ประเด็น "การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑" จากรายงานการวิจัยฯ เรื่อง "การพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนยุคใหม่เพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ด้วยการบูรณา่การไอซีทีในการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการ"


การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑

แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๐ และ ๒๑ มีความแตกต่างกัน 

โดยมีการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ เน้นการเรียนรู้เฉพาะสาระวิชาแกน และมีการประเมินผลเฉพาะเนื้อหาสาระตามวิชาแกน 

ส่วนการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ การเรียนรู้เน้นทั้งสาระตามวิชาแกนและสาระสำคัญในศตวรรษที่ ๒๑ ทักษะชีวิต ทักษะการคิดและการเรียนรู้ และการรู้ไอซีที การประเมินผลครอบคลุมการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ ดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระวิชา

จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ทำให้การจัดการเรียนการสอนต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยดังที่นักศึกษายุคใหม่ได้เสนอหลักการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ไว้ ดังนี้

๑. มนุษย์มีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ผู้สอนจึงต้องใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย หากผู้สอนนำรูปแบบการเรียนรู้แบบใดแบบหนึ่งไปใช้กับผู้เรียนทุกคนตลอดเวลา อาจทำให้ผู้เรียนบางคนเกิดอาการตายด้านทางสติปัญญา

๒. ผู้เรียนควรเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ของตนเอง ไม่ใช่นำความรู้ไปใส่สมองผู้เรียน แล้วให้ผู้เรียนดำเนินรอยตามผู้สอน

๓. โลกยุคใหม่ต้องการผู้เรียนซึ่งมีวินัย มีพฤติกรรมที่รู้จักยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นแบบเผด็จการ แบบให้อิสระ หรือแบบประชาธิปไตย

๔. เนื่องจากข้อมูลข่าวสารในโลกจะทวีเพิ่มขึ้นเป็น ๒ เท่า ทุก ๆ ๑๐ ปี โรงเรียนจึงต้องใช้วิธีสอนที่หลากหลาย โดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ กัน

๕. ให้ใช้กฏเหล็กของการศึกษาที่ว่า "ระบบที่เข้มงวดจะผลิตคนที่เข้มงวด" และ "ระบบที่ยืดหยุ่นก็จะผลิตคนที่รู้จักการยืดหยุ่น"

๖. สังคม หรือ ชุมชนที่มั่งคั่ง ร่ำรวยด้วยข้อมูลข่าวสาร ทำให้การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ในหลาย ๆ สถานที่

๗. การเรียนรู้แบบเจาะลึก (Deep Learning) มีความจำเป็นมากกว่าการเรียนรู้แบบผิวเผิน (Shallow Learning) หมายความว่า จะเรียนอะไรต้องเรียนให้รู้จริง ให้รู้ลึก รู้รอบ ไม่ใช่เรียนแบบงู ๆ ปลา ๆ ดังจะเห็นจากในอตีตว่า มีการบรรจุเนื้อหาไว้ในหลักสูตรมากเกินไป จนผู้เรียนไม่รู้ว่า เรียนไปเพื่ออะไร และสิ่งที่เรียนไปแล้วมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

๘. การสอนที่จัดว่ามีประสิทธิภาพ ต้องการครูที่มีคุณสมบัติมากกว่าการเป็นผู้ทำหน้าที่สอน (Instructor) คือ ต้องการครูที่มีคุณลักษณะเป็นผู้ชี้แนะการเรียนรู้ (Learning Coach) และเป็นตัวแทนในการนำผู้เรียนท่องเที่ยวไปสู่โลกแห่งการเรียนรู้ได้ (Learning Travel Agent) บทบาทของครูในโลกยุคใหม่จึงต้องกว้างขวางกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน ไม่ใช่เป็นเพียงผู้ดูแลโปรแกรมการเรียนการสอนเท่านั้น เพราะทำให้เด็กที่จบจากโรงเรียนมีปัญหาในเรื่องความรู้ และทักษะ คือรู้ก็ไม่รู้จริง แล้วยังขาดทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพอีกด้วย

๙. การศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียน (Schooling) กับการศึกษา (Education) ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน วินสตัน เชอร์ชิลล์ (Winston Churchill) เคยกล่าวไว้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (Mr.R.A.Butler) เมื่อปี ค.ศ.๑๙๔๔ ว่า "โรงเรียนไม่มีความจำเป็นมานักในการจัดการศึกษาเพราะเป็นเพียงสถาบันที่มีงานหลัก คือ การพร่ำอบรมสั่งสอนเด็ก ๆ เท่านั้น แต่การศึกษามีความแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิงและการศึกษาเกิดขึ้นในโรงเรียนน้อยมาก"

๑๐. โลกอนาคตจะให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาที่บ้าน (Home-Based Education) มากขึ้น เด็ก ๆ จะเรียนอยู่ที่บ้าน โดยเรียนจากประสบการณ์ของนักการศึกษาที่มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ โดยตรง

นอกจากหลักการเรียนรู้ ๑๐ ประการ ข้างต้น การเรียนรู้ทางด้านเทคโนโลยีเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน 

และครูสามารถเป็นไกด์แนะนำในการค้นคว้าหาความรู้จากเทคโนโลยีที่มีอยู่ในยุคนี้ได้อย่างเต็มที่ โดยที่อาจไม่ต้องสอนแต่เนื้อหาให้ผู้เรียนท่องจำเพียงอย่างเดียว แต่ให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าและสามารถนำความรู้ทีไ่ด้มาอภิปรายซึ่งจะเป็นสิ่งทีช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความคิดของตัวเองได้ 

การออกแบบระบบการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ รูปแบบการเรียนการสอนโดยส่วนใหญ่เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 

การศึกษายุคนี้จึงต้องกล่าวถึงทฏษฏีในกลุ่ม Constructivism เพราะเป็นทฤษฎีที่ผู้เรียนสามารถดึงความรู้ที่มีอยู่เดิมมาต่อยอดด้วยการค้นคว้าข้อมูล คิดวิเคราะห์ และแสดงความคิดเห็น เพื่อต้องการพัฒนาความรู้ของผู้เรียนให้เกิดขึ้น จึงควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งจะต้องมีความสัมพันธ์ มีขั้นตอนและกระบวนการที่เป็นลำดับที่ผู้เรียนสามารถมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนนั้นด้วย เช่น การกำหนดปัญหาที่สนใจและการทำกิจกรรมกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ และสามารถบูรณาการกับรายวิชาอื่น ๆ ได้

..

..

..

....................................................................................................................................

แหล่งข้อมูล

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.  การพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนยุคใหม่เพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ด้วยการบูรณา่การไอซีทีในการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการ.  กรุงเทพฯ : สกศ., ๒๕๕๕.

หมายเลขบันทึก: 646089เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2018 17:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2018 18:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เรียนรู้  วิธีเรียนรู้  แจ้งเห็นจริงจากสองมือทำเอง

เรื่องสอง  สาม  สี่ฯ  อื่นใด ... วิธีเรียนรู้ต่าง ๆ ติดตัวไป  คิดเป็น ต่อยอดสรรหาเรียนรู้เองได้  ทุกที่  ทุกเวลา

พลิกวิธีเรียนรู้ของเด็กไทยรุ่นใหม่ได้แน่ค่ะ  แบบคุณครูเงาเจ๋ง ๆ  ๑๐๐ คน  แตกตัวแบบทวีคูณ  ๒ ครั้งได้  ๑๐,๐๐๐ คน   สร้างเครือข่าย  Coach ของ coach  ต่อเนื่อง  จริงจัง  เจอกันเป็นระยะ ๆ  ประสบการณ์ตรงแลกกัน

มีใครกล้าให้คุณครูเงาทำไหมคะ?

ไม่มีใครอยากให้ทำครับ คุณหมอ ธิ ;)...

เขาว่ามันเหนื่อยกัน สอนอะไรมากมาย

ปล่อย ๆ ให้เด็กจบไป เด็กจะได้เรารักมาก ๆ

ครูที่มอหลายคนคิดแบบนี้ครับ ...

เป็นงานวิจัยของ สกศ นะครับ

น่าสนใจมาก

ตอนนี้งานหนักมาก...........(โดนทั้งเตะและต่อย)


ไปอบรมครูใต้มา ครูน่ารักเลยบอกต่อ 555 

ครูใต้โครงการพระเทพฯ 



มาขอบคุณมากๆครับ

อาจารย์สบายดีนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท