การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน เรื่องจิตอาสา สมบูรณ์แบบ


เคยเสนอเรื่อง จิตอาสา สมบูรณ์แบบ เป็นเรื่อง การสร้างความสุข ไว้ก่อนหน้านี้แล้ว คราวนี้เป็นการเสนอเป็นเรื่องการสอนธรรมะสำหรับนักเรียน เป็นกรอบแนวคิดที่ใช้ รูปแบบ 6 ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน ของ ดุษฎี โยเหลาและคณะ (2557) เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นรูปแบบที่เข้าใจง่ายและเข้ากับลักษณะของเรื่องนี้ได้ดี

1 ขั้นให้ความรู้พื้นฐาน และ 2 ขั้นกระตุ้นความสนใจ 

ครูเล่าเรื่องจิตอาสา (ตั้งใจใช้คำว่าเล่าเรื่องแทนคำว่าอธิบาย เพื่อให้ได้บรรยากาศเบาๆ)  และความเหมาะสมที่นำมาใช้กับการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานให้นักเรียนฟัง

ถ้านักเรียนสนใจ (ธรรมทั้งหลายมีฉันทะเป็นมูล - นักเรียนจะเรียนได้ผลดีถ้าอยากเรียน) ก็ชวนให้นักเรียนอ่าน ความสุขทุกแง่ทุกมุม ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เฉพาะหน้า 110 ตั้งแต่ย่อหน้าสุดท้าย สังคหวัตถุ ๔ ถึงหน้า 112 (เตรียมไว้ให้แล้ว ที่หมายเหตุ 1) อ่านและคิดด้วยน่าจะใช้เวลาประมาณ 15 นาที

ครูชวนนักเรียนอภิปรายว่า น่าจะนำความรู้นี้มาใช้เป็นการเรียนรู้ด้วยการทดลองปฏิบัติจริงหรือไม่ นี่คือจิตอาสาสมบูรณ์แบบ เพราะทำรอบด้าน ทั้งกายวาจาใจ มีทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ต่อสังคมและเพื่อประโยชน์ของตัวเราคือ การพัฒนาชีวิตตนเอง 

3 ขั้นตอนจัดกลุ่มร่วมมือ

ครูชวนนักเรียนพิจารณาว่า กลุ่มเป้าหมายควรจะเป็นใครบ้าง (เพื่อนนักเรียน ครู บุคคลากรอื่นๆในโรงเรียน บุคคลในครอบครัว ชุมชนใกล้โรงเรียน และอื่นๆ) เลือกให้เหมาะกับสังคหวัตถุ ๔ ที่เชื่อมโยงกับพรหมวิหาร ๔

      1 ทาน -        1.1) เขาไม่เดือดร้อนอะไร (เมตตา)

                         1.2) เขามีความทุกข์ เดือดร้อน (กรุณา)

                         1.3) เขาทำความดี (มุทิตา)

      2 ปิยวาจา -   2.1) อยู่กันตามปกติ (เมตตา)

                         2.2) เขามีทุกข์ มีปัญหาชีวิต (กรุณา)

                         2.3) เขาทำความดี (มุทิตา)

      3 อัตถจริยา - 3.1) อยู่กันตามปกติ (เมตตา)

                         3.2) เขามีความทุกข์ เดือดร้อน (กรุณา)

                         3.3) เขาทำความดี (มุทิตา)

      4 สมานัตตตา - อุเบกขา - น่าทำในหมู่เพื่อน (โปรดดูหมายเหตุ 2)

เพื่อให้สะดวกต่อการปฏิบัติจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อที่มี .2 และ .3 ระดมสมองกันว่า จะทำอะไรได้บ้าง กับใคร ทำเป็นรายการไว้

แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มย่อย (กลุ่มละ 5-7 คน) ในกรณีชุมชนกลุ่มย่อยเดียวกันควรเลือกเป้าหมายเดียวกันจะได้ลงพื้นที่ด้วยกัน

4 ขั้นตอนแสวงหาความรู้ 

(ในที่นี้คือ การลงมือปฏิบัติ เพราะเป็นการเรียนรู้จากการลงมือทำ ตามแนวคิดของ John Dewey)

แสวงหาความรู้ (ปฏิบัติงาน) เป็นรายบุคคล ในกรณีชุมชนเป็นรายกลุ่มย่อย 

 มีการบันทึกการทำงานและผลงานเป็นรายบุคคล (ในที่สุดจะได้เป็นแฟ้มผลงานรายบุคคล)

แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเองในกลุ่มย่อยเป็นระยะ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งชั้นเป็นระยะ    

5 ขั้นสรุปสิ่งเรียนรู้

แต่ละกลุ่มย่อยสรุปผลงานของกลุ่ม เพื่อนำเสนอในชั้นเรียน

หัวหน้ากลุ่มร่วมกันสรุปเป็นผลงานรวมของชั้นเรียน

6 ขั้นนำเสนอผลงาน

นำเสนอผลงานรวมในชั้นเรียน 

นำเสนอผลงานในระดับโรงเรียน 

นำเสนอผลงานระดับชุมชน (หากเป็นไปได้) 


หมายเหตุ 

      1 หนังสือความสุขทุกแง่ทุกมุม หน้า 110-112 

 

      2 เรื่องสมานัตตตา อาจมีปัญหาเล็กน้อย โปรดอ่าน เชิงอรรถในหนังสือพุทธธรรมหน้า 635 (ด้านล่าง) น่าทำในหมู่เพื่อน - ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน

      3 ครูสำคัญเสมอ ทำหน้าที่เป็นโคช ไม่เล่นเอง โปรดอ่าน บทบาทของครูในฐานะผู้กระตุ้นการเรียนรู้  

อำนาจ ศรีรัตนบัลล์

14 กันยายน 2561

หมายเลขบันทึก: 652612เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2018 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ตุลาคม 2020 14:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท