เหตุแห่งความสุข ๓ ประการ


การตีความหนังสือชื่อ "วิชาความสุข ที่มีสอนแค่ในฮาร์วาร์ด" (อ่านที่นี่) ทำให้ผมทราบว่า ศาสตราจารย์ Tal Ben-Shahar, Ph.D อาจารย์สาขาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มองเห็นเหตุแห่งความสุข ๒ ประการ คือ ความพอใจและความหมาย บนพื้นฐานจากทฤษฎีของสองผู้ยิ่งใหญ่ คือ

    • ความพอใจ จากทฤษฎีของซิกมันด์ ฟรอยด์ ที่บอกว่า มนุษย์ถูกขับเคลื่อนด้วยความต้องการที่มาจากสัญชาตญาณ ความสมหวังตามใจปรารถนา หรือการได้มาในสิ่งที่อยากมี ได้เป็นสิ่งที่อยากเป็น รวมถึงความสำเร็จในการตอบสนองต่อตนเองนั้น จะทำให้เกิดความสุขประเภทนี้ 
    • "ความหมาย" มาจากทฤษฎีของวิคเตอร์ อี. แฟรงเคิล ที่บอกว่า การพยายามค้นหาความหมายในชีวิตของตนเองนับว่าเป็นแรงจูงใจหลักของมนุษย์  สิ่งที่มนุษย์ต้องการจริงๆ ไม่ใช่ภาวะไร้ความเครียด แต่เป็นการดิ้นรนและมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมายบางอย่างที่มีคุณค่า ความสุขประเภทนี้เกิดจากความสำเร็จในการเอาชนะปัญหาอุปสรรคหรือความท้าทายใดๆ โดยเฉพาะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความต้องการในอุดมคติหรืออุดมการณ์หรือการค้นพบความหมายของชีวิตตนเอง (รู้จักตนเอง) 

ท่านไม่ได้กล่าวถึงความสุข (จริงๆ ต้องใช้คำว่า "บรมสุข") อีกประเภทหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และนำออกเผยแผ่ตั้งแต่ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว  เป็นความสุขจากการเข้าถึงความจริงแท้ เข้าถึงความรู้แจ้งแห่งทุกข์ (อริยสัจ ๔)  ผมวาดแผนภาพด้านล่าง เพื่อจะสื่อสารว่า เราโชคดีแค่ไหนที่ได้เกิดมาในประเทศไทยที่มีคำสอนแห่งปัญญาดำรงอยู่อย่างสมบูรณ์ 

คนส่วนใหญ่ในโลกนี้ มีชีวิตเวียนว่ายอยู่เพียงวงซ้ายของความสุข คนส่วนน้อยเท่านั้นที่ผ่านประตูบานแรกมาพบคุณค่าและความหมายของตนเองในการดำเนินชีวิต ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า มีคนเพียงไม่กี่คน ที่สามารถค้นพบประตูแห่งการเข้าสู่ความจริงแท้ รู้แจ้งแห่งทุกข์ เข้าถึง "บรมสุข" ที่แท้จริง 

คำสำคัญ (Tags): #ความสุข
หมายเลขบันทึก: 649530เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2018 23:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 สิงหาคม 2018 23:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบพระคุณค่ะ ชอบมากค่ะ อาจารย์เปรียบกับพุทธเห็นชัดลึกซึ้งค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท