโรงพยาบาล เป็นส่วน พิเศษแยกออกมาต่างหาก  มีครูพิเศษมาสอนหนังสือให้ทุกวันด้วยค่ะ 

ที่นี้พยาบาลที่ดูแลคนไข้คนนี้โทรเรียกลีแอนให้มาช่วยดู เพราะ มี sales ขายอุปกรณ์ดูแลสุขภาพช่องปาก เอาของมาขาย เป็นแปรงสีฟันแบบที่มีที่จับพิเศษ มีสายดูดน้ำลายแบบเคลื่นที่ได้ แต่ sales คนนี้บอกว่า ทุกอย่างใช้แล้วต้องทิ้ง ค่าใช้จ่ายประมาณชุดละ 500 บาท ใช้วันละชุด วันละ 500 บาท (บ้าไปแล้ว ขายของแบบนี้ unethical มาก) พยาบาลก็ไม่รู้จะตัดสินใจยังไงเลยโทรหาลีแอน 

ลีแอนก็เลยมาคุยด้วย แล้วก็จัดแผนการดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับคนไข้คนนี้ให้ ลีแอนบอกว่าดูในปากคนไข้แล้ว พยาบาลแปรงฟันด้านที่ยิ้มเห็น (ด้านที่ติดกับแก้ม) ได้สะอาดมากๆ แต่พอดูฟันด้านที่ติดกับลิ้น  นี่หินปูนพอกพูนมากค่ะ เหงือกบางตำแหน่งก็เลือดออก

ลีแอนกำลังจะคุยกับคนไข้ แต่เธอก็หันไปกระซิบถามพยาบาลก่อนว่าระดับการเรียนรู้ของคนไข้อยู่เกรดไหน (What grad level is he in?) ในใจคิดหวังดีว่าจะได้ใช้ภาษาสื่อสารให้ถูก  ปรากฎว่าพอหันมาทางคนไข้ คนไข้ทำหน้างงๆ คอเอียงๆ ขมวดคิ้ว

ลีแอนบอกว่าเค้ารู้สึกผิดมากๆ ไม่น่าถามต่อหน้าให้คนไข้ได้ยินเลย เพราะเหมือนคนไข้จะฟังรู้เรื่อง แล้วอาจจะไม่พอใจ ถึงแม้เค้าจะพูดสื่อสารออกมาไม่ได้ เค้าบอกว่าจำไว้เลยนะ ว่าคนไข้เหมือนจะไม่รู้เรื่องยังไง ก็อย่าไปเอะอะคิดไปเองว่าเค้าฟังไม่รู้เรื่องไม่เข้าใจ ลีแอนบอกว่าจำขึ้นใจเลยต่อไปนี้จะไม่ทำอีกแล้ว

เราก็ให้กำลังใจ แล้วก็บอกว่า เค้าเป็นหนึ่งในบุคลากรทางทันตกรรมไม่มากที่ยอมมาทำงานทางนี้ เราภูมิใจในสิ่งที่เค้าทำ 

เค้าบอกว่าที่เล่าให้ฟังเพราะสำหรับเค้าแล้วนั้น case นี้คือ กรณีที่ น่าเศร้าที่สุดสำหรับเค้า เหมือนวิญญาณโดนขังอยู่ในร่างกายที่ไม่อาจสื่อสารได้ สมองก็โดนทำลายไปมาก แล้วก็เป็นแบบนี้มาตั้งแต่ 3 ขวบ จนตอนนี้ อายุ 38 แล้ว!

 

 

หมายเลขบันทึก: 65398เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2006 08:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เป็น Case study ที่น่าสนใจครับอาจารย์ ...จะทำอะไรกับคนไข้ อาจต้องคิดให้ละเอียด ลองเข้าไปอยู่ในมุมของคนไข้ดู..

ปฏิบัติต่อกันด้วยความเอื้ออาทร ต่อมนุษย์ที่ร่วมโลกด้วยกัน 

ไม่อยากให้เกิดภาพ บางภาพ บางเหตุการณ์ที่หมอปฏิบัติกับคนไข้ ที่บ้านของเรา(บางคน บางจุด บางแห่ง)

และ...ไม่น่าเชื่อว่ามีชีวิตที่อยู่นิ่งๆ ๓๕ ปี และใช้ชีวิตที่โรงพยาบาล

ให้กำลังใจอาจารย์ด้วยครับ!!!

ขอขอบคุณอาจารย์มัทนา...

  • บันทึกของอาจารย์ทรงคุณค่า... ทั้งสาระ ข้อคิด และเป็นปัจจัยให้เกิดจิตสำนึกที่ดีงาม

ขอตั้งความปรารถนาให้คนหมู่มากได้มีโอกาสอ่านบันทึกของอาจารย์ เพื่อให้ได้สำนึกที่ดีงาม... ไม่ว่าจะเป็นเมตตา กรุณา มุทิตา(เช่น ดีใจด้วยที่คนไข้มีฐานะดี ทำให้ได้รับการรักษาค่อนข้างดี ฯลฯ) หรืออุเบกขา (เช่น การสำรวมระวังไม่กล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว โดยพิจารณาก่อนพูด ฯลฯ) ครับ

  • ขอแสดงความชื่นชมคุณพ่อ คุณแม่ของคนไข้ที่ทำหน้าที่พ่อแม่อย่างน่าเคารพ 

ขอกล่าวอนุโมทนาในกุศลเจตนาของอาจารย์ที่ให้ทั้งธรรมทาน และวิทยาทาน... สาธุ สาธุ สาธุ

อาจารย์มัทนาค่ะ อ่านแล้วก็รู้สึกนึกถึง Big D2B เช่นกันค่ะ

เห็นด้วยค่ะ ว่า ... ถ้าเรา treat คนไข้แบบคนปกติทั่วๆ ไป โดยไม่ต้องไปจำแนกว่าเขามีสภาพร่างกาย จิตใจ อย่างไร ก็น่าจะมีส่วนช่วยฟื้นฟูสุขภาพจิตของเขาได้ดีไปพร้อมๆ กันเลยนะคะ

ฟังแล้วนึกถึงเรื่อง Lorenzo's oil เลยครับ

  • ขอบคุณทุกๆคนที่เข้ามาอ่านและแสดงความคิดเห็นค่ะ
  • เรื่อง Lorenzo's oil ก็เป็นอีกเรื่องที่น่านับถือคนเป็นพ่อและแม่เนอะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท