โครงการปริญญาเอก หลักสูตรการจัดการนวัตกรรม PHD 8205 การจัดการทุนมนุษย์ และทุนสังคม รุ่น 15


สวัสดีครับลูกศิษย์รุ่น 15 ทุกท่าน

ผมเปิด Blog นี้ขึ้นมาเพื่อให้เป็นช่องทางในการรวบรวมข้อมูลการเรียนในวิชา PHD 8205 การจัดการทุนมนุษย์ และทุนสังคม อาทิ การสรุปการเรียนรู้ในเเต่ละครั้ง. การใช้เป็นช่องทางในการส่งการบ้านหรือการอภิปรายต่าง ๆ จากการเรียนในห้อง เเละเป็นการ Share ความรู้จากในห้องเรียนสู่นอกห้องเรียน

ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเรียนในวิชานี้จะเป็นการเสริมสร้างศักยภาพที่มีอยู่เเล้วของนักศึกษาเเต่ละท่านให้เกิดการพัฒนาทางด้านทักษะการจัดการทุนมนุษย์เพิ่มขึ้นเเละเป็นการสร้างเครือข่ายทางการเรียนในเป็นสังคมเเห่งการเรียนรู้ต่อตัวนักศึกษาเองเเละองค์กร เพื่อเป็นพื้นฐานที่ดีในการพัฒนาชาติต่อไป

ขอบคุณครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

................................................................................................

วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ครั้งที่ 1 ปฐมนิเทศ – ทฤษฎีการเรียนรู้ – Chira Way

………………………………………………………………………………….........………

บันทึกสาระสำคัญในห้องเรียน

โดย วราพร ชูภักดี

  • การเรียนครั้งนี้..เราต้องคิดถึง Purpose objective และประโยชน์ต่อประเทศ และการเรียนในทุก ๆ วิชาจะต้องเชื่อมโยงกัน
  • เราควรจะตั้งโจทย์ที่มันน่าสนใจต่อประเทศ ต่อสังคมของเรา เอาความคิดของตะวันตก ตะวันออก อาเซียน มาปรับให้เข้ากับบริบทของเรา เป็นทฤษฎีของเรา
  •  

1. Innovation คืออะไร? 

2. Innovative Management – การบริหารจัดการทั้งหมดให้มีการปฏิบัติ (verb) ไปสู่นวัตกรรม

3. Innovative Organization

4. ทุนมนุษย์ - นวัตกรรมเกี่ยวข้องกับคน เกิดจากคน ในอนาคต Innovation กับ Human Capital สำคัญมาก ๆ ไม่กว่า google , Microsoft, apple , facebook ทุกที่เน้นเรื่องคน

5. Social Capital ในความเห็นของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ คือ การมีเครือข่าย และรู้วิธีการจัดการกับเครือข่ายให้เกิดคุณค่า เราต้องสร้างความสัมพันธ์กับคนที่เป็นเครือข่ายของเรา การเรียนครั้งนี้เราจะเสริมด้วยกรณีศึกษา

4. หลักการของการวิจารณ์หนังสือ

  • คนที่เก่งภาษาอังกฤษต้องช่วยเป็นหลักที่จะสรุปxitgfHole8yP.od]6j,
  • อ่าน สรุป แล้ววิเคราะห์ว่าแก่นของมันคืออะไร
  • เมื่อหาแก่นได้แล้ว เกี่ยวข้องกับทฤษฎี / หลักคิด / สิ่งที่เราเรียนในห้องอย่างไร
  • อ่านแล้วแบ่งปันกับเพื่อนในกลุ่ม ทุกคนต้องมีส่วนร่วม คนหนึ่งนำเสนอ คนอื่น ๆ ต้องเสริมได้
  • การอ่านหนังสือครั้งนี้ + แก่น + สิ่งที่เรียนในห้อง จะเชื่อมโยงกับวิทยานิพนธ์ของเราอย่างไร?
  • อ่านแล้วกระทบอะไรกับตัวเรา กระทบอะไรต่อ
  • อาจารย์พิชญ์ภูรี
  • การแนะนำตัว สำคัญมาก ได้รู้จักพื้นฐาน ประสบการณ์ ทักษะ ของแนวร่วมที่เรียนด้วยกัน ได้เครือข่ายที่ดีและเหนียวแน่น (จีระ process นี้สำคัญมาก Learn Share Care)

         การอ่านหนังสือ 4 เล่ม คะแนนเท่ากับ 30 >#/span###

   องค์กรของเรา ธุรกิจของเรา เราได้บทเรียนอะไรบ้าง มีประโยชน์ต่อประเทศของเราอย่างไร?

  • วิชาการจัดการทุนมนุษย์ และทุนสังคมเป็นวิชาแรกซึ่งกรอบแนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ มีความสำคัญที่เราจะสามารถนำไปคิดต่อยอดได้
  • ทุนมนุษย์ หรือ ทรัพยากรมนุษย์ คืออะไร?
  • สำหรับการอ่านและวิเคราะห์หนังสือ ซึ่งนับว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ของคนไทยในอนาคต เราโชคดีที่มีกูรูนักอ่านอย่างท่านอาจารย์จีระ เป็นผู้เลือกหนังสือดี ๆ มาให้อ่าน

- คือ ทรัพยากรมนุษย์ที่เราสร้างให้เป็นทรัพย์สินที่มีค่า และสามารถเป็น “ทุน” ที่จะทำให้เกิดคุณค่า / มูลค่า และความเป็นเลิศได้

ทฤษฎี 2 R’s ของท่านอาจารย์จีระที่ทุกท่านกำลังจะได้เรียนมีความสำคัญ และจะเป็นประโยชน์มาก เพราะเป็นการตกผลึกความคิดจากประสบการณ์และการลงมือทำ

  • เอาความแตกต่างหลากหลายมาเป็นพลัง
  • ถ้าทำได้เหมือนที่ดิฉันคาดไว้ เราก็อาจได้นวัตกรรมใหม่เป็นผลงานของรุ่นได้เลย เพราะมัน cross function มี pain และ gain
  • คุณ(แจ่ม)จันทร์ พยาบาล และผู้บริหารในเครือสมิติเวช มีประสบการณ์หลายสายงาน+ HRD Medical Health Hub เชี่ยวชาญด้านธุรกิจโรงพยาบาลและการจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพสู่มาตรฐานสากล
  • คุณนิพันธ์ (มิค) อาจารย์สอนคณิตศาสตร์ พระจอมเกล้าพระนครเหนือ อยากเรียนเพราะจะมีคณะนวัตกรรม อยากจะนำกระบวนการไปจัดการปัญหาเรื่องการจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย - ฟังอาจารย์วันนี้ได้เรียนรู้ว่า.. ทุนมนุษย์มีความสำคัญที่จะทำให้เราสามารถจัดการงาน และเรื่องต่าง ๆ ได้
  • คุณสมรักษ์ (คุณเปี๊ยก) เชี่ยวชาญด้าน logistic / คลังสินค้า (อิเกีย) มาเรียนหลักสูตรนี้.. คิดถึง “ความยั่งยืน” และคิดว่าหลักสูตรนี้น่าจะช่วยตอบโจทย์ได้
  • คุณณัฐกร จากระนองจบม.ทักษิณ ทำงานวิชาการมาตลอด อยากเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย  ถูกเปลี่ยนทัศนคติ ชอบท่าน อ.ดร.ธนพล ท่านขายของเก่ง
  • คุณธนภพ (ถาวร) (CAT)
  • คุณธนกร? เรียนตรี ต่อโท ต่อเอก เลย อายุ 28 ปี คุณพ่อทำธุรกิจโรงกลึง ชิ้นส่วนต่าง ๆ มีความฝันที่อยากจะสานต่องานของคุณพ่อ
  • คุณธิเบต มาจากกระบี่ วิศวกร สาขาน้ำมันปาล์ม ต่อโทจุฬา ทำธุรกิจส่วนตัว บ.น้ำมันปาล์ม
  • จบวิศวะ ลาดกระบัง โท ออสเตรเลีย ทำธุรกิจส่วนตัว เชื่อเรื่องการพัฒนาคน คนไทยเก่ง แต่อยากสู้กับฝรั่งให้ได้
  • คุณณัฐพล ทำธุรกิจของครอบครัว มีความเชื่อเรื่องการพัฒนาคน
  • คุณวิชา จากสำนักอธิการบดี ดูแลจราจร จบตรีนิเทศก์ศาสตร์ ไปเรียนเอกเรื่อง สิ่งแวดล้อมและenergy แต่ไม่จบ เลยเริ่มใหม่
  • คุณธีร(เดช) มาจากระนอง โทลาดกระบัง ทำธุรกิจเล็กๆกับ
  • คุณอรุณศรี ทำธุรกิจครอบครัวเครื่องจักร พี่ไปอเมริกาเรียนรู้วิธีการประมูล ริชชี่ เลยเริ่มวิธีการประมูล นี่ก็เป็นกรนวัตกรรม
  • คุณสันติ search ดูหลักสูตรนี้เห็นว่ามีท่านอาจารย์จีระ ซึ่งเคยเป็นลูกศิษย์อาจารย์ที่เอแบค รู้สึกประทับใจ ที่มาเรียนเพราะอยากได้ความรู้จากวิทยากรหลักทั้ง 3 ท่าน
  • คุณณิศรามิล (คุณภิมมี่) เป็นวิทยากรและที่ปรึกษา ได้รับคำแนะนำจากรุ่นพี่ รุ่นที่ 14 และได้เห็นหนังสือของท่านอาจารย์จีระรู้สึกว่า Concept ของท่านอาจารย์ตรงใจ
  • คุณระวี เชิดชัยทัวร์ หลานเจ๊เกียว ทำขนส่ง รถทัวร์ เรียนรัฐศาสตร์,  การท่องเที่ยว อยู่ฝ่ายขาย ประมูลภาครัฐ กำลังจะทำรถสวัสดิการ และขยายไลน์ไปอีกหลายด้าน
  • คุณดุจดาว บุนนาค เคยอยู่ในการท่าอากาศยาน พอจบโทไปสอนปวช.ที่สยามเท็ค เรื่องการขาย ปัจจุบันทำธุรกิจทำ
  • คุณตุ๊ก วันดี พลรักษ์ จบราม ระหว่างเรียนเป็นผู้ช่วยคอมพิวเตอร์ ทำงานเอส แอนด์ พี แล้วเรียนป.ตรี และโท ไปทำงานJALแจแปน แอร์ไลน์ เป็นผู้จัดการร้านอาหาร ทำธุรกิจออนไลน์ของตัวเอง พัฒนาผลิตภัณฑ์ ตัวเอง ประสบการณ์เยอะมาก
  • คุณนุช เคยเรียนรุ่น 14 จบพยาบาลพระปกเกล้า โท ม.บูรพา ทำธุรกิจส่วนตัว โรงงานผลิตนมโรงเรียน มีความพยายาม เน้นปฏิบัติ ไม่เก่งเขียน
  • คุณพรปวีณ (ตุ๋ม?) จบอักษรจุฬา โทนิด้า เคยทำ integrated communication ให้ลูกค้าเอเยนซี่ ทำงานPR .โรงแรม เป็นCorporate ให้ Central World เลยตั้งบริษัทเอง ทำสื่อสารการตลาด ชอบแปล ชอบอ่าน เคยมีหนังสือแปลของตัวเอง

9. อาจารย์แนะนำหนังสือ 3 เล่ม ที่ทุกคนจะต้องอ่าน

  • หนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้”
  • หนังสือ “8K’s+5K’s: ทุนมนุษย์คนไทยรองรับประชาคมอาเซียน”
  •  หนังสือ “พลังแห่งคุณธรรมจริยธรรม” (The Ethical Power)

 

10. Innovation ต้องบวก Entrepreneurship ถึงจะสำเร็จ และ Entrepreneurship ต้องยั่งยืน

11. อาจารย์พิชญ์ภูรี.. เรียนแบบนิเวศวิทยาจะทำให้ทุกคนสนุกและได้ประโยชน์ ต้องผนึกกำลังกัน

     เอาความแตกต่างหลากหลายมาเป็นพลัง

 

 

คำศัพท์สำคัญที่ท่านอาจารย์จีระพูดในห้อง

  • Learning Eco System
  • Tangible – Intangible
  • Visible - Invisible

 

การบ้าน

  • เขียนเรื่องที่ประทับใจและความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันนี้ (ประมาณ ครึ่งหน้า A4) ส่งทาง Blog ภายในวันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม 2560
  • อ่านและวิเคราะห์บทเรียนจากหนังสือเล่มแรก HBR's 10 Must Reads on Innovation
  • อ่านหนังสือของท่านอาจารย์จีระ 3 เล่ม แล้ววิเคราะห์ส่งเป็นไฟล์ที่ [email protected] และโพสต์ในทาง Blog (งานเดี่ยว)
    • หนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้”
    • หนังสือ “8K’s+5K’s: ทุนมนุษย์คนไทยรองรับประชาคมอาเซียน”
    • หนังสือ “พลังแห่งคุณธรรมจริยธรรม” (The Ethical Power)

ให้นักศึกษาเเบ่งเป็น 4 กลุ่ม อ่านและวิเคราะห์บทที่ได้รับมอบหมายดังนี้

กลุ่มที่ 1 เรื่อง The Innovation Catalysts

กลุ่มที่ 2 เรื่อง Innovation : The Classic Traps

กลุ่มที่ 3 เรื่อง The Discipline of Innovation

กลุ่มที่ 4 เรื่อง Is it Real? Can we win? Is it worth doing?

กำหนดการนำเสนอ : วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน 2560

โดยการให้คะเเนนจะเเบ่งเป็น

1. เนื้อหา

2. วิธีการและรูปเเบบการนำเสนอ

3. ประโยชน์ที่ได้รับเเละนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียน เเละ ห้วข้อวิทยานิพนธ์

ส่งบทวิเคราะห์ประมาณ 1 หน้ากระดาษ A4 ภายในวันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม 2560

ส่งบทวิเคราะห์ประมาณ 1 หน้ากระดาษ A4 ภายในวันเสาร์ที่ 9 กันยายน 2560

ส่งบทวิเคราะห์ประมาณ 1 หน้ากระดาษ A4 ภายในวันเสาร์ที่ 23 กันยายน 2560

              แนวทางการวิเคราะห์

  • ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มที่อ่านมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร
  • บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ที่ประทับใจมีอะไรบ้าง เพราะอะไร
  • จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้ คืออะไร ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา


…………………………………………………………………………………………

วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2560

ครั้งที่ 2 ทฤษฎีการเรียนรู้ – Chira Way

…………………………………………………………………………………………

บันทึกสาระสำคัญในห้องเรียน

โดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

 

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

แนะนำเรื่องการเขียนวิทยานิพนธ์

ประเด็นคือ

1. การตั้งโจทย์เป็นเรื่องสำคัญ จะทำเพื่อจบหรือเพื่อความเป็นเลิศ (อาจต้องมีการ Debateกัน)

- ใช้ทฤษฎี 2 R’s คือ Reality and Relevance

- โจทย์ต้องมีความสำคัญต่ออนาคต

2. ทดสอบ Experiment เรื่องอะไร

3. การนำทุนมนุษย์ไปสร้างนวัตกรรมให้สำเร็จ

4. ต้องคม ลึก และมี Impact ต่อโลกาภิวัตน์ อาเซียน ประเทศ องค์กร และชุมชน

 

วิธีการเรียนรู้

1. เรียนแบบ Eco System ต้องเริ่มจากการสร้างพื้นฐานให้แน่นเสมือนการตอกเสาเข็มหรือตึกให้แข็งแรงก่อน

          - Concept ต้องแม่น

          - ใช้ 2 R’s ในการวิเคราะห์

          - เป็นไปตามลำดับ Cause , Effect , ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม  ต้องมี Principle

          - ทบทวนการเรียนรู้ในแต่ละสัปดาห์ว่าพูดอะไร  

2. การต่อยอดมูลค่าที่เป็นประโยชน์ มีความรู้ และมีอิทธิพลต่อประเทศ

3. การรวมพลังสู่ความเป็นเลิศ

4. เป็น Innovative System

          (สอบครั้งที่ 1 ในสัปดาห์ที่  6 ให้ลองวิจารณ์ HR Architecture เน้นความแม่นยำ ไม่ใช่คืออะไร)

 

ทุนมนุษย์

          การศึกษาทุนมนุษย์ทำให้เรามีคุณค่า ทุนมนุษย์ประกอบด้วย 3 อย่าง ได้แก่ ปลูก เก็บเกี่ยว และการนำไปใช้ให้เกิดความสำเร็จ

ปลูกคือ การสร้างคน พัฒนาคน ให้มีความเข้มแข็ง ไม่อ่อนแอ สามารถทำประโยชน์ให้เกิดคุณค่าได้ เริ่มตั้งแต่วัยเยาว์ การเรียนรู้ ต้องขึ้นกับสื่อ และศาสนาที่ใส่ไปด้วย

การปลูกไม่ใช่แค่ปลูกตอนเด็ก แต่ต้องปลูกตลอดชีวิต

Energy พลังงาน ประกอบด้วย 4  เรื่อง

1. Physical Energy ร่างกายเป็นเสมือนเสาเข็มอันแรก

2. Mental Energy จิตใจ มีสมาธิ สามารถควบคุมจิตใจ

3. Emotional Energy อารมณ์ดี

4. Spiritual Energy จิตวิญญาณ

สรุปคือ ต้องมีการติดตามข่าวสารทุกครั้ง หลัก ๆ คือ เราต้องศึกษา Human Capital

Gary Becker

Gary Becker กล่าวว่า คนที่จบสูงเรียนมากจะมีรายได้สูงกว่าคนที่เรียนน้อยกว่า และได้มีการนำไป Run Equation พบว่า คนที่เรียนมากจะมีรายได้สูงกว่าคนที่มีรายได้น้อย

แต่ในปัจจุบันมีปัจจัยที่มีผลให้คนประสบความสำเร็จและมีรายได้มากกว่านั้นเช่น การคิดเป็นวิเคราะห์เป็น มีจริยธรรมการมีทรัพยากรใช้ถึงคนรุ่นหลัง ฯลฯ  การวัดคนจึงไม่ได้เป็นแค่ปริมาณอย่างเดียว ต้องเป็นการวัดที่มีคุณภาพด้วย ดังนั้น หลักสูตรนี้จึงเป็นการมองคนไปในองค์กร

          การเป็น Capital ในทางเศรษฐศาสตร์ต้องมีการเสียก่อน ยกตัวอย่างเช่นเงิน ถ้าเก็บไว้เป็น Capital แต่ถ้า บริโภคจะเป็น Consumption เช่นเดียวกับคน ต้องมีการลงทุนก่อน

HR Architecture

 

 

 

 

 

HR Architecture คือการออกแบบ Life Cycle ของสังคมไทย

1. เริ่มตั้งแต่ประชากรเกิด

มนุษย์จะได้ดีหรือไม่ เริ่มตั้งแต่เกิด ได้รับการศึกษา ครอบครัว สุขภาพ การบริโภค และที่สำคัญคือสื่อที่ได้รับเป็นแบบไหน ศาสนาเป็นอย่างไร

2. กำลังแรงงานและประชาชน

          การเป็นทุนมนุษย์ที่ดีเป็นอย่างไรได้รับจากสิ่งแวดล้อม

3. การพัฒนาตนเอง ได้แก่ การคิดเป็น วิเคราะห์เป็น คิดแบบวิทยาศาสตร์ คิดแบบ Creativity Innovation สังคมการเรียนรู้ จิตสาธารณะ

          การเป็นทุนมนุษย์ที่ดี นำไปสู่การทำงาน ถ้าเป็นทุนมนุษย์ที่ดี เก็บเกี่ยวเป็น ก็นำไปใช้ในการบริการในภาคส่วนต่าง ๆ อาทิ ภาคเกษตร อุตสาหกรรม บริการ รัฐบาล ธุรกิจส่วนตัว ได้แล้ว

ผลที่ได้รับคือ

-  Competitiveness ก็จะดีขึ้น

-  ประชาธิปไตย

-  แก้ปัญหาความยากจน

-  มีความสงบ

-  สิ่งแวดล้อม Global Warming

-  โลกาภิวัตน์

-  คุณธรรม

-  ไม่มีคอรัปชั่น

และในที่สุดจะนำไปสู่ความยั่งยืน

ทุนมนุษย์ ไม่ได้เกิดที่การมีความรู้ ทักษะเท่านั้น แต่อยู่ทีการกระตุ้นให้เป็นเลิศ ดังนั้น ทุนมนุษย์คือการปลูกและเก็บเกี่ยว ถ้าเราเข้าใจก็จะไปได้ดี และที่สำคัญคือ เราต้องทำให้สำเร็จ ต้องเอาชนะอุปสรรค ดังนั้นการมีนวัตกรรม มีคนเก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องทำให้สำเร็จ คือเมื่อมีอุปสรรคแล้วเราต้องไม่ยอมแพ้ ดังนั้นในหลักสูตรนี้ถ้าจะทำการวิเคราะห์จะวิเคราะห์เรื่องปลูก เก็บเกี่ยว และเอาชนะอุปสรรค

สรุปคือการเข้าใจทุนมนุษย์ ตั้งแต่เกิดถึงช่วงทำงาน ไม่หยุดการเรียนรู้ตลอดชีวิต นวัตกรรมต้องมีความรู้ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา

นวัตกรรม

1. ทำอะไรใหม่

2. Imagination + Creativity

3. Basic Knowledge

          ยกตัวอย่างจะทำเรื่อง การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sport Tourism) ต้องศึกษาก่อนว่ามีประโยชน์กับเราอย่างไร ต้องทำการบ้าน อะไรที่ขาดให้เติมให้เต็ม

นวัตกรรมต้องเริ่มจากคนก่อน ไม่ใช่สิทธิบัตร แต่เป็นการ Improve จากสิ่งที่เป็นอยู่ให้หลุดจากสิ่งเดิม

          ต้อง Turn Idea into Action ได้แก่ Process Innovation , Social Innovation และนวัตกรรมจะประสบความสำเร็จได้ต้องมี

1.  Impact ที่เป็นที่ยอมรับต่อลูกค้า เกิดประโยชน์ต่อสังคม แต่นวัตกรรมสามารถเกิดความล้มเหลวด้วยเช่นกันถ้าคนไม่ร่วมมือ

          2.  Focus ที่ Customer

          3.  Understand

          4.  Turn into 3 V

 

โลกแห่งการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

 

การเป็นสังคมยุคใหม่ที่จะต่อสู้กับโลกได้เราต้องไปที่ 4th Wave

 

ตัวอย่างการวิเคราะห์โลกาภิวัตน์และผลกระทบ

  • Information Technology เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่น ๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnology
  • เรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA, AEC
  • เรื่องการเงินเสรี  อัตราแลกเปลี่ยน
  • บทบาทของจีน อินเดีย และละตินอเมริกา
  • เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ Human right
  • เรื่อง Global warming - ภัยธรรมชาติ     
  • เรื่องสงครามและการก่อการร้าย
  • เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทน
  • เรื่องโรคระบาด เช่น ไข้หวัดนก เอดส์ ฯลฯ

         สรุปคือ การมองสภาพแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญ

 

Chira way

Chira Way..กระบวนการ/วิธีการเรียนรู้ ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์..เพื่อพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์

  • HR Architecture
  • 4L’s
  • 2R’s
  • 2I’s
  • 3V’s
  • 3L’s
  • C & E
  • C – U – V
  • Learn – Share – Care
  • 8K’s+5K’s (New)
  • 3Circles
  • HRDS

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

         จาก HR Architecture การปลูกมีเรื่องประชากรเกิด การศึกษา สุขอนามัย อาหาร Nutrition ครอบครัว

         HR Architecture เสมือนการออกแบบบ้าน สถาปัตยกรรม มีความแข็งแรง สวยงามหรือไม่ เป็นการมองในภาพรวมของคน

         PhD. คือการมองภาพใหญ่ มองให้ครบมิติ HR Architecture มีการเชื่อมโยงกับ 8K’s 5K’s

         อาทิ Intellectual Capital คือการคิดเป็นวิเคราะห์เป็น มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสุขที่จะทำ มีความสุขที่เรียนรู้ มี Social Capital มีเพื่อน มีอาจารย์ มีลูกศิษย์  Digital Capital ที่เชื่อมไปในอนาคต Talented Capital คือทักษะประสบการณ์ที่มี

         ในยุคใหม่ 5K’s ก็มีเรื่อง Creativity Capital, Knowledge Capital, Innovation Capital, Cultural Capital , Emotional Capital

         เช่น การจัดการความรู้ ยุคใหม่มีมาก เราต้องรู้จักเลือกและต้องจัดการความรู้ที่เป็นขยะ

         การเรียนรู้ต้องเติม เติมแบบดินร่วน ที่เราต้องมาช่วยกัน เติมเต็มซึ่งกันและกัน

         การเก็บเกี่ยว อย่าง HRDS คือ Happiness , Respect (ให้เกียรติ ชื่นชม ยินดี ให้รางวัล) , Dignity (ศักดิ์ศรี มาจากความเป็นภายใน) , Sustainability (ยั่งยืน)

         Execution คือการเอาชนะอุปสรรค เป็นการเอากรณีศึกษา ถ้ามาทำ Research บ้างจะเป็นประโยชน์

         3 V’s ได้แก่ Value Added, Value Creation, และ Value Diversity

         เราเลือกว่าจะ Expert ในเรื่องอะไร ให้มูลค่าเพิ่มจากความแตกต่าง ใช้ 8K’s 5K’s เป็นเครื่องยืนยัน  สร้างชุมชน สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง

         สรุปคือ Chira Way ทำแค่ 3 เรื่องคือ ปลูก เก็บเกี่ยว เอาชนะอุปสรรค ให้ชนะเล็ก ๆ ดึงสิ่งที่สามารถนำมาเข้ากับทักษะตัวเอง เรียนเพื่อให้พัฒนาต่อไป

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

         เสริมว่า ครอบครัวต้องเป็นตัวอย่างที่ดี เพื่อความอยู่รอด ในห้องปริญญาเอกต้องคิด Wisdom สิ่งที่ทำคือต้องทำให้เป็นคนฉลาด และให้นำเครื่องมือมาเป็นตัวช่วยเรา เราต้องสามารถมีทั้งขยัน และ Wisdom

         8K’s กับ 5K’s เป็นเสมือนตัวแม่และตัวลูก มีการเสริมทักษะทั้งคุณภาพและปริมาณ อย่าง Culture Capital เอาคน ภูมิปัญญามาสร้างมูลค่าเพิ่ม เน้นการทำให้มีคุณภาพ

         คนเป็นยุทธศาสตร์ในองค์กร คนต้องเป็น Multi Discipline คนในห้องนี้เป็น Non-HR แต่มีอิทธิพลต่อประเทศคือทุนมนุษย์ในระยะยาว และเกี่ยวกับ 4.0 สอนให้คนเป็นนักพัฒนาคนมืออาชีพ วิทยานิพนธ์ต้องมีความบ้าคลั่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศ

         เป็นการสอนในระบบ Learning How to Learn

         การเรียนในวันนี้ให้เน้นเรื่องคนก่อน แล้วมาพูดปรัชญา 8K’s 5K’s

         HRDS คือ Happiness , Respect, Dignity, Sustainability

         ต้องจับหลักให้ได้ก่อนที่จะมา Apply ต้องฝึกการเขียนตั้งแต่วันนี้

 

คุณทรงวุฒิ

         ประเด็นหนึ่งที่จับใจความได้ที่ใช้คือ 2R’s คือ Reality  และ Relevance และเพิ่มRespect ขึ้นมา คือทำอะไรต้องมีความเข้าใจ และต้องมีการสร้าง Social Capital การเชื่อมโยงในการทำงาน และเราต้องมี Innovation

         8K’s 5K’s มาจาก Gary Becker มาทำ อ่านไม่สนุกถ้าไม่ Apply

         หัวข้อในการทำดุษฎีนิพนธ์ มีการเขียนแบบ Macro Impact เรากำลังมองภาพ Macro และไหลมาสู่ Micro

         Ph.D เรียนเพื่อ Apply ให้ได้ ซึ่งการ Apply ได้ก็ออกมาจาก 8K’s 5K’s เราต้องใช้ระบบ เราต้องมี Imagination ต้องมี Basic Knowledge ที่ต้อง Apply เข้าด้วยกัน  ถ้าไม่มี Basic Knowledge ทำอะไรไม่ได้ ต้องมีมุมมองทั้ง Backward และ Forward ต้องมี Mental ที่ดี ให้และแบ่งปัน สร้าง Flow Energy ที่เกิดขึ้น ทำอย่างไรให้ Balance Physical ให้ได้

         ที่สำคัญที่สุดในการทำวิทยานิพนธ์คือ Teamwork จะช่วยให้คิดหัวข้อได้ คุณภาพ + ปริมาณ

Homework

  • วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของ HR Architecture อย่างละเอียด อย่างละ 3 เรื่อง
  • จะทำ HR Architecture มาเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ Ph.Dได้อย่างไร ยกตัวอย่าง
  • จะนำเอา HR Architecture มาเป็นรูปแบบระดับ Micro ได้อย่างไร

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

         นวัตกรรมเป็นทั้งเป้าหมายและวิธีการ ประเด็นเดียวกันยังคิดแตกต่างหลากหลาย

1. ค้นหาตัวเองก่อน

2. ค้นหาแนวทางที่จะไป จะได้เดินไปถูกทาง ต้องให้คม ให้ตรงประเด็น

3. ดุษฎีนิพนธ์ต้องสอดคล้องกับชีวิตและงาน

         ภาวะผู้นำต้องถูกสร้างเสริมขึ้นมา

         ผู้ประกอบการที่ดีต้องมีภูมิคุ้มกัน ค้นหาข้อมูล มีจิตวิญญาณของผู้ประกอบการจะได้เดินไปในแนวทางได้ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่คือทางรอดของประเทศไทย ต้องมีการดูหลายมิติ มองในภาพใหญ่ว่าไปตรงไหนกัน

         มีการ Learn-Share-Care

         เอาความหลากหลายมาเป็นพลัง

 

Homework

  • วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของ HR Architecture อย่างละเอียด อย่างละ 3 เรื่อง
  • จะทำ HR Architecture มาเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ Ph.Dได้อย่างไร ยกตัวอย่าง
  • จะนำเอา HR Architecture มาเป็นรูปแบบระดับ Micro ได้อย่างไร

 

 

การร่วมแสดงความคิดเห็น : สิ่งที่ได้เรียนรู้

1. เมื่อวานได้เห็นภาพ HR Architecture มาในตอนแรกไม่เข้าใจ มาวันนี้เริ่มพอเข้าใจหลังจากที่ได้ฟังอธิบาย และมีแนวคิดนำแนวคิดมาพัฒนาต่อยอดสถานพยาบาลให้สำเร็จจะเป็นอย่างไร คิดว่าจะกระทบกับกลุ่มใหญ่ที่สุดอย่างไร

         ดร.จีระ เสริมว่า บางคนคิดว่าพยาบาลห่างกับหมอ แต่จริง ๆ แล้วไม่ห่าง ขอให้มุ่งมั่น

 

2. คนต้องมาก่อน อย่างเช่นตอนท่านอธิการบดีสวนสุนันทาหาเสียงใหม่ ๆ ได้นำเอาคนมาก่อน ตอนแรกสงสัยแต่ตอนนี้เริ่มเข้าใจว่า ถ้าคนมีความผาสุกแล้ว การบริหารจะมีความราบรื่น ในวันแรกอาจยังงงอยู่ แต่พอมาในวันนี้เริ่มชัดขึ้น คิดว่ากลับไปอาจได้หัวข้อวิทยานิพนธ์ใหม่ อีกเรื่องคือ 2R’s คือต้องรู้ให้จริง

         ดร.จีระเสริมว่าถ้าเรามีไอเดียดี และปลูกฝังในห้องนี้ วิทยานิพนธ์จะมีมูลค่าเป็นพันล้าน  หลายครั้งที่เราอาจลืมคำว่าคนไป บางครั้งอาจไม่ใช่เงินอย่างเดียว แต่ต้องเป็นคนที่มีคุณภาพและศักดิ์ศรี

 

3. นักธุรกิจทำเรื่องนมโรงเรียน สิ่งที่ได้เรียนในวันนี้คือความสุข เรื่องนมโรงเรียนได้ใช้ศิลปะจริง ๆ แต่ไม่ได้นำศิลปะมาจับ แต่ได้ปฏิบัติ การทำนมโรงเรียนที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน ได้นำมาใช้ว่าทำอย่างไรให้เกษตรกรขายวัตถุดิบให้กับเรา ได้มีการนำ 8K’s 5K’s มาใช้ มีการทบทวน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แต่มาวันนี้เป็นการเรียนแล้วมีความสุขในทุกครั้งที่อยากมาเรียน

 

4. บริษัทสื่อสารการตลาดทำด้านประชาสัมพันธ์ ตอนแรกทุกคนมีบรรยากาศเคร่งมากในการเตรียมนำเสนอ พอได้บอกว่าเก็บไว้ก่อน มีความรู้สึกว่าเสียดายปนโล่งใจเล็ก ๆ พอนั่งฟังในวันนี้ ความงง ๆ ยังมีความเข้าใจมากขึ้น อย่าง HR Architecture ตอนแรกเปิดไม่เข้าใจ แต่ฟังแล้วเข้าใจ รู้สึกมีความสุขที่อยากมา บรรยากาศห้องตื่นตัว และรู้สึกมีความสุข รู้สึกว่าสมองดูดไปเลย

 

5. หลานเจ้เกียว เรียนกับอาจารย์ในครั้งนี้รู้สึกมีมุมมองและประตูเปิดกว้างมากขึ้น ในครั้งแรกยังไม่คุ้นเคยอาจมึน ๆ งง ๆ แต่ครั้งนี้ได้มีวิจารณ์หนังสือ ประกอบกับรู้ Background มากขึ้น เป็นการเรียนที่สนุกขึ้น กับเข้าใจมากขึ้น รู้วัตถุประสงค์ในการเรียน มีการมองจาก Macro มาสู่ Micro มีการปลูก เก็บเกี่ยว และเอาชนะอุปสรรค การเรียน มีการเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ มุมมองใหม่ ๆ ได้มีการเปิดแสดงความคิดเห็นและมุมมองต่าง ๆ ด้วย

         ดร.จีระ เสริมว่า การปลูกและเก็บเกี่ยว เป็นการให้กำลังใจและกระตุ้นความเป็นเลิศ ต้องมี Team Teaching  

 

5. สิ่งที่ได้จากห้องนี้เหมือนได้รับพลัง พลังความคิด พลังที่เกิดจากเราเป็นพลังที่แปลเปลี่ยนเป็นเชิง Physical ได้ อย่างกายเป็นนาย ใจเป็นบ่าว และเป็นบททดสอบที่สามารถนำมา Change & Challenge กับ ครอบครัวอย่างไร ให้ Impact ต่อ ครอบครัวก่อนค่อย Impact ไปถึงประเทศ

         ดร.จีระ เสริมว่าวิทยานิพนธ์รุ่นนี้น่าจะมีประโยชน์

 

6. การเรียนกับอาจารย์จีระตื่นเต้นตลอดเวลา อาจารย์จีระเสียงดังแต่ Function ดี สิ่งที่ได้คือต้องเป็นความจริงและตรงประเด็น  ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องรู้จริงก่อน แล้วต่อยอดความรู้ได้ ซึ่งถ้าเราจะพิจารณา Human Capital เราจะสร้างแนวทางอย่างไรในการประยุกต์ให้ได้กรอบในการพัฒนาต่อไป

         ดร.จีระ กล่าวว่าที่เวียดนามเด็กจบมามีความสามารถเท่ากับคนไทย แต่ที่ต่างกันคือเด็กเวียดนามมีความมุ่งมั่นมากกว่า อย่างดร.จีระ ชอบพัฒนาเด็กไม่เก่ง เพราะเด็กเก่งเขาก็สามารถไปของเขาเองได้ อย่างในรุ่นที่ 15 นี้ มั่นใจว่าถ้าเรารวมตัวกัน ได้วางแผนทั้งชีวิต แต่อาทิตย์คุยกับทีมงานเขา ไม่สนใจอาจใส่ 20  สนใจอาจใส่ 50 หรือ 100 ก็ได้  เราทำหลักสูตร Short Course เยอะไป แต่หลักสูตรปริญญาเอกต้องต่อเนื่อง

 

7. มาจากระนอง ในด้านความรู้พื้นฐานความรู้ไม่ค่อยดี แต่พยายามเก็บเกี่ยวความรู้โดยตลอด สิ่งที่เห็นคืออาจารย์ให้ความสนใจกับพวกเรามาก มีความประทับใจเพราะรู้สึกว่าอาจารย์รักลูกศิษย์เหมือนลูก เหมือนหลาน

         ดร.จีระ เสริมว่า ถ้าทำดีประเทศจะเจริญ และจะได้ไปทำอย่างอื่นที่สำเร็จจากคนในห้องนี้

 

8. สิ่งที่ชอบคือ life cycle Human Capital คือการให้ความสำคัญกับการปลูก การศึกษา ครอบครัว ถ้าให้แนวทางที่ดีจะต่อยอดในการทำงานได้ จะใช้แนวทางนี้ให้ความสำคัญกับครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญที่สุด สิ่งที่ประทับใจคือ อาจารย์ให้แรงบันดาลใจไม่ว่าเป็นการทำงาน การค้นหาดุษฎีนิพนธ์ เพราะว่าการทำงานให้คำนึงถึงสังคมได้อะไรจากเรา ได้อะไรจากงานเรา

         ดร.จีระ เสริมว่าคุณค่าจากคนอยู่ที่ผลงานเรา การเรียนปริญญาเอกคุ้มค่า และอยู่ที่กระดาษอีกใบ โลกปัจจุบัน ลูกศิษย์ต้องเก่งกว่าอาจารย์

 

9. ที่ประทับใจหลัก  ๆ คือเข้าใจในทุนมนุษย์ คือคนถ้ารากฐานดีจะเสมือนเสาเข็ม ถ้ารากเสาไม่ดีจะไม่มั่นคง เราต้องปูพื้นให้รากฐานมั่นคงแข็งแรง การมี Capital ที่ดีได้ต้องรู้จักเสียก่อน เพราะเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีวันจบ

         ดร.จีระ เสริมว่าการเรียนปัจจุบัน Cost แพง บางคนต้องเรียนพิเศษเพื่อติวข้อสอบให้สอบเข้าได้

 

10. คุณพีระเดช ระนอง สิ่งที่ได้วันนี้คือได้รับการปลูก และได้ครอบครัวใหม่คือโภชนาการอาหาร ได้รับการสื่อสารมากขึ้นเพื่อเพิ่มความรู้มากขึ้น จะได้เก็บเกี่ยวทุก ๆ อย่างที่ปลูกขึ้นมา เลือกสิ่งที่ดีที่สุดที่ตรงเป้าหมายที่สุดเพื่อนำไปใช้ประโยชน์

 

11.  ธุรกิจครอบครัวเคมี  สิ่งที่ประทับใจคือเวลาทำงานจะเจอคนที่มองแต่เรื่อง Micro คือตัวเอง หรือเงิน เวลาเรียนกับ อาจารย์จีระ มีภาพให้ดูอย่าง HR Architecture ที่มองว่าเรื่องคนสำคัญ รู้สึกโชคดีได้เจออาจารย์ดี มีความสุขมาก

         ดร.จีระเสริมว่า ทุนมนุษย์ต้อง Invest ก่อน ต้องลงก่อน เราได้ลงทุนมนุษย์ตอนไหน ในรุ่นนี้จึงน่าจะมีโปรเจคอันหนึ่งที่ลงทุนฟื้นฟู  อยากให้คิดโปรเจคอันหนึ่งที่ฟื้นฟูเด็กเหล่านี้ ดังนั้น Gap เรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก

         อาจารย์พิชญ์ภูรี มีนายอำเภอคนหนึ่งทีเคยอยู่ที่ระยอง แต่ปัจจุบันอยู่ที่สมุทรสงคราม ที่ระยองเคยดูแลเด็กในสถานพินิจ คิดให้เด็กกลุ่มนี้มาฝึกให้ขับเรือนำร่อง ใน 1 ปี ฝรั่งจะให้ขับเรือ 3 ครั้ง และเวลาว่างจากขับเรือจะมาเป็น Life Guard เป็นโปรเจคดีมากแต่ไม่ได้มีคนต่อยอด ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ ทำอะไรต้องตรงประเด็น

 

12. ทำงานด้านการศึกษาที่พระจอมเกล้าพระนครเหนือ ใน Chira Way มีปลูก เก็บเกี่ยว และเอาชนะอุปสรรค ส่วนหนึ่งคือการศึกษา ดังนั้นจึงทำอย่างไรให้นักศึกษาเป็นผลผลิตที่ประเทศสามารถเก็บเกี่ยวต่อไปได้ และประเทศสามารถใช้เขาไปเอาชนะอุปสรรคในสากลได้

 

13. นำความรู้แนวนี้ไปถ่ายทอดให้ลูกสาวที่จบ HR ที่ LSE มีแนวคิดที่จะดึงนักศึกษาจีนมาเรียนที่นี่

 

14. สิ่งที่ได้เรียนคือได้ประทับใจอาจารย์ รู้สึกดีที่ได้เป็นลูกศิษย์อาจารย์ อาจารย์เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญต่อประเทศมาก

 

15. คราวที่แล้วที่เจออาจารย์จีระยังงง ๆ อยู่กับความแรง การเรียนมาเพื่อต้องการความรู้ด้านสังคม จากการบ้านได้อ่าน 3 เล่ม พบว่าอาจารย์ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ครอบครัว และเห็นว่าอาจารย์มีพลังการสอนมาก เพราะเป็นเรื่องที่ดี รู้สึกได้ความรู้เยอะในครั้งนี้ การอ่านเล่มสีม่วงเป็นหัวข้อที่ดี ที่อ่านยังไม่มั่นใจ แต่จะมีการหาอ่านเพิ่มเติม

 

16. คุณอรุณศิลป์ ทำเรื่องการประเมินเครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมทุกชนิด จากที่บอกว่าอดีตเรียนเยอะรายได้สูง เช่นเดียวกับการทำงานที่เหนื่อยมาก แต่ในอนาคตทำอย่างไรคือ Network ผู้ประกอบการมาซื่อหลากหลายมาก จึงอยากทำ Co-Working Space ที่ทำให้รายได้สูงขึ้นหรือไม่

         ดร.จีระเสริมว่า ธุรกิจต้องมีการร่วมมือกันในความคิด แต่ละคนเจอกับความไม่แน่นอน ในการพูดครั้งที่สองให้ถามอีกทีว่าเขาทำอะไรกัน ถ้า Basic ดีแล้วก็ให้ต่อยอด สิ่งที่ทำอาจไม่ได้ตั้งใจทุกเรื่อง แต่เป็นแรงบันดาลใจ อย่างช่วงนี้อาจารย์สุขภาพดีขึ้น Energy มากขึ้น ก็ต้อง Energize ด้วย และโจทย์นี้เหมือนปรับให้เราไปสู่ Micro ด้วย อยากให้ลองช่วยกันคิด เพราะเป็นราก ถ้าเรามี Macro ก็ต้องมี Micro ด้วย ธุรกิจหนังสือไม่ขาดทุน แต่ไม่มี Supply กว่าจะเขียนได้เหนื่อย มีวัตถุดิบมาก ต้องปรุงแต่งให้ดี

         HR Basic ไม่ยาก แต่อาจเป็นงานที่ไม่สร้างมูลค่าเพิ่ม

 

17. อุปสรรค ทำอะไรให้สำเร็จ ใช้ทฤษฎี 8K’s 5K’s มาใช้ ฟังเพื่อน ๆ ร่วมห้องสิ่งที่น่าสนใจคือเรื่อง Network ที่ต้องขอความร่วมมือจากเพื่อนร่วมห้องในการทำ

 

18. บริษัทตราเพชร  หลายสิ่งที่ประทับใจหลัก ๆ คือต้อง Investment Human Capital ต้องเชื่อมโยงกับสังคมโดยส่วนรวม ไม่เอาเปรียบทรัพยากรธรรมชาติ  ต้องปลูก เก็บเกี่ยว และทำอะไรให้มีความสุข


…………………………………………………………………………………………

วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2560

ครั้งที่ 3 ทฤษฎีการเรียนรู้ – Chira Way

…………………………………………………………………………………………

บันทึกสาระสำคัญในห้องเรียน

โดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

 

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          สัปดาห์หน้าจะวิจารณ์หนังสือ และการวิจารณ์จะสามารถไปตอบโจทย์ใหญ่ทางด้านนวัตกรรม

หนังสือ 3 เล่ม

          ที่ ดร.จีระ ให้ไป ให้สรุปว่าพูดอะไร

1. ดร.จีระ กับ คุณพารณ

2. 8K’s  และ 5K’s เป็นเสมือนหัวใจการพูดคือเราพูดเรื่อง Human Capital เพื่อไปตอบโจทย์นวัตกรรม ซึ่งถ้ามีนวัตกรรมเกิดขึ้นในประเทศไทยจะทำอย่างไร

          ในหลวงร.9 ก่อนสิ้นพระชนม์ได้นำเงิน 200 ล้านบาทฝากท่านองคมนตรีพลากร สุวรรณรัฐให้ไปช่วยโรงเรียนต่างจังหวัดที่ห่างไกล เพื่อช่วยในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กที่อยู่ห่างไกล

2 R’s

1. Reality สถานการณ์ประเทศเป็นอย่างไร

2 Relevance ตรงประเด็นกับสังคมไทย และสถานการณ์หรือไม่อย่างไร

Human Capital

          คือ Independent ของการทำให้เกิดนวัตกรรม

คน คือ ปลูก เก็บเกี่ยว และ Execution

1. เก็บเกี่ยว หมายถึง เมื่อคนมีคุณภาพแล้ว ปลูกแล้ว คำถามคือจะ Maximize เอาความเป็นเลิศของคนเหล่านี้ได้อย่างไร

          - Motivation คือส่วนหนึ่งของการเก็บเกี่ยว และในยุคต่อไปไม่ใช่ปัจจัยพื้นฐานเท่านั้น แต่เป็นเรื่องศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ คือ HRDS

          - Motivation ที่ดีที่สุดจะเป็น Intangible Motivation ได้แก่ HRDS

2. Execution คือ ปัญหาของคนไม่ใช่ปัจจัยอื่น เป็นเรื่องค่านิยม ความขัดแย้งในองค์กร การทำงานให้คนมีความสุขในการทำงาน

          คนจะเป็น Chira Way ได้คือต้องเป็นคนดีก่อน คือ Ethical Capital  และต้องเป็นคนเก่งคือ Smart และที่ต้องมีเพิ่มที่คนต้องรู้คือ Happy อาทิ Happy at work, Happy learning, Happy of Learning ไม่ว่าจะทำอะไรก็แล้วแต่ให้มีความสุขในชีวิต และที่สำคัญคือ Contribution ให้สังคมไทยอย่างไรบ้าง และสุดท้ายคือยั่งยืน

          สรุปคือ ต้องเป็นคนที่สมดุล ประกอบด้วย

          - คนดี

          - คน Smart

          - คน Happy

          - ความยั่งยืน

Ladder Theory

          ที่ผ่านมาได้อะไรที่เป็นพื้นฐานครั้งที่ 3 ครั้งที่ 4 ครั้งที่ 5 อย่าข้ามขั้นตอนแล้วไม่ยั่งยืน

ดังนั้น Ph.D. คือ กระบวนการ (Process) ในการเดินไปข้างหน้า

          ในวันนี้จะพูด 2 เรื่องคือ นำ 8K’s 5K’s มาเปรียบเทียบกับ Gary Becker 2 เรื่อง และใน 8K’s 5K’s ไม่ได้พูดถึงทุก K แต่ให้ดึงนำมาใช้ในการทำประโยชน์ในงานวิจัยของทุกคน

วิธีการ 8K’s 5K’s

1. แนวคิดของ ดร.จีระ

2. Shift จาก Quantity มาสู่ Quality หรือ Shift จาก Tangible มาสู่ Intangible

ดังนั้น Human Capital ยุคต่อไป ต้องเป็น Machine + Human  ทุนมนุษย์เป็น 1 ใน 4 ของทั้งหมด คือ เงิน ทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยี (เครื่องมือหรือเครื่องจักร) และคน

Gary Becker

          เมื่อ 50 ปีที่แล้ว มี Hypothesis คือมนุษย์เกิดมาเท่ากัน อยู่ที่ว่าใครลงทุนมากกว่ากัน

ต่อมาอีกคนหนึ่งที่ University of Chicago คือ Prof. Gary Becker ก็ได้วิเคราะห์ว่า ถ้าแรงงานมีการลงทุนด้านการศึกษาไม่เท่ากัน แค่วัดจากปีที่เรียนก็พอว่ารายได้ก็ไม่เท่ากัน จึงเป็นการค้นพบว่า การศึกษา คือ การลงทุนที่สำคัญของทุนมนุษย์ ใครมีการศึกษามากกว่าคนนั้นก็จะมีรายได้มากกว่า หรือมีทุนมนุษย์มากกว่า

E = α0 + α1Y1 + α2Y2 +

E= รายได้, Y= Education

α1คือ ถ้า Y เพิ่ม E เพิ่มเท่าไหร่? ซึ่งได้มีการวิจัยว่า α1มีนัยยะสำคัญทางสถิติและเป็น+

 ซึ่งการวิเคราะห์ของ Becker ก็เป็นที่มาของรางวัล Nobel ทางเศรษฐศาสตร์

           Gary เชื่อว่าคนเรียนเยอะจะมีรายได้มากกว่าคนเรียนน้อยกว่า เป็นการ Run Equation  on Quantity ไม่ใช่ Quality  เพราะมีประเด็นว่าปริญญาอาจไม่ใช่การฝึกปัญญาก็ได้ แต่การฝึกปัญญาอาจไม่มีปริญญาก็ได้

P. Schultz จาก University of Chicago

ก็ทำวิจัยใช้หลักของ Becker พบว่า ชาวนาในสหรัฐ ถ้าคนไหนมีความรู้หรือปัญญามาก.. ผลผลิตของสินค้าเกษตรหรือ Labor Productivity ของเขาก็เพิ่มขึ้น

“Bill Gates”

          ปัจจุบันปี 2553 การวิเคราะห์ทุนมนุษย์ก็ได้เปลี่ยนไปมาก ซึ่งก็คือประเด็นที่เราจะพูดกันในวันนี้

          Hypothesis แรกก็คือ ปริมาณหรือการมองการศึกษาแบบเป็นทางการว่าจบอะไร ปริญญาตรีต้องดีกว่า ม.6 ก็ยังสำคัญอยู่ แต่จะสำคัญน้อยลง เพราะพบว่าคนเรียนน้อยก็อาจจะมีคุณภาพดีเท่ากับหรือมากกว่าคนเรียนมากก็ได้หรือที่มีคำว่า“ปัญญาอาจจะไม่ใช่ปริญญา”

          ดร.จีระ สรุปว่า เอาความหลากหลายของคนในห้องนี้เป็นพลัง ดังนั้นถ้าใช้ แนวคิดของ Gary Becker ต่อไปอาจไม่ได้ เพราะในวันนี้กับ 50 ปีที่แล้วเป็นเวลาที่แตกต่างกัน ดังนั้นการ Move ทุนมนุษย์จึง Move มาที่ Intangible มนุษย์ไม่ได้มีแต่ปริญญาอย่างเดียว ต้องเป็นคนดี คนเก่ง ทำงานมีความสุข แล้วจะยั่งยืน  ซึ่งนำสู่ทฤษฎี 8K’s 5K’s ของ ดร.จีระ

8K’s 5K’s

ที่ใช้ “K” แทนคำว่าทุนนั้นเพราะ “K” มาจากคำว่า Kapital เป็นภาษาเยอรมัน แปลว่า “ทุน” หมายถึงทุนทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่ง Karl Mark ได้เขียนทฤษฎี “The Kapital” ไว้กว่าร้อยปีแล้ว

ใน 8 K’s ดร.จีระ เริ่มด้วย Human Capital แต่ Human Capital ไม่ใช่วัดจากปริมาณมากแต่ต้องเน้นคุณภาพจึงเป็นที่มาของทุนที่สำคัญอีก 7ทุน

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capital             ทุนมนุษย์ - เป็นพฤติกรรมส่วนบุคคล

Intellectual Capital      ทุนทางปัญญา

Ethical Capital             ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital        ทุนแห่งความสุข

Social Capital              ทุนทางสังคม

Sustainability Capital    ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital              ทุนทาง IT

Talented Capital          ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

Creativity Capital         ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital      ทุนทางความรู้

Innovation Capital      ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital       ทุนทางอารมณ์

Cultural  Capital         ทุนทางวัฒนธรรม

 

          สิ่งที่ต้องระวังคือ Law of Diminishing Return และ S-Curve ยกตัวอย่างว่า สามารถนำไป Run Equation เป็น Average Value คือค่าเฉลี่ย

ยกตัวอย่าง

          Happiness Capital คือพฤติกรรมส่วนบุคคลที่ไปสู่เป้าหมายนั้น

          Sustainable Capital คือพฤติกรรมที่นำไปสู่ความยั่งยืนเช่น สุขภาพดี หรือไม่ลอกใคร ไม่เอาของเก่ามาขาย หมายถึงเราต้องมีทรัพย์สินทางปัญญาที่ติดตัวเราไปด้วย

          และถ้าไม่มี Intellectual Capital หรือ Ethical Capital เราก็อยู่ไม่ได้

สิ่งที่อยากจะฝากไว้คือ

1. จะนำ 8K’s 5K’s ไปทำนวัตกรรมอย่างไร

2. กล้าเขียนวิทยานิพนธ์ทำนอง ดร.จีระ ขึ้นมา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. คุณณัฐกร คุ้มเพชร

          แนวคิดของ Gary Becker กับอาจารย์จีระ มีทั้งเหมือนและแตกต่าง แนวคิดของ Gary Becker เป็นมุมมองทางเศรษฐศาสตร์อย่างเดียว และของอาจารย์จีระ ได้ศึกษามาด้วยเช่นกัน และได้ศึกษาในเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย และช่วงที่ทำการศึกษาคือทั้ง 2 ท่านอยู่คนละยุค ดังนั้นในความคิดของทั้ง 2 ท่านอยู่ในช่วงเวลาที่ต่างกัน แต่ทั้ง 2 ท่านมีความคิดที่เหมือนกันอย่างหนึ่งคือให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์    

          ดร.จีระ เสริมว่า ต้องเปรียบเทียบยุคต่าง ๆ ให้ได้ คนรุ่นใหม่ ใช้การเรียนแบบโบราณไม่ได้ ต้องทันสมัย  Gary Becker นอกจากพูดเรื่องทุนมนุษย์แล้วยังพูดเรื่องการมีลูกด้วย ได้พูดว่าผู้หญิงในเมืองกับผู้หญิงในต่างจังหวัดการมีลูกไม่เท่ากัน เพราะผู้หญิงในเมืองการศึกษามาก ทำงานมาก ต้นทุนการมีลูกสูง แต่ในการมีลูกส่วนใหญ่ ไม่ได้มองทางเศรษฐศาสตร์

 

2. คุณทิเบต จันทวงศ์

          ทุนมนุษย์มีความสำคัญอย่างมาก และเมื่อเปรียบเทียบกับอาจารย์ Gary Becker เป็นคนละยุค ซึ่งทาง ดร.จีระ ได้สอดคล้องกับยุคปัจจุบันมากกว่า และ ได้นำ 5K’s มาใช้ในยุคปัจจุบันได้

          ดร.จีระ เสริมว่า 5K’s ถ้ามาก่อน 8K’s จะยุ่งมากเลย โลกในอนาคตต้องมาแนวนวัตกรรม ดังนั้น ถ้าทุนมนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ ก็ต่อยอดไปที่นวัตกรรมได้ เห็นได้ชัดว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้น เกิดจากความคิดของมนุษย์ทุก ๆ ขั้นตอน ขั้นตอนนวัตกรรมมี 3 ขั้นตอน

          1. จุดเริ่มต้น ต้องมีความคิดใหม่ ซึ่งอาจปรับปรุงจากเดิมก็ได้  ไม่ต้องใหม่ทั้งหมด

          2. ความคิดสร้างสรรค์

          3. Body of Knowledge

          นวัตกรรมต้องเกิดโปรเจคใหม่ ๆ จึงต้อง Turn ideas into action

ดังนั้นจึงต้องเขียน Project เอง โดยต้องเขียนให้เป็น ได้แก่

  • Project Proposal
  • Project Presentation
  • Project Approval
  • Project Implementation

และสุดท้าย Project ต้องประสบความสำเร็จ

 

3. คุณณภพ ใจศุภนัส จ.ระยอง

             เห็นด้วยกับ 2 คน ขอเสริมเรื่องคุณภาพการศึกษาเพราะยุคใหม่เป็นยุคทุนนิยม การศึกษาเป็นธุรกิจมากขึ้น คุณภาพอาจไม่เหมือนเดิม จากที่ Gary บอกว่าการศึกษาสูงขึ้นมีรายได้มากขึ้น ในยุคปัจจุบันอาจไม่เหมือนเดิมแล้ว

             ดร.จีระ เสริมว่า เห็นด้วยเพราะในปัจจุบันเปลี่ยนไป ไม่ได้เน้นเรื่องคุณภาพการศึกษา

4. อาจารย์ได้ปูพื้นแนวคิดถึงสิ่งที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ ถึงประเทศชาติ องค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาได้คือคน องค์กรสำเร็จได้ต้องมีคุณภาพของคน คุณลักษณะที่เหมาะสมต้องประกอบด้วย K อะไรบ้างและมีวิธีการสร้างอย่างไร ถ้าพัฒนาได้จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จมาก

 

5. การศึกษามีส่วนสำคัญ ยิ่งการศึกษาสูงมากเท่าไหร่ ค่าตอบแทนสูงมากเท่านั้น แต่การศึกษาไทยยังไม่มีในเรื่องคุณธรรม

             ดร.จีระ เสริมว่าการให้คนออกความเห็นคือความหลากหลาย การศึกษาเป็นภาพใหญ่ Human Capital เป็นภาพเล็ก เป็น Individual มีคนจำนวนมากผ่านการศึกษาแต่ไม่สามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลงในโลกได้  ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือไปดูแลคนที่มีความรู้

             การศึกษาไม่ได้วัดจากปริมาณแต่ต้องวัดจากคุณภาพ

6. คุณสมรัตน์

             Gary ในสมัยนั้นได้ไปเชื่อมกับรายได้กับตัวบุคคลในทาง Individual แต่แนวคิดเริ่มเปลี่ยนไปคือการอยู่คนเดียวไม่ได้ที่จะตอบโจทย์สังคม เราจะอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างไรให้ทำงานอย่างมีความสุขและยั่งยืน ดังนั้น Gary เน้นเรื่องตัวบุคคล ส่วนดร.จีระ อาจเน้นที่ Sustainability

             ดร.จีระ เสริมว่า ได้วิเคราะห์ 8K’s 5K’s มามองในเรื่องความยั่งยืน มามองเรื่อง Networking อย่างทุนทางสังคม เป็นยุคดิจิตอลด้วย เราไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวคนเดียว เป็นเรื่องสังคม การทำงานร่วมกันไม่ใช่แค่ Individual อย่างเดียว ซึ่งสอดคล้องกับยุคปัจจุบัน

7. คุณนิรามิล

             สิ่งที่มองคือ มองรอบด้านไม่ได้มองแค่ประโยชน์ที่ตัวเองได้รับ แต่มองในมุมคนอื่นด้วยคือทำแล้วมีผลกระทบกับใครบ้าง แล้วใครได้ประโยชน์ คือครอบคลุมทั้งหมดคือ ดี เก่ง มีสุข และ Sustainable  

             Gary มองที่ output แต่ ดร.จีระมองที่ Outcome คือ ปลูก เก็บเกี่ยว และ Execution ไปสร้างเมล็ดพันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพ

             ดร.จีระ เสริมว่า ถ้าเราทำได้ จะสร้างประโยชน์ได้มหาศาล คนเก่งคนเดียวไม่สามารถอยู่ได้ รู้สึกมีความสุขมากที่พูดถึง Networking Sustainability และ Happiness

             การปลูกต้องปลูกทุกช่วงเวลา อย่างเช่นต่างชาติใช้คำว่า Capacity Building คือสร้างศักยภาพ มีคำว่า Competency มีคำว่า Skill

8.คุณพีรวี

             ตามหลัก Gary ที่ทุกคนเกิดมาเท่ากัน แต่ขึ้นกับใครลงทุนอย่างไร ในมุมมองของ ดร.จีระ มีความคล้ายกันขึ้นอยู่กับในมิติต่างๆ

             คนเรามีความเป็นคนเหมือนกันแต่คุณค่าไม่เหมือนกัน คุณภาพชีวิตของคนดีขึ้นมาจากพื้นฐาน 8K’s 5K’s ที่เรียนวันนี้ได้จุดประกายแนวคิดในหลายด้าน เนื่องจากทำงานกับคนหลายระดับ รวมถึงที่ขาดโอกาสทางการศึกษา

             ดร.จีระเสริมเรื่องการมอง Reality และ Relevance เห็นด้วยกับ Gary ที่บอกว่ามนุษย์จะดีหรือไม่อยู่ที่การลงทุน อยู่ที่การปลูกฝังเขา

             ถ้าเอาเด็กสลัมมาฟื้นฟู ทำให้ปัญหายาเสพติดลดลงได้

             ถ้า Chira Way กระเด้งไปสู่สังคมกว้างโดยผ่านโครงการปริญญาเอกจะไปกดดัน กทม. ทรัพยากรมนุษย์อยู่ในมือทุกคน สิ่งนี้คือ Value ที่อยู่ในตัวคน นศ.ปริญญาเอกจบแล้ว ได้อะไร ต้องสร้างให้เกิด Impact

9. คุณวันดี

             Gary เน้นเรื่องการศึกษาสูงทำให้มีรายได้สูง เทียบกับปัจจุบันองค์กรที่มองการศึกษาสูงจะมีเงินเดือนสูง แต่อย่างไรก็ตามต้องเน้นเรื่องทุนมนุษย์ที่ต้องมีการคิด วิเคราะห์ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ ถ้ามีทุนทางปัญญา และมีแนวคิดที่ดีมีแนวคิดเชิงบวก สมองจะหลังสารเอ็นโดรฟินส์จะมีทุนทางความสุข รักในสิ่งที่ทำ แล้วสามารถเชื่อมกับทุนทางสังคมได้

             ดร.จีระ เสริมว่า ความสุขเป็นอย่างไร เช่นในองค์กรคนที่กำกับดูแลต้องไม่เน้นที่ผลประกอบการแต่ส่วนตัว Suffer  ต้องให้มี Work life Balance และพบว่าคนที่ทำงานเงินเดือนสูงถูกกดดันมาก ดังนั้นการที่เรามีความสำเร็จต้องมีความ Balance คือสุขภาพที่ดี ดังนั้นผู้นำยุคต่อไปไม่สามารถใช้ Performance เป็นตัวกำหนดโดยไม่ดูที่ Happiness และรู้สึกดีที่ได้แสดงออก  อาจให้ Happiness Capital เป็นหัวใจของรุ่นที่ 15 และถ้าทำสำเร็จอาจมีหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่สร้างให้เกิดประโยชน์

10. คุณดุจดาว

             Gary มองปริมาณมากกว่าคุณภาพ ถ้ารายได้มากขึ้นมาจากการศึกษามากขึ้น แต่ในปัจจุบัน การศึกษาของไทยเด็กเรียนแค่ท่องจำแล้วนำไปสอบ คนเรามองที่การศึกษาไม่ได้ต้องมองที่ปัญญาและจริยธรรมมาด้วย มีปัจจัยหลายอย่างเพื่อให้เกิดความยั่งยืนด้วย ซึ่งจะสอดคล้องกับ 8K’s 5K’s ของอาจารย์ด้วย

             ดร.จีระ เสริมว่าวิธีการเรียน และปีของการเรียนไม่สอดคล้องกัน ไม่ได้อยู่ที่ปริมาณการเรียน อยู่ที่วิธีการเรียน

11. 8K’s 5K’s เป็นในเชิงสังคมวิทยาด้วย Gary ได้มีการศึกษาในเรื่องครอบครัว และเรื่องอาชญากรรมด้วย อยากให้ทุกคนไป Search ด้วย เป็นตัว Y1 ที่วัดได้ แต่มีสิ่งที่วัดไม่ได้คือครอบครัว และโภชนาการ แต่ในปัจจุบันนี้สิ่งที่วัดได้เช่นอายุยืนจะวัดได้หรือไม่ เรื่องสุขภาพ ในแง่ความเป็นจริง เราเรียนเยอะขึ้น สิ่งที่สงสัยคือการศึกษาในระบบเราไม่ดี แต่การศึกษาใน Social จะสามารถชดเชยตัว Y1 ได้หรือไม่ หลายคนไม่ได้เรียนเยอะ แต่เขาอาจศึกษานอกระบบ

             ดร.จีระเสริมว่ามาจากหลายศาสตร์ซึ่งในนั้นมีเศรษฐศาสตร์ด้วย เพราะ K คือการลงทุน  อยู่ที่วิธีการเรียน Learning how to learn

             Gary มี มิลตั้น ฟิชแมนด์ ในการลงลึกด้วย ปริญญาเอกคือ Understanding ไม่ใช่รู้อย่างเดียวต้องรู้รากของมันด้วย

             ในยุคต่อไปเป็นการ Run Equation ด้วยตัวเลขต่าง ๆ ขึ้นมาได้แล้ว ส่วน Gary สมัยนั้นอาจ Run equation ไม่ได้ ความสมดุลในชีวิตเป็นเรื่องสำคัญ

12. คุณอรุณศรี

             ในเรื่องความเหมือนคือคนเราเกิดมาเหมือนกัน แต่ Input ต่างกันอย่างไร เรียนมากเน้นปริมาณ แต่เราต้องเน้นคุณภาพด้วย เรียนเยอะแล้วไม่โกงเป็นอย่างไร

             ดร.จีระ เสริมว่า การเขียน 8K’s 5K’s ใช้เวลาไม่นานแต่ Sequence ถูก ในวันนี้กำลังเขียนเองเรื่องผู้นำอยู่

             อยากให้รู้ว่าการเรียนปริญญาเอกมี 15 สัปดาห์ ในครั้งแรกรุนแรงมาก แต่เป็นการทำให้พื้นฐานแน่น การทำงานต้อง Happy ถ้าไม่ Happy จะอยู่ไปเพื่ออะไร ที่ยั่งยืนได้เพราะเราชอบอาชีพของเรา

             เราได้พื้นฐานที่ดีแล้วเราจะได้ทำอย่างอื่นด้วย

13. เรื่องเวลาและยุค

             Gary พูดนานแล้ว แต่อาจารย์จีระอยู่ในยุคปัจจุบัน อาจารย์จีระได้พูดถึง Gary เป็นรากในการประสาทขึ้นมา และ

             ดร.จีระ เสริมว่าคนอื่น ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องคิดเหมือนอาจารย์จีระ แต่เป็น Discovery ขึ้นมา แต่ก่อนอื่นต้อง Basic ดีก่อน

14. Gary มุ่งเน้นปริมาณ ได้มองถึงคุณค่าที่เรียนรู้เยอะ ศึกษาเยอะ ส่วน 8K’s 5K’s เป็นพฤติกรรมพื้นฐานของมนุษย์ที่นำมาใช้ต่อเนื่องคืออดีต ปัจจุบันและไปใช้ในอนาคตเพื่ออยู่อย่างสังคมและมีคุณภาพ

15. ที่ต่างกันเป็นเรื่องเวลา ยุคสมัยต่างกัน Gary อยู่ในยุคที่ผลิตอะไรก็ได้ที่เยอะ ๆ แล้วคนต้องซื้อจึงไปเน้นที่ปริมาณ ดังนั้นการวัดในเรื่องศึกษาจึงเป็นเรื่องที่วัดปริมาณเยอะๆ

             ส่วน อาจารย์จีระอยู่ในยุคที่ไม่ต้องแข่งขัน เป็นเรื่องความดี ความสุข ทุนทางจริยธรรมที่ไม่ได้พูดถึงเมื่อ 50 ปีที่แล้ว

             อาจารย์จีระเป็นคนไทย เป็นบริบทคนไทย ส่วน Gary เป็นคนฝรั่ง

             เรื่องประสบการณ์ Gary Becker เป็นนักวิชาการมาก ส่วน อาจารย์จีระได้เข้ามาคลุกคลีกับคนจริง ๆ ที่สะสมประสบการณ์มา แล้วอาจารย์จีระได้นำมาต่อยอด

             ดร.จีระ เสริมว่า จากการใช้ชีวิตได้นำวิชาการ+ ความจริง การศึกษาหลัก ๆ สำคัญ ในเรื่องที่ทำทุนมนุษย์ ถ้าไม่นำเรื่องจริยธรรม ความยั่งยืน Networking ส่วน 5k’s ไปบวกที่สนใจมากคือ Emotional Capital ได้เสนอว่าคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตต้องมีทุนทางอารมณ์ ต้องฝึกให้ดีไม่ร้อน จึงอยากให้ควบคุมอารมณ์ให้ดี จึงได้ทุนทางอารมณ์ และวัฒนธรรมขึ้นมาด้วย

16. Gary มีความเหมือนกัน ทุนมนุษย์จะมีคุณภาพต้องมีการศึกษาเหมือนกัน แต่สิ่งที่ Gary ไม่ได้พูดถึงคือในเรื่องทุนทางจริยธรรม ถ้าดีต้องเพิ่มเข้าไปด้วย 


อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล  

             ทฤษฎี 2 R’s ของอาจารย์จีระถูกดึงมาใช้ได้ R1คือวิเคราะห์จากความจริง ต้องมีกรอบแนวคิดมาเป็นกรอบ ๆ เป็นเรื่องคน เป็นเรื่องเครื่องมือที่ใช้จับในทุกเรื่องคือทุนมนุษย์ แล้วพูดเรื่องคนไปเป็นทรัพยากรมนุษย์และทุนมนุษย์ เป็นขั้นในการพัฒนา ในการ Develop ประชากรเกิด และประชากรตาย

             Gary Becker คือ 50 ปีที่แล้วนำมาเป็นฐาน อย่างการเขียนวิทยานิพนธ์ของทุกท่าน HR Architecture คือตั้งแต่คนเกิด ถึงคนตาย การมองประชากรเกิดถึงประชากรตายทั้ง Gary และ ดร.จีระ จับในส่วนหนึ่ง

             นศ.พูดถูกที่ศาสตร์ทางตะวันออกยังไม่ฮิต ตะวันตกส่วนใหญ่จะจับสิ่งที่วัดได้ มีเรื่องปัญญา ที่อยู่ในวิถีของเรา กรอบแนวคิดอยู่ในเรื่องคน คนพัฒนาเป็นทรัพยากร ให้การศึกษา ให้ความรู้ แต่ถ้าไปทุนมนุษย์ได้ จะทำให้เห็นกว้าง การได้กรอบแนวคิดคนในการนำมาใช้ต้องเป็นประโยชน์ ในโลกนี้มี 3 ขา เราเห็นมีการเปลี่ยนตลอดเวลา เป็นเรื่องสำคัญ ทุนมนุษย์ก็ไปตอบโจทย์ใน 3 ขานี้ เรื่องสังคมวัฒนธรรม เป็นรากเหง้าของประเทศ เรื่องเศรษฐกิจ ขับให้โลกเคลื่อน

             สิ่งที่พูดเป็น Global Change หนังสือที่ควรอ่านคือเรื่อง Global Trend จะไปทางไหน เราสนใจเรื่องไหนก็ไปดึงตรงนั้นเข้ามา ดูที่เป็น Trend ของโลก

             การเปลี่ยนแปลงของโลก สิ่งที่ต้องมาเรียน เพราะทำให้เกิดนวัตกรรม ฝึกให้บริหารจัดการนวัตกรรมด้วย

             ความคิดสร้างสรรค์ แม้จะเริ่มด้วย Gary Becker แต่มีแนวคิดด้วย อย่าง ดร.จีระ เป็นสากล + ไทย คือมีการใช้ดิจิตอลเป็นระบบด้วย แต่มีศาสตร์ตะวันออกคือปัญหา ความสุข

             8K’s 5K’s คือ ทฤษฎี สิ่งที่อยากแนะนำคือทำอะไรก็ตามให้ใส่เรื่องคนเข้าไป ใส่อย่างไรก็ไม่ผิด

             อะไรที่สงสัยให้ดึงประเด็นเข้ามาต่อยอดต่อ

             ในระบบมีปัญหากับโอกาสเช่นรัฐให้เรียนฟรีกี่ปี แต่ที่หลากหลายคือนอกระบบ เริ่มตั้งแต่ครอบครัว ศาสนา สังคม และ On the job training 

             ดร.จีระเสริมว่า ใครมีหัวข้อวิทยานิพนธ์ให้ปรึกษาอาจารย์พิชญ์ภูรีด้วย เนื่องจากไม่ใช่ Academic อย่างเดียว แต่เป็น Interesting Subject เป็นการมองที่หลากหลาย ซึ่งจะทำให้เกิด Impact ต่อสังคมได้

             เรียน Social Capital กับ Networking เพื่อตอบโจทย์ทุนนวัตกรรมด้วย เรื่องการปลูก เก็บเกี่ยว และ Execution คือทฤษฎีทุนมนุษย์ของ ดร.จีระ

             ศักยภาพของคนซ่อนอยู่ข้างใน วิธีการเก็บเกี่ยวคือดึงศักยภาพเขาออกมา ซึ่งวิธีของ ดร.จีระ จะเน้นสิ่งที่มองไม่เห็นคืออยากเอาชนะอุปสรรค หรือทำอะไรที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม และการเรียนในรุ่นที่ 15 ให้ทำอะไรที่คิดนอกกรอบเยอะ ๆ แล้วหารือในกลุ่มมาก ๆ

 

การบ้าน (ครั้งที่ 3 วันที่ 17 กันยายน 2560 ส่งทาง Blog วันที่ 24 กันยายน 2560)

             แบ่งเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่ม Identify Guru ของโลก กลุ่มละไม่เกิน 3 คน แล้วดูแนวคิดของ Guru ว่ามีอะไรบ้างที่เหมือนหรือแตกต่างจากอาจารย์จีระ

 

การวัดคะแนน

 

Passion & Happiness

             - Passion ไม่เกี่ยวกับสิ่งที่เราทำแต่เกี่ยวกับสิ่งที่เราชอบ

             - พ่อแม่ หรือครูชอบให้เด็กทำตามที่เขาบอก แต่เราต้องค้นพบตัวเองทำตัวเองให้มีความสุข

             - Make Simple

             - เรียนในการรู้ 2 R’s ให้สำเร็จ

             - Passion ไม่ได้เฉพาะทำงานอย่างเดียวต้อง Passion in life ด้วย

             - Performance อย่างเดียวไม่พอ ต้องมี Happiness ด้วย

             - ในทฤษฎีมี 3 คำคือ Passion , Purpose, Meaning

             การเรียนรู้เรื่องทุนแห่งความสุข เริ่มที่ มหาวิทยาลัย Harvard

             Happiness at work คือปลูก Happy workplace คือการเก็บเกี่ยว หมายถึงถ้าทำงานไม่มีความสุขก็ไม่อยากอยู่ในองค์กรนั้น ดังนั้นการเก็บข้อมูลทำวิทยานิพนธ์เราต้องเก็บในองค์กร ถ้าเก็บตัวบุคคล Happiness at work เราต้องเก็บจากตัวเรา  ส่วน Happy workplace จะเป็นเรื่องการทำงาน

             เราต้องมีทั้ง Happiness at work และ Happy workplace ถ้าสองอย่างไปด้วยกันคือปลูกและเก็บเกี่ยว แต่ถ้าไม่มีอันใดอันหนึ่งจะไม่สำเร็จอย่างเต็มที่

             ปัจจุบันมีแนวคิดของ ดร.จีระ ทำงานวิจัยมากขึ้น อาจมีเรื่องทุนทางจริยธรรม ทุนทางปัญญาและเรื่องอื่นด้วย

กฎในการสร้างทุนแห่งความสุขของ ดร.จีระ

Happiness Capital(Dr. Chira Hongladarom’s Model)

1. สุขภาพทางร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม(Healthy)

2. ชอบงานที่ทำ  (Passion)

3. รู้เป้าหมายของงาน (Purpose)

4. รู้ความหมายของงาน (Meaning)

5. มีความสามารถที่จะทำให้งานสำเร็จ (Capability)

6. เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา (Learning)

7. เตรียมตัวให้พร้อม (Prepare)

8. ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว (Teamwork)

9. ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม (Coaching)

10. ทำงานที่ท้าทาย (Challenge)

11. ทำงานที่มีคุณค่า (Enrichment)

Happiness Capital (Sharp’s Model)

1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ (Exercise)

2.อย่าแบกงานที่หนักเกินไป (Put down your burden)

3. ศักยภาพในการถ่ายทอดในงาน (Communicate Effectively)

4. ทำงานในจุดแข็งของตัวเอง(Recognize your strengths)

5. มุ่งมั่นในงาน  (Keep Focus)

6. ทำในสิ่งที่อยากทำไม่ใช่เพราะต้องทำ(Reduce the ‘shoulds’)

7. ทำงานในองค์กรที่มองคุณค่าของคนและงานคล้าย ๆ กัน (Clarify your values)

8. อย่าทำงานเครียดและวิตกกังวล (Overcome worry and stress)

9. บริหารภาระงานให้เหมาะกับตัวเอง (Refine your workload)

10.ใช้คำว่าขอบคุณกับลูกน้องและเพื่อนร่วมงาน (Choose your words)

11.สร้างบรรยากาศในการทำงานให้มีความสุขร่วมกัน  (Create good environment)

Tal Ben-Shahar

         Tal Ben-Shahar เขาทิ้งประเด็นไว้ดีมาก การทางานที่เน้นทุนแห่งความสุขไว้ 3 - 4 เรื่อง

         - ทุนความสุข เกิดจากงานที่ทำใช้ศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่

         - งานที่ทำ อย่าให้ทำเป็นท่อน ๆ ให้เข้าใจ Process ตลอด

         - งานที่ทำ ต้องมี Impact ต่อคนอื่น

         -  และสุดท้าย..การทำงานอย่างมีความสุขต้องถามตัวเองว่า เวลาทางานต้องการเน้นเรื่องอะไร?

             Job/Career/Calling

             การทำงานอย่างมีความสุข คือ ต้อง Calling แปลว่า เราทำเพราะหัวใจเราแสวงหา เราจะทำสุดฝีมือ ทิ้งมรดกที่ดีไว้ แต่แค่เป็น Job หรืออาชีพเราก็จะไม่ประสบความสำเร็จ

             ได้ไปค้นหา web ของคุณ Alexander Kjerulf ซึ่งมีตำแหน่งใหม่ CHO หรือ Chief Happiness Officer ซึ่งก็เป็นตำแหน่งที่น่าสนใจ ซึ่งเขียนหนังสือ Happy Hour is 9 to 5

คุณ Kjerulf เน้น 10 เรื่องว่า Happiness Capital ช่วยอะไรได้บ้าง?

ประโยชน์ 10 ข้อของการมีทุนแห่งความสุข

1.ช่วยทำให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ง่ายและได้ผลสูงสุด

2.ทำให้ตัวเองมี Creativity สูงขึ้น อันนี้ผมเห็นด้วย ผมชอบแนวคิดนี้ ถ้าเราไม่มีความสุขเราก็คิดอะไรไม่ออก แถมยังคิดแง่ลบด้วย

3.ทำให้เราหาทางออกแทนที่จะบ่นว่าปัญหายากจัง

4.มองโลกในแง่ดี (Optimism)

5.มีพลัง (Energy) เพิ่มขึ้น

6.ทำให้กระตุ้น/Motivate and Inspired ได้ง่ายกว่า

7.ไม่ค่อยจะป่วย..เป็นโน่นเป็นนี่บ่อย ๆ

8.สามารถเรียนรู้ได้เร็วและสนุก สร้าง Learning Culture ได้ดีกว่าคนที่ไม่มีความสุข

9.มีความมั่นใจว่าจะกล้าทำอะไรนอกกรอบได้มากขึ้น โดยไม่ต้องกลัวว่าจะมีความผิดพลาด อันนี้จริงเพราะถ้าเรามีความกลัว (Fear) เราก็ไม่สำเร็จ ต้องมั่นใจว่ากล้าทา

10.ทำให้ตัดสินใจได้ดีและรอบคอบ อันนี้จริง เพราะถ้าคน IQ สูงแต่เครียดมักจะผิดพลาดเรื่องการตัดสินใจ

สุดท้าย

         Happiness Workers จำเป็นจะต้องอยู่ในบรรยากาศการบริหารจัดการให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงสุด

         ดังนั้น ตัวละคร 3 กลุ่ม ต้องมีความสามารถและจะต้องทำงานร่วมกันกลุ่มแรก คือ CEO ‟ ต้องเป็นคนที่มีความสุขด้วยไม่ใช่เป็น “Unhappy CEO” ก็คงไม่มีใครอยากทำงานด้วย แต่มี “Happy CEO” ก็ไม่พอต้องมี “Smart and Happy CEO” คือ รู้จักใช้ศักยภาพของเขาเหล่านั้นอย่างเต็มที่ เช่น

             มอบหมายงานที่เพิ่มความสุข (ท้าทาย)

             ลดการขัดแย้งในองค์กร

             ดูแลวัฒนธรรมองค์กรให้ไปในทางสร้างให้พนักงานเป็นเลิศให้ได้

          กลุ่มที่ 2 คือ HR นอกจาก Smart HR แล้วในองค์กรยังต้องมี Smart and Happy HR” บุคคลที่ทำงานกับ Happy People ในองค์กรก็ต้องรู้จัก “ทุนแห่งความสุข” ดี

กลุ่มสุดท้าย คือ Line Managers หรือ Non-HR ก็คงจะต้องเน้นความสามารถในการบริหารพนักงานให้เปลี่ยนจาก สุขน้อย เป็น สุขมาก” หรือ “มีความสุขแล้วได้สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างเต็มที่”

สรุป

คำว่า งาน หรือ Work ภาษา Hebrew แปลว่า Slave คนไทยส่วนมากจะเป็นทาสของงาน อย่าให้งานมากำหนดชะตาชีวิตเรา เราต้องกำหนดทางเลือกของอนาคต ทุกท่านยังมีอนาคตสดใสอยู่ ขอให้กำลังใจ

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          เรื่อง Happy workplace มีทั้ง Intangible และ tangible

          Happiness at work การมีความสุขในการทำงานแต่เชื่อมโยงกับออฟฟิศไม่ได้อะไรจะเกิดขึ้น องค์กรจะสร้างให้ทุกคนทำงานสร้างผลงานได้ต้องทำให้คนมีความสุขในการทำงาน เป็นเครื่องมือที่อาจารย์จีระชี้ให้เห็น

          การสร้าง Happiness at work อาจไม่จำเป็นต้องอยู่ที่ออฟฟิศก็ได้  และแม้เป็น Individual แต่ก็สามารถเสริมพลังกันได้ และเมื่อไหร่รวมพลังกันได้จะให้สำเร็จต้องเป็นพลังที่หลากหลาย  ให้มีศิลปะในการบริหารจัดการ ดังนั้นการจับกลุ่มต้องมีคนหลายทักษะรวมกลุ่มกัน

          Happiness at work เป็นสิ่งสำคัญ แต่ยาก เราต้องมีการการเตรียม Prepare และเรื่องการสื่อสาร ทำเรื่องความเข้าใจให้ชัดและกว้าง

          ดร.จีระ เสริมว่า วิทยานิพนธ์ที่น่าสนใจในอนาคต คือเรื่อง Trend ในการทำงานยุคต่อไป สามารถทำงานแบบ Alliance ได้ และถ้า Productivity เพิ่มขึ้น จะเป็นอย่างไร

          การทำงานต้องมีการ Balance กับสุขภาพ มีเรื่อง เก่ง ดี มีความสุขและยั่งยืน  

          Value Diversity ต้องเป็นหัวใจในการทำงานยุคต่อไป แต่ต้องรวมกันเป็น Harmony อย่าเป็น Conflict ชอบให้เกิดพลังของการคิดต่างแต่รวมแล้วจะดี และต้องมีคนฉลาดเป็นประธานในที่ประชุมในการรับฟัง ที่สำคัญผู้ใหญ่ต้องฟังรุ่นน้อง

          ฝากแนวคิดเรื่องวิทยานิพนธ์ เพราะ Cross Work จะสูสีกัน ทำให้วิทยานิพนธ์เกิด Impact ต่อสังคมด้วย

          อย่างสังคมสูงอายุ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุแต่อยู่กับวิถีชีวิตเป็นอย่างไร

 

 

คุณทรงวุฒิ

          ที่อาจารย์พูดเป็นมิติเชิงลึก ในการเรียนในห้องนี้ Key word คือมิติการมอง ในมุมมองอาจไม่เปรียบเทียบเพราะไม่ได้อ่าน Gary Becker มา สิ่งที่ได้ในวันนี้คือ ถ้าทำวิจัยต้องมองทุกมิติ มิติอะไรได้ให้คิดเลย

          ใช้หลักคือ คิด วิเคราะห์  แยกแยะ ทุกอย่างเป็นปัจจัยเชิงลึกแต่จะสรุปมาเป็น Content ที่ต้องการอย่างไร

สรุปคือมิติการมองสำคัญที่สุด

 

ดร.จีระ  หงส์ดลารมภ์

          อยากให้ทุกคนสังเคราะห์สิ่งเหล่านี้ และเมื่อ Basic ดีแล้วจะเดินไปข้างหน้า Book Review ไปเสริมนวัตกรรมอย่างไร


…………………………………………………………………………………………

วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2560

ครั้งที่ 4  วิจารณ์หนังสือ On Innovation

…………………………………………………………………………………………

บันทึกสาระสำคัญในห้องเรียน

โดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

 

การบ้านวิจารณ์หนังสือ ให้นักศึกษาเเบ่งเป็น 4 กลุ่มค่ะ

กลุ่มที่ 1 เรื่อง The Innovation Catalysts

กลุ่มที่ 2 เรื่อง Innovation : The Classic Traps

กลุ่มที่ 3 เรื่อง The Discipline of Innovation

กลุ่มที่ 4 เรื่อง Is it Real?Can we win? Is it worth doing?

โดยให้นำเสนอวันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน 2560

โดยการให้คะเเนนจะเเบ่งเป็น

1. เนื้อหา

2. วิธีการและรูปเเบบการนำเสนอ

3. ประโยชน์ที่ได้รับเเละนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียน เเละ ห้วข้อวิทยานิพนธ์

โดยวิเคราะห์ตามเเนวทางที่ท่าน อ.จีระ ได้ให้ไว้ค่ะ

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          เลือกหนังสือที่มีคุณภาพและให้เกี่ยวข้องกับงานที่ทำ

นวัตกรรมในการเรียนครั้งนี้เกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์อย่างไร

- Innovative Management

- Innovation

- Innovation Capital

          อย่างไรก็ตามนวัตกรรมคือการทำอะไรที่แตกต่างจากเดิม หรือเรียกได้ว่ามีพฤติกรรมที่หลุดจาก Comfort Zone อาจไม่ได้หมายถึงสร้างอะไรขึ้นมาแต่เป็นการปรับปรุงให้ดีขึ้น

สัปดาห์ที่ 6 จะให้มีการทำสอบ โดยอาจารย์จีระจะออกข้อสอบ 8 ข้อ ทำ 4 ข้อ

 

กลุ่มที่ 1 เรื่อง The Innovation Catalysts

          เปลี่ยนแนวทางสู่ Transformation Organization สู่ Design-driven ,Innovation Intensive

          บริษัท INTUIT ทำ Software มีการนำเครื่องมือการให้คะแนนมาวัดความพอใจของลูกค้า แต่ต่อมาคะแนนเพิ่มขึ้นดี แต่ในระยะเวลาต่อมา ได้มีการลดลง จึงมีเป้าหมาย

1. เพิ่มคะแนนความพึงพอใจลูกค้า

2. เปลี่ยนค่าความพอใจ เป็นให้ลูกค้า Delight

คุณสกอต คุก เจ้าของบริษัทนำเสนอแนวคิด Design for Delight (D4D) ด้วยวิธีการนำเสนอผ่านพาวเวอร์พอยท์ยาว 5 ชม.ให้ผู้จัดการ 300 คนฟัง อเล็กซ์ คาแซค วิทยากรรับเชิญจาก Stanford พรีเซนท์ด้วยพาวเวอร์พอยท์จบใน 10 นาที เวลาที่เหลือเป็นกิจกรรมการออกแบบที่ให้ผู้จัดการ 300 คนมีส่วนร่วมในการนำเสนองาน ได้มีการพูดคุยถึงไอเดีย D4D เปลี่ยนเป็นการลงมือทำ

ทีมเร่งปฏิกิริยานวัตกรรม (Innovation Catalysts)

ช่วงแรกที่ไม่ได้รับแรงกระตุ้นในการนำเสนอ เขากระตุ้นอยากให้บริษัทมีการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมตลอดเวลา

หัวหน้าทีมเร่งปฏิกิริยานวัตกรรมได้แก่ คาเรน แฮนสัน ผู้อำนวยการด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความรู้ความสามารถ  มองหาบุคคลที่จะมาร่วมทีมเร่งปฏิกิริยานวัตกรรม 9 คน โดยหาคนที่มาจากทุกแผนกในองค์กรที่เป็นคนเก่ง มีมุมมองกว้างไกลด้านการออกแบบ มีบุคลิกที่ดี มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ไม่คำนึงถึงตำแหน่ง มีทักษะในการติดต่อสื่อสารกับคน และชอบช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน หลังจากนั้นได้ทำหนังสือเชิญ และดูว่ามีความสำคัญอย่างไรที่มาทำหน้าที่นี้

 คาเรนส่งอีเมล์แสดงความให้เกียรติ ยกย่องให้ความสำคัญเปิดโอกาสให้ตัดสินใจเข้าร่วมทีมโดยความสมัครใจ

ภายใน 4 สัปดาห์

ออกพบลูกค้าเพื่อหาความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า หาปัญหาที่แท้จริง สังเกตพูดคุย นำปัญหามาพัฒนาเป็นต้นแบบ Software เพื่อช่วยในการแก้ปัญหา ทีมเร่งปฏิกิริยานวัตกรรมจะเข้าทำหน้าที่เร่งให้เกิดการสร้างโค้ตและส่งให้ลุกค้ารายแรกลองใช้โดยเร็ว มี Teamwork มากระตุ้น และนำกลับมาให้ลูกค้าทดลองใช้ และปรับเพิ่มประสิทธิภาพ สู่การออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่

วิธีการ

1. การเปลี่ยนแปลงองค์กรให้มีความคิดสร้างสรรค์ต่อเนื่อง มีนวัตกรรมเกิดขึ้นจนเป็น DNA ขององค์กร กลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร มีการขยายทีมโค้ช และให้ความรู้ในระดับถัดออกไปขององค์กร

2. ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีค่าความพึงพอใจในการบอกต่อ (NPS) สูงขึ้น อาทิ Snap Tax , Mobile Barzaar, Turbo Tax

3. ยอดขายเพิ่มขึ้น ภายใน 3 ปี

สรุป นวัตกรรมต้องเกิดจากทุกคนและมีส่วนร่วมในการทำให้เกิดนวัตกรรม

การประยุกต์ใช้

เริ่มจากการตั้งธงก่อนและให้นำทฤษฎี Chira Way มาจับ

1. เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งเรียนและ ทฤษฎี 3 วงกลม วงที่ 3 Motivation

Intuit คัดเลือก Innovation Catalysts ในขั้นแรก > ไม่ดูที่ตำแหน่ง แต่ดูความรู้ความสามารถ บุคลิกดี มีมนุษยสัมพันธ์ ชอบช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน

อีเมล์ - โน้มน้าวให้เช้าร่วมด้วยความสมัครใจและเต็มใจช่วยเหลือ

ชอบทฤษฎี 3 วงกลมมาก เช่น บริบทในการทำงานแต่ละที่แตกต่างกัน

2. ทฤษฎี 2R’s คือเป็นความจริง และตรงประเด็น จะทำให้ได้

ออกไปพบลูกค้าเพื่อทราบปัญหาที่แท้จริงไม่ใช่นั่งในออฟฟิศแล้วคิดเอง

ทำการทดลองเพื่อพัฒนาโซลูชั่นซอฟท์แวร์ที่ช่วยแก้ปัญหาของลูกค้าได้ตรงประเด็นที่สุด เกิด Delightfu Millennials > Snap tax (4.5 star and 80SsNPS

India Farmers> Mobile Barzaar

Inuit’s biggest product> Turbo Taxl ไม่ใช่แค่ Satisfaction

Intuit > องค์กรที่มีกิจกรรมกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมตลอดเวลา

Millennials > Snap tax (4.5 star and 80SsNPS

India Farmers> Mobile Barzaar

Inuit’s biggest product> Turbo Tax

5 K’s - Creativity Capital (ทุนทางความคิดสร้างสรรค์) Innovation Captial

(ทุนทางนวัตกรรม)

8 K’s - Human Capital(ทุนมนุษย์)Talented Capital(ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ)

Intuit ดึงความสามารถของพนักงานในอง์กรมาพัฒนาคนในองค์กรด้วยกันจนสามารถ Transform องค์กรให้เป็น Design-driven, Innovation Intensive Organization

มีพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เป็นที่ต้องการของตลาด สร้างรายได้ การเติบโต และเพิ่มคะแนน NPS ภายใน 3 ปี

ประโยชน์ที่ได้รับ และนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียน และหัวข้อวิทยานิพนธ์

1. เข้าใจถึงการศึกษาถึงปัญหาที่แท้จริง

  • มีผลต่อการประยุกต์ นำไปใช้ในการหาข้อมูลการทำวิจัยวิทยานิพนธ์
  • ไม่หลงประเด็นปัญหา

2.  ปรับแนวคิดไปใช้กับการทำงานจริง

  • การกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมสร้างนวัตกรรม
  • นำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ความรู้ใหม่

3.  เห็นถึงความสำคัญของทฤษฎีต่างๆ ของ Chira Way

  • 8K’s และ 5K’s
  • 2R’s
  • ทฤษฎี 3 วงกลม

ดร.จีระ เสริมว่า บางครั้งคนเป็น Innovator อาจนำเสนอไม่เก่งต้องหาทีมเวอร์กเข้ามา

1. ต้องหา Idea ใหม่ ๆ

2. Turn idea into action หาคนรับฟัง คนสนับสนุน และหาคนมาช่วยนำไปสู่การปฏิบัติ

3. ทำแล้วต้องสำเร็จ

Innovation จะไม่ล้มเหลวก็เกิดจากการสนับสนุนของ Customer

มีการพูดถึงความคิดใหม่ ๆ เสมอ 3 V’s

- ลองดูว่ามีตัวใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างไร

- ตัวละครที่สำคัญมีอะไรบ้าง

- ดึงเอาความเป็นเลิศออกมา

- นวัตกรรมต้องชัด วิเคราะห์ทฤษฎี มีหลักการที่ดี มีเสาเข็มก่อน คิดเป็นระบบก่อน ค่อยทำ Furniture

ดร.จีระ เสนอว่า ถ้ามีโปรเจคเชิงนวัตกรรม เส้นทางนวัตกรรมคืออะไร และจะสำเร็จหรือไม่ ความสำเร็จไม่ได้อยู่ที่ตัวละครแบบเดิม แต่ความสำเร็จอยู่ที่ทีมเวอร์กที่มีความหลากหลาย เพราะนวัตกรรมไม่ขึ้นกับ CEO คนเดียว ดังนั้นถ้ามีโอกาสให้คุยกันเป็นนวัตกรรมที่บริษัทหรือเป็นนวัตกรรมใหม่ก็ได้ ต้องหาตัวละครที่หลากหลาย และไม่ต้องเก่งเหมือนกัน

การเริ่มต้น มีอุปสรรค ถ้ามีตัวละครไปช่วยได้จะดีมาก และทำให้เกิดความสำเร็จ

ทุนมนุษย์เป็น Independent Variable นวัตกรรมเป็น Dependent Variable

กลุ่มที่ 2 ร่วมแสดงความคิดเห็น

          ทำให้เรารู้ว่าอย่ามองแค่องค์กรเดียวกัน

          มุมมอง Customer Delight ได้ใจมากกว่าเพราะเป็นความพึงใจที่สามารถนำไปบอกต่อ และดีกว่าแค่ Customer Satisfaction ที่เป็นแค่ตัวเลข

ดร.จีระ เสริมว่า อย่าง Stakeholder ของสวนสุนันทาอาจเป็นที่อื่นด้วย เช่น ต่างประเทศ

เสนอวิทยานิพนธ์ที่ยิ่งใหญ่คือ Working Style ของคนไทย การทำงานยุคต่อไปของคนไทยในบาง Sector จะทำงานแบบไหนที่ให้เกิด  Outcome สูง ๆ

กลุ่มที่ 2 เรื่อง Innovation : The Classic Traps

          เขียนโดย Rosabeth Moss Kanter

คลื่นลูกที่ 1 Information Technology ที่พยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตัวเองจนเกิด TQM

คลื่นลูกที่ 2 Restructure

คลื่นลูกที่ 3 Digital Mania

คลื่นลูกที่ 4 Innovation ที่แต่ละองค์กรพยายามหาจุดที่แตกต่างจากเดิม แตกต่างจากคู่แข่ง เอาเรื่องของโลกมาแชร์กัน องค์กรต่าง ๆ เริ่มนำ Profit มาตอบแทนสังคมมากขึ้น

กับดัก

1. กับดักเชิงกลยุทธ์ - ผู้บริหารในองค์กรมองการเข้ามาในองค์กรเป็นโอกาสที่เล็ก

2. กับดักกระบวนการ - บริษัทเน้นออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ แต่ลืมช่องทางบริการใหม่ ๆ

3. กับดักโครงสร้าง - บริษัทเดียวออกผลิตภัณฑ์ยิบย่อยมากทำให้ผู้บริโภคสับสน

1. กับดักกลยุทธ์

          ยกตัวอย่าง P&G ปล่อยปละละเลยโอกาสที่เข้ามา เช่นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำ คู่แข่งจำหน่ายก่อนทำให้สูญเสีย Market Share ไป หลังจากนั้นจึงได้พัฒนาโดยสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมา

          1. การพัฒนาบุคลากร

          2. เน้นให้องค์กรมี Innovation ปลูกฝังพนักงาน ผู้ผลิต สร้างระบบขึ้นมา เป็น ระบบ Connection Innovation Network  ผู้บริโภคสามารถสื่อสารได้ว่าอยากได้อะไร แล้วสามารถผลิตได้สอดคล้องกับผู้บริโภคได้ เป็นสิ่งที่ตรงประเด็น

2. กับดักกระบวนการ

          ปัญหาเรื่องการวางแผนที่มีขอบเขตจำกัดขาดความยืดหยุ่น และเรื่องการจัดการ เรื่องกระบวนการถ้านวัตกรรมใหม่

          ยกตัวอย่างบริษัทที่ทำเรื่องอินเตอร์เน็ตที่ทำงานนวัตกรรม แต่ยึดติดกับสิ่งเก่าในเรื่องแผนงาน กระบวนการควบคุมที่มีกรอบ เพราะนวัตกรรมจะเกิดได้ต้องอยู่นอกกรอบก่อน

          บริษัท BBC เมื่อปี 1990 ประสบวิกฤติ ยอดผู้ชมหายไปมาก อะไรก็ตามอยู่ในกรอบของรัฐบาลนวัตกรรมใหม่ ๆ ก็เกิดยาก จึงได้มีการปรับเปลี่ยนผู้บริหาร เปลี่ยนคน พัฒนาคน ก็สามารถเรียกลูกค้าที่หายไปกลับมาได้ มีพนักงานเพิ่มขึ้น และมีผลประกอบการเพิ่มขึ้น เกิดจากการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ให้ประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ

3. กับดักโครงสร้าง

          ขาดการเชื่อมโยงกัน ยกตัวอย่างในส่วนรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานฝ่ายการตลาดกับฝ่ายเทคนิค ไม่สอดคล้องกัน การออกแบบผลิตภัณฑ์ไม่ตรงกับเป้าหมายและพื้นที่ที่ต้องการจึงเกิดความล้มเหลว

          การแบ่งโครงสร้างธุรกิจเดิมกับนวัตกรรมใหม่

          ยกตัวอย่าง AT&T บริษัทยักษ์ใหญ่ในอเมริกา ได้ขยายไปที่อังกฤษ ปัญหาคือกลุ่มพื้นฐานเดิม เครือข่ายอินเตอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ ขาดการเชื่อมโยงกัน

          ธุรกิจในไทยสามารถหารายได้ผ่านทางเฟซบุ๊กส์และมีโฆษณาที่เหนือกว่าเฟซบุ๊กซ์ที่สร้างรายได้เพิ่มวันละผ่านทาง

          ดร.จีระ เสริมว่าสิ่งนี้เป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในหลายองค์กร รุ่น 15 นี้ต้องสร้าง Wealth สร้างคุณค่าในองค์กร แต่ละคนต้องมีพื้นที่ สื่อของตัวเองในการพูดให้เขาฟังด้วย

4. กับดักทาง Skill Mistakes

          Leadership too weak, Communication too poor.

          ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นคือองค์กรส่วนใหญ่เลือกผู้นำที่เก่ง Technician มาเป็นผู้นำแต่ทำให้การสื่อสารแย่ การทำงานเป็นทีมมีความร่วมมือกัน นักวิจัยบอกว่าต้องพูดคุยกันอย่างน้อย 2 ปี

          Timberland ได้มีการก่อตั้งหน่วยงานพัฒนา แต่ที่ล้มเหลวในการพูดคุยกับทีมขาย ทีมขายไม่ยอมรับเพราะขาดการมีส่วนร่วม จึงปฏิเสธแทน

          บริษัท Seagate ได้ทำการวิจัยที่แต่ละศูนย์ต่างคนต่างทำ ไม่มีการแชร์ ไม่มีการพูดคุย ทำให้นวัตกรรมไม่เกิด เมื่อนวัตกรรมไม่เกิด ยอดขายตก และสูญเสีย Market share ดังนั้น CEO จึงตั้งทีมใหม่โดยให้มีความหลากหลาย  ผู้นำต้องมีทักษะทางด้าน Leadership ที่ดีเพื่อให้เกิดการประสานงาน

          ดร.จีระ เสริมว่า เรื่อง Human capital กับ Communication ในอนาคตจะมีความสำคัญมากที่สุด ดังนั้น Verbal และ Nonverbal จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ

          Peter Drucker กล่าวว่า Culture สามารถเอาชนะ Strategy ได้ตลอดเวลา

          ดร.จีระ ยกตัวอย่างให้วิทยานิพนธ์ทำเรื่องความหลากหลายให้เกิด Harmony มากกว่า Conflict   ได้ยกตัวอย่างทำตัวละครประกอบด้วย ราชการ นักวิชาการ ผู้นำธุรกิจ และชุมชน ส่วนในสังคมไทยเป็นลักษณะสังคมแบบ Hierarchy

วิจารณ์หนังสือเพิ่มไปเชื่อมโยงกับ Human Capital นวัตกรรมต้องเกิดขึ้นด้วยการสร้างคุณภาพของคน

Lesson of Innovation

          - Structure Mistake เราไม่ควรพัฒนาผลิตภัณฑ์แค่บางส่วน เพราะผลิตภัณฑ์เกิดขึ้นได้หลายช่องทาง ไม่จำเป็นต้องสร้างใหม่เสมอไป และต้องใช้หลักปิรามิดมาช่วยด้วย  วิธีการแก้ไขคือการค้นหาข้อมูล ขยายขอบเขต

          - Process Mistake เรื่องการควบคุมที่เข้มงวดเรื่องระบบทำให้เกิดนวัตกรรมยาก การแก้ไขให้เพิ่มความยืดหยุ่นในการวางแผน การวางระบบ อาจเพิ่มแผนใหม่

          - Structure Mistake องค์กรควรกระชับความสัมพันธ์ เรียนรู้แต่ละหน่วยงาน ไม่ให้ความสำคัญกับหน่วยใดหน่วยหนึ่ง มีการสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน

          - Skill Mistake ผู้นำอ่อนแอเกินไปทำให้การสื่อสารไม่ชัดเจน ต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ทีมงานมีการทำงานร่วมกัน งานสำเร็จได้หรือเกิดใหม่ต้องอาศัยทีมเวอร์ก เลือกผู้นำที่มีมนุษย์สัมพันธ์ ติดต่อสื่อสาร สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และรับฟังความคิดเห็นผู้อื่นด้วย

          สรุปคือ มองความจริงและตรงประเด็น เพื่อสร้างให้เป็น Innovation ที่แท้จริง

กลุ่มที่ 3 ร่วมแสดงความคิดเห็น

          การเกิดนวัตกรรมไม่ได้เกิดจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ต้องเกิดจากทุกคนทั้งองค์กร ทั้งระดังบนและล่าง และมี Focus ปรับปรุงคิดค้นนวัตกรรมใหม่

 

กลุ่มที่ 3 เรื่อง The Discipline of Innovation

          ศาสตร์ของนวัตกรรม ไม่ใช่อยู่ดี ๆ เกิดจากเรื่องใหญ่ แต่เกิดจากเรื่องเล็ก ๆ และหลายครั้งเกิดจากความล้มเหลว

ศาสตร์ของนวัตกรรม

          1. เหตุการณ์ที่คิดไม่ถึง

          2. Gap / Incongruities

          3. กระบวนการ

          4. อุตสาหกรรมและตลาดเปลี่ยน

          5. สภาพพื้นที่เปลี่ยน / ประชากร

          6. การมีมุมมองเปลี่ยนไป

          7. ความรู้ใหม่ /การศึกษา

1. เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด

          ยกตัวอย่าง IBM ,Ford Edsel, Novocaine, Post-it, Viagra

          ฟอร์ด และ GM – การพัฒนาฟอร์ดมาสแตงเพื่อมาแข่งหลังจากที่ไม่ประสบความสำเร็จ

          IBM เริ่มจากความล้มเหลวที่จะทำคอมพิวเตอร์ขายธนาคาร แต่ธนาคารไม่อยากซื้อคอมพิวเตอร์ จึงหาตลาดเพื่อขายและขายให้ห้องสมุดของรัฐบาล ขายได้มากกว่า 100 เครื่อง เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากความล้มเหลว

          Post-it เกิดจากทำกาวผิดพลาดที่ไม่ติดทนนาน

2. Incongruities / Gap

          ยกตัวอย่าง Alcon Laboratories , Minimills, The Roll-on and Roll-off Ship/ Container Ship , ธนาคารในห้าง , ปั๊มน้ำมัน JET

3. Process Needs

          ยกตัวอย่าง Linotype แต่ก่อนพิมพ์หนังสือพิมพ์ได้รวดเร็ว , The New York Times, The New York World , MK Suki, One-stop Service

          การขับรถยนต์ที่อเมริกาเป็น Free way และ High way มาก มีการป้องกันเรื่องคนหลับในและเปลี่ยนเลนส์

4. Industry and Market Changes – Structure Change

          อุตสาหกรรมกับตลาดการเปลี่ยนแปลง

          ยกตัวอย่าง Nokia , Kodak, AT&T, JP Morgan, Brokerage Film

5. Demographic Changes – Market Segmentation

          การเปลี่ยนแปลงของประชากร – ประชากรเยอะคนมีการศึกษาดีขึ้น  มีแนวคิดเรื่อง Robot และ Club Med คือธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ทครบวงจร ในลักษณะครอบครัว ทุกคนไปรู้สึกมีกิจกรรมร่วม

6. Changes in Perception – Mood, Meaning

          คนเริ่มใส่ใจเรื่องความคิด เรื่องสุขภาพมากขึ้น ที่อเมริกาคิดค้น เรื่อง Indoor Gym และเรื่องคอมพิวเตอร์ ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทำเรื่องจ่ายภาษีอย่างไร

          ยกตัวอย่าง อ้วนดีกว่าผอม , Health Magazine, สถานออกกำลังกาย, Fastfood , Whole foods Market

7. New Knowledge

          - ความรู้ใหม่ ๆ สมัยก่อนยังไม่แพร่หลายส่วนใหญ่เกิดด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

- มีการผสมผสานองค์ความรู้ระหว่างกัน อย่างเช่น ระหว่างคนอังกฤษและเยอรมันออกมาเป็น ยกตัวอย่าง

- Long Lead Time

- High Risk

- คอมพิวเตอร์

- รถไฟฟ้า

- โทรศัพท์มือถือ

- Solar Cell

- ATM

- J.P. Morgan

- Venture Capital

- Citi Bank

- SCB Bank

          สรุป นวัตกรรมไม่ได้เกิดมาจากเรื่องใหญ่ แต่เกิดจากเรื่องเล็กที่สำคัญคือกัดไม่ปล่อย ให้คิดเป็นระบบ มองความจริง อย่าคิดคนเดียว มองภายในและภายนอกและนำหลายอย่างรวมกันทั้งหมด

หลักคิดสำหรับคนที่จะทำเรื่อง“นวัตกรรม”

1. ควรคิดเป็นระบบ มองสภาพความจริงที่แวดล้อม (Reality) โยงเข้าหาสิ่งที่เรามี หรือ เป็นอยู่(Relevance) มองหาโอกาสจากภายนอก ชอบเรียนรู้ ช่างคิด อยากรู้อยากเห็น

2. ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องใหญ่ เริ่มจากเรื่องเล็กก็ได้ ไม่ต้องคิดอะไรยิ่งใหญ่ที่จะเปลี่ยนโลก

3. เมื่อมีจินตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์แล้ว จะต้องแน่วแน่ในสิ่งที่จะทำ (Focus) และเหนียวแน่นทำให้สำเร็จ (Hardwork andCommitment)

นวัตกรรมเกิดขึ้นได้อย่างไร

1. Innovation เกิดจากมีความคิด มีสมอง ต้องเปิดโอกาสให้คนคิดใหม่ ๆ และรับฟังความคิดเห็นนั้น และเชื่อมโยงกับ 2R’s ว่าเกี่ยวข้องกับปัจจุบันและหลักความจริงเป็นอย่างไร ญี่ปุ่นมี 3 จริง คือ

1. ดูสถานที่จริง เช่น ถ้าออกรถโมเดลหนึ่งตอบสนองสถานการณ์ปัจจุบันจะตอบสนองอย่างไร เช่นที่จอดรถ นำคนไปอยู่ในชุมชน และดูรถที่มาจอดรถใหญ่เกิดปัญหาอะไร รถเล็กเป็นอย่างไร

          2. คนเราเวลาคิดแล้วมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงใน Moment นั้น

          3. ดูจากความผิดพลาด ใช้ผลการทดลองที่ผิดพลาดเปลี่ยนเป็นโอกาส เช่น Post-it เอากระดาษที่เขียนติดแล้วมาดึงออก เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส

          สรุป  2R’s ใช้ได้มาก เพราะต้องสอดคล้องด้วย

2. นำ Idea ไปปฏิบัติ

3. ปฏิบัติแล้วต้องสำเร็จ ถ้าไม่สำเร็จให้กลับไปคิดและทำใหม่จนเกิด Innovation

          สุดท้าย การแก้ปัญหาอยู่ทุนมนุษย์ ดังนั้นเราต้องพัฒนาทุนมนุษย์เพราะเป็นหัวใจสำคัญขององค์กร 8K’s 5K’s ใช้ได้ผลมาก ๆ

          ดร.จีระ เสริมเรื่องความเป็นมาของคนที่คิดรอบคอบ มีพื้นฐานที่ดี ต้องนำไปต่อยอดในการทำวิทยานิพนธ์และดำเนินชีวิตต่อไป ของฟรีไม่จำเป็นต้องใช้ทุกอย่าง

          อะไรก็ตามที่คาดไม่ถึงก็อาจเกิดขึ้นได้

กลุ่มที่ 4 ร่วมแสดงความคิดเห็น

          เป็นการมองให้ครบองค์

 

กลุ่มที่ 4 เรื่อง Is it Real?Can we win? Is it worth doing?

          นวัตกรรมมีจุดบกพร่องตรงไหนในการทำ ทำได้ง่าย ตอบโจทย์ขององค์กร และนวัตกรรมที่ทำให้เกิด Impact จริงเป็นนวัตกรรมที่มีความเสี่ยง และพบว่าการสร้างให้เกิด Big Impact และต่อยอดได้ จะก่อให้เกิดปัญหา

          Big I มี Impact ที่เยอะกว่า อุปสรรคคือ องค์กรจะรู้สึกเสี่ยงว่าจะทำได้จริงหรือไม่ และจะขายใคร

คำถามคือทำอย่างไรให้ดำเนิน Big I ให้สำเร็จและไม่เสี่ยงมากเกินไป

1. เครื่องมือ

2. มีคำถามประเมินโครงการ/ ความเสี่ยง ก่อนเริ่มจริง ๆ

          ใส่วงกลมในการประเมินโครงการ แต่ละแห่งแสดงถึงความยากง่ายของงานในการประเมินฝั่งลูกค้าและการตลาด วงใหญ่รายรับเยอะ วงเล็กรายรับน้อย

          ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจในกลยุทธ์องค์กร ต้องสามารถผลักดันให้ได้ คิดได้ต้องทำได้ด้วย

          สิ่งที่พบคือ คนไม่ชอบเสี่ยง ชอบอะไรง่าย ๆ จับต้องได้ ผู้บริหารต้องทำการเลือกว่าสัดส่วนเป็นอย่างไร

          การวิเคราะห์ทางการเงินต่าง ๆ ทำให้ Big I ยากจึงทำให้มองว่า Little I ง่ายกว่าในการรักษาสมดุล

RWW Screening

          เป็นคำถามสำคัญในการคัดกรองการทำงานโครงการนวัตกรรม ประกอบด้วย

1. Real? เป็นการทดลองความจริง ตลาดนั้นจริงหรือไม่ สินค้าสามารถขายได้หรือไม่

2. Win? สินค้านั้นแข่งขันได้หรือไม่ บริษัทนั้นสามารถแข่งขันได้หรือไม่

3. Worth it ? สินค้านั้นสามารถกำไรด้วยความเสี่ยงที่รับได้หรือไม่ และการจำหน่ายสินค้านั้นตรงตามกลยุทธ์องค์กรหรือไม่

1. Is it Real?

          การพัฒนาของโครงการ การเปลี่ยนแปลงด้านตลาดที่อ่อนไหวง่าย ทำให้เกิดความล้มเหลวจากเทคโนโลยี

          Big I เป็นตลาดส่วนใหญ่ที่ไม่คุ้นเคย ส่วน Little I เป็นตลาดที่มีอยู่เดิม

ตลาดนั้นมีจริงหรือไม่

โอกาสทางการตลาดจะเกิดขึ้นได้ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ดังนี้

1) สินค้าแก้ไขปัญหาดีกว่าตัวอื่นหรือไม่ โดยทีมวิจัยต้องทำการวิจัยพฤติกรรมลูกค้า , ความต้องการ , แรงจูงใจ และสิ่งที่รบกวนจิตใจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าของเรา

2) ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าได้หรือไม่ งบประมาณเป็นอุปสรรคหรือไม่ เราจะเพิ่มราคาอย่างไรให้ลูกค้ารู้สึกว่าคุ้มค่ากับราคา  ลูกค้าไม่สามารถเปลี่ยนมาใช้สินค้าเราเพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายบางอย่างเพิ่มหรือไม่

3)  ขนาดของตลาดที่เราเข้าไปนั้นตลาดใหญ่พอลงทุนหรือไม่

4)  ลูกค้าต้องการซื้อสินค้าเราหรือไม่ ลูกค้าจะเปรียบเทียบสินค้าเรากับสินค้าอื่นว่าใครมีคุณค่าที่ดีกว่ากัน เรามีคุณค่าใดที่จะทำให้สินค้าของเรามีคุณค่าเหนือกว่าคู่แข่งจนมาซื้อของเรา

2. สินค้าสามารถขายได้จริงหรือไม่

1) ถ้า Concept ชัดเจน ตัวสินค้าจะเกิดได้ดีกว่า  แล้วจะรู้ว่า

2) ตัวสินค้าผลิตได้จริงหรือไม เทคโนโลยีสามารถใช้กับตัวใหม่ได้หรือไม่ และจะต้องซื้อเทคโนโลยีหรือไม่

3) สินค้าตอบโจทย์ลูกค้า /ตลาดหรือไม่

Can we win ?

          - เราสามารถชนะได้หรือไม่

          - สินค้าเราได้เปรียบลูกค้าหรือไม่ ในการลงทุนมีคู่แข่งมากหรือไม่  การลงทุน

3. สินค้าเราแข่งขันได้หรือไม่

          - ข้อได้เปรียบต้องป้องกันไม่ให้คู่แข่งมาลอกเลียนแบบสินค้า เช่นนำสิทธิบัตรมาป้องกันการลอกเลียนแบบ

          - ตรวจสอบคู่แข่ง คู่แข่งสามารถนำเทคโนโลยีไปลอกเลียนแบบได้หรือไม่ ด้านทรัพยากรบุคคลในโครงการ ทำอย่างไรให้คนอยู่กับเราได้นาน ป้องกันการสมองไหล ป้องกันการผูกขาดกับ Supplier ไม่เอา Material ไปขายกับคู่แข่งป้องกันการลอกเลียนแบบ

          - คู่แข่งสามารถตอบสนองกับสินค้าได้อย่างไร สร้าง Red Team เพื่อตอบสนองในมุมมองคู่แข่ง คือคิดว่าถ้าเราเป็นคู่แข่งจะโจมตีสินค้าเราได้อย่างไร จุดอ่อนที่พบคืออะไร จะลดจุดอ่อนตรงนี้ได้อย่างไร และต้องคิดอยู่เสมอว่าคู่แข่งไม่ได้อยู่เฉย ๆ เราต้องประเมินว่าสินค้าคู่แข่งมีลักษณะอย่างไรและจะตอบสนองกลับอย่างไร

บริษัทสามารถแข่งขันได้หรือไม่

          ทรัพยากร การบริหารจัดการ และการเข้าใจตลาดแค่ไหน เราต้องดูว่ามีทรัพยากรเหนือกว่าคู่แข่งหรือไม่ เราจะทำอย่างไรให้ลดจุดอ่อนเพื่อไปแข่งขันได้

          สรุปคือเป็นขั้นตอนในการประเมินโครงการ ในแง่การตลาด มีการดูนโยบาย และสอดคล้องกับความต้องการของบริษัทหรือไม่ และมาดูเรื่องเงิน ผู้บริหารต้องมาดูว่าการเงินตอบโจทย์หรือไม่ และต้องเอาใจผู้บริหารว่า การเชียร์โครงการฯ ควรมีโครงการฯ นี้อยู่หรือไม่

          ผู้บริหารต้อง Concern เรื่องการลงทุน ต้นทุนการผลิต กำไร และ Net Present value ยกตัวอย่างKonika ไม่ได้ Concern เรื่องความเสี่ยง ผู้บริหารหลายคนมองในมุมเข้าข้างตัวเอง ทำให้เกิดการมโน  หรือบริษัทสิงห์ได้เพิ่มช่องทางมากขึ้น ทั้งอสังหาริมทรัพย์ และได้ Take over Pepsi เป็น Chanel ทางการตลาด

          ดร.จีระ เสริมว่า การตลาดควรศึกษาถึงกลุ่มผู้สูงอายุและ Millennium เทรนด์ของ Social Media หรือ Online เป็นคนรุ่นใหม่

          การทำ Innovation ควรคิด Big Brand ที่เป็น Big I และดูการตลาดเป็นหลัก

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          สิ่งนี้เป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ที่เชื่อว่า Learn – Share – Care น่าสนใจ ทำไมต้องเลือกหนังสือเรื่อง Innovation ยกตัวอย่างเรื่องกับดักที่ MIT ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปีในการทำงานร่วมกัน การอ่านหนังสือบางครั้งอาจไม่ต้องเชื่อทั้งหมด สิ่งที่อาจารย์จีระปลูกฝังเราใช่หรือไม่ สิ่งนี้คือคำถาม หนังสือไม่จำเป็นต้องเชื่อทุกเรื่อง แต่อาจไม่ต้องต่อต้าน ถ้าเรามี Process ใหม่ ๆ จะเข้าใจอะไรมากขึ้น

          ผู้นำต้องเกิดพลังในการกระตุ้นในองค์กรได้

          นวัตกรรมต้องตอบโจทย์เศรษฐกิจและสังคมได้ด้วย ต้องมีการเชื่อมรัฐ ชุมชน/ประชาชน วิขาการ และเอกชน

          ต้องศึกษากลุ่มอื่นด้วย แล้วให้เอาหัวข้อใครก็ได้เป็นกรณีศึกษา แล้วจับไปให้ได้ นำตรงนี้อยู่ในสายเลือดจะได้เข้าใจนวัตกรรม

          ทุกอย่างให้กลับไปใช้ แล้วจะได้วลี สำนวน และภาษาไปใช้ได้

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ให้ศึกษานวัตกรรมก่อนว่ามีมุมมองอย่างไร นวัตกรรมต้องมี Demand side เราเรียน Ph.D. ต้องนึกถึงประเทศอย่านึกถึงตัวเราอย่างเดียว ในยุคต่อไปต้องคิดทำวิจัยร่วมกัน แต่ต้องเป็นวิจัยที่ดี จบแล้วมีมูลค่า หัวข้อต้องเกิดในหลักสูตร 3 อันมากกว่าหลักสูตรอื่น 

          โจทย์คือ Hypothesis

          ภาวะผู้นำ Relate อะไรกับ Human capital และนวัตกรรม ด้วย


…………………………………………………………………………………………

วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ครั้งที่ 5  Sustainable Capital

…………………………………………………………………………………………

บันทึกสาระสำคัญในห้องเรียน

โดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

 

หลักสูตรนี้สำคัญที่สุดคือ Human capital

- ถ้ามี Habit อะไรไปสู่นวัตกรรมเรียกว่า Innovation Capital

- Innovation & Innovative Capital เป็นทั้งเป้าหมายและพฤติกรรม

1. ดร.จีระ คิดนวัตกรรมอย่างไร

          เช่น ทำไมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ขึ้นมา

ปริญญาเอกในห้องนี้คือ เรียน  เข้าใจ และ Deep Impact

2. การตั้งโจทย์ในการทำวิทยานิพนธ์ในอนาคตต้องดูให้ดีว่าจะสร้างให้เกิดนวัตกรรม หรือ ทำให้เกิด Impact ได้อย่างไร

          - Quality สำคัญกว่า Quantity

          - เน้นปลูก เก็บเกี่ยว  และ Execution แต่ที่สำคัญคือเราจะสร้าง Brand ให้คนรู้จักได้อย่างไร

Brand เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

1. เกิดจากการทุ่มเทในสิ่งที่ทำ

2. การเห็นคุณค่าในสิ่งที่ทำ

          ยกตัวอย่าง ผู้อำนวยการสถาบันในประเทศไทยต้องทำ Project Based

ทำไมเราต้องศึกษาภาวะผู้นำในบริบท Human Capital?

          - เราเห็นคุณค่าของ Leadership เพราะอะไร ?

          - ในชีวิตจริงต้องหาความรู้อีกมากมาย แต่ต้องมีหลักที่ดี อย่างวิธีการของอาจารย์จีระ ต้องแตกต่างจากคนอื่น

หลักสูตรนี้เกี่ยวข้องกับตัวแปร 2 ตัว

1. Independent Variable (ตัวแปรอิสระ)ได้แก่ทุนมนุษย์ มีปลูก เก็บเกี่ยว และนำไปใช้ (Execution)

2. Dependent Variable (ตัวแปรตาม) คือ Innovation

Innovation ประกอบด้วย

1. จุดเริ่มต้นที่เป็นแรงกดดัน (Disruption)  ที่เกิดจากการมีอะไรมากระตุ้นหรือกระแทกเรา (Sense of Urgency)

          - ตัวเร่งทำให้เกิด Innovation คืออะไร

          ยกตัวอย่าง เช่น

- แรงกดดันของ GE เริ่มต้นจากธุรกิจที่แข่งกับญี่ปุ่นไม่ได้  ได้คิดว่าถ้าทำธุรกิจเที่ยวบิน พลังงาน จะส่งออกอย่างเดียว หรือสร้างลูกค้าเป็น Alliance จึงเน้นในการสร้างคนอย่างต่อเนื่อง

          - แรงกดดันของโมเดลประเทศไทย 4.0 คือ ประเทศไทยไม่หลุดจากกับดักรายได้ปานกลาง อุตสาหกรรมที่เจริญในอดีตมีอันไหนบ้างที่เป็นของเราจริง ๆ

ดังนั้นนวัตกรรมต้อง 1. ทำอะไรที่ใหม่  2. แตกต่าง 3. ทำการบ้าน ต้องรู้ว่า Body of Knowledge อยู่ที่ไหน

2. Turn idea into action / Get things done

          แรงกดดันเกิดกับบางคนไม่เกิดกับบางคน

          ถ้าเป็นวิทยานิพนธ์ ดร.จีระเสนอว่า มีบริษัทไหนบ้างที่มีไอเดียดี ๆ แต่ไม่ได้รับการยอมรับ กฎระเบียบทำลายความสามารถของนวัตกรรมอย่างสิ้นเชิง

3. Get things done successfully

 

ทำไม Leadership ถึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ

1. ผู้นำต้องแก้วิกฤติให้ได้ เมื่อมีอุปสรรคผู้นำต้องเป็นคนแก้

2. ทุนมนุษย์ + Leadership ทำให้นวัตกรรมไปสู่ความสำเร็จได้

          2R’s – ความจริง และเลือกประเด็นที่แหลมคม

ดร.จีระ เสนอว่า

1. ให้ นศ. คิดให้ดีว่า Human Capital มีบทบาทสำหรับนวัตกรรมอย่างไร

2. HR Architecture รุ่นที่ 15 น่าจะไปคิดต่อ

          3. การเก็บเกี่ยวในยุคต่อไปต้อง + + ถึงจะรอด

          4. 8K’s + 5K’s คือสิ่งที่เป็นรากฐานของห้องนี้ ยกตัวอย่าง แยก Happy at work (ปลูก)กับ Happy Workplace (เก็บเกี่ยว) ถ้าทั้ง 2 ตัวเป็นบวกทั้งคู่จะเป็นเลิศ

 

การวิจารณ์หนังสือครั้งที่ 2 เรื่อง HBR’s 10 Must reads On Leadership หลังจากนั้นจะเชิญไปที่บ้านอาจารย์ และร้านหนังสือด้วย

          การวิจารณ์หนังสือ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม วิจารณ์หนังสือในสัปดาห์ที่ 8 และอาจจะสอบในสัปดาห์ที่ 7       เน้น Colorful และมีประเด็นในการนำเสนอ

          กลุ่มที่ 4 : Crucibles of Leadership หน้า 97

          กลุ่มที่ 1 : Level 5 Leadership : The Triumph of Humility and Fierce Resolve

หน้า 115

          กลุ่มที่ 2 : Seven Transformations of Leadership หน้า 137

          กลุ่มที่ 3 : Discovering Your Authentic Leadership หน้า 163

 

การร่วมแสดงความคิดเห็น : การอ่านหนังสือครั้งนี้ในภาพรวมได้ประโยชน์อะไรบ้าง

1. ภาพรวม คือ ดร.จีระเลือกหัวข้อในการเชื่อมโยงทุนมนุษย์ เช่นในกลุ่มเรื่องการวิเคราะห์จุดอ่อน หรือกับดักต่าง ๆ หรือ Customer Delight ในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่ได้เป็นเฉพาะสิ่งที่เราเห็นอยู่ แต่ได้เป็นการเปิดมุมมองในจุดอื่น ๆ ด้วย

          ทีมมีการเติมเต็มในจุดแข็งซึ่งกันและกัน เช่น การแปล การทำ PowerPoint การทำ Presentation ทำให้เป็นการเติมเต็มจากความหลากหลาย Diversity สิ่งที่ตกตะกอนได้เกิดจากการมา Discuss คือเกิดจากความขัดแย้งกันแล้วมา Discuss แล้วทำให้ Result จะได้สิ่งที่ตรงประเด็น สามารถนำมาประยุกต์และ Apply ได้

          ดร.จีระ เสริมว่า การวิจารณ์หนังสือที่ผ่านมาได้ผลมาก และเห็นว่าแต่ละกลุ่มรอดได้ การเรียนยุคนี้เป็นการ Complete ของ Chira Way ต้องมีการเสียก่อนถึงได้ คือเรียนแล้วมีความสุขและได้ประโยชน์

          ให้โยงสิ่งที่อ่านไป Human Capital กับ Innovation

 

2. การมององค์รวม มีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกองค์กร ที่มาเชื่อมโยงกับของอาจารย์ การสร้างนวัตกรรมไม่ได้เกิดจากแผนกเดียว

          ดร.จีระ เสริมว่า การอ่านหนังสือทำให้มีมุมมองที่กว้างขึ้น HR Architecture เป็นการมองที่มีพลังที่เราต้องคำนึงถึงการแก้ปัญหาความอ่อนแอของโลกเราด้วย

          เมืองไทยต้องปฏิรูประบบและคนพร้อมกัน คนดีเป็น Minority  ต้องไปต่อสู้กับ Majority ให้ได้

 

3. เห็นด้วยกับแนวทางพัฒนาทุนมนุษย์ และจะนำความรู้ทฤษฎีทุนมนุษย์ของอาจารย์จีระและแนวคิดไปแลกเปลี่ยนและแบ่งปันกับคนในจีน

 

4. Innovation มีความสำคัญ ที่แต่ละกลุ่มได้เรียนรู้จากในกลุ่มและได้เรียนรู้จากกลุ่มอื่นด้วย ในหนังสือชี้ให้เห็นความสำคัญของนวัตกรรม ชี้ให้เห็นความผิดพลาด และจะพัฒนาอย่างไร ที่จะประยุกต์แนวทางไปสู่การพัฒนานวัตกรรมที่เหมาะสมและสร้างให้สังคมเป็นสุขได้

          ดร.จีระ เสริมว่าสิ่งที่ได้คือการฟังจากคนอื่นและได้มีการ Comment ด้วย เราต้องกลับไปทบทวนว่าการอ่านหนังสือครั้งนี้มีประเด็นอะไรสำคัญบ้างที่นำไปเสริมนวัตกรรมแนว Chira Way เราต้องคิดแตกต่าง มีความคิดสร้างสรรค์ คิดใหม่ทำใหม่ และถ้าเราไม่เปลี่ยนระบบการศึกษาและลูกยังเรียนพิเศษอยู่ ทั้ง ๆ ที่เป็นแค่การเก็งข้อสอบเพื่อสอบเข้าสอบออก แต่ถ้าจะให้ลูกเก่งและเป็นเลิศต้องให้ลูกมีอิสระในการทำสิ่งต่างๆ

          หลักสูตรนี้มีปัจจัย 2 ตัวหลัก ๆ คือ

          1. ทุนมนุษย์ประกอบด้วย ปลูก เก็บเกี่ยว และ Execution ซึ่งถ้าใช้ให้ถูกจะมีโอกาสวิ่งไปสู่นวัตกรรม แต่นวัตกรรมไม่ใช่การมีห้อง Lab มาก ๆ

 

5. การพัฒนาและทำงานเป็นกลุ่ม ได้เรียนรู้พร้อมกัน แต่ละคนมีความสามารถต่างกัน ได้นำมาแชร์กัน เป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์ ได้เรียนรู้แนวทางของอาจารย์จีระ เป็นจุดเริ่มต้นของกลุ่มย่อย ที่สำคัญพอได้เข้ามานำเสนอในห้อง เราได้รับฟังจากเพื่อน ๆ ในกลุ่มอื่น ๆ ด้วย ที่สำคัญคือการทำให้ทุกคนเรียนรู้ร่วมกันและประหยัดเวลาในการเรียนรู้ สามารถนำไปประยุกต์ได้จริง และคาดว่าจะเป็นประโยชน์มาก ๆ

          ดร.จีระ เสริมว่า การเรียนอยากให้มีการปรับเรื่องการนั่งเรียนแบบเป็นกลุ่ม มีระบบเทคโนโลยี สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ การเรียนยุคใหม่ถึงเรียกว่า Learning Eco System คือ Anywhere Anyplace ควรมีการปรับปรุงเรื่องการเรียนในห้องเรียน

 

6. มีความภาคภูมิใจเหมือนเพื่อน ๆ และรู้สึกโชคดีมากที่ได้มาเรียนและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย ในเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์ มีทัศนคติที่เปลี่ยนไป ได้นำแนวคิดอาจารย์ไปต่อยอดกับเพื่อน ๆ ที่เป็นนักธุรกิจด้วย สังคมในตอนเช้าเราจะไม่คุยเรื่องการเมือง เราจะคุยว่าเราจะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างไรให้เจริญก้าวหน้ามีการพัฒนามากขึ้น

          ดร.จีระ เสริมว่า ถ้า ดร.จีระทำเส้นทางที่ผิดเป็นอีกทาง เส้นทาง Human Capital จะไปตอบโจทย์นวัตกรรมได้อย่างไร ดังนั้นประเทศไทยต้องให้ Supply กับ Demand ของคนตรงกัน เส้นที่เดินเป็นเส้นที่สอดคล้องกัน ความเป็นทุนมนุษย์ถูกฝังมาจากการเรียนในอดีตตอนเด็ก อย่าง HR Architecture ตอนเป็นเด็กต้องคิดให้ดี อะไรเป็นช่องว่างก็เติม พิสูจน์ด้วยวัตถุนิยม UNESCO จึงยกย่องในหลวง ร.9 ว่าเป็น Soft Power

          โดยสรุป ถ้านวัตกรรมไม่เข้าใจวัฒนธรรมของคนไทย ไม่มีวันสำเร็จ หลายคนในห้องนี้เป็น Family Business ดีแล้วแต่ต้องเป็น Family Business แบบมืออาชีพ รู้อาจไม่ต้องเยอะมากแต่รู้แล้วต้องรู้ให้ดี ให้กลับไปวิเคราะห์ว่าหลักสูตรนี้มีประโยชน์อะไรต่อคุณ


คุณจักรกฤช

          นวัตกรรมเกิดขึ้นทุกวัน นอกจากสินค้า บริการแล้ว ยังเป็นกระบวนการ แต่เราจะสร้างให้นวัตกรรมอยู่ที่ DNA ได้อย่างไร เราจะทำอย่างไร ทุกคนเรียนแล้วเอาไปเปลี่ยนแปลงอย่างไร

          นวัตกรรมเกี่ยวกับอะไรบ้าง

  • Radical คือเปลี่ยนใหม่เลย
  • Modula Innovation
  • Incremental Innovation
  • Architecture Innovation

นวัตกรรมมาจาก 4 ขั้นตอนทั้งสิ้น เสริมอย่างไรใช้ 4 A

1. Awareness สร้างการตื่นตัว

2. Absorption การดูดซึม ทำได้

3. Associate

4. Apply ใช้เป็น Application

กระบวนการคือ 1. หา 4 A 2. ต่อมาหา The God Father ในองค์กร คือคนที่มีบทบาทที่จะเคาะให้ไปได้ 3. ต้องมีคนที่มา Cheer Up

กลยุทธ์และกับดัก ต้องเสริมให้สมบูรณ์

การมาของนวัตกรรม มีกระบวนการคือ 4 ตัวที่ว่า มีการทำเรื่อง Link Management และ S-Curve เมื่อบริหารนวัตกรรมจะได้นวัตกรรมได้อย่างดี

          ดร.จีระ เสริมว่าเราต้องมี Innovative Behavior ด้วย ให้คิดเอง ไม่ใช่ถูกหรือผิด นวัตกรรมคือพฤติกรรมของเราที่สร้างความเป็นเลิศ หลุดจาก Comfort Zone ให้เสริมอะไรที่เป็นความจริง  หลักสูตรนี้เกี่ยวกับแรงบันดาลใจที่เกิดขึ้น อยากให้ทราบว่าพูดเรื่องอะไร สำคัญอย่างไร และ Relevance อย่างไร

         

Sustainability Capital

          หมายถึงพฤติกรรมของคนในยุคต่อไป ต้องเป็นพฤติกรรมของคนในอนาคตให้ Short Term & Long Term ไปด้วยกัน  ปัญหาที่ผ่านมาคือไม่ได้เชื่อมโยงกัน ดังนั้นในอนาคตถ้าดร.จีระ มาช่วยลูกศิษย์

          จึงอยากสรุปว่า Sustainable Development must;

  • Balance the short-term and the long-term benefits
  • Be environmentally friendly
  • Balance the morality, ethics and development
  • Be based on  scientific thinking, analytical thinking, life-long learning and learning society
  • Benefit the majority instead of small groups of people

- Sustainability ไม่ใช่แค่เรื่องสิ่งแวดล้อมแต่เป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง Short Term & Long Term อย่างเช่นในหลักสูตรนี้ Short Term คือ Course Work แต่ Long Term คือจะมีคุณค่าต่อไปอย่างไร

- เรื่อง Green ส่วนใหญ่นักธุรกิจอาจหลีกเลี่ยงเนื่องจากมองว่าเป็นต้นทุน แต่ความจริงต้องไปด้วยกัน ดังนั้นคำว่า Green ในที่นี่จึงต้องสร้างให้คนเข้าใจในเรื่องนี้ด้วย

- ความยั่งยืนมาจากคุณธรรม จริยธรรม ไม่ได้อยู่สิ่งแวดล้อมอย่างเดียว ต้องคิดให้เป็นระบบ

- จาก 3 ห่วง 2 เงื่อนไขของพระเจ้าอยู่หัว (ในหลวงรัชกาลที่ 9)

 

6.  Be self – reliant

               ประชาชนยุคต่อไปต้องพึ่งตัวเองได้

 

การร่วมแสดงความคิดเห็น : ดูเทปรายการแล้วมีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง

1.  Green Entrepreneur คำว่า Entrepreneur หมายถึงผู้ประกอบการ ซึ่งเชื่อมโยงว่าผู้ประกอบการต้องทำอะไร คือ 1. ทำเอง เป็น Family Business 2. ไม่ทำ จ้างคนมาทำ

     การศึกษาเรามีปัญหา เพราะการศึกษาถูกครอบด้วยแนวคิดเผด็จการ เราถูกสอนให้ท่องจำ ไม่ต้องการให้คนคิดมาก มีการตีกรอบ

          เรื่อง Green ไม่สามารถวัดผลการตอบแทนได้ คำว่า Sustainability เป็นการวัดได้เป็นเชิงตัวเลขทางเศรษฐศาสตร์

                    ดร.จีระ เสริมว่า Sustainability คือ Process ในการเดิน อาทิ ดร.จีระเน้นเรื่องต้องมีสุขภาพดี และมีความรู้ที่ทันสมัย

          ในห้องนี้จะทำอย่างไรให้เรียนปริญญาเอกประสบความสำเร็จ ได้ความรู้จริง จบแล้วทำงานที่มีคุณภาพต่อไป

 

2.  สิ่งที่เห็นคือ Connection ที่มีโอกาสต่อยอดในเรื่องธุรกิจได้ อย่างที่เห็นว่ามีเพื่อนหลายประเทศมาเยี่ยมเรา อย่างจีนมองไทยเป็นศูนย์กลางทางการค้า มองเห็นโอกาสทางนี้ อย่างอินโดนีเซียเป็นประเทศมุสลิม โอกาสทางการศึกษาด้อยกว่าที่อื่นเนื่องจากเน้นที่ศาสนามากกว่า ถ้าประเทศไทยเห็นช่องทางด้านนี้จะสามารถเปิดโอกาสทางธุรกิจได้  

          ดร.จีระ เสริมว่า การศึกษาที่อินโดนีเซียได้บังคับให้มีการไปเยี่ยมประเทศในอาเซียน อย่างเช่นไทยถ้ามีวิชาการที่ติดตัวที่มีคุณภาพ จะไปพบประเทศต่าง ๆ ได้ อย่างหลักสูตรนี้ถ้าช่วยเรื่องการทำวิทยานิพนธ์ด้วยก็จะเป็นการยั่งยืน เสมือนเป็นเสาเข็มด้วย

 

3. Sustainability คือการพัฒนาตนเอง พัฒนาสู่บุคคลอื่น สิ่งแวดล้อม สู่การไปปรับใช้เพื่อความยั่งยืน โดยต้องย้อนกลับมาที่การพัฒนาตนเองเป็นวงจรที่ต้องพัฒนาเป็นวงกลมไปเรื่อย ๆ

 

4. เราอยู่บนโลกใบเดียวกัน จึงต้องกลับมามองที่องค์รวม เรื่อง Innovation เป็นเรื่องการตอบแทนสังคม และลดเรื่อง Financial และให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้ในโลกใบนี้ การจัดสัมมนาที่อินโดฯ เน้นเรื่องการมองความยั่งยืนมากขึ้น  อย่างอิสลามจะเน้นเรื่องนี้ค่อนข้างมาก  สิ่งที่ Challenge มากคือการสร้างจิตวิญญาณในภายใน

          ดร.จีระเสริมว่า คนที่เห็นโอกาสทั้ง Demand size และ Supply size และให้ฉกฉวยโอกาสเหล่านั้น นักเรียนในมหาวิทยาลัยในอนาคตต้องมี Spirit of Entrepreneurship ด้วย

 

5. ในเรื่อง Sustainability คนจีนที่มาเที่ยวมีความประทับใจในความเป็นไทย การมีมิตรไมตรีแบบไทย สนใจวัฒนธรรมไทย สนใจในเรื่องการเรียนรู้การอยู่แบบ Sustainability ของไทย นอกจากนั้นยังสนใจในเรื่องทางการศึกษาด้วย

          ดร.จีระ เสริมว่า ถ้าคิดแต่รายได้จะไม่เป็น Sustainable คนจีนที่มาไทยสนใจในวัฒนธรรมไทยและความเป็นไทย อย่างไรก็ตามเราต้องมองถึงการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนด้วย อย่างคนจีนมาในมหาวิทยาลัย คือแหล่งความรู้ ดังนั้นเวลาพบเขาเราต้องเริ่มแบ่งปันความรู้และแลกเปลี่ยน Idea ในระยะยาวด้วย  ในยุคนี้ต้องระวังเรื่องวัตถุนิยมด้วย วัตถุนิยมต้องทำให้ชีวิตนี้เรายั่งยืน ไม่ใช่ให้เป็นหนี้สิน

          มหาวิทยาลัยยุคต่อไปไม่ได้สอนบัณฑิตอย่างเดียว แต่ทำทุกอย่างรวมกัน สร้าง Connection เป็น  Business Matching ด้วย

 

6. Real Sustainability จำเป็นต้องมีสุขภาพที่ดี แต่วิถีการดำเนินชีวิตของคนในโลกนั้นต่อต้าน Sustainability เช่น กินเหล้า สูบบุหรี่  กินเนื้อสัตว์  การเริ่มต้นที่แท้จริงควรเริ่มที่การกินเพื่อสุขภาพที่ดี

 

ข้อสอบมี 8 ข้อเลือกทำ 4 ข้อ

ตัวอย่างข้อสอบ

1. จากคำพูดของปีเตอร์ ดรักเกอร์ “Culture eats strategy for lunch” วิเคราะห์โดยใช้ 5 K’s   ทุนทางวัฒนธรรม (Culture Capital) เป็นหลัก

2. ที่ Stanford มีสถาบันวิชาการ เน้น 4 เรื่องเรียงกัน คือ Imagination, Creativity, Innovation and Entrepreneurship วิเคราะห์ใช้ 5K’s ของอาจารย์จีระ คือ Creativity กับ Innovation วิเคราะห์แบบ 2R’s

3. ราก (Root) ของ Gary Becker คือ เศรษฐศาสตร์ แบบปริมาณ และเป็นรากของ 8K’s+5K’s ได้มาอย่างไร?

     (1) ครอบครัว วัยเด็ก

     (2) โรงเรียน การศึกษาตั้งแต่มัธยมถึง Ph.D.

     (3) การทำงานยุคธรรมศาสตร์และยุคหลังธรรมศาสตร์

     (4) ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาทำอะไรที่เกี่ยวกับ 8K’s+5K’s บ้าง

4.  Gold Smith มาเมืองไทยเมื่อเร็ว ๆ นี้ ..

-    Gold Smith เก่งเรื่องอะไรที่มีผลต่อทุนมนุษย์

-    Gold Smith แยกแยะระหว่าง feedback and feedforward

     แตกต่างกันอย่างไร ยกตัวอย่าง

5.    Search หาข้อมูลเกี่ยวกับ Johari Window และอธิบายว่าคืออะไร นำมาใช้กับตัวเองและ         ทีมงานได้อย่างไร มีจุดอ่อนสำหรับ Culture แบบไทยอย่างไร

  อธิบาย Happy at work กับ Happiness capital และ Happy workplace 

       คล้ายหรือแตกต่างกันอย่างไร

7.  HRDS กับ Maslow's แตกต่างกันอย่างไร

 ลองวิเคราะห์ “การจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคม” กับ วิธีการของ “Chira Way”

      เกี่ยวข้องกันอย่างไร มีจุดแข็งและจุดอ่อนอย่างไร

      จะสามารถนำมาปรับใช้กับเรื่อง “คน” ในองค์กรของท่านได้อย่างไร?

 

…………………………………………………………………………………………

วันอาทิตย์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ครั้งที่ 6  Sustainable Capital

…………………………………………………………………………………………

บันทึกสาระสำคัญในห้องเรียน

โดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

 

Workshop (ใช้เวลาทั้งหมด 45 นาที)

1.  Leadership กับ Human Capital มีความสัมพันธ์กันอย่างไร อธิบาย 3 ข้อ ยกตัวอย่างจริง โดยใช้ Chira Way  (กลุ่ม 1)

2.  Leadership ช่วย หรือ ฉุด นวัตกรรมอย่างไร (กลุ่ม 2)

3.  นวัตกรรมมีกี่ชนิด และท่านคิดว่าในประเทศไทย นวัตกรรมแบบไหนสำคัญที่สุดยกตัวอย่างจริงในประเทศไทยเพื่อตอบโจทย์ 4.0 โดยเน้นไปที่พื้นที่และ Sectors  (กลุ่ม 3)

4.  นวัตกรรมมี 3 ขั้นตอน (กลุ่ม 4)

(1) มีความรู้ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความคิดใหม่

(2) Turn ideas into actions

(3) Turn actions to success

อธิบายปลูก เก็บเกี่ยว Execution ของทุนมนุษย์เพื่อไปสู่ความสำเร็จ

 

Learn – Share - Care

กฎ 12 ข้อของกระบวน WORKSHOP แบบ Chira Way

1.       เลือกประธานกลุ่มที่เหมาะสมเป็นผู้นำ

2.       เลือกเลขานุการกลุ่มที่สามารถสรุปประเด็นและจดบันทึกได้ดี

3.       ประธานอธิบายหัวข้อว่าคืออะไร คาดหวังอะไร ต้องทำอะไร?

4.       บริหารเวลา – มีน้อย/มีมาก

5.       สนใจสมาชิกทุกๆ คนในกลุ่ม ศึกษาว่าเขาเก่งอะไร มีศักยภาพเรื่องอะไร

6.       กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม

7.       สร้างบรรยากาศให้ทุกคนมีเกียรติ

8.       สร้างบรรยากาศที่ปลอดภัย ให้ทุกคนอยากพูด ไม่กลัว แต่สุภาพเรียบร้อย ถ้าขาดอะไร.. ประธานกลุ่มช่วยเสริม กระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจ  (Inspiration) เป็นหลัก

10.      เลขาฯ สรุป และเตรียมการนำเสนอ

11.      การนำเสนอ – เลือกคนที่มีภาวะผู้นำ อาจเป็นประธานหรือคนอื่น ๆ ก็ได้

12.      ใช้คนนำเสนออย่างน้อย 3 คน จะช่วยให้เกิด “Value Diversity”

 

 

Workshop (ใช้เวลาทั้งหมด 45 นาที)

1. Leadership กับ Human Capital มีความสัมพันธ์กันอย่างไร อธิบาย 3 ข้อ ยกตัวอย่างจริง โดยใช้ Chira Way  (กลุ่ม 1)

          ยกตัวอย่าง 3 แบบ ในภาพมหาวิทยาลัย โรงพยาบาล และในภาพของประเทศจีน

          ตัวอย่างที่ 1 ในมหาวิทยาลัย – ทุนมนุษย์กับ Leadership สอดคล้องกันมากถึงมากที่สุด อย่างทุนมนุษย์ของ ม.ราชภัฏสวนสุนันทา ท่านอธิการบดีให้ความสำคัญด้านทุนมนุษย์มากคือคนต้องมาก่อน คนต้องกินดีอยู่ดี ทรัพยากรมนุษย์สำคัญที่สุด รวมถึงการให้เงินเดือน มีโบนัส มองว่าทุกคนกินข้าวจะทำหน้าที่ได้ดี รวมถึงได้บอกว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความผาสุก หลักวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยเสาหลักคือทุนแห่งความรู้ คือเป็นสถานศึกษาต้องให้ทุนความรู้เป็นส่วนสำคัญของสถานศึกษา และพูดเสมอว่าใครก็ตามที่มีความรู้เขียนทุนวิจัยมาจะให้เงิน 40,000 บาท และ และจะให้มีการหาทุนวิจัยต่างประเทศมาสนับสนุนด้วย

          ดร.จีระ เสริมว่าที่พูดมาเป็นการมองผู้นำเห็นคุณค่าของทุนมนุษย์ ในมุมมอง ดร.จีระคือถ้าเป็น Human Capital แล้วจะยกระดับบางคนเป็น Leader ด้วย แล้ว Leader ต้องไปแก้ปัญหาวิกฤติต่าง ๆ  การมองว่า Leader เห็นคุณค่าของทุนมนุษย์เป็นอีกมุมหนึ่งที่มองได้ไม่ขัดข้อง และเห็นด้วย อย่าง อธิการบดีถ้าไม่มีความต่อเนื่อง หลักสูตรนี้จะเจ๊งไปนานแล้ว ดังนั้นการที่ท่านเห็นความสำคัญเรื่องคนเป็นให้คะแนนสูงมาก อย่างที่ คุณพารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา และ ดร.จีระ มองคือ Leader ต้องมีมุมมองด้านการเห็นความสำคัญของคนที่ดี อย่างสิจิ้นผิงรวมถึงเจินสิมิงก็พูดเรื่องนี้มาก สิจิ้นผิงได้รับการเมืองกดดันของเขาในยุคของเมาเซตุงที่บ้าอำนาจ ถ้าจะเขียนผู้นำจะเขียนผู้นำเป็นช่วง ๆ แล้วในช่วงต่อไป ต้องมองอดีตว่าผู้นำทำอะไร และยุคต่อไปทำอะไร ให้จับให้ดีว่าอะไรเป็น Dependent และ Independent Variable ที่ดี

          การเป็นทุนมนุษย์ที่ดีมี 4 อย่างคือ 1. Ethical  2. Smart / Capable 3. Happy 4. Sustainable ต้องรู้ว่า Short Term กับ Long Term ต้องไปด้วยกัน

          ทำอะไรแล้วมีความแตกต่างต้อง Capture สิ่งนั้นไว้ให้ได้

          Law of Leadership นั้น Law อันหนึ่งคือ Process ไม่ใช่เป็นก้อน ๆ

          ตัวอย่างที่ 2 CEO ของโรงพยาบาลมีการกำหนดวิสัยทัศน์ และได้มีการทำให้สำเร็จ ซึ่งในกลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวชนั้นต้องผ่านการรองรับในระดับสากล และสามารถนำไปเชื่อมกับทฤษฎี 8K’s 5K’s มีการ Training ในระดับปฏิบัติการและระดับเบื้องต้นด้วย ทำเป็น Career Path และจะนำทฤษฎี 5K’s มาเพิ่มเป็นแรงขับเคลื่อนโรงพยาบาล และนำสู่การปรับแผนกลยุทธ์ในระยะสั้น กลาง ยาว ดังนั้นก่อนวางแผน SWOT Analysis CEO จะเชิญผู้เชี่ยวชาญมาวางแผนสิ่งที่กระทบกับสังคมและสิ่งแวดล้อมมีอะไรบ้าง หรือ Medical Tourism ต้องมีการเตรียมแผนด้วย เพื่อเป็นตามเป้าที่ต้องการ

          ดร.จีระ เสริมว่าให้ทำวิจัยเปรียบเทียบ CEO ที่เห็นคุณค่าของคน และ CEO ที่ไม่เห็นคุณค่าของคน อย่างที่ผ่านมาพบว่าหนังสือ Build to Last หนังสือที่แสดงถึงการพัฒนาสู่ Long term

          ถ้าเอาจริงด้านทุนทางวัฒนธรรม เอาภูมิปัญญามาบวกกับธุรกิจให้เกิดความสร้างสรรค์ด้วยเป็นสิ่งที่น่าทำมาก

          สังคมอเมริกาเห็นคุณค่าของปืนเป็นวัฒนธรรมของเขา ทุกคนมีสิทธิป้องกันตัวเอง กลายเป็นนิสัยที่ทุกคนมีปืนไว้ป้องกันตัว แต่ลืมว่าปืนฆ่าคนอื่นได้ เช่นที่ลาสเวกัส ดังนั้นถ้าไม่เข้าใจวัฒนธรรมหรือประวัติศาสตร์ อาจไปไม่ถึงไหน

          ตัวอย่างที่ 3 ใช้ 2I’s คือ Inspiration และ Imagination เปรียบเทียบกับการพาเรือไปสู่ชายฝั่ง ลูกเรือทุกคนมีส่วน และต้องมีการฟันฝ่าเจอพายุ ต้องใช้ Human Capital ในการนำพาเรือไปถึงฝั่ง เช่นเดียวกับประเทศจีนที่ผู้นำจีนมองว่าการพัฒนาประเทศการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ ผู้นำตั้ง Inspiration ให้นักศึกษาต่างชาติไปศึกษาที่ประเทศจีน และมีนโยบายให้ทุกเดือน เพื่อเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมประเทศจีน และนำกลับไปประเทศของเขา ส่งเสริมการแลกเปลี่ยน หรือที่จีนส่งไปศึกษาที่ต่างประเทศอย่างยุโรปแต่ก่อนนักศึกษาจะไม่กลับมาเนื่องจากมีสวัสดิการดีกว่า ต่อมาจีนจึงได้มีนโยบายให้สวัสดิการมากขึ้นและไปของ Resident ที่ปักกิ่งฟรีเพื่อเป็นการ Inspiration คนเหล่านี้ให้นำนักศึกษากลับไปพัฒนาประเทศ

          ดร.จีระ เสริมว่า มีหลายจังหวัดที่มีโรงเรียนประจำจังหวัดมีคุณภาพมากแต่ไม่ได้รับการยกย่อง ส่วนใหญ่ยกย่องเฉพาะโรงเรียนชั้นนำในกรุงเทพฯ อีกเรื่องคือครูที่มีความสามารถต้องเกษียณตอนอายุ 60 ซึ่งเสียดายมากทั้ง ๆ ที่เขาสามารถยังสอนได้อยู่ คือถ้ามีครูดีก็จะตรงตามโจทย์คือ Inspiration และ Imagination

          จะนำ 2I’s ไปใช้กับส่วนอื่นต่อ และทุกวันสำคัญอย่างไร หลักสูตรนี้ดีอย่างไร สัมพันธ์กันอย่างไร และเกี่ยวกับ Basic อย่างไร ความเข้าใจมาจากประสบการณ์ของดร.จีระ  นักศึกษาต้องให้ทุกคนรักษาคุณภาพไว้

          สิ่งที่คาดไว้ตอนแรกเป็นการมองแบบแคบ แต่หลังจากการนำเสนอเป็นการมองแบบกว้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ผิด แต่ดี

          Human Capital ในศาสตร์ต้องเป็น Human Capital + Leadership และการเป็น Human Capital ที่ดีต้องเป็น Leadership ที่ดีด้วย และต้องเป็นผู้นำที่ทายอนาคตออก ทาง Crisis ออกและเอาชนะอุปสรรค Leader ต้องทำในเรื่องที่สำคัญจริง ๆ และต้องตรงจุดที่สำคัญที่สุด

          ทำไมคนทำงานโรงแรงชั้น 1 ในโรงแรม 5 ดาวในเมืองไทยไม่สามารถขึ้นเป็น Top ในโรงแรมชั้นนำได้ เพราะอะไร

          ความเป็นผู้นำต้องทำในสิ่งที่แตกต่าง ไม่ต้องเหมือนคนอื่น ผู้นำต้องเป็นประธาน อย่าให้ผู้นำทำเป็นผู้จัดการ อย่าไปบ้าคลั่งว่ารู้มากกว่าลูกน้อง รู้ไม่ต้องมากเพื่อให้ลูกน้องเกิดได้

          การเป็นผู้นำที่ดีสิ่งแรกคือความอดทน เราต้องรับใช้ลูกน้องเรา และทำให้เขามีความภูมิใจ เพราะคนไทยไม่ Empower อย่างแท้จริง เพราะกลัวลูกน้องเก่งกว่าแล้วตัวเองจะเสียหน้า แต่ลูกน้องยุคใหม่อาจเก่งกว่าหัวหน้าก็ได้

 

2. Leadership ช่วย หรือ ฉุด นวัตกรรมอย่างไร (กลุ่ม 2)

          ผู้นำทั้ง 3 องค์กรจากที่กลุ่ม 1 ยกมาเป็นผู้นำที่ดี โดยผู้นำทั้ง 3 องค์กรมีเป้าหมายเดียวกัน

          ทฤษฎีของผู้นำ ยกทฤษฎี ผู้นำ 5 ระดับของ จอหน์ แม็กซ์เวล และผู้นำ 7 ประเภทของเดวิด ฮุ๊กส์

          ผู้นำที่เป็นตัวช่วย

          ผู้นำนักจัดการ เป็นตัวช่วย เป็นผู้วางระบบนวัตกรรมได้ แต่ผู้นำที่เห็นชัดมากคือนักวางยุทธศาสตร์ช่วยในการส่งเสริมนักนวัตกรรม

          ผู้นำนักพัฒนาเปิดกว้างในวิสัยทัศน์และความคิดเห็นนำสู่ความก้าวหน้าได้

          ผู้นำที่เป็นตัวฉุด

          ผู้นำนักการทูต เป็นคนปากหวาน เอาตัวรอด ไม่สามารถพัฒนาได้

          ผู้นำนักฉวยโอกาส เห็นแต่ส่วนตัวไม่ช่วยคนอื่น

          ผู้นำที่มาคนเดียว

          ผู้นำที่มาจากสายชำนาญการ มาจากสายตัวเอง ไม่สามารถพัฒนาอะไรทั้งสิ้น

          ประเภทผู้นำที่ดีที่น่ายกย่องเช่น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  เน้นเรื่องยุทธศาสตร์ รัฐศาสตร์ กฎหมาย แต่มีข้อเสียคือไม่ได้เน้นเรื่องธุรกิจ

          นายกฯประยุทธ์ เป็นผู้นำที่สามารถนำทางการทหารมาพัฒนาประเทศได้ ช่วยแก้ปัญหาประเทศ วางแผนการพัฒนาประเทศไทย 4.0 และจุดประเด็นเรื่องคอรัปชั่น

          ผู้นำที่เห็นได้ชัด ของไทย อาทิ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่มีภาวะผู้นำเต็มร้อย เริ่มจาก ดร.หนุ่มที่มาอยู่ที่ ม.ธ.ใหม่ ๆ เป็นนักจัดการ นักกลยุทธ์ และเป็นนักพัฒนา สู่แนวคิด Chira Way สามารถใช้ Chira Way เป็นกรอบในการพัฒนาทุนมนุษย์

          ยกตัวอย่างผู้นำที่ทำให้นวัตกรรมไม่เกิดคือ Leadership too weak และ Communication too poor เช่น Timberland

          ผู้นำที่ดีมี 10 อย่าง  John Maxwell ซึ่งสอดคล้องกับแนวทาง Chira way ได้แก่

          1. มีวิสัยทัศน์ มีแนวคิดก้าวไกล

          2. ใฝ่รู้ เป็นผู้ให้ คือนอกจากใฝ่รู้เองแล้ว ยังรู้จักถ่ายทอดพัฒนาด้วย และเมื่อใฝ่รู้และเป็นผู้ให้แล้วจะเกิดเป็นทุนทางปัญญา  คนที่

          3. เป็นผู้รับใช้ ผู้นำต้องเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ

          4. มีวินัย เริ่มจากผู้นำเป็นตัวอย่างก่อน

          5. มั่นคง ผู้นำดี องค์กรจะมั่นคงอยู่ได้ พัฒนาไปสู่หน่วยงานได้อย่างสำเร็จ

          6. กล้าหาญ ผู้นำกล้านำพาวิสัยทัศน์ ในการนำพากลยุทธ์ใหม่ ๆ

          7. มีมนุษย์สัมพันธ์  เพราะผู้นำเป็นเสมือนคนกลางในการสร้างให้เกิดการเชื่อมต่อกันและจะเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น

          8. รู้จักแก้ปัญหา ผู้นำต้องหาข้อมูลและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ก่อน สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

          9. มีทัศนคติที่ดี  คือมองแง่บวก มองการณ์ไกล และ

          10. รักงานและผู้เกี่ยวข้อง คือมีใจรักงาน และรักตนเองและผู้อื่น เหมือนกับ C&E ของ ดร.จีระที่ต้องมีการติดต่อเชื่อมกัน และ HRDS  รวมถึงเรื่อง Happy Workplace ของ ดร.จีระด้วย

          ดร.จีระเสริมว่าให้ลองวิจัยดูว่าทำไม ม.ธ.เชิญอาจารย์เป็น ผอ. สถาบันทรัพยากรทุนมนุษย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

3. นวัตกรรมมีกี่ชนิด และท่านคิดว่าในประเทศไทย นวัตกรรมแบบไหนสำคัญที่สุดยกตัวอย่างจริงในประเทศไทยเพื่อตอบโจทย์ 4.0 โดยเน้นไปที่พื้นที่และ Sectors  (กลุ่ม 3)

          การมีนวัตกรรมต้องมี Leader ก่อน แต่ในประเทศไทยยังไม่มี Leader ที่เป็น Change Agent ให้เกิดนวัตกรรม อย่างผู้นำสิงคโปร์ที่มีผู้นำทำให้เกิด Innovation

          สิ่งที่ทำได้คือการศึกษา สร้างกระบวนการศึกษาแบบ Chira Way คือ 4L’s อย่างที่ ดร.จีระยกโจทย์เรื่อง Stanford ที่สหรัฐอเมริกา ตามโจทย์ที่ Stanford มี Innovation & Entrepreneurship และที่ต้องไปด้วยกัน คือเริ่มจากการมี Creativity ก่อนแล้วแปลงเป็น Innovation แล้วให้ Entrepreneurship มาดูเนื่องจากต้องมีการ Take Risk และตัดสิน

          ในภาคเอกชนเป็นเรื่องของการบริการ เรียกได้ว่าเป็น Service Innovation เพราะในมุมมองเรื่อง Product Innovation อาจมีปัญหาเนื่องจากกระบวนการผลิตของไทยอาจยังไม่ดี

          ธุรกิจที่กระทบจริง ๆ คือภาคดำเนินการ ส่วนภาคอุตสาหกรรมยังไม่มีการผลิตใหม่เนื่องจากเทคโนโลยีย้ายไปเพื่อนบ้านหมด

          อย่างไรก็ตามเรื่องคนสำคัญที่สุด เพราะต้องการคนที่มีความรู้ และสามารถนำไปใช้ได้

          ดร.จีระ ต้องเสริมบรรยากาศผู้ประกอบการมาให้ได้ ต้องมีลักษณะแบบ Business Entrepreneurship ที่อยากให้พูดคือ Social Innovation อย่าง กฟผ. ทำนวัตกรรมสีเขียวที่ต้องเชื่อมกับสังคมให้ได้

 

4. นวัตกรรมมี 3 ขั้นตอน (กลุ่ม 4)

(1)      มีความรู้ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความคิดใหม่

การมีความรู้คือคนที่สร้างนวัตกรรมได้ต้องทำให้ตัวเองมีความรู้อยู่เสมอ ตลอดเวลา และต้องมีความรู้องค์รวมนอกจากความรู้วิชาชีพ  เราต้องทราบเพื่อเสริมความรู้ให้ต่อยอดได้

มีความสร้างสรรค์คือ ต้องเป็นนักรับฟังที่ดี และมีความสังเกต และรวบรวมข้อมูล แต่เป็นนักคิดสร้างสรรค์ที่ไม่ดีคือคิดไปเอง จะกลายเป็นสิ่งที่ไม่ตอบโจทย์สังคม

มีความคิดใหม่คือ เอาความรู้และความคิดสร้างสรรค์มาต่อยอดให้เกิดกระบวนการใหม่ ๆ

(2)      Turn ideas into actions

ต้องมีเป้าหมายว่านวัตกรรมทำไปเพื่ออะไร เราต้องโน้มน้าวให้ผู้มีอำนาจ ผู้บริหารที่เป็นเจ้านายยอมรับในเราก่อน คนเหล่านี้มีอิทธิพลในการทำงาน และมีสิทธิอนุมัติงบประมาณจ่ายได้

เป็นกลุ่มคนรู้ความต้องการของนวัตกรรมอย่างแท้จริง เช่น ฝ่ายการตลาด และ

คนที่เข้าใจกระบวนการทำนวัตกรรม

รวมทั้ง 3 ส่วนเขียนแผนงานโครงการ เป็นแผนการทำนวัตกรรม

(3)      Turn actions to success

1. Customerต้องรู้ว่า Customer ต้องการอะไร ตอบโจทย์หรือไม่

2. Change Management สิ่งที่ทำนั้นตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงหรือไม่

3. Command & Control คือคนที่คอยควบคุมให้ดำเนินการตามแผน ให้มีการทำงานเป็นทีม

ดร.จีระ เสริมว่า ข้อ 1 และ ข้อ 2 ถูก แต่ข้อ 3 อยากให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินอย่าให้คนเดียวตัดสิน Command & Control ดีต่อการทำงานแบบเดิม แต่นวัตกรรมทุกคนต้องมีส่วนร่วม ให้ทุกคนได้มีโอกาสเรียนรู้ มีพลังเรียนรู้ร่วมกัน

อธิบายปลูก เก็บเกี่ยว Execution ของทุนมนุษย์เพื่อไปสู่ความสำเร็จ

ยกตัวอย่าง ข้าวหอมมะลิที่มีซิงค์ในข้าว จับกระแสประเทศไทย ลูกกตัญญูซื้อข้าวให้พ่อแม่ทาน

- 50% ของคนไทยเป็นมะเร็ง จุดขายอยู่ที่เมืองจีน ใช้วิธี Drop Shipping for Passive Income ในเมืองไทย

นวัตกรรมใหม่ เช่น ถั่งเช่าสีทอง ขายถั่งเช่าในราคาต่ำจากการ Dump ราคาของถั่วเช่า แล้วนำไปผสมในอาหารขายในโรงแรม เป็นต้น


…………………………………………………………………………………………

วันอาทิตย์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ครั้งที่ 7  

บรรยากาศการเรียนรู้นอกห้องเรียน การเยี่ยมชมร้านหนังสือคิโคุนิยะและร้านหนังสือเอเชียบุ๊คส์ และการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ได้ศึกษานอกห้องเรียนเพื่อมาประยุกต์ใช้ในวิชาที่สอนและในชีวิตประจำวัน

https://www.facebook.com/Chira...

…………………………………………………………………………………………

วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ครั้งที่ 9  

…………………………………………………………………………………………

บันทึกสาระสำคัญในห้องเรียน

โดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

 

 

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

          ยกตัวอย่างว่า ดร.จีระเป็นตัวอย่างหนึ่งของนักเศรษฐศาสตร์ที่มาทำเรื่องคน ที่ทำอย่างต่อเนื่องและนำไปปะทะกับความจริง

           

3 Concept ใหญ่ ๆ

1. HR Architecture

          สิ่งสำคัญที่สุดคือการเข้าใจว่าเวลาจะพัฒนาทุนมนุษย์ เรามีโครงสร้างของประชากรตั้งแต่เกิดถึงตาย ดังนั้นถ้า 4.0 จะทำอะไร คือการพัฒนาคนตามช่วงอายุแต่ละช่วง

          การพูดถึง HR Architecture คือเข้าใจถึงโครงสร้างอายุคน ตั้งแต่ 1 – 70 ปี ก็จะมีการปลูก เก็บเกี่ยว และ Execution เท่านั้น ดังนั้นการพัฒนาคนทั้ง 70 ล้านคนของประเทศไทยนั้นได้มุ่งไปตรงไหน เช่น บางคนสนใจเรื่อง Health

          อย่างไรก็ตามการเรียนตามศาสตร์พระราชา คือการปลูกฝังความเป็นคนดี ทำให้จริง ทำเป็นขั้นตอน

          ทุกคนต้อง Turn ความล้มเหลวมาเป็นอนาคตของเรา  

          อยากให้ไปศึกษาประวัติของ Stephen Hawken แม้ว่าเป็นคนพิการ แต่สามารถเป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยา ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หนังสือวิทยาศาสตร์ของเขาและการปรากฏตัวต่อสาธารณะได้ทำให้เขาเป็นผู้มีชื่อเสียงด้านวิชาการ ผลงานวิทยาศาสตร์สำคัญของเขาจนถึงปัจจุบันมีการบัญญัติทฤษฎีบทเกี่ยวกับภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วงในกรอบของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ร่วมกับโรเจอร์ เพนโรส และการทำนายเชิงทฤษฎีที่ว่าหลุมดำควรปล่อยรังสี ซึ่งปัจจุบันมีชื่อว่า รังสีฮอว์คิง

 

2. การสอบครั้งที่แล้วจะถือว่าเป็นการสอบครั้งสุดท้าย คะแนนต่อไปนี้จะเป็นคะแนนความเป็นเลิศของทุกคน จะมีกิจกรรมที่จะทำต่อไปนี้

          1. การพบกันระหว่าง นศ.ปริญญาเอก ม.ราชภัฏสวนสุนันทา กับ ม.มหิดล

         - หลักสูตรนี้มีประโยชน์อย่างไร อยากจะแบ่งปันความรู้อะไร  (นำเสนอ 45 นาทีขึ้นจอ)

           - ม.มหิดล นำเสนอในมุมมองของเขา

          - ทั้งสองมหาวิทยาลัยมา Debate ร่วมกัน และเสนอว่าจะทำอะไรต่อ

          2. จะมีการวิจารณ์หนังสืออีก 2 เล่ม

          - ยกตัวอย่างที่อาจารย์จีระเขียน Outline เรื่องภาวะผู้นำ วิจารณ์ว่ามีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไรบ้าง แล้วอาจไป Relate กับ Harvard

          - นศ.รุ่นที่ 15 ต้องทำให้ Leadership มีประโยชน์ต่อคนไทยมากขึ้น

Outlineหนังสือ “Leadership by Chira Way”

1. The significant of Leadership

2. Leaders / Managers

3. Type of leadership

-   Trust / Authority Leadership ยุคใหม่ของการเป็นผู้นำคือศรัทธา

-   Charisma Leadership

-   Situational Leadership

-   Quiet Leader Leadership

-   Transformational Leadership

-   Transactional Leadership

-   Authenticity Leadership

4. Leadership and 8K’s+5K’s

5. Leadership in different styles

-   เปรียบเทียบตัวอย่างของผู้นำจีน

-   Peter  Drucker

-   จีระ หงส์ลดารมภ์

6. Case study of my work in Leadership Class

- กรณีศึกษาของห้องเรียนผู้นำที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย – 13 รุ่น

- กรณีศึกษาของห้องเรียนผู้นำที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

- คณะแพทยศาสตร์ 3 รุ่น

- มหาวิทยาลัย 3 รุ่น

- คณะพยาบาลศาสตร์ 1 รุ่น

  - กรณีศึกษาของการพัฒนาผู้นำในภาคการท่องเที่ยว?

7. How to develop leadership?

-   เรียนรู้แนวทางการพัฒนาผู้นำจากโมเดลของ University of Washington

-   ทฤษฎี 5 E’s: การพัฒนาภาวะผู้นำจากการวิจัยของ Center for creative leadership

8. Role Models

 - รัชกาลที่ 9

 - รัชกาลที่ 5

 - Dr Martin Luther King Jr

 - Dalai Lama

 - Nelson Mandela

9.Example of bad leadership

-ผู้นำแบบทักษิณ ชินวัตร

-ผู้นำแบบ Donald Trump

-...................................?

-ผู้นำแบบ Mugabe

10.Summary and example of workshops

 

สรุป    นศ.ปริญญาเอก เป็นนักธุรกิจจำนวนมาก ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญที่สุดในการดึงภาวะผู้นำมาใช้

          ในยุคใหม่คนที่คิดเก่งอาจเป็นผู้นำก็ได้ คนที่เงียบอาจเป็นคนที่มีประโยชน์ก็ได้ วิชานี้อยู่ที่อารมณ์ หรือจิตวิญญาณในบางครั้งที่รู้สึกว่าใช่เลย

          Human Capital + นวัตกรรม  แล้วต้อง+ Entrepreneurship ด้วย

          การทำวิทยานิพนธ์ ต้องมองโครงสร้างวิทยานิพนธ์คืออะไร เพราะวิทยานิพนธ์คือการ Test Hypothesis  ส่วนอื่นเป็นส่วนประกอบ นักศึกษาที่จบต้องมีผลงานที่ Significant เรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จากหลักสูตรที่เรียนและเลือกสิ่งเหล่านั้นเป็นพลังของคุณ

 

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. ชื่นชมและยินดีล่วงหน้ากับคนไทยที่ได้มีหนังสือดี ๆ ถ้าสำเร็จจะมีประสบการณ์จริงมากมาย และมุมมองในด้าน Academic จะได้การผสมผสานทั้งแนว Chira Way กับที่ศึกษามาเปรียบเทียบให้เห็นการเรียนรู้เรื่อง Leadership จริง ๆ และจะเกิดประโยชน์กับคนที่ศึกษาในรุ่นต่อไป

          การเป็นผู้นำจริง ๆ มีหลากหลายองค์ประกอบที่เข้ามาผสมผสาน

          สังคมไทย ที่ผ่านมาการนับถือกันไม่ได้นับถือจากความรู้ ความสามารถและปัญญาจริง ๆ แต่มองจากการอยู่ในสังคมที่สูง ตำแหน่งสูง  ซึ่งความจริงแล้ว ถ้าผู้นำไม่มีข้างในเป็นธรรม  ไม่เข้าใจคนอื่นก็จะเป็นปัญหา

          คนที่เป็น Leader จริง ๆ จะทำงานแบบ Smart Work คือเขาจะเลือกใช้คนให้ถูกกับงานคือ Put the right man on the right job

          คาดหวังมากว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยและทั่วโลก

 

2. Trust of Leadership เวลาผู้บริหารเจอแต่ละสถานการณ์ ผู้บริหารมีเทคนิคการเลือกใช้อย่างไร ที่อาจไม่ใช่การเลือก Trust อย่างเดียวได้  ซึ่งผู้ปฏิบัติถ้าเริ่มเรียนรู้ตั้งแต่เริ่มต้น ก็จะเป็นผู้นำที่ดีได้  บางครั้งอาจต้องมีการผสมกันในหลาย ๆ ส่วน เพียงแต่ส่วนใดส่วนหนึ่งอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีการผสมผสานกัน

 

3. แรงบันดาลใจเป็นพลังสำคัญทำให้การทำงานของคนในองค์กรประสบความสำเร็จ ผู้นำที่ดีต้องสร้างแรงบันดาลใจให้กับพนักงานหรือผู้ร่วมงาน แต่ไม่ได้บอกวิธีการสร้างแรงบันดาลใจเป็นอย่างไร และการยกตัวอย่างยังไม่เป็นรูปธรรม สิ่งที่อยากให้เพิ่มเติมในหนังสืออาจารย์จีระอยากให้สอดแทรกในเรื่องนี้ด้วย

 

4. จากหัวข้อใน Outline ยังไม่รู้ว่าต้องการให้กลุ่มเป้าหมายเป็นใครในการอ่าน

          ดร.จีระ อยากให้ Input

 

5. ข้อ 9 เป็นมุมมองทางการเมือง อาจทำให้เนื้อหาทางวิชาการ Drop ลง อยากให้เป็นการใส่เรื่องการวิจารณ์พฤติกรรมของผู้นำมาด้วยซึ่งเป็นสิ่งที่ ดร.จีระ ถนัดจะเป็นเรื่องที่ดี ถ้านำมาใส่ในหนังสือได้จะสนุกมาก

          ดร.จีระ อยากให้ช่วยเก็บประเด็นในรุ่นที่ 15 ในห้อง

 

6. อยากอ่านภาวะผู้นำในมุมมองประสบการณ์มากกว่าทฤษฎี เป็นความคิดที่นอกกรอบ ถ้านำสิ่งนี้ใส่ในหนังสือจะดีมาก ใช้ลักษณะผู้นำแบบไหนเข้าไป

          ดร.จีระ กล่าวว่าจะทั้งสองท่านเน้นการนำเอาประสบการณ์แปลงมาเป็นการเขียน

 

7. เห็นอาจารย์จีระพูดถึงสิงคโปร์ พบว่าคนที่เป็นรัฐมนตรีจะต้องมีการทำแบบทดสอบ อยากแนะนำให้อาจารย์มี Questionnaire ในการตอบคำถาม จะมีประโยชน์ในการคัดกรองบุคลิกภาพของคน

          ดร.จีระ เสริมว่าในท้ายหนังสือจะมีแบบทดสอบเพิ่มเข้ามา

 

8. Leadership ได้จาก 2 ประเภทคือจากการแต่งตั้ง และจากการ Trust สิ่งที่ดูคือ Leadership ที่ได้จากการแต่งตั้ง ตำแหน่งหายไปยังมีความเป็น Leadership อยู่หรือไม่

          ข้อที่ 7 อยากให้เพิ่มเป็น How to develop the great leader การเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมทำอย่างไร การสร้าง Leader ต้องสร้างแต่เด็ก ตอนโตอาจไม่ทัน

          ดร.จีระ เสริมว่า ผู้นำแบบ Authority กับ Trust บางครั้งไม่อาจแยกกันได้ มีบางอย่างที่เชื่อมกันอยู่  และในหนังสือเล่มนี้จะมีการนำ HR Architecture มาใช้ด้วย เน้นการปลูกฝังตั้งแต่เยาวชน ไม่ใช่ปลูกฝังตอนโตอาจช้าเกินไป อาจให้มีการสำรวจตัวเองแต่เด็กว่ามีใครปลูกฝังเรื่องคุณธรรม จริยธรรมของเรา

 

9. จากประสบการณ์ที่อ่านหนังสือทั้ง 3 เล่ม จุดอ่อนคือการเรียบเรียงเนื้อหา เนื้อหาบางเรื่องชื่อบทกับเนื้อหาไม่ตรงกัน ไม่สอดคล้องกัน อยากให้ลำดับในการเรียงเนื้อหา ยกตัวอย่างเรื่องผู้นำ ในหัวข้อที่ 6 เรื่อง Case Study อาจอยู่ในท้าย ๆ ก็ได้  และได้มีการมองกลุ่มเป้าหมายที่อ่านว่าจะเป็นกลุ่มไหนได้บ้าง ประเด็นที่ 4,5 น่าจะเป็นคุณลักษณะผู้นำหรือไม่

          หนังสือของอาจารย์น่าจะเทียบได้กับ Harvard ได้แล้ว แต่การเขียนหนังสือยังไม่ดู International

          ดร.จีระเสริมว่ากิจกรรมแต่ละกิจกรรมต้องใช้ Skill สูงมาก หนังสือเป็นการบริหารจัดการโดยคนกลุ่มหนึ่ง แต่อาจารย์ต้องมากำกับควบคุมดูแล คนไทยความสามารถในการทำงานสูง แต่ความสามารถในการเขียนหนังสือเพื่อไปแข่งกับคนในโลกมีน้อย

 

10. ในข้อ 9 น่าจะพูดเรื่องผู้นำในส่วนของราชการด้วย คือ ทำไปวัน ๆ  อยากให้อาจารย์วิเคราะห์แล้วนำทฤษฎีมาด้วย


วิจารณ์หนังสือ On Leadership

กลุ่มที่ 4  Crucible of Leadership

เรื่องด่านทดสอบผู้นำ

1. สถานการณ์ที่เลวร้ายที่ผู้นำในองค์กรต้องรับมือให้ได้ ผู้นำที่ยอดเยี่ยมจะสามารถเรียนรู้สถานการณ์ที่เลวร้ายและผ่านพ้นได้อย่างเข้มแข็ง ทำให้ไปสู่เป้าหมายที่เร็วมากยิ่งขึ้น ผ่านด่านทดสอบที่อาจมีการสะเทือนอารมณ์ ยกตัวอย่างของ  Harman บริษัทผลิตเครื่องเสียง เป็นผู้บริหารถึงสองบริษัท ทำให้ต้องทำงานสลับไปมาระหว่างบริษัทหนึ่งกับอีกบริษัทหนึ่ง และระหว่างอยู่ที่โรงเรียนได้รับสายว่าเกิดการขัดข้องในการทำงาน ปกติทำงานเกิดความขัดข้องคือกริ่งเสีย เลยคิดว่าจะเลื่อนไป 10 นาที แต่คนทำงานมีนาฬิกาอยู่ ก็จะไม่ยอม Harman เลยมีแนวคิดสร้างสถานที่ทำงานให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดงาน สร้างชั้นเรียน สร้างสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้น ซึ่ง Harman เป็นผู้บุกเบิกในการทำงานอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในองค์กรปัจจุบัน

 

2. การเรียนรู้จากความแตกต่าง ช่วยให้ผู้นำรู้ตัวตนและบทบาทใหม่ของผู้นำ เน้นการเข้าไปสู่สถานที่ใหม่ ๆ การได้รับจากสิ่งปกติจากคนรอบข้าง 

          ยกตัวอย่าง Elizabeth Allman ตอนเข้าทำงานครั้งแรกจะรู้สึกโดดเดี่ยวมา จึงได้ทำการศึกษาพนักงานชายและหญิงว่าต้องการอะไร เพื่อให้เกิดความสนิทสนมในการทำงานร่วมกัน สิ่งที่ได้คือเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร คือเพื่อให้รู้ว่าวัฒนธรรมองค์กรเป็นอย่างไร เพื่อให้หลอมรวมกับพนักงานของ Molorola พบว่าในขณะที่หลายอย่างเห็นด้วยเหมือนกัน แต่มีหลายอย่างที่มองไม่เห็นจึงจำเป็นต้องรู้บริบท เพื่อรู้ความมุ่งมั่น

 

          - Sieber เป็นผู้ทำงานทาง Financial ในเบื้องต้นไม่ได้รับการยอมรับเนื่องจากถูกกีดกันว่าเป็นคนยิว แต่เธอไม่สะทกสะท้านแต่ทำงานอย่างมุ่งมั่นจนกลายเป็นผู้รณรงค์ก็ตั้งบริษัทในตลาดหลักทรัพย์

 

          - Verman เป็นคนผิวดำคนหนึ่งได้นำสิ่งที่ถูกดูถูกเป็นแรงพัฒนาและผลักดันให้ดีมากยิ่งขึ้น 

 

3. การยืนหยัดท่ามกลางความมืดมิด เช่นกรณีของ  Rittenberg เคยถูกขังคุกเนื่องจากถูกสงสัยว่าเป็นสายลับของ CIA และใช้เวลาที่อยู่ในคุกศึกษาภาษาจีน และทำความคุ้นเคยกับผู้คุม พบว่าถ้าเขาใช้เวลาเข้าใจตัวเองมากขึ้นจะสามารถดึงดูดให้ผู้คุมเข้าใจมากขึ้น เมื่อออกมา เลือกที่จะทำงานให้กับพรรคคอมมิวนิสต์ในจีน  ต่อมาก็ได้ถูกจับคุกอีก และอีก 10 ปีได้ถูกปล่อยออกมา ได้ก่อตั้งบริษัทที่ให้คำปรึกษาธุรกิจระหว่างอเมริกา และจีน

 

4. การปรับเปลี่ยนพลังแห่งความเยาว์วัย เต็มไปด้วยพลังและมีความพร้อม ช่วยให้เรียนรู้อย่างไม่สิ้นสุด ใช้เวลาสุดสัปดาห์ในการเล่นวินเซิร์ฟ ออกกำลังกาย อย่างคนที่ดูเยาว์วัยจะสร้างสารแห่งความสุขให้คนที่อยู่รอบข้าง ทำให้คนรอบข้างมีความสุขด้วย และส่งผลให้คนรอบข้างมีความรัก และอยากดูแลเด็กทารก

 

5. การเพาะพันธุ์สุนัขจิ้งจอกในรัสเซีย ได้พยายามเพาะเลี้ยงให้มีความเชื่อง เพื่อนำตัวที่เชื่องที่สุดเป็นพ่อพันธุ์ต่อไป และเมื่อ 20 ปี จะทำให้สุนัขจื้งจองมีความผูกพันกับผู้เลี้ยงมากขึ้น และทำให้ผู้เลี้ยงเกิดการต่อต้านจากโรงฆ่าสัตว์

 

การให้ศึกษาและความรู้

          Judge Natnaniel & Jones  เน้นการเสริมสร้างคนเก่งให้คนพูด

          Michael Klein เป็นคนที่ประสบควมสำเร็จจากปู่ของเขา

 

ผู้นำเกิดขึ้นได้อย่างไร

1. Share Vision

2. สื่อสารให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้

3. ยึดมั่นในหลักการ

4. ความสามารถในการปรับตัว และสามารถในการอ่านเหตุการณ์ เข้าใจว่าทำเพื่ออะไร

5. อดทน

 

          ตรงกับอาจารย์จีระคือ 3L’s คือ Learning from Pain , Experience , และ Listening และต้องมี Emotional Capital  สามารถสื่อสารได้และวิเคราะห์ได้ และตรงกับ 5E’s

 

ช่วงแชร์ประสบการณ์

          ผู้นำในระบบราชการของไทยส่วนใหญ่ทำงานแบบเอาหน้าเอาตา แต่ขาดความเมตตาการุณ สิ่งที่สำคัญคือเราต้องสามารถซื้อใจลูกน้องได้

          บุคลิกของผู้นำ

          1. ผู้นำหลายคนบ้าอำนาจ ห้ามพาดพิงทางการเมือง ชอบขู่ ชอบฟ้องคนอื่น จะเป็นผู้นำที่ขาดความเมตตาการุณ

          2. ผู้นำที่ใช้สถานการณ์ในการจูงใจ เป็นลักษณะความเป็นกันเอง

          3. ผู้นำที่นิ่งเงียบ พูดน้อย แต่ใช้ความคิดเยอะ เป็นตัวอย่างผู้นำที่ดี

          4. ผู้นำที่ละเอียดลออ

          ในมุมมองคือผู้นำต้องเสียสละและต้องรองรับทุกแรงกดดันได้ ต้องให้เราตัดสินใจคิดและแก้ปัญหาอย่างไร และเราเรียนรู้อะไร ต้องเปิดโอกาสให้คนอื่นได้เป็นผู้นำได้แชร์ประสบการณ์บ้าง

 

          ดร.จีระ เสริมว่า ทีมนี้ทำงานเป็นทีมได้ดี อยากสรุปว่าบทความอันนี้ต้องดูที่คนเขียนด้วย คนแรกคือเบนิส เสียชีวิตแล้ว เป็นคนพูดเรื่องผู้นำจากประสบการณ์ของเขา ขอแนะนำว่าคนที่ทำเรื่องกูรู 3 คน เบนิส น่าจะหนึ่งในนั้น เพราะเป็นคนที่เคยสอนที่ MIT และมีประสบการณ์จากธุรกิจ หัวข้อน่าสนใจ เพราะว่า เป็นเรื่องความทรมาน ในกลุ่มนี้ได้นำเอากรณีที่คนเจอความเจ็บปวด เจอความรุนแรง สะท้อน ไม่ได้มาจาก Pain อย่างเดียว

          การเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จได้ต้องผ่านความเจ็บปวด ล้มเหลว Pain is gain ถ้าไม่มีความล้มเหลวก็ไม่มีความสำเร็จ และอยากให้กำลังใจทุกคนในอนาคต อย่างตอนสอบ Comprehensive จะมี Pain เป็นระยะ ๆ จากนี้ไปการเรียนปริญญาเอกคือ Pain แต่ต้อง Overcome Difficulty หรือ Execution ขอแสดงความยินดีด้วยในเรื่องภาษา

 

กลุ่มที่ 3 Discovering your Authentic Leadership

          การค้นหาผู้นำที่แท้จริง ผู้นำที่แท้จริง ค้นพบคนสร้างเพื่อความยั่งยืนได้อย่างไร

ทำอย่างไรถึงจะเป็นผู้นำ หลายคนพยายามค้นหาต้นแบบของผู้นำ แต่คำถามคือเราจะไป Copy คนอื่นได้อย่างไร ในหนังสือเล่มนี้พูดว่าเราเป็นแบบไหนก็เป็นแบบนั้น ผู้นำแต่ละท่านมีเอกลักษณ์ของตนเองให้ยึดถือตัวเองเป็นหลัก

          พวกเราทุกคนมีเชื้อของความเป็นผู้นำทุกคน

          David Dillon พูดว่า อย่าคาดหวังว่าบริษัทจะมีแผนพัฒนาตัวเองให้กับคุณ แต่ต้องรับผิดชอบพัฒนาตัวเอง ต้องรู้ว่า Pain คืออะไร ผู้นำที่ดีคือคนที่เรียนรู้ด้วยตนเอง ไม่ใช่พึ่งพาคนอื่น และเรียนรู้ด้วยตัวเองจะส่งผลถึง Sustainable

          ค้นหาความเป็นผู้นำในตัวคุณคือ 3 L’s Learning from Pain , Experience ,Listening

          กรณีศึกษาบริษัทยาชื่อดัง Norvartis

          ที่ประสบปัญหาเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตมากมายตั้งแต่วัยเด็ก แต่ชีวิตหักเหเนื่องจากพบคนรักและได้สมัครไปเรียนนักเรียนแพทย์ ตอนแรกสมัครเป็นอาจารย์แต่อายุน้อยเกินไป เลยไปสมัครเป็นตัวแทนขายยา จนกลายมาเป็น Novartis

          Knowing your Authentic Self ทุกคนมีสิทธิ์เป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จได้ เราต้องมีเป้าหมายและมุ่งมั่นในสิ่งนั้น

          David Pottuck  กล่าวว่า การไม่ยอมรับความเป็นจริงเป็นอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดที่ผู้นำพบในการพยายามเข้าใจตัวเอง

          การยึดมั่นในหลักการและค่านิยม

          ค่านิยมต้องเป็นเรื่องความปรารถนาที่ดีและถูกต้อง เช่น ในคนอยากเป็นคนดี มีคนยอมรับ หรือ สังคม

          ผู้นำต้องมีเรื่องความเชื่อ และศรัทธา คือผู้นำประกาศอะไรออกไปแล้วทำตามคำพูด ไม่ใช่ประกาศแล้วทำอีกอย่าง

          ปัจจัยสำคัญคือ เราไม่ค่อยรับรู้ว่าค่านิยมหรือความเชื่อแท้จริงเป็นอย่างไร จนกระทั่งเกิดวิกฤติและเป็นปัญหาชีวิต

          1. อะไรที่สำคัญที่สุด

          2. ต้องเสียสละอะไร

          3. ต้องแลกกับอะไร

          เช่นบริษัทที่เกิดวิกฤติ 40 บริษัทเกิดการขาดสภาพคล่อง เราต้องลดค่าใช้จ่ายพนักงาน ทุกคนมีอยู่แล้ว แต่ไม่ได้ปรากฏชัดเจน บางคนผู้นำเอาตัวรอดไม่สนใจพนักงาน หรือให้ความสนใจพนักงาน สิ่งสำคัญคือทำอย่างไรให้บริษัทอยู่รอดได้ คือผู้บริหารเสียสละไม่รับเงินเดือนเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในผู้บริหาร

          หลักการเป็นเรื่องสำคัญ จะนำค่านิยมหรือความเชื่อแปลงเป็นหลักการที่ชัดเจนและเป็นธรรม เช่น เห็นใจผู้อื่น เราจะสามารถแปลงหลักการไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร เช่นสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี บรรยากาศที่มีความสุข เป็น Happiness at work และจะส่งผลให้การทำงานแปลงเป็นการปฏิบัติได้จริง

          Jon Huntsman ปฏิเสธในการทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แม้เป็นการไม่จงรักภักดีกับผู้บริหารก็ยินดีลาออก

การสร้างความสมดุลระหว่างแรงจูงใจภายในและภายนอก

          อะไรเป็นแรงผลักดันและขับเคลื่อนให้ผู้นำทำอยู่ เป็นแรงจูงใจภายนอก และภายใน ภายนอกคือชื่อเสียงเงินเดือน การได้รับเกียรติ แรงจูงใจภายในคือสร้างการพัฒนาตนเอง ช่วยเหลือสังคม สร้างการพัฒนาเปลี่ยนแปลงให้ภายนอก

          แรงจูงใจแบ่งเป็น 3 ประเภท

          1. เมื่อเกิดแรงจูงใจอาจติดกับดักความคาดหวังของสังคม ทำให้ไม่มีความสุข และจะติดกับดักในการสร้างการผลักดันตนเอง สิ่งที่ทำให้มีความสุขจากภายในตัวเองให้ได้

          2. แรงจูงใจภายนอก คือแรงจูงใจที่ได้รับจากภายนอกคือชื่อเสียง เงินทอง เกียรติยศ แต่ในทึ่สุดไม่ได้อะไรเลย ไม่ใช่ตัวตอบโจทย์ของเขา และเมื่อเขาค้นพบว่าความต้องการแท้จริงคืออะไร เขาต้องก้าวไปหาแรงจูงใจภายใน

          3. แรงจูงใจที่สะท้อนให้เห็นแรงจูงใจภายในตัวเองมากกว่าภายนอก อย่าง John Thein ที่ทำเพื่อสังคมทำให้สังคมมีความสุข หรือ Ann Moore รักในสิ่งที่ทำคือสื่อสิ่งพิมพ์ที่ Time

 

 

          ดร.จีระเสริมว่า Authenticity คือความเป็นตัวของตัวเอง คือต้องเป็นสิ่งที่มาจากรากของเราไม่ใช่ไป Copy  คือ แต่ไม่ใช่ไม่เอาของคนอื่นมาเลย แต่ต้องใส่สิ่งที่เป็นในบุคลิกเรามาก ๆ

          ชื่นชมที่พูดถึง Sustainable คือเป็นศาสตร์พระราชา หลักสูตรนี้มีคุณค่ามหาศาล และรุ่น 15 นี้มาช่วงที่ Matual อยากให้การเรียนในวันนี้เรา Share และบอกคนรุ่นใหม่  เราต้องบ้าคลั่งศักยภาพของตัวเอง ไม่ใช่ไป In love กับสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน

          คุณค่าอยู่ที่ไหน คุณค่าอยู่ที่ข้างในตัวเรา ทุกคนให้เกียรติและ Comment ในสิ่งที่เป็น Critical และ Positive สิ่งที่ทำให้คนเป็นเลิศได้คือความจริงใจของคน เราต้องทำให้มีมาตรฐานโลก เพราะสิ่งที่จะ Translate จากอาจารย์จีระไปสู่หนังสือ เราจะก้าวข้ามอุปสรรค ไทยยังไม่มี Sub Editor ที่เก่ง เราต้องตรวจสอบกันเอง และตั้งใจว่าในรุ่น 15 นี้จะสร้างแรงบันดาลใจเรื่องผู้นำ

สรุป

          Authentic สำคัญเพราะเป็นผู้นำยุคใหม่ มาจากประสบการณ์ของคุณ และเอามาใช้ ทุกคนเกิดมาเป็น Leader และสร้าง Motivation ภายในภายนอกเอง แล้วมา Test ความเชื่อคุณ และไปที่ Basicคือ Social Capital หาคนที่ Feedback คนที่เปิดอกสามารถพูดกับเขาได้  

          การบูรณาการชีวิตกับการทำงานให้สมดุล ให้กลับมาเป็นคนเดิม

          John Donahoe มีปัญหาเรื่องภรรยาท้อง แต่นายจ้างบอกไม่เป็นไร หาสิ่งที่ Balance ให้ ต้องเน้นเรื่องความสมดุลให้ได้ Integration yourself by staying ground

          Empowering People to Lead เพิ่มพลังการเป็นผู้นำ ทำอย่างไรให้ลูกน้องเป็นผู้นำให้ได้ จึงนำมาสู่การ Empower ให้ลูกน้อง

          Anne Mulcahy ทำงานที่ซีร็อกเรียนรู้จากที่ซีร็อกประสบปัญหา มีการนำมาแชร์และ Feedback หาวิธีการทำให้ทุกคนผลักดันแก้ไขวิกฤติไปสู่ความสำเร็จได้ มีการ Inspire พนักงานโดยใช้ 3L’s คือ Learning from Pain, Experience และ Listening ทำให้บริษัทกลับมาสู่ความสำเร็จได้ เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ เกิด Imagination ให้ผู้นำสำเร็จ  การเป็นผู้นำไม่ใช่ใครก็เป็นได้ แต่การเป็นผู้นำที่ยั่งยืนคือผู้นำที่แท้จริง

คำถาม 8 ข้อ

1. ใครและประสบการณ์ใดในช่วงต้นชีวิตมีอิทธิพลต่อตัวคุณมากที่สุด

2.เครื่องมือที่ใช้ในการทำความรู้จักตัวเอง

3. ค่านิยมที่ยึดถือมากที่สุด

4. แรงจูงใจภายนอกและภายใน

5. กลุ่มผู้สนับสนุนประเภทใดที่คุณมี

6. ชีวิตคุณเป็นหนึ่งเดียวหรือไม่

7. การเป็นผู้นำที่แท้จริง มีความหมายต่อชีวิตคุณอย่างไร

8. คุณสามารถทำอะไรได้บ้างในวันนี้ วันพรุ่งนี้ และตลอดปีต่อ ๆ ไปเพื่อพัฒนาตัวเองไปสู่การเป็นผู้นำที่แท้จริง

 

          ดร.จีระเสริมว่า Obama ทำ Community Organizer เข้าไปในชุมชนและพัฒนารากหญ้า เป็นประสบการณ์ที่ทำให้เขาเข้มแข็งในการพัฒนาการเมืองต่อไป

          ใน Paper นี้ได้พูด 2 เรื่องคือ Value คุณค่าและค่านิยม  คนในนี้ต้องมาดูแลแก่นนิยมให้ดีว่า What do you want in life?

          Value คือ มูลค่าที่เกิดขึ้น เป็นค่านิยม หรือแก่นนิยมที่เป็นตัวปลูกฝังเรา ดังนั้นการที่เรามีค่านิยม และจริงใจ เป็นค่านิยมที่เป็นความรู้ที่จริง ๆ ในวันนี้คนเหล่านี้อยู่ที่ไหน

          Authenticity เป็นที่บุคลิกภายใน ถ้าภายในหวังดีและ Clean ก็จะดี

          ทุกคนต้องมีอุปนิสัยในการอ่านหนังสือ อ่านแล้วต้องยิงเข้าไปที่ DNA ของเรา เป็นการอ่านเพื่อให้เราเข้มแข็งขึ้น  ดังนั้นเวลาเรียนปริญญาเอก แก่นของเราต้องแม่นก่อน และเมื่อแก่นเราแม่น เราจะสามารถเติมได้ เราไม่สามารถตอกเสาเข็มในกลุ่มของเรา ไม่เช่นนั้นจะล้มเหลว

          Authenticity ไม่ใช่บุคลิกอย่างเดียว แต่เป็น Value ที่อยู่ข้างในด้วย ถ้าเรามองเฉพาะเงิน สังคมจะอยู่ไม่ได้ เราต้องทำตัวให้ Positive ให้ได้  Ph.D คือปรัชญา

          การทำให้เกิดความสำเร็จได้ต้องต่อเนื่อง ต้องมี Authenticity + ค่านิยม และต้องผ่านความทรมานความเจ็บปวด  Pain before gain

 

กลุ่มที่ 2  Seven Transformations of Leadership

          David Rooke และ William Torbert ผู้เขียน เป็นการศึกษาภายในตัวตนก่อน ใช้เวลาศึกษาคนอายุ 25-45 ปี มองว่าเรื่องบุคลิกแต่ละบุคคลไม่ได้สร้างความแตกต่างมากนัก แต่สิ่งสำคัญคือ Action Logic คือตรรกะที่ใช้ การเผชิญกับสภาพแวดล้อม คิดและตรรกะในการเผชิญเป็นอย่างไร  และ Output ที่ออกมาจะสร้างแรงกระเพื่อมได้อย่างไร  เริ่มจากการเข้าใจตนเองก่อนถึง Action ถูก เช่น Leadership ทำไมต้องเรียน ต้องเข้าใจ Significant คือ Leadership ที่สร้างการเปลี่ยนแปลง สิ่งสำคัญคือ เราจะ Turn จากผู้นำระดับล่างมาสูง มีเทคนิคอะไรบ้าง สร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร

          1. ผู้นำแบบนักฉวยโอกาส มีประมาณ 5%

          เป็นผู้นำที่ตัดสินใจในภาวะฉุกเฉินได้ดี สามารถปิดยอดได้ตามเป้า เป็นผู้นำที่เห็นแก่ตัวไม่ค่อยมีผู้ติดตามได้งาน ไม่น่าไว้วางใจ

          2. ผู้นำแบบนักการทูต

          จุดเด่นคือสร้างกาวใจให้ทีม แต่จุดด้อยคือไม่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาได้เลย

          3. ผู้นำแบบผู้เชี่ยวชาญ

          ปกครองด้วยเหตุผล ความเชี่ยวชาญของตัวเอง สร้างการยอมรับให้ลูกทีม เป็นผู้นำที่ทำประโยชน์ให้สูงสุด เนื่องจากมีความชำนาญในการทำ  แต่จุดด้อยคือเป็นผู้นำที่ขาดความฉลาดทางอารมณ์

          4. ผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จ มีประมาณ 30 %

          สามารถพาองค์กรให้บรรลุ ประสบความสำเร็จ ตอบสนองเป้าหมายได้ดี เป็นผู้นำเกี่ยวกับการบริหาร รับฟังความคิดเห็นคนอื่น ทำให้งานออกมาดี บรรยากาศดี ข้อเสียคือไม่คิดนอกกรอบทำเฉพาะสิ่งที่มอบหมายเท่านั้น ไม่ได้สร้างสรรค์ให้ดีขึ้น

          5. ผู้นำแบบปัจเจกชน มีประมาณ 10%

          เป็นผู้นำแบบนักปฏิวัติ เป็นผู้นำที่กล้าคิดนอกกรอบ แต่ข้อเสียคือเอาความคิดตัวเองเป็นหลักและชอบทำงานคนเดียว ไม่สามารถร่วมงานเป็นทีมเวอร์ก  ไม่ยืดหยุ่น ประนีประนอม ส่วนใหญ่เหมือนพวกคนทำงานธุรกิจส่วนตัว หรือเจ้าของกิจการมากกว่า

          6. ผู้นำแบบนักกลยุทธ์ มีประมาณ 4%

          เน้นเรื่องความร่วมมือ รู้จักแก้ปัญหาสถานการณ์ มองภาพรวม เน้นความร่วมมือ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน สร้างการเปลี่ยนแปลงระยะสั้น ระยะยาว มีวิสัยทัศน์ไกล มองภาพรวมองค์กรเป็นหลัก

          7. ผู้นำแบบนักเปลี่ยนแปลง มีประมาณ 1%

          เป็น Super ผู้นำ สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ละองค์กร และสถานการณ์ปัจจุบันได้ดี มีบารมี มีคุณธรรม จริยธรรมในระดับสูง เน้นความปรองดองเป็นหลักในสังคม นำการเปลี่ยนแปลงในวงกว้างของสังคม ข้อเสียไม่มี ข้อดีคือนึกถึงภาพรวมมากกว่า

 

          สรุป ผู้นำที่ด้อยที่สุดคือผู้นำใน 2 แบบแรกคือ ผู้นำแบบฉกฉวย และนักการทูต แต่ผู้นำที่มีประสิทธิภาพมากสุดคือ ผู้นำแบบนักกลยุทธ์ และนักเปลี่ยนแปลง แต่มีน้อยมาก

          พันธุกรรมมีอิทธิพลต่อตัวบุคคล แต่เราสามารถพัฒนาได้

 

การเปลี่ยนแปลงผู้นำในแต่ละแบบ

          ผู้นำสามารถพัฒนาได้ ไม่ใช่ผู้นำแบบ Expert เป็น Expert ตลอด แต่การเปลี่ยนแปลงจะเปลี่ยนแปลงตามลำดับขั้น

1. ผู้นำต้องเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

2. องค์กรสนับสนุน

          ยกตัวอย่างผู้นำขั้นเทพคือ Nelson Mandela เป็นนักต่อสู้ที่ได้รับสมญานามว่าเป็นมหาบุรุษแห่งแอฟริกาใต้ เป็นชาวผิวดำคนแรกที่รับตำแหน่งประธานาธิบดี ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ชีวิตสำเร็จในวัย 75 ปี แต่ที่ผ่านมาประสบด้านมืดมายาวนาน

          พฤติกรรมที่โดดเด่นที่มีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวขานจากทั่วโลก อย่างกีฬารักบี้ Nelson สวมชุดนักกีฬาแอฟริกาใต้ ได้กำมือชูกำปั้นแล้วไปโค้งคำนับ เป็นพฤติกรรมที่เป็นที่ชื่นชมทั้งผิวขาว ผิวดำจนผู้ว่าฯ กล่าวว่าพฤติกรรมแบบนี้มีคนเดียวที่ทำได้คือ Nelson คนอื่นไม่สามารถทำได้

          เสียชีวิตด้วยวัย 95 ปี แต่ผลงานได้ถูกจารึกไว้ในแอฟริกาใต้และชาวโลกตราบนานเท่านาน

          ในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นผู้นำในระดับโลก มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

          1. ผู้นำทำผิดได้และต้องน้อมรับคำวิจารณ์

          2. ผู้นำต้องมีสติเพื่อทำให้เกิดความรู้ เป็นตัวสร้างให้เกิดปัญหาและรู้ทันอารมณ์

          3. ผู้นำต้องรู้จักความพอเพียง เพราะความพอเพียงเป็นบ่อเกิดของความประหยัด  พระปรีชาสามารถของพระองค์เป็นที่รู้จักของชาวไทยและขาวโลก เป็นผู้นำของโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา

          70 ปีการครองราชย์ ของพระองค์ได้สร้างความภาคภูมิใจของชาวไทยและชาวโลก และได้รับการยกย่องจาก UN ด้านความสำเร็จด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

          มาร์ติน ลูเธอร์คิง กล่าวว่า  ผู้นำแท้ไม่ใช่แสวงหาการยอมรับ แต่เป็นบ่อเกิดของการยอมรับ

 

กลุ่มที่ 1 สุดยอดผู้นำระดับ 5

          อะไรเป็นสิ่งผลักดันให้เกิดการแปรสภาพจากบริษัทดีเยี่ยมไปสู่บริษัทที่ยิ่งใหญ่

          ยกตัวอย่าง ฮิตเลอร์ เป็นผู้นำที่นำความหลังนำมาสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว

1. คนที่มีความสามารถสูง

2. มีประโยชน์แก่กลุ่ม

3. ผู้จัดการที่มีความสามารถ

4. ผู้บริหารที่มีประสิทธิผล

5. ผู้นำสร้างความยิ่งใหญ่และยั่งยืน

          ในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นตัวอย่างของผู้นำระดับ 5

          ผู้นำระดับ 5 นอกจากความยิ่งใหญ่และยั่งยืน จะมีเรื่องความอ่อนน้อมและถ่อมตน และที่สำคัญคือต้องมีความตั้งใจจริง

          พบว่าบริษัทที่ยิ่งใหญ่ ที่มีความต่อเนื่องและยั่งยืน จาก 1,000 กว่าบริษัท มีแค่ 11 บริษัท

ความยิ่งใหญ่ & Chira Way

1. ผู้นำที่มีทั้งอ่อนและแข็งในตัว ไม่ใช่เป็นผู้นำระดับ 5 และประสบความสำเร็จ ถ้ามีผู้นำที่มีปัจจัยประกอบนี้ บริษัทจะยิ่งใหญ่

- การคัดเลือกตัวบุคคล เป็นเรื่องทุนมนุษย์ 8K’s 5K’s มาเกี่ยวข้อง เป็นทุนมนุษย์ที่มีความสามารถและปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าเป็นผู้เลือกหรือถูกเลือกต้องมองความเป็นจริงและตรงประเด็น ต้องสร้างความสุขให้ส่วนรวมได้

- บุคลิกเป็นคนอ่อนน้อม ถ่อมตน คือให้เกียรติคนอื่น ตัวเขาเองเป็นผู้เลือกหรือส่งไม้ต่อได้

2. แนวความคิดแบบ Stock Dell มีความเชื่อว่าถ้าวันนี้เป็นวันแย่ที่สุดของเขาแล้ว ในวันพรุ่งนี้ต้องดีแน่นอน มี 2 I’s คือ Imagination & Inspiration

3. การสร้างฟันเฟืองเพื่อฟันฝ่าอุปสรรค หมายถึงต้องมีความต่อเนื่อง เหมือนกระบวนการแก้ปัญหาที่ต้องมีความต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง หยุดไม่ได้

4. ทฤษฎีตัวเม่น กับสุนัขจิ้งจอก  สุนัขจิ้งจอกเป็นตัวแทนของรู้หลายเรื่องเยอะ เป็นตัวแทนความซับซ้อน แต่ตัวเม่นเป็นตัวที่รู้เรืองเดียวและลึกเปรียบเสมือนความเรียบง่าย

          การฟันฝ่าอุปสรรคต้องรู้ก่อนว่าอะไรที่เราทำได้ดีที่สุด สอดคล้องกับทฤษฎี 3 วงกลมคือ ดีที่สุดคืออะไร และคนอื่นชื่นชอบอะไรในตัวเรา

5. ตัวเร่งทางเทคนิค การที่เรามีความรู้ความสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ได้เสมือนเราติดเทอร์โบให้หน่วยงานเราก้าวหน้ามากขึ้น

6. ความมีวินัยและจริยธรรมของผู้นำ วัฒนธรรมการมีวินัย ต้องประกอบด้วย คน มีวินัย คิดแบบมีวินัย และปฏิบัติอย่างมีวินัย และถ้าบวกด้วยจริยธรรม จะทำให้ก้าวหน้าได้อย่างยั่งยืน และเติบโต

          สรุปผู้นำระดับ 5 ใช้ปัจจัยทั้งหมดในการพัฒนาผู้นำขององค์กร ถ้าเรียนรู้จากปัจจัยทั้งหมดจะสร้างให้เกิดการก้าวสู่การเป็นผู้นำระดับ 5

          ตัวอย่างในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นตัวอย่างของผู้นำที่มีความอ่อนน้อม และ มีความมุ่งมั่นใจการทำสิ่งต่าง ๆ

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          กลุ่ม 3 เน้น Transformation เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่แค่ Transactional แบบค่อยเป็นค่อยไป

          ยกตัวอย่างความขัดแย้งระหว่าง Donald Trump กับ คิมจองอึน บางครั้งการใช้ Strategic ในการห้ำหั่นคน ผลที่ได้อาจคือความรุนแรง ดังนั้นต้อง Aware ว่าบางครั้งการเป็น Diplomat ที่ดีต้องประนีประนอม

          หนังสือที่ให้วิจารณ์ต่อไปคือ 6 Thinking Hats Edward De Bono ไม่ได้บอกว่าความคิดไหนดีที่สุดแต่ขึ้นกับสถานการณ์

          ผู้นำที่ดีในระดับ 5 ตัวอย่างคือในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่เป็นผู้นำในระดับ Global ที่ยิ่งใหญ่ และยั่งยืน ทั่วโลกยอมรับ

    ผู้นำต้องเป็นผู้นำที่มีสมถะ ถ่อมตัว ยกตัวอย่างในปัจจุบันอาทิ นายชวน หลีกภัย

 

การนำเสนอของนศ.ปริญญาเอกเรื่อง การวิเคราะห์กูรู 3 คน

          เสนอแนะ ได้แก่ เบนิส เจมส์คอลลิน และ ลินดา เกรกตัน


ครั้งที่ 10

…………………………………………………………………………………………

วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน 2560

บันทึกสาระสำคัญในห้องเรียน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ในฐานะที่เป็นลูกศิษย์มา 20 ปี คุณวราพรสามารถย่นระยะเวลาความรู้ต่างๆ มาได้อย่างไรบ้าง

คุณวราพร ชูภักดี

อยู่กับดร.จีระตั้งแต่เป็นนักศึกษาปี 2 เริ่มตั้งแต่ ตอนนี้เขียนโครงการ บริหารโครงการ เขียนบทความ หนังสือ สารคดี

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คุณวราพรช่วยเรื่องหนังสือมาก ตอนนี้กำลังปรับปรุงเรื่อง 8K’s

อาจารย์จีระเขียนบทความ และควบคุมดูแล

คุณวราพรทำได้ดีเรื่องหนังสือ

คุณวราพร ชูภักดี

อาจารย์ทำเพื่อสังคมไปด้วย ทำในสิ่งที่ยาก

อาจารย์สอนให้ทุกคนกัดไม่ปล่อย ทำให้สำเร็จ

ทุกโครงการสร้างความภาคภูมิใจให้ทีมงาน

สะท้อนทุนความสุข  ทำงานเต็มที่ ทำงานที่บ้านเริ่มตั้งแต่ตี 4 ทำถึง 3 ทุ่ม มีอิสระการทำงาน คิดเอง ทำเอง ต้องมีผลงาน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เป็น Empowerment บริหารจัดการคน สำคัญ ผมให้อิสระทำงานที่ใดก็ได้ ระบบดิจิตอล ทำให้ทำงานที่ใดก็ได้

วิทยานิพนธ์ควรศึกษา work system and work flexibility ในอนาคต

เห็นคุณค่าจากการทำงานที่หลากหลาย

อย่าขยันอย่างเดียวและคิดในกรอบ ต้องทำงานต่อเนื่อง

เมื่อหลักสูตรไปได้ดี ก็มีคุณค่าของตนและอยู่กับตนได้นานที่สุด

อาจารย์ใช้เวลาในการเรียนการสอนมาก

คุณวราพร ชูภักดี

ทฤษฎีอาจารย์ใช้ได้จริง เช่น 2R’s อาจารย์ให้แนวคิด เราต้องทำให้เป็นจริงและให้ได้เงิน

กว่าจะเข้าใจทฤษฎีใช้เวลา 7 ปี ตอนนี้ก็ได้เห็นผลแล้ว

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

รุ่นแรกยังไม่มี Chira Way

ตอนนี้แนวคิดก็เข้มแข็งแล้ว ได้รับการปะทะกันทางปัญญาหลายครั้งแล้ว

ถาม สิ่งที่ทำให้ทำงานแล้วมีความสุขที่สุด

คุณวราพร ชูภักดี

ทำงานแล้วสำเร็จ feedback คนรอบข้างได้ respect จากคนอื่นทำให้มีความสุข คนต่างจังหวัดน่ารักมากเขาก็นับถือ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้ามีพื้นฐานความรู้ดี ก็จะต่อยอดได้ง่าย

ความรู้ต่างๆอยู่ข้างใน

ถาม มีวิธีบริหารความคิดที่ขัดแย้งอย่างไรเวลาทำงานกับอาจารย์

คุณวราพร ชูภักดี

คิดให้รอบคอบก่อน แล้วมองให้ดีอาจารย์คิดอะไรแล้วคิดให้เหมือน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องคิดว่า เป็น collaborator กัน ต้องให้คนทำงานแบบมีเกียรติและศักดิ์ศรี ต้องดูสถานการณ์และความต้องการของคน

ภาวะผู้นำของอาจารย์ไม่ใช่สั่งการ แต่ต้องมีการหารือกัน พูดในทางบวก

บางครั้งคนเก่งก็มั่นใจในตนเอง ต้องบริหารลูกน้องตามความสามารถของเขา เพราะต้องพึ่งพากัน

คำถามนี้ดีมาก

ต้องปรับตัวเข้าหากันแล้วงานจะดีขึ้น

เจ้านายไม่ได้มีอำนาจสั่งการทุกอย่าง แต่ในอนาคต เจ้านายต้องทำงานเป็นทีม การบริหารจัดการลูกน้องเป็นเรื่องยาก

ผู้นำระดับ 5 เหมือนไม่ได้เป็นผู้นำ คือสมถะ ก็จะประสบความสำเร็จ

ต้องศึกษาทุนทางอารมณ์ แล้วปรับตัวเข้าหากัน

Covey กล่าวว่าคนเจอวิกฤติต้องหยุดนับ 1-10 แล้วความรู้สึกจะหายไป ถ้าแสดงออกทันทีจะทำให้ไม่ชนะ

สิ่งที่อาจารย์ได้เปรียบนักพัฒนาคนคือ อาจารย์เป็นเจ้านายอยู่แล้ว ต้องบริหารคนเป็น มีลูกน้องที่เก่งและมีความหลากหลาย

เวลามีวิกฤติ ทำให้ปรับตัว แล้วต้องค้นหาตัวเอง

วิกฤติในองค์กร ควรมองเป็นโอกาส อย่ามองเป็นปัญหาหรือคิดเชิงลบ แล้วจับมือกันไว้

บางครั้งนักธุรกิจมีปัญหาก็ปลดคนมากมาย ควรทำงานร่วมกันทั้งยามดีและวิกฤติ

ถาม ผู้บริหารระดับสูงคิดอย่างหนึ่งระดับท้องถิ่นต้องทำตามหรือไม่

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผู้นำท้องถิ่นต้องเน้น 2R’s reality แต่ก็ต้องทำตามนโยบายผู้นำระดับสูงด้วย

เวลาอ่านต้องเลือกประเด็นสำคัญสุดมาคุยกัน การเลือกประเด็นและแก้ปัญหาต้องใช้ปัญญา

เมื่อปะทะกันทางปัญญา ก็ไปสู่การหาความรู้เพิ่มเติม

Peter Senge บอกว่า ต้อง unlearn สิ่งที่ล้าสมัย

ควรสอนผู้นำท้องถิ่นให้เข้าในนโยบายระดับชาติ แต่สถานการณ์แต่ละท้องที่ ต้องเข้าใจด้วย เหมือนรัชกาลที่ 9 เข้าใจภูมิสังคม

ถาม มีประเด็นใดที่เป็นจุดเปลี่ยนชีวิต

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถามดีมาก

คุณวราพร ชูภักดี

เริ่มจากการเป็นคนไม่เก่ง ไม่ชอบอ่านหนังสือ ไม่ฟังสัมมนา แต่งานที่ทำได้โจทย์ยาก คนคาดหวังผลงานอาจารย์มาก อาจารย์มอบงานให้คิด ก็ต้องหาข้อมูล ฟังอาจารย์และเข้าใจทฤษฎีมากขึ้น

ตอนนี้อ่านมากขึ้น แต่อาจจะไม่ตรงใจอาจารย์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ไม่ควรคาดหวังที่จะสอนลูกน้อง แต่ควรให้เขาเสนอทางออกมา

ในเมืองไทย คนที่เรียนเก่งวิทยาศาสตร์ขาดความสามารถเรื่องคน หลักสูตรนี้ส่งเสริมให้ปฏิบัติต่อคนด้วยการฝึก บางครั้งลูกน้องไม่ทำงานด้วยเพราะต้องการเกียรติและศักดิ์ศรี

รัชกาลที่ 9 ทรงได้รับการยอมรับจากคนในโลกเพราะท่านไม่ได้เน้นอำนาจ ตำแหน่งเป็นแค่สิ่งสมมุติ

สายตาของทุกคนในวันนี้ก็ให้เกียรติอาจารย์

ตอนนี้จะทำวิจัยมากขึ้น ลงพื้นที่ช่วยชาวบ้านมากขึ้น และช่วยปริญญาเอกมากขึ้น

คนที่ไม่มีความคิดของตนเอง จะถูกโน้มน้าวตนเองได้

คนต้องมีทุนทางจริยธรรมก่อน ปัญญามาจากความคิดที่มาจากข้อเท็จจริง ต้องคิดให้ช้าลง

รางวัลโนเบลบอกว่า ต้องคิดเร็วและช้าได้เหมือนกัน คิดเร็วสามารถฉกฉวยโอกาสได้ คิดช้าคือมองความเป็นไปได้ มีความรอบคอบ คนเล่นหุ้นสำเร็จเพราะมีทั้งสองสิ่งนี้

มนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักร Robotics ฉลาดกว่าคนในบางเรื่อง แต่ขาดอารมณ์ ความรัก ความคิดสร้างสรรค์

ถาม ทำงานกับอาจารย์มานาน คิดว่าจะสามารถสอนแบบอาจารย์ได้ไหมในอนาคต

คุณวราพร ชูภักดี

ไม่น่าได้ เพราะชอบงานเบื้องหลังมากกว่า

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทุกคนมีความกลัว ต้องรู้จักการบริหารจัดการใจของตนเอง

บางคนไม่ชอบขึ้นเครื่องบิน ต้องเอาชนะเรื่องนี้เพราะจะช่วยไม่ให้เสียโอกาส

ควรเน้นการฝึกแล้วจะสามารถทำได้

ความสำเร็จต้องมาจาก 8K’s+ 5K’s ก็ได้

สิ่งที่คุณวราพรพูดก็เติมเต็มช่องว่างที่คาดไม่ถึง

การเขียน 8K’s+ 5K’s อาจารย์จีระหาข้อมูลความจริงก่อนคือเป็นประสบการณ์ส่วนตัวแล้วหาทฤษฎีมาสนับสนุน ก็คล้ายแนวทางรัชกาลที่ 9 ดูความจริงก่อนแล้วเข้าไปสู่ทฤษฎี

ลูกน้องต้องเติมช่องว่างที่เจ้านายได้ดี

เวลาเขียนวิทยานิพนธ์ ควรเขียนไปก่อนแล้ว ไปหาคนมาช่วยเวลามีปัญหา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ตั้งแต่เรียนมา ได้อะไรที่คาดไม่ถึงจากดร.จีระและหลักสูตร ทำให้ปรับตัว กระทบต่อด้านต่างๆในชีวิต

คำตอบ

คนที่ 1 คุณพิม

เมื่อพูดถึงทุนมนุษย์ อาจารย์จะเน้นในคิดทุกเรื่อง ทำให้ได้ keyword ค้นหาความแตกต่าง เช่น ได้ยิน ความสุข happy workplace อาจารย์ก็บอกว่า มี happy at work ด้วย เพราะมาจากข้างใน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

แรงจูงใจ คนทำงานสำเร็จ เครียดแต่ไม่ชอบงาน ไม่มีความสุข

คนที่ 1 คุณพิม

การพัฒนาคนต้องทำแต่เด็ก อยากไปสอนเด็กให้รู้จักทุนมนุษย์ ทุนทางจริยธรรม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

HR architecture มองการพัฒนาคนไม่ควรทำแค่ช่วงทำงาน

ตอบดีมาก

ควรนำความรู้มาต่อยอด

HR architecture เกิดที่มหาวิทยาลัยบูรพา

ชอบแนวคิดวงจรชีวิต ควรทำเรื่องวงจรชีวิตอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ควรวิเคราะห์ธุรกิจเกี่ยวกับคนกลุ่มนี้ ทำไมบางคนอายุสั้น บางคนอยู่แบบม่ความสุข

คนที่ 2 คุณวันดี

1.จริยธรรม ถ้าทุกคนได้รับปลูกตั้งแต่เด็กก็เป็นผู้นำที่ดีและผู้ประกอบการที่ดีได้

ผู้นำต้องมีศรัทธา

ผู้ประกอบการต้องมีจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม สร้างนวัตกรรมใหม่

การมีจริยธรรมดี ไปสู่จรรยาบรรณและกฎหมายดี มาเรียนครั้งนี้ทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น

2.Human Capital ชอบตั้งแต่ปริญญาตรี แต่เข้าใจจากการอ่าน 8K’s 5K’s

คนที่ 3

คนที่ทำงานมองว่าเรากล้าทำในสิ่งที่คนอื่นไม่กล้าทำ เป็นการกล้าเปลี่ยนแปลงตนเอง กระตุ้นให้คนอื่นสนใจเรียนต่อ ได้นำวิชาอาจารย์ไปพูดในที่ทำงาน เช่น 4L, 8K’s HRDS

ตนใจร้อน HRDS ตรงใจ ทำให้บริหารลูกน้องได้ดี ให้เกียรติและเคารพลูกน้อง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้ามนุษย์ไม่มีศักดิ์ศรีและไม่มีการยกย่องนับถือ เจ้านายทำงานไม่สำเร็จ

ขอบคุณที่ยกประเด็นนี้

คนที่ 3

เข้าใจตอนไปบ้านอาจารย์

อีกข้อคือ 4L ที่ทำงานความรู้คนไม่เท่ากัน จึงปรับใช้ สร้างบรรยากาศการเรียน ไปอบรม นำมาหารือกัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

บทความแนวหน้าเดือนตุลาคม เน้นศาสตร์พระราชา

วันที่ 20 ตุลาคม 2560 อาจารย์ไปบรรยายให้นักเรียนฟังเรื่อง ภาวะผู้นำให้นักเรียนโรงเรียนชั้นนำฟัง

ในระหว่างที่ยังเรียน ควรมีกิจกรรมปลูกฝังให้คน มีการปะทะกันทางปัญญา

เวลาคนประสบความสำเร็จมักมีความสุขกับความสำเร็จในปัจจุบันจนลืมตัว ควรคิดว่า ในอนาคตจะทำอะไร

ความรู้ต่างๆต้องขยายออกไปเรื่อยๆ ต้องหาความรู้เพิ่มเติม

คนที่ 4

อาจารย์ได้ตกผลึกการปฏิบัติและทฤษฎี จึงนำไปใช้ในเรื่อง logic thinking ได้

การมองเปลี่ยนไป เราเป็นโค้ชผลักดันทีมงานให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน นำความรู้ไปถ่ายทอดต่อ

มีการรักษาคนเก่งในองค์กรไว้

ในเรื่องครอบครัว HR Architecture เลี้ยงลูกต้องสร้าง mindset สร้างพฤติกรรมที่ดีแต่เด็ก เมื่อโตแล้วก็เปลี่ยนลำบาก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

HR Architecture เกิดในรุ่น 15 อย่างแท้จริง รุ่นอื่นมองในระดับประเทศ แต่รุ่นนี้นำไปใช้กับครอบครัว

ไม่ควรประมาทกับชีวิต

นักศึกษาปริญญาโทชาวอินโดนีเซียบอกว่า ศาสตร์พระราชาเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับทุนนิยมสามานย์

ในอนาคตต้องมี performance+happiness+sustainability

ควรดูเรื่องความสุขของพนักงานด้วย บางคนไม่สำเร็จด้านสุขภาพ ครอบครัว ทำงานให้สังคม

คนที่ 5 คนจีน

เป็นเกียรติที่ได้เรียนจากอาจารย์และเพื่อน

Sustainability นำไปใช้เปลี่ยนทัศนคติ

การเรียนรู้ไม่สิ้นสุดในห้องเรียนต้องใช้ตลอดชีวิต

Leadership ให้เกียรติลูกน้อง ลูกน้องต้องเติมช่องว่างให้ผู้นำ ได้นำไปดูแลครูจีนที่ทำงานในไทย แต่ละคนมีจุดเด่น เราไปจัดกิจกรรมให้โรงเรียนต่างจังหวัด

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ประสบการณ์จากจีนดีมาก อยากมีโอกาสได้รับใช้ประเทศจีนด้วย

หลักสูตรนี้ช่วยให้คนในสังคมดีขึ้น รุ่นนี้น่าจะช่วยเยาวชนเพราะเยาวชนยังไม่เข้าใจว่าต้องพัฒนาทุกช่วงอายุ พ่อแม่ต้องปลูกฝังคุณธรรมแต่เด็ก แทนที่จะเก่งวิชาการอย่างเดียว

คนที่ 6

ตอนแรกคิดว่าจะมาหาความรู้ ไม่คิดว่าจะนำปริญญาไปใช้ประโยชน์ ทุกคนน่าจะเรียนและซึมซับบุคลิก ประสบการณ์ของอาจารย์ แล้วไปใช้ในที่ทำงาน

ตอนหลัง ก็คุยเรื่องอาจารย์จีระ ผู้นำ วิชาที่เรียนกับภรรยา ก็เป็นเรื่องที่ดี

เป็นปลูกแล้วปลูกอีก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องมีจิตใจเพื่อปลูกความรู้ตลอดเวลา

คนที่ 6

ได้นำความรู้ไปสอนลูกน้อง เช่น 8K’s เป็นประโยชน์เป็นทอดๆ ตรงตามเจตนาอาจารย์ที่ให้ถ่ายทอดความรู้

เรียนกับอาจารย์ก็ทำให้ได้ใกล้เขาไปทุกที

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ควรใช้เวลาปรึกษาอาจารย์เรื่องวิทยานิพนธ์ ควรเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้ตั้งสมมติฐานที่ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามกับตัวแปรอิสระ ทุกอย่างต้องกระเด้งมาจากสมมติฐานหลัก

ควรหาข้อมูลเชิงคุณภาพและปริมาณมาสนับสนุน ข้อมูลเชิงคุณภาพควรมีคนมาให้ข้อมูลเชิงลึก 4-5 คน

ต้องตั้งโจทย์มี Impact ต่อการเรียนรู้และประเทศ มาทำเป็น Pocket Book

คนที่ 6

วิทยานิพนธ์จะเน้นเชิงคุณภาพ

เมื่อเรียนภาวะผู้นำ ก็สนใจที่จะทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เมืองไทยขาดภาวะผู้นำ ต้องตั้งสมมติฐานเด็ดขาด

ต้องหาคนมี wisdom สูงมาให้ข้อมูล

อยากทำภาวะผู้นำที่ต่อเนื่องมาในบริษัท เช่น SCG, SCB

ภาวะผู้นำยุค Peter Drucker, Dr. Chira ก็ต่างกันไปตามช่วงเวลา

การศึกษาที่ดีต้องสอนให้คนคิดเป็น วิเคราะห์เป็น ยกย่องให้เกียรติคน ทำให้นำไปสู่ประชาธิปไตยที่ดี

คนที่ 7

ได้นำทฤษฎีไปใช้ได้ทุกเรื่อง เช่น ธุรกิจ ครอบครัว ฟังบรรยาย

เคยไปฟังผู้จัดการทีมชาติไทยปิงปอง เขาบอกว่า คนจีนเริ่มเรียนปิงปองตั้งแต่อายุ 3 ขวบ ไทยเริ่มช้า จึงไม่ทัน ตรงตามทฤษฎีอาจารย์

ทุนทางความสุขสำคัญมากสุดสำหรับพนักงาน

ทุกคนแสดงความคิดเห็นได้ดีมาก

พระพุทธเจ้าเป็นผู้นำความคิด

คนที่ 8

ตอนแรกที่มาเรียน ยังไม่เข้าใจทฤษฎี แต่ในความเป็นจริง ทฤษฎีอาจารย์ เมื่อเข้าใจแล้วรู้สึกทุนมนุษย์สำคัญ การปลูก เราเป็นต้นแบบให้ลูกได้ อาจารย์สำเร็จได้เพราะพ่อถามคำถามยากให้ใฝ่รู้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ยังแปลกใจตอนที่พ่อสอนตอนเด็ก ให้ไปหาข้อมูลว่า เลขาธิการสหประชาชาติคือใคร ก็ต้องไปหาข้อมูล

การตั้งคำถามปลายเปิดให้ลูกเป็นเรื่องที่ดี เช่น เมื่อมีอายุ 40 ปีจะทำอะไร

หลังจบหลักสูตรแล้วจะเชื่อมโยงกับอาจารย์อย่างไร

ดีใจที่ได้ยินอย่างนี้

รุ่นนี้ทำให้เข้าใจ HR architecture จะโปรโมทเรื่องนี้ให้มาก

หนังสือ Thanks for being late ไม่จำเป็นต้องทำเร็วทุกเรื่อง เพราะอาจพังได้

คนที่ 8

ก็ค่อยๆซึมซับ แต่เข้าใจดีช่วงเตรียมสอบ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เป็นเรื่องดีที่ได้รู้จักกันและวิเคราะห์ร่วมกัน

ต้องเข้าใจ ปลูก เก็บเกี่ยวและเอาชนะอุปสรรค

ปัญหาคือเจ้าของธุรกิจเน้นเรื่องเงิน แต่ให้รองประธานดูแลเรื่องคนเพราะเป็นเรื่องจุกจิก การมีคนหลากหลายมารวมกันสร้างพลังได้ดี

คนที่ 9

ในเรื่องครอบครัว เวลาทะเลาะกัน ก็ยก 2R’s มาใช้ลดความขัดแย้งในครอบครัว

ในช่วงที่ 2 ได้ทุนทางสังคม สร้างเครือข่าย เรียกผู้จัดการฝ่ายขายให้นัดลูกค้าทุกกลุ่มอาชีพมากินข้าวร่วมกัน ทำให้สร้าง connection ต่อกัน ได้งานเพิ่ม

คนที่ 10

เรียนกับอาจารย์ต้องไปศึกษาต่อยอดเพิ่ม ไปทำรายงานแล้วหารือกัน ทำให้ใฝ่รู้มากขึ้น อยากรู้ความจริง และตรงประเด็น ทำให้พัฒนาตนเองมากขึ้น 2R’s ทำให้เกิดมุมมองค้นหาความจริง มองประเด็นถูก แก้ปัญหาถูกต้อง มีสติมากขึ้น

ตั้งแต่เรียนมา โดนใจแนวคิดอาจารย์ ตอนนี้งานที่ทำ มักพบพนักงานไม่มีคุณภาพ คนขับรถ 80% ถือว่าเป็นคนสำคัญมาก อยากมาเรียนกับอาจารย์ต่อเนื่อง คิดตามไปด้วยแล้วนำความรู้ไปปรับใช้ พบทฤษฎีอีกหลายอย่าง ปรับใช้ได้ทุกข้อ คนขับมีคุณภาพชีวิตต่ำ มีปัญหาครอบครัว ยาเสพติด การพนัน บางครั้งก็ต้องรับฟังปัญหาส่วนตัวของพวกเขา จึงคิดพัฒนาคนเหล่านี้ให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดี เหมือนวงกลม หาทางออกไม่ค่อยได้ ต้องพัฒนาตั้งแต่รุ่นครอบครัว จึงนำ HRDS มาพัฒนา ถ้าทำความเข้าใจเขา ต้องให้เกียรติเขา ทำให้เขาภูมิใจในตัวเอง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

รัชกาลที่ 9 มองคนแบบเสมอภาคทำให้คนรู้สึกว่าตนมีคุณค่า

คนฉลาดไม่อยู่ที่ตำแหน่ง แต่อยู่ที่ความใฝ่รู้

ตอนที่ไปทำโครงการให้อบต. พนักงานขับรถพูดเก่ง เพราะได้เห็นมามากแต่ไม่มีโอกาสได้แสดงออก

ต้องพลิกปิระมิด

อย่าปล่อยให้กระทรวงศึกษาธิการดูแลทรัพยากรมนุษย์อย่างเดียว ทุกคนต้องช่วยกัน

ขอบคุณที่ดูแลคน

ในรุ่น 16 ควรทำกรณีศึกษา ต้องยกย่องหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จ

ถ้านำความรู้อาจารย์ไปเปลี่ยนทัศนคติคนได้ก็ดี

คนที่ 11

ไม่เคยเสียดายเวลา ไม่เคยขาดเรียน

เคยท่องทฤษฎีอาจารย์ แต่การประยุกต์อาจจะน้อยกว่าเพื่อน แต่อาศัยฟังจากคนอื่น

สิ่งที่ใช้ทุกวันคือ HRDS

ทำงานในวงการงบประมาณนมโรงเรียน 14,000 ล้านบาท มีการแย่งงบประมาณกันระหว่าง 74 โรงงาน นำความคิดอาจารย์ไปสอนให้เขาเป็นคนดี บอกให้เขาแบ่งปันกัน ตามปกติเขาจะแบ่งแบบไม่ยุติธรรม ถ้าเน้นยั่งยืน ต้องไปถึงรุ่นลูกหลาน ทำให้ได้พลัง นำความรู้ไปแปลเป็นคำพูดให้เขาเข้าใจไปสู่การปฏิบัติ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คุณมีแต่ให้

รัชกาลที่ 9 เน้น ขาดทุนคือกำไร ต้องให้ก่อนรับ

คนที่ 12

ครั้งแรกที่มาเรียน ก็ไม่เข้าใจบรรยากาศการเรียน

ครั้งที่สองเริ่มสนใจว่าทำไมหลักสูตรนี้สร้างผู้นำ

ออกจากห้องเรียน ก็นำความรู้ไปใช้ตลอด ทฤษฎีอาจารย์ใช้ได้เกือบทุกเวลา

มีลูกน้องหน่วยงานอื่นถามว่าทำอย่างไรจะได้ผู้นำแบบผม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ภูมิใจที่คุณทำงานให้สวนสุนันทา และ พูดในนามมหาวิทยาลัยอย่างมีเกียรติ

แต่ละคนเรียนแล้วนำความรู้ไปใช้ได้

คนที่ 12

ขอบคุณเพื่อนๆที่ส่งข้อมูลมาเป็นระยะ

ตอนที่ประชุมที่เยอรมนี เห็นไลน์จึงนำทฤษฎีอาจารย์ไปใช้ได้เมื่อคิดไม่ออก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

รุ่น 14 มีคุณเอื้อมพรเชื่อมโยงกับอาจารย์อยู่ วันอังคารนี้ก็จะมีคนมาฟังบรรยาย 200 คน จะเน้นเรื่องดิจิตอลกับการบริหารคน

ในการกล่าว Keynote ต้องเริ่มด้วยขอบคุณประธาน ตามด้วยการชมเชยและการนำเสนอประเด็น

คนที่ 13

ไม่เคยมีความรู้พื้นฐานและไม่เห็นความสำคัญการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แต่เรียนไปก็ได้ซึมซับความรู้

เมื่อฟังแล้ว นำไปใช้กับการทำงาน เช่น happy workplace, happiness capital เช่น เด็กไม่อยากเรียนคณิต ต้องทำให้เด็กมีความสุขในการเรียน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เรื่องนี้ก็เกี่ยวกับคณิต  ที่พระจอมเกล้ามีบัณฑิตเก่งสถิติ เป็นเรื่องดี อย่าใช้เวลากับทบทวนวรรณกรรมมากเกินไป

คุณสามารถช่วยด้านคณิตแก่เพื่อนได้

คนที่ 13

เห็นว่า เด็กเรียนเพื่อสอบผ่านแต่ไม่สามารถนำไปใช้ได้ อาจจะประยุกต์เทคโนโลยีให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ภาวะผู้นำเอาชนะอุปสรรคได้ ต้องมีวิสัยทัศน์กำหนดทิศทาง ต้องกล้ายอมรับวิกฤติและบริหารจัดการให้ได้

อุปสรรคได้แก่ วัฒนธรรมองค์กร ความหลากหลาย generation และสาขาที่เรียน 

วิทยานิพนธ์เป็นการทดสอบ ไม่ใช่บรรยายแบบนิยาย ต้องมีการทดสอบสมมติฐาน หลักสูตรนี้มีการเชื่อมโยงกันระหว่าง 3-4 เรื่อง

คนที่ 13

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เช่น คุณธรรม ความสุขถือเป็นเรื่องสำคัญเพราะเป็นการสร้างคนมีคุณภาพอย่างยั่งยืน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

แนวโน้มโลกเน้นพฤติกรรมมนุษย์ 8K’s+5K’s เป็นการผสานเศรษฐศาสตร์และจิตวิทยา

ตอนนี้ต้องศึกษาสิ่งที่มองไม่เห็น(ภายในใจ) ของคนด้วย

ต้องทำให้สิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษ มีแต่สิ่งดีๆรอบตัว เช่น สถานที่หาความรู้

นักศึกษาปริญญาเอกควรรวมพลังกัน อาจารย์จะแนะนำหนังสือดีๆมาให้อ่าน

การวิจารณ์หนังสือทำได้ดีมาก

ต้องมอง Macro (ทั้งระดับประเทศและโลก) แล้วดู Micro

รุ่น 14 จะไปหลวงพระบาง

คนที่ 14

HR architecture พ่อสอนให้ทำงานตั้งแต่เด็ก พ่อปลูกการศึกษา ให้แนวทาง ให้เรียนจนถึงปริญญาเอก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

รุ่นนี้ต้องนำ HRDS มาเป็นหลัก

มีความสุขในการเรียน ได้รับการนับถือจากจุฬา ธรรมศาสตร์ มหิดล

มีเกียรติและศักดิ์ศรี กล้าพูดภาษาอังกฤษในการประชุมนานาชาติ

คุณพูดแล้วสร้างแรงบันดาลใจ

อยากให้ HRDS เป็นกุญแจการเรียนปริญญาเอก

ตอนนี้ยังไม่มีการบูรณาการวิชาอาจารย์จีระ อาจารย์สมชาย อาจารย์เอนก ต้องถามว่า ทำไม 3 คนเหมาะที่จะสอนนวัตกรรมร่วมกัน ควรมีการสัมมนาโดยมีการเสวนาร่วมกันระหว่างอาจารย์ 3 ท่าน โดยมีนักศึกษาทุกรุ่นมาร่วม

สิ่งที่ประทับใจมาก คือ เคยคิดว่า ผู้นำต้องมีความต่อเนื่อง ในจีน สามารถทราบว่า ใครจะเป็นผู้นำในอนาคต

ในประวัติศาสตร์จีน ผู้นำที่ปฏิวัติแล้วอยู่ต่อ ก็จะยุ่งเหยิง เมาเซตุงใช้คอมมิวนิสต์ปกครองต่อ แต่คนก็ยกจน มี Cultural Revolution ใช้ศาสตร์คอมมิวนิสต์ปกครอง ทุกอย่างเป็นของรัฐบาล คนจึงจน

เติ้งเสี่ยวผิงมี 1 ประเทศ 2 ระบบ ปกครองแบบคอมมิวนิสต์แต่มีระบบเศรษฐกิจ มีเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีต่างประเทศ เป็นคนมอง 2R’s ถ้าคนไม่มีรายได้ ก็อยู่ไม่ได้

แสดงให้เห็นว่า ผู้นำทุกยุคต้องเปลี่ยน จังหวะที่ดี ธุรกิจก็ไม่ควรสู้กับการเมืองถ้าคิดว่าจะแพ้

เจียงซีมิน ต่อยอดเศรษฐกิจเสรี เปิดประเทศสู่เวทีโลก

หูจินเทาใช้ความยั่งยืนให้เศรษฐกิจเข้มแข็ง

สีจิ้นผิงเป็นคนเก่ง เป็นลูกอดีตพรรคคอมมิวนิสต์ ตอนอายุ 16 ปี ถูกกักขังให้ไปอยู่ในภาคเกษตร เห็นความยากจนและเห็นว่า จีนจะต้องมีศักดิ์ศรี สีจิ้นผิงส่งเสริมโลกาภิวัตน์ แต่ทรัมป์ไม่ส่งเสริม

แต่สีจิ้นผิงไม่ควรบ้าอำนาจ

ไทยกับจีนต้องร่วมมือกัน

หลักสูตรนี้ในอนาคตควรเป็นหลักสูตรนานาชาติ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ถ้าจะทำวิจัย ควรทำ

1.กรณีศึกษาเปรียบเทียบผู้นำราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน มีคุณลักษณะแตกต่างกันอย่างไร

2.วิจัยผู้นำที่เป็นผู้หญิง ผู้หญิงในไทยได้รับการส่งเสริมเป็นผู้นำมากกว่าประเทศอื่น

3.องค์กรใดมีการเตรียมการพัฒนาผู้นำอย่างต่อเนื่อง

4.ผู้นำตะวันตกและผู้นำตะวันออกแตกต่างกันอย่างไร

5.ผู้นำในบริบททุนมนุษย์มีอะไรที่ทำให้ทุนมนุษย์ขับเคลื่อนไปได้ข้างหน้า

6.ผู้นำ 3-4 รุ่น เตี่ย เสี่ย ลูกเสี่ย

เซ็นทรัลเป็นตัวอย่างที่ดีของธุรกิจครอบครัว

คุณทรงวุฒิ

ในช่วงแรกของวันนี้ อาจารย์เชิญคุณวราพรมานั่งแล้วคนในห้องมาถาม เป็นบทหนึ่งของการสร้างผู้นำ คล้ายกับเป็นยุทธศาสตร์ ในเรื่องคำถาม เวลาที่คนไทยไปประชุมที่ใด ก็มักจะเงียบ วิธีของอาจารย์เป็นความแตกต่างในการสร้างความเป็นผู้นำทั้งคนฟังและพูด

อาจารย์กล่าวถึง Peter Senge ซึ่งก็ได้อ่านในร้านหนังสือแล้ว มีหลัก 5 ข้อคือ

1.Personal Mastery องค์กรการเรียนรู้ต้องมีข้อนี้ วันนี้กำลังเรียนรู้ร่วมกันอยู่

2.Mental Model เป็นการทดลองแนวความคิด เช่น การเชิญคุณวราพรมานั่งแล้วให้นักศึกษาถาม ก็เป็นแนวคิดว่าจะตอบอย่างไร

3.Shared Vision อาจารย์ยกตัวอย่างผู้นำจีนเป็นการ share vision กับคนจีน

4.Team Learning ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด การอยู่ด้วยกันคือการพัฒนาแล้วสร้างภาวะผู้นำ คนที่จะเป็นผู้นำได้ต้องมีทีมสนับสนุน ก็เหมือนกับอาจารย์ที่นำทีมมาวันนี้

5.System Thinking จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับเรื่องแรงงาน คิดว่า แรงงานจะทำอย่างไรเมื่อแรงงานเกษียณอายุ ถ้าทำงานแล้วไม่มีความสุข วันเดียวก็ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ สิ่งสำคัญคือต้องเกษียณแบบมีคุณภาพ การเป็นผู้นำที่ดี ต้องฟัง

อาจารย์ใช้กลยุทธ์การเรียนที่อาจจะซึมซับไปในอนาคตได้

ประกาศจากศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1.แต่ละกลุ่มเลือก Guru 3 คนเพื่อทำรายงานกลุ่ม อาจจะมีทั้งจากโลกตะวันตก เช่น Peter Senge, John Maxwell, Lynda Gratton, Dave Ulrich, Prof. Pfizer หรือโลกตะวันออกด้วยก็ได้ เช่น รัชกาลที่ 9 พระพุทธเจ้า ดาไลลามะ มหาตมะคานธี อาจจะบวกศาสตร์พระราชาด้วย ควรเขียนเปรียบความเหมือน ความต่าง แนวโน้มอนาคตที่เป็นดิจิตอล เวลาที่ทำควรอ่าน blog ด้วย

2.วันที่ 26 พฤศจิกายน 2560 จะมีเวทีการปะทะกันทางปัญญากับทางมหาวิทยาลัยมหิดล คุณทรงวุฒิเป็นผู้ประสาน ขอให้ทางสวนสุนันทาเตรียมข้อมูลนำเสนอเกี่ยวกับทุนมนุษย์และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อาจจะเตรียมไฟล์ PowerPoint ประกอบด้วยก็ได้

 

ครั้งที่ 11

…………………………………………………………………………………………

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2560

บันทึกสาระสำคัญในห้องเรียน


ช่วงการอธิบายการทำรายงานกลุ่มการเปรียบเทียบแนวคิดการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์

ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และกูรูของโลก

 

คุณวราพร ชูภักดี

รายงานกลุ่มการเปรียบเทียบแนวคิดการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์มีโครงสร้างดังนี้

  • คำนำ เป็นการอธิบายว่า ในฐานะนักศึกษาปริญญาเอก ทำไมจึงเรียนวิชานี้ และการวิเคราะห์ครั้งนี้จะมีประโยชน์อย่างไรต่อสังคม แล้วจะสามารถนำไปใช้ได้อย่างไร อธิบายถึงความสำคัญของรายงานการวิเคราะห์
  • ความสำคัญของการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ อธิบายในมุมมองของนักศึกษาปริญญาเอกว่า จากที่ได้เรียนมาทั้งหมดรวมถึงประสบการณ์ในการทำงานต่างๆ มีมุมมองเรื่องคนอย่างไรบ้างทั้งเชิงบริหารและการพัฒนา
  • กูรู... กับชีวประวัติที่น่าสนใจที่เกี่ยวกับการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ เป็นการสรุปประวัติกูรูแต่ละท่านและเน้นประเด็นสำคัญ งานช่วงใดของกูรูแต่ละท่านส่งผลต่อการพัฒนาและบริหารคนในประเทศและสังคม อาจจะนำมาเปรียบเทียบกับทฤษฎีต่างๆของอาจารย์จีระ
  • ปรัชญาและความเชื่อเรื่องทุนมนุษย์ / Quotations เป็นการถอดรหัสว่า ในชีวิตและการทำงานของกูรูแต่ละท่านมีปรัชญาเรื่องคนอย่างไร โดยอาจจะดูจาก Quotations ต่างๆ
  • มุมมอง / แนวคิดที่สำคัญเรื่องการพัฒนา “คน” (การปลูก) และกรณีศึกษา เป็นการเปรียบเทียบว่า กูรูแต่ละท่านมีวิธีพัฒนาคนอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว องค์กร หรือสังคม
  • มุมมอง / แนวคิดที่สำคัญเรื่องการบริหาร “คน” (การเก็บเกี่ยว) และกรณีศึกษา เป็นวิเคราะห์กูรูแต่ละท่าน บางท่านเป็นผู้ทรงอิทธิพลด้านความคิด มีแนวคิดสำคัญในการบริหารจัดการคนอย่างไร อาจจะค้นเป็นทฤษฎี หนังสือหรือบทวิเคราะห์ต่างๆ
  • ผลงาน /การลงมือทำให้เกิดความสำเร็จ (Execution) เป็นการวิเคราะห์ว่า จากแนวคิดที่มี กูรูแต่ละท่านสามารถนำแนวคิดต่างๆ มาใช้ให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร โดยยกตัวอย่างเรื่องที่สร้างผลกระทบยิ่งใหญ่ให้สังคมแล้วนำมาเปรียบเทียบกัน
  • บทเรียนจากกูรู... กับการปรับใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ของสังคม เป็นการวิเคราะห์สะท้อนบทเรียนว่า จากการที่ได้ศึกษากูรูมา มีแนวคิดอะไรที่สามารถนำมาออกแบบพัฒนาทุนมนุษย์ของสังคมได้บ้าง มีอะไรบ้างที่สังคมไทยน่าจะนำไปใช้ อาจจะวิเคราะห์แยกเป็น Sector ได้แก่ ภาคธุรกิจ ภาครัฐ ภาคสังคม ประชาชนหรือภาคการศึกษา หรือแบ่ง Sector ตามที่ควรจะเป็น อาจจะแบ่งเป็นกลุ่มคนเช่น ครู เยาวชน ผู้นำท้องถิ่น
  • บทสรุป เป็นการสรุปว่า จากการทำงานรายงานนี้ ได้รับบทเรียนอะไรบ้าง มีประเด็นอะไรที่อยากจะฝากไว้จากการทำรายงานครั้งนี้เพื่อให้คนอื่นไปใช้ต่อหรือทำงานต่อในอนาคต

วิธีการนำเสนอ/ผลงานที่ต้องส่ง

  • รายงาน
  • โปสเตอร์/รายงานในกระดาษ A3 1 แผ่น
  • Clip VDO ความยาวประมาณ 5 นาที
  • นำเสนอในห้องเรียนวันครั้งสุดท้าย

 

ผลการแบ่งกลุ่มวิเคราะห์กูรู

กลุ่ม

กูรู

1

10) John P. Kotter

11) Edward de Bono*

12) Warren G. Bennis*

2

1) Peter Drucker*

2) Peter Senge*

3) Xi Jinping*

3

4) Daniel Kalmeman*

5) Lyanda Gratton*

6) Dave Ulrich

4

7) John Maxwell

8) Stephen Covey

9) Pfeffer (ไฟเฟอร์)

*ทุกกลุ่มวิเคราะห์ในหลวงรัชกาลที่ 9 แบ่งการวิเคราะห์ดังนี้

กลุ่ม 1 วัยเด็ก

กลุ่ม 2 หลักการทรงงาน (พระราชกรณียกิจ)

กลุ่ม 3 โครงการพระราชดำริ

กลุ่ม 4 พระราชดำรัส

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ไม่ว่าจะทำงานกลุ่มหัวข้อใด ควรดึงประเด็นให้คมที่เน้นเรื่องคน ถ้ากล่าวถึงวัยเด็กของรัชกาลที่ 9 ก็ต้องดูว่า สมเด็จย่าปลูกรัชกาลที่ 9 อย่างไร สามารถนำแนวทางนี้ไปทำดุษฎีนิพนธ์ได้

ควรเลือกประเด็นให้เหมาะสม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ก่อนจบการเรียนวันนี้ ควรมีข้อสรุปว่า รายงานกลุ่มเปรียบเทียบกูรู

ตอนที่อาจารย์จีระไปเรียนที่ University of Washington มี Douglass North ที่ได้รางวัลโนเบลเศรษฐศาสตร์ เขาเป็นนักเศรษฐศาสตร์ Institutional Property Right Economist เรื่อง Property Right ไม่ใช่การเป็นเจ้าของสิ่งไม่มีชีวิตเท่านั้น แต่รวมถึงสิ่งมีชีวิตด้วย เช่น ทาส แต่ปัจจุบันนี้ เจ้านายบางคนดูแลลูกน้องก็คิดว่าเขาเป็นทาส เจ้านายต้องรู้จักฝึกลูกน้องให้ทำงานแทนได้ ให้เกียรติลูกน้อง

เวลาที่เรียนกับคนที่ได้รางวัลโนเบลเป็นการเรียนเกี่ยวกับ Wisdom เมื่อเรียนจบปริญญาเอกจบแล้ว ควรได้ Wisdom ด้วย

Douglass North มีสมมติฐานโดยนำประวัติศาสตร์อเมริกามาดู คนฆ่ากันแย่งชิงที่ดิน Douglass North บอกว่า มีอีกวิธีคือ การเจรจาต่อรอง จึงให้คาวบอย 2 กลุ่มมาเจรจากันโดยมีคนกลาง แทนที่จะยิงกันโดยไม่เจรจา

หลักสูตรนี้เกี่ยวกับเจรจาต่อรองแบบอ้อม เป็นเจ้านายต้องให้เกียรติลูกน้อง

ในการเจรจาต่อรองมีต้นทุน 3 อย่าง แต่ละอย่างเรียกว่า Transaction Cost คือ

1.Information Cost ต้นทุนด้านข้อมูลข่าวสาร

2.Negotiation Cost ต้นทุนในการเจรจาต่อรอง ต้องคุยกับคนให้รู้สึกมีความสุข แล้วจะประสบความสำเร็จ การเจรจาต่อรองต้องมีความเข้าใจในคนอื่น นายจ้างและลูกจ้างต้องแบ่งปันกันให้ยุติธรรมที่สุด

3.Enforcement Cost การปฏิบัติตามกฎหมาย ปัจจุบันนี้ ถ้าบริษัทใดไม่จ่ายค่าจ้างสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำก็จะถูกประจานในอินเตอร์เน็ต แสดงให้เห็นว่า Enforcement Cost ถูกลง

ในการปลูก เก็บเกี่ยว Execution เรากำลังจะเพิ่มมูลค่าของคน แบบ Unrealized Potential คือแบบที่คาดไม่ถึง

หนังสือ No Limits เป็นการเพิ่มในสิ่งที่เราควรจะเพิ่ม และเพิ่มในสิ่งที่เขาไม่รู้ว่าเขามี

เมื่อเรียนแล้วต้องหลุดจากกรอบ ไม่มี box thinking

ไม่ควรคิดว่า ตนมี limit ที่จะทำเพิ่ม

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

Outline รายงานเป็นเรื่องหลักการทรงงานด้วย

เข้าใจบริบททุนมนุษย์ เวลาเขียนคำนำต้องสรุปให้ได้ บทแรกนำไปใช้กับดุษฎีนิพนธ์ได้

เรื่องกูรูและชีวประวัติ ปรัชญาทุนมนุษย์ มุมมองยังอยู่ในเรื่องความเข้าใจ

ถอดบทเรียนคือการเข้าถึง

เรื่องเจรจาต่อรอง อยู่ในการทำให้สำเร็จ เวลาทำอาจมีอุปสรรค

หนังสือเรื่อง No Limits คือ การปรับใช้และพัฒนาไปเรื่อยๆ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

รุ่นนี้ลงลึก Chira Way ได้ดีที่สุดรุ่นหนึ่ง ความที่มีการต่อเนื่อง และเน้น Human Capital เป็นส่วนสำคัญทำให้เกิดนวัตกรรม กล่าวถึงภาวะผู้นำ ซึ่งทำให้ Execution สำเร็จมากขึ้น ต้องแก้วิกฤติ กำหนดทิศทาง เป็นตัวอย่างก้าวข้ามอุปสรรค

ต้องกลับไปที่ราก 5K’s 8K’s แนวคิดย้ายจาก Gary Becker มาที่อาจารย์จีระ แต่ละ K ต้องมีราก

อาจารย์จีระเน้นเก็บเกี่ยว ได้ประโยชน์จากการลงทุนทรัพยากรมนุษย์  การบริหารจัดการคนมีความรู้เป็นเรื่องยาก ต้องดึงเอาความเป็นเลิศกลับมา ลูกน้องคือพลังมหาศาล  เจ้านายต้องบริหารจัดการคนด้วย อย่าปล่อยให้ HR ทำคนเดียว HR ไทยไม่เคยมองเรื่องระดับ Macro

อาจารย์จีระเน้นให้มองภาพใหญ่ รุ่น 15 สนใจ HR Architecture มากสุด เพราะทำให้เข้าใจโครงสร้างทรัพยากรมนุษย์ได้ทั้งหมด เป็น Sequential ถ้าพลาดช่วงหนึ่งทำให้ช่วงอื่นพลาด

เมื่อเรียนแล้ว ต้องนำความรู้ไปใช้กับองค์กร การทำงานเรื่องคนยุคต่อไปต้องผสมระหว่าง coaching+ learning+ consulting

ตอนนี้เรามีลูกศิษย์คุยกันในไลน์ แต่ยังไม่มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง ควรมีการขยายความรู้

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

รุ่นนี้ได้รับความรู้เรื่องคนเช่น ปลูก พัฒนาเก็บเกี่ยว บริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุด หรือทำให้สำเร็จ

ใน 3 วงกลม วงกลมที่ 1 บอกให้ดูบริบท ความเหมือนและความต่าง วิเคราะห์กูรูว่า

1.ท่านคือใคร มีบทบาทอะไร เช่น เป็น CEO แต่ทำงานเป็นบทบาทจัดการ

2.ที่ไหน อยู่ในองค์กรประเภทใด

3.ช่วงเวลา ทำให้เห็นมิติที่ลึกขึ้น ทำให้ทราบแนวคิดเรื่องคนในช่วงนั้น

4.สภาพแวดล้อม อะไรเป็นแรงจูงใจให้คิดแบบนั้น

วงกลมที่ 2 Competencies

วงกลมที่ 3 Motivation นอกจากบริหารคน ต้องดูว่า ข้างในตัวคนขับเคลื่อนอย่างไร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์มอง Human Capital ครบวงจร ปลูก เก็บเกี่ยว Execution

Gary Becker เน้นปลูก 100%

Maslow เน้นเก็บเกี่ยว ดูแรงจูงใจ

Ulrich เน้นเก็บเกี่ยว เพราะมาจาก Michigan Business School เป็นคนแรกบอกว่า Human Capital ต้องเน้นความเป็นยุทธศาสตร์ร่วมกัน Strategic Partners และ เน้นการบริหารการเปลี่ยนแปลง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

กูรูทุกคนมีภาวะผู้นำ ถือเป็นจุดวิเคราะห์ที่สำคัญ ผู้นำต้องทำให้ลูกน้องมีภาวะผู้นำ แล้วให้อำนาจเขา เขาก็จะทำงานเองได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Health มีความสำคัญสำหรับคนทุกกลุ่ม

ทุนแห่งความสุขของดร.จีระขึ้นต้นด้วย Health มีสุขภาพดี ต้องมีการออกกำลังกายด้วย

การทำงานยุคดิจิตอล จะทำให้เกิดความเครียดรุนแรง ต้องเข้าใจเรื่องทุนทางอารมณ์ อารมณ์มีทั้งดีและไม่ดี ที่โรงพยาบาลต้องทำให้คนสามารถยอมรับฟังเรื่องร้ายได้

เศรษฐกิจ 4.0 ควรจะคิดถึงคนตอนใด ถ้าระบบการศึกษาส่งคนไม่มีคุณภาพเข้าทำงาน ก็ทำให้คนมีคุณภาพไม่ดี ตอนนี้ค่านิยมคนเสื่อมโทรมมาก

อาจารย์แต่ละคนควรถามให้เด็กตอบว่า เรียนไปแล้วมีประโยชน์อย่างไร

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ปรากฏการณ์ตูนเป็นเรื่องสุขภาพ เขาต้องฝึกนานกว่ากล้าจะประกาศวิ่ง แต่ตอนนี้สภาพแวดล้อมการวิ่งเปลี่ยน คนจึงทำกรอบรูปเหมือนถ่ายรูปกับตูนใน Facebook ตูนบอกว่า แค่ทำตัวแข็งแรง หมอกับพยาบาลก็ไม่ต้องดูแลเรา นอกจากนี้เขายังบอกอีกว่า เขาเหนื่อยก็เลิกวิ่ง แต่หมอ พยาบาลวิ่งมาแล้วและก็ต้องวิ่งต่อไป แสดงว่า แนวโน้มเพื่อสังคมมาแบบไม่คาดคิด

สิ่งที่ตูนทำคือต้องชอบวิ่ง ต้องรู้เป้าหมาย มีความสามารถ ทำงานเป็นทีม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หนังสือ Harvard เน้นทุนความสุข เช่น มี passion เป้าหมายและมีความหมาย

คุณวราพร ชูภักดี

นักศึกษาแบ่งกลุ่มและเลือกกูรูเรียบร้อยแล้ว

รุ่นนี้จะนำผลงานไปแสดงที่มหิดลด้วย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์พิชญ์ภูรีอาจจะนำรายงานเปรียบเทียบกูรูไปเรียบเรียงได้

ควรวิเคราะห์รากกูรูแต่ละคนด้วย ตัวอย่างเช่น ดร.จีระมีรากเศรษฐศาสตร์ เป็นผู้นำ+Wisdom มี Impact ต่อสังคมในมุมกว้าง

ขอให้อ่านหนังสือ Peter Senge ให้ชัดเจนอีกครั้ง เขากล่าวว่า เวลาคิดในองค์กร ให้นำส่วนต่างๆที่เรียนมาผสมให้เป็นองค์รวม ส่วน Mental Model ไม่ว่าจะเกิดอะไรในองค์กร ต้องท้าทายสมมติฐานว่า สิ่งที่สำเร็จอาจจะไม่สำเร็จในระยะยาว ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมองค์กรนั้น

ผู้นำต้องมีอุปนิสัยในการอ่านแล้วนำไปประยุกต์ใช้ด้านต่างๆในชีวิต

อาจารย์พิชญภูรี จันทรกมล

กลุ่มที่จะทำเรื่องพระราชกรณียกิจรัชกาลที่ 9 ควรดูเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตอนรัชกาลที่ 5 เสด็จยุโรปทำให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจ ส่วนช่วงรัชกาลที่ 9 เป็นช่วงหลังสงครามโลกแล้ว ตอนที่ท่านเสด็จสหรัฐอเมริกา จึงเป็นโซ่ข้อกลางระหว่างโลกเสรีกับคอมมิวนิสต์ ทำให้ไทยไม่ต้องเสียค่าปฏิกรณ์สงคราม เป็นที่มาของงบตั้ง SEATO ทำให้ได้ฝึกคนในยุค Thailand 2.0

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ตอนนั้นทำให้มี AIT

หลังจากวันนี้ จะมีการวิจารณ์หนังสือ

กูรูเหล่านี้เป็นคนที่นำเสนอแนวคิดนอกกรอบ ควรศึกษาความสามารถคนเหล่านี้ ลงทุนพัฒนาคน 1 หน่วย แต่เพิ่มมูลค่า 10 หน่วย

อาจารย์โชคดีที่ได้รับการกระตุ้นลูกศิษย์ตลอดเวลา

อาจารย์พิชญภูรี จันทรกมล

เลือกหัวข้อที่ไปปะทะมหิดลได้ดี เป็นการระดมสมองในชั้นเรียน

การเลือกประเด็นเป็นเรื่องสำคัญ กรณีตูนก็หยุดที่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นาน ทำให้เกิดเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ คนไม่ไปตีกันในโรงพยาบาล

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้าครอบครัวทุ่มเทพัฒนาคนแต่เด็ก เด็กก็คิดดี ไม่ทำร้ายประเทศ

แต่ตอนนี้ครอบครัวไทยอ่อนแอ ทำให้เด็กอ่อนแอ เมื่อเข้าโรงเรียน ก็เปลี่ยนพฤติกรรมยาก

อาจารย์เคยเสนอต่อพลเอกเปรมให้มีคณะรัฐมนตรีสังคม ทำให้ปัญหาสังคมได้รับการดูแลมากขึ้น แต่ตอนนี้ไปอยู่ในกระทรวงพัฒนาสังคม ยังขาดคนดูแลเด็กที่ไม่ติดคุก แต่ยังไม่เข้าใจความผิดชอบชั่วดี

คุณวราพร ชูภักดี

รุ่น 15 จะนำเสนอสิ่งที่คุยกันและที่ได้แนะนำในช่วงเช้า

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์ได้นำโครงการที่ทำสำเร็จมาเป็นโครงการปริญญาเอกด้วย

คุณวราพร ชูภักดี

เวลาวิเคราะห์ ควรทำตารางเปรียบ ใช้ keyword เพื่อสรุปเป็นแนวคิดของกูรูแต่ละคน จะสะดวกในการนำมาเรียบเรียงเนื้อหาให้ชัดเจนมากขึ้น

 

ครั้งที่ 12

…………………………………………………………………………………………

วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน 2560

บันทึกสาระสำคัญในห้องเรียน


ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ตอนที่อยู่ที่ธรรมศาสตร์ทั้งอาจารย์จีระ อาจารย์สมชาย อาจารย์อเนกโตเร็ว ตอนที่ทำงาน อายุ 39-40 ปี ขาดประสบการณ์แต่มีความมุ่งมั่น turn ideas into project ช่วงนั้นเศรษฐกิจไทยขยายตัว 8-9% ต่อปี รายได้คนไทยไม่มากเมื่อเทียบอเมริกา แต่ก็มีโอกาส แต่มีปัญหาการบริหารคน เกาหลีสำเร็จเรื่อง Reverse Brain Drain เพราะดึงคนเก่งกลับมาได้ดี ปัญหาของประเทศไทยคือกฎระเบียบไม่เอื้ออำนวยให้คนเก่งได้ดี

นักศึกษาปริญญาเอกไม่ต้องเน้นปริญญาอย่างเดียว ต้องนำประสบการณ์มาแบ่งปันกัน ถือเป็นจุดแข็งของนักศึกษาปริญญาเอกไทย รุ่น 15 คนดึงคนนอกมาร่วมด้วย ทุนมนุษย์ก็จะมีคุณภาพมากขึ้น

เวลาที่อธิบายคำว่า งานบุคคล การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และทุนมนุษย์ ต้องเข้าใจชัดเจน

ทุนมนุษย์เป็นพรแสวง ต้องมีการลงทุนก่อน

ทรัพยากรมนุษย์เป็นการระบุว่าเป็นทรัพยากรมีค่า แต่ไม่ได้ระบุว่าค่านั้นมาอย่างไร

ประชากรศาสตร์ไม่ใช่พฤติกรรมมนุษย์ แต่มองการเกิด การตายและอพยพ

อาจารย์จีระนำวิชาประชากรศาสตร์มาใช้ในทฤษฎี HR Architecture

จากการที่อาจารย์ไปพูดเรื่อง Digital แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ

1.New Economy เช่น Microsoft, Internet อาจารย์จีระได้ดีมากเรื่องนี้ ตอนที่สอนที่ธรรมศาสตร์ เป็นคนแรกที่ให้ลูกศิษย์ส่งการบ้านทางอีเมล นักศึกษาก็ได้ทำทุกวัน

2.Search Engine เช่น Google อาจารย์จีระได้เปรียบเพราะอ่านหนังสือ มีการจัดห้องสมุดให้นักศึกษาปริญญาเอก ควรมีอุปนิสัยในการเข้าร้านหนังสือ มองแนวโน้มโลก อาจจะเข้า Amazon.com แต่คนไทยยังไม่มีนิสัยในการอ่านหนังสือ แต่มีนิสัยในการหาข้อมูล คนไทยยังอ่อนภาษาอังกฤษจึงเสียเปรียบ

3.Digital 2017 คือ

-Big Data ทำให้สังเคราะห์ข้อมูลได้เร็ว (More Law) ความสามารถในการคำนวณข้อมูลเร็วมาก

-Artificial Intelligence ปัญญาประดิษฐ์กำลังจะกลายเป็นปัญญาที่เหมือนมนุษย์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งที่คาดไม่ถึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งก็มาจากการปะทะกันทางปัญญา การเรียนต้องทำให้คนค้นพบตัวเอง นำความรู้ไปใช้กับชีวิตจริง

-Cloud Computing เรื่อง Cloud ไม่ใช่ของใหม่ แต่เป็นการรวบรวมทุกอย่างแล้วนำไปไว้ใน Cloud ถ้าระบบนี้ไม่มีการขยาย ก็จะมีปัญหา คล้ายระบบคอมพิวเตอร์บางองค์กร เช่น British Airways, ธนาคารไทยพาณิชย์

ควรสนใจเรื่อง Cyber War ซึ่งประเทศที่เก่งได้แก่ เกาหลีเหนือ รัสเซีย

ต้องระวังเรื่องการขโมยความลับทาง Internet

-Robotics ไม่ใช่ Mechanical อีกแล้ว

ต้องสนใจ Macro ก่อน จึงจะลงสู่ระดับ Micro ได้

Macro คือเข้าใจโอกาสและภัยคุกคาม ต้องให้มีโอกาสสูงกว่าภัยคุกคามแล้วโลกจะรอด

ควรทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับคนและ Digital โดยเน้น 3V’s ที่ยิ่งใหญ่สุดคือ Value Diversity นำความหลากหลายมาเป็นมูลค่า ไม่ใช่ความขัดแย้ง ระหว่างที่เรียนต้องมี Economic, Social Cultural and Global Mindset รู้ให้กว้างเป็น Educator Person

ปราชญ์ชาวบ้านไม่เคยเรียนจบที่ใดแต่ก็เป็น Educator Person ควรไปพบครูบาสุทธินันท์

นายกประยุทธ์เป็นคนขยันแต่ขาดแรงบันดาลใจ พูดไม่น่าสนใจ

มีหนังสือ 2 เล่มเตือนว่า ในอดีตเป็นล้านปี มนุษย์มีวิวัฒนาการจากลิง เป็น Homo sapiens แต่เตือนไว้ว่า ถ้าเครื่องจักรผสมกับคนมากๆ ทำให้เกิดคนพันธุ์ใหม่ที่ถูกควบคุมด้วย Artificial Intelligence

ฟังเพลงแบกบาล ของ เฉลียง          และเพลงทำดีได้ดี ของ อัสนี วสันต์ แล้วแสดงความคิดเห็นว่า เกี่ยวกับ Chira Way อย่างไร

คนที่ 1 คุณพิม

คิดถึง HRDS เวลาเรียนให้สำเร็จต้องมีความสุข มีความดี มีศักดิ์ศรีแล้วจะทำให้เกิดความยั่งยืน

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เคยให้นักศึกษาวาดรูป ถือว่าเป็นการประสบความสำเร็จในการเรียน

ผู้นำต้องรู้จักเล่าเรื่องขำขัน ถือเป็นปัจจัยหนึ่งของความสำเร็จ เช่น เรแกนต์ถูกลอบยิงแต่เขาบอกว่าดีใจที่หมอของเขาไม่ได้เป็นผู้สนับสนุนเดโมแครต เขาจึงรอด

คนที่ 2 วรสิทธิ์ วงศ์อดิศัย

เพลงแบกบาล ของ เฉลียง

เพลงทำดีได้ดี ของ อัสนี วสันต์

ใช้ learn care and share ใช้แก้ปัญหาได้ดีขึ้น

ในการพัฒนาคน ต้องส่งเสริมการเป็นคนดี แล้วจะไม่มีการคอรัปชั่น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ประเทศไทยมักเน้นพัฒนาคนให้เก่ง ไม่เน้นคุณธรรม จริยธรรม ทำให้ในปัจจุบันคนมีจริยธรรมด้อยค่า นับถือคนรวยแต่ไม่ได้มองว่า รวยมาได้อย่างไร

คนที่ 3 ธิเบศร์  จันทวงศ์

จากเพลงทำดีได้ดี ของ อัสนี วสันต์ ความดีเป็นส่วนประกอบการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ การทำดีไม่ใช่เรื่องโง่ สอดคล้องทุนทางจริยธรรมทำให้สังคมยั่งยืน

คนที่ 4 ทัชยา รักษาสุข

เพลงทำดีได้ดี ของ อัสนี วสันต์สะท้อนว่า ผู้เลือกเพลงนี้มีศรัทธาในการทำความดี ทุนมนุษย์แตกต่างกันทางสายเลือดและการเลี้ยงดู ถ้าตั้งใจทำดี ต้องได้ดีและได้ศักดิ์ศรีเท่ากัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คนที่มีความพร้อมทั้งทรัพย์สินและความดี ไม่ควรใช้ชีวิตที่คบแต่คนรวย ควรใช้วิชาการให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

อยากให้แต่ละคนมีความคิดช่วยประเทศในหลายด้าน

คนที่ 5 สมรัฐ  กมลเวคิน

อาจารย์กำลังมองศักยภาพพวกเราที่จะไปต่อยอด แต่อาจารย์วางกรอบสร้างทัศนคติที่ถูกต้องก่อนให้อยู่ในส่วนของจริยธรรม ทางพุทธคือ สัมมาทิฐิ เห็นชอบก่อนแล้วจะเป็นทางที่ถูก คิดแล้วต้องลงมือทำ

ถ้าคิดดี พูดดี ทำดี จะมีพลังดึงดูดสิ่งที่ดีมา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

รุ่นนี้มีบรรยากาศในการเรียนที่ดี มีการใช้ศักยภาพตนเองอย่างเต็มที่ มีเส้นทางไปสู่วิทยานิพนธ์ที่ชัดเจน

อยากให้รุ่น 15 รู้สึกว่า ยังเรียนกับอาจารย์จีระอยู่แม้ว่าจะเรียนจบไปแล้ว

คนที่ 6 สันติ เอี่ยมวุฒิปรีชา

แปลกใจที่อาจารย์นำเพลงนี้มา เป็นเพลงยอดนิยมในคาราโอเกะ

เมื่อฟังเพลงแล้ว ก็คิดถึงตูน แม้ไม่เคยฟังเพลงเขา ก็แปลกใจที่พ่อแม่ปลูกเขาได้ดี คิดได้ว่า จะทำเพื่อส่วนรวม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สิ่งเล็กๆครั้งนี้เป็นโบนัส ปลูก เก็บเกี่ยว Execution ได้ดี

เมื่ออ่านหนังสือแล้วควรจะมีการแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อน

ในอังกฤษมี College ที่มีครู นักศึกษารุ่นพี่และรุ่นน้องมาอยู่ด้วยกันและเรียนรู้จากกัน

เด็กต้องมีคนให้คำแนะนำ

คนที่ 7

เพลงทำดีได้ดี ของ อัสนี วสันต์ สะท้อน 3 ต. ตอกย้ำทำดีได้ดี รู้จักเอาชนะอุปสรรค ต้องทำดีต่อเนื่องเรื่อยๆ เพราะไม่ได้ดีครั้งแรก และที่สำคัญ ทุนมนุษย์ ต้องเป็นคนดี เก่ง มีความสุข ทำประโยชน์ให้ประเทศ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คล้ายแนวพระราชดำรัส ปิดทองหลังพระ ของรัชกาลที่ 9 แต่ก่อน คนมองปิดทองหลังพระไม่ดี

คนที่ 8 วันดี พลรักษ์

เพลงทำดีได้ดี ของ อัสนี วสันต์ สะท้อนหลักพุทธศาสนาคือ ศีล 5 อันที่จริงแล้ว จริยธรรมเกิดในยุค Socrates ต้องเริ่มที่ตนเองมีจริยธรรม นำไปสู่ จรรยาบรรณ กฎหมาย เป็นคนเก่ง ดีและยั่งยืน

เป็นการสอดคล้องกับ Social Capital  และเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องคุณธรรม

นำไปสู่ Good Governance ที่มี Impact ต่อประเทศ เป็นองค์รวมของความรู้ทั้งหมดที่เรียนมา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทุกคนเป็นตัวอย่าง มีการพัฒนาขึ้นไป

Socrates สอนเรขาคณิตบนถนน ชอบปะทะกันทางปัญญา

Chira Way ได้รับอิทธิพลมาจากกรีซ

รุ่น 15 แตกต่างจากทุกรุ่น รุ่นนี้ไปไกลกว่า 8K’s+5K’s เพราะทุกคนเป็นคนออกความเห็น

John Maxwell บอกว่า Good Leaders Ask Great Questions.

เมื่อเรียนแล้ว ยิงเข้า DNA ก็จะเป็นแก่นความรู้ของตนเอง

Peter Drucker บอกว่า เวลาที่เขาสอน เขาก็ได้เรียนรู้จากลูกศิษย์ด้วย

สิ่งที่อาจารย์จีระนำเสนอผ่านรายการวิทยุก็ได้รับมาจากลูกศิษย์ ไม่ใช่มาจากการอ่านหนังสือ ดังนั้น รุ่น 15 ควรรวมตัวกันทำประโยชน์ให้กับประเทศมากกว่าที่ได้ปริญญาเอก

ดร.ทรงวุฒิบอกว่า ดร.ทรงวุฒิทำงานในภาคอุตสาหกรรม เคยคิดจะช่วยพวกผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรม เพราะพวกนี้มีทักษะที่ใช้มือ เช่น การเป็นช่างกลึงและช่างต่างๆ เป็นทักษะที่ล้าสมัยเพราะ Robot ทำแทนได้หมด จึงอยากให้ผู้ใช้แรงงานในเมืองไทยมีความรู้ ทรัพย์สินทางปัญญา Intellectual Capital, Creativity, Innovation

กระทรวงแรงงานมีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน  ฝีมืออย่างเดียวไม่พอ ต้องมีปัญญา ความรู้ มีทักษะในการคิด เพราะปัจจุบันประเทศไทยเป็นสังคมฐานความรู้ ถ้ามีทักษะอย่างเดียว ก็จะไปสู่ Thailand 4.0 ไม่ได้ อาจารย์จีระและดร.ทรงวุฒิจะไปพบกับอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและจะเชิญผู้แทนรุ่น 15 นี้ไปนำเสนอความคิด ในอนาคต คนก็ต้องใช้ความรู้

คนที่ 9 นันทพล จรรโลงศิริชัย 

เพลงทำดีได้ดี ของ อัสนี วสันต์ สะท้อนว่า อาจารย์อยากปิดท้ายการเรียนด้วยความดี คนที่อยากได้รับการยอมรับ ต้องมีความเก่งก่อน แต่ถ้าเก่งแล้วไม่ดี ทำให้ความเก่งนั้นไม่ได้รับการยอมรับอย่างยั่งยืน ต้องทำดีเพื่อให้ความรู้เราคงอยู่ ถ้าเก่ง ดี ก็มีความสุข อยู่ในสังคมแบบมีเป้าหมายและนัยสำคัญ

คนที่ 10 นิพันธ์ หรรษสุข

เพลงทำดีได้ดี ของ อัสนี วสันต์ สะท้อนว่า ทุกอย่างสำเร็จและไปได้ดี ต้องตั้งอยู่บนคุณธรรมแต่คนถูกมาไม่เหมือนกัน ความดีของแต่ละคนไม่เหมือนกัน จะรู้ได้อย่างไรว่าความดีของเราตรงตามที่สังคมยกย่องแล้ว

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องทำความดีโดยที่ไม่มีคนเห็น

คนที่ 11 ณภพ  ชัยศุภณัฐ

เพลงทำดีได้ดี ของ อัสนี วสันต์สะท้อน 8K’s 5K’s HRDS การทำดีได้ดี ต้องเป็นปัญญาที่ถูก เรียนไปเพื่อไปทำสิ่งที่ดี นักศึกษาต้องมองอาชีพที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ในการทำธุรกิจต้องสร้างปัญญา ว่า ทำธุรกิจอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ต้องทำให้สังคมดีงามด้วย

คนที่ 12

เพลงทำดีได้ดี ของ อัสนี วสันต์ สะท้อนว่า นอกจากเป็นคนดีและต้องเก่ง คิดดีทำดี ทำให้สำเร็จ มีความมุ่งมั่น เราก็เป็นส่วนหนึ่งให้สังคมก้าวหน้า มีความเจริญทุกส่วน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ควรปรึกษาอาจารย์พิชญ์ภูรีเกี่ยวกับรายงานศึกษาเปรียบเทียบกูรู

ทางมหิดลจะออกความเห็นแล้วทำ workshop ร่วมกัน

อาจารย์จีระมีทฤษฎีคือ KM ไม่ใช่ LO เพราะ KM เป็นการเก็บข้อมูลย้อนหลัง แม้เป็นการเก็บแบบ Explicit และ Implicit จะเป็นประโยชน์ได้ ก็ต้องมีการนำไปใช้

ถ้ามี Learning Culture อยู่ในองค์กร คนในองค์กรมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ ทำให้เกิดผลประกอบการ

วันนี้ต้องเข้าใจ Learning Culture และต้องอยู่ในบริบท human capital, innovation and leadership

KM เป็นการจัดเก็บข้อมูล

วัฒนธรรมการเรียนรู้คือการแบ่งปัน learn, share and care ตลอดเวลา ทุกคนควรคิดว่า Learning Culture เกิดอย่างไร ถ้ามี Learning Culture แล้ว KM จะเป็นส่วนสำคัญใน Learning Organization

อาจารย์จีระได้ทำโครงการ LO ให้กฟภ. เป็นจุดเริ่มต้นสร้างองค์กรการเรียนรู้

ต้องแยกระหว่าง Training กับ Learning ว่าแตกต่างกันอย่างไรให้ได้

กฎของPeter Senge อยู่ในหนังสือ Rethinking the Future

-Personal Mastery รู้อะไร รู้ให้จริง

-Mental Models มีแบบอย่างทางความคิด คนเอเชียมักติดกับความคิดแบบเดิม ต้องคิดไม่เหมือนเดิม ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เปลี่ยนคนที่อยู่ใน Comfort zone มาเป็นผู้กล้าเปลี่ยนแปลง

-Shared Vision มีเป้าหมายร่วมกัน

-Team Learning เรียนรู้เป็นทีมช่วยเหลือกัน

-System Thinking มีระบบการคิดมีเหตุมีผล คือ คิดแยกส่วนก่อนแล้วนำมาเป็นองค์รวมของบริษัท

4L’s เป็นการเรียนรู้ในห้องเรียน แต่หลักการ Senge เป็นการเรียนในองค์กร ต้องมีตัวเชื่อม

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

Learning Organization กับ KM แยกจากกันไม่ได้ KM คือการรวบรวมองค์ความรู้ในแต่ละเรื่องมาบริหารจัดการ ค่อนข้างเห็นชัด แต่ Learning Organization เป็นเรื่องภายใน คือเรียนรู้จากความสำเร็จและความล้มเหลว ซึ่งเป็นระดับบุคคลก่อน เพราะยังไม่มีการบริหารความรู้ แต่เกิดจากสืบทอดบอกต่อจากคนแต่ละรุ่น ถ้ามีการบริหารจัดการจะกลายเป็น KM ถ้าไม่มีการเติมความรู้ใหม่ใน KM ก็จะตามไม่ทัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

KM คือการเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้ว ในการทำโครงการใหม่ต้องมี LO เข้าใจอนาคตข้างหน้า ที่มีการเปลี่ยนแปลงมาก

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

กฟผ.มุ่งสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่ แต่มีปัญหาจะกระทบชาวบ้านที่อยู่ด้วยการท่องเที่ยว  ในความเป็นจริงโรงไฟฟ้ามีเทคโนโลยีใหม่ NGOs ก็ต่อต้านเพื่อรักษาวิถีแบบ Green Peace ส่วนที่บางสะพานมีหมอมาต่อต้านโรงไฟฟ้า กฟผ.มีพื้นที่สร้างโรงไฟฟ้าแล้ว ชาวบ้านบางสะพานจนเพราะทำเกษตรได้ไม่ดี น้ำท่วม ชาวบ้านต้องการให้กฟผ.สร้างโรงไฟฟ้า แต่ยังไม่มีประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม กฟผ.มี KM ทราบว่า ชาวบ้านจน และต้องการพัฒนาการท่องเที่ยว นำกรณีศึกษาความสำเร็จแม่เมาะมาใช้ LO ได้จากชาวบ้านคือ ชาวบ้านต้องการโรงไฟฟ้า หมอที่เคยต่อต้านจึงเปลี่ยนมาเป็นแนวร่วม ทำให้ยังมาดูได้ว่ากฟผ.ทำอะไรดีหรือไม่ดี

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้าวิศวกรกฟผ.เข้าใจ 4L’s และ Senge ควรจะเรียน Scenario Planning ศึกษาการเปลี่ยนแปลงในอนาคต จะสร้างโรงไฟฟ้าต้องมองเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย วิศวกรต้องมีความรู้ข้ามศาสตร์

องค์กรที่มีการแบ่งปันความรู้ อ่านหนังสือ ข้ามศาสตร์ มองอนาคตล่วงหน้า ก็จะได้เงินมีมูลค่ามหาศาล

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

บางครั้ง KM ใช้ได้กับบางคน บางคนอาจจะเกิด LO ขึ้นมาได้

กรณีบางสะพานของกฟผ. ทำให้เห็นว่า ภาวะผู้นำของกฟผ.ปรับตัวจาก KM เป็น LO มีการเชิญอาจารย์จีระเป็นคนกลางให้ความรู้วิชาการ จัดการเสวนาให้ชาวบ้านแสดงความคิดเห็น ทำให้เข้าใจชาวบ้านมากขึ้น

ผู้นำของกฟผ. ที่บางสะพานใช้ LO 

การเรียนรู้สามารถนำมาทำเป็น KM ต่อได้

KM ช่วยทำให้ไม่ต้องเจ็บปวดกับความผิดพลาด

LO ต้องมีการใช้ทุกระดับ จึงจะต้องมีการแลกเปลี่ยนกัน LO เป็นการพัฒนาให้ยั่งยืน คือ ทำอย่างต่อเนื่อง

ควรนำความผิดพลาดที่ได้เรียนรู้มาจัดการเป็น KM ถ้าเป็นองค์ความรู้ที่ดี ก็ต้องส่งต่อให้คนอื่นทำให้เกิด LO แล้วกลายเป็น KM ให้คนอื่นอีก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Senge มองว่า ต้องมีการแบ่งปันความรู้ต่างๆ ในองค์กร

LO กับ Leadership จะไปด้วยกัน

เมื่อมีความเข้าใจในทฤษฎีและแนวคิดขององค์กรแห่งการเรียนรู้ แล้วจะทำอย่างไรให้ Awareness เกิดขึ้น

อย่างจริงจัง ในวันนี้ น่าจะวิเคราะห์

1.ผู้นำเป็นอย่างไร

2.บรรยากาศในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ทำให้คนกล้าออกความเห็นและพูดความจริง

3.ทำสำเร็จแล้วได้อะไร (Incentives) ต้อง empower ลูกน้อง

4.สร้าง facilities ใหม่ , e-learning และ ห้องสมุด

5.ทำโทษถ้าไม่ดำเนินการ

6.มี learning coach and mentor เป็นสิ่งสำคัญ

7.มีการวัดผล และเครื่องชี้

8.โยงไปสู่ ความสุขและ Blue Ocean

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

โค้ชในองค์กรก็เน้น KM มากกว่า LO ฝึกแบบเป็นสูตรสำเร็จ แล้วสมองก็ซึมซับได้ง่าย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เมื่อเรียนแล้ว ต้องปรับตัวเองและต้องใช้เวลา

LO คือ ทฤษฎีกระเด้ง แต่ต้องมีจากพื้นฐาน KM ที่แน่นด้วย

Senge กล่าวว่า การมีองค์กรการเรียนรู้เป็นตัวแปรอิสระ ต้องเกิดขึ้นแล้วจะแก้ปัญหาได้

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

4L’s เป็น KM ทำให้เกิด LO ในองค์กร

Learning Methodology เรียนรู้เรื่องอะไร

Learning Environment จัดบรรยากาศให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

Learning Opportunity เป็นโอกาสให้ปะทะกัน ทำให้คิดเพื่ออนาคต  

Learning Community เป็นได้หลายระดับ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

KM เป็นการรับรู้แต่ไม่ได้แบ่งปันกัน

ต้องถามว่า ตนเองมีวัฒนธรรมการเรียนรู้หรือไม่

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 ไม่สำเร็จถ้าไม่มี LO

นวัตกรรมไม่เกิดถ้ามีแค่ KM แต่ไม่มี LO

ต้องนำองค์ความรู้ไปลำดับให้ชัดเจน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ฝรั่งคิดว่า KM เป็นทุกอย่างของ LO

KM คือ Technical Project แต่ LO คืออ่านหนังสือที่เกี่ยวกับอนาคต ซึ่งเป็นความยั่งยืน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ถ้าใช้ LO ในชีวิตประจำวัน ก็ได้เปรียบ

เมื่อมีองค์ความรู้ ต้องมีการเรียนรู้ร่วมกัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Senge มีเรื่องที่คล้ายอาจารย์จีระคือ Team Learning และ Shared Vision

โลกในอนาคตจะไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง ต้องเข้าใจแล้วจะสามารถพลิกแพลงได้

2 เรื่องที่อยากนำเสนอให้พิจารณาเกี่ยวกับ KM และ LO คืออะไร ประโยชน์คืออะไร

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ถ้าอาจารย์ไม่เปิดกว้าง แม้ลูกศิษย์คิดกว้าง ก็ไม่ได้คะแนน

สิ่งสำคัญคือต้องมีหลักการแม่นยำ ทำให้คิดไปได้หมด

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Senge ไม่ได้มอง LO เชื่อมโยงกับ KM

แต่อาจารย์จีระมองว่า KM เป็นฐาน LO ส่วน LO เป็น Process

LO เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ขึ้นกับสถานการณ์ ต้องเปิดโอกาสให้ลูกน้องออกความเห็น

ช่วงแสดงความคิดเห็น

คนที่ 1

องค์กรจะไม่คิดอะไรเมื่อพบวิกฤติ อยู่ที่ผู้นำ ต้องแปลงวิกฤติให้เป็นโอกาส ต้องไปศึกษากระบวนการเรียนรู้จากต่างประเทศแล้วนำมาทำเป็นธุรกิจการประมูล เป็น KM เราทำเป็นรายแรก เมื่อคนเรียนจากเราไปเปิดแข่งกับเรา เราคิดว่าเป็นยุคดิจิตอล จึงเปิดประมูลทางอินเตอร์เน็ต ก้าวข้ามไปอีกระดับ คู่แข่งยังไม่ตามไม่ทัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

KM เป็น Stop ส่วน LO เป็น Flow

ควรเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องนี้

บางครั้ง LO กับ KM ก็สลับกันได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์

LO เป็นตัวกำหนดอนาคต

คนที่ 2

ทฤษฎีการทำฝนหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงสะสมความรู้ สังเกต เก็บข้อมูล ใช้พื้นฐานเคมี ฟิสิกส์ ใช้ 2R’s ศึกษาจนเป็น LO

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

รัชกาลที่ 9 ทรงแบ่งปันความรู้

อาจารย์พิชญ์ภูรี

LO อธิบายยาก เป็นองค์รวม

ก่อนจะเป็น KM ก็ต้องเป็น LO

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ฝนหลวงเริ่มจาก LO เป็น KM แล้วถ่ายทอดเป็น LO

อาจารย์พิชญ์ภูรี

กระบวนการฝนหลวงเป็นพลวัตร

คนที่ 3

งานผู้ให้บริการ Logistics ในแต่ละองค์กร สร้าง Knowhow จุดขาย ลูกค้าเลือกใช้บริษัท เริ่มจากความต้องการของลูกค้า มี knowhow ของเราและ best practice คนอื่น เริ่มจากจุดแข็งของเรา เมื่อได้รับความต้องการของลูกค้าที่ต่างกัน สิ่งที่ทำให้เกิด LO คือการเรียนรู้ลูกค้า ลูกค้าทำให้เกิดการพัฒนาแบบต่อเนื่อง แล้วค่อยๆสร้างมาตรฐานให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า เราต้องคิดไกลกว่าลูกค้า มองอนาคต ไม่รอให้ลูกค้าถาม แนะนำแนวโน้มอนาคตได้ (Lead Logistics)

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องมองว่า ลูกค้ามามุมที่แปลก

ควรใช้ในภาคการศึกษา เป็นการพัฒนาคุณภาพ

คนที่ 4

จากประสบการณ์ทำ KM และ LO ได้เคยประสานกับไทยพาณิชย์และ SCG

ดร.โอฬาร ไทยพาณิชย์ ตอบรับ LO แต่องค์กรส่วนใหญ่ทำไม่สำเร็จเพราะไม่มีคนเข้าใจ ไม่มีตัวชี้วัด คนที่สนับสนุนก็ไม่อยู่ ไม่มีใครรอผล

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คุณกานต์เคยแจกหนังสือให้พนักงานอ่าน อ่านแล้วก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ถ้าคนอื่นอ่านมากแต่ไม่เน้น Relevance ก็มีปัญหา

คนที่ 4

เห็นด้วยว่า วิศวกรก็เป็นแบบที่อาจารย์จีระพูด

Blue Ocean น่าจะใช้ทำ vision

คนเราทำ KM และ LO แบบไม่รู้ตัว เพราะมีการใช้คอมพิวเตอร์ทำแล้วแบ่งปันข้อมูลกัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องแยก process กับ Knowledge

คนที่ 5

โรงงานประกอบรถบัสต่างจากประกอบรถเล็ก ต้องทำตามความต้องการของลูกค้า คล้ายกับการวัดตัวตัดเสื้อผ้า

ทางบริษัทเริ่มจาก LO ก่อน เป็นทีมผู้รับเหมารุ่นสู่รุ่น แล้วผสมกับความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ควรนำมาทำวิทยานิพนธ์

KM กับ LO วิ่งสลับกัน

คนที่ 5

ควรจับ LO มาทำเป็น KM แล้ว share ให้เป็นระบบ สลับกันไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้เปรียบในการแข่งขัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้าสลับกัน ก็จะต้องเป็น KM ใหม่

คนที่ 5

ทุกอย่างไปด้วยกันได้เป็น Happy workplace และ happy at work อย่างยั่งยืน

คนที่ 6

ในการทำธุรกิจแท้งค์น้ำ ต้องทำให้คุณภาพดี ใช้ 4L’s ทำองค์กรเป็น LO รวมกับ KM

การแข่งขันในตลาดสูง ก็ต้องขยายการตลาดและสินค้า

ตอนนี้เป็น digital marketing ใช้ robot ผลิต

คนที่ 7

จากการสอนหนังสือ เริ่มจาก KM อาจารย์ท่านอื่นที่เคยสอนเด็ก เมื่อสอนเอง แล้ว ก็ทำ KM ที่เกิดจากเราเอง มีการทำกระบวนการใหม่ ต่อไปเรื่อยๆได้ KM ใหม่

คนที่ 8

ตอนนี้ดูแลโรงงานชุบ การขัดกันชนต้องทำให้เป็นลายที่ชัด ต้องใช้คนในการทำ แต่ KM เดิมไม่ตอบโจทย์ สภาพแวดล้อมไม่เหมาะการทำงาน จึงหา robot มา ทำให้ได้มากขึ้น เป็น LO ที่จำเป็นมาก

คนที่ 9

ไม่อยากบอกว่าอะไรมาก่อนกัน แต่ทั้ง KM และ LO เป็นของคู่กัน ต้องไปด้วยกัน

ต้องตอบโจทย์ว่า ทำไปเพื่ออะไร บางองค์กร เช่น Xerox ทำ KM เพื่อแก้ปัญหาในบริษัท จึงต้องทำ LO .ห้องกาแฟถ่ายทอดความรู้ ให้ช่างถ่ายทอดความรู้ทำให้ทราบปัญหาลูกค้าและวิธีแก้ปัญหา เป็น Tacit Knowledge เมื่อถ่ายทอดเป็น Explicit Knowledge นำความรู้ของช่างมาเป็นตำราถ่ายทอดรุ่นต่อรุ่น

บางแห่งพนักงานลาออกบ่อยมาก องค์กรขาดคนเก่ง บริษัทจะอยู่ได้นานต้องเก็บคนเก่งไว้ ต้องให้คนเก่งถ่ายทอด บริษัทเก็บ KM แล้วคนใหม่มาเรียนรู้

คนที่ 10

มหาวิทยาลัยมีการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้ประกอบการ

KM กับ LO ไปด้วยกันต่อเนื่อง

ศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการต้องเริ่มจาก KM ถ่ายทอด อาจารย์ไปทำวิจัยแล้วถ่ายทอดเป็นความรู้ใหม่

คนที่ 11

โรงงานน้ำมันปาล์มอยู่ในชุมชน มีปัญหาการซื้อวัตถุดิบ ต้องไปอยู่กับชาวบ้าน แต่ละแห่งมีวิถีชีวิตต่างกัน หน่วยจัดซื้อใช้วิธีเดิมคือมี connection ให้ราคาไป แล้วให้คนมาหา เป็น KM ต่อมาให้พนักงานมีส่วนร่วมสำรวจความต้องการชาวบ้าน ทำให้ราคาบวกลบตามคุณภาพวัตถุดิบ

คนที่ 12

นมโรงเรียนต้องรักษาคุณภาพ ตอนที่ซื้อโรงงานต่อมา ก็มีการผลิตออกมาเรื่อยๆ ต้องมีการใส่ KM เรื่องคุณภาพอ.ย. เรื่อง LO ทำอยู่แล้ว

อาจารย์พิชญ์ภูรี

ท่านมีแนวคิด LO ตลอด เช่น ทำนมอัดเม็ดแล้วไปหา KM

คนที่ 13

KM และ LO เป็นเหมือนไก่กับไข่ ขึ้นอยู่กับเราเริ่มจับที่ใดก่อน

จากทฤษฎีหยินหยาง KM กับ LO หมุนโคจรตลอด

อาจารย์พิชญ์ภูรี

ไม่สำคัญว่าอะไรเกิดก่อนและหลัง

ทุกสิ่งในโลกเริ่มจาก LO ก่อน แล้วไปทำเป็น KM อย่างไร

สิ่งที่ชอบมาก คือ ได้รับกรณีศึกษามากมาย ทำให้คิดต่อได้

สิ่งสำคัญคือต้องเคลื่อนเป็นพลวัตร

ทุกวินาทีต้องเรียนรู้ แล้วต้องดึงมาเป็น KM แล้วส่งต่อ

ขอบคุณความรู้ของทุกท่าน                                                                                             

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอขอบคุณอาจารย์พิชญ์ภูรี

วันนี้เป็นการเรียนรู้ที่ดี

  • KM LO เชื่อมโยงกัน
  • KM คือตัวความรู้
  • LO คือกระบวนการหาความรู้ใหม่เพื่อทายอนาคต แก้ปัญหา เพิ่มมูลค่าองค์กร

การเชื่อมกันระหว่าง Knowledge and process ต้องมีผู้นำ เปิดโอกาสและ incentives แล้วกระบวนการจะมีประสิทธิภาพสร้าง 3V’s ได้ แต่ละองค์กรมีปัจจัยเหล่านี้ไม่เท่ากัน อาจจะเปรียบเทียบบริษัทและมหาวิทยาลัย ว่า หน่วยใดขาด LO ส่วนที่อะไรมาก่อนหลังเป็นเรื่องที่ไม่มีการสิ้นสุด

                ในรุ่น 15 เราสามารถโต้ตอบได้ดี สร้าง value chain ของ KM LO ต้องมีการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ มี shared vision

ศักยภาพมนุษย์ไม่มีขีดจำกัด ขอให้วิ่งเข้าไปหาความเป็นเลิศของตนเอง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

Incentives ที่ทำให้เกิด KM LO อาจจะต้องคิดให้ดี อาจจะไม่ใช่แค่เรื่องเงิน อาจจะเป็นเรื่องอื่นๆ แล้วจะเป็นปัจจัยสนับสนุน KM LO ที่สำคัญ

Workshop (การบ้าน)

1. ถ้าจะให้คะแนน 0-10

- วัฒนธรรมการเรียนรู้ของท่านได้เท่าไหร่?

-วัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์กรที่ท่านอยู่เท่าไหร่?

วิเคราะห์ช่องว่างของตนเองและขององค์กรเพื่อการพัฒนา

2. LO กับ KM เหมือนกันอย่างไร และแตกต่างกันอย่างไร และ ควรจะมียุทธศาสตร์ในการพัฒนา LO และ KM อย่างไร เพื่อให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้อย่างสมบูรณ์

3. วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างของ “บุคคลแห่งการเรียนรู้” และ “องค์กรแห่งการเรียนรู้” ของ Chira กับ Senge

4. วิเคราะห์และให้ข้อเสนอแนะว่า จะสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในสังคมได้อย่างไร

5. เสนอโครงการ 2 โครงการเพื่อพัฒนา LO ในสังคม/กลุ่มนักศึกษาปริญญาเอก


โครงการห้องเรียนสัญจร

ปริญญาเอก นวัตกรรมการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน 2560

ณ ห้องประชุมกันภัย คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา

 

ดร.ทรงวุฒิ กันภัย

ขอขอบพระคุณดร.โชคชัย สุทธาเวศและศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันนี้เป็นเรื่อง Cross-function ระหว่างมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาอยู่ในด้านการจัดการนวัตกรรม และมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นด้านรัฐประศาสนศาสตร์

ทางมหาวิทยาลัยมหิดลเรียนในเทอมที่ผ่านมา โดยเรียนเป็นเทอมที่ 2  ส่วนภาคพิเศษนั้น เทอมนี้เป็นเทอมสุดท้าย เมื่อส่งงานครบแล้ว ก็จะมีวาระในการสอบคิวอีประมาณก.พ.-มี.ค. ถ้าสอบผ่านครั้งแรก ก็จะเป็นการเตรียมสอบ Proposal ในการทำดุษฎีนิพนธ์ ถ้าไม่ผ่านก็มีเวลาอีกประมาณ 2-3 เดือน ถ้าสอบคิวอีไม่ผ่านอีกครั้ง ก็ไม่ได้เรียนต่อ

ความแตกต่างคือ ทางสวนสุนันทาเรียนทางด้านปฏิบัติ มหิดลก็มีส่วนที่ Practical คือมีการศึกษาดูงานบ้าง  แต่มองเทอมแรกเน้นทฤษฎีเป็นส่วนใหญ่ ส่วนนักศึกษาที่มาเรียน มหิดลมีราชการส่วนใหญ่ แต่สวนสุนันทามีเจ้าของธุรกิจมาเรียนเป็นส่วนมาก เมื่อมีความแตกต่าง ก็สามารถแลกเปลี่ยนกันได้มากพอสมควร

วันนี้ ฝ่ายสวนสุนันทานำเสนอรายงานศึกษาเปรียบเทียบกูรู แล้วจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

หวังว่า ในการเรียนครั้งนี้จะทำให้ทุกคนมีเพื่อนเพิ่มขึ้น รู้จักกันมากขึ้น สามารถนำไปต่อยอดความรู้ในการเรียนปริญญาเอกและการทำงานในอนาคต

ในฐานะผู้ดำเนินรายการ รู้สึกยินดีมากที่ได้เป็นผู้ประสานงานระหว่างอาจารย์จีระ สวนสุนันทา และอาจารย์โชคชัย

ดร.โชคชัย สุทธาเวศ

                ดีใจที่พวกเราได้เรียนรู้ร่วมกับอาจารย์จีระ มหาวิทยาลัยมหิดลมีหลักสูตรปริญญาเอกภาคปกติและภาคพิเศษ ใช้วิธีสอบเข้า  มีหลักสูตรต่างๆดังนี้

1.ปรัชญาดุษฏีบัณฑิตสาขาวิชาสังคมศาสตร์สุขภาพนานาชาติ               

2.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์และสุขภาพ        

3.จริยศาสตร์เพื่อการพัฒนาองค์การ (ภาคพิเศษ)        

4.ศาสนากับการพัฒนา     

5.สาขา พุทธศาสนศึกษา (นานาชาติ)           

6.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประชากรศึกษา         

7.ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการการศึกษา (นานาชาติ)        

8.ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา             

9.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการการกีฬา           

10.สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ (ภาคพิเศษ)        

11.สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ (ภาคปกติ)          

12.สาขาวิชาอาชญาวิทยาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม   

ปริญญาเอกรัฐประศาสนศาสตร์เปิดมาได้ 7 ปี รุ่นที่มากสุดมีนักศึกษา 56 คน วิชาบังคับคือ ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง ทฤษฎีการจัดการนโยบายสาธารณะขั้นสูง ทุนมนุษย์ การคลัง การสัมมนาพัฒนาดุษฎีนิพนธ์ ซึ่งเรียน 3 เทอมติดกัน เทอมละบท มีวิชาเลือกคือ นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม บริหารยุทธศาสตร์ทรัพยากรบุคคล เมื่อเรียนจบทั้งหมดแล้วก็สอบคิวอี นักศึกษาสอบคิวอีไม่ผ่านจึงต้องสมัครใหม่

ถ้าไม่มีอาจารย์จีระและคุณทรงวุฒิก็คงไม่มีการเรียนวันนี้ เพราะนักศึกษาแต่ละที่มีลักษณะพิเศษต่างกัน

หวังว่าการเรียนครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนของทั้งสองมหาวิทยาลัย ขอบคุณอาจารย์จีระและทุกคน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอขอบคุณทางมหิดล เนื่องจากอาจารย์จีระเคยได้รับเกียรติมาบรรยายที่มหิดลหลายครั้ง ตอนหลังก็มาเป็นประธานคณะกรรมการสอบดุษฎีนิพนธ์ของอาจารย์ทรงวุฒิ

อาจารย์จีระรู้จักกับอาจารย์โชคชัยมา 40 ปี ได้ทำงานกับอาจารย์นิคม จันทรวิทุรช่วยลดความขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง

เมื่อธรรมศาสตร์ตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ อาจารย์นิคมก็เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง อาจารย์จีระเป็นผู้อำนวยการ ตอนนี้ประกันสังคมสำเร็จและสังคมได้ประโยชน์ด้วย

อาจารย์โชคชัยมาสอนที่นี่ก็เป็นเกียรติประวัติ

ที่สวนสุนันทา มีอาจารย์เอนกสอน และได้เชิญอาจารย์ที่มีความสามารถจากธรรมศาสตร์มาร่วมสอนได้แก่ อาจารย์สมชายและอาจารย์จีระ นอกจากนี้อาจารย์จีระเคยไปสอนปริญญาเอกที่คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ และได้สอนที่สวนสุนันทาเป็นรุ่นที่ 15  หลักสูตรนี้จึงผสมกับวิชาการ สะท้อน 2R’s Reality และ Relevance ถ้าคนเรียนปริญญาเอกในประเทศไทยนำความรู้ไปทำงานและนำไปปะทะความจริงจะได้ทุนมนุษย์ที่เรียนรู้ตลอดชีวิต

กูรูที่นำมาวิเคราะห์มอง Human Capital ว่า สร้าง Value Added ให้แก่องค์กรและประเทศ

ในทางเศรษฐศาสตร์ แต่ก่อนไม่นำจิตวิทยามาใช้ เพราะคิดว่าพฤติกรรมมนุษย์บัญญัติยาก

เศรษฐศาสตร์คิดว่า ถ้าต้นทุนต่ำก็ทำต่อ แต่มนุษย์มี Rational และ Irrational  ในทางทฤษฎีต้องเข้าใจทฤษฎีเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม  ตอนหลังเป็น Average Value ขึ้นมา ตอนหลังแนวคิดเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่มาทางพฤติกรรมมนุษย์มากขึ้น แต่ในไทยมีนักเศรษฐศาสตร์แบบนี้น้อย

การบรรยายโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Chira Way คือ Learning how to learn นำไปสู่แนวคิดทุนมนุษย์หลายเรื่อง

อาจารย์จีระใช้ 4L’s มาก สอนให้คิด มีบรรยากาศการเรียนที่สนุก มีการปะทะกันทางปัญญา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เมื่อจบแล้วต้องคิดต่อว่า ได้อะไร และมักจะถามว่า ประเด็น Relevance คืออะไร

ศ.นพ. วิจารณ์ พานิชก็พูดเรื่องเหล่านี้

สิ่งสำคัญคือลูกศิษย์ได้ประโยชน์ ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวเขาเอง เขาก็จะประสบความสำเร็จ

การเรียนต้องมีแรงบันดาลใจและจินตนาการ การทำเรื่องคน ก็ต้องได้คุณค่าที่สูงขึ้น และที่สำคัญคือคุณค่าจากความหลากหลาย

ทุนมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของ 4 ทุน

Becker เน้นการลงทุนในคน มีการเปรียบเทียบพบว่า เรียนเป็นเวลานาน ทำให้มีรายได้มาก

ต่อมาก็อาจไม่จริง คนเรียนมาก ขี้โกงก็ได้ นำไปสู่ 8K’s 5K’s ซึ่งสะท้อนคุณภาพทุนมนุษย์

อาจารย์จีระชอบทฤษฎีทุนมนุษย์ที่วิ่งระหว่างแมคโครกับไมโคร เป็นการปลูกกับทฤษฎี Life cycle

ต้องดูทุนมนุษย์ตั้งแต่เด็กคือการดูแลจากครอบครัว ต้องมีการปลูกฝังจริยธรรมตั้งแต่เด็ก ถ้าเป็น Chira Way ก็ต้องมองสังคมให้ครบถ้วนด้วย การบริหารคนที่ดี Motivation ต่างๆส่วนมากมาจากความสุขที่สร้างให้คนในการทำงาน การยกย่องคน การมีศักดิ์ศรี ความยั่งยืน การเก็บเกี่ยวเน้น Human Right มากกว่า Human Resource ในยุคต่อไป มนุษย์ต้องการเกียรติและศักดิ์ศรี

ดร.ทรงวุฒิ กันภัย

ความรู้จากอาจารย์สามารถนำมาปรับใช้กับดุษฎีนิพนธ์ได้ ในการจะออกนโยบายใด ก็ต้องเข้าใจเรื่องคนแล้วนำไปปรับใช้

ผู้แทนฝ่ายมหิดล

เทอมที่แล้วได้เรียนเรื่องทุนมนุษย์ มีโจทย์ให้เขียนบทความทุนมนุษย์ ตอนแรกก็ได้เขียนถึงบทบาทหน่วยงานภาครัฐในการส่งเสริมทุนมนุษย์เพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ ส่วนใหญ่เมื่อกล่าวถึงทุนมนุษย์ มักจะเน้นภายในองค์กรภาครัฐ แต่ในความเป็นจริงแล้ว หมายรวมถึงประชาชนทั้งประเทศ และได้รับการขับเคลื่อนจากคนในภาครัฐ จากการอ่านหนังสือ จึงสับสนระหว่าง 5K’s กับ 8K’s

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Human Capital เป็นทุนแม่

Becker กล่าวว่า ต้องมีการลงทุนด้านการศึกษา โภชนาการ การฝึกอบรม แต่ก็ไม่พอ ต้องมีคุณภาพด้วย ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม เวลาที่มีปริญญาแล้วต้องมีปัญญา ต้องสอนให้เด็กคิด ควรยกเลิกการสอบแบบปรนัย ในโลกนี้ไม่มี 1+1=2 แต่ที่นิวซีแลนด์สอนให้ตีโจทย์ให้แตกก่อนตอบข้อสอบ การสอบ Comprehensive ที่ University of Washington เน้นให้ตีโจทย์ให้แตก ซึ่งมาจากปัญญา

                8K’s มาก่อน 5K’s

5K’s คล้าย 4.0 มีความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม

ถ้าคนไม่มีความสุขในการทำงาน ไม่มีทุนจริยธรรม 5K’s ก็ไม่ดี กลายเป็นการโกงทางนโยบาย

ในด้านทุนทางอารมณ์ ถ้าไม่ควบคุมอารมณ์ ทุกอย่างก็ล้มเหลว ทุนทางวัฒนธรรมก็มาแรงช่วงหลัง

ฝ่ายสวนสุนันทา นำเสนอรายงานการวิเคราะห์เปรียบเทียบกูรูสำคัญระดับโลก

วันนี้เป็นโอกาสอันดีที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสองสถาบัน ขอขอบคุณอาจารย์จีระที่ทำให้บรรยากาศนี้เกิดขึ้น

กลุ่ม 1 นำเสนอโดย คุณนันทพล

                รัชกาลที่ 9

                สมัยทรงพระเยาว์

รัชกาลที่ 9 ทรงได้รับการเลี้ยงดูโดยสมเด็จย่าด้วยหลัก 7 ประการคือ

1.ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น

2.ตั้งเป้าหมายการเลี้ยงดู

3.จัดแบบแผนและสร้างวินัยตั้งแต่ยังเล็ก

4.เล่นอย่างถูกวิธี

5.ประหยัดอดออม ไม่ฟุ่มเฟือย

6.เรียนไปพร้อมกับลูก

7.เน้นการพัฒนา EQ มากกว่า IQ

                หลักการทรงงาน

                ตลอดระยะเวลาการครองราชย์ พระองค์ท่านทรงเสียสละเพื่อประโยชน์สุขของปวงชน ดังพระปฐมบรมราชโองการ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

                มีหลักการคือ ใช้ทางสายกลาง เน้นการพัฒนาคน คำนึงความแตกต่างของคน พึ่งตนเองได้ รู้ รัก สามัคคี เพื่อความสุขที่ยั่งยืน มีหลักการทรงงาน 23 ประการ

                โครงการพระราชดำริ

                ที่ได้ศึกษามามีดังนี้

1.โครงการพัฒนาชีวิตชาวเขา

2.โครงการปลานิลจิตรลดา

3.โครงการโคนมพระราชทาน

4.กุ้งก้ามแดงพระราชทาน

5.พันธุ์ข้าวพระราชทาน

6.โรงเรียนพระดาบส

7.ศูนย์หัตถกรรมทอผ้าบ้านเขาเต่า

8.ศูนย์ฝึกอาชีพพระราชทานโรงพยาบาลพระมงกุฏ

แนวพระราชดำริพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เปรียบเทียบ Chira Way คือ 8K’s, 5K’s

1.ความฉลาดที่ใช้พิจารณาสิ่งต่างๆ อันเกิดจากจิตใจที่มั่นคงตรงกับทุนทางปัญญา

2.สัจวาจาเป็นรากฐานการทำงาน มีสัตย์จากคำพูดและวาจามาจากใจ ตรงกับทุนทางจริยธรรม

3.ความสุขที่แท้จริงเป็นความสุขที่แสวงหาได้จากความเป็นธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อื่นตรงกับทุนแห่งความสุข

4.ทุกคนต่างมีหน้าที่ ไม่ใช่ของตัวเอง เพราะทุกงานนั้นพาดพิงกัน ต้องรู้งานของผู้อื่นและช่วยกันทำ  ตรงกับทุนทางสังคม

5.ความเจริญก้าวหน้าทำได้ทีละน้อย ไม่ได้ทำด้วยความเร่งรีบหรือความกระหายอยากทำสิ่งใดตรงกับทุนแห่งความยั่งยืน

6.การพยายามศึกษาเทคโนโลยีนั้นสำคัญ ต้องศึกษาแล้วนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ตรงกับทุนทาง IT

อาจารย์จีระ

                อาจารย์จีระได้คิดค้นวิชาทุนมนุษย์ ตั้งแต่เกิดมา เห็นได้จาก HR Architecture คนเราเรียนรู้ตั้งแต่เด็ก ต้องมีการศึกษา พลานามัย โภชนาการ ครอบครัว สื่อ ศาสนา สังคม  ผ่านระบบคิดเป็นวิทยาศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์ วัฒนธรรมบ่มเพาะมาแล้วเริ่มทำงานคือเป็นด้าน supply side สิ่งที่ผ่านมาทุกอย่างในชีวิตรวมกันเพื่อทำให้เกิดความสุขยั่งยืน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คนไทยต้องคิดเป็น คิดเป็นไม่ได้มาจากปัญญา จากการไปทำงานกับชาวบ้าน การปะทะกันทางปัญญาได้ผลมาก วันหนึ่งควรไปคุยกับชาวบ้านเกี่ยวกับการเลือกตั้ง

ทุนมนุษย์ดีต่อประเทศและสังคม ต้องปฏิรูปคนก่อนปฏิรูประบบ

กลุ่ม 1

8K’s

ทุนมนุษย์เริ่มจาก Peter Drucker คือ ถ้าคนเราเรียนมาก เงินเดือนก็จะดี แล้วชีวิตก็จะดี

แต่อาจารย์จีระมองว่าต้องมีอีกหลายทุนมาประกอบนอกเหนือจากการศึกษาจึงเป็นที่มาของอีก 7 ทุนคือ

ทุนทางปัญญา สร้างด้วย 4L’s คือ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้

เมื่อมีความรู้ความสามารถ ต้องเป็นคนดีด้วย ก็คือมีทุนทางจริยธรรม

มีความสุขคือต้องมีเป้าหมาย รู้คุณค่าสิ่งที่ทำจึงจะมีความสุข

ทุนทางสังคมคือ รู้ว่า คนอื่นมีศักยภาพด้านใด แล้วเราก็เข้าไปมี Connection กับเขา เพื่อให้การเจรจาต่อรองหรือข้อมูลข่าวสารเข้าถึงง่ายขึ้น

ทุนความยั่งยืน ไม่ทำสิ่งที่มีคุณค่าแค่ระยะสั้นแล้วทำลายคุณค่าระยะยาว

ทุนทาง IT ใช้ social media สื่อต่างๆให้เกิดประโยชน์

ทุนแห่งความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ทำอะไรต้องมีต้นแบบ แล้วเผยแพร่ให้คนรุ่นหลัง

5K’s

ทุนทางความรู้ สร้างความรู้ให้คน

ทุนแห่งการสร้างสรรค์ มีการคิดข้ามศาสตร์เชื่อมให้เกิดความสร้างสรรค์

ทุนทางนวัตกรรม นำความคิดสร้างสรรค์มาทำให้เกิดผล

ทุนวัฒนธรรม เข้าใจความแตกต่างแต่ละประเทศแล้วเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน

ทุนทางอารมณ์ ควบคุมอารมณ์เพื่อที่จะเป็นผู้นำในสังคม

HRDS

กระตุ้นให้คนทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข อาจารย์จีระเน้นความสุข การยอมรับกัน ยกย่องให้เกียรติ ความยั่งยืน

2R’s เป็นทฤษฎีที่ใช้มาก

1.Reality เป็นความจริง

2.Relevance เกี่ยวกับตัวเรา

2I’s

1.ความสร้างสรรค์

2.แรงบันดาลใจ

 

John P. Kotter

                เป็นกูรูที่เก่งด้านการเปลี่ยนแปลงองค์กรขนาดใหญ่ เป็นผู้นำที่สร้างให้องค์กรพัฒนาคนเพื่ออนาคต

ตรงกับ Knowledge Capital, Creativity Capital และ Sustainability Capital ของอาจารย์จีระ

 

Edward de Bono*

                เน้นความสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ คิดว่า มนุษย์สร้างสรรค์ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด คิดค้นทฤษฎีการคิดนอกกรอบ Lateral Thinking เขียนหนังสือ Six Thinking Hats ความคิด 6 แบบที่เปลี่ยนไปตามรูปแบบ

ตรงกับ Creativity Capital, Knowledge Capital, Innovation Capital, 2R’s และ 2I’s ของอาจารย์จีระ

Warren G. Bennis*

                เชื่อว่า ทุกคนเป็นผู้นำได้ เน้นพัฒนาคนเป็นผู้นำ พัฒนาความรู้ด้วยตนเอง และเรียนรู้จากประสบการณ์จริง วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างผู้จัดการกับผู้นำ ตรงกับ Human Capital และ 2R’s

ของอาจารย์จีระ

กลุ่ม 2

Peter Drucker*

เป็นบิดาการจัดการสมัยใหม่ มองว่า คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด เพราะฉะนั้นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนคือต้องพัฒนาให้คนนำความสามารถมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สอดคล้องกับ Human Capital, Intellectual Capital และ 2R’s ของอาจารย์จีระ

Peter Senge*

เน้นการคิดอย่างเป็นระบบ เขียนหนังสือวินัย 5 ประการ สอดคล้องกับ Human Capital, Intellectual Capital, 2R’s และ 3L’s ของอาจารย์จีระ

Xi Jinping*

เป็นผู้นำจีนที่มีแนวคิดพัฒนาจีนในหลายด้าน เน้นให้การศึกษาซึ่งเป็นปัจจัยพัฒนามนุษย์ พัฒนาประเทศคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับ Human Capital, Cultural Capital, Intellectual Capital และ 2R’s ของอาจารย์จีระ

กลุ่ม 3

Daniel Kalmeman*

เป็นนักทฤษฎีจิตวิทยารางวัลโนเบล  ศึกษาจิตวิทยาเกี่ยวกับด้านความสุข การคิดเชิงบวก ค้นหาสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับความสุขและความเจ็บปวด ความสนใจ ความเบื่อหน่าย สภาพแวดล้อมทางสังคม

สอดคล้องกับ Happiness Capital, Emotional Capital และ Knowledge Capital ของอาจารย์จีระ

Lyanda Gratton*

เป็นนักธุรกิจชั้นนำของโลกและอาจารย์ด้านการบริหารจัดการ มองว่า คนเป็นทรัพย์สินและเป็นทรัพยากรเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ขององค์กร สอดคล้องกับ Intellectual Capital, Emotional Capital และ Social Capital ของอาจารย์จีระ

Dave Ulrich

ศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ มีปรัชญาแนวคิดว่า คนเป็นทรัพยากรที่ยิ่งใหญ่สุด เชื่อว่า

พนักงานทุกคนเป็นคนมีคุณค่า สามารถพัฒนาได้ Dave Ulrich เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเพิ่มศักยภาพพนักงานและการพัฒนาผู้นำ สอดคล้องกับทฤษฎีปลูก เก็บเกี่ยว Execution ของอาจารย์จีระ

ในการปลูก ต้องอบรมให้ความรู้ ความสามารถเกี่ยวกับงานหน้าที่รับผิดชอบเพื่อพัฒนาพนักงานให้มีประสิทธิภาพ

ด้านเก็บเกี่ยว ทำให้พนักงานมีความสุขเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้องค์กรบรรลุผลระยะยาวได้ยั่งยืน

ด้าน Execution สร้าง leadership brand เพื่อเพิ่มศักยภาพและมูลค่าทางการตลาด และเพิ่มมูลค่าให้ผู้ถือหุ้น

กลุ่ม 4

John Maxwell

เชื่อว่า ผู้นำที่ดีสามารถจะสร้างประโยชน์ให้กับตนเองและองค์กรได้ การเป็นผู้นำที่ดีต้องเกิดจาการหล่อหลอมมาจากครอบครัว สังคมและองค์กร อย่างไรก็ตาม ทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้ ผู้นำพัฒนาได้โดยรู้จุดแข็งของตัวเอง

การที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ มี Real Model ประกอบด้วย

1.Relationships ความสัมพันธ์

2.Equipping

3.Attitude

4.Leadership

ผู้นำต้องเป็น Leadership ไม่ใช่ Leader

สอดคล้องกับ 8K’s, 5K’s, 2R’s และ 3V’s ของอาจารย์จีระ

Stephen Covey

                เขียนหนังสือ 7Habits เชื่อว่า คนจะพัฒนาได้ต้องทำอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับ Emotional Capital, Social Capital, Knowledge Capital, Sustainability Capital และ HRDS ของอาจารย์จีระ

Pfeffer (ไฟเฟอร์)

                เป็นศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมองค์กร เชื่อว่า คนมีความสำคัญที่สุดในองค์กร คนจะมีความสำคัญในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเพื่อผลักดันองค์กรไปถึงเป้าหมายได้ สอดคล้องกับ 2R’s, Knowledge Capital, Creativity Capital, Innovation Capital, Happiness Capital และ Sustainability Capital ของอาจารย์จีระ

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

นี่เป็นโครงการใหญ่ ซึ่งทางสวนสุนันทาอยากจะนำเสนอวิจัยนี้มาให้ทางมหิดลมาพิจารณา

อาจารย์จีระได้อิทธิพลจากรัชกาลที่ 9 ท่านทรงได้รับการปลูกจากสมเด็จย่าให้สมถะคิดถึงส่วนรวม

เรื่องทุนมนุษย์ไม่ใช่แค่ในองค์กร แต่รวมในระดับประเทศด้วย ตอนนี้ครอบครัวอ่อนแอ ค่านิยมคุณธรรมอ่อนมาก

อาจารย์จีระเป็น sequential model ต้องมีจริยธรรมก่อนนวัตกรรม เวลาเรียนปริญญาเอกต้องค้นหา contribution ของตนเอง

ตอนทำงานรุ่น 15 ก็ยกระดับการเรียนให้สูงขึ้น จึงมีการวิเคราะห์กูรู แต่ละกลุ่มก็ต้องไปศึกษาเพิ่มเติม กูรูที่ยกมาอยู่ในสาขา Human Capital แต่ในไทยเป็นแบบ 1.0  แต่ตอนนี้ต้องไป 4.0 ด้วย

ต้องเปลี่ยนจาก routine เป็นการสร้าง 3V’s ควรทำงานข้ามไซโล คนเหล่านี้จึงสอน Organizational Behavior

Execution บางครั้งล้มเพราะไม่ต่อเนื่อง วัฒนธรรมองค์กร command and control คนเหล่านี้ต้องพยายามไปสร้างมูลค่า

ไฟเฟอร์บอกว่าคุณรู้แล้วต้องทำ ทุกคนต้องปะทะกันทางปัญญา ถ้าชาวบ้านปะทะกันทางปัญญา ผู้ว่าจะเรียนรู้มากขึ้น

ในการทำดุษฎีนิพนธ์ ควรตั้งโจทย์ให้ Relevance ต่อตนเองและการใช้งานในอนาคต ไม่ควรเน้นด้านเทคนิคมากเกินไป

ต้องรู้จากเก็บเกี่ยว Human Capital มากกว่าการบริหาร

มหิดลฝึกนักศึกษาเขียนบทความแต่ควรจะให้สังคมได้เรียนรู้ด้วยจึงจะเป็นประโยชน์

ควรจะหารือเพื่อช่วยกันปรับปรุง HR Architecture

อยากให้นักศึกษาปริญญาเอกลงไปช่วยชาวบ้านด้วย สิ่งสำคัยคือต้องเรียนเป็นทีม ในอนาคตอาจจะเป็น Group Thesisได้

มีคนนำ 8K’s กับ 5K’s ไปทำวิทยานิพนธ์แล้วหลายเรื่อง ดร.ทรงวุฒิก็อธิบาย 8K’s กับ 5K’s ได้ละเอียดดี

ดร.โชคชัย สุทธาเวศ

                เรากำลังอยู่ในช่วงสร้างสรรค์ภูมิปัญญาของนักวิชาการและโลกาภิวัตน์ ทำให้มีความรู้แตกต่างกัน  ความรู้จึงมีการเรียนรู้กันระหว่างประเทศ งานวิจัย 12 กูรูนี้ อาจจะดูว่า ความคิดเหล่านั้นเกิดขึ้นเป็น Time Series อย่างไร การพัฒนาขององค์ความรู้ต้องดูประวัติศาสตร์ด้วย มีการปะทะกันทางปัญญาอย่างไร ความคิดที่นิยมได้รับการยอมรับอย่างไร และTime Series เกิดอย่างไร นักวิชาการเรียนรู้ระหว่างกันหรือไม่ ถ้าข้ามประเทศ อาจจะเรียนรู้ระหว่างกันยาก

                ความรู้ของอาจารย์จีระเกิดจากประสบการณ์ การทำงาน มาวิจัยเพิ่มเติมแล้วนำไปสอน บริหารมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ เป็นความรู้ที่สะสม อีกแง่หนึ่งเกิดจากการที่ได้ไปฝึกอบรมให้องค์กรต่างๆ จึงทราบปัญหา เท่ากับความรู้เกิดการเปรียบเทียบ คิดเป็นตัวแปรบูรณาการได้ ความท้าทายเมื่อเกิดตัวแปรใหม่ สามรถเห็นสิ่งนั้นเหมือนกันหรือไม่ เป็นตัวแปรหนึ่งที่สำคัญ ตัวแปรสัมพันธ์กันทำให้เกิดความสำเร็จ อาจเป็นชุดทุนมนุษย์ที่มีการสร้างทุนมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย นักทรัพยากรมนุษย์อื่นๆอาจจะมองแค่ระดับองค์กร ฝ่ายมหิดลอาจจะใช้ประโยชน์ นำมาเป็นทฤษฎีประยุกต์เป็น Universal Theory ได้อย่างไร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                อาจารย์โชคชัยเป็นนักวิชาการที่มีคุณค่าต่อสังคม

                อาจจะดูว่ากูรูแต่ละท่านอยู่ยุคใด เช่น Drucker อยู่ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่วนอาจารย์จีระอยู่ช่วง 4.0

อยากให้กระจาย 8K’s, 5K’s ไปให้ให้มากกว่า Network ของอาจารย์จีระ โดยให้คนวิจารณ์มากขึ้น

ผู้แทนฝ่ายมหิดล คนที่ 1 เภสัชกร จำรูญ จาก ซีพีออล ดูแลส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องยาและอาหารเสริม

                มีลูกอยู่เซนต์คาเบรียล ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามสวนสุนันทา มีเพื่อนร่วมรุ่นจบจากสวนสุนันทาและเป็นอาจารย์ที่สวนสุนันทาด้วย นอกจากนี้ยังเคยไปฝึกงานที่กรมการแพทย์แผนไทยเพราะสนใจเรื่องสมุนไพรไทยและการพัฒนาแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนปัจจุบัน ได้ศิษย์ปัจจุบันของอาจารย์จีระและเป็นศิษย์ปัจจุบันของสวนสุนันทาด้วยซึ่งดีมาก

วันนี้ได้ฟังแนวคิด 8K’s, 5K’s เป็นการเปิดกะโหลกตนเอง หลายเรื่องคล้ายกับตัวเรา ในเรื่อง HR Architecture ครอบครัวเป็นพื้นฐานสำคัญ ชอบเรื่อง Lifelong Learning

ขอขอบคุณที่ทางฝ่ายสวนสุนันทาได้นำของดีมาบอก

ผู้แทนฝ่ายสวนสุนันทา คุณนันทพล

                ได้มีโอกาสเข้ามาเรียนเพราะเคยขายงานให้ Thai Summit อาจารย์ฉัตรแก้วเป็น MD ที่ Thai Summit ก็เป็นที่ปรึกษาแนะนำว่ามีอาจารย์จีระและอาจารย์สมชายมาสอน ตอนแรกก็ยังไม่เข้าใจ 8K’s, 5K’s เมื่อได้อ่านหนังสือแล้วก็เข้าใจมากขึ้น 8K’s, 5K’s มาจากประสบการณ์อาจารย์จีระและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรียงตามลำดับความสำคัญ เหตุผล ต้องอ่านและตีความมาก การเรียงลำดับอาจไม่ตรงใจนัก แต่เชื่อมโยงได้ บางครั้งก็ใช้เทียบกับอย่างอื่น เป็นการเรียนที่มีประโยชน์ ถ้าใช้เป็น เป็นการเชื่อมโยงกูรูหลายท่านใช้ทำความเข้าใจหนังสือ Harvard ได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                เมื่อมองผิวเผินอาจคล้ายแฟชั่น แรงบันดาลใจในการเขียนหนังสือ 8K’s+5K’s คืออยากให้รู้ศักยภาพมนุษย์ สร้างทุนมนุษย์ในตัวคน แม้ 10 ปีมาแล้ว ก็มีแรงบันดาลใจพูดถึง

                1.Happiness Capital แบ่งเป็น

                                1.1 Happy Workplace ซึ่งเกี่ยวกับองค์กร

                                1.2 Happy at Work มาจาก Health, Passion, Purpose ต่างจาก Happy Workplace

                ต้องทำให้นักศึกษามีความสุขในการเรียน

                2.Sustainable Capital เป็นทั้งวิธีการและเป้าหมาย ต้องมีพฤติกรรมที่ส่งเสริมด้วย

                อาจารย์จีระโชคดีที่ถูกกระตุ้นให้หาความรู้ รุ่นนี้ต้องสร้างความคิดใหม่ๆ ยุคต่อไปเป็นการทำงานส่วนตัวแล้วอาจจะมีอาชีพที่สองก็ได้ ความยั่งยืนไม่มีจุดจบ ถ้ามีชีวิตอยู่ ก็ต้องทำให้ชีวิตมีคุณค่า

ผู้แทนฝ่ายมหิดล คนที่ 2 คุณเทพรัตน์ Creative Director ปัจจุบันรับราชการกรมทรัพยากรน้ำ

                เรื่องของ12 กูรูเหมือนเป็นการเปิดโลกทัศน์ เป็นทางลัดที่ทำให้เข้าใจมาก ขอใช้หลัก PMI ของ De Bono มาวิพากษ์คือ

                1.Plus ประเทศไทยมีคนเก่งที่นำปะทะด้วยคืออาจารย์จีระ และ 2R’s เป็นรากของ Peter Drucker บริหารจัดการภายใต้ความเป็นจริงก่อนเป็น NPA

                2.Minus แนวคิด 8K’s, 5K’s มีจำนวนมาก หลักที่คนพูดถึงบ่อยต้องสั้น เช่น 2R’s ตามหลัก Creative คนจำได้แค่ 3 ข้อ อาจจะซอยเป็นทฤษฎีรองเพื่อให้คนไปพูดต่อ

                3.Interest พัฒนาแนวคิดคนไทยไปสู่ระดับโลก นำ 8K’s, 5K’s ไประดับโลก ในการสร้าง brand และ brand loyalty ต้องมีทัศนคติที่ดีต่อทฤษฎีและอาจารย์จีระ และต้องมี Rehersal ซ้ำบ่ยๆ จึงจะเปิดแบรนด์ที่เข้มแข็ง

                ในทุกทฤษฎีมีหลักแนวคิด ถ้าทำให้คนไทยมี 8K’s, 5K’s คนและประเทศจะพัฒนาขึ้น ทฤษฎีนี้จะสามารถนำไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                วันนี้ได้เรียนรู้มาก สิ่งที่ทุกท่านพูดเป็น Relevance ให้แนวทางการปรับปรุงแบบ Unrealized เป็นคุณค่าที่สูงมาก

ผู้แทนฝ่ายสวนสุนันทา คุณสันติ

                การปลูก หมายถึง ในดินมีอะไร ดินในไทยไม่ดี ถ้าไทยมี 8K’s ไทยก็เจริญในแบบตนเองเพราะมีทุนที่ต่างจากฝรั่ง

                3K’s ที่ควรจำและใช้คือ Intellectual Capital, Emotional Capital และ Social Capital เพราะเชื่อมโยงกันและใช้ในชีวิตจริง

                เมื่อคนมีความรู้ไปแบ่งปันใน Social Network ก็มีความมั่นใจและมีทุนทางอารมณ์สูงขึ้น กล้าเข้าสังคม มี Network มาก ได้ความรู้กลับมาอีก

                ควรจะขยาย 3K’s นี้

                เคยซื้อหนังสือ Six Thinking Hats มา ซึ่งมีแนวทางคือ Focus คุยเรื่องเดียวกัน ใช้หมวกสีเดียวกัน เท่ากับ 2R’s ตรงประเด็น ถ้าเป็นเรื่องข้อมูลใช้หมวกขาว ถ้าเป็นเรื่องโอกาสใช้หมวกเหลือง เชื่อมโยงแนวคิดอาจารย์จีระได้มาก

                ได้มีโอกาสนำ 8K’s ไปใช้กับครอบครัว ฝรั่งมีวิทยานิพนธ์หลายชิ้นที่ระบุว่า ถ้าลงทุนตั้งแต่ระดับเด็ก ก็มีผลมาก เพราะฉะนั้นต้องทุ่มเทกับลูก วิชาการที่เรียนเป็นการบริหารการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นการบริการจัดการนวัตกรรม

                ปี 2550 ราชการได้ทำการบริหารการเปลี่ยนแปลงซึ่งตรงกับหนังสือ Senge และ Kotter กล่าวคือ Senge เน้นการเปลี่ยนแปลงช้าๆ เป็น Learning Organization ใช้ Fifth Discipline ส่วน Kotter ใช้ผู้นำเพราะมีอำนาจสูงสุดเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 

ผู้แทนฝ่ายมหิดล คนที่ 3 คุณบุญเยี่ยม หัวหน้ายุทธศาสตร์ กทม.

                มาเรียนเพราะอยู่ฝั่งปฏิบัติการ อยากรู้ว่า สิ่งที่ทำได้รับการอธิบายแบบเป็นวิชาการอย่างไร

                ตนเองคิดถึงลูกเต๋า คือ มิติของการมองที่สามารถพลิกได้ เวลาเรียนที่มหิดล พยายามจัดกล่องความคิด เข้าใจกูรู และก็มีอีกชุดความคิดเป็นของตนเอง

                ขอตอบคุณสันติว่า ประเทศไทยยังไม่สามารถมีสามัญสำนึกรับผิดชอบต่อประเทศได้ แม้มีการเปลี่ยนแปลงผู้นำก็ตาม วันนี้ ประเทศไทยมีตัวชี้วัดมาก ประเทศอาจจะขับเคลื่อนโดยตัวชี้วัด

                แม้รัฐทำทุกอย่าง แต่สัมฤทธิ์ผลแล้วหรือไม่ เราพยายามไป เห็นช่องทางสำหรับวิ่ง ต้องช่วยกันหลายภาคส่วน เวลาที่ทำก็ถูกจำกัดโดยกฎหมาย คนที่มีความวังดีมักจะถูกตั้งกรรมการสอบสวนว่า ทำผิดขั้นตอน

                ประเทศไทยต้องเคลื่อนไปพร้อมๆกันทุกฝ่าย ในเรื่องทุนมนุษย์และบทบาทภาครัฐพัฒนาเชิงพื้นที่ ถ้าทุนมนุษย์แข็งแกร่งเคลื่อนข้างบนได้ นโยบายจะประสบความสำเร็จก็ต้องมีข้างล่างไปด้วยกัน

                8K’s, 5K’s เป็นศักยภาพที่ควรจะมี

                ถ้าพื้นที่ต้องการพัฒนาเรื่องนี้ สิ่งที่ควรมีคืออะไร เช่น ยโสธรผลิตข้าวหอมมะลิให้เป็นอันดับหนึ่งของโลก ควรนำ 8K’s, 5K’s มาวิเคราะห์ จะรู้ว่ามีอะไร รัฐจะทำอย่างไรให้เกิด เมื่อจบแล้วนำไปใช้อย่างไร ถ้าพัฒนาทุนมนุษย์ก็ต้องตอบโจทย์พื้นที่

ผู้แทนฝ่ายสวนสุนันทา คุณนันทพล

                ที่บริษัทก็ได้ใช้มากแล้ว เรามีที่ปรึกษา มี Social Capital มีผลลัพธ์สร้าง Network ให้เกียรติรับฟังคนเก่ง ทำให้ต้นทุนข้อมูลและการเจรจาต่อรองลดลง

                HRDS ทำให้คนภูมิใจในการทำงาน ทำให้คนเต็มใจทำงาน

                4L’s Learning Environment เป็นช่องทางนำความรู้ไปถ่ายทอดให้คนทำงาน เรื่องที่อ่านเป็นเรื่องที่รู้อยู่แล้ว สิ่งที่เรียนกับอาจารย์เป็นกูรูที่อ้างอิงได้ เคยมีรุ่นน้องสนใจเรียนต่อ จึงใช้ 4L’s กระตุ้นให้ทุกคนอยากได้ความรู้ใหม่ๆ

ผู้แทนฝ่ายสวนสุนันทา ข้าราชการบำนาญ

                ก่อนเรียนปริญญาเอก ก็เป็นคนเรื่องมาก ช่างเลือก ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน อ่านหนังสืออาจารย์จีระ แต่ไม่เห็นด้วยเพราะมีความคิดแบบเดิม คิดว่า ทุนเป็นเงิน ไม่เคยคิดถึงทุนมนุษย์ เคยค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตพบชื่ออาจารย์จีระ เมื่อสงสัยอะไรก็เข้าไปอยู่กับสิ่งนั้น จึงสมัครเรียนกับอาจารย์จีระ ด้วยความที่ไม่เชื่อคนง่าย จากการเรียนวันแรก อาจารย์จีระดุมาก ได้นำหนังสือ 8K’s+5K’s ไปอ่าน เป็นเหมือนวงจรชีวิต ถ้านำมาใช้ ต้องมีทุนมนุษย์ก่อน แล้วทุนอื่นๆจะตามมา

                ปัจจุบันยังมีปัญหาคือขาดทุนมนุษย์ ถ้าทุกคนลองใช้ปัจจัตตัง ทุกอย่างเกิดได้ ต้องมีการปฏิบัติก่อน กว่าจะมาเป็นทฤษฎี ก็ต้องมีการทำซ้ำจนทุกคนยอมรับ ถ้ามีทุนมนุษย์ จะเกิดปัญญา

                จากการที่ได้เรียนวิชาอาจารย์จีระ ก็รู้สึกว่าคุ้มทุน ถ้าไม่รู้ ก็เรียนไม่ได้ และก็ขับรถไปกลับระนองเพื่อมาเรียน

                ในปัจจุบัน จะใช้แค่ 8K’s ไม่ได้แล้ว ต้องใช้ 5K’s ด้วยจึงจะสมบูรณ์แบบ เมื่ออ่านแล้ว ต้องนำไปคิดแล้วทำ

                ตอนที่มาเรียน ไม่เคยมีทุนด้านนี้ เมื่อมาเรียนก็เกิดปัญญา เมื่อมีปัญญา ก็คิดดี ทำดี มีจริยธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความสุขในการอยู่ในสังคม เป็นที่ยอมรับ

                เคยต่อต้านทฤษฎีอาจารย์จีระ เรื่องทุนแห่งความยั่งยืน พระพุทธเจ้าสอนว่า ทุกสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ถ้ามีทุนข้อแรกๆของ 8K’s ก็จะเกิดทุนแห่งความยั่งยืน

                หนังสือ 8K’s+5K’s เป็นสุดยอดการเรียนรู้ เพราะเป็นคุณสมบัติที่พึงปรารถนา ถ้าทำได้ในระดับครอบครัว ประเทศจะเจริญ สอดคล้องกับคำสอนของศาสดาทุกศาสนา

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

                Chira Way เป็นแนวคิดที่อาจารย์จีระเก็บสะสมมาตั้งแต่เด็ก อาจารย์จีระเชื่อในทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์

                Chira Way สอนให้เข้าใจ 3 กรอบ ดังนี้

  • ปลูกคือ การพัฒนาทุนมนุษย์ ต้องพัฒนาคน เมื่อเก่งแล้ว ต้องเติมความรู้ เพราะความรู้เรียนทันกันหมด ต้องมีกระบวนการทำคนให้เป็นทุน เมื่อมีกระบวนการแล้ว ต้องทำให้คนไม่เบื่อ บางคนมีพื้นฐานด้านหนึ่ง ก็ต้องเติมความรู้ด้านอื่นไปด้วย
  • เก็บเกี่ยวคือ การบริหารทุนมนุษย์เพื่อให้เกิดประโยชน์
  • Execution ทำให้สำเร็จ

ทั้งสามข้อ มาถึง Chira Way ก็คือ Learning how to learn เรียนต่อไปเรื่อยๆ แนวคิดต่างๆถูกกระตุ้น

ให้ออกมาจากการแลกเปลี่ยนและความจริง

ผู้แทนฝ่ายมหิดล คนที่ 4 นักวิจัยคณะสังคมศาสตร์ มหิดล

                กูรู 12 ท่านเป็นศาสตร์ที่ประยุกต์จากเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ซึ่งเป็นที่สนใจของนักวิชาการในปัจจุบัน

                คณะสังคมศาสตร์ก่อตั้งขึ้นตามพระราชดำริของรัชกาลที่ 9 ว่า มหาวิทยาลัยแพทย์ต้องมีความรู้ทางสังคมศาสตร์ด้วย ในปัจจุบันนี้ งานวิจัยที่ข้ามศาสตร์และลงไปสู่ประชาชนมีน้อยมาก อยากจะนำแนวคิดไปทำต่อ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                การเสวนาครั้งนี้มีคุณค่ามาก ทั้งมหิดล สวนสุนันทาและอาจารย์จีระก็สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ถ้าเปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก็เป็นประโยชน์ ต้องรู้แก่นให้เข้มแข็งก่อน

                ในเรื่อง 8K’s+5K’s ต้องมีการนำไปปรุงแต่งวิธีการเพื่อให้คนมอง 8K’s+5K’s ให้มีคุณค่ามากกว่าเดิมและจำได้ อาจนำทุนแต่ละข้อมาจับคู่กัน บางทุนอาจมาก่อน ต้องมี 8K’s ก่อน 5K’s แต่ทุนอื่นๆก็สำคัญ

เมื่อมีจริยธรรม ต้องมีศักยภาพการทำงานด้วย ต้องกล้าออกความเห็น แล้วความดีจะไม่หายไป ความดีต้องมีการรวมพลังกัน

                ขอแสดงความยินดีกับทั้งสองฝ่าย เพราะวันนี้ได้รับความรู้มาก

ดร.โชคชัย สุทธาเวศ

                ในนามหลักสูตรปริญญาเอกของมหิดล ขอขอบคุณอาจารย์จีระ ทีมงานและนักศึกษาจากสวนสุนันทาที่มาจุดประกายการเรียนรู้ต่างๆต่อไป ซึ่งในอนาคตอาจจะได้พบกันในเวทีสัมมนาอื่นๆ

                อยากให้สนใจความคิดของนักวิชาการไทยด้วยเพราะสามารถนำมาใช้กับสังคมไทยได้โดยตรง นักศึกษาปริญญาเอกต้องรู้กว้างและลึกด้วย



หมายเลขบันทึก: 634128เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2017 10:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ธันวาคม 2017 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (95)

ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนกับ

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ 

วันที่ 20/8/2017

  1. เน้นการเรียนรู้ แบบ Learning Eco System ซึ่งสำคัญมาก เพราะเข้าใจง่าย ซึ่งเป็นประโยชน์ในการเชื่อมโยง ที่เป็นประโยชน์กับภาพรวมประเทศชาติ
  2. ต้องมองภาพใหญ่ และภาพย่อยให้ตรงประเด็น
  3. เน้นการเรียนรู้แบบ Chira Way
  4. เน้นเรื่องคน, ทุนมนุษย์, เครือข่ายทางสังคม, นวัตกรรม
  5. เน้นวิจารณ์หนังสือ Text Book, E-Book: HBR's 10 Must Reads On Innovation.
  6. เน้นดุษฎีนิพนธ์ ต้องสอดคล้องกับชีวิตและงาน
  7. PHD.15 เน้นเป็น PHD กึ่ง Enterperneurship เน้นไปที่เศรษฐกิจ 
  8. นวัตกรรม เกิดจากแรงบันดาลใจเพียง 1% ที่เหลืออีก 99% ต้องลงมือทำ
  9. จินตนาการ และแรงบันดาลใจ สำคัญมาก
  10. การแนะนำตัว สำคัญมาก ได้ทราบถึงพื้นฐานความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ ประวัติการทำงานของเพื่อนๆนักศึกษาที่เรียนร่วมกัน ได้มีเครือข่ายที่ดีและเหนี่ยวแน่น มีความแตกต่าง หลากหลาย แต่มีเป้าหมายเดียวกันคือ การสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก

นางสาววันดี พลรักษ์ (ตุ๊ก)

นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 15

Email: [email protected]

Tel: 085-062-3345

ขอบคุณที่ทำให้ตุ๊ก รู้จักการเขียน Blog ครั้งแรกค่ะ การไม่รู้ สร้างความรู้ใหม่ๆ จากการเรียนรู้ด้วยตัวเองเสมอ

ขอบคุณที่ทำให้ตุ๊ก รู้จักการเขียน Blog ครั้งแรกค่ะ การไม่รู้ สร้างความรู้ใหม่ๆ จากการเรียนรู้ด้วยตัวเองเสมอ

เรียนท่านอาจารย์

นักศึกษารุ่นนี้น่าสนใจมาก

มีการเริ่มต้นด้วยนวัตกรรมและการแบ่งปัน

ขอบคุณมากครับ

บันทึกครั้งที่ 1 / วันที่ 20-8-2560 
วิชา  :  การจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคม   โดย ศ.ดร จิระ หงส์ลดารมภ์
1. คำสำคัญ  
     a) Learning Eco System   => การรวมเอาเทคโนโลยี หรือทรัพยากรที่มีอยู่รวมเช้าด้วยกัน เพื่อช่วยเหลือกันในการ          เรียนรู้  การเรียนโดยเอาความหลากหลายมารวมกันมาเป็นพลัง)
     b) Complexity to Simplicity   => การทำให้การซับซ้อนกลายเป็นความเรียบง่าย
     c) Ethical Thinking 
2. การเรียนรู้ต้องคำนึงถึง Purpose / Objective / Advantage ต่อประเทศ สังคมของเรา 
3. Concept การเรียนของเราคือ
    a) Innovation    b)  Innovation Management     c) Innovation Organization  
    d)   Human Capital      e) Social Capital   การสร้างเครือข่าย และความสัมพันธ์กับสังคม ไม่เพียงแค่ สังคมภาคธุรกิจ ภาคชุมชน ภาคราชการ ภาควิชาการ และ International
4. อาจารย์แนะนำให้ศึกษา Chira Way / 8K’s  + 5K’s  / ทุนทางจริยธรรม  / ภาวะผู้นำ
5. หลักการวิจารย์หนังสือ   (จะช่วยในเรื่อง Literature Review อาจารย์แนะนำว่า ให้หาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเราจริงๆ ไม่ใช่ Review เยอะแยะยาวไปหมด)
    a) ให้นักศึกษาที่เก่งอังกฤษช่วยแปล สรุปก่อน 
    b) หาแก่นให้เจอ ว่าพูดถึงอะไร  ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม Present 
    c) เปรียบเทียบดู ที่หนังสือพูด เกี่ยวข้องยังไงกับ  Lecture / หลักคิด และให้ทุกคนมีส่วนร่วม ช่วยกันนำเสนอ
6. อ่านหนังสือนี้แล้วหาตัวเราให้เจอ กระทบกับตัวเองเสมอ เราอยู่ตรงไหน มุมมองอย่างไร เสริมประเด็นของเราอย่างไร     องค์กรเราอยู่ตรงไหน มีประโยชน์อย่างไร
7. Imagination  =>  Creativity => Action  => Innovation   
8. Social Innovation  เกิดไอเดียใหม่ๆ แต่ไม่จำเป็นต้องเป็น Engineering หรือ Product เสมอไป 
9. หนังสือที่ต้องอ่าน  1) ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้   2) 8K’s +5K’s  3) พลังแห่งคุณธรรม (เล่มสีดำ  => เล่มสีเขียว)

บันทึกโดย นายธิเบศร์  จันทวงศ์  สาขานวัตกรรมการจัดการ รุ่นที่ 15


สรุปเนื้อหา วิชา การจัดการทุนมนุษย์ ครั้งที่1 ที่ได้เรียนกับท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2560 เวลา 9.00 – 12.00 น.

โดย คุณแจ่มจันทร์ คล้ายวงษ์ นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 15

 

1 ความคาดหวังในวันนี้จากท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ ต้องการให้นักศึกษา ป.เอก ได้เข้าใจการมาเรียนเพื่ออะไร นั่นคือ Purpose Objective Process ตามสไตล์การสอนแบบ Chira's way

2 Concept แนวคิดที่ต้องทำความเข้าใจ ได้แก่

  • Innovative management คือการบริหารจัดการทั้งหมดให้มีพฤติกรรมนำไปสู่การบริหารจัดการซึ่งเชิงนวัตกรรม เช่น ไม่มี IPhone ก็มี Innovative ได้
  • Innovative Organization เป็นการบริหารจัดการให้ไปสู่ Innovation How to use these people ต้องเน้นคน ในความหลากหลาย ต้องมีมุมมองอื่นๆที่มีความหลากหลายเป็นหลักคิดสำคัญ ต้องยอมรับ Reality นี้
  • Social Capital ในมุมมองของท่าน อ.จีระ มองแค่ว่าคน คนนั้นต้องมี Networking แล้วบริหารจัดการ Networking ให้มีประโยชน์จริงจริง ต้องสร้างความสัมพันธ์กับคนใรเครื่อข่าย ในทุกระดับ ทั้งใกล้ชิด ธุรกิจ ชุมชน ราชการ วิชาการ ต่างประเทศ ซึ่ง Social Captital ไม่ใช่อะไรก็ได้ที่เป็นอยู่ในสังคม ตามที่ปราชญ์ต่างๆได้กล่าวไว้
  • 3     การบ้าน อ.มอบให้แบ่งกลุ่ม อ่านหนังสือ 4 เล่ม กลุ่มละ 1 เล่ม  ให้เวลา 3 สัปดาห์ แนวทางการวิจารณ์หนังสือมี 10 ประเด็น ได้แก่
  • คนที่เก่งภาษาอังกฤษ ในแต่ละกลุ่มต้องเป็นคนสรุปให้เพื่อในกลุ่มทราบ 10 – 25 หน้า
  • เมื่อสรุปแล้ว จะนำเสนอเป็นภาษาไทยหรืออังกฤษ ก็ได้ แต่ต้องบอกว่า แก่น คืออะไร ไม่เกิน 3 ประเด็น
  • ระหว่างที่หาแก่น ลองพิจารณาดูว่าเกี่ยวข้องกันอย่างไร แตกต่างกันอย่างไร Innovation,Innovative Management,Human Capital
  • อ่านแล้วแบ่งปันกับเพื่อในกลุ่มให้ดี ทุกคนต้องมีส่วนร่วม เช่น คนนึงนำเสนอ อีกคนกล่าวเสริม
  • ระหว่างที่อ่านและระหว่างที่กำลังเชื่อมโยงกับ Basic ของ อ.จีระ แล้วพิจารณาว่าเกี่ยวอะไรกับวิทยานิพนธ์ ทุกคนในห้องนี้ไม่ได้เป็นอาจารย์ ต้องเอาผล Thesis มาเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ชีวิตคุณดี เขียนเป็นหนังสือได้เลย หลักสูตรที่เรียน ต้องเป็นการลงทุนที่ช่วยให้คุณจบ
  • อ่านแล้วไปกระทบตัวเรา ค้นหาตัวคุณเองใฟ้ดีว่าคุณอยู่ตรงไหน ได้อะรไจากหนังสือเล่มนี้ เราอยู่ตรงไหน แล้วกระทบอะไรต่อองค์กร ต่อธุรกิจของเรา มีมุมมองอะไรบางอย่างขึ้นไปเสริมประเด็นของเรา ไม่ใช่อ่านนิยาย ที่สนุกอย่างเดียว ต้องเป็นบทเรียนของคนอ่านด้วย
  • ค้นหาว่าหนังสือเล่มนี้ มีประโยชน์กับประเทศเราอย่างไร
  • กระทบต่อโลกภายนอก อย่างไร
  • ม้วนกลับมาที่ทุนมนุษย์ และ Innovation ว่าเราจะผลิตทุนมนุษย์เพื่อสร้าง Innovation ให้ไปตอบ Propose ที่เราตั้งไว้ได้อย่างไร
  • คนที่อ่านหนังสือภาษาอังกฤษแตกฉาน ซึ่ง อ.จีระได้คัดเลือกหนังสือมาให้ ที่อยู่ในกระแสที่สอดคล้องกับนวัตกรรม เหมือนกับเรา ได้อ่านแนวคิดของคนหนึ่งที่ผ่านการคัดสรรมาแล้ว เมื่อจบ Phd ไปแล้ว ก็สามารถออกความคิดเห็นที่ดี ต้องทะเยอทะยาน
  • วิชาการจัดการทุนมนุษย์ และทุนสังคม เป็นวิชาแรก ซึ่งกรอบแนวคิดและทฤษฎีต่างๆ มีความสำคัญที่เราสามารถนำไปต่อยอดได้
  • ทุนมนุษย์และทรัพยากรมนุษย์ คืออะไร คือทรัพยากรมนุษย์ที่เราสร้างให้เป็นทรัพย์สินที่มีค่าและสามารถเป็น”ทุน”
  • สำหรับการอ่าน และวิเคราะห์หนังสือ เป็นการฝึกทำ Review Literature ซึ่งนับว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญมาก สำหรับการเรียนรู้ของคนไทยในอนาคต เราโชคดีที่มีกูรูนักอ่าน อย่างท่านอ.จีระ เป็นผู้เลือกหนังสือดีๆมาใหอ่าน ทำให้พวกเราได้ศึกษาว่า ในโลกนี้พูดถึงเรื่องเหล่านี้อย่างไรเวลาเรียนจะง่ายขึ้น
  • สรุปว่าเราได้เรียนอะไรใน 3 ชั่วโมงนี้
  • อ่านหนังสือ 3 เล่ม ที่อ.แนะนำไว้ ขอให้อ่านเล่ม ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ก่อน
  • แบ่ง 4 กลุ่มวิจารณ์หนังสือ ตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย

4 การบรรยายของท่าน อ.จีระ คือการให้ Platform แล้วไปทำกันต่อ กรบแนวคิดทฤษฎีต้องอ่านเยอะ ทุกอย่างคือต้องบริหารทุนนั่นเอง จะไปทำอะไรก็แล้วแต่ เกี่ยวกับคนทั้งหมด

5 ทฤษฎีการเรียนรู้ ของ ท่าน อ.จีระ เป็นทฤษฎีคนไทย ในรูปแบบไทย ทุนมนุษย์ Huamn Captital คนเป็นทรัพย์สินต้องเอาไปต่อยอด เอาไปพัฒนา ไม่ทิ้งไว้เฉยๆ ต้องนำคนกลับมาใใช้เป็นทุน นำมาขัดเกลา บริหารจัดการ เสริมให้เค้าเก่งขึ้น

6 กรอบแนวคิดของท่าน อ.จีระ เช่น ต้องยึด 2 R ได้แก่

6.1Reality อย่าไปคิดเยอะ เราเลือกว่าเราจะทำอะไร ข้อมูลเยอะมากที่จะถาโถมเข้ามา เลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ ความจริงในหัวข้อวิทยานิพนธ์คืออะไรจากหนังสือ

6.2Relevent เราจัดเรียวข้อมูลหัวข้อต่างๆเพื่อไปสู่เป้าหมาย เอาให้ตรงประเด็น แหลมคม เราเรียงหัวข้อนี้แล้วเราจะไปจบตรงไหน

7 ทำไมต้องวิจารณ์หนังสือ

8 ทุนมนุษย์ หลักสำคัญคือต้องเสียก่อน เราหยุดการลงทุนไม่ได้ เมืองไทยเน้นแต่ Education จบ ป.ตรี โท เอก ควรต้องเน้นที่มีความรู้ต่อเนื่อง สังคมการเรียนรู้ แต่ของเราเรียนเพื่อปริยญา

9 Leadership กับการพัฒนาคนต้องไปด้วยกัน พวกเราต้องศรัทธา ต้องหิวความรู้

10 ทุนมนุษย์ เมื่อแปลงมาเป็น นวัตกรรม นั่นคือ Behavior ต้องให้ได้ต้องยิ่งเจ็บปวด ต้องเอาชนะอุปสรรค ให้ได้

pain is gain นวัตกรรมเกิดขึ้นจากการที่เราล้มเหลว คนที่จะขึ้นมาเป็น New Business ต้องมาให้ได้แรงบันดาลใจจากผู้มีประสบการณ์ ให้เห็นกรณีศึกษาเยอะๆ ความสำเร็จได้มาจากจังหวะและโอกาส

11 อ.จีระ แนะนำให้อ่านหนังสือ สามเล่ม ได้แก่

 1 ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

 2 ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน 8K’s + 5K’s

3 The Ethical Power พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม

12 นักศึกษาทุกท่านออกมาแนะนำตนเอง ที่หน้าชั้น เพื่อที่จะได้รู้จักพื้นฐาน ประสบการณ์ ทักษะและได้เครือข่าย

13 อาจารย์ พิชญ์ภูรี (พี่จ้า) ได้กล่าวเสริมเพิ่มเติมว่า

ที่จะทำให้เกิดคุณค่า /มูลค่า และความเป็นเลิศได้ ทฤษฎี 2 R’s ของท่านอ.จีระ ที่ทุท่านกำลังเรียนมีความสำคัญและจะเป็นประโยชน์มาก เพราะเป็นการตกผลึกความคิดจากประสบการณ์และการลงมือทำ

14 การเรียงลำดับแนวทางปฏิบัติ ต้องเรียงดังนี้ คือต้องมี Immagination ก่อนอื่น แล้วต่อด้วย Creativity แล้วต้องมี Action ก็จะเกิด Successful และจะเกิด Innovation ต่อมา ไม่ว่าจะเป็น Service /Product/Social Innovation จัดการกับชุมชน

15 การพยายามทำเรื่องยกให้เป็นเรื่องง่ายๆ เวลาเรียนต้องมองภาพใหญ่ แล้วดึงส่วนใหญ่ของเราเอาไปคล้องเกี่ยวจะได้ตรงประเด็น

16 ขอมอบการบ้านไปให้ทุกคนเร่งดำเนินการ ดังรายละเอียดที่แจ้งให้ทราบแล้ว

ขอบคุณคะ

แจ่มจันทร์ คล้ายวงษ์

นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 15 

  

สรุปเนื้อหาและความรู้ที่ได้จาก การเรียน วิชาการจัดการทุนมนุษย์ ครั้งที่ 1 วันที่ 20 สิงหาคม 2560

สำหรับการเรียนการสอนในครั้งแรกนี้ อาจารย์จีระ ได้สอนและแนะนำวิธีการเรียน ดังนี้

  1. การเรียนรู้ chira way, 2R’s , 8k’s, 5k’s
  2. คำว่า “ ทรัพยากรมนุษย์ “ กับ “ ทุนมนุษย์ “ มีความแตกต่าง โดย “ ทุนมนุษย์ “ เป็นการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่าให้เกิดประโยชน์
  3. Social Capital คนเราต้องมีเครือข่ายทางสังคม และต้องรู้จักใช้เครือข่ายทางสังคมให้เป็นประโยชน์ รู้จักใช้ความสามารถที่แตดต่างกันของแต่ละคนให้เกิดประโยชน์ รู้วิธีการจัดการกับเครือข่ายให้เกิดคุณค่า
  4. การเรียนรู้ แบบ Learning Eco System เป็นการเรียนรู้ที่เข้าใจง่าย เป็นประโยชน์ในการเชื่อมโยง กับภาพรวมประเทศชาติ
  5.  คนเราต้องมี Imagination  =>  Creation => Body of Knowledge  => Action
  6. การมองวิเคราะห์ปัญหา และการเรียนรู้ จะต้อง

                   -  Reality  คือ มองความจริง

                   -  Relevance คือ มองตรงประเด็น

7. เราต้องมีจุดมุ่งหมายในการเรียน และนึกถึงประโยชน์ต่อตัวเองและประเทศชาติ

 8. เรื่องการอ่านหนังสือ

               -  แนะนำหนังสือให้อ่าน

  •           -  แบ่งกลุ่มอ่านหนังสือ , present โดยที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วม
  •           -  ระหว่างการอ่านให้คิดเชื่อมโยงกับ Basic ของอาจารย์จีระ , คิดถึงผลกระทบ และประโยชน์ที่จะได้รับ   

          การเรียนการสอนในครั้งแรกนี้ มีความประทับใจมาก เพราะมีเนื้อหาที่มีประโยชน์ และสามารถนำมาใช้ในงานจริงได้ เพียงแค่อาจารย์ขยายความถึงคำว่า  “ ทรัพยากรมนุษย์ “ กับ “ ทุนมนุษย์ “ มีความแตกต่างกันอย่างไร ก็เริ่มมองเห็นภาพที่กว้างขึ้น และระหว่างการเรียนการสอน ทำให้อดนึกถึงทรัพยากรมนุษย์ที่เรามีและทำงานด้วยไม่ได้ ประกอบกับ อาจารย์ได้กระตุ้นและให้กำลังใจ ทำให้เกิดความ Active ในการเรียน และมีความมั่นใจว่าเนื้อหาวิชาความรู้ที่อาจารย์จะสอน จะเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์สามารถนำไปปรับใช้กับงาน และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในอีกทางหนึ่งด้วย

 

พีรวีร์ เทพประเทืองทิพย์

นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 15

เรื่องที่ประทับใจและความรู้ที่ได้จาการเรียน ครั้งที่ 1 ปฐมนิเทศ – ทฤษฎีการเรียนรู้ – Chira Way

ในวันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม 2560

เรื่องที่ประทับใจ

1. ทีมงานอาจารย์และทีมผู้ช่วยทุกท่าน ที่ดูแล หลักสูตรการจัดการนวัตกรรม การจัดการทุนมนุษย์ และทุนสังคม รุ่น 15 ที่เป็นพี่เลี้ยงให้การดูแลช่วยเหลือ ทำให้รู้สึกประทับใจและอบอุ่นเหมือนได้กลับมาเป็นนักเรียนอีกครั้ง และสามารถปรับตัวได้เร็วกว่าที่คิด

2. ทีมอาจารย์ผู้สอนประจำหลักสูตรทั้ง 3 ท่าน ที่มีความรู้ความสามารถและมีจิตวิทยาในถ่ายทอดและการสร้างแรงบันดาลใจ ให้นักเรียนเห็นภาพและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง

3. การแนะนำตัวของเพื่อนร่วมห้องทุกท่าน ที่หลากหลาย ได้รู้ถึงแนวคิด ประสบการณ์และทักษะของทุกท่าน ซึ่ง       เป็นการสร้างเครือข่ายนำไปต่อยอดต่อไปได้

ความรู้ที่ได้จาการเรียน

หลักการของการวิจารณ์หนังสือ

1. อ่านแล้วต้อง สรุป และวิเคราะห์ว่าแก่นของมันคืออะไร หลักๆไม่ควรเกิน 2-3 ประเด็น

2. อ่านแล้วต้องเชื่อมโยง Basic กับหลักทฤษฎี ว่าได้อะไรที่เกี่ยวข้องกับการทำวิทยานิพนธ์ของเรา

3. อ่านแล้ว ได้อะไรจากสิ่งที่อ่าน กระทบอะไรกับตัวเรา กระทบอะไรกับธุรกิจเรา กระทบอะไรกับองค์กรของเรา กระทบอะไรกับประเทศชาติเรา มองภาพ Macro กับ Micro ต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ความพร้อม การทันเหตุการณ์

ซึ่งจะนำไปสู่การวิจารณ์หนังสือ 3 เล่มที่อาจารย์แนะนำให้อ่านจะทำการบ้านส่ง

1. หนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้”

2. หนังสือ “8K’s+5K’s: ทุนมนุษย์คนไทยรองรับประชาคมอาเซียน”

3.  หนังสือ “พลังแห่งคุณธรรมจริยธรรม” (The Ethical Power)

Chira Way

ทฤษฎี การเรียนรู้ทุนมนุษย์ และทุนสังคม เพื่อสร้างกรอบแนวคิดก่อนนำไปสู่การต่อยอดได้

“ทุนมนุษย์” ต่างกับ “ทรัพยากรมนุษย์”  อย่างไร ?

ทรัพยากรมนุษย์ คือคนที่เราสร้างให้เป็นทรัพย์สินที่มีค่า และสามารถนำไปต่อยอดเป็นทุนมนุษย์

ทุนมนุษย์ต้องศึกษาให้รู้และเข้าใจถึงทฤษฎี 2R คือความจริง(Reality)และตรงประเด็น(Relevant) 


อรุณศรี รัตนธัญญาภรณ์

นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 15


 

ดุจดาว  บุนนาค

สรุปเนื้อหา วิชา การจัดการทุนมนุษย์ ครั้งที่1 วันที่ 20 ส.ค. 2560 (ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์)

1.      ต้องคิดถึง Purpose objective และประโยชน์ต่อประเทศ และการเรียนในทุก ๆ วิชาจะต้องเชื่อมโยงกัน

2.      การเรียนแบบ Learning Eco System เป็นการเรียนที่เข้าใจง่าย เอาทรัพยากรที่มีอยู่รวมกัน มีประโยชน์ในการเชื่อมโยง

3.      Concept ของการเรียนคือ

               -Innovation (เกี่ยวกับคน)

               -Innovative Management

               -ยุคต่อไปคือความหลากหลาย

4.      การเรียนรู้แบบ Chira's Way

5.      Social Capital รู้วิธีการจัดการกับเครือข่าย

6.      Networking Capital สร้างความสัมพันธ์กับเครือข่ายของเรา ทั้ง ภาคธุรกิจ,ภาคชุมชน,ภาคราชการ,ภาควิชาการ,ภาคอินเตอร์

7.      อาทิตย์ที่4จะสอบ Basic เน้น Innovation , Innovative management แล้วมา link กับทรัพยากรมนุษย์

8.      การบ้าน ให้แบ่งกลุ่ม อ่านหนังสือ4เล่ม คะแนน 30###/span#< ระหว่างที่อ่านและเชื่อมโยงกับ Basic กับ "จีระ"

               -เมื่อได้อ่านแล้วเกี่ยวข้องอะไรกับวิทยานิพนธ์

               -เมื่ออ่านแล้วกระทบอะไรกับตัวเรา ค้นหาตัวเองให้ดีว่าได้อะไรจากการเรียนหนังสือเล่มนี้ มีมุมมองอะไรไปเสริมประเด็นของเรา

               -ค้นหาว่าหนังสือเล่มนี้มีประโยชน์ต่อประเทศเรายังไง

9.      หนังสือที่ต้องอ่าน

               -ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

               -8K's + 5K's

               -พลังแห่งแห่งคุณธรรม

               -On Innovation

10.   วิจารณ์หนังสือ นวัตกรรม

              -คิดใหม่ ทำใหม่ และ

              -มีอยู่แล้วเอามาปรับใหม่ ให้ใช้งานได้ เช่น กังหันชัยพัฒนา โดยที่นวัตกรรมจะต้องสร้างคุณค่าในเชิงธุรกิจ และสังคม

11.   ต้องทำดุษฎินิพนธ์ ทำจากตัวเราเอง เรื่องเกี่ยวกับรอบๆตัวเรา ภาวะผู้นำ กึ่งๆผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Entrepreneurship) กล้าเสี่ยง  Innovation ต้องบวก Entrepreneurship ถึงจะสำเร็จ

 

ความประทับใจในการเรียนครั้งแรก รู้สึกปรับตัวง่าย ได้รู้จักเพื่อนๆและอาจารย์ทุกๆท่าน จากการแนะนำตัว ทำให้เราได้รู้ประสบการณ์ของแต่ละท่าน และเอาความแตกต่างหลากหลายมาเป็นพลังในการเรียน และท่านอาจารย์จะเน้นย้ำเสมอว่าเราจะต้องจบไปพร้อมๆกัน ทำงานกันเป็นทีม เริ่มต้นด้วยนวัตกรรมและการแบ่งปัน ทุกคนต้องมีส่วนร่วม

 

ดุจดาว บุนนาค 

นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 15 (สาขานวัตกรรมการจัดการ)

การเรียนครั้งที่1

วิชา PHD8205 การจัดการทันมนุษย์และทุนสังคม

ผู้สอน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

 

สิ่งที่ได้จากการเรียนในคลาส

  1. การทำความเข้าใจในเรื่องนวัตกรรม นวัตกรรมที่ดีควรจะสร้างคุณค่าทั้งในเชิงธุรกิจและในเชิงสังคม
  2. Innovation -> ต้องเข้าใจความหมายของคำว่านวัตกรรม
  3. Innovative Management -> ต้องมีการกระทำให้เกิดการจัดการนวัตกรรม
  4. ทุนมนุษย์ -> know how to use the people
  5. ทฤษฎี 2R -> Reality  เป็นจริง

                   -> Relevence ตรงประเด็น

         6. การวิจารณ์หนังสือ  -> การที่เราได้อ่านหนังสือ เหมือนได้อ่านแนวคิดของคนที่ถูกคัดสรรค์มาแล้ว

         7. อาจารย์ให้อ่านและวิเคราะห์หนังสือ HBR's 10 Must Reads on Innovation, ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้, “8K’s+5K’s: ทุนมนุษย์คนไทยรองรับประชาคมอาเซียน และ พลังแห่งคุณธรรมจริยธรรม

         8. ในการที่ได้อยู่ในคลาสได้ฟังสิ่งที่อาจารย์สอน และได้ฟังที่พี่ๆแนะนำตัวทำให้ได้รู้จักและได้แนวคิดใหม่ๆที่สามารถนำไปปรับใช้ ในการทำงานและในชีวิตจริงได้ การที่ได้มาร่วมเรียนกับคนที่มาจากหลายอาชีพ ทำให้ได้เห็นมุมมองและสิ่งดีๆ จากรุ่น 15ทุกคนครับ                

นิพันธ์ หรรษสุข นักศึกษาปริญญาเอกรุ่นที่ 15

PHD 205 Session 1

1. การมีอาจารย์ 2 คนๆหนึ่งช่วยสรุป ผมว่าดีมากครับ ได้ความรู้ดีมาก ยังมีทีมงานช่วยหลังห้องอีก ระบบค่อนข้างดี ไม่มีตกหล่น

2.การแนะนำตัวทำให้รู้ว่าแต่ละคนถนัดอะไร มีประสบการณ์อะไร เมื่อถึงเวลาเรียน นอกจากได้ความรู้จากอาจารย์  ยังได้จากทุกคน เป็นการเรียนแบบ knowledge sharing ทุกคนได้ประโยชน์ เพราะมีความหลากหลายใน ecosystem members

3. การอ่านหนังสือ เป็นหัวใจหลักในการพัฒนาตนเอง ได้บทเรียนอะไร ต้องเชื่อมโยงเข้าหาตนเอง มีผลกระทบอะไรกับตัวเรา ต้องรู้จักวิจารณ์

4. การเรียนต้องรู้จักเชื่อมโยงเนื้อหาทุกวิชาที่เรียน และ เข้าใจเป้าหมายและ วัตถุประสงค์ สามารถ เชื่อมโยงกับสภาพความจริง และ สังคม

5. Innovation ต้องมีเป้าหมาย และ มีวิธีการ process โดยเริ่มจาก Imagination-->Creativity-->Action-->Innovation (successful action) ซึ่งเป็น Innovation เป็น activity ส่วนหนึ่งของ Entrepreneauship

มีการพูดถึง Innovation Management และ Innovative Organization

 6.Chira's Way, 8K's + 5K's

 7.Human Resource ต้องลงทุนกับคนก่อน จึงสามารถยกระดับเป็น Human Capital 

 การสร้างเครือข่าย และความสัมพันธ์ ทุกระดับเรียกว่า Social Capital เป็นทฤษฏีการเรียนรู้ที่สำคัญ ( อ่านในหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ เห็นความสำเร็จของอาจารย์จีระ ในการใช้ พลังเครือข่าย Social Capital  ทำให้ได้รับการสนับสนุนมากมาย ทำให้ทำงานสำเร็จมาก เป็นบทพิสูจน์

 Ethical Capital ( ตรงกับ Ethical Thinking ในหนังสือ การพัฒนาความคิดเชิงกลยุทธ ของอาจารย์สมชายที่ให้อ่านมีการพูดเรื่องนี้มาก เนื่องจากประเทศเรามีเรื่องทุจริตมาก เก่งแต่โกง อาจารย์พารณคงไม่ชอบแน่ๆ )

8. การเรียนรู้ยังต้องยึดถือหลัก 2R's  Reality คือจะทำเรื่องอะไร ความจริงมีอะไร ต้องเลือกสิ่งที่ตรงประเด็น ไม่ออกนอกทาง Relevance

สันติ เอี่ยมวุฒิปรีชา รุ่น 15


ผมนันทพลจรรโลงศิริชัยครับ

ความรู้และความประทับใจที่ได้จากการเรียนกับ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

1. ประโยคที่ทำให้ผมประทับใจมากคือการมาเรียน ระดับปริญญาเอกนั้น และ Thesis ที่จะทำนั้นต้องเป็นการลงทุนที่ยิ่งใหญ่ สำหรับเรา หนังสือหรือบทความที่อ่านนั้นอ่านแล้วกระทบอะไรกับตัวเราเอง นั่นคืออาจาร์ย พยายามจะสอนให้พวกเรารับรู้ว่า การมีความรู้นั้นสำคัญต้องนำไปประยุกต์ใช้ได้ด้วย ถึงจะเป็นที่ยอมรับ ไม่ใช่เรียนไปเพื่อ เอาใบประกาศ 

2. อาจาร์ย เน้นย้ำเรื่องการมีภาษาอังกฤษที่ดี ผมเห็นด้วยมากครับ หลายคนมีความคิดดีๆ แต่ไม่สามารถที่จะแสดงออกมาได้เพียงเพราะผู้ฟัง ไม่เข้าใจภาษาไทย ทำให้ความคิดที่เราเรียนและปฏิบัติได้จริงนั้น ไม่สามารถถูกยอมรับในระดับสากลได้

3. ความรู้ที่เราได้มานั้นต้องแบ่งปันกับเพื่อนๆ และไม่มี Free rider เป็นการสอนให้เรา ทำอะไรด้วยความสามารถของตนเอง และทำให้เป็นการเป็นที่ยอมรับผ่านการแบ่งปัน และห้ามเอาเปรียบกันโดยการทำงานเป็นทีม

ส่วนด้านความรู้นั้น 

การจัดการนวัตกรรม เราต้องมี 

innovation 

innovation management

innovation organization

การจัดการ Human resource ให้เป็น Human capital

การมี Social capital  (ชอบอันนี้ครับ)คือต้องมี network --> มีการจัดการเครือข่าย --> และนำไปเปลี่ยนให้เป็นประโยชน์ 

ด้านทุนมนุษย์ มี 2 ทฤษฎี คือ 1.reality ต้องรู้ว่าคนของเรานั้นเป็นยังไง 2. relevance แล้วจะทำให้ตรงกับสิ่งที่เราต้องการได้อย่างไร (ต้องรู้ว่ามาตรฐาานโลกคืออะไร)

นวัตกรรมมีสองแบบ 

1. คิดใหม่ทำใหม่เองเลย

2. นำของเดิมมาปรับใช้ให้ดีขึ้น 

แต่ทั้งสองต้องสร้าคุณค่าในเชิงธุรกิจและสังคม 

ใช้กระบวนการ  imagination --> creativity --> turn into action

เกิน 1 หน้าครึ่ง A4 ไปนิดนึงกราบขออภัยอาจาร์ยด้วยนะครับ

นันทพล จรรโลงศิริชัย  






สรุปบทเรียนครั้งที่ 1 การจัดการทุนมนุษย์ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมถ์ 20/8/2560 9.00-12.00 น. 

โดย รุ่งนภา ภัทรธีรานนท์ นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 15 สาขานวัตกรรม

Learning Ecosystem การสร้างระบบนิเวศน์ในการเรียนรู้เราต้องคำนึงถึง วัตถุประสงค์และประโยชน์ไม่ใช่แค่กับตัวเรา บริษัทหรือองค์กร แต่ต้องเชื่อมโยงกับสังคมและประเทศชาติ นวัตกรรมใหม่ๆไม่ได้เกิดจากการคิดของเจ้าของไอเดียที่คิดเองลำพัง แต่มักเกิดจากการแลกเปลี่ยนไอเดียชองหลายๆคนที่ช่วยกันคิดช่วยกันต่อยอด ทำให้ไอเดียเล็กๆสามารถพัฒนาเป็นไอเดียใหญ่ๆออกมาเป็นรูปเป็นร่างได้รวดเร็วขี้น ดังนั้นการที่คนจากหลายๆฝ่ายได้มาทำงานร่วมกันหรือมี collaborative discussion จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการทำนวัตกรรมอย่างยิ่ง

Networking การสร้างเครือข่ายเป็นสิ่งสำคัญ เราต้องเชื่อมโยงทุกภาคส่วน ตั้งแต่ภาคชุมชน ธุรกิจ สังคม ราชการ รวมถึงต่างประเทศ

Concepts สิ่งที่เราต้องเรียนรู้คือ 1. นวัตกรรม 2. นวัตกรรทการจัดการ 3. องค์กรแห่งนวัตกรรม 4. ทุนมนุษย์ 5. ทุนสังคม เราต้องมองเห็นภาพใหญ่และภาพย่อยที่ตรงประเด็น

Literature Review อ่านและวิจารณ์หนังสือเพื่อค้นหาตัวเองและนำไปตอบโจทย์ประทศ ดุษฎีนิพนธ์ควรสอดล้องกับชีวิตและงาน แรงบันดาลใจในการเรียนรู้สำคัญมาก

หนังสือที่ต้องอ่าน

  1. ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้
  2. 8K's+5K's
  3. พลังแห่งคุณธรรม

บันทึกโดย รุ่งนภา ภัทรธีรานนท์ สาขานวัตกรรม

Book Review ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ ศ. ดร. จิระ หงส์ลดารมภ์ และคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา

โดย รุ่งนภา ภัทรธีรานนท์ นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 15 คณะนวัตกรรมการจัดการ

ทฤษฎี 4 L’s ที่แตกต่างกันบนเป้าหมายเดียวกัน
4 L’s พารณ Village that Learn : หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้
                    School that Learn : โรงเรียนแห่งการเรียนรู้
                    Industry that Learn : อุตสาหกรรมแห่งการเรียนรู้
                    Nation that Learn :  ชาติแห่งการเรียนรู้
4 L’s จีระ Learning Methodology :  เข้าใจวิธีการเรียนรู้
               Learning Environment : สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้
               Learning Opportunity : สร้างโอกาสในการเรียนรู้
               Learning  Community : สร้างชุมชนการเรียนรู้
            “คนที่มีความสุขคือคนที่อดทนคนอื่นได้เก่ง” งานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็น value added คุณพารณฯ เวลาจะทำอะไร ท่านต้องมี “ความเชื่อ” ก่อนท่านเชื่อว่าสิ่งนี้ดี ท่านจึงทำ
            คนที่สามารถพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จจะต้องทั้งเก่งทั้งดี ไมใช่เก่งอย่างเดียว อาจพาเข้ารกเข้าพงหรือว่าโกงบริษัทเพราะใช้ความเก่งในทางที่ไม่ถูกหรือดีอย่างเดียวซึ่งก็จะไม่ทันคนอื่นเขา เรื่องแรก คือเรื่องของ “คนเก่ง-คนดี”
          เก่ง  4 ได้แก่ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด และเก่งเรียน
          ดี 4 ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม
            การประเมิน โดยจะเรียกว่าเป็น Capability สำหรับ “คนเก่ง” และ acceptability สำหรับ “คนดี” capability นั้นองค์กรจะช่วยได้ถ้าให้คุณไปฝึกอบรม หรือว่าถ้าจะเลื่อนตำแหน่งคุณ เราก็หาลูกน้องเก่ง ๆ ไปให้คุณก็ได้ แต่ acceptability เป็นสิ่งที่คุณจะต้องสร้างสมขึ้นมาเอง
            ท่านเชื่อว่าคนทุกคนเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากกว่าทรัพย์สินอื่นใดในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเงิน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร ไม่ว่าจะอะไรก็ตาม คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุด
            พนักงานก็จะคอยควบคุมกันเอง การควบคุมทางสังคม (Social Force) เวลาที่ใครทำอะไรนอกลู่นอกทางไป ไม่ถึงขนาดต้องต่อว่ากัน จะเอาสิ่งที่คุณพารณฯ พูดไว้มาเตือนใจ ว่าทำอย่างนี้มันดีแล้วหรือ ทำอย่างนี้มันเก่งแล้วหรือ คนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินทองอย่างเดียว แต่ยังต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย ท่านก็เป็นคนที่มีความอดทนสูงมาก คือท่านยอมรับ ความแตกต่างได้เยอะ ท่านบอกคนแต่ละคนต้องแตกต่างกัน การทำงานอย่างมีระบบมีระเบียบวินัยและการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตแล้วค่อยประยุกต์ให้เข้ากับวัฒนธรรมของเครือฯ “พันธุ์แท้” ต้องทำ 3 เรื่อง หนึ่ง – ต้องทำให้สำเร็จ สอง – ต้องมีบารมีและสาม – ต้องยั่งยืน
             Social Capital ซึ่งแปลว่าทุนทางสังคมคือทุนที่มนุษย์มีความสัมพันธ์กัน ของแท้จะต้องอยู่คงทนมี imaginative หรือความคิดริเริ่มใหม่ ๆ อยู่เรื่อย และมีลักษณะของคนหลายแนวความคิด หรือถ้าเป็นสินค้าจะมีนวัตกรรมหรือ innovation อยู่ตลอดเวลา เลยเป็นพันธุ์แท้ที่อยู่ได้อย่างสมบูรณ์
             Global Benchmark และ Think Global Act Local  คือ ดร.จีระ เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้าง มีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลเก่ง ๆ ในต่างประเทศ จึงทำให้สามารถขอความร่วมมือจากต่างประเทศให้เข้ามาช่วยในโครงการ หลายโครงการที่เป็นประโยชน์กับประเทศไทย สถาบันราชภัฏเป็นสถานศึกษาของคนหมู่มาก ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมไทย ถ้าสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสังคมได้แล้ว คนพวกนี้จะเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยพัฒนาประเทศได้อย่างมากทีเดียว จากการ ศึกษาวิจัยที่ลึกซึ้ง จึงทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและสามารถเข้าถึงปัญหาได้ทั้งในแนวลึกและแนวกว้าง มีความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ อาจารย์จีระใช้วิธีการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม (Participative Management) ทำให้ได้รับความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ ได้รับการสนับสนุนจากทีมงานอย่างเต็มที่ ทุกคนในทีมงานยอมทุ่มเทพลังกาย พลังใจ พลังสมอง ให้แก่งานอย่างเต็มที่เพื่อให้งานประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด แท้จริงแล้ว ปรัชญาของHR นั้นจะมุ่งเน้นมายังการเรียนรู้หรือ Learning ปลายทางของคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ในระดับจุลภาค ย่อมส่งผลต่อความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน (Competitive Advantage)  ของประเทศซึ่งเป็นระดับมหภาค ทฤษฎี Factor Proportions กล่าวคือ ประเทศใดก็ตามถ้ามีทรัพยากรธรรมชาติมาก ประเทศเหล่านั้นในอดีตจะประมาท เพราะสามารถมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยไม่ต้องเน้น productivity ของคน โดยการมุ่งเป้าใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อสร้างอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยไม่ได้หันมาดูด้านทรัพยากรมนุษย์เลย หนังสือของ Lasten Thorow จาก MIT อยู่เสมอว่าทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดปัจจุบันไม่ใช่ Communities หรือสินค้า แต่เป็นความรู้
                “คนจะเป็น assets ที่สำคัญขององค์กร จะเป็นจุดสร้าง Competitive advantages ให้องค์กร หากองค์กรใดหรือระบบบริหารใดสามารถให้มนุษย์ไดเป็นทั้ง assets และ resource ได้ ก็จะได้รับชัยชนะ” 
                 การปรับตัวขององค์กรธุรกิจให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งต่อการอยู่รอดขององค์กรในปัจจุบัน ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้มีองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่หลายองค์กรก็มรการจัดตั้ง Ecosystem ที่เป็นหน่วยงานเฉพาะกิจเพื่อการลงทุนด้านนวัตกรรมและ Startup ขี้นเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน โดยแต่ละหน่วยงานอาจมีภารกิจและเป้าหมายที่แตกต่างกันไปบ้าง แต่ลักษณะการส่งเสริมด้านนวัตกรรมในองค์กรก็เป็นไปในแนวทางคล้ายๆกัน

ความประทับใจและความรู้ที่ได้รับจากการเรียน

อาจารย์ผู้สอน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  


ประทับในอาจารย์ทุกท่านที่ใส่ใจนักศึกษาทุกคน กระผมรู้สึกอบอุ่นมากๆ ได้เจอพี่ๆ ทุกคนครับ

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในคลาส

1.เน้นความสำคัญเรื่อง 

 -Human Capital  ทุนมนุษย์

-Social Innovation เครือข่ายทางสังคม

-Innovation นวัตกรรม

-Innovation Management นวัตกรรมการจัดการ

-Innovation Organization องค์กรแห่งนวัตกรรม

2.ทฤษฎี 2 R's  - ความจริง (Reality)  - ตรงประเด็น (Relevance)

    เพื่อการมอง วิเคราะห์ปัญหา และการเรียนรู้แล้วทำมาแก้ไขปัญหา  

3.การทำดุษฎีนิพนธ์ให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันและนำมาปรับใช้ในการงานที่ตัวเองถนัด

4.การวิจารณ์หนังสือต้องสรุปใจความสำคัญว่ามีผลกระทบกับตัวเอง,สังคม,ธุรกิจ,ประเทศชาติอย่างไร

5.เน้นทฤษฎี 8 K's + 5 K's

6.ให้ความสำคัญ ภาวะผู้นำ เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จในชีวิต

7.เรื่องทุนทางจริยธรรม

8.เน้นการเรียนรู้ แบบ Chira Way 

 

ว่าที่ ร.ต.กฤษกร สุขสมโสตร์ (กู๋)

นักศึกษาปริญญาเอก สาขา นวัตกรรมการจัดการ รุ่นที่ 15

 

บันทึกการเรียนรู้ 
รายวิชา : PHD 8205 Management of Human and Social Capital
ผู้สอน : Prof. Chira Hongladarom, Ph.D
วันที่ 20 สิงหาคม 2560

สรุปบทเรียนวันแรกของการเรียนปริญญาเอก “นวัตกรรมการจัดการ” ความรู้ที่ได้กับความประทับใจ
1. การเรียนต้องมี Propose , Objective และได้สร้างประโยชน์ให้กับตัวเองและสังคม
2. Concept หลักสูตร มี คำ 3 คำที่ต้องเน้น ประกอบด้วย
     2.1 Innovation มี 2 ประเภทหลัก คือ คิดใหม่ ทำใหม่ และ ของเดิมที่มีอยู่แล้ว ปรับให้ดีขึ้น และนวัตกรรมนั้น จะ               ต้องช่วยสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อมกัน
     2.2 Human Capital หลักการที่สำคัญ คือ ให้ปรับเปลี่ยนมุมมอง “คน” จากแต่เดิมที่มองคนเป็นแรงงาน เปลี่ยน               เป็น “คน” คือ ทรัพยากรที่สำคัญและมีคุณค่าซึ่งจะทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย ที่เราต้องลงทุน
     2.3 Social Capital คือ Networking จะต้องทำอย่างไรที่จะทำให้เกิดเครือข่าย และใช้เครือข่ายนั้นให้เป็น                       ประโยชน์
    ทั้งนี้เราอาจจะกล่าวได้ว่าการจะทำให้เกิดนวัตกรรม (Innovation) จะต้องใช้การจัดการ (Management) ซึ่งการบริหารจัดการที่จะนำไปสู่ “นวัตกรรม” นั้นจะต้องอาศัย “Human Capital” และ “Social Capital” รวมกัน
3. Concept 2 R's ให้มองตามความจริง (Reality) และตรงประเด็น (Relevance)
4. ให้อ่านหนังสือ 3 เล่ม เพื่อได้เข้าใจมากขึ้น หนังสือที่ท่านอาจารย์แนะนำ คือ
    1. หนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้”
    2. หนังสือ “8K’s+5K’s: ทุนมนุษย์คนไทยรองรับประชาคมอาเซียน”
    3. หนังสือ “พลังแห่งคุณธรรมจริยธรรม” (The Ethical Power)
  

       ในส่วนของความประทับใจ ได้เกิดการเรียนรู้ผ่านนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ คือ เริ่มแรกท่านอาจารย์ได้ให้แนะนำตัว ซึ่งข้อดีของการแนะนำตัว คือ จะเป็นตัวช่วยสร้างบรรยายที่ดีในการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จากคนที่มี พื้นฐาน ประสบการณ์ ทักษะ ที่หลายหลายและแตกต่างกัน ต้องมาอยู่และเรียนรู้ร่วมกัน หลังจากนั้นได้ใช้กระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม เรียนรู้กรณีศึกษา หรือบทความต่างๆ เพื่อใช้ประกอบการเรียน กระบวนการเหล่านี้ จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน มีการเรียนรู้และการแบ่งปันความรู้ จากงานที่แบ่งกันทำ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันขณะทำงานกลุ่ม ซึ่งวิธีการนี้ ชี้ให้เห็นว่า ได้มีการนำแนวคิดของทุนมนุษย์และทุนสังคม มาจัดการจนเป็นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ โดยอาศัยความแตกต่างที่หลากหลาย ใครที่มีความสามารถทางด้านภาษาให้เป็นหลักในกลุ่ม แล้วกระจายให้ครบทุกกลุ่ม เพื่อช่วยเพื่อนในการแปลบทความภาษาอังกฤษ นับได้ว่าเป็นกลยุทธ์ที่หลักแหลมและแหลมคมอย่างยิ่ง ที่มองตามความเป็นจริง(Reality) และตรงประเด็น (Relevance) ซึ่งท่านอาจารย์ได้ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง


วรสิทธิ์ วงศ์อดิศัย (โอ๋)
นักศึกษาปริญญาเอกรุ่นที่ 15
E-mail : [email protected]
Tel : 086-8864594

บันทึกการเรียนรู้ 
รายวิชา : PHD 8205 Management of Human and Social Capital
ผู้สอน : Prof. Chira Hongladarom, Ph.D
วันที่ 20 สิงหาคม 256

ความประทับใจ ที่ได้เรียนวิชา "

การจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคม จาก ท่าน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ดังนี้]

 ๑ ทำให้เป็นรุปแบบการเรียนรู้ ในบรรยากาศ Active Learning โดยแบบ Learning Eco System

๒ ท่านได้ สอนแนวทาง chira way การได้ร่วมเรียนรู้ร่วมกันและ แบ่งปัน และดูแลกัน และกัน ๓ ข้อคิดที่ได้ นำความรู้ไป ใช้ในชีวิต องค์กร และประเทศชาติ

๔ ได้เรียนรู้ แนวคิด ด้านทุนมนุษย์ กับนวัตกรรม วัตถุประสงค์เป้าหมาย ของการเข้าเรียน ๕ การได้ เห็นประสบการณ์ ของเพื่อนร่วมชั้นแรก ในทุกด้านของอาชีพต่าง ๆ

๖ บรรยากาศการเรียนรู้ที่ กระตือรือร้น ทุกคนได้ แสดงความคิดเห็น ต่างๆ ๗ ได้เรียนรู้ถึง ทฤษฏี ต่างๆ ของท่าน อาจารย์จิระ ที่ เป็นประโยชน์ มีหลักการ และ จดจำได้ง่าย

๘ การได้รับคำแนะนำหนังสือ ที่ควรศึกษา หลายเล่ม ที่ เป็นประโยชน์ รวมถึง หนังสือ ของ    HBR ซึ่ง ทำให้ เราได้ ศึกษาตรงประเด็น จากหนังสือของท่านอาจารย์โดยตรง และหนังสืออื่น ๆ

๙ แนวทางการเรียนรู้ที่ทำให้ เพื่อนๆ ทุกท่าน ได้ มีส่วน ช่วยกัน ศึกษา จากท่านอาจารย์และตำรา      รวมถึง แนวทางการวิจารณ์หนังสือ ที่เป็นประเด็นสำคัญๆ

๑๐ นำ แนวความรู้ไป สู่งานวิจัย และ เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ องค์กร และ ส่วนบุคคล      เป็นบรรยากาศการเรียน ที่ ทำให้พวกเราได้ ตื่นรู้ น่าศึกษา รับรู้ถึงความสำคัญของการจัดการด้านทุนมนษุย์และทุนสังคม

     ซี่งทำให้เรานำไปใช้ได้จริง รวมถึง ระบบการสื่อสาร กับท่าน อาจารย์ด้วย เครื่องมือ Go to Know  นั้นทำให้พวกเราได้มีโอกาสได้      ศึกษาอย่าง ต่อเนื่อง ....สุดยอดจริงๆ ครับ

โดย นายสินสวัสดิ์ รุ่งเรืองธนาพร
นศ. ป.เอก รุ่น ๑๕
Email: [email protected]
Tel 0859199696

 

 

นางสาววันดี พลรักษ์

บทวิเคราะห์ 

ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

HR.Champions เป็นการรวบรวมความรู้และประสบการณ์ของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ 2 คน คือ พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งหนังสือเล่มนี้ผ่านการเรียบเรียงและจัดทำเป็นหนังสือโดย ปวันท์วีย์ 

1)ชื่อเรื่องของหนังสือที่อ่าน มีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร>>>>>>>

ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ในมุมมองของศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ มี 2 ระบบ คือ "พันธุ์แท้ที่พัฒนา" กับ "พันธุ์แท้ที่ไม่พัฒนา" ซึ่งท่านมองว่า ของแท้จะต้องอยู่คงทน มีความคิดใหม่ๆ อยู่เรื่อย (Imaginative) และมีลักษณะของคนหลายความคิด ถ้าเปรียบกับสินค้า ก็จะเป็นสินค้าที่มีนวัตกรรม (Innovation) อยู่ตลอดเวลา จึงเป็นพันธุ์แท้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้น คำว่า "พันธ์ุแท้" ในมุมมองของเขาจึงหมายถึงการไม่หยุดที่จะพัฒนานั่นเอง ที่สำคัญ ทรัพยากรมนุษย์ คือ มูลค่าเพิ่มในระยะยาว ไม่ใช่ต้นทุนเพียงอย่างเดียว เพราะสังคมจะอยู่ได้ต้องลงทุนในคน

สังคมไม่ได้ต้องการเพียงแค่ผู้ใหญ่ที่เก่งและดีเท่านั้น แค่ยังต้องการผู้ใหญ่ที่อบอุ่นด้วย หากสังคมมีผู้ใหญ่ที่ให้กำลังใจเด็ก เด็กจะโตเร็ว คนไม่ได้ต้องการค่าตอบแทนที่เป็นเงินทองเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย

2)บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ ที่ประทับใจ มีอะไรบ้าง>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

ความรู้ที่ได้รับและนำไปประยุกต์ใช้ได้

เก่ง 4 ได้แก่ 

เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งเรียน

ดี 4 ได้แก่

ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม

8K's ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนแห่งความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทาง IT (ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี) ทุนทางความรู้ ทักษะ และจิตใจ 

5K's ได้แก่ ความรู้ ความสร้างสรรค์ นวัตกรรม วัฒนธรรม อารมณ์

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเยาวชนไทยให้มีคุณสมบัติ 3 ประการ ได้แก่

  1. ความคล่องแคล่วในการใช้ภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  2. เทคโนโลยี
  3. คุณธรรม

เพื่อสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและก้าวไปสู่การเป็นพลเมืองโลก

ประทับที่สุดคือ ปรัชญาที่ว่าด้วยการศึกษา คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ไม่จำกัดแต่เฉพาะที่โรงเรียน

เราจะได้เห็นว่าการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้น เป็นสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของนักบริหารแต่ละคน แม้ว่าจะใช้วิธีเดียวกัน ทฤษฎีเดียวกัน มีอาจารย์คนเดียวกัน แต่ผลที่ได้กลับออกมาต่างกัน

ดังนั้น นักบริหารจึงต้องใช้การประยุกต์ทั้งศาสตร์และศิลป์เข้าด้วยกันหรือที่นักวิชาการยุคปัจจุบัน นิยมใช้ คำว่า

"บูรณาการ" นั่นเอง

นางสาววันดี พลรักษ์ (ตุ๊ก)

นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 15

Email: [email protected]

Tel.085-062-3345

สรุปเนื้อหาและความรู้ที่ได้จาก การเรียน วิชาการจัดการทุนมนุษย์ ครั้งที่ 1 วันที่ 20 สิงหาคม 2560

ความประทับใจ

1.ความอบอุ่นจากการต้อนรับ   การดูแลเอาใจใส่  การให้คำแนะนำจากทีมงานมหาวิทยาลัย

ราชภัฏสวนสุนันทา โดย ดร.ธนพล  ก่อฐานะ และทีมงานทุกคน  ทำให้รู้สึกมั่นใจ ประใจมาก

2.ความตั้งใจ การทุ่มเทของอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีมงาน  ที่ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ แนวคิดต่างๆ  ทั้งสอน  ทั้งอธิบายเสริม และเติมเต็มเพื่อให้นักศึกษาได้รับความกระจ่าง

3.เพื่อนร่วมชั้นที่ มีความหลากหลายทางอาชีพ ประสบการณ์   มีมิตรไมตรี มีน้ำใจ ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 

               ทำให้รู้สึกมั่นใจว่าการเรียนหลักสูตรนี้  ทุกคนจะประสบความสำเร็จ จบการศึกษาได้ตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้

 

ความรู้ที่ได้จาการเรียน

การเรียนรู้ตามแนวทาง Chira's way

1.        ทฤษฎี 2 R

                   -  Reality  คือ มองความจริง  การเรียนรู้เผื่อให้ค้นพบความจริงของสิ่งๆนั้น

                   -  Relevance คือ มองตรงประเด็น   แหลมคม  กระชับ ตรงจุดเพื่อให้เข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้งานได้ถูกต้อง  เกิดประโยชน์สูงสุด

2.        การเรียนรู้ แบบ Learning Eco System   การเรียนรู้ทุกนาที  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกัน

3.        การพัฒนาตัวเองเพื่อความเป็นเลิศ ไม่หยุดการเรียนรู้ เรียนรู้ตลอดเวลา  สร้างความสำเร็จให้เกิดขึ้นทุกวัน

4.        Human  capital  ทุนมนุษย์     มนุษย์ทีมีคุณภาพจะต้องมีทุนทางสังคม  (Social Capital )และสามารถพัฒนาไปสู่การสร้างเครือข่าย  ( Network capital )   เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างความได้เปรียบ

5.        ทุนมนุษย์ (Human  capital )  มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร   การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพสูงมากเท่าไหร่  องค์กรยิ่งมีความได้เปรียบในการแข่งขันมากเท่านั้น  ทั้งในด้านคุณภาพสินค้า  (Qality  )    การลดต้นทุน (Cost  ) ลดเวลา  ( Time  )เพื่อนำไปสู่เป้าหมายของธุรกิจคือกำไร (Profit )

      6.ทรัพยากรมนุษย์ (Human resource)  มีปัจจัยที่ซับซ้อนในการพัฒนา  หลายๆองค์กรล้มเหลวในการพัฒนาเนื่องมาจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต้องใช้องค์ความรู้    ความจริงใจจากฝ่ายบริหาร การใช้ทุนในการพัฒนา  ใช้เวลาอย่างต่อเนื่องและเมื่อพัฒนาแล้วก็ไม่สามารถรักษาทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพเอาไว้ได้

 

ขอบคุณครับ

ณภพ  ชัยศุภณัฐ

นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 15

[email protected]

086-4702348

วิเคราะห์หนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้”

หนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” เป็นหนังสือที่เขียนถึงประสบการณ์และแนวคิดของ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ โดยในหนังสือได้แบ่งเป็น 4 ส่วน

  • เรื่องของสองแชมป์

พูดถึงประวัติ ประสบการณ์และแนวความคิดของทั้งสองท่านโดยทั้งสองท่านมีประสบการณ์ที่ต่างกัน แต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือการพัฒนาทุนมนุษย์ ให้มีศักยภาพ ให้สามารถแข่งขันในระดับสากลได้ โดยที่ทั้งสองท่านได้มีความเห็นเหมือนกันว่า “มนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด”

    คัมภีร์คนพันธุ์แท้

พูดถึงแนวทางในการพัฒนาทุนมนุษย์ โดยมีแนวคิดคือ “ คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดและเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดขององค์กร มีการแนะแนวทาง กลยุทธ์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรให้มีความรักในองค์กรและสร้างคุณประโยชน์ให้กับองค์กร

   จักวาลแห่งการเรียนรู้

ได้เสนอหลักแนวคิดให้ขยายไปถึงประชาชนและประเทศชาติ เพื่อมุ่งหวังให้มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาไปแบบยั่งยืน

  • สู่การเพิ่มผลผลิต

นอกจากในระดับประเทศ ยังได้เสนอหลักคิดให้เพิ่มศักยภาพให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลกโดยเน้นที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อย่างมีประสิทธิภาพ และเน้นถึงการร่วมมือกันของทุกภาคส่วน

ข้อดีของหนังสือ

  • เนื้อหาอ่านง่าย อ่านแล้วเข้าใจง่าย
  • พูดถึงเป้าหมายและแนวคิดของทั้งสองท่านอย่างชัดเจน

สิ่งที่อยากให้มีเพิ่มเติม

  • อยากให้แนะนำบุคคลที่เป็นต้นแบบในระดับโลกเพิ่มเติม โดยเฉพาะท่านที่มีแนวคิดสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สอดคล้องกับภาวะปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและต่อเนื่อง

ประโยชน์ที่ได้และแนวทางการนำไปปรับใช้ จากการอ่านหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

               ได้เรียนรู้ประสบการณ์ในการทำงาน และแนวคิดของทั้งสองท่าน เช่น หลักการ 4 L’s ของคุณพารณ (Village that learn -> School that learn -> Industry that learn -> Nation that learn)  และหลักการ 4 L’s ของ ศ.ดร.จีระ (Learning Methodology, Learning Environment, Learning Opportunity, Learning Community) เพราะผมทำงานอยู่ในสถาบันการศึกษา จึงตระหนักว่าการเรียนรู้ในโรงเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญ (School that learn) และจะนำหลักการ 4 L’s ของศ.ดร.จีระ ไปปรับใช้ในการสอนโดยให้ น.ศ.ตะหนักถึงการเรียนรู้และเข้าใจในวิธีการเรียนรู้ เพื่อให้บรรยากาศการเรียนเป็นไปอย่างราบรื่นและเปิดโอกาสให้ น.ศ.มีการแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อต่อยอดความรู้ให้กว้างขึ้นเป็นชุมชนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

นิพันธ์ หรรษสุข นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่15

บทวิเคราะห์ 

ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  ( HR.Champions )  

               เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้และประสบการณ์ของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ 2 คน 

คือ พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์   เรียบเรียงและจัดทำเป็นหนังสือ

โดยปวันท์วีย์                              : ตีพิมพ์ครั้งที่ 1       1 ธันวาคม  2545

1)ชื่อเรื่องของหนังสือที่อ่าน มีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร>>>>>>>

                  ชื่อหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  ( HR.Champions ) *    หากเป็นหนังสือที่ตีพิมพ์วางจำหน่ายในยุคปัจจุบัน  ชื่อหนังสืออาจจะไม่สามารถกระตุ้นความรู้สึก ความกระหายใคร่รู้ได้รุนแรงเท่ากับยุคที่ตีพิมพ์เมื่อ 15 ปีก่อนนัก  แต่เชื่อว่ายังเป็นสิ่งที่อยู่ในความสนใจของผู้อ่านในยุคนี้ได้

                ชื่อหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  ( HR.Champions ) นอกจากจะสื่อถึงเนื้อหาความรู้มากด้วยคุณภาพ  เหนือชั้นกว่าหนังสือเล่มอื่นแล้ว  น่าจะมีนัยสำคัญอย่างอื่นอีกอย่างน้อย 2 เรื่อง ดังนี้

              1. เพื่อเป้าหมายทางการตลาด  : ชื่อหนังสือต้องมีพลัง  โดนใจ  กระตุ้นสัญชาติญาณ  สามารถสะกดให้ผู้อ่านหยิบขึ้นมาอ่านได้ทันที  เป็นกลยุทธ์ช่วงชิงความได้เปรียบทางการตลาด ซึ่งในยุคนั้น น่าจะเริ่มมีกระแสด้านทรัพยากรมนุษย์เข้ามาและมีหนังสือวางจำหน่ายก่อนหน้าไปบ้างแล้ว  ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  ( HR.Champions )  มีชื่อภาษาไทยที่โดดเด่น หนักแน่น  และยังมีชื่อภาษาอังกฤษ ที่นำสมัย (new  trend )  โดนใจ  ซึ่งแสดงให้เห็นความเหนือชั้นกว่าคู่แข่ง 

               2.สื่อถึงนักพัฒนาทรัพย์กรมนุษย์ 2 ท่าน  คือพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา  และ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  เป็นบุคคลที่น่าจะได้รับสมยานามว่าเป็นบิดานักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย     เป็นเหตุให้หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  ( HR.Champions )ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี   และสามารถเผยแพร่ไปสู่มือนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และผู้ที่สนใจศึกษาได้อย่างรวดเร็ว   สามารถจำหน่ายหมดภายใน 19 วัน**  

 2)บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ ที่ประทับใจ มีอะไรบ้าง>>>

                   ได้รับความรู้  ประสบการณ์  แนวคิด  และเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ๆทั้งของนักคิดชาวไทยและต่างประเทศ     ครั้งแรกที่เริ่มต้นเปิดอ่าน ไม่ประทับใจนักเพราะมองภาพภายนอก   หนังสือเวอร์ชั่นเก่า  ( Old version ) ไม่คิดว่าความรู้เมื่อ 15 ปีที่แล้วจะนำมาใช้กับยุคปันจุบันนี้ได้  ยิ่งเมื่ออ่านคำนิยม ผู้เขียนคำนิยมแต่ละท่านเป็นคนยุคคุณพ่อหรือคุณปู่ยิ่งความเชื่อมั่นยิ่งลดน้อยลงไป   แต่เมื่ออ่านไปถึงเนื้อหาเรื่องราวประสบการณ์ของคุณพารณ  กลยุทธ์การบริหารคน  แนวคิดที่เห็นคนเป็นทรัพยากรมีค่าที่สุดขององค์กร และวิธีการครองใจคนของคุณพารณ  มันเป็นหัวใจของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่สามารถใช้ไปได้ทุกยุคสมัย   นับ100 ปีก็ไม่มีวันล้าสมัยเลย   การเรียบเรียงบอกเล่าประสบการณ์ของคุณพารณ   สลับกับแนวทฤษฎีและแนวคิดที่ทันสมัยของ ศ.ดร. จีระ  ผู้เขียนทำได้อย่างลงตัวมากทำให้หนังสือเล่มนี้น่าอ่าน  เป็นหนังสือที่คลาสสิก (classic)อ่านได้ทุกยุคทุกสมัย       เหมาะสำหรับเป็นคู่มือหลักที่นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องมี

                 ความรู้และแนวคิดที่ได้รับมีดังนี้             

              แนวคิดของคุณพารณเช่น  “คนเป็นทรัพย์สิน(Asset )ที่มีค่าที่สุดขององค์กรและเป็นสมบัติ

ที่มีคุณค่า ตรงข้ามกับเครื่องจักรอุปกรณ์ เพราะเครื่องจักรคุณค่ามันจะค่อยๆเสื่อมถอยลงจากการชำรุดสึกหรอ   แต่คุณค่าของคนกลับเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป”    หรือ  “ ผู้บริหารควรมองพนักงานเปรียบเสมือนสมาชิกในครอบครัว  ไม่ใช่เพียงแค่ผู้ร่วมงานในระบบงานเท่านั้น "  หรืออุดมการณ์ของบริษัทในเครือภายใต้การนำของคุณพารณในการทำธุรกิจนั่นก็คือ

1.        ตั้งมั่นในความเป็นธรรม    (Fairness  )

2.        มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ   (  Excellence )

3.        เชื่อมั่นในคุณค่าของคน  (  Human value )

4.        ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม  (Corporate Social Responsibility )

            ทัศนคติของคุณพารณแสดงให้เห็นถึงความมีคุณธรรม    ความมุ่งมั่น  รับผิดชอบต่อสังคมและให้ความสำคัญต่อคุณค่าของคนอย่างจริงใจจึงทำให้องค์กรภายใต้การนำของคุณพารณมีศักยภาพสูง

ล้ำหน้าเหนือคู่แข่ง  หรือแนวคิดของ ศ.ดร. จีระ  “ คนเป็น Assets ที่สำคัญขององค์กร จะเป็นจุด competitive  advantages ให้องค์กร  หากองค์กรใดหรือระบบบริหารใดสามารถทำให้มนุษย์ได้เป็น Assets และ Resources ได้ กิจการนั้นจะได้รับชัยชนะ "   หรือ    “ ทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดในปัจจุบันไม่ใช่สินค้า แต่เป็นความรู้ "    ดังนั้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จำเป็นต้องสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ (Learning Organization )  เป็นต้น


           * ในขณะที่เขียนบทวิเคราะห์ฉบับนี้  ผมยังไม่ได้รับหนังสือเล่มจริง  การวิเคราะห์ครั้งนี้อ่านจากไฟล์ PDF ซึ่งถ่ายมาจากฉบับเก่าแก่  จึงไม่แน่ใจว่าตรงกับเนื้อหาเล่มปัจจุบันหรือไม่  หากผิดพลาดประการใด ขออภัยอาจารย์และเพื่อนๆผู้อ่านทุกท่านด้วยครับ 

          ** ( พิมพ์ครั้งที่ 1   1 ธันวาคม 2545   ,พิมพ์ครั้งที่ 2   19  ธันวาคม 2545,   2,000 เล่ม  )

 

ขอบคุณครับ

ณภพ  ชัยศุภณัฐ

นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 15

[email protected]

086-4702348

การวิเคราะห์หนังสือ “ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ”

            โดยทั่วไป เวลาคนจะหยิบหนังสือมาอ่าน หากรูปเล่ม การจัดวางหน้าปก คำโปรย และแน่นอนชื่อหนังสือมีความน่าสนใจ ย่อมทำให้เกิดความรู้สึกอยากจะหยิบจับมาอ่าน ชื่อหนังสือ “ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ” แค่ชื่อโดยเฉพาะคำว่า “พันธุ์แท้” ก็บ่งบอกถึงความเป็น ผู้รู้ รู้ลึก รู้จริง และไม่หยุดพัฒนา ในเรื่องที่เกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ แถมเสริมย้ำด้วยคำภาษาอังกฤษ “HR CHAMPIONS” ยิ่งเป็นการสื่อให้เห็นถึงความเป็นที่หนึ่งในด้าน HR ชื่อหนังสือเล่มนี้มีความสำคัญต่อสังคม โดยเป็นช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่ให้สังคมได้เล็งเห็นความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อสังคม เพื่อยกระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทย โดยนำแนวคิดและแนวปฏิบัติของบุคคลที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นกูรูด้านทรัพยากรมนุษย์ตัวจริงถึง 2 ท่าน มารวบรวมเป็นหนังสือเล่มนี้

            หลังจากได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว มีความประทับใจและได้รับความรู้จากแนวความคิดที่ได้รับการเพาะบ่มจากประสบการณ์ของทั้งสองท่าน เพราะเป็นสิ่งที่คิดว่าสามารถนำมาใช้ในชีวิตการทำงานจริงได้ และยังเป็นการเปิดโลกทัศน์และกระตุ้นสำนึกของตัวผู้อ่านเองเกี่ยวกับด้านทรัพยากรมนุษย์ และนำมาคิดต่อยอดกับองค์กรที่เราทำงานอยู่ด้วยให้พัฒนาขึ้น ความรู้ต่างๆที่ได้จากหนังสือเล่มนี้ ดังนี้

  1. คนเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร
  2. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นการลงทุนระยะยาว จะไม่ได้ผลตอบแทนในตอนนี้ แต่จะได้ผลตอบแทนในอนาคต
  3. ผู้นำ นอกจากจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องคนแล้ว ยังต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการทำงาน ทำให้ลูกน้องรัก ทำให้ลูกน้องเป็นทั้งคนเก่งและคนดี
  4. บริษัทใหญ่ที่ประสบความสำเร็จระดับประเทศ เช่น บริษัทปูนซีเมนฑ์ไทย จะมีผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ที่เห็นถึงความสำคัญของคน มีการผลักดันนโยบายส่งเสริมการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ มีนโยบายเน้น
  •      - การทำงานเป็นทีม
  •     - การพัฒนาคน มีการอบรมทุกระดับ ในด้านทักษะเชิงปฏิบัติการ, ทักษะแนวคิด, ทักษะบุคลิกภาพและการ               ทำงานร่วมกับผู้อื่น
  •     - พัฒนาความรู้ด้านการบริหาร การเพิ่มผลผลิต
  •     - ให้ทุนการศึกษา
  •     - กำหนดทิศทางการพัฒนาคน และมีการเช็ควัดผล
  •     - คนนอกองค์กรก็ถือว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์ด้วย เป็นการสร้างเครือข่าย

5. การเป็นทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ต้องเป็นตัวอย่างแบบอย่างที่ดี มีเครือข่าย ทำให้มีคนอยากเข้าร่วม สานต่อการ          ทำงานอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นต้องสร้างและบริหารเครือข่ายให้ได้ Social Capital เครือข่ายเป็นสิ่งสำคัญในการทำงาน    และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทำให้โครงการพัฒนาเกิดความสำเร็จ และการเป็นคนพันธ์แท้นั้นจะต้อง1. ต้องทำให้          สำเร็จ 2. ต้องทำให้มีบารมี 3. ต้องทำให้ยั่งยืนการบริหารบุคคลเป็นหัวใจขององค์กร การขายเป็นหน้าที่ ถ้าบุคลากร      ในองค์กรไม่มีความสามารถ ความจงรักภักดี โอกาสที่จำนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จคงยาก

6. ในยุคที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเช่นปัจจุบัน การพัฒนาคน การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ เราควรพัฒนาคน     ของเราให้เป็น Global Citizen ซึ่งจะต้องเก่งและคล่องในภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, เทคโนโลยี ซึ่งการเรียนรู้แบบ     Constructionism เป็นเน้นการเรียนการสอนแบบครูกับนักเรียนต้องเรียนไปด้วยกัน นักเรียนต้องลงมือปฏิบัติเอง ครู       จะเป็นคนอำนวยความสะดวกในการเรียนโดยใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อ มีการสรุปความรู้ บันทึกผล นำเสนอ ประเมินผล        และต่อยอดองค์ความรู้ และที่สำคัญ การศึกษาเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ไม่จำกัดต้องอยู่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น

             ดังจะเห็นได้ว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากในยุคโลกาภิวัตน์ เราต้องพัฒนาคนตั้งแต่หน่วยเล็กๆ ไปจนถึงระดับมหภาค ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน หากคนไทยเป็นคนที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน ก็จะสามารถร่วมกันนำพาประเทศชาติ องค์กร หรือแม้กระทั่งครอบครัวและตัวเองเดินหน้า ต่อสู้ และประสบความสำเร็จได้

  • พีรวีร์ เทพประเทืองทิพย์
  • นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 15

วิเคราะห์หนังสือ ครั้งที่ 1

วิชา  :  การจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคม   โดย ศ.ดร จิระ หงส์ลดารมภ์

โดย  นายธิเบศร์  จันทวงศ์  นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการ รุ่นที่ 15

หนังสือ "ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  MR.CHAMPIONS"

หนังสือทรัพยากรณ์มนุษย์พันธุ์แท้ เป็นหนังสือที่ท่าน ศ.ดร จิระ  หงส์ลดารมภ์ เขียนร่วมกับ คุณภารณ  อิศรเสนา ณ อยุธยา ซึ่งท่านทั้งสอง ให้ความสำคัญกับเรื่องของ "คน" ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อสังคม จึงต้องพัฒนา ยกระดับความสามารถสูงสุด  หนังสือได้เล่าความเป็นมาของการพบเจอระหว่างท่านทั้งสอง ศ.ดร จิระอายุตอนนั้นอายุ 35 ปี ส่วนท่านภารณ อายุ 56 ปี ท่านทั้งสองมีความเหมือนกันว่า “คน” ซึ่งคน ไม่ใช่ต้นทุน หากแต่เป็นเพียงผลกำไร ถ้าได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง ถูกต้องสม่ำเสมอ และเป็นระบบ   โดยคุณภารณ เชื่อว่า “องค์กรจะดีได้ เพระมีคนเก่งและดี องค์กรจะแย่เพราะมีคนไม่เก่งและคนไม่ดี”

1.ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มที่อ่านมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

ลักษณะของทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ในมุมมองของ ศ.ดร จิระ มี 2 กลุ่มได้แก่ “พันธุ์แท้ที่พัฒนา” และ “พันธุ์แท้ไม่พัฒนา”  ซึ่งพันธุ์แท้ที่พัฒนา จะสามารถคิดริเริ่มสิ่งใหม่ๆ (Imagination) มีลักษณะของคนที่มีความหลากหลาย มีนวัตกรรม (Innovation) กล่าวโดยสรุปคำว่า “พันธุ์แท้” มีสิ่งที่ต้องทำ 3 เรื่องได้แก่ ต้องทำให้สำเร็จ ต้องมีบารมี ต้องยั่งยืน

2.บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ที่ประทับใจมีอะไรบ้าง เพราะอะไร

  1. ทรัพยากรมนุษย์คือมูลค่าเพิ่มระยะยาว ไม่ใช่ต้นทุนอย่างเดียว สังคมจะอยู่ได้ต้องลงทุนเรื่องคน
  2. การพัฒนาคนไม่เพียงแต่เฉพาะพนักงาน ต้องไปถึงผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจเราด้วย การให้รางวัลต้องควบคู่กับการให้ความรู้ และมีน้ำใจต่อกัน ท่านจะสนับสนุนให้คนทำความดี เป็นการสร้างแรงจูงใจ 
  3. ประเมินคนในองค์กรก็สำคัญ ต้องมี ความสามรถในการทำงาน (Capability) และเป็นที่ยอมรับหลายอย่างรวมทั้งด้านคุณธรรม (Acceptability)    
  4. ความคิดที่ว่าสิ่งที่ทำนั้นดี ผลจึงออกมาดี คนที่จะพาองค์กรไปรอดได้นั้นต้องเป็น คนเก่ง-คนดี หรือ เก่ง4-ดี4”  ซึ่ง เก่ง 4 คือ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งเรียน ส่วน  ดี 4 คือ ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม
  5. 8K’s ได้แก่ Human Capital (ทุนมนุษย์), Intellectual Capital (ทุนทางปัญญา), Ethical Capital (ทุนทางจริยธรรม), Happiness Capital (ทุนแห่งความสุข), Social Capital (ทุนทางสังคม), Sustainable Capital (ทุนแห่งความยั่งยืน), Digital Capital (ทุนทางสารสนเทศ IT), Talented Capital (ทุนทางความรู้ ทักษะ ทัศนคติ)        
  6. 5K’s ได้แก่ ความรู้  ความสร้างสรรค์  นวัตกรรม  อารมณ์
  7. 3ต. ได้แก่ การลงมือทำอย่างต่อเนื่อง  ต่อเนื่อง  และต่อเนื่อง
  8. ทฤษฎีวงกลม  วงที่  1 Context  หรือบริบทของการบริหารทรัพยากรมนุษย์  วงที่ 2 Competencies หรือ ทักษะ ความสามารถ ภาวะผู้นำ การบริหารเวลา วงที่ 3 Motivation  หรือการสร้างแรงบัลดาลใจการ มีหลักที่ดี ความท้าทาย

ความประทับใจ

จากการอ่านหนังสือเล่มนี้ ผมมีความประทับใจปรัชญาหนึ่ง ที่กล่าวว่า บุคคลที่เจริญได้ด้วยจริยธรรมในการดำรงชีวิตฉันใด บริษัทก็เจริญได้ด้วยจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจฉันนั้น  องค์กรที่มีวิธีการทำงานที่ดีก็จะนำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมที่ดีในองค์กร ทำให้ผมได้รับแนวคิด เปิดมุมมอง ความรู้ ใหม่ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์กับองค์กร สังคม และตนเอง 

วิเคราะห์หนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” (HR. Champions.)

กล่าวถึงประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารคน ของท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านจะเป็นนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ทำงานเป็นระบบ และใช้หัวใจในการบริหารคน ลักษณะ “Common man has no common sense”  หรือ บุคคลธรรมดาที่ไม่ธรรมดาแต่สามารถรับรู้และสัมผัสถึงจิตใจของผู้อื่นได้ นอกจากนี้ ท่านตระหนักเสมอว่า “องค์กรจะดีเพราะมีคนเก่งและดี องค์กรจะแย่เพราะมีคนไม่เก่งและคนไม่ดี” และที่สำคัญ ในมุมมองของท่าน ทรัพยากรมนุษย์ คือ มูลค่าเพิ่มในระยะยาวไม่ใช่ต้นทุนเพียงอย่างเดียว เพราะสังคมจะอยู่ได้ต้องลงทุนในเรื่องคน 

1.             ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มที่อ่านมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

                หนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” มีความสำคัญต่อสังคม คือ ทั้งสองท่านมีความมุ่งมั่นมากในการพัฒนาคน ท่านพารณได้สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในองค์กร ทำให้คนของปูนซิเมนต์ไทยเป็นคนที่มีคุณภาพ สร้างความได้เปรียบในด้านการแข่งขันให้บริษัท การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดในบริษัท ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว เช่นเดียวกับ ศ.ดร.จีระ ที่พยายามผลักดันให้ผู้บริหารประเทศเห็นความสำคัญในเรื่องการพัฒนาคนเป็นการมองกาลไกลมาก เพราะประเทศจะเจริญได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน คนในประเทศต้องเป็นคนที่มีคุณภาพ เพราะฉะนั้นการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในประเทศ จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก “ทรัพยากรมนุษย์ คือสิ่งที่มีค่าสูงสุด เราต้องบริหารความเป็นเลิศโดยการดึงเอาศักยภาพของคนออกมาให้ได้มากที่สุด”

2.             บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจาการอ่านหนังสือเล่มนี้ที่ประทับใจมีอะไรบ้าง เพราะอะไร

                ความรู้ที่ได้รับเรื่องวิธีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของทั้งสองท่าน เริ่มต้นจาก พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา คือ เก่ง 4 ดี 4  ทางด้าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ โดยจะเน้นที่เป้าหมายและคุณภาพการทำงานมากกว่าคำนึงถึงเรื่องต้นทุน ดังนั้นท่านจึงเริ่มการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เห็นว่าคนมีความสำคัญเท่าๆ กับเงินและวัตถุ โดยเน้นที่ทฤษฎี 8K’s2 และ 5K’s3 เสริมด้วยทฤษฎี 3 ต. คือ การลงมือทำอย่างต่อเนื่อง  โดยเฉพาะองค์ความรู้ทฤษฎี 3 วงกลม  และทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ในมุมมองของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มี 2 ระบบ คือ “พันธุ์แท้ที่พัฒนา” กับ “พันธุ์แท้ที่ไม่พัฒนา” ซึ่งมองว่าของแท้จะต้องอยู่คงทน มีความคิดริเริ่มใหม่ๆ อยู่เรื่อย (Imaginative) และมีลักษณะของคนหลายความคิด ถ้าเปรียบกับสินค้าก็จะเป็นสินค้าที่มีนวัตกรรม (Innovation) อยู่ตลอดเวลา จึงจะเป็นพันธุ์แท้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้น คำว่า “พันธุ์แท้” ในมุมมองของท่านจึงหมายถึงการไม่หยุดที่จะพัฒนานั่นเอง

                ความประทับใจเรื่องที่ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เข้ามาช่วยบริหารงานให้สถาบันราชภัฎ ให้แข็งแกร่ง เติบโตทางภูมิปัญญา ท่านบอกว่า “อยากจะพลิกพิระมิด” เพระว่า สถาบันราชภัฎเป็นสถานศึกษาของคนหมู่มาก ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมไทย ถ้าสามารถทำให้บุคคลเหล่านี้ได้รับความรู้ ความสามารถ และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสังคมได้แล้ว คนพวกนี้ จะเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยพัฒนาประเทศได้อย่างมากทีเดียว

3.             จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้คืออะไร ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

                โดยรวมของหนังสือมีประโยชน์มาก แต่เนื้อหาค่อนข้างกว้าง มีรูปภาพประกอบ และกรณีศึกษาน้อยไปบ้าง ทำให้อ่านแล้วไม่ค่อยเห็นภาพ หรืออ่านแล้วตัวหนังสือเยอะไปหน่อย ถ้ามีภาพประกอบร่วมด้วยมากกว่านี้จะดี เช่น ภาพของบุคคลแต่ละท่านที่มาให้สัมภาษณ์ หรือภาพองค์กร เป็นต้น

 

ดุจดาว  บุนนาค

นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 15

PHD 8205 สันติ เอี่ยมวุฒิปรีชา 

ราชภัฎ รุ่น 15 

  

  

ย้อนกลับไป ประมาณสิบกว่าปีที่แล้ว ผมได้รับหนังสือเล่มนี้ครั้งแรก น่าจะเป็น 
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 จาก ทีมงานบุคคลเครือซีเมนต์ไทย SCG บริษัทในเครือเดียวกัน 

ตอนนั้นบริษัทที่ผมทำงานอยู่ ได้ว่าจ้างทีมงานบุคคลของSCG มาช่วยพัฒนาระบบ HR  
เขานำมาแจกให้ผู้จัดการทุกคน แล้วบอกว่า เป็นหนังสือที่ดี ควรอ่านก่อนเริ่ม 
โครงการ 


ผมจำได้เพราะแปลกใจที่หนังสือ แนว HR หรือ ประวัติชีวิต ส่วนใหญ่ หน้าปกจะออกสี 
อ่อนๆ หรือ ขาวๆ แต่เล่มนี้ทำไมมีหน้าปกสีดำ เหมือนหนังสือนิยายสอบสวน ลึกลับ 
มากกว่า  แต่ก็พอจะจำได้ว่า มีศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ HR ที่ผมไม่ค่อยเข้าใจ 
อยู่หลายคำมาก อาจเพราะผมอ่านแต่หนังสือการบริหารธุรภาษาอังกฤษมากกว่า จึงไม่ 
คุ้นชิน หรือ อาจจะเพราะว่ายังเป็นเรื่องใหม่ในสมัยนั้นก็เป็นได้ สรุปว่าผมอ่าน 
ไม่จบครับ รู้แต่เพียงว่าที่เราเรียกสั้นๆว่า คนปูนฯที่เราติดต่อธุรกิจด้วย และ 
มาช่วยทำระบบ มีบุคลิกต่างจากคนของเรามาก คือทุกคน  เก่ง ถ่อมตัว และ ไม่โกง 
เราทำธุรกิจด้วยกัน ชวนไปทานอาหารเขายังต้องปฏิเสธ เสียดายถ้าผมอ่านหนังสือจบใน 
ตอนนั้น คงจะเข้าใจได้ว่า ที่เขามีคุณลักษณะอย่างนั้น มีพื้นฐานมาจากอะไร 

  

สรุปว่าตอนนั้นหลังจากใช้เวลาเกือบปี เราทำไม่ได้อย่าง SCG ทำได้เพียงแค่ปรับ 
โครงสร้าง ทำเรื่อง competency ทำแผนพัฒนาบุคคลากร และ เอาระบบประเมินผลงานของ 
เขามาใช้ บางส่วน สาเหตุ เพราะ ต้องใช้เงินมากเกินไป และ การวัดผลเป็นเรื่องยาก 
เราไม่สามารถวัดผลในระยะสั้นได้ พอนานๆไปก็เริ่มหย่อนยาน ขาดความต่อเนื่อง 

  

  

อาจจะเป็นเพราะ SCG และ บริษัทที่ผมทำงาน มีผู้ถือหุ้นใหญ่เดียวกันคือ 
ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บุคคลากรจึงมีความใกล้ชิดกันมาก ทำให้เห็นความ 
สำเร็จในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ SCG ได้ยินเรื่องของคุณพารณ ในช่วงหลายสิบปี 
เป็นคนที่ลงในรายละเอียด ให้ความสำคัญกับพนักงานทุกๆด้าน การฝึกอบรมอย่างมีระบบ 
มีการนับชั่วโมง ระบบ rotation และ coaching เหล่านี้ทำให้พนังงาน SCG มีลักษณ์ 
ต่างจากคนของเรามาก คือ มี DNA ต่างกันมาก ทำให้เขาการขยายธุรกิจอย่างรวดเร็ว 
การอ่านหนังสือเล่มนี้ในครั้งนี้ จึงอ่านด้วยความเข้าใจ และเห็นแนวคิดเบื้อง 
หลังการพัฒนาบุคคลากร ชัดเจนมากขึ้น ปัจจุบันแนวทางพัฒนาทรัพยากรบุคคลของ SCG 
ยังคงได้รับการสืบทอดต่ออย่างเหนียวแน่น และ ดีเช่นเดิม คนรุ่นใหม่ๆก็ยังอยากทำ 
งานกับ SCG 

Turnoverต่ำมาก  แม้จะมีเด็กรุ่นใหม่ไม่น้อยลาออกเพราะอยากทำธุรกิจเอง ซึ่งก็ 
เป็นไปตามกระแส 

  

หนังสือเล่มนี้ใช้การเล่าเรื่องโดยใช้บุคคลที่3 เป็นผู้กล่าวถึง การทำงานของ 
คุณพารณ และ อาจารย์จีระ 

การอ่าน 100 หน้าแรกจึงสนุกมาก อาจเพราะผมรู้จักทั้ง 2 ท่านอยู่แล้ว และวิธีการ 
เล่าเรื่องโดยการสัมภาษณ์ทำให้มองเห็นภาพได้ดีมาก และอยู่ในขอบเขตที่ไม่มากจน 
เกินไป บางคนที่เป็นคนให้สัมภาษณ์ ก็เคยรู้จัก จึงเป็นการรวบรวมเกล็ดความรู้ 
แนวคิด และ ประสบการณ์ที่มีค่ายิ่งของ 2 พันธุ์แท้ที่พัฒนา ไม่หยุดนิ่ง เป็น 
organic thinking คือ มีการหาความรู้ และ แนวคิดเพิ่มตลอดเวลา โดยเฉพาะ จากผู้ 
เชี่ยวชาญต่างชาติหลายคน เช่น Hammer, Porter และ Senge 

  

คน 2 คน ที่ไม่ได้เรียนมาทาง HR แต่ต้องมาทำงานด้านนี้ แล้วประสบความสำเร็จมากๆ 
เป็นเรื่องที่ควรศึกษา คุณพารณ ทำสำเร็จในระดับ micro ก่อน คือ องค์กร SCG จน 
ถึงระดับ macro คือ ผลผลิตแห่งชาติ แต่อาจารย์ จีระ ทำสำเร็จใน ระดับ macro ใน 
ภาคการศึกษา ภาคราชการ และ ระดับชาติ คือ สามารถผลักดันให้บรรจุแผนพัฒนา 
ทรัพยากรมนุษย์ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ มีผลลงมาถึง micro คือระดับองค์กร 
และ ผู้ใช้แรงงาน เป็นการทำเพื่อสังคมอย่างแท้จริง และยังมีผลต่อการพัฒนาประเทศ 

  

ทั้ง 2 ท่าน เป็นพันธุ์แท้ที่ทำด้วย spirit จริงๆ เหนียวแน่น ใช้เวลาคนละหลายปี 
ด้วยความอดทน ยึดมั่นในสิ่งที่ตนเองเชื่อ โดยเฉพาะอาจารย์ จีระ แทบจะต่อสู้จาก 
ศูนย์จริงๆ คือ ในเวลานั้นไม่ค่อยมีคนเข้าใจเรื่องทรัพยากรมนุษย์มากนัก แถมยัง 
ต้องสู้กับนักการเมืองอีกด้วย 

  

คุณพารณใช้การปฏิบัติ  เข้าถึงบุคคลากรอย่างแท้จริง เน้น เรื่อง เก่ง และ เป็น 
คนดี อาจารย์จีระให้ข้อคิดที่ดีคือ การปลูกข้าวสำคัญ แต่การเก็บเกี่ยวสำคัญกว่า 
พูดถึงทฤษฎีที่ยังคงทันสมัยใช้ได้จนถึงปัจจุบัน คือ ทฤษฎี 3 วงกลม ทฤษฎี 
8K's+5K's และ 3ต ที่นำมาใช้สอนคนหมู่มากทุกระดับอย่างได้ผล โดยการสัมมนา 
อภิปราย จัดรายการวิทยุ ทีวี เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม 

ทั้ง 2 ท่านมีความเชื่อเหมือนกันคือ คน มีค่าที่สุด วิธีการของทั้ง 2 มี 
เอกลักษณ์ต่างกัน แต่ได้ผลเหมือนกัน 

  

การนำหลักคิดเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์มาใช้ ต้องได้รับฉันทามติจากผู้บริหารระดับ 
สูงจึงจะสำเร็จ และต้องใช้งบประมาณสูง ในขณะที่การแปลงผลสำเร็จออกมาเป็น ตัวเลข 
หรือ จำนวนเงิน อาจทำได้ยาก ต้องใช้เวลานานจึงจะเห็นผล ถ้าเป็นโรงงานคงต้องนำ 
เอาระบบอื่นๆมาช่วยด้วย เช่น ระบบ TQM QCC 5ส Productivity Improvement เพราะ 
เมื่อเรามี ทรัพยากรมนุษย์ที่ดี ย่อมทำระบบดังกล่าวได้ดี และ สำเร็จ สะท้อนออก 
มาได้เป็น productivity ที่ดีขึ้น คุณพารณประสบความสำเร็จในเรื่องดังกล่าว เป็น 
การผสมผสานแนวคิดตะวันตก และ ตะวันออก เรื่องระบบเหล่านี้ทาง SCG ได้ถ่ายทอดให้ 
เราไม่น้อย 

  

หลายๆแนวคิดในหนังสือเล่มนี้ได้รับการพิสูจน์ชัดเจน ว่าเป็นจริงแล้วในตอนนี้ 
เช่นประเทศที่ไม่มีทรัพยากร เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ อิสราเอล หรือ ประเทศ 
ในแถบสแกนดิเนเวีย ต่างก็มีความเจริญมากกว่าเรา เพราะคนไทยเฉื่อย ขาดวินัย ขาด 
พื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ( 8K's) โดยเฉพาะ เรื่อง ทุนทางปัญญา และ 
ทุนทางจริยธรรม 

 หนังสือเล่มนี้อาจจะอ่านยากสำหรับผู้ที่ไม่เคยรู้จักอาจารย์ทั้ง 2 ท่านมาก่อน 

สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในหนังสือเล่มนี้ ( Reality ) น่าจะสามารถโยงเข้าหาสิ่งที่ 

เราต้องเรียนในหลักสูตรนี้ และ ช่วยทำให้เราหาแนวทาง และ ประเด็น ในการทำดุ 
ษดีนิพนธ์ได้บ้าง ( Relevance ) 

 ปล. ผมเห็นคำภาษาอังกฤษหน้า 145, 158, 162, 174, 175 พิมพ์ตัวใหญ่ทั้งหมดไม่ 

เหมือนหน้าอื่น ที่ตัวใหญ่เฉพาะตัวแรก 

สรุปเนื้อหาและความรู้ที่ได้จากการเรียนวิชา การจัดการทุนมนุษย์ ครั้งที่ 1/2560 วันที่ 20  สิงหาคม 2560

ความประทับใจ

                1. อาจารย์ผู้สอนและทีมงานที่ให้ความรู้ได้อย่างดีเยี่ยม มีประสบการณ์ทั้งความรู้และการทำงาน สามารถถ่ายทอดได้ชัดเจน ฟังเข้าใจง่าย มีกิจกรรมที่เหมาะสม มีการมอบหมายงาน (การบ้าน) พอดีไม่มากไม่น้อย

                2. ทีมงานของวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ ประกอบด้วย ผศ.ดร. บัณฑิต ผังนิรันดร์ คณบดี ผศ.ปรเมษฐร์ แสงอ่อน รองคณบดี ดร.ธนพล ก่อฐานะ ประธานหลักสูตรฯ และอาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่าน ที่อยู่ร่วมกิจกรรมและคอยให้การสนับสนุนทุกรูปแบบ

                3. เพื่อนร่วมห้องเรียนทุกคน ถึงแม้จะมาจากสถานที่ที่หลากหลาย ต่างอาชีพ ต่างวัย แต่ให้ความเป็นกันเองดีมาก คอยช่วยเหลือแบ่งปันตั้งแต่วันแรกที่รู้จักกัน ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่หาได้ยากในปัจจุบัน

                4. เจ้าหน้าที่ที่คอยดูแล บริการดีมาก มีการเตรียมงานที่ค่อนข้างพร้อมแม้เพิ่งจะเป็นวันแรกของการเรียนก็ตาม

                5. สถานที่เรียน เดินทางได้สะดวก มีทุกอย่างพร้อมหมดในตึกหลังเดียวกัน ที่จอดรถ ห้องสุขา และร้านอาหาร 

                ทำให้มีความเชื่อมั่นในหลักสูตรและอาจารย์ทุกคนว่า จะช่วยกันผลักดันให้นักศึกษาทุกคนจบการศึกษาตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้

ความรู้ที่ได้จากการเรียน

การเรียนรู้ตามแนวทาง Chira's way

1. Innovation Management เป็นการบริหารจัดการทั้งหมดให้มีการปฏิบัติ (verb) ไปสู่นวัตกรรม

2. ทฤษฎี 2 R

                   -  Reality  คือ มองความจริง  การเรียนรู้เพื่อให้ค้นพบความจริงของสิ่งๆนั้น

                   -  Relevance คือ มองตรงประเด็น   แหลมคม  กระชับ ตรงจุดเพื่อให้เข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้งานได้ถูกต้อง  เกิดประโยชน์สูงสุด

3. การเรียนรู้ แบบ Learning Eco System   การเรียนรู้ทุกนาที  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกัน

4. การพัฒนาตัวเองเพื่อความเป็นเลิศ ไม่หยุดการเรียนรู้ เรียนรู้ตลอดเวลา  สร้างความสำเร็จให้เกิดขึ้นทุกวัน

5. Human  capital  ทุนมนุษย์  มนุษย์ที่มีคุณภาพจะต้องมีทุนทางสังคม  (Social Capital ) และสามารถพัฒนาไปสู่การสร้างเครือข่าย  ( Network capital )   เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างความได้เปรียบ

6.ทุนมนุษย์ (Human  capital )  มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร   การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพสูงมากเท่าไหร่  องค์กรยิ่งมีความได้เปรียบในการแข่งขันมากเท่านั้น  ทั้งในด้านคุณภาพสินค้า  (Qality  )    การลดต้นทุน (Cost  ) ลดเวลา  ( Time  )เพื่อนำไปสู่เป้าหมายของธุรกิจคือกำไร (Profit )

      7.ทรัพยากรมนุษย์ (Human resource)  มีปัจจัยที่ซับซ้อนในการพัฒนา  หลายๆองค์กรล้มเหลวในการพัฒนาเนื่องมาจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต้องใช้องค์ความรู้    ความจริงใจจากฝ่ายบริหาร การใช้ทุนในการพัฒนา  ใช้เวลาอย่างต่อเนื่องและเมื่อพัฒนาแล้วก็ไม่สามารถรักษาทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพเอาไว้ได้

 

ผู้รายงาน

นายณธกร  คุ้มเพชร

นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 15

“ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้” เป็นหนังสือที่มีความสำคัญต่อสังคมปัจจุบันในหลายด้านด้วยกัน เป็นหนังสือที่มีความโดดเด่น เนื่องจากเป็นการรวบรวมมุมมองที่กลั่นออกมาจากการผ่านประสบการณ์ตรงอันยาวนานผ่านการวิเคราะห์ออกมาเป็นแนวคิดหลักๆ อย่างชาญฉลาดและมีความหมาย สามาถนำไปใช้ได้จริงเป็นที่ประจักษ์ของประเทศ จึงมี 2 R อย่างชัดเจน คือ Reality and Relevance เนื้อหาของหนังสือเน้นให้คนเก่งและดี ต้องอยู่ควบคู่ไปด้วยกัน  คือ เก่ง 4 และ ดี 4  เก่ง 4 ประกอบด้วย  1) เก่งงาน 2) เก่งคน 3) เก่งคิด และ 4) เก่งเรียน) ส่วนดี 4 ประกอบด้วย   1)ประพฤติดี  2) มีน้ำใจ  3) ใฝ่ความรู้  และ 4) คู่คุณธรรม) หนังสือเล่มนี้จึงถือได้ว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาคนและสังคมไทยที่ดีที่สุดเล่มหนึ่งในยุคปัจจุบัน                      

จากเรื่องราวในหนังสือทำให้ทราบว่าอาจารย์ 2 ท่าน คือ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยาและ ศ.ดร.  จีระ หงส์ลดารมภ์  ภูมิหลังของชีวิตที่เป็นอีกมิติหนึ่งของท่านมีความคล้ายคลึงกันและใกล้เคียงกัน ทำให้ท่านมีแนวคิดและเป้าหมายที่คล้ายกันมาก คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน โดยสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ที่มีความต่อเนื่องตลอดเวลา คุณพารณมุ่งมั่นพัฒนา หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้ (Village that Learn) โรงเรียนแห่งการเรียนรู้ (School that Learn) อุตสาหกรรมแห่งการเรียนรู้ (Industry that Learn) และชาติแห่งการเรียนรู้ (Nation that Learn) ส่วนท่าน ศ.ดร.จีระ สอนให้เข้าใจวิธีการเรียนรู้ (Learn Methodology) สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ (Learn Environment) สร้างโอกาสจากการเรียนรู้(Learn Opportunity) และสร้างชุมชนการเรียนรู้ (Learn Community) โดยมีความเชื่อด้านคุณธรรมจริยธรรมและการพัฒนาคนให้มีความเป็นเลิศด้านต่างๆได้  แนวคิดสำคัญที่เกิดจากประสบการณ์ตรงและลงมือทำจริงจนเห็นผลมาแล้ว เช่น  Social Capital ในทฤษฎี 8Ks:,  Sustainability Capital ในทฤษฎี 8Ks:, Happiness Capital, Human Capital, Intellectual Capital & Talented Capital,ความเชื่อ ศรัทธา และหลักการว่าคนคือทรัพย์สินขององค์กร และต้องมีการลงทุนในวันนี้ ให้ได้มาในวันหน้า โดยเน้นทุน 3 ตัวคือ Human Capital, Intellectual capital (คือต้องสามารถแปลง Data >Information> Knowledge> Value added> Wisdom ได้ในที่สุด) and Ethical Capital ทั้งสามทุนนำมาซึ่งความเชื่อ ศรัทธา และหลักการที่จำเป็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, และ Cultural Capital เป็นต้น

นอกจากนั้นหนังสือเล่มนี้ยังพูดถึงเรื่องการสร้างคนให้สามารถไปได้กับกิจกรรมระดับ going Global ซึ่งให้แนวคิดที่สามารถนำมาปรับใช้กับสถานการณ์ปัจจุบันได้ การวางแผนกลยุทธ์ ที่ต้องเน้นคนเป็นสำคัญก่อนมี vision วางแผนคนให้สอดคล้องกับอนาคตของธุรกิจในระยะยาวข้างหน้า พัฒนาคนทุกระดับอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สร้างแรงจูงใจและให้คนมีอิสรภาพในการทำงาน ต้องใส่ใจเรื่องคุณภาพชีวิตทั้งกายและใจ ต้องสร้างบุคลากรให้พร้อมเข้าสู่สังคมโลกโลกาภิวัฒน์ ทั้งเรื่องภาษา และเทคโนโลยี         

สรุปได้ว่าหนังสือ“ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้” เป็นการรวบรวมแนวคิด ความเห็น ตลอดจนประสบการณ์ของท่านอาจารย์ที่ผ่านมายาวนาน ถือเป็นหนังสือที่มีคุณค่าและมีประโยชน์อย่างยิ่งเล่มหนึ่ง

นอกจากได้รับความรู้แล้วยังช่วยส่งเสริมและสร้างนิสัยแห่งการเรียนรู้ เพื่อไปปรับใช้กับการดำเนินชีวิตส่วนตัวและนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรในสังคมให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อไป

ผู้วิเคราะห์หนังสือ

นายณธกร คุ้มเพช

นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 15

[email protected]

089-973-3588

 

หนังสือเป็นการรวบรวมประสบการณ์ และ ความสำเร็จ ของ นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2 แบบ โดยใช้วิธีสัมภาษณ์อดีตผู้ใต้บังคับบัญชา และ ผู้ร่วมงาน หลายท่าน

1.ชื่อเรื่องของหนังสือมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

คุณพารณ เป็นอดีต CEO บริษัทปูนซีเมนต์ไทย บริษัทใหญ่ ที่เป็นต้นแบบการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ท่านเน้นการปฏิบัติกับพนักงานในบริษัท ด้วยการทำเป็นตัวอย่าง และ ลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะสำเร็จ  วิธีการของท่านเป็น แบบอย่างที่ดี ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ดร. จีระ เป็นอาจารย์ นักวิชาการ นักคิด ใช้วิธีการสอนแนวคิด ทฤษฎี แลกเปลี่ยนความรู้ ทำให้เกิดการตื่นรู้ในวงกว้าง  เป็นผู้บุกเบิกการศึกษาเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์ ตั้งแต่ระดับ มหาวิทยาลัย ราชการ จนถึงระดับประเทศ ผลักดันให้เกิดผลต่อสังคมในวงกว้าง 

การจะเป็นพันธุ์แท้ ต้องเรียนรู้ ทฤษฎี และ ปฏิบัติ ทั้ง 2 ท่านต่างก็ต้องใช้      เวลาหลายๆปี ในการเรียนรู้ พัฒนาตนเอง และ เผยแพร่ปลูกฝังความรู้ เรื่องทรัพยากรมนุษย์ จนในที่สุดเกิดผลดีต่อสังคมโดยรวม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องใช้เวลา และ ความอดทน

 2.ความประทับใจ 

คุณพารณ ใช้วิธีการแบบถึงลูกถึงคน ในการพัฒนาคนในทุกระดับ  ตั้งแต่พนักงานระดับบน จนถึง ล่างสุด เพราะเชื่อว่า ทุกคนมีความสำคัญต่อองค์กร  ในเชิงลึก คุณพารณ ยังเข้าถึงแม้กระทั่งครอบครัวของพนักงาน ทำให้เกิดความจงรักภักดี และ มีแรงจูงใจสูงมากในองค์กรของท่าน    ท่านเชื่อว่า เรื่องคนเก่ง และ คนดี จะทำให้องค์กรก้าวหน้า ท่านมีแนวทางการพัฒนาคน อย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง ท่านเชื่อว่า ยิ่งพัฒนามาก คนยิ่งมีค่ามาก ไม่เหมือน เครื่องจักร อาคาร ที่มีแต่เสื่อมค่าลงตามเวลา

นอกจากนี้ คุณพารณยังเคยมีประสบการณ์การทำงาน กับ SHELL ถึง 7 ปี ได้มีโอกาสเรียนรู้แนวทางการทำงานแบบตะวันตก จึงนำมาผสมผสาน กับ ตะวันออก เอามาใช้กับ บริษัท เช่น เรื่อง TQC  5ส ซึ่งต้องใช้คนที่มีคุณภาพจึงจะทำสำเร็จ ทำให้บริษัทมีการขยายตัวอย่างมาก เรื่องการพัฒนาทรัพยากรบุคคลบางเรื่องอาจไม่เหมาะกับคนไทย ต้องดัดแปลง ผสมผสาน

แม้ท่านจะเกษียณแล้ว ก็ยังได้ทำโรงเรียนเพื่อปลูกฝังแนวคิดการมีส่วนร่วมให้กับเด็กๆต่อไป เป็นประโยชน์ต่อสังคม

คุณพารณเป็นผู้มีความอดทนสูงมาก ทำให้ท่านเป็นคนมีความสุข

ดร. จีระ เริ่มงานเป็นอาจารย์ ที่ ธรรมศาสตร์ เป็นผู้บุกเบิกแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ใช้เวลาหลายสิบปี สร้างความตื่นรู้ในภาคการศึกษา ราชการ และ ระดับประเทศ ให้ความสำคัญกับผู้ใช้แรงงาน เป็นผู้ริเริ่มการใช้ตัวเลข และสถิติ ในการต่อรองค่าแรงกับนายจ้าง สามารถผลักดันให้มีการบรรจุเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 8 ท่านไม่ได้เรียนมาทางด้านนี้ แต่ก็สามารถพัฒนาตนเองจนประสบความสำเร็จในด้านนี้

 

ดร. จีระ ใช้ ทฤษฎี 8K's  5K's 4L's ( เทียบกับ 4L's ของคุณพารณ ) 2R's และ 3ด และ ถ่ายทอดให้กับคนหมู่มากในแบบ อภิปราย อบรมสัมมนา ทำให้เกิดความเข้าใจ และตื่นตัว ท่านเห็นว่า ยังมีอุปสรรค์ที่ คนไทยยังมีนิสัย ค่อนข้างเฉื่อย ขาดวินัย ไม่มีขั้นตอนในการทำงาน ทำให้เสียเปรียบในการแข่งขัน

ท่านเห็นว่า การเป็นทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ต้องเป็นพันธุ์แท้ที่มีการพัฒนา มีการเรียนรู้ตลอดเวลา ตัวท่านเองชอบการเรียนรู้โดยการอ่าน ใช้ Internet การร่วมสัมมนาแล้วกลับมาสอน ท่านยังเชื่อว่า การศึกษามีส่วนสำคัญยิ่ง ในการสร้างทรัพยากรพันธุ์แท้ ตัวท่านเองโชคดีที่มีครอบครัวที่ดี มีโอกาสดี ได้เรียนในสถานศึกษาที่ดี ที่ นิวซีแลนด์ ที่สอนให้รู้จักคิด ค้นคว้า ต่างจาก การศึกษาของไทยที่ยังคงเน้นการท่องจำ

ท่านมีภาพลักษณ์ เป็นผู้ใหญ่ใจดี ชอบช่วยเหลือ 

ความสำเร็จของทั้ง 2 ท่าน แม้จะคนละแนวทาง แต่ก็มาจากแนวคิด ความเชื่อเหมือนกัน ที่ว่า ทรัพยากรมนุษย์มีค่า และ พยายามทำให้ได้ประโยชน์กับสังคม

หนังสือ ใช้การเล่าเรื่อง ประสบการณ์ และ ความสำเร็จ ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ แล้วจึงเสริมด้วย แนวคิด ทฤษฎีต่างๆ จากผู้เชียวชาญต่างประเทศ มีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย ที่นำไปใช้ปฏิบัติได้จริง

3.ข้อเสียของหนังสือ 

หนังสือมีเนื้อหาค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในบทหลังๆ   แม้จะพยายามดัดแปลงให้มีลักษณะการสัมภาษณ์ แต่ก็ยังยากในการอ่านอย่างวิเคราะห์และย่อยในเวลาอันสั้น เพราะมีการเสนอแนวคิดจาก พันธุ์แท้ และ ผู้รู้ ทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ หลายท่าน จำเป็นต้องกลับมาอ่านในเรื่องแนวคิด และ ทฤษฎี อีกหลายครั้ง

                    

นส. อรุณศรี รัตนธัญญาภรณ์

ปริญญาเอก รุ่น 15

[email protected]

0819268583

0898136767

ความประทับใจและความรู้ที่ได้จากการเรียนวิชาการจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคม

วันที่ 20 สิงหาคม 2560

ความประทับใจ :-

 

         การเรียนในวันแรกของวิชาการจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคม ซึ่งเป็นวิชาแรกและวันแรกของการเรียนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการ ซึ่งมีความตื่นเต้นในการเริ่มต้นอะไรใหม่อีกครั้ง และความประทับใจในการเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด  รวมถึงกำลังใจในการเรียนของคณาจารย์ประจำหลักสูตร เจ้าหน้าที่ประจำหลักสูตรมีให้แก่นักศึกษา  และประทับใจในเพื่อนร่วมรุ่นที่ 15 ที่เพียงแค่เริ่มต้นเรียนในชั่วโมงหรือวันแรกที่เริ่มรู้จักกันแต่เริ่มต้นด้วยดีที่มีความเป็นมิตร ยิ้มแย้มแจ่มใสให้กันตลอดเวลาที่มีการเรียน ได้ทำความรู้จักกันมากขึ้นจากการที่อาจารย์จีระให้ออกไปแนะนำตัวของนักศึกษา  อีกทั้งประทับใจทีมงานของท่านอาจารย์จีระที่กระผมหรือจะเป็นเพื่อนๆนักศึกษาที่สามารถสัมผัสได้ถึงความมุ่งมั่นและทุ่มเทในการให้ความรู้กับนักศึกษาในรุ่นนี้  ส่งผลให้กระผมและนักศึกษาในรุ่น 15 นี้พร้อมที่ทุ่มเทเก็บเกี่ยวความรู้จากวิชาการจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคมเพื่อไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด

ความรู้ที่ได้จาการเรียน :-

 

            สาระสำคัญที่ได้จากการเรียนก่อนอื่นเราจะรู้ว่าเราเรียนไปทำไม วัตถุประสงค์การเรียนในเรื่องนั้น เพื่อจะได้ให้ถึงเป้าหมายที่วางไว้ได้อย่างสมบูรณ์และตรงกับวัตถุประสงค์ที่สุด และจากสาขาที่เราเรียนคือนวัตกรรมการจัดการเราจะต้องทำความเข้าใจกับคำว่านวัตกรรม(innovation) ให้เข้าใจและลึกซึ้งที่สุด

            เมื่อกล่าวถึง human capital เน้นถึงคนท่ามกลางความหลากหลาย และ Social capital  คือการที่คนจะมีเครือข่ายและใช้งานจากความหลากหลายของเครือข่ายโดยการสร้างความสัมพันธ์กับคนที่เป็นเครือข่ายให้ได้ประโยชน์สูงสุด

            ประเด็นการอ่านหนังสือเพื่อทำการวิเคราะห์มีหลัก คือ ต้องหาแก่นของงานไว้เป็นประเด็นๆ ควรให้สมาชิกมีส่วนร่วมทุกคน เชื่อมโยงเนื้อหาที่อ่านให้เข้ากับงานวิจัยที่สนใจจะทำ จะต้องรู้ถึงผลกระทบที่ส่งผลต่อเราและสังคมอย่างไร

ความประทับใจและความรู้ที่ได้จากการเรียนวิชาการจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคม

วันที่ 20 สิงหาคม 2560

ความประทับใจ :-

 

         การเรียนในวันแรกของวิชาการจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคม ซึ่งเป็นวิชาแรกและวันแรกของการเรียนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการ ซึ่งมีความตื่นเต้นในการเริ่มต้นอะไรใหม่อีกครั้ง และความประทับใจในการเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด  รวมถึงกำลังใจในการเรียนของคณาจารย์ประจำหลักสูตร เจ้าหน้าที่ประจำหลักสูตรมีให้แก่นักศึกษา  และประทับใจในเพื่อนร่วมรุ่นที่ 15 ที่เพียงแค่เริ่มต้นเรียนในชั่วโมงหรือวันแรกที่เริ่มรู้จักกันแต่เริ่มต้นด้วยดีที่มีความเป็นมิตร ยิ้มแย้มแจ่มใสให้กันตลอดเวลาที่มีการเรียน ได้ทำความรู้จักกันมากขึ้นจากการที่อาจารย์จีระให้ออกไปแนะนำตัวของนักศึกษา  อีกทั้งประทับใจทีมงานของท่านอาจารย์จีระที่กระผมหรือจะเป็นเพื่อนๆนักศึกษาที่สามารถสัมผัสได้ถึงความมุ่งมั่นและทุ่มเทในการให้ความรู้กับนักศึกษาในรุ่นนี้  ส่งผลให้กระผมและนักศึกษาในรุ่น 15 นี้พร้อมที่ทุ่มเทเก็บเกี่ยวความรู้จากวิชาการจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคมเพื่อไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด

ความรู้ที่ได้จาการเรียน :-

 

            สาระสำคัญที่ได้จากการเรียนก่อนอื่นเราจะรู้ว่าเราเรียนไปทำไม วัตถุประสงค์การเรียนในเรื่องนั้น เพื่อจะได้ให้ถึงเป้าหมายที่วางไว้ได้อย่างสมบูรณ์และตรงกับวัตถุประสงค์ที่สุด และจากสาขาที่เราเรียนคือนวัตกรรมการจัดการเราจะต้องทำความเข้าใจกับคำว่านวัตกรรม(innovation) ให้เข้าใจและลึกซึ้งที่สุด

            เมื่อกล่าวถึง human capital เน้นถึงคนท่ามกลางความหลากหลาย และ Social capital  คือการที่คนจะมีเครือข่ายและใช้งานจากความหลากหลายของเครือข่ายโดยการสร้างความสัมพันธ์กับคนที่เป็นเครือข่ายให้ได้ประโยชน์สูงสุด

            ประเด็นการอ่านหนังสือเพื่อทำการวิเคราะห์มีหลัก คือ ต้องหาแก่นของงานไว้เป็นประเด็นๆ ควรให้สมาชิกมีส่วนร่วมทุกคน เชื่อมโยงเนื้อหาที่อ่านให้เข้ากับงานวิจัยที่สนใจจะทำ จะต้องรู้ถึงผลกระทบที่ส่งผลต่อเราและสังคมอย่างไร

ธีรเดช  วิรยะกุล (เดช)

ปริญญาเอก รุ่น 15

[email protected]

วรสิทธิ์ วงศ์อดิศัย

บทวิเคราะห์หนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ : HR Champion”

รายวิชา : PHD 8205 Management of Human and Social Capital

ผู้สอน : Prof. Chira Hongladarom, Ph.D

 

1. ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มที่อ่านมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

         ชื่อเรื่อง “HR.CHAMPIONS : ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ บทสนทนาว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของนักคิดและนักปฏิบัติแห่งยุค” จากชื่อเรื่องสังเกตได้ว่ามีการเลือกใช้คำว่า HR Champion คำนี้สามารถสร้างความสนใจแก่คนทั่วไปได้ว่า ตกลงแล้ว HR Champion มันคืออะไร ต่อมาได้เลือกขยายความว่าเป็นบทสนทนาที่เรียบเรียงจากแนวคิดและประสบการณ์ของสุดยอดกูรู นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักคิดและนักปฏิบัติแห่งยุค คือ ท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ทำให้ชื่อเรื่อง “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ : HR Champion” คงความโดดเด่นและน่าสนใจ  เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่องค์กรต่างๆในสังคม สามารถนำไปเป็นตำราประยุกต์ใช้ในองค์กรของตังเองได้ เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย  

 

2.บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ที่ประทับใจมีอะไรบ้าง เพราะอะไร

ความรู้ที่ได้หลังจากได้อ่านหนังสือเล่มนี้  ได้ทราบถึงปรัชญาหรือแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  เป้าหมายการพัฒนา วิธีการพัฒนา และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนา ดังนี้

  • 1.ปรัชญาหรือแนวคิดของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  •    -คนเป็นสินทรัพย์ในองค์กรที่มีค่ามากที่สุด  จงเชื่อมั่นในคุณค่าของมนุษย์
  • 2. เป้าหมายของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  •    - ได้คนทั้งเก่งและดี  เพราะ “องค์กรจะดีเพราะมีคนเก่งและดี องค์กรจะแย่เพราะเพราะคนไม่เก่งและไม่มี”
  • สร้างให้เป็นทั้งคนเก่งและคนดี ตามสูตร เก่ง 4 ดี 4 คือ เก่ง 4 ได้แก่ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด และเก่งเรียน ดี 4 ได้แก่ ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม
  • 3. วิธีที่จะทำให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ประสบความสำเร็จ
  •   - ลงทุนพัฒนาคนอย่างต่อเนื่อง และต้องมีแผนงานพัฒนาที่ชัดเจน 
  •    - ดูแลคน สร้างแรงจูงใจในการทำงาน นอกเหนือจากตัวเงิน แต่ดูแลด้านจิตใจ ให้พนักงานพึงพอใจ
  •    - สร้างบรรยากาศที่เหมาะสมแก่การเรียนรู้
  •    - สร้างวัฒนธรรม ที่มีส่วนร่วมและร่วมมือทำงานเป็นทีม จะส่งผลต่อความสำเร็จในงาน
  • 4. ปัจจัยที่ทำให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย
  •     - ปัจจัยที่ 1 คุณภาพของคน
  •     - ปัจจัยที่ 2 ผู้บริหารระดับสูง
  •     - ปัจจัยที่ 3 ทัศนคติของฝ่ายจัดการ
  •     - ปัจจัยที่ 4 การปลูกฝังให้พนักงานพัฒนาตนเอง

 ความประทับในหนังสือเล่มนี้  ผมชอบ Quote อยู่ 2 ประโยค  

ประโยคแรก

 “คนจะเป็น assets ที่สำคัญขององค์กร จะเป็นจุดสร้าง Competitive advantages .ให้องค์กร หากองค์กรใดหรือระบบบริหารใดสามารถให้มนุษย์ได้เป็นทั้ง assets และ resource ได้ ก็จะได้รับชัยชนะ”

ประโยคที่สอง

พันธุ์แท้” ต้องทำ 3 เรื่อง หนึ่ง – ต้องทำให้สำเร็จ สอง – ต้องมีบารมีและสาม – ต้องยั่งยืน

       คือทั้งสองประโยคนี้ ชี้ให้เห็น concept ทั้งหมดการการจัดการด้าน HR  การพัฒนาองค์กรจะต้องพัฒนาคนเสียก่อน และการจะทำให้สำเร็จนั้น จะต้องใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสม สามารถหล่อหลอมให้คนทั้งองค์มาร่วมกันช่วยกันพัฒนา และควรพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้เกิดความยั่งยืน

 3. จุดอ่อนของหนังสือนี้ คืออะไร ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

      หนังสือเล่มนี้ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องจากแนวคิดและประการณ์ในการทำงานของ 2 กูรูด้าน HR ที่มีผลงานให้เห็นเชิงประจักษ์ แล้วนำมาเรียบเรียงเป็นรูปเล่ม เนื้อหาในหนังสือ มีการเลือกใช้ภาษาที่เรียบง่าย ไม่ใช้ศัพท์ทางเทคนิคมากนัก การเล่าเรื่องมีที่ไปที่มาพร้อมทั้งสอดแทรกวิธีการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ทำให้เข้าใจได้ง่าย แต่อย่างไรก็ตามเราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ยุคนี้เป็นยุค Gen Z  ณ เวลานี้ คนกลุ่มนี้กำลังเริ่มทำงาน ทำให้คนในองค์กรที่มาอยู่ร่วมกันมีหลากหลายเจเนอร์เรชั่น คำถาม คือ เราควรดำเนินการอย่างไร เพื่อดึงเอาศักยภาพของคนต่างเจเนอร์เรชั่นมาทำงานและอยู่ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นจึงเห็นควรเพิ่มตัวอย่างองค์กรรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จในการจัดการคน Gen Z  

นายวรสิทธิ์ วงศ์อดิศัย (โอ๋)

นักศึกษาปริญญาเอกรุ่นที่ 15

E-mail : [email protected]

Tel : 086-8864594

PHD 8205 การจัดการทุนมนุษย์ และทุนสังคม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สรุปเนื้อหา ครั้งที่ 1 วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2560

โดย นางณิศรามิล โภคินพีรวัศ นักศึกษา ป.เอก รุ่นที่ 15

E-mail : [email protected]

มือถือ :   098 829 9394

จากการเรียนในครั้งนี้ อาจารย์ได้สรุป Concept ในการเรียน และ คำศัพท์ที่สำคัญไว้ดังนี้

  1. Innovation คือ นวัตกรรม การสร้างสิ่งใหม่ วิธีการใหม่ โดยจะเน้นไปที่คน
  2. Innovative Management คือ การบริหารจัดการทั้งหมดให้มีการปฏิบัติ (verb) ไปสู่นวัตกรรม
  3. Innovative Organization นวัตกรรมองค์กร
  4. Human Capital ทุนมนุษย์ นวัตกรรมเกี่ยวข้องกับคน เกิดจากคนในอนาคต Innovation กับ Human Capital สำคัญมากๆ ไม่ว่าจะเป็น Google, Microsoft, Apple, Facebook ทุกที่เน้นเรื่องคนหมด นอกจากนี้อาจารย์ยังได้พูดถึงความแตกต่างของทุนมนุษย์ และทรัพยากรมนุษย์ ดังนี้ ทรัพยากรมนุษย์ คือ คนที่เป็นทรัพย์ ส่วนทุนมนุษย์ คือ คนที่ Up ขึ้นมาจากทรัพยากร นั่นเอง
  5. Social Capital ในความเห็นของ ศ.ดร.จีระ คือ การมีเครือข่าย และรู้วิธีการจัดการกับเครือข่ายให้เกิดคุณค่า เราต้องสร้างความสัมพันธ์กับคนที่เป็นเครือข่ายของเรา และทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นอกจากนี้อาจารย์ยังให้หลักคิดในการวิจารณ์หนังสือดังนี้

  1. หาคนเก่งอังกฤษมาช่วย และทำสรุป
  2. อ่าน สรุป แล้วต้อง Present เป็นภาษาอังกฤษ หรือ ไทยก็ได้ว่าแก่นของมันคืออะไร
  3. เมื่อหาแก่นได้แล้ว ดูว่ามันเกี่ยวข้องกันอย่างไร (Innovation + Innovative + Human Capital)
  4. อ่านแล้วแบ่งปันกับเพื่อให้ดี คนหนึ่งนำเสนอ คนหนึ่งต้องสนับสนุน “ทรัพย์สินทางปัญญา อย่างหนึ่งคือการอ่านหนังสือ”
  5. ระหว่างที่อ่านแล้วเชื่อมโยงกับหนังสือ แล้วมันเกี่ยวข้องอะไรกับวิทยานิพนธ์ ต้องเอาวิทยานิพนธ์ออกมาเป็นหนังสือให้ได้
  6. อ่านแล้วเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร ค้นหาตัวเองให้เจอ ว่าฉันได้อะไรกับการอ่านหนังสือเล่มนี้, มันกระทบอะไรกับองค์กร หรือธุรกิจของเรา, อ่านเพื่อเป็นบทเรียนของชีวิตเรา, หนังสือนี้มีประโยชน์กับประเทศเราได้อย่างไร และกระทบอะไรกับโลกภายนอกบ้าง แล้วกลับมาที่ Human Capital เราจะผลิตทุนมนุษย์ได้อย่างไร

บทวิเคราะห์จากการอ่านหนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” 

นายธีรเดช  วิริยะกุล ปริญญาเอก นวัตกรรมการจัดการรุ่น 15

 

·         ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มที่อ่านมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

จากชื่อหนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้”  โดยทั่วไปเมื่อเห็นชื่อหนังสือ ผู้ที่เห็นจะคิดว่าเป็นเรื่องของทรัพยากรมนุษย์ เป็นการจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ คิดว่าเนื้อหาในหนังสือสามารถเอาไปใช้ใน         การจัดการมนุษย์หรือคนในองค์กรที่ทำงานอยู่ หรือสำหรับนักศึกษานำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาหรือทำรายงานเพียงเท่านั้น แต่เมื่อหยิบหนังสือมาอ่านอย่างพิจารณาในชื่อหนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ บทสนทนาว่าด้วยการพัฒนาทรัพยามนุษย์ของนักคิดและนักปฎิบัติแห่งยุค”  ทำให้มีความสำคัญต่อสังคมโดยการทำเอาการสนทนาของ HR.CHAMPIONS ไปปรับใช้กับกับชีวิตและองค์กร และเป็นแรงบันดาลใจสร้างความเชื่อ ศรัทธาและนำหลักการทฤษฎี 8 K’s และ 5 K’s มาปรับใช้ก้าวสู่บันไดแห่งความสำเร็จต่อไป

·         บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ที่ประทับใจมีอะไรบ้าง เพราะอะไร

จากการอ่านหนังสือเล่มนี้มีความประทับใจในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ แนวคิดและทฤษฎีของ HR.CHAMPIONS ทั้งสองท่าน และทำให้นำเอาสิ่งที่ได้อ่านได้เรียนรู้จากเนื้อหาในหนังสือนั้นมาปรับใช้กับองค์กรที่ปฏิบัติงานอยู่ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ ความศรัทธา หรือจะเป็นบันไดที่จะให้เราสำเร็จในด้านต่างๆ สำเร็จในเป้าหมายขององค์กร อีกทั้งสร้างความจงรักภักดีในองค์กรรวมถึงวิธีการสร้างแรงจูงใจในกับเจ้าหน้าที่ในองค์กรต่อไป

·         จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้ คืออะไร ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

        จุดอ่อนของหนังสือเล่มในส่วนของชื่อในแต่ละบท มีความลึกซึ้งเข้าใจยาก ต้องอ่านเข้าไปในรายละเอียดของเนื้อหาแต่ละบทเพื่อทำความเข้าใจ ทำให้ต้องใช้เวลานานในการจะนำไปใช้ประโยชน์สำหรับนักเรียนนักศึกษาในระดับปริญญาตรีที่จะทำงานส่งอาจารย์

 

 

 

นายธีรเดช  วิริยะกุล

ปริญญาเอก นวัตกรรมการจัดการรุ่น 15

[email protected]

 

บันทึกครั้งที่ 1 / วันที่ 20-8-2560

วิชา  :  การจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคม (PHD8205)   โดย ศ.ดร จิระ หงส์ลดารมภ์

ความรู้และความประทับใจที่ได้จากการเรียนวิชานี้ 

ด้านความรู้

- Learning Eco System คือ ทุกวินาทีคือการเรียนรู้

- สิ่งที่อาจารย์จะสอนจะใช้วิธี Complexity to Simplicity (แนวทางเดียวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9)

- หนังสือที่อาจารย์ให้อ่านมีทั้งหมด 3 เล่ม คือ

  - หนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้”

  - หนังสือ “8K’s+5K’s: ทุนมนุษย์คนไทยรองรับประชาคมอาเซียน”

  - หนังสือ “พลังแห่งคุณธรรมจริยธรรม” (The Ethical Power)

- นักศึกษารุ่น 15 จะต้องมี Propose, Objective ที่มีประโยชน์ต่อตนเองและประเทศชาติ

- ให้เน้น process เป็นหลักที่เน้นกรอบแนวคิดของ อ.จีระ คือ 2R ได้แก่ Reality คือ ความจริงที่ถูกนำรายละเอียดมาเรียบเรียง และ Relevant ที่เน้นความตรงประเด็นและมีความแหลมคม

- ตามที่ Dr. Marshall Goldsmith กล่าวไว้ว่า ความสำเร็จในวันนี้ จะต้องนำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ขึ้นต่อไป

- Concept ของหลักสูตรนี้

  1. Innovation (n.) ซึ่งเป็นคนละตัวกับ Innovation management (v.) ที่เป็นปฏิกิริยาหรือกิริยาที่ทำให้เกิด Innovation
  2. ทุนมนุษย์ ซึ่งเป็น innovation ที่เกี่ยวกับคน ดั่งที่ Steve Jobs เข้าใจหลักการ Know to use people

    Innovation & human capital จึงเป็นเรื่องเดียวกัน โดย human capital เน้นเรื่องคนในความหลากหลาย เช่น ในบริษัท Google, Microsoft, Apple, Facebook ดังนั้นเราต้องมีมุมมองในความหลากหลาย ต้องยอมรับความแตกต่าง ซึ่ง Donald Trump เน้นแต่เรื่องการรวย, ภรรยาสวย และอำนาจทางการเมือง แต่คิดไม่เป็น

    Human Capital จะนำไปสู่ Social Capital (Social Networking) คือ คนเราต้องรู้จักวิธีการจัดการ การสร้างความสัมพันธ์ใน Network ของเรา เพื่อทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและคนรอบข้าง

    Networking ที่ยิ่งใหญ่ คือ Networking ที่ไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับเรา

    Networking ที่ต้องมี คือ ภาคธุรกิจ, ภาคชุมชน, ภาคข้าราชการ, ภาควิชาการ  และ International

    </li></ol>

    หนังสือที่ให้อ่านคือ “On innovation” ให้เวลา 3 อาทิตย์ การวิจารณ์หนังสือ

    1. หาคนที่เก่งภาษาอังกฤษก่อน
    2. Present แก่นให้ได้ 3 ประเด็น
    3. ระหว่างหาแก่น พยายามเชื่อมโยงว่ามีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับ Innovation management, innovative, Human capital
    4. อ่านแล้วต้องแบ่งปันกับเพื่อนในกลุ่ม มีส่วนร่วมด้วยกัน ไม่มี free rider 

      คะแนน 30% มาจากหนังสือ 4 เล่ม, ทรัพย์สินทางปัญญาคือการอ่านหนังสือ

    5. ระหว่างที่อ่านต้องให้เชื่อมโยงกับ Basic Chira เพื่อเชื่อมโยงไปสู่ความเกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์ เนื่องจากนักศึกษา 80% เป็นคนทำงาน ทางเราจึงไม่เน้น statistic มากนัก

      การทำวิทยานิพนธ์ถือเป็นการลงทุนครั้งยิ่งใหญ่ของเรา

    6. อ่านแล้วไปกระทบกับตัวเราอย่างไร ต้องรู้ตัวเองก่อน ว่าฉันได้อะไรจากการเรียน หรือการอ่านครั้งนี้จะนำไปทำอะไรต่อได้บ้าง การกระทบจะเริ่มจากตัวเอง แล้วไปสู่องค์กร
    7. </ol>
    • ข้อแนะนำจากอาจารย์ช่วงนักศึกษาแนะนำตัว
    • - การมาเรียนสิ่งที่จำเป็นคือต้องจบ วิชาต้องไปกับคน ต้องเขียนวิทยานิพนธ์เพื่อความเป็นเลิศ

    • - นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง บอกว่า วิทยาศาตร์ ต้องมาพร้อมกับสังคมศาสตร์

    • - Human Capital ต้องมีหลักการของ ปัญญา + จริยธรรม + Innovation
    • - หนังสือเล่มที่ 2 ที่อาจารย์จะให้อ่านเป็นเรื่อง Leadership
    • - จุดแข็งของอาจารย์ คือ ให้นักศึกษาศรัทธาและศึกษาเอง
    • </ul>

      ด้านความประทับใจ

      • - ประทับใจหลักสูตรนี้ที่มาเรียน ที่สามารถเชิญอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถระดับประเทศให้มาสอนได้
      • - ประทับใจอาจารย์จีระและทีมงานที่มีความมุ่งมั่นในการถ่ายทอดความรู้เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเปลียนแปลง พัฒนาตนเอง
      • - ประทับใจผู้ร่วมเรียนในห้องที่มีความหลากหลายทั้งด้านความรู้ ความสามารถ อาชีพ และประสบการณ์ที่น่าสนใจ รวมทั้งได้เห็นความมุ่งมั่นในการมาเรียนในครั้งนี้ของแต่ละท่านแล้ว ถือว่าตนเองโชคดีมากที่ได้เรียนห้องนี้

         

      • </ul>

        ต้องกราบขออภัยอาจารย์ที่ส่งการบ้านล่าช้าด้วยครับ

        สมรัฐ  กมลเวคิน (เปี๊ยก)

        รหัสนักศึกษา 60484945013

        นักศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการจัดการ รุ่นที่ 15

        E-mail : [email protected]

        Tel : 081-854-2489

เรียน ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอนำส่งสรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนในวันที่ 20 สิงหาคม ดังต่อไปนี้

PHD 8205 การจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคม

  • 1)Innovation

Innovative Management การบริหารจัดการทั้งหมดให้ไปสู่การบริหารจัดกาเชิงนวัตกรรม

ทุนมนุษย์ ไม่ได้มาจากอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีเช่น ไอโฟน แต่มาจาก “คน”

ในอนาคต Innovation กับ Human Capital จะสำคัญมาก ตัวอย่างเช่น Microsoft, Google เน้นเรื่องของคนทั้งนั้น การมีมุมมองที่หลากหลายเป็นเรื่องสำคัญ

Social Capital คือการมีเครือข่ายหรือ Networking รู้จักวิธีการจัดการกับเครือข่ายและสร้างความสัมพันธ์กับคนที่เป็นเครือข่ายของเรา ทุกระดับ ได้แก่

  • ครอบครัว
  • สถาบันการศึกษาระดับต่างๆ
  • ความสัมพันธ์กับเครือข่ายที่ไกลตัวออกไป เช่น ภาคเอกชน และระดับต่างประเทศ

หลักสูตรนี้ จะมีการสอบ 2 ครั้ง ครั้งแรกในสัปดาห์ที่ 4 เป็นเรื่องเบสิค ได้แก่ Innovation, Innovative Management, Social Capital (ทุนมนุษย์) โดยจะมีนักธุรกิจมาบรรยายให้ฟัง แต่นักศึกษาต้องเข้าใจ Chira way อย่างแม่นยำก่อน โดยต้องอ่านหนังสือ On Innovation และวิเคราะห์ เป็นกลุ่ม

หลักการวิเคราะห์หนังสือ

  1. อ่านและสรุปแก่นออกมา 3 ประเด็น
  2. เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ Innovation, Innovative Management และ Social Capital อย่างไร
  3. อ่านแล้วให้แบ่งปันกับเพื่อนในกลุ่ม โดยทุกคนในกลุ่มต้องมีส่วนร่วม
  4. อ่านแล้ว คิดว่า เนื้อหาจะไปเกี่ยวข้องกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ของตัวเองอย่างไร
  5. อ่านแล้ว มีผลกระทบอะไรกับตัวเรา ค้นหาตัวเองว่าเราอยู่ตรงไปน มีผลอะไรกับตัวเรา องค์กร ธุรกิจของเรา มีมุมมองอะไรที่ไปเสริมประเด็นของเรา ให้บทเรียนอะไรกับเรา และมีประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างไร กระทบอะไรกับโลกภายนอก (โลกาภิวัตน์) และกลับมาวิเคราะห์ว่า สามารถสร้างทุนมนุษย์และนวัตกรรมได้อย่างไร

 

ทฤษฎี 2 R ของ ดร.จีระ คือ

REALITY = จะทำอะไรต้องคิดถึงความจริง

RELEVANCE= ตรงประเด็น และแหลมคม ต้องเข้าใจว่าจะไปจบตรงไหน จะได้ไม่เปะปะหลงทาง

 

การมีทุนมนุษย์ หลักสำคัญเราต้องยอมเสียหรือลงทุนก่อน ถ้าจะมีทุนจากครอบครัวมาแต่เราก็ต้องยอมลงทุนเพื่อจะได้ นวัตกรรม (Innovation)

Innovation คือ การคิดใหม่ ทำใหม่

Innovation คือ การปรับปรุงของเดิม มาทำเป็นสิ่งใหม่ที่มีประโยชน์ เช่น กังหันชัยพัฒนา

Innovation ต้องสร้างคุณค่า ใน 3 ด้าน คือ

1) สร้างคุณค่าในเชิงธุรกิจ

2) สร้างคุณค่าในเชิงสังคม

3) 1+2

 

แรงบันดาลใจเป็นสิ่งสำคัญ อาจารย์ต้องการให้การเรียนเป็นไปตามระบบ Eco System หรือ นิเวศน์วิทยา ซึ่งหมายถึงการนำความหลากหลายของผู้เรียนที่มาจากต่างสาขา ต่างสถาบัน ต่างอาชีพ มารวมกัน นำความแตกต่างหลากหลายมาเป็นพลัง

 

Innovation ตามหลักของ Stamford เริ่มจาก

Imagination (จินตนาการ)

Turn Imagination to Creativity เปลี่ยน จินตนาการเป็น ความคิดสร้างสรรค์

Turn Creativity into Action และ ออกมาเป็น Product หรือ Service หรือ Social Innovation

อาทิ Social Innovation ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต คือ การจัดการกับชุมชน

 

จากการแนะนำตัวของแต่ละท่าน อาจารย์จีระ จึงสรุปว่า นักศึกษาหลักสูตร PHD รุ่นที่ 15 นี้ จะเน้นไปในทาง “Entrepreneurship” หรือ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่

 ความประทับใจ

1. ประทับใจที่ได้มีโอกาสเป็นลูกศิษย์ ท่านอาจารย์ ดร.จีระ ซึ่งเป็นบุคลากรผู้ทรงคุณวุฒิและมีความ active มากๆ ทำให้รู้สึกว่า คุณค่าของมนุษย์ในช่วงชีวิตหนึ่งสามารถเพ่ิ่ิมเติมได้ตลอดเวลาแม้เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน หากสมองยังคงได้ลับคมอยู่เสมอ ก็ยังเป็นประโยชน์ต่อตัวเอง สังคม และประเทศชาติ และโลกได้

2. ประทับใจผู้ร่วมชั้นเรียน ที่มีความกระตือรือร้น แบ่งปัน ช่วยเหลือกัน 

3. ประทับใจ อาจารย์ผู้ดูแลทุกท่าน ที่ช่วยให้ความช่วยเหลือ และให้กำลังใจตั้งแต่วันแรก :)


                                                                                                            สรุป โดย พรปวีณ์ กุลมา

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ความประทับใจจากการเรียนในวันที่ 20 สิงหาคม โดย ทัชยา รักษาสุข

  1. ประทับใจอาจารย์ผู้สอนที่มีความมุ่งมั่น ต้องการถ่ายทอดความรู้ของท่าน สู่คนรุ่นหลังที่เป็นลูกศิษย์และประชาชนทั่วไปในรูปการสอนหนังสือ การปะทะทางปัญญา ทั้งที่ท่านสูงวัย แต่ท่านยังมีความกระตือรือร้น มีความเมตตา ใส่ใจ นำเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาใช้เป็นเครื่องมือ ประกอบการสอน สร้างให้ลูกศิษย์ มีการพัฒนาตัวเอง  เป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดเรื่องการปฏิบัติตน ทำให้ลูกศิษย์ เกิดแรงบันดาลใจที่จะมุ่งมั่นตามแนวการสอนของอาจารย์จีระ ซึ่งเมื่อลูกศิษย์มีความลุ่มหลงใน Chira way ก็จะมีจุดหมายในการเรียนที่ชัดเจน
  2. การแนะนำตัวของอาจารย์และลูกศิษย์ เป็นช่องทางการสร้างเครือข่ายและทำให้เรียนรู้ ทุนมนุษย์ในแต่ละท่าน ทำให้สามารถหยิบทุนแต่ละท่านมาใช้ได้ทันทีและในอนาคต เช่น การแบ่งกลุ่มเรียนในห้องจะคละนักศึกษาที่มีความสามารถแตกต่างกันอยู่ด้วยกัน
  3. อาจารย์คัดสรร หนังสือที่เหมาะสมในการเรียนเรื่องทุนมนุษย์ คือ On Innovation เพื่อลดระยะเวลาในการค้นหาหนังสืออ่านและให้แบ่งกลุ่มวิเคราะห์วิจารณ์หนังสือ เพื่อให้มีการปะทะทางปัญญา
  4.  อาจารย์ สร้างแรงบันดาลใจ และสร้างแนวทางให้นักศึกษาเรียนจบ ปริญญาเอกในเวลาไม่เกิน 3 ปี
  5. เห็นความใส่ใจของอาจารย์ ผู้สอนทุกๆ ท่าน ที่ช่วยเหลือ ดูแลตลอดการเรียนการสอนในวันที่ 20 สิงหาคม

บันทึกครั้งที่ 1 / วันที่ 28 สิงหาคม 2560

1. คำสำคัญ 

        1. Learning Eco System   => การรวมเอาเทคโนโลยี หรือทรัพยากรที่มีอยู่รวมเช้าด้วยกัน เพื่อช่วยเหลือกันในการ  เรียนรู้การเรียนโดยเอาความหลากหลายมารวมกันมาเป็นพลัง)

       2. Complexity to Simplicity   => การทำให้การซับซ้อนกลายเป็นความเรียบง่าย Ethical Thinking

       3. การเรียนรู้ต้องคำนึงถึง Purpose / Objective / Advantage ต่อประเทศ สังคมของเรา

       4. Concept การเรียนของเราคือ

                 - Innovation    

                 - Innovation Management

                 - Innovation Organization 

                 - Human Capital      

                 - Social Capital  

                 การสร้างเครือข่าย และความสัมพันธ์กับสังคม ไม่เพียงแค่ สังคมภาคธุรกิจ ภาคชุมชน ภาคราชการ ภาควิชาการ และ International ทุกอย่างต้องไปพร้อมๆ กันต้องมีความสัมพันธ์กับสังคมให้มาก

         5. ท่านอาจารย์แนะนำให้ศึกษา Chira Way / 8K’s  + 5K’s  / ทุนทางจริยธรรม  / ภาวะผู้นำ โดยเน้นเป็นพิเศษในการศึกษา

         6. อ่านหนังสือนี้แล้วแล้วมาทบทวนค้นหาตัวเราให้เจอว่าตัวเราชอบอะไรต้องการอะไรทุกอย่างที่จะต้องทำให้นำมาใช้ในชีวิตเราได้นั้นละคือตัวเราแล้วจะประสบผลสำเร็จ และตัวเราอยู่ตรงไหน มุมมองอย่างไรประเด็นของเราอย่างไร     องค์กรเราอยู่ตรงไหน มีประโยชน์อย่างไร สิ่งเหล้านี้จะทำให้เราประสบผลสำเร็จได้

        7. Imagination  =>  Creativity => Action  => Innovation  

        8. Social Innovation  เกิดไอเดียใหม่ๆ แต่ไม่จำเป็นต้องเป็น Engineering หรือ Product เสมอไป

        9. หนังสือที่ต้องอ่าน  1) ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้   2) 8K’s +5K’s  3) พลังแห่งคุณธรรม (เล่มสีดำ  => เล่มสี

เขียว) อ่านแล้วต้องอ่านให้เข้าใจและต้องอ่านให้รู้จริงพร้อมสรุปเป็นประเด็นสำคัญให้ได้

       10. ทฤษฎีการเรียนรู้ ของ ท่าน อ.จีระ เป็นทฤษฎีคนไทย ในรูปแบบไทย ทุนมนุษย์ Huamn Captital คนเป็นทรัพย์สินต้องเอาไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์และเกิดผลสำเร็จและเอาไปพัฒนาต้องนำคนกลับมาใช้เป็นทุน

 นายวิชา ขันคำ

นักศึกษาปริญญาเอก รุ่น 15


บทวิเคราะห์

ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

HR.Champions

โดย แจ่มจันทร์ คล้ายวงษ์ นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 15 ดังนี้

 

เนื้อหาประเด็นสำคัญของหนังสือ เป็นการรวบรวมความรู้และประสบการณ์ของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ 2 คน คือ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งหนังสือเล่มนี้ผ่านการเรียบเรียงและจัดทำเป็นหนังสือโดย ปวันท์วีย์

1)ชื่อเรื่องของหนังสือที่อ่าน มีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ในมุมมองของศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ มี 2 ระบบ คือ "พันธุ์แท้ที่พัฒนา" กับ "พันธุ์แท้ที่ไม่พัฒนา" ซึ่งท่านมองว่า ของแท้จะต้องอยู่คงทน มีความคิดใหม่ๆ อยู่เรื่อย (Imaginative) และมีลักษณะของคนหลายความคิด ถ้าเปรียบกับสินค้า ก็จะเป็นสินค้าที่มีนวัตกรรม (Innovation) อยู่ตลอดเวลา จึงเป็นพันธุ์แท้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้น คำว่า "พันธ์ุแท้" ในมุมมองของอาจารย์ทั้งสองท่านจึงหมายถึงการไม่หยุดที่จะพัฒนานั่นเอง ที่สำคัญ ทรัพยากรมนุษย์ คือ มูลค่าเพิ่มในระยะยาว ไม่ใช่ต้นทุนเพียงอย่างเดียว เพราะสังคมจะอยู่ได้ต้องลงทุนในคน

สังคมไม่ได้ต้องการเพียงแค่ผู้ใหญ่ที่เก่งและดีเท่านั้น แค่ยังต้องการผู้ใหญ่ที่อบอุ่นด้วย หากสังคมมีผู้ใหญ่ที่ให้กำลังใจเด็ก เด็กจะโตเร็ว คนไม่ได้ต้องการค่าตอบแทนที่เป็นเงินทองเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย

 

2)บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ ที่ประทับใจ มีอะไรบ้าง

ความรู้ที่ได้รับและนำไปประยุกต์ใช้ได้

ความรู้ที่ได้รับ ได้แก่

เก่ง 4 ด้าน คือ

เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งเรียน

ดี 4 ด้าน คือ

ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม

 

8K's ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนแห่งความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทาง IT (ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี) ทุนทางความรู้ ทักษะ และจิตใจ

 

5K's ได้แก่ ความรู้ ความสร้างสรรค์ นวัตกรรม วัฒนธรรม อารมณ์

 

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเยาวชนไทยให้มีคุณสมบัติ 3 ประการ ได้แก่

1. ความคล่องแคล่วในการใช้ภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

2. เทคโนโลยี

3. คุณธรรม

 

เพื่อสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและก้าวไปสู่การเป็นพลเมืองโลก

 

ประทับใจที่สุดคือ ปรัชญาที่ว่าด้วยการศึกษา คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ไม่จำกัดแต่เฉพาะที่โรงเรียน และถึงจะอายุมากน้อยแคไหน ก็ไม่มีความจำกัดในการเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ได้ทั้งทุกเพศและทุกวัย

 

จากความรู้ที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในการจัดระบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในการที่จะวางแผนพัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร ที่สำคัญคือองค์กรต้องเห็นว่าพนักงานเป็นต้นทุนที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเพิ่มมูลค่าใให้กับองค์กรได้ ยิ่งพนักงานยิ่งมีความเก่งและดี มากขึ้นเท่าไหร่ องค์กรก็ย่อมมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นเป็นลำดับ แต่องค์กรต้องมีเทคนิควิธีที่จะสร้างความยึดมั่นผูกพันให้กับพนักงาน เพื่อให้พนักงานรู้สึกมีความสุขที่ได้ทำงานกับองค์กร และมีความรักในองค์กรเปรียบเสมือนบ้านหลังที่สอง ที่มีความรักความอบอุ่น เพียงเช่นนี้ เราก็สามารถที่จะรักษาพนักงานที่มีคุณค่าไว้ได้ตลอดไป

 

 

แจ่มจันทร์  คล้ายวงษ์

นักศึกษาปริญญาเอก  หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขานวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา รุ่นที่ 15

Email: [email protected]

Tel.089-9224842

                   บทวิเคราะห์หนังสือ

               “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ : HR Champion”

รายวิชา : PHD 8205 Management of Human and Social Capital

อาจารย์ผู้สอน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ 

  1. ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มที่อ่านมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

         ชื่อเรื่อง “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ : HR Champion” เป็นเเนวทางการทำงานที่มุ่งมั่นเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และตำราเล่มนี้สามารถนำไปเป็นประยุกต์ใช้ในสังคมและองค์กรของตัวเองได้

  2.บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ที่ประทับใจมีอะไรบ้าง เพราะอะไร

    กรอบแนวคิด 4 ประเด็นหลัก

   1.ปรัชญาหรือแนวคิด(Concept)ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

      แนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญกว่าทรัพยากรอื่นๆ  มีบทบาทในการพัฒนาองค์กร ทำให้ผมได้รับความรู้มาพัฒนาบุคลากร ดึงเอาความรู้ความสามารถของบุคคลนั้นๆ มาทำให้เกิดประโยชน์กับองค์กรของผมมากขึ้น  ทฤษฎี 8K’s + 5K’s สามารถนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้

- 8K's ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนแห่งความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทาง IT (ข้อมูลข่าวสาร    และเทคโนโลยี) ทุนทางความรู้ ทักษะ และจิตใจ

-5K's ได้แก่ ความรู้ ความสร้างสรรค์ นวัตกรรม วัฒนธรรม อารมณ์  

   2.เป้าหมายของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

     ให้บุคลากรได้เติบโตและพัฒนาไปพร้อมกับองค์กร องค์กรจะเติบโตได้ต้องสร้างคนให้เป็นคนเก่งและคนดี           ดังเช่น เก่ง 4(เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งเรียน)  ดี 4 (ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม)

   3.วิธีที่จะทำให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ประสบผลสำเร็จ

     สร้างแรงจูงใจในการทำงาน โดยการจัดกิจกรรมให้มีส่วนร่วมในองค์กร การได้ทำงานเป็นทีม ประเมินบุคลากรด้วยความโปรงใส ได้รับรางวัลเพื่อเป็นกำลังใจในการทำงาน  และกล่าวชื่นชมในการทำงานสำเร็จ (มหัศจรรย์แรงจูงใจ) 

    4.ปัจจัยที่ทำให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย

       -ปัจจัยที่ 1 คุณภาพของคน(คัดเลือกคนเข้าทำงาน จากความสามารถ และตรงตามคุณสมบัติขององค์กร)

       -ปัจจัยที่ 2 ผู้บริหารระดับสูง(ต้องลงมือทำเป็นแบบอย่างให้บุคลากรทุกระดับได้เห็น และให้โอกาสบุคลากรทุกคนอย่างเท่าเทียมกันในทางปฎิบัติงาน)

      -ปัจจัยที่ 3 ทัศนคติของฝ่ายจัดการ(ทักษะในเชิงปฏิบัติการ,ทักษะในเชิงแนวคิด)

      -ปัจจัยที่ 4 การปลูกฝังให้พนักงานการพัฒนาตนเอง            
ลักษณะของทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ มี 2 ระบบคือ

พันธุ์แท้ที่พัฒนา กับ พันธุ์แท้ที่ไม่พัฒนา   คำว่าพันธุ์แท้ คือ มีความคิดริเริ่มใหม่ๆอยู่เรื่อย มีการพัฒนาตนเองไม่หยุด

   3. จุดอ่อนของหนังสือนี้ คืออะไร ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

     เป็นหนังสือที่เข้าใจยากสำหรับคนที่ไม่มีประสบการณ์ทำงาน ทำให้ไม่สามารถเห็นภาพในมุมมองของผู้เขียนหนังสือได้พยายามสื่อให้เห็นแนวคิดต่างๆและวิธีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ประสบผลสำเร็จ


ว่าที่ ร.ต.กฤษกร สุขสมโสตร์ (กู๋)

นักศึกษาปริญญาเอก สาขา นวัตกรรมการจัดการ รุ่นที่ 15

 


  • บทวิเคราะห์ 
  • ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  HR.Champions
    รายวิชา : PHD 8205 Management of Human and Social Capital
    อาจารย์ผู้สอน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ 

    เป็นการรวบรวมความรู้และประสบการณ์ของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ 2 ท่าน
    คือ พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

  • 1)ชื่อเรื่องของหนังสือที่อ่าน มีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

·             ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  ชื่อเรื่อง ได้ระบุเจาะจงให้ทราบถึง กูรูด้าน HR ทั้ง ๒ ท่าน ซึ่งได้ สะสม ประสบการณ์ตรง ด้านการให้ความสำคัญด้านพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ โดยกลั่นจากประสบการณ์ที่ มุ่งพัฒนาบุคลากร ของชาติ มาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน หลายสิบปี  โดยเน้นถึง “ คนสมบัติทีมีค่าที่สุดขององค์กร “  คุณภาพของคน กับ การเพิ่มผลผลิต ล้วนเป็นความสัมพันธ์ที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ  “โลกได้เปลี่ยนไปแล้ว ...” หากผู้บริหารในหน่วยงานของรัฐได้ อ่านหนังสือเล่มนี้ บ้าง ก็จะตระหนัก ถึง การให้ความสำคัญที่จะพัฒนาบุคลากร ในองค์กร เพื่อเพิ่ม ผลผลิต ทักษะความชำนาญในงาน  เพื่อรองรับ การเปลี่ยนแปลง ในยุค ๔.๐ HR Champions  ไม่ใช่ แค่เป็นการพัฒนาบุคลากร  แต่ สะท้อนถึง สังคมไทย ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในกระบวนการที่ถูกทิศทาง   เอส เอ็มอี ไทย ต้องอ่านหนังสือ เล่มนี้ เพื่อเน้นพัฒนา บุคลาการเพื่อรองรับ วิกฤตใหม่ๆ ต่างๆ ในทุกๆ ด้าน ที่จะเข้ามาถึง อย่างแน่นอน ใน เร็วๆ นี้ เพราะโลกได้เปลี่ยนไปแล้ว  หนังสือเล่มนี้ จะช่วยให้สังคมไทย ยกระดับความตระหนักถึงการให้ความสำคัญของทุนมนุษย์ (ประชากรไทย ที่พัฒนาช้ามาก) เมื่อเปรียบเทียบ กับ มาเลเซียและสิงคโปร

บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ที่ประทับใจมีอะไรบ้าง เพราะอะไร
ประการแรก แนวคิด จากทั้ง ๒ ปรมาจารย์ ด้าน HR  
ปัจจัยด้านคุณภาพ ของคน   
ปัจจัยผู้บริหารระดับสูงของบริษัท  
ปัจจัย ด้านทัศนคติของฝ่ายจัดการ  
ปัจจัย ด้านการปลูกฝังให้พนักงานพัฒนาตนเอง

กรอบความคิดด้านพัฒนาบุคลากร ๔ ประการดังนี้
๑ แนวคิดของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
๒ เป้าหมายของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

๓ วิธีการในการพัฒนาHR ให้ประสบความสำเร็จ
๔ ปัจจัยต่างๆ ที่จะนำมาให้การพัฒนาให้สำเร็จ

การเน้นเรื่อง General Training and Specific Training

โกลบอล ซิดติเซ่น  การเรียนรู้ด้านภาษาไทย ภาษาอังกฤษและ เทคโนโลยี่ 

แนวคิดในคำตอบ เรื่องรี เอ็นจิเนียริ่ง จาก ดร.แฮมเม่อร์ ในท้ายเล่ม

เป็นประโยชน์ที่ ผมสามารถ นำไป ประยุกต์ใช้ ได้ ใน งานอาชีพ ครับ 


จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้ คืออะไร ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

 เป็นหนังสือที่ให้รายละเอียดดีมากครับ


สินสวัสดิ์ รุ่งเรืองธนาพร
น.ศ.  ป.เอก รุ่น  ๑๕

Email : [email protected]

Tel 0859199696

นายวิชา ขันคำ นักศึกษาปริญญาเอก รุ่น 15

บทวิเคราะห์

หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “HR.CHAMPIONS” 

               หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้และประสบการณ์ของนกบริหารทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้  2 คน คือ พารณ อิศรเสนา ณอยธยา และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งหนังสือเล่มนี้ผ่านการเรียบเรียงและจัดทำเป็นหนังสือโดย ประเด็นที่นาส่นใจของหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย 12 บท แบ่งออกเป็น 4 ส่วน

               บทที่ 1 กล่าวถึงประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารคน ของพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดามรมภ์ ซึ่งบทแรกได้กล่าวถึงความเป็นมาและกิจกรรมเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ที่ชักนำให้ทั้ง 2 คนมาพบกันซึ่งขณะนั้น ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ แม้จะต่างวันต่างที่มาแต่ทั้งสองก็ได้มาพบกันและทำงานด้านนี้ร่วมกันมายายนาน

               บทที่ 2 กล่าวถึงประสบการณ์ของพารณ อิศรเสนา ณ อยุทธยา อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซีเมนต์ไทยมหาชน บุคคลผู้นี้ได้สร้างคุณูปการไว้ในแวดวงการบริหารทรัพยากรมนุษย์มากมาย ทั้งภาคเอกชนภาครัฐ และแวดวงการศึกษา สำหรับบุคลิกของ พรรณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เข้าเป็นนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ทำงานเป็นระบบ และใช้หัวใจในการบริหารคน ลักษณะ “Common man has no common sense” หรือบุคคลธรรมดาที่ไม่ธรรมดาแต่สามารถรับรู้และสัมผัสถึงจิตใจของผู้อื่นได้ โดยเฉพาะประสบการณ์การบริหารคนที่ได้หล่อหลอมให้เขาเป็นคนใจเย็น พูดน้อย มีวามอดทนสูง มีความเป็นกันเองกับลูกน้อง และรับฟังผู้อื่น หรือการใช้นโยบายที่เข้าและผู้บริหารคนอื่นๆ และรับฟังลูกน้องได้พบปะหารือได้ตลอดเวลา เนื่องจากเขามองว่าคนในองค์กรเปรียบเสมือนอิฐแต่ละก้อนที่ทำงานเชื่อมโยงประสานกัน “อิฐแต่ละก้อนแทบจะไม่มีความหมายอะไรเลย หากไม่ถูกนำมาฉาบด้วยซีเมนต์เชื่อมผนึกระหว่างก้อนต่อก้อนเข้าด้วยกันนอกจากนี้ เขาตระหนักเสมอว่า องค์กรจะดีเพราะมีคนเก่งและดีองค์กรจะแย่เพราะมีคนไม่เก่งและคนไม่ดี ที่สำคัญ ในมุมมองของเขา ทรัพยากรมนูษย์ คือ มูลค่าเพิ่มในระยะไม่ใช่ต้นทุนเพียวอย่างเดียวเพราะสังคมจะอยู่ได้ต้องลงทุนในเรื่องคน

            บทที่ 3 กล่าวถึงประสบการณ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ (คนแรก) ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และดำรงตำแหน่งเรื่อยมา รวม 4 สมัย นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศล่าสุดเขาเป็นหนึ่งในร้อยคนที่ได้รับการคัดเลือกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้ได้รับรองวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่น ประจำปี  2550 ภาพรวมบุคลิกของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ หลายคนมีความเห็นตรงกันว่า ยามที่เขาขึ้นเวทีประลองสมองครั้งใด แทบไม่ต่างจากนักแรลลี่มือฉมังที่ไม่ยอมประนีประนอมภูมิรู้ให้กับใคร แต่ยามลงจากเวที อยู่ท่ามกลางลูกน้อง เขาจะเป็นผู้ใหญ่ใจดีมีเมตตา และพร้อมจะให้อภัยทุกคนเสมอ ที่สำคัญคำว่า   “ขอโทษ” ไม่ใช่คำที่ยากเย็นสำหรับเขาซึ่งพร้อมที่จะพูดกับลูกน้องเสมอ

         บทที่ 4-8 กล่าวถึงเทคนิค และวิธีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของทั้งสองคน เริ่มต้นจาก พารณ อศราเสนา ณ อยุธยา เขามีเทคนิคในการบริหารคนมากมาย เข่น ทุกครั้งที่เขาไปพบพนักงานก็จะนำเรื่องราวไปเล่นให้พนักงานฟังอย่างน้อย 1 เรื่องเสมอ ทั้งนี้เทคนิคที่เขาปฏิบัติ มาโดยตลอด คือ เก่ง 4 ดี 4 ซึ่งเขาได้พยายามปลูกฝังให้ลูกน้องมีลักษณะนี้ด้วยการทำให้ดูเป็นตัวอย่างก่อนเสมอ นอกจากนี้เขายังมีทุนแห่งความสุขและความสมดุล  (Happiness Capital) อยู่ในตัว ดังที่ ยุพา บัวธรา กล่าวว่า พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นคนที่มีความอดทนสูงและเป็นคนมีความสุข สอดคล้องกับคำพระที่ว่า “คนที่มีความสุข คือ คนที่อดทนคนอื่นได้เก่ง”

          ทางด้าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ดังที่กล่าวแล้วว่าเขาเป็นนักบริหารที่ไม่เน้นเรื่องมีเงินแล้วทำเขาจะคิดงานก่อนแล้วค่อยหาเงินมาสนับสนนภายหลัง โดยจะเน้นที่เป้าหมายและคุณภาพการทำงานมากกว่าคำนึงถึงเรื่องต้นทุน ด้านหลักคิดที่ว่านักบริหารที่ดีอาจไม่จำเป็นต้องยึดกฏระเบียบ หากกฏระเบียบดังกล่าวทำลายการก้าวไปสู้เป้าหมาย ดังนั้น เขาจึงเริ่มต้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการสร้างกระแสให้เห็นว่าคนทีความสำคัญเท่าๆ กับเงินและวัตถุ โดยเน้นที่ ทฤษฏี 8K's  5K's 4L's เสริมด้ายทฤษฏี3 ต. คือ การลงมือทำอย่าง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง กระทั้งกระแสทรัพยากรมนุษย์ที่เขาได้ผลักดันมาโดยตลอด ส่งผลให้มีการบรรจุเรื่องทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจังไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 กระทั่งให้ความสำคัญเรื่อยมาจนถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับปัจจุบัน สอดคล้องกับคำกล่าวของสุชาญ โกศิน ที่ว่า ศ.ดร.จีระ เป็นคนมีวิสัยทัศน์ โดยเฉพาะองค์ความรู้ทฤษฏี 3 วงกลม ของเขาซึ่งถือว่าเป็นสูตรรับมือกับการเปลี่ยนแปลง  (Change Management) ได้เป็นอย่างดี

            และที่สำคัญ ลักษณะของทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ในมุมมองของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มี 2 ระบบ คือ “พันธุ์แท้ที่พัฒนา” กับ “พันธุ์แท้ที่ไม่พัฒนา” ซึ่งเขามองว่าของเท้จะต้องอยู่คงทน มีความคิดริเริ่มใหม่ๆ อยู่เรื่อย (Imaginative) และมีลักษณะของคนหลายความคิด ถ้าเปรียบกับสินค้าก็จะเป็นสินค้ามีนวัตกรรม (Innovation) อยู่ตลอดเวลา จึงจะเป็นพันธุ์แท้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้น คำว่า “พันธุ์แท้” มุมมองของเขาจึงหมายถึงการไม่หยุดที่จะพัฒนานั้นเอง และช่วงปลายศตวรรษที่ 20 และต้นศตวรรษที่ 21 เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิดจากภาคเกษตรสู่ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการซึ่งจะต้องเปลี่ยนจากแรงงานไร้ฝีมือมาเป็นแรงงานที่มีฝีมือและมีความรู้ (Knowledge Workers) มากขึ้น ซึ่งเขามองว่าแรงงาน คือ กลุ่มที่เสียเปรียบ แต่การช่วยผู้เสียเปรียบต้องไม่ให้ระบบเศรษฐกิจส่วนรวมต้องเสียไป สิ่งที่ผู้บริหารต้องคำนึงเป็นอันดับต้นๆ

     บทที่ 9 เนื้อหากล่าวถึงการสานสร้างพลเมืองโลก (Global Citizen) ดังที่กล่าวข้างต้นว่าพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา มักจะบอกกับผู้อื่นเสมอว่าเขาไม่ใช่ปราชญ์เขาเป็นผู้เรียนรู้ที่ดี (good learner) ซึ่งเขาเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่าเด็กไทยคืมสมบัติอันมีค่ามากที่สุดของประเทศ ในการมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเยาวชนไทยให้มีคุณสมบัติ 3 ประการ 1.ความคล่องแคล่วในการใช้ภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 2. เทคโนโลยี 3.คุณธรรม ขณะที่ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ให้ความสำคัญกับการศึกษามากเช่นกัน เขามองว่าการศึกษามีส่วนสำคัญในการสร้างความเป็นทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ให้เกิดขึ้น เขาจึงมุ่งมั่นกับการเรียนรู้ที่ไม่ยึดติดรูปแบบซึ่งเขามอง่าการได้เรียในสถานศึกษาที่ดี ทำให้ได้พบควเก่งและทดสอบความสามารถของตัวเอง

สรุป

       จากที่กล่าวมา สรุปได้ว่า ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ในรูปแบบของพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในทางปฏิบัติการทำงานกับคนนั้นมิได้มีกฏเกณฑ์ที่ตายตัว เนื่องจากการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น องค์กร นโยบาย สภาพแวดล้อม เวลา เพื่อนร่วมงานผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา ตลอดจนวัฒนธรรมองค์กร เป็นต้น และนอกจากนี้ในบรรดาการบริหารทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ บริหารตน บริหารคน และบริหารงาน นับว่าการบริหารคนเป็นเรื่องยากที่สุด ซึ่งทั้งพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ล้วนต้องอาศัยการสั่งสมประสบการณ์จึงจะมาเป็นทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ในวันนี้ส่วนแนวคิดทฤษฏีและเทคนิควิธีการ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” เล่มนี้ นอกจากจะมีองค์ประกอบดังกล่าวแล้ว ยังได้มีการรวบรวมประสบการณ์อันมีค่าของทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ทั้งสองคนมารวมไว้ด้วยกัน

นายวิชา ขันคำ นักศึกษาปริญญาเอก รุ่น 15

 

 

บทวิเคราะห์หนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ : HR Champion”

รายวิชา : PHD 8205 Management of Human and Social Capital

ผู้สอน : Prof. Chira Hongladarom, Ph.D

บทที่ 1 ทางชีวิตสองแชมป์ - กล่าวถึงเส้นทางการดำเนินชีวิตของ อ. จิระและ อ. พารณ ที่มีความเชื่อในเรื่องการพัฒนาคนที่เหมือน ๆ กันได้ว่าไม่เชื่อเรื่องความคิดเก่าๆ ที่ว่า คนเป็นเพียงต้นทุนการผลิต แต่ทั้งสองท่านั้นเชื่อว่าคนคือผลกำไรที่แท้จริงขององกร หากได้รับการพัฒนาและดูแลเอาใจใส่อย่างต่อเนื่อง

บทที่ 2 คนที่จะพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จนั้นไม่ใช่ต้องการแค่ความเก่งแต่ต้องมีความดีอยู่ด้วย คนที่มีแต่ความเก่งเพียงอย่างเดียวนั้นอาจจะโกงหรือพาองค์กรเข้ารกเข้าพง เพราะใช้ความเก่งไปในทางที่ไม่ถูก แต่คนดีอย่างเดียวก็ไม่สามารถนำองค์กรไปสู่ในระดับที่แข่งขันได้ โดยแบ่งเก่งเป็น 4 แบบ คือ เก่งงาน, เก่งคน, เก่งคิด และเก่งเรียน และแบ่งดีออกเป็น 4 อย่างคือ ประพฤติดีมีน้ำใจไฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม คนเก่ง นั้นประเมินโดยดูจาก capability แต่คนดีนั้นดูจาก acceptability เพื่อเสริมสร้าง acceptability เครือปูนใช้ระบบการ coaching & mentoring โดยใช้ระบบความสัมพันธ์แบบพี่น้องเพื่อทำให้เกิดความอบอุ่นใจในการทำงาน และพักงานสามารถคุมพฤติกรรมกันเองผ่าน social force เมื่อ พนง. ออกนอกลู่นอกทาง เพราะคนทำงานไม่ได้ต้องการผลต่างตอบแทนที่เป็นเงินอย่างเดียวต้องมีผลต่างตอบแทนทางใจด้วยและทำให้ turn over ของเครือปูนต่ำ การทำงานมีมิตรภาพและ team work ทำให้องค์กรคาดหวังผลเลิศจากการทำงานได้ และมีการพูดถึงการทำงาน ลักษณะ hands-on คือเอาจริงเอาจัง กัดไม่ปล่อย และทำจนจบหวังผลระยะยาว ไม่หายไปตามเวลา 

บทที่ 3กล่าวถึง ทฤษฎี 3 วงกลมเพื่อใช้ในการรับมือ การเปลี่ยนแปลง change management วงกลมที่ 1 context คือการจัดองค์กรให้มีความเหมาะสมในการทำงานเช่น การทำงานแบบ process การใช้ระบบ IT เข้ามาทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น วงกลมที่ 2 คือ competency คือความสามารถ มี 5 เรื่อง คือ 1. functional competency ทักษะสำคัญเช่นงานวิศวะกร 2. Organizational competency พวกงานระบบเช่น 6 sigma, TQM, Re-engineering, 3. Leadership competency การมรวิสัยทัศน์ (Leadership) การจัดการคน (People skill) การสร้างศรัทธา (Trust)4. Entrepreneurial competency การมีความริเริ่ม ความคิดเชิงบริหาร การเผชิญหน้าความล้มเหลว และการจัดการความเสี่ยง 5. Macro & Global competency มีความรู้รอบตัว มองภาพใหญ่เห็นอนาคตกับสิ่งที่มากระทบตัวเราทั้งในระดับปนะเทศและระดับโลก  แสวงหาโอกาส การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง และวงกลมที่ 3 motivation คือการสร้างแรงจูงใจให้คนอยากทำงานกับเราแบบเต็มใจ  

บทที่ 4 การเพราะปลูกสำคัญก็จริงแต่การเก็บเกี่ยวนั้นสำคัญกว่า 1. การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์นั้นต้องเป็นการลงทุนระยะยาวไม่ใช่ระยะสั้นแบบที่หลายที่ในประเทศไทยนิยมทำกัน 2. การลงทุนทรัพยากรมนุษย์นั้นต้องมีการสร้าแรงจูงใจที่ทำให้ พนง. พึงพอใจที่จะเรียนรู้และนำความรู้มาพัฒนาองกร 4ประเด็นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 1. แนวคิดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2. เป้าหมายในการพัฒนา 3. วิธีการที่ทำให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ประสบความสำเร็จ 4. ปัจจัยที่จะทำให้การพัฒนานั้นประสบความสำเร็จ  ทรัพยากรมนุษย์ที่มี IQ, EQ, AQ, TQ และ MQ สูงการเพิ่ม productivity สูงนั้นจะเป็นผลลัพธ์ที่ตามมา

บทที่ 5 คนถือเป็น asset ที่มีค่าสูงสุดในองค์กร ทฤษฎี 8k's และ 5k's ใหม่ ประกอบด้วย 1. Human capital 2. Intellectual capital 3. Ethical capital 4. Happiness capital 5. Social capital 6. sustainable capital 7. Digital capital 8. talented capital และ 1. creativity capital 2. Knowledge capital 3. Innovation capital 4. Emotional capital 5 cultural capital ทุนทางปัญญานั้นหมายถึงการความสามารถคิดวิเคาระห์ และการนำข้อมูลไปสร้างมูลค่าเพิ่ม - 4ปัจจัยที่จำเป็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 1. คุณภาพคน หน่วยคัดคนนั้นต้องมีอิสระในการคัดคนดีและเก่งปราศจากเด็กเส้น 2. ผบห. ระดับสูงของบริษัท ต้องเห็นความสำคัญด้วยกันในการมาร่วมพัฒนาไม่แบ่งแยก 3. ทัศนคติของฝ่ายจัดการ ผบห. ต้องรับรู้ร่วมกันว่าการพัฒนาทรัพยากรบุคคลนั้นไม่ใช่ค่าใช้จ่ายแต่เป็นการลงทุนระยะยาว ที่แบ่งออกเป็น 3 ทักษะ 1. ทักษะเชิงปฎิบัติการ 2. ทักษะเชิงแนวคิด 3. ทักษะ บุคลิกภาพและการทำงานร่วมกับผู้อื่น และปัจจัยที่ 4 .คือการปลูกฝังให้ พนง. พัฒนาตนเอง 

บทที่ 6 ยุทธศาสตร์ การพัฒนาบุคคล แบ่งได้เป็น 7 แนว 1. องค์กรและผู้นำต้องเน้นปรัชญาบริหารโดยเน้นคนเป็นสำคัญ 2. ต้องมีวิสัยทัศน์ วางแผนคนให้สอดคล้องกับแผนในอนาคต 10 ปีรึมากกว่า 3. สร้างองค์กรให้เป็น learning organization 4. เพิ่ม productivity ผ่านระบบการสร้างแรงจูงใจที่ดี 5. พิจารณาว่าจะมีการนำ Communication & information technology มาใช้หรือไม่ 6.เพิ่มคุณภาพชีวิต ทั้งทางกายและจิตใจ 7. สร้างบุคคลากรให้เข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ เช่นทักษะภาษา การวิจัย R&D ทักษะการใช้ IT ตัวอย่างการฝึกอบรมของเครือปูน 1. พัฒนาความรู้ด้านบริการธุรกิจ 2. พัฒนาด้านการเพิ่มผลผลิต 3. ให้ทุนการศึกษาต่างประเทศ 4. กำหนดวันให้ พนง.เข้ารับการฝึกอบรมสม่ำเสมอ 5. กำหนดทิศทางในการส่งเสริมและพัฒนาคน

บทที่ 7. loyalty คือการป้องกันทรัพย์สินทางปัญญา 1. ความจงรกภักดีเป็นสิ่งที่ต้องสร้างขึ้นมา 2. ความจงรกภักดีต้องใช้เวลาในการสร้าง 3. ผู้ทีบทบาทในการสร้างความจงรักภักดี ต้องเข้าใจในคุณค่ามนุษย์เสียก่อน

บทที่8 กลยุทธ์ค่าจ้าง (Compensation strategy) คนเก่งไม่ได้ต้องการแค่ค่าจ้างแต่ต้องได้ทำงานที่ท้าทายด้วย, เราไม่สารมารถวัดคนจาก performance ได้เพียงอย่างเดียวเพราะมันจะเกิดช่องว่างกับคนไม่เก่งและทำให้คนเก่งกระทบกระทั่งกันเอง ซึ่งไม่เหมาะกับคนไทย ต้องมี Sensibility แรงจูงใจด้านบวก (Incentive) คือผลตอบแทนการทำงานที่เหมาะสมและ โอกาสการทำงานที่เหมาะสม แรงจูงใจด้านลย (Disincentive)  บรรยากาศการทำงานไม่ดีทะเลาะเบาะแว้งกัน ระบบอุปถัมภ์ การเล่นการเมือง

บทที่ 9 การสร้าง global citizen มี3 คุณสมบัติ 1. ความรู้ด้สนภาษา 2. เทคโนโลยี 3. คุณธรรม การเรียนรู้แบบ  Learner Centered Learning Technology integrated คือ 1.ครูและศิษย์ มีบทบาทเป็นปัจเจกชนเท่ากันคือเรียนรู้ไปด้วยกัน 2. ให้คุณค่าความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก 3. ให้เด็กมีการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับโลกาภิวัฒน์ ทำให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข และประสบความสำเร็จและมีคุณธรรม 

บทที่ 10  การเรียนรู้แบบ Constructionism 1. เริ่มจากสิ่งที่เด็กๆ สนใจ 2. ครูจะบูรณาการวิชา 3. ครูและเด็กวางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน 4. เรียนรู้ด้วยการลงมือทำจริง 5. สรุปความรู้และบันทึกผลงาน 6. จัดทำนิทรรศการผลงานจากการเรียนรู้ 7. วิเคาระห์และประเมินผลแบบ 360องศา 8. ต่อยอดองค์ความรู้


นันทพล จรรโลงศิริชัย


วิจารณ์หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ โดย พรปวีณ์ กุลมา

  1. ชื่อเรื่องของหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้มีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร
  2. บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับสร้างความประทับใจอะไร และเพราะอะไร
  3. จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้

ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้มีความสำคัญต่อสังคมในแง่ที่สร้างความตระหนักให้คนในสังคมหันมามองตัวเองว่า เราเป็นทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้หรือยัง ก่อนที่จะได้อ่านหนังสือเล่มนี้ คำว่าทรัพยากรมนุษย์ ในความเข้าใจของตนเอง คือ พนักงานในบริษัทฯ หรือชื่อแผนกบุคคลที่ใช้ศัพท์ให้สูงขึ้นเพราะขึ้น แค่นั้น แต่พอได้เห็นชื่อหนังสือเล่มนี้ก็เกิดคำถามว่าพันธุ์แท้คืออะไร เมื่อได้อ่าน ก็มีความเข้าใจมากขึ้นและประเมินตัวเองแล้วพบว่า เรายังขาดอีกหลายข้อที่จะเป็นพันธุ์แท้ เชื่อว่าหนังสือเล่มนี้ เป็นประโยชน์อย่างมากในการพัฒนาทรัยยากรมนุษย์และสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้นำองค์กรทั้งหลายหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่สังคมที่เข้มแข็งด้วยคนเก่ง มีพลังความคิดดี มีคุณธรรม ตั้งแต่สังคมในระดับครอบครัว องค์กร ประเทศชาติ

  • ประทับใจในเทคนิคและวิธีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของ คุณพารณ อิศรเสนา ที่ว่าจะทำตัวเองเป็นตัวอย่างก่อนเสมอและเปิดประตูรับความคิดเห็นของลูกน้องเสมอ นอกจากนั้น เทคนิคเก่ง 4 ดี 4  คือ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งเรียน และ ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม ก็เป็นเทคนิคที่มีความหมายสมบูรณ์ จดจำนำไปใช้ได้ง่าย
  • นอกจากนั้น ยังประทับใจที่มีการกล่าวถึงคุณพารณว่า เป็นคนที่มีความอดทนและมีความสุข เพราะคนที่มีความสุขคือคนที่อดทนกับคนอื่นได้เก่ง ตรงนี้ สำหรับตัวเองแล้วต้องฝึกฝนอีกมาก เพราะมักจะมีปัญหาทนกับคนอื่นไม่ค่อยเก่งเลยไม่มีความสุข ได้คำตอบจากการอ่านประโยคนี้อย่างชัดเจนที่สุด
  • สำหรับเทคนิคและวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลของ ศ.ดร.จีระ ก็เป็นเทคนิคที่จดจำง่ายและนำไปใช้ได้ดีมากคือ 8 K’s + 5 K’s และ 3 ต ทำอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง
  • ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ต้องอยู่คงทน มีความคิดริเริ่มใหม่ๆ อยู่เสมอ ถ้าเป็นสินค้า ก็ต้องเป็นสินค้าที่มีนวัตกรรมตลอดเวลา ดังนั้น หากต้องการเป็นพันธุ์แท้ ต้องไม่หยุดพัฒนา
  • เด็กไทยต้องพัฒนาเป็นพลเมืองโลก (Global Citizen)
  • ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคของคุณพารณหรือ ศ.ดร.จีระ ก็ล้วนแต่เน้นความมีคุณธรรมเสมอ อ่านแล้วจึงประทับใจ

คือ ต้องคล่องแคล่วในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

     ตามเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้ทัน

     มีคุณธรรม

ที่จะกล่าว คงไม่ใช่จุดอ่อน แต่เป็นข้อเสนอแนะ เนื่องจากเป็นการพิมพ์ครั้งที่ 5 เมื่อปี 2553 หากมีการพิมพ์ใหม่ เชื่อว่า จะมีเนื้อหาใหม่ๆ เกี่ยวกับประสบการณ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของ ศ.ดร.จีระ ซึ่งท่านยังคงทำงานและไม่หยุดพัฒนา ย่อมมีเรื่องราวใหม่ๆ มาแลกเปลี่ยน

และอย่างเช่น เรื่องของเด็กไทยที่ต้องพัฒนาเรื่องภาษา คิดว่าในปัจจุบัน นอกจากภาษาอังกฤษแล้ว เด็กไทยต้องสามารถใช้ภาษาที่สามได้อีก 

นางสาววันดี พลรักษ์ (ตุ๊ก)

บทวิเคราะห์ 8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

  1. ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มที่อ่าน มีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน มีความสำคัญต่อสังคมคือ จะเป็นแนวทางให้แก่การพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ ในทุกๆภาคส่วนของสังคมไทย

ทฤษฎีทุน 8 ประการ (8K’s) เป็นพื้นฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วยทุนพื้นฐาน ดังต่อไปนี้

1) Human Capital 2) Intellectual Capital 3) Ethical Capital 4) Happiness Capital

5) Social Capital 6) Sustainability Capital 7) Digital Capital 8) Talented Capital

 

ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ (5K’s new) ทรัพยากรมนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์ ต้องตระหนักถึงทุนสำคัญเพิ่มขึ้น

อีก 5 เรื่อง ประกอบด้วย

1) Knowledge Capital 2) Creativity Capital 3) Innovation Capital

4) Cultural Capital 5) Emotional Capital

 

  1. บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ ที่ประทับใจ มีอะไรบ้าง เพราะอะไร

บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับคือ แนวคิดในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ มี  3 ทฤษฎีที่สำคัญ ดังนี้

  • 1)ทฤษฎี 4L’s เพื่อการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้
  • 2)ทฤษฎี 2R’s คือ มองความจริง (Reality) และมองสิ่งที่ตรงกับความต้องการ (Relevance)
  • 3)ทฤษฎี 2I’s เพื่อการเรียนรู้และสร้างพลังในการทำงาน ประกอบด้วย

L ที่ 1 – Learning Methodology คือ มีวิธีการเรียนรู้ที่น่าสนใจ

L ที่ 2 – Learning Environment คือ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้

L ที่ 3 – Learning Opportunities คือ สร้างโอกาสการเรียนรู้

L ที่ 4 – Learning Communities คือ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

 

Inspiration แรงบันดาลใจ  , Imagination จินตนาการ

และยังได้ทฤษฎีเพื่อการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

- ทฤษฎี C&E เพื่อการเรียนรู้และการทำงานยุคใหม่ ประกอบด้วย

Connecting การติดต่อ/เชื่อมต่อกัน , Engaging การมีส่วนร่วม

- ทฤษฎี HRDS เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข ประกอบด้วย

Happiness คือ การสร้างความสุขเพื่อส่วนรวม

Respect คือ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน

Dignity คือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน

Sustainability คือ ความยั่งยืนซึ่ง เป้าหมายระยะยาว

  • -ทฤษฎี 3L’s เพื่อการทำงานยุคใหม่ คือ

Learning from pain คือ การเรียนรู้จากความเจ็บปวด

Learning from experience คือ การเรียนรู้จากประสบการณ์

Learning from listening คือ การเรียนรู้จากการฟัง

สรุปมุมมองเรื่องทุนมนุษย์ของ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

เน้น HR Architecture – มองเรื่อง HR ทั้งในระดับ Macro และ Micro

ทฤษฎีทุนมนุษย์ 8K’s และ 5K’s (ใหม่)

ทฤษฎี 3 วงกลม เพื่อการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ทฤษฎี HRDS

ทฤษฎีเพื่อสร้างวัฒนธรรมและสังคมการเรียนรู้ 4L’s, 2R’s, 2I’s

ความสำเร็จของงาน HR มาจาก CEO+Smart HR+Non-HR

HR Execution

  1. จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้ คืออะไร ให้ข้อเสนอแนะ เพื่อการพัฒนา

จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้ คือ มีเนื้อหาค่อนข้างซ้ำกันในหลายบท เหมือนการอ่านซ้ำไปซ้ำมาเรื่องเดิมๆ

และอยากให้อธิบาย เกี่ยวกับ HR Architecture ให้มากกว่านี้ สำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานด้าน HR

ให้เข้าใจง่ายขึ้น

 

 

นางสาววันดี พลรักษ์ (ตุ๊ก)

นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 15

Ph.D. Innovative Management

Email: [email protected]

 

Book Review 8K's+5K's ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน โดย ดร จีระ หงส์ลดารมภ์

รุ่งนภา ภัทรธีรานนท์ นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่15 คณะนวัตกรรม

ชื่อเรื่องของหนังสือมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร: ท่ามกลางกระแสของการเปลี่ยนแปลง โลกาภิวัตน์ ประชาคมอาเซียน AEC และอื่น ๆ สังคมไทย สังคมโลกกําลังตกอยู่ในภาวะของความเสี่ยงต่าง ๆ (Risks) และวิกฤต (Crisis) การอยู่รอด และสามารถ แข่งขันได้ จึงเป็นความท้าทายของคนในสังคมอย่างมิอาจหลีกเลี่ยง และยิ่งไปกว่านั้น คือ การอยู่รอดได้อย่างดี แข่งขันได้ และสามารถพัฒนาให้เติบโตอย่างยั่งยืน คือ เหตุผลสําคัญ ของการเรียนรู้และพัฒนา “ทุนแห่งความยั่งยืน”

ความประทับใจ: ทุนแห่งความยั่งยืน หรือ “Sustainable Capital” คือ ทุนจาก การกระทําในระยะสั้นแต่อยู่รอดในระยะยาว ซึ่งทุนแห่งความยั่งยืนเป็นพฤติกรรมของคน ฉะนั้นจึงเป็นส่วนหนึ่งของทุนมนุษย์ และถ้าสําเร็จอาจจะไปสู่ความยั่งยืน ซึ่งเป็นเป้าหมาย ของการทํางาน ทุนแห่งความยั่งยืนจึงเป็นวิธีการ (Mean) ไปสู่เป้าหมาย (End) 

ทุนแห่งความยั่งยืน หรือ “Sustainable Capital” เป็นสิ่งที่สําคัญต่อคุณภาพ ของทุนมนุษย์ (Human Capital) ดังน้ัน เมื่อพิจารณาแนวคิดทฤษฎีทุน 8 ประการท่ีเป็น พื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ (8K’s) ทุนแห่งความยั่งยืนจึงเป็นทุนหนึ่งที่มีความสําคัญมาก 

8 K’s คือ ทฤษฎีทุน 8 ประเภทนื้ เป็นพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ ทุนมนุษย์ (Human Capital) ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ทุนทางสังคม (Social Capital) ทุนแห่งความยั่งยืน ( Sustainability Capital) ทุนทาง IT (Digital Capital) ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Talented Capital)

5 K’s (ใหม่) คือ ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาคุณภาพของ ทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ ทุนแห่งการสร้างสรรค์ (Creativity Capital) ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital) ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) ทุนแห่งความยั่งยืน คือ พฤติกรรมของมนุษย์ท่ีสามารถฝึกได้และปรับได้ และ มองตรงไปท่ีอนาคตว่าทําวันนี้แล้วจะไปสู่ความสําเร็จในระยะยาวหรือไม่

ข้อเสนอแนะ: ทุนแห่งความยั่งยืนจะเน้นการพัฒนาท่ียั่งยืนโดยเน้นเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการดูแลทรัพยากรของโลก ให้อยู่เพื่อคนรุ่นหลังได้มีโอกาสได้ใช้ต่อไป การสร้างคนเก่งให้เป็นคนดีนั้นเป็นเรื่องที่ยาก ที่ผ่านมาประเทศไทยผิดพลาดในเรื่องการสร้างคน เพราะเราสามารถสร้างคนเก่งแต่ไม่ค่อยดีจนนำไปสู่ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นและอีกหลาหลายปัญหา ฉะนั้นการสร้างคนจึงควรเริ่มมาจากสร้างคนให้เป็นคนดีมีภูมิต้านทาน เมื่อต้องเผชิญกับความโลภ ความเห็นแก่ตัวของคนในสังคม ความดีก็จะทำหน้าที่ต้านทานสิ่งเหล่านี้ ส่วนความเก่งความสามารถก็จะพัฒนาชาติบ้านเมืองให้สามารถยืนหยัดแข่งขันโลกอนาคตได้

การบ้าน#2 (3กย60) ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ โดย รุ่งนภา ภัทรธีรานนท์ นักศึกษาปริญญาเอก คณะนวัตกรรม

  1. วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งของ HR Architecture อย่างละเอียด อย่างละ 3 เรื่อง (1.1) ปัจจุบันสังคมไทยมีจุดอ่อนมากมายที่เกิดจากการที่ทุนมนุนย์ของประเทศไทยให้ความสำคัญกับเรื่องระยะสั้นเท่านั้น โดยที่ไม่มองการอยู่รอดในระยะยาวและความยั่งยืน หน่วยงานต่างๆของประเทศไทยที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทุนมนุษย์ขาดการทำงานแบบบูรณาการ ต่างคนต่างทำ ซำ้ซ้อน ไม่ได้เน้นที่คุณภาพเท่าที่ควร เกิดปัญหาที่สำคัญมาก คือ คุณภาพของบัณฑิตที่จบมาในวันนี้ ไม่ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน และขาดแคลนแรงงานในบางธุรกิจ บางสาขา หรือคุณภาพของแรงงานมีมาตรฐานไม่เพียงพอ จุดแข็งของ HR Architectureใช้เป็นแนวทางของภาพรวมในการพัฒนาทรัพยากรมนุนย์ ซึ่งนำมาปรับใช้ได้ทั้งในภาพใหญ่ (Macro) คือ ระดับประเทศ สังคม ชุมชน และในระดับองค์กร (Micro) (1.2) ปัญหาใหญ่ของสังคมไทยยังมีค่านิยมว่าคนรุ่นใหม่ต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป คนส่วนใหญ่จึงไม่ชอบเรียนและทำงานในสายอาชีวศึกษาซึ่งจริงๆแล้วมีความต้องการมากมายในตลาดแรงงาน แต่ขาดแคลน คนที่จบสายอาชีวะมาแล้วก็ตะเกียกตะกายเพื่อให้จบปริญญาตรีซึ่งเป็นค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง ฉะนั้นการสร้าง 'มาตรฐานวิชาชีพ' น่าจะช่วยยกระดับของทุนมนุษย์ในสายวิชาชีพได้มาก (1.3) จุดอ่อนของประเทศไทยคือเรื่องการศึกษา คนส่วนใหญ่เรียนเพื่อได้ปริญญา ไม่ได้เน้นปัญญา บัณฑิตส่วนใหญ่คิดเองไม่เป็น ได้แต่ copy จุดอ่อนที่สำคัญที่สุดของสังคมไทยคือคนไทยไม่ใฝ่รู้ หลายคนอาจมองว่าเป็นปัญหาที่ไม่สำคัญ แต่จริงๆแล้วอาจจะเป็นปัญหาที่สำคัญมากที่สุด เพราะนี่คือสิ่งที่ประเทศไทยของเราเสียเปรียบประเทศอื่นๆในอาเซียน สิ่งที่ควรจะเป็นในอนาคต คือ การทำให้ระบบการศึกษาของไทย สอนให้คนคิดเป็น จะเป็นการสร้างทุนทางปัญญาให้กับคนไทย 
  2. จะทำ HR Architecture มาเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ PhD ได้อย่างไร ยกตัวอย่าง การจะนำพาประเทศไทยสู่ยุค Thailand 4.0 จึงต้องเน้นเรื่อง Sustainability, Wisdom, Creativity, Innovation และ Intellectual Capital การสร้างเครือข่ายของปัญญา Networking of Intelligence หรือ Intellectual Network โดยเฉพาะในประเทศอาเซียน ที่สำคัญที่สุด คือต้องมีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมที่หลากหลาย และสามารถบริหารความแตกต่างทางวัฒนธรรมให้ได้ เพราะปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญ ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน การลงมือทำและเอาชนะอุปสรรคหรือ Execution มี Technology อย่างเดียวไม่พอ ต้องเน้นไปสู่การสร้างคุณค่าใหม่ๆให้เกิดความสำเร็จ
  3. จะนำเอา HR Architecture มาเป็นรูปแบบระดับ Micro ได้อย่างไร การ"ปลูก" จึงควรเริ่มตั้งแต่แรกเกิด เริ่มต้นที่ครอบครัว โรงเรียน มหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษา ช่วงอายุ 22-60 ปี เป็นช่วง "Lifelong Learning" ถ้าเราปลูกได้ดีเราก็จะได้คุณภาพของทุนมนุษย์ที่พร้อมจะรองรับ Digital System คือ "8K's + 5K's" แต่ที่สำคัญต้อง 8K's มาก่อน โดยเฉพาะต้องปลูกฝัง "ทุนทางคุณธรรมจริยธรรม" เป็นพื้นฐาน เพราะ Digital Economy ที่ขาดทุนทางคุณธรรม จริยธรรม อาจจะทำให้เกิด Corruption แบบ Digital ซึ่งสร้างปัญหามากมาย และเมื่อมี 8K's แล้วต้องพัฒนาต่อยอดให้มีอีก 5 ทุนที่สำคัญในยุค Thailand 4.0 แต่ในการบริหารทุนมนุนย์ต้อง "สร้างแรงจูงใจ" โดยเฉพาะต้องเน้นให้ตรงกับการดำรงชีวิตในยุค Digital และการสร้างแรงจูงใจที่เป็น "สิ่งที่มองไม่เห็น" หรือ "Intangibles" การพยายามเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไทยให้ใฝ่รู้ ให้ชอบการเรียนรู้ ให้กระหายความรู้ ทุกคน ทุกครอบครัว และทุกองค์กรสามารถช่วยกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้ขยายวงกว้างออกไป

วิจารณ์หนังสือ 8K’s 5 K’s ทุนมนุษย์ของคนไทย รองรับประชาคมอาเซียน เขียนโดย ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์   

ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มที่อ่านมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

สำหรับประเทศไทย ดร.จีระเห็นว่าควรนำแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบ TWIN มาใช้เป็นโครงสร้างในการพัฒนามนุษย์คือ การแข่งขันต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาที่ยั่งยืน เกิดเป็น “ทุนแห่งความสมดุลและยั่งยืน” พร้อมทั้งกระตุ้นให้นักวิชาการและนักธุรกิจไทยได้รู้จัก APEC HRD มากขึ้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีทำให้สังคมไทย โดยเฉพาะรัฐบาลเห็นคุณค่าของการลงทุนเรื่อง “คน” อย่างจริงจัง ต้องกำหนดยุทธศาสตร์และขับเคลื่อนเรื่องทุนมนุษย์ไม่ว่าจะเพื่อธุรกิจหรือเพื่อศักยภาพทางการแข่งขันของประเทศชาติ ต้องทำด้วยหัวใจและจิตวิญญาณ เพื่อก้าวสู่โลกาภิวัตน์-การเปิดเสรีอาเซียน-ประเทศไทย-และการสร้างศักยภาพการแข่งขันด้วยคุณภาพของทุนมนุษย์

บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ที่ประทับใจมีอะไรบ้าง เพราะอะไร

       คำว่า “Re-investing”  มันทำให้เราไม่หยุดการเรียนรู้ ไม่หยุดการพัฒนา
       เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้ว สามารถนำความรู้ที่ได้จากการอ่าน 12 แนวคิดและทฤษฎีพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน มาปรับใช้ได้จริง 

1.ศึกษา เข้าใจ  เกี่ยวกับการเปิดเสรีอาเซียนหรือ “ประชาคมเศรฐกิจอาเซียน (AEC) ศึกษาเกี่ยวกับโลกาภิวัฒน์และผลกระทบต่อสังคมไทย มองวิเคราะห์ (SWOT): โอกาส-ความเสี่ยง-จุดแข็ง-จุดอ่อนของสังคมไทย ค้นหาให้เจอ 

2. สำรวจตัวเอง วางแผนสู่การปรับใช้ เป็นการสร้างโอกาสในการขยายตลาด เนื่องจากการเพิ่มประชากรหรือผู้บริโภคจาก 66 ล้านคนเป็น 590 ล้านคนและถ้ามองอาเซียน+6 ก็มีผู้บริโภคเพิ่มหลายพันล้านคน วางแผนรับมือกับปัญหาให้สอดคล้องกับธุรกิจขององค์กร 

3.ลงมือทำ HR Architecture พัฒนาแนวธุรกิจที่ทำอยู่ โดยมองในเชิง Macro ว่ามีผลกระทบต่ออย่างไรในระดับภูมิภาคอาเซียน แล้วค่อยมองในเชิง Micro ว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลกระทบต่อธุรกิจของเราอย่างไร เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันใน และทำให้ธุรกิจขององค์กรสามารถดำรงอยู่รอดได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป

4.เอาชนะอุปสรรค – ทำให้สำเร็จ โดยประยุกต์ใช้ Chira Wayแนวคิด 8K’s 5K’s กับการก้าวเข้าสู่เวทีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC 

นำทฤษฎี 8K’s ของดร.จีระมาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาจุดอ่อนของสังคมไทย เพื่อสร้างคุณภาพของคนในองค์กรโดยการฝึกอบรม ให้การศึกษาซึ่งเป็นการสร้างทุนมนุษย์ (Human Capital) เป็นการมองอนาคต ซึ่งนำไปสู่ทุนปัญญา ทุนปัญญา(Intellectual Capital) ปัญญามาจาการเรียนรู้ การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยนำ “ทฤษฎี 4L’s”  มาประยุกต์ใช้ ซึ่งประกอบด้วย -Learning Methodology คือการเรียนรู้ที่ทันสมัย เน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและมัลติมีเดียส์ -Learning Environment  คือสร้างบรรยากาศการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม -Learning Opportunities  คือสร้างโอกาสเพิ่มมูลค่าให้แก่กัน สร้างเครือข่ายและหุ้นส่วนทาง -Learning Communities  คือสร้างชุมชนการเรียนรู้ในรูปแบบ Digital Community หรือการใช้ Social Medias ต่างๆ

ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม (Ethical Capital ) เพื่อให้ธุรกิจของค์กรสามารถอยู่รอดในโลกของการแข่งขันและความไม่แน่นอนโดยเฉพาะการก้าวเข้าสู่อาเซียนเสรีนอกจากจะให้คนมีความรู้ ทักษะและปัญญาแล้ว นักธุรกิจต้องปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ในองค์กรควบคู่ไปด้วยเพื่อสร้างจิตสำนึกให้เป็นคนในองค์กรนั้นต้องเป็นคนดี
ทุนทางความสุข (Happiness Capital)  ต้องทำงานด้วยใจรัก ทำงานโดยไม่รู้สึกเบื่อหรือเหน็ดเหนื่อย ทฤษฎี HRDS เพื่อบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพและทำงานอย่างมีความสุข ประกอบด้วย -Happiness คือการสร้างความสุขเพื่อส่วนรวม -Respect คือ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน -Dignity คือการยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน              -Sustainability คือความยั่งยืน (เป้าหมายระยะยาว)
ทุนทางสังคม (Social Capital)  ต้องสร้างเครือข่าย (Networks) ทุนทางเครือข่ายเป็นต้นทุนที่ต่ำมาก คือไม่ต้องลงทุนทางตรง แต่ลงทุนทางอ้อม โดยการสร้าง Co working space ให้ลูกค้าที่หลากหลายอาชีพ มาเจอกัน และสามารถเชื่อโยงให้เข้ากันได้ แลกเปลี่ยนข้อมูลการค้าซึ่งกันและกัน เป็นการเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจ เป็นการต่อยอดธุรกิจในอีกรูปแบบหนึ่ง องค์กรต้องมีวิสัยทัศน์ที่มองไปถึงอนาคตที่ทำให้อยู่รอดได้อย่างยั่งยืนในระยะยาวเป็นคุณสมบัติของ ทุนทางความยั่งยืน(Sustainable Capital) 

ในยุคของดิจิตัล (Digital) ที่ข้อมูลข่าวสารแบบไร้พรมแดนต้องพัฒนาคนขององค์กรให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะต้องมีความรู้ความสามารถที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดการพัฒนาในด้านต่างๆ นั่นคือทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital Capital) ส่วนทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Talented Capital) นั้นคือคนในองค์กรนอกจากจะมีความรู้ดี ต้องเน้นเรื่อง IT กับ ภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ,จีน ,เวียดนามเป็นต้น ทักษะต้องเยี่ยม มีทัศนคติพร้อมต่อการทำงานในเชิงรุกและรับ มีทัศนคติในเชิงบวก พร้อมที่จะพัฒนาตัวเองตลอดเวลา 

แนวคิดทฤษฏี 5K’s (ใหม่) ทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี  

-ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Capital)  สามารถนำ  “ทฤษฎี 2i’s มาประยุกต์ใช้ คือ  Inspiration หมายถึง การเรียนรู้ที่จุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดพลังเพิ่มเกิดการพัฒนา และ  Imagination หมายถึงการเรียนรู้ซึ่งสามารถสร้างจินตนาการนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ๆ(Innovation Capital)   

-ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital)  ที่ดีควรอยู่บนหลัก  “ทฤษฎี 2R’s” นั่นคือ การเรียนรู้ต้องเรียนเรื่องจริงที่เกิดขึ้น (Reality) และต้องเชื่อมโยงได้กับเรา (Relevance) ซึ่งจะนำไปสู่ 3 V’s  คุณค่าร่วม (Value Creation) มูลค่าเพิ่ม (Value Added) และValue Diversity มูลค่าเพิ่มจากความหลากหลายและความเฉลียวฉลาด หรือ Wisdom ได้ 

- ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) การสร้างหรือพัฒนาอาศัย “ทฤษฎี 3C” คือ  Customers วิเคราะห์ลูกค้าทั้งภายในและภายนอก  องค์กรต้องพร้อมที่จะบริหารการเปลี่ยนแปลง Change Management เพื่อให้สามารถลดการควบคุม สั่งการ แต่เพิ่มให้ทุกคนมีส่วนร่วมและทำงานเป็นทีม Command and Control  -ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital)  องค์กรต้องสามารถบริหารจัดการบนความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดีด้วย โดยเฉพาะความแตกต่างด้านการนับถือศาสนา   

-ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital)  การเป็นผู้มีทุนทางอารมณ์ทำให้เรามีแรงบันดาลใจมีพลังขับเคลื่อนผลงาน ในโลกยุคไร้พรมแดนการมีทุนทางอารมณ์จะช่วยลดปัญหาการขัดแย้ง ช่วยให้เกิดสันติภาพและพัฒนาที่ยั่งยืน 

5. วัดผล เมื่อองค์กรมีการกำหนดแผนยุทธศาตร์ของธุรกิจที่ผ่านการวิเคราะห์(SWOT) มีการกำหนดนโยบายโดยประยุกต์ใช้กับแนวทฤษฎีของ อาจารย์ดร.จีระ แล้ว ขาดเสียมิได้ที่จะต้องมีตัวชี้วัด KPI (Key Performance Indicator) คือ ดัชนีชี้วัดผลงานหรือความสำเร็จของงาน โดยจะแสดงให้เห็นรายละเอียดในความสำเร็จหรือล้มเหลวของงานนั้นๆ

6.  ต่อเนื่อง การพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ซึ่งต้องทำอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง  ถึงจะค่อยๆเห็นผลจากจุดเล็กๆ

จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้ คืออะไร ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

-เนื้อหาอ่านแล้วซ้ำๆกัน การจัดเรียงบทที่อ่านแล้วสับสน   

-อธิบายในบทที่ 10 น้อยมาก ทำให้อ่านแล้วไม่เข้าว่าจะสื่อถึงอะไร   โดยเฉพาะหัวข้อ  HR Architecture (เริ่มจะเข้าใจตอนอาจารย์อธิบายในห้องเรียน)

 

อรุณศรี รัตนธัญญาภรณ์  นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 15 Email : [email protected]

วิเคราะห์หนังสือ 8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

                ชื่อเรื่องของหนังสือมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร –อธิบายถึงการเตรียมความพร้อมทางด้านทุนมนุษย์ที่พึงประสงค์ของประชาคมอาเซียน รวมถึงเครื่องมือและทฤษฎีต่อยอดที่สำคัญในการสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน ทฤษฎีทุนมนุษย์ 8K’s+5K’s(ใหม่) จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างคุณภาพของทุนมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียนในครั้งนี้ และการนำแนวทางทฤษฏีไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จ เป็นแนวทางในการเร่งพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ให้กับประเทศไทย เพื่อพร้อมที่จะอยู่รอดและแข่งขันได้ในทุกๆสถานการณ์

                ความประทับใจ – ความสำเร็จที่เกิดขึ้นของแต่ละคนล้วนไม่ใช่เรื่องบังเอิญ หากแต่ว่ามีรากฐานสำคัญมาจากการพัฒนาและเรียนรู้ในสิ่งต่างๆหลอมรวมสิ่งเหล่านี้แล้วนำมาใช้กับตนเองให้ยืดหยัดต่อสู้กับคลื่นลมแห่งการเปลี่ยนแปลงเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ และอีก 12 แนวคิดและทฤษฎีเพื่อการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประการ เป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ เพื่อการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

Creativity Capital ทุนแห่งการ สร้างสรรค์

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

ทฤษฎี 4 L’s เพื่อการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย

Learning Methodology  วิธีการเรียนรู้

Learning Environment   บรรยากาศการเรียนรู้

Learning Opportunities  โอกาสการเรียนรู้

Learning Communities  ชุมชนแห่งการเรียนรู้

ทฤษฎี 2 R’s เพื่อการมอง วิเคราะห์ปัญหา และการเรียนรู้ ประกอบด้วย

Reality         มองความจริง

Relevance    ตรงประเด็น

ทฤษฎี 2 I’s เพื่อการเรียนรู้และสร้างพลังในการทำงาน ประกอบด้วย

Inspiration   จุดประกาย

Imagination   สร้างจินตนาการ

ทฤษฎี C&E เพื่อการเรียนรู้และการทำงานยุคใหม่ ประกอบด้วย

Connecting   การติดต่อ/เชื่อมต่อกัน

Engaging   การมีส่วนร่วม

ทฤษฎี HRDS เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข ประกอบด้วย

Happiness คือ การสร้างความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่วนรวม

Respect คือ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน

Dignity คือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน

Sustainability คือ ความยั่งยืนซึ่งเราจะมองไปถึงเป้าหมายระยะยาว

ทฤษฎี 3 L’s เพื่อการทำงานยุคใหม่ คือ

Learning from pain

Learning from experience

Learning from listening

ทฤษฎี 3 วงกลม เป็นแนวคิดเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์

ทฤษฎี  3 วงกลม เป็นทฤษฎีที่ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร ซึ่งผู้บริหารหรือผู้นำจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้อง และสามารถระบุภารกิจที่ชัดเจนได้ก่อน  จึงจะนำทฤษฎี 3 วงกลมมาปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                วงกลมที่ 1  พิจารณา Context หรือ บริบท โดยจะพิจารณาจากบริบทภายนอกและภายใน ภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย ฯลฯ  ภายใน ได้แก่ การนำระบบ IT มาใช้ ขั้นตอนการทำงาน หรือ Process วิธีการบริหารจัดการ ฯลฯ

                วงกลมที่ 2   พิจารณา Skills และ Competencies เน้นการพิจารณาทักษะ และศักยภาพที่จำเป็นสำหรับบุคลากรเพื่อพัฒนาให้บุคลากรมีความรู้   ความสามารถ และทักษะ ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

                วงกลมที่ 3  พิจารณา เรื่องการสร้างแรงจูงใจ (Motivation)  นอกจากบุคลากรมีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่ดี  ประกอบกับการมีสถานที่ทำงานที่มีความพร้อมแล้ว  สิ่งหนึ่งที่มีความจำเป็นไม่น้อยกว่า ก็คือบุคลากรจะต้องมีกำลังใจ  มีความพึงพอใจ  มีความตั้งใจและทัศนคติที่ดีในการทำงาน  ฉะนั้น การสร้างแรงจูงใจสำหรับบุคลากรจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง

ทฤษฎี HR Architecture ใช้เป็นแนวทางในการมองภาพรวมของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งในภาพใหญ่ (Macro) คือ ระดับประเทศ สังคม ชุมชน และในระดับองค์กร (Micro)                 

                 จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้ คืออะไร – เนื้อเรื่องของหนังสือไม่ตรงกับสารบัญ บทที่8 สลับหน้า กับบทที่ 10 และ เนื้อหาค่อนข้างอธิบายย้อนไปย้อนมา


ดุจดาว บุนนาค  นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 15

วิเคราะห์หนังสือ 8K's+5K's ทุนมนุษย์ของคนไทย รองรับประชาคมอาเซียน

สันติ เอี่ยมวุฒิปรีชา

ปริญญาเอกราชภัฎสุนันทา รุ่น 15

1. ชื่อเรื่องของหนังสือที่อ่านมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

ชื่อหนังสือตรงกับสถานการณ์จริงปัจจุบัน คือ การเปิดเสรีอาเซียนทั้งภาคสินค้าและ บริการ เป็นทั้งโอกาส และ ภัยคุกคาม

การเปิดเสรีในปี 2558 ทำให้ได้เห็นสิ่งใกล้ตัวที่เกิดขึ้นแล้ว คือ ได้เห็นแรงงานต่างชาติ เข้ามามากขึ้น  สัดส่วนภาคบริการ ต่อ GDP ของไทย ขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 50% และมีแนวโน้มสูงขึ้นหลังการเปิดเสรี ภาคบริการต้องอาศัยความสามารถของคนเป็นหลัก การยกระดับทุนมนุษย์ในภาคบริการจึงมีความสำคัญมาก  การแข่งขันได้ขยายวงไปแล้วเป็น 10 ประเทศ จาก 60 ล้านคนไปเป็น 600 ล้านคนที่มีวัฒนธรรมต่างกัน

หนังสือต้องการสร้างความตระหนักรู้ว่า อาเซียนเสรีเป็นเรื่องใกล้ตัว ควรเตรียมพร้อมเรื่องใดบ้าง ถ้าพร้อม ก็เป็นโอกาส หากไม่พร้อม ก็เป็นความเสี่ยง แนวคิด ทฤษฎี 8K’s และ 5K’s สามารถใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างคุณภาพคนไทยเพื่อรองรับการแข่งขัน  หนังสือมีการประยุกต์ใช้ ทฤษฎี 8K’s และ 5K’s แยกรายตัว ในการวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปิดเสรีอาเซียนในมิติเฉพาะด้านสังคม ตั้งแต่ระดับ จุลภาค จนถึง มหภาค เริ่มจาก ตัวเอง ขยายวงมาสู่ครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคม จนถึงระดับประเทศ ชี้ให้เห็น จุดอ่อนของคนไทย ในด้านต่าง เช่น ความรู้ จริยธรรม ทักษะด้านภาษา เครือข่าย  เป็นต้น

 

2. บทเรียน และ ความรู้ที่ได้จากการอ่าน ที่ประทับใจมีอะไรบ้าง เพราะอะไร

หนังสือสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อ่าน ด้วยการนำเสนอ ประวัติการทำงาน กว่า 35 ปี เพื่อส่วนรวม การแก้ปัญหา และอุปสรรค์ จนประสบความสำเร็จของ อาจารย์จีระ โดยเฉพาะอุปสรรค์ ด้านการเมือง ซึ่งมักเป็นปัญหาของผู้ทำงานในระดับประเทศ 

อาจารย์จีระ ให้ความสำคัญกับครอบครัว ซึ่งเป็น Input หรือ Supply Side ขั้นต้นที่สำคัญของทุนมนุษย์ รองจาก การศึกษา และ โภชนาการ มักจะเน้นย้ำเสมอว่า ครอบครัว เป็นเบ้าหลอมที่จะสร้างให้คุณภาพคนดีหรือไม่อย่างไร

ผลกระทบด้านบวกของการเปิดเสรี คือ มีโอกาสจากประชากรอาเซียน 600 ล้านคน ขณะเดียวกัน หากไม่พร้อม ก็ทำให้ไม่สามารถแข่งขัน เกิดการแย่งงาน โดยอธิบายด้วย แนวคิด 8K’s ซึ่งเป็นทฤษฎีพื้นฐาน และ ต่อยอดด้วย 5K’s ซึ่งสอดคล้องกับยุคสมัยปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับจุดอ่อนของเราคือความคิดสร้างสรรค์ และ นวัตกรรม

หนังสือยังเป็นการไขข้อสงสัยจากหนังสือเล่มแรกที่ได้อ่าน คือ หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

กล่าวคือ เล่มนี้มีการอธิบายความหมายของแต่ละ K ของทฤษฎี 8K’s และ 5K’s อย่างละเอียดเข้าใจง่าย  เสนอแนวทางการประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะทุนตัวหลักที่สำคัญที่สุด ซึ่งเป็นทุนเริ่มต้น คือ Human Capital  มีการกล่าวถึง Professor 

Gary Becker นักเศรษฐศาสตร์ ผู้ริเริ่มใช้วิธีคิดแบบเศรษฐศาสตร์ เชิงปริมาณ มาใช้วิเคราะห์ปัญหาสังคม โดยชี้ให้เห็น

ว่าการศึกษาแบบเป็นทางการ การลงทุนเรื่องโภชนาการ และ การฝึกอบรม เป็นการสร้าง Human Capital  เขาใช้

สมการวัดรายได้ที่แปรตามปีการศึกษา และ โภชนาการ เพื่อทำการพิสูจน์เชิงปริมาณว่า ผู้ที่เรียน 10 ปีจะมีรายได้โดยเฉลี่ยสูงกว่าผู้ที่เรียน 5 ปี   

อาจารย์จีระ เห็นว่า ผู้ที่เรียน 8 ปี เท่ากัน 2 คน อาจมีรายได้ไม่เท่ากัน เพราะมี Human Capital ไม่เท่ากัน ทำให้มีคุณภาพต่างกัน  และ ชี้ให้เห็นว่า Human Capital ที่ได้จากการศึกษา และ โภชนาการ ยังไม่เพียงพอ  ยังมีตัวแปรอื่นๆอีก 7 ตัวที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพมนุษย์ เป็นที่มาของ ทฤษฎี 8K’s

ปัจจุบันการวัดระดับการศึกษาแบบทางการอาจไม่ใช่ตัวชี้วัดเพียงอย่างเดียวแล้ว คนที่เรียนน้อย อาจมีคุณภาพดีกว่าคนเรียนสูงได้ เพราะเราอาจหาความรู้จากวิธีการเรียน และ การศึกษาอย่างไม่เป็นทางการได้จากหลายช่องทาง เช่น จาก internet,  social media ทีวี วิทยุ เป็นต้น

 

การประยุกต์ใช้ 8K’s และ 5K’s’ วิเคราะห์ทุนมนุษย์ของคนไทยกับ AEC

  • Human Capital

คนไทยจบการศึกษาระดับปริญญามีจำนวนไม่น้อย แต่ระบบการศึกษามีปัญหา มุ่งเน้นให้ท่องจำทุกเรื่อง แม้แต่ ภาษาอังกฤษ ทำให้ คุณภาพของทุนมนุษย์ต่ำ ( Quality of Human Capital or Competence or Skill )  ไม่สามารถแข่งขันได้

  • Intellectual Capital

คนไทยไม่น้อยรับรู้เรื่อง AEC แต่ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร คือ ไม่สามารถวิเคราะห์ และ วางแผนอนาคต เพราะการศึกษาแบบทางการ ที่เป็นตัวสร้าง Human Capital สอนให้คิดอยู่ในกรอบ ขาดแรงบันดาลใจ ไร้จินตนาการ ถูกหล่อหลอม ชี้นำด้วยสื่อ Social Media ได้ง่าย สามารถพัฒนาโดย

ทฤษฎี 4L’s จะช่วยสร้างวัฒนธรรม และ สังคมการเรียนรู้ 

ทฤษฎี 2R’s คือการเรียนรู้ในวันนี้ต้องเรียนเรื่องจริงที่เกิดขึ้น ( Reality ) คือ เรากำลังจะเปิด AEC มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา ( Relevance )

ทฤษฎี 2i’s คือเรียนรู้แล้วต้องเกิดแรงบันดาลใจ ( Inspiration ) กระหายความรู้เรื่องที่เราสนใจ เมื่อมีความรู้แล้วจะทำให้เกิดจินตนาการ ( Imagination ) ที่เรียกว่า Think outside the box

      Social Capital ( Networking and Connection ) , Ethical Capital และ Sustainability Capital

การสร้างเครือข่าย สายสัมพันธ์ มีความสำคัญมากต่อความร่วมมือในลักษณะประชาคม เราควร รู้จักบุคคลหลายๆกลุ่ม หลายวงการ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และ ข้อมูล ในประชาคม เพื่อให้เกิด Synergy จะช่วยลดต้นทุนในการหาข้อมูลข่าวสารและ ลดต้นทุนการ เจรจาต่อรองได้   หลักสำคัญขั้นต้นในการสร้างเครือข่าย คือ ต้องสร้างความไว้วางใจระหว่างกันก่อน ( Trust ) การไว้วางใจจะเกิดขึ้นได้ ผู้นั้นควรมีทุนทางจริยธรรม ( Ethical Capital ) ซึ่งต้องได้รับการปลูกฝังตั้งแต่ระดับ ครอบครัว โรงเรียน สถานศึกษา การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ระดับองค์กร เป็นแนวทางที่ดี เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เน้นเรื่อง คุณธรรม จริยธรรม ทำธุรกิจกับใครจะไม่โกง สำหรับญี่ปุ่น จะเห็นว่าเมื่อเขาไว้ใจใครแล้ว เขาจะให้ความสำคัญกับการคบหาทำธุรกิจระยะยาว สังคมไทยยังขาด ทุนแห่งความยั่งยืน ( Sustainability Capital ) คือ ให้ความสำคัญกับผลหรือ กำไรในระยะสั้น ไม่มองระยะยาว  ซึ่งสามารถพัฒนาโดย Chira’s 6 factors

  • Knowledge Capital 
  •  
  • เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คนไทยยังขาดการเรียนรู้ ขาดความรู้ที่เป็นประโยชน์ และ อยู่บนหลักทฤษฎี 2R’s เช่น เรื่องกฎระเบียบ ของ AEC มีผลกระทบอย่างไร จำเป็นต้องรู้จริง เพื่อสร้างโอกาส สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวเอง ( Value Added ) และ สร้างความเฉลียวฉลาด ( Wisdom ) ตามหลักทฤษฎี 3V
  • Innovation Capital

ตามความเห็นของอาจารย์จีระ นวัตกรรมต้องมีขั้นตอนที่สำคัญ 3 ขั้นตอน คือ

  • นำความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆมาผสมผสานกับความรู้เดิม
  • เมื่อผสมผสานแล้วนำไปทดลองปฏิบัติจริง
  • เมื่อทดลองปฏิบัติแล้ว เกิดปัญหา อุปสรรค นำมาปรับปรุง แก้ไข จนสำเร็จ
  •  

3. จุดอ่อน และ ข้อเสนอแนะ

ชื่อหนังสือต่างจากอีก 2 เล่ม คือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ และ พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งชื่อ หนังสือทั้งสองเล่มนี้ค่อนข้าง generalized ดึงดูดความสนใจของคนทั่วไปได้โดยง่าย  แต่ชื่อหนังสือเล่มนี้ อาจทำให้มีผู้สนใจในวงจำกัด เนื่องจากชื่อ ออกไปในแนววิชาการ ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง อาจเป็นปัญหากับคนทั่วไปที่ยังไม่เคยอ่านหนังสือของอาจารย์จีระมาก่อน ไม่รู้จัก ทฤษฎี 8K’s และ 5K’s ไม่เข้าใจความหมายของคำว่า ทุนมนุษย์  คำว่า 'รองรับประชาคมอาเซียน'  เป็นคำทั่วไปที่คนสนใจอยู่แล้ว เป็นเรื่องที่ คนทั่วไปเข้าใจได้ดีกว่า

หนังสือมีการกล่าวถึงประเทศอื่นในประชาคมอาเซียนอยู่บ้าง แต่ไม่มากนัก ยังไม่เห็นภาพว่าประเทศอื่นๆในประชาคมมีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านที่ติดกับเรา

ผู้ให้ความเห็นส่วนมากมักจะเป็นการชี้จุดอ่อน มากกว่าการให้ข้อมูลว่าแต่ละประเทศ ได้มีการเตรียมตัวในเรื่องใดไปแล้วบ้าง ข้อมูลภาครัฐของเราได้ดำเนินการอะไรไปแล้วบ้างยังมีน้อย การรู้เขารู้เรา จะช่วยเป็นแนวทางที่ดี เป็นตัวอย่างให้เราได้ศึกษา เปรียบเทียบ และ เตรียมตัวเพื่อรองรับการเปิด AEC

มีการอ้างอิงแนวคิดทฤษฎีที่เป็นประโยชน์มากของผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน ซึ่งเป็นประโยชน์มาก แต่อาจให้รายละเอียดไม่มากนัก จำเป็นต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเอง

หนังสือให้ข้อมูลเน้นในระดับ มหภาค จึงน่าจะเหมาะสำหรับผู้อ่านระดับ เจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ที่มีประสบการณ์ มีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานอยู่บ้างแล้ว นำมาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์  แต่สำหรับบุคคลทั่วไปอาจเข้าใจได้ยาก

หนังสือต้องใช้เวลาการอ่านหลายๆรอบ เนื่องจากเนื้อหาข้ามไป มา เรื่องเดียวกันแต่ปรากฏในหลายบท และซ้ำ ควรมีการรวมกลุ่มหัวข้อเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกันให้อยู่ในบทเดียวกัน  และ ตัดเรื่องที่ซ้ำออก

 

 

วิเคราะห์หนังสือ 8K’s+5K’sทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

               ชื่อเรื่องของหนังสือมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร 

             กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนมีการร่วมลงนามในปฏิญญาให้เป็นประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายใน พ.ศ. 2558  หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกพฤษภาคม 2555  เป็นช่วงที่สังคมกำลังตื่นตัวเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน  ถือเป็นโอกาสทางธุรกิจที่เหมาะสม แสดงถึงวิสัยทัศน์ทางธุรกิจที่แหลมคมมากของผู้เขียน ชื่อหนังสือและเนื้อหาของหนังสือตรงกับความต้องการของตลาด  แต่เป็นเพราะในเวลานั้นเป็นช่วงที่บ้านเมืองเกิดความวุ่นวายทางการเมือง บ้านเมืองไม่สงบสุข  รัฐบาลกำลังประสบปัญหาอย่างอื่นที่สำคัญกว่า  จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้หนังสือเล่มนี้ไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมของคนไทยและไม่สามารถนำศักยภาพของหนังสือเล่มนี้มาใช้ได้มากนัก

บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ที่ประทับใจมีอะไรบ้างเพราะอะไร 

           ในมุมมองของนักศึกษาระดับปริญญาเอก การบอกเล่าเส้นทางของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก  เห็นภาพการต่อสู้ ความมุ่งมั่นทุ่มเทเพื่อพัฒนาคนไทยให้มีคุณภาพ  การศึกษาเรียนรู้ตลอดเวลาของท่าน ศ.ดร.จีระ  ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีที่นักศึกษาและคนไทยทุกคนควรใช้เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประการเป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ

Human Capital ทุนมนุษย์   ...ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา.....ต้องปรับระบบการศึกษาที่เน้นท่องจำเป็นการคิดวิเคราะห์ 

             ใช้เหตุผล คิดสร้างสรรค์

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม.....PeterDrucker” ความถูกต้อง,จินตนาการ,นวัตกรรม”

             ดนัย จันทร์เจ้าฉาย” การเป็นคนดี การทำความดี การมีจิตสาธารณะ มีความละอายและเกรงกลัว

                                           ต่อบาปควรจะอยู่ในDNA ของคนไทยทุกคน    ”

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข.....รักในงานที่ทำ  ทำงานให้มีความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม.......Networking

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ......ทักษะ,ความรู้,ทัศนคติ,

ทฤษฎี 5E

1 Exemple         มีแม่แบบที่เก่ง

2Experience     เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์

3Education      ศึกษา พัฒนาอบรม  อ่านหนังสือ

4Environment  สร้างบรรยากาศการเรียนรู้

5Evaluation     ติดตามประเมินผล พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

Creativity Capital ทุนแห่งการ สร้างสรรค์...สินทรัพย์ที่จับต้องได้5 %  สินทรัพย์จากจินตนาการ 95 %

Knowledge Capital ทุนทางความรู้......มีข้อมูลข่าวสารที่จำเป็น อย่างเพียงพอ

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม.....

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

ทฤษฎี 2 R’s เพื่อการมอง วิเคราะห์ปัญหา และการเรียนรู้ ประกอบด้วย

Reality         มองความจริง

Relevance    ตรงประเด็น

ทฤษฎี HR Architecture ใช้เป็นแนวทางในการมองภาพรวมของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 

                     เป็นเสมือนแผนที่สำคัญในการเดินทางไปสู่การพัฒนาศักยภาพคนให้มีความพร้อมในการการแข่งขันในระดับประชาคมโลก  รัฐบาล รัฐมนตรีและข้าราชการกระทรวงที่เกี่ยวข้องควรศึกษาให้กระจ่างเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ

                จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้ คืออะไร 

                 เป็นหนังสือที่เหมาะกับนักเรียนนักศึกษา ข้าราชการและนักการเมืองที่จะนำความรู้มาใช้ในการเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาคนไปสู่ประชาคมอาเซียน    บทที่1 เส้นทางของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ อาจเป็นส่วนที่ไม่จำเป็นสำหรับประชาชนทั่วไป    เนื้อหาเน้นหนักไปเชิงทฤษฎี  การยกตัวอย่างในเชิงการนำไปสู่ปฏิบัติจริงค่อนข้างน้อย  หากผู้อ่านเป็นประชาชนทั่วไปอาจไม่สามารถซึมซับความรู้และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากนัก  ,  ทฤษฎี HR Architecture  เป็นแนวคิดต้นแบบที่เขียนมาหลายปีแล้ว  หากมีการปรับปรุง เพิ่มเติมให้ครบถ้วนทันสมัยขึ้นจะเป็นประโยชน์มากครับ

นายณภพ  ชัยศุภณัฐ  

นักศึกษาระดับปริญญาเอก นวัตกรรมการจัดการ รุ่น 15

บทวิเคราะห์หนังสือ

“8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทย รองรับประชาคมอาเซียน”

รายวิชา : PHD 8205 Management of Human and Social Capital

อาจารย์ผู้สอน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ 


<p>1.ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มที่อ่านมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร </p>

 “8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทย รองรับประชาคมอาเซียน”    มีความสำคัญต่อการพัฒนาคนไทย เพื่อปรับตัวกับโลกาภิวัตน์ที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา      กระตุ้นให้คนไทยเห็นความสำคัญในการพัฒนาตนเองเพราะทุนมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการคิด  ริเริ่ม สร้างนวัตกรรม   มาสร้างความแตกต่างเพื่อปรับตัวให้อยู่กับโลกปัจจุบัน

2.บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ที่ประทับใจมีอะไรบ้าง เพราะอะไร

8 K’s ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ ประกอบด้วย

K1 Human Capital  ทุนมนุษย์  K2 Intellectual Capital  ทุนทางปัญญา  K3 Ethical Capitalทุนทางจริยธรรม

K4 Happiness Capital ทุนทางความสุข  K5 Social Capital ทุนทางสันคม  K6  Sustainable Capital ทุนทางสังคม

K7 Digital Capital ทุนทางความยั่งยืน  K8  Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ  

5 K’s ทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี ประกอบด้วย

K1 Creativity Capital ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์  K2 Knowledge Capital ทุนทางความรู้ K3 Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม K4 Cultural Capital  ทุนทางวัฒนธรรม K5 Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

แนวคิดทฤษฎี 8K’s+ 5K’s เป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ เพื่อไปต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อไปเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันประชาคมอาเซียน  และมาประยุกต์ใช้กับ 8K’s+5K’s’ ทุนมนุษย์ของคนไทยกับ AEC

 

ทฤษฎี 4L’s เป็นทฤษฎีที่ช่วยสร้างวัฒนธรรม การเรียนรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย

L1 Learning Methodology  วิธีการเรียนรู้ L2 Learning  Environment  บรรยากาศการเรียนรู้  L3  Learning  Opportunities  สร้างโอกาสการเรียนรู้  L4 Learning Communities  สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

ทฤษฎี 4L’s เพื่อที่จะช่วยสร้างวัฒนธรรม และ สังคมการเรียนรู้ ทำให้เกิดความต่อเนื่องในการเรียนรู้จากการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ เพื่อทำให้บุคลากรเกิดการพัฒนาด้านความรู้ ด้านสังคม จากการได้ทำกิจกรรมร่วมกันจนทำให้เกิดเครือสังคมนั่นเอง

ทฤษฎี 2 R’s เพื่อการเรียนรู้และวิเคราะห์ปัญหา ประกอบด้วย

R1  Reality   ความจริง       R2  Relevance     ตรงประเด็น

การใช้ทฤษฎี 2 R’s วิเคราะห์สาเหตุสำคัญ ตั้งแต่ระดับ มหภาค จนถึง จุลภาค เริ่มจาก ระดับประเทศ สังคม ชุมชน องค์กร  จนถึงครอบครัว ชี้ให้เห็น จุดอ่อนของคนไทย ในด้านต่าง เช่น ความรู้และทักษะด้านต่างๆ จริยธรรม ทักษะด้านภาษา เครือข่ายสังคม เป็นต้น 

ทฤษฎี 2 I’s เพื่อการเรียนรู้และสร้างพลังในการทำงาน ประกอบด้วย

I 1 Inspiration    แรงบันดาลใจ     I 2  Imagination    จินตนาการ

ทฤษฎี 2I’s เป็นทฤษฎีที่ให้เกิดการจุดประกายในการสร้างแรงบันดาลใจมีความกระหายที่จะสร้างคิด ริเริ่ม สร้างนวัตกรรม และการมีจินตนาการนั้นทำให้คิดนอกกรอบ เกิดความท้าทายใหม่ๆและจะทำสนุกกับการที่ได้ทำให้สิ่งที่เราชื่นชอบส่งผลให้การสร้างนวัตกรรมออกมาได้ดี

HR Architecture ใช้เป็นแนวทางในการมองภาพรวมของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งในภาพใหญ่ (Macro) คือ ระดับประเทศ สังคม ชุมชน และในระดับองค์กร (Micro)  ซึ่งภาพนี้แสดงให้เห็นถึงการปลูก เก็บเกี่ยวและการนำไปใช้ให้เกิดความสำเร็จ

ทฤษฎี 3 วงกลม เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์

Context  คือการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงานและมีขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจนโดยใช้ระบบสารสนเทศ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

Competencies คือ เน้นการพัฒนาสมรรถนะในด้านต่างๆ ทั้งในด้านทักษะความเชี่ยวชาญในเรื่องนั่น ความรู้ของบุคลากร   ความสามารถของบุคลากร และการบริหารการจัดคน

Motivation คือ การสร้างแรงจูงใจ โดยการแรงผลักดันการการทำงานที่ดีทำให้มีส่วนร่วมหรือให้บทบาทสำคัญในการทำงาน  เป็นต้น

3.จุดอ่อนของหนังสือนี้ คืออะไร ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

HR Architecture มีเนื้อหาน้อยมากทำให้ผมไม่เข้าใจว่ารูปภาพที่แสดงให้เห็นถึงการเรียงลำดับความสำคัญว่าควรให้มองMacroหรือMicroก่อนกัน(ก่อนเรียน)   และบุคคลทั่วไปอาจไม่เข้าใจจากหนังสือเล่มนี้เพราะเป็นหนังสือวิชาการเต็มไปด้วยกลยุทธ์และวิธีการต่างๆ ทำให้คนที่ไม่มีความรู้พื้นฐานหรือประสบการณ์ด้านทุนมนุษย์นี้จะทำความเข้าใจได้ยาก

           

 

ว่าที่ ร.ต.กฤษกร สุขสมโสตร์ (กู๋)

นักศึกษาปริญญาเอก สาขา นวัตกรรมการจัดการ รุ่นที่ 15

[email protected]

วรสิทธิ์ วงศ์อดิศัย

บทสรุปการเรียนรู้ :  8 K’s + 5 K’s : ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับ ประชาคมอาเซียน  

 1. ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มที่อ่านมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

           ชื่อเรื่องของหนังสือ 8 K’s + 5 K’s : ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน เมื่อเห็นครั้งแรก ยอมรับว่าค่อนข้างแปลกใจอะไร คือ   8 K’s + 5 K’s แล้ว K มัน คือ อะไร?? ทั้งที่ ทุนมนุษย์ หรือ Capital น่าจะใช้เป็น 8 C’s + 5 C’s จึงเกิดความน่าสนใจว่า ตัว K นั้น หมายถึงอะไร คิดว่า น่าจะเป็นกลยุทธ์ของท่านอาจารย์ที่ให้เราเกิดคำถามหรือข้อสงสัย ทำให้เราสนใจ และผมก็พบว่า ที่เลือกใช้ “K” แทนคำว่าทุนนั้น  มาจากคำ ว่า “Kapital” ซึ่งเป็นภาษาเยอรมัน แปลว่า “ทุน” หมายถึงทุนทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่ง Karl Marx ได้เขียนทฤษฎี “The Kapital” ไว้กว่าร้อยปีแล้ว  แล้วมันจะมีความสำคัญกับสังคมอย่างไรล่ะ ? เล่มนี้ ผมว่า ชื่อหนังสือจะบอกความสำคัญอยู่ที่ 2 ส่วนคือ ส่วนแรก น่าจะเป็นการอธิบายแนวคิดหรือทฤษฎีการพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ 8 K’s + 5 K’s และส่วนที่สอง น่าจะหมายถึงแนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศ ควรมีแนวทางหรือการจัดการอย่างไร เพื่อรองรับการเข้าไปสู่ AEC  สภาพแวดล้อมภายนอกที่จะเข้ามามีผลต่อองค์กร โดยเฉพาะ AEC ดังนั้นการที่องค์กรจะสามารถอยู่รอดและอยู่ได้อย่างยั่งยืน องค์กรต้องสามารถบริหารจัดการกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นให้ได้ หนึ่งในกลยุทธ์นั้น ก็ คือ การที่องค์กรมุ่งสร้าง Human Capital เพราะ คน เป็นสินทรัพย์ในองค์กรที่มีค่ามากที่สุด  จะต้องลงทุนพัฒนาคนอย่างต่อเนื่อง และต้องมีแผนงานพัฒนาที่ชัดเจน  

     2. บทเรียน และ ความรู้ที่ได้จากการอ่าน ที่ประทับใจมีอะไรบ้าง เพราะอะไร

          บทเรียนและความรู้ที่ได้ ดังนี้

        1. หนังสือเล่มนี้ได้เสนอมุมมองแนวทางการพัฒนาทรัพย์มนุษย์ให้มีคุณภาพ เป็นการกระตุ้นให้เตรียมความพร้อมให้แก่คนไทย  ต้องเข้าใจว่า AEC มีขนาดของตลาดตลาดที่ใหญ่ขึ้น จาก 60 ล้านคน เป็น 600 ล้าน ต้องรู้เขา รู้เรา เราเก่งอะไร เขาเก่งอะไร ต้องเรียนรู้ให้ตลอดเวลา และเราจะมีแนวทางเตรียมคนของเราให้พร้อมได้อย่างไร เพื่อให้พร้อมในการเข้าสู่ AEC

        2. ได้เรียนรู้ แนวคิดหรือทฤษฎีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  8 K’s + 5 K’s ซึ่งแนวคิด 8 K’s คือ ทุน 8 ประการเป็นแนวคิดขั้นพื้นฐานเพื่อใช้ในการพัฒนาทางทรัพยากรมนุษย์ ส่วนแนวคิด 5 K’s  คือ ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ ซึ่งเป็นแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรที่ต่อยอดมาจาก 8 K’s เพื่อให้สอดคล้องกับยุคปัจจุบัน แนวคิด 8 K’s + 5 K’s จะทำให้เรามีจุดมุ่งหมายของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ควรจะเป็น คือ Intellectual Capital (ทุนทางปัญญา) / Ethical Capital (ทุนทางจริยธรรม) / Happiness Capital (ทุนแห่งความสุข) / Social Capital (ทุนทางสังคม) / Sustainability Capital (ทุนแห่งความยั่งยืน) / Digital Capital (ทุนทาง IT) / Talented Capital (ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ) และแนวคิด 5 K’s (ใหม่) :  ประกอบด้วย Creativity Capital (ทุนแห่งการสร้างสรรค์) / Knowledge Capital (ทุนทางความรู้) / Innovation Capital (ทุนทางนวัตกรรม) / Emotional Capital (ทุนทางอารมณ์)  และ Cultural Capital (ทุนทางวัฒนธรรม)

        3. ได้เรียนรู้ ทฤษฎี 3 วงกลม ซึ่งแนวคิดนี้ เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เรา สามารถบริหารจัดการได้อย่างเหมาะสม ประกอบด้วย วงกลมที่ 1 เรื่อง Context คือ องค์กรต้องเข้าใจบริบทของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ พยายามจัดการให้เหมาะสมและคล่องตัว มีการทำงานเป็นขั้นตอน และควรนำ IT มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน วงกลมที่ 2 เรื่อง Competencies องค์กร ต้องมุ่งสร้างสมรรถนะของคน ให้พร้อมในการแข่งขัน และวงกลมที่ 3 เรื่อง Motivation เป็นสิ่งที่สำคัญ การจะให้คนปฏิบัติตาม องค์กรต้องมีการจูงใจที่เหมาะสม เพราะหากคนไม่สนใจ การลงทุนพัฒนาก็จะศูนย์เปล่า

  3. จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้ คืออะไร ???

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุง คือ

  • - เนื้อหาบางส่วนมีการกล่าวซ้ำไปมา ควรจัดเรียงให้จบเป็นตอนๆ
  • - ควรเพิ่มตัวอย่างขององค์กรที่มีการพัฒนาตามหลัก Human Capital เพื่อให้ผู้อ่านสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาองค์กรของตัวเองได้ 

 

นายวรสิทธิ์ วงศ์อดิศัย (โอ๋)

นักศึกษาปริญญาเอกรุ่นที่ 15

E-mail : [email protected]

Tel : 086-8864594

 

การวิเคราะห์หนังสือ

เรื่อง “8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทย รองรับประชาคมอาเซียน”

จีระ  หงส์ลดารมภ์

เรียบเรียงโดย วราพร  ชูภักดี และ เปี่ยมศักดิ์ คุณากรประทีป

รายวิชา : PHD8205 การจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคม Management of Human and Social Capital

อาจารย์ผู้สอน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ 

1.ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มที่อ่านมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร 

                หนังสือ “8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทย รองรับประชาคมอาเซียน”    มีความสำคัญต่อการพัฒนาคนไทย ด้วยในปี 2558 จะมีการเปิดเสรีอาเชี่ยน โดยเฉพาะการก้าวสู่ประชาคมอาเชี่ยนหรือ AEC เป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับคนไทยหรือประเทศไทย การที่สังคมไทยจะได้รับโอกาสหรือเสียโอกาสในครั้งนี้นั้น สิ่งที่สำคัญเป็นลำดับแรกคือ คุณภาพของทุนมนุษย์ของเราว่ามีความสามารถที่จะแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้หรือไม่ จากแนวคิด 4 ข้อ ที่ประกอบด้วย (1) Where are we? (2) Where do  we  want  to  go? (3) How to do it? และ (4) How to do it successfully? ถือเป็นแนวคิดสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ของคนไทย สามารถเรียนรู้ได้จากเรื่องจริง (Reality) ตรงประเด็น (Relevance) เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้สังคมไทย ประเทศไทย และคนไทยก้าวไปกับการเป็นประชาคมอาเซียนได้อย่างสง่างามและยั่งยืน

2.บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ที่ประทับใจมีอะไรบ้าง เพราะอะไร

บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ที่ประทับใจ มีดังนี้

1.การนำแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบ TWIN มาใช้เป็นโครงสร้างหลักในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือ การแข่งขันต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ประทับใจเพราะเมื่อนำทั้งสองเรื่องมารวมกันก็จะเกิด “ทุนแห่งความสมดุลและยั่งยืน”

2.ประทับใจต่อความรู้สึกดีๆ ในการเป็น “ครู” และเป็น “โค้ช” ท่านอาจารย์จีระบอกว่า  “การสอนหนังสือเป็นงานที่ผมรักและมีความสุขที่ได้ทำ” โดนใจมากเพราะผมก็รักงานนี้เช่นเดียวกับท่านอาจารย์

3.แนวคิดทฤษฎี 8K’s+ 5K’s เป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ เพราะสามารถนำไปต่อยอดในการสร้างคุณภาพทุนมนุษย์และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันประชาคมอาเซียน  และนำมาประยุกต์ใช้กับ 8K’s+5K’s’ ทุนมนุษย์ของคนไทยกับ AEC ได้เป็นอย่างดี

4.ทฤษฎี 3L’s เป็นทฤษฎีเพื่อการทำงานยุคใหม่ ประกอบด้วย  L1 Learning form pain คือ การเรียนรู้จากความเจ็บปวดล้มเหลว  L2  Learning form experiences การเรียนรู้จากประสบการณ์และ L3 Learning form listening คือ การเรียนรู้จากการฟังคนอื่น ที่ประทับใจเพราะเคยนำไปปฏิบัติแล้ว เวลานั่งสมาธิแล้วเมื่อจิตสงบทางออกของปัญญาก็ปรากฏขึ้นจริงๆ สอดคล้องกับธรรมะของพระพุทธเจ้า

5.ทฤษฎี 4L’s เป็นทฤษฎีเพื่อการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย L1 Learning Methodology  วิธีการเรียนรู้ L2 Learning  Environment บรรยากาศการเรียนรู้ L3 Learning Opportunities โอกาสการเรียนรู้  และ L4 Learning Communities ชุมชนแห่งการเรียนรู้ เพราะสังคมแห่งการเรียนรู้ มีความสำคัญและเกิดขึ้นกับเราทุกวัน ดังนั้นในยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆตลอดเวลา

6.ทฤษฎี 2 R’s ทฤษฎีเพื่อการเรียนรู้และวิเคราะห์ปัญหา ประกอบด้วย R1  Reality ความจริง  R2  Relevance  ตรงประเด็น เพราะปัจจุบันการวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ กลายเป็นสิ่งจำเป็นในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับ มหภาค จนถึง จุลภาค เริ่มจากระดับประเทศ สังคม ชุมชน องค์กร  จนถึงครอบครัว เห็นจุดอ่อนของคนไทยในด้านต่างๆ เช่น ความรู้และทักษะ จริยธรรม ทักษะด้านภาษา และเครือข่ายทางสังคม เป็นต้น 

7.ทฤษฎี 2 I’s เป็นทฤษฎีเพื่อการเรียนรู้และสร้างพลังในการทำงาน ประกอบด้วย                  I 1 Inspiration    แรงบันดาลใจ  I 2  Imagination  จินตนาการ  เพราะเป็นทฤษฎีที่ทำให้เกิดการจุดประกายในการสร้างแรงบันดาลใจมีความกระหายที่จะสร้างคิด ริเริ่ม สร้างนวัตกรรม  การมีจินตนาการ  ทำให้คิดนอกกรอบ เกิดความท้าทายใหม่ๆและสนุกกับการที่ได้ทำในสิ่งที่เราชื่นชอบส่งผลให้การสร้างนวัตกรรมออกมาได้ดี

8.HR Architecture ใช้เป็นแนวทางในการมองภาพรวมของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  เพราะสามารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งในภาพใหญ่ (Macro) คือ ระดับประเทศ สังคม ชุมชน และในระดับองค์กร (Micro)  ตัวอย่างเช่นภาพที่แสดงให้เห็นถึงการปลูก เก็บเกี่ยวและการนำไปใช้ให้เกิดความสำเร็จ

9.Context  คือ บริบทของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้สภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการทำงาน การจัดองค์กรให้มีความเหมาะสมคล่องตัว เพราะวิธีการทำงานที่เป็นขั้นตอน (Process) และใช้ระบบสารสนเทศหรือ IT  เข้าช่วยจะทำให้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

10.Competencies คือ การพัฒนาสมรรถนะในด้านต่างๆ เพราะการพัฒนาทักษะหรือความรู้ที่มีประโยชน์แก่บุคคล จะทำให้องค์กรมีความพร้อมในการทำงานอย่างเต็มที่

11.Motivation คือ การสร้างแรงจูงใจ เพราะแรงจูงใจที่ดีส่งผลต่อคุณภาพของงานที่ดีด้วยเช่นกัน เช่น การจัดสวัสดิการ การยกย่องชมเชย เป็นต้น

3.จุดอ่อนของหนังสือนี้ คืออะไร ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

จากการอ่านหนังสือเรื่อง “8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทย รองรับประชาคมอาเซียน”

พบว่า จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้มีน้อยมาก ที่พบก็ไม่ใช่ประเด็นหลักที่ทำให้หนังสือเล่มนี้ด้อยคุณค่าลงแต่อย่างใด จึงให้ข้อเสนอแนะไว้ดังนี้

1. ควรเพิ่มรายละเอียดในเรื่องของ HR Architecture และ การพิจารณาด้าน Demand side ให้มากขึ้น พร้อมยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจนจากสถานการณ์ปัจจุบัน

2.เนื้อหาบางส่วนหากมีการพิมพ์ครั้งต่อไปอาจต้องปรับให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน เช่น หน้า 68  “การเปิดเสรีอาเชี่ยนในปี 2015 แต่วันนี้เราเหลือเวลาอีกไม่มากนัก (ปัจจุบันเหลือเวลาไม่ถึง 3 ปี)  หรือภาพประกอบบางภาพไม่ชัดเจน เช่น หน้า 191 หรือ 211 เป็นต้น

นายณธกร คุ้มเพชร

นักศึกษาปริญญาเอก สาขา นวัตกรรมการจัดการ รุ่นที่ 15 

[email protected]

089-973-3588

 

  • วิเคราะห์หนังสือ ครั้งที่ 2  ชื่อหนังสือ 8K’s + 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน
  • วิชา  :  การจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคม   โดย ศ.ดร จีระ หงส์ลดารมภ์

  • 1. ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มที่อ่านมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร
  •      หนังสือ 8K’s + 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน เป็นงานหนังสือที่ท่าน ศ.ดร จีระ  หงส์ลดารมภ์  เขียนขึ้นมา โดยกลั่นกรองจากความรู้ แนวคิด ประสบการณ์ เป็นระยะเวลานาน ในเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์ โดยใช้ ทฤษฎี 8K’s+5K’s  ซึ่งเป็นแนวคิดที่สามารถปรับใช้กับการพัฒนามนุษย์ หรือบุคคลากรในองค์กร ให้เป็น คนเก่ง คนดี มีศีลธรรม เป็นทุนมนุษย์หรือทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ และมีค่ามากที่สุดของสังคม และหนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงการปรับตัวของคนไทยเพื่อเตรียมพร้อมกับการเข้าสู่ AEC และรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
  • 2.บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ที่ประทับใจมีอะไรบ้าง เพราะอะไร
  •       a) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยเน้นการแข่งขัน ควบคู่กับการพัฒนาที่ยั่งยืน  จะทำให้เกิดทุนแห่งความสมดุลและยั่งยืน หรือที่เรียกว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบ TWIN จำเป็นต้องศึกษาความรู้ข้ามศาสตร์ ไม่เฉพาะสาขาที่ตนทำเท่านั้น สามารถเชื่อมโดยงความรู้ สร้างสรรค์นวัตกรรมสิ่งใหม่ๆขึ้นมา มิใช่ลอกเลียนแบบ และการ Re-inventing ที่หมายถึงการริเริ่มทำสิ่งใหม่ๆ เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับตัวเองและสังคม  มันจะช่วยให้เราไม่หยุดเรียนรู้ ไม่หยุดการพัฒนา
  •       b) การพัฒนาทุนอัจฉริยะ สามารถนำ ทฤษฎี 5E มาประยุกต์ใช้ ได้แก่ Example. Experience, Education, Environment, Evaluate
  •       c) จากแนวคิด 8K’s เป็นทุนพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพแล้วยังมีอีก 5 ประการ (5K’s) ได้แก่ Creativity Capital, Knowledge Capital, Innovation Capital, Cultural Capital, Emotional Capital
  •       d) ประชาคมอาเซียน AEC นั้น จะเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือ 3 เรื่องได้แก้ 1. เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน  2. สังคม วัฒนธรรม 3. ความมั่นคงทางการเมือง  ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย การพัฒนาคุณภาพของมนุษย์จึงมีความสำคัญ   รวมไปถึงการปรับตัว ซึ่ง ต้องคิด วิเคราะห์ เตรียมความพร้อม หาโอกาส และหลีกเลี่ยงการถูกคุกคาม การรักษาภูมิปัญญาความเป็นไทย มีความสำคัญ หรือเรียกว่าทุนทางวัฒนธรรม ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ หากมีการจัดการที่ดีและถูกต้อง
  •       e) การสร้างวัฒธรรมการเรียนรู้ สร้างให้ท้องถิ่นเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ มีการแลกเปลี่ยนมุมมอง ทัศนคติ ความรู้ มิใช่ให้ผู้นำสั่งการเพียงอย่างเดียว แนวคิดในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ อาจารย์ได้นำเสนอ ทฤษฎี 4L’s ได้แก่ Learning Methodology, Learning Environment, Learning Opportunities, Learning Communities ส่วนทฤษฎี 2R’s คือจะต้องเรียนเรื่องจริงที่เกิดขึ้น (Reality) และตรงประเด็นเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับตัวเรา (Relevance) และ ทฤษฎี 2I’s  คือ Inspiration การเรียนรู้จะต้องจุดประกายให้สร้างแรงบัลดาลใจ เกิดพลัง ความกระหายอยากเรียนรู้ และ Imagination การเรียนรู้ที่สร้างจินตนาการ นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม ต้องคิดนอกกรอบ (Thinking Outside the box) 
  •       f) ทฤษฎี 3L’s ได้แก่ Learning from pain, Learning from experience, Learning from listening
  • 3.จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้คืออะไร ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
  •      หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือเชิงวิชาการที่น่าสนใจอ่าน ศึกษา เพื่อนำหลักทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศ สังคม องค์กร และตนเอง  แต่ผู้อ่านบางท่าน อาจไม่คุ้นเคยกับการอ่านหนังสือประเภทนี้ ทำให้จินตนาการถึงวิธีการนำไปใช้ได้ยาก จึงต้องใช้เวลานานในการทำความเข้าใจ  อยากให้มีการอธิบายเพิ่มเติมในส่วน  Case study ขององค์กรมากกว่านี้  ที่นำหลักคิดเข้ามาใช้  จะสื่อให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น


นายธิเบศร์  จันทวงศ์  นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการ รุ่นที่ 15 

Homework A.Chira Date 3 Sep.2017

HR Architecture

  1. วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของ HR Architecture อย่างละเอียด อย่างละ 3 เรื่อง

จุดแข็ง

  1. Framework นี้สามารถชี้ชัดถึงเป้าประสงค์ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต้องมีคุณลักษณะที่ต้องมีคือ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น คิดแบบวิทยาศาสร์ คิดแบบ Creative Innovation สังคมการเรียนรู้ และจิตสาธารณะ คุณธรรมจริยธรรม

  2. Framework นี้ได้อธิบายถึงแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่ระดับประเทศ (Macro) ไปถึงระดับองค์กร บุคคล (Micro) ซึ่งต้องมีองค์ประกอบในเรื่อง การศึกษา, สุขภาพ, โภชนาการ, ครอบครัว, สื่อต่างๆ

  3. Framework นี้สามารถทำให้เราทราบอุปสรรคที่เราจะต้องเอาชนะ เพื่อให้สู่ความยั่งยืน ความสุข ความสมดุล อีกทั้ง Framework นี้ยังช่วยให้เราสามารถทำนายอนาคตของประเทศหรือภาคส่วนธุรกิจต่างๆ ได้

  1. จุดอ่อน

  1. Framework นี้เป็นกรอปแนวคิดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวม ดังนั้นในการนำไปใช้จริงจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทขององค์กรที่จะนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและเป็นไปตามเป้าประสงค์
  2. จากการศึกษาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ของศตวรรณที่ 21 ต้องมีคุณลักษณะ 2 ส่วน คือ คุณธรรมจริยธรรม และทักษะในการเรียนรู้ ซึ่ง Framework นี้ยังไม่ครอบคลุมคุณลักษณะของทุนมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 จากการศึกษาของ Chira Way พบว่าการเรียนรู้ในทักษะการสื่อสาร (Communication) และ การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) ควรมีเพิ่มใน Framework นี้
  3. </ol>

     

    1. นำ HR Architecture มาเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ Ph.D. ได้อย่างไร ยกตัวอย่าง

    จากข้อมูลเราจะพบว่าประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยในปี พ.ศ.2550 สัดส่วนผู้สูงอายุเป็น 1 ใน 10 ของประชากรทั้งหมด และมีการคาดการณ์ว่าจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมดภายในปี 2573 ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว ส่งผลต่อการขาดแคลนแรงงานในวัยทำงาน และมีผู้สูงอายุบางส่วนที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทำให้ผู้สูงอายุอยู่ในภาวะยากลำบาก คุณภาพชีวิตตกต่ำลง ขาดความมั่นคงในชีวิต ดังนั้นจึงมีแนวคิดการนำ HR Architecture มาเป็นแนวทางในการสร้างหัวข้อวิทยานิพนธ์ เรื่อง การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ หาแนวทางหรือมาตราการในการส่งเสริมผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์ โดยมีเป้าประสงค์เพื่อ

    1. มีความรู้ มีสุขภาพที่ดี และสามารถพึ่งพาตัวเองได้ โดยไม่เป็นภาระของครอบครัวและสังคม
    2. มีศักยภาพในการทำงานและหารายได้เพื่อยังชีพ
    3. </ol>

      นับเป็นการคงศักยภาพของผู้สูงอายุและสร้างคุณค่าของผู้สูงอายุในเชิงเศรษฐกิจและสังคม

       

      3) จะนำเอา HR Architecture มาเป็นรูปแบบระดับ Micro ได้อย่างไร

      จากการศึกษา Human Capital ผ่านทาง HR Architecture นั้น ทำให้เห็นภาพรวมของปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบ ต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ทั้ง Demand Side และ Supply Side ซึ่งเราสามารถใช้เป็นแนววิเคราะห์ เจาะลึกลงระดับ Micro เพื่อหาแนวทางจัดการกับอุปสรรคต่างๆ ได้ ตรงประเด็น เช่น ความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจโลก ตลาดธุรกิจขององค์กรและคู่แข่งทางธุรกิจ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อความสำคัญต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กร  ดังนั้นองค์กรจำเป็นต้องเรียนรู้และจัดการความรู้ที่จำเป็นในการพัฒนาองค์กรอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กร  และต้องมีการพัฒนาทุนมนุษย์ให้เชื่อมโยงกับการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นระบบ เป็นต้น

      นักศึกษาปริญญาเอก สาขา นวัตกรรมการจัดการ รุ่นที่ 15  

      สมาชิกกลุ่ม 2

      1. วรสิทธิ์    วงศ์อดิศัย
      2. ธิเบศร์     จันทวงศ์
      3. ดุจดาว    บุนนาค
      4. ณภพ      ชัยศุภณัฐ
      5. ณธกร     คุ้มเพชร
      6. สมรัฐ      กมลเวคิน
      7. </ol>

บทวิเคราะห์หนังสือ “8K’s + 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน”

  • 1. ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มที่อ่านมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร
  • บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ที่ประทับใจมีอะไรบ้าง เพราะอะไร
  • จุดอ่อนของหนังสือนี้คืออะไร ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

จากชื่อเรื่องของหนังสือ จะเห็นว่า ผู้เขียนให้ความสำคัญทุนมนุษย์ โดยใช้หลักการ 8K’s + 5K’s ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ให้พร้อมต่อการพัฒนาประเทศในยุคที่เปิดเสรีอาเซียน การพัฒนาทุนมนุษย์จะส่งผลให้สังคมมีความก้าวหน้าในหลายๆด้าน เมื่อคนมีความรู้ความสามารถ ก็จะพัฒนาให้สังคมเข้มแข็ง รับมือกับสถานะการณ์ต่างๆทั้งภายในประเทศและในระดับสากลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • 2. บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ที่ประทับใจมีอะไรบ้าง เพราะอะไร
  • 1.) ทฤษฎี 8K’s

K1 ทุนมนุษย์ ทุนมนุษย์ที่ดีจะต้องได้รับการ ปลูก ให้เป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ

K2 ทุนทางปัญญา จากการเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ จะต้องมีทุนปัญญาสามารถคิดวิเคราะห์และมองเห็นถึงอนาคต

K3 ทุนทางจริยธรรม นอกจากจะเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ และมีทุนปัญญานั้น ทุนจริยธรรมเป็นสิ่งสำคัญคือ ต้องเป็นคนดี มีจริยธรรม

K4 ทุนทางความสุข ตัวเองจะต้องมีความสุขกับสิ่งที่ทำ และสิ่งที่เป็น แล้วงานจะออกมาดี

K5 ทุนทางสังคม การมีเครือข่าย หรือมีสังคมกว้างขวางจะทำให้สิ่งที่ทำขยายออกไปสู่วงกว้าง

K6 ทุนทางความยั่งยืน คือการทำให้สิ่งที่เราสร้างมานั้นมีความมั่นคงละยั่งยืน

K7 ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT การหาข้อมูลข่าวสารโดยใช้เทคโนโลยีในปัจจุบัน จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพและทันสมัย

K8 ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ ในการทำงานต้องมีทั้งสามอย่างนี้ควบคู่กันไป

  • 2.) ทฤษฎี 5K’s

 K1 ทุนทางความคิดสร้างสรรค์

K2 ทุนทางความรู้

K3 ทุนทางนวัตกรรม

K4 ทุนทางวัฒนธรรม

K5 ทุนทางอารมณ์

 

  • 3.) ทฤษฎี 2R’s

Reality -> มองให้เป็นจริง

Relevance -> ทำให้ชัด ให้ตรงประเด็น

 

  • 4.) HR Architecture

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เราจะต้องปลูกทรัพยากรให้มีคุณภาพโดยใช้ปัจจัยในหลายๆด้าน เพื่อให้ทรัพยากรที่ได้เป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพ แล้วเก็บเกี่ยวทัพยากรที่มีคุณภาพไปใช้พัฒนาให้เกิดคุณค่าสูงที่สุด เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

  • 5.) วงกลมเพื่อการบริหารทันยากรมนุษย์

ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพจะต้องประกอบไปด้วยทั้งสามส่วน คือ อยู่ในองค์กรที่เอื้อำนวยต่อการทำงาน องค์กรส่งเสริมให้มีการพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ และมีการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน

 

3. ข้อเสนอแนะที่มีต่อหนังสือเล่มนี้

  • 1.) อยากให้มีการแนะแนวทางหรือตัวอย่างที่มีการนำทฤษฎีไปใช้แล้วเกิดผลที่ดี เพื่อเป็นแนวทาง ตัวอย่างในการนำไปปรับใช้
  • 2.) อยากให้มีการทำ edition ใหม่ เพื่อให้ทันสมัยและอยู่ในยุคที่เปิดอาเซียนแล้ว

นิพันธ์ หรรษสุข 

นศ. ปริญญาเอก สาขาการจัดการนวัตกรรม รุ่นที่15

Homework A.Chira Date 3 Sep.2017 (Group 2, Revision 2)

HR Architecture

  1. วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของ HR Architecture อย่างละเอียด อย่างละ 3 เรื่อง

จุดแข็ง

  1. Framework นี้สามารถชี้ชัดถึงเป้าประสงค์ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต้องมีคุณลักษณะที่ต้องมีคือ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น คิดแบบวิทยาศาสร์ คิดแบบ Creative Innovation สังคมการเรียนรู้ และจิตสาธารณะ คุณธรรมจริยธรรม

  2. Framework นี้ได้อธิบายถึงแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่ระดับประเทศ (Macro) ไปถึงระดับองค์กร บุคคล (Micro) ซึ่งต้องมีองค์ประกอบในเรื่อง การศึกษา, สุขภาพ, โภชนาการ, ครอบครัว, สื่อต่างๆ

  3. Framework นี้สามารถทำให้เราทราบอุปสรรคที่เราจะต้องเอาชนะ เพื่อให้สู่ความยั่งยืน ความสุข ความสมดุล อีกทั้ง Framework นี้ยังช่วยให้เราสามารถทำนายอนาคตของประเทศหรือภาคส่วนธุรกิจต่างๆ ได้
  4. </ol>

    จุดอ่อน

    1. Framework นี้เป็นกรอปแนวคิดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวม ดังนั้นในการนำไปใช้จริงจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทขององค์กรที่จะนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและเป็นไปตามเป้าประสงค์

    2. จากการศึกษาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ของศตวรรณที่ 21 ต้องมีคุณลักษณะ 2 ส่วน คือ คุณธรรมจริยธรรม และทักษะในการเรียนรู้ ซึ่ง Framework นี้ยังไม่ครอบคลุมคุณลักษณะของทุนมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ในเรื่อง Collaboration Teamwork, การสื่อสาร (Communication) และ การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) ซึ่งควรมีเพิ่มใน Framework นี้
    3. </ol>

       

      1. นำ HR Architecture มาเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ Ph.D. ได้อย่างไร ยกตัวอย่าง

      จากข้อมูลเราจะพบว่าประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยในปี พ.ศ.2550 สัดส่วนผู้สูงอายุเป็น 1 ใน 10 ของประชากรทั้งหมด และมีการคาดการณ์ว่าจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมดภายในปี 2573 ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว ส่งผลต่อการขาดแคลนแรงงานในวัยทำงาน และมีผู้สูงอายุบางส่วนที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทำให้ผู้สูงอายุอยู่ในภาวะยากลำบาก คุณภาพชีวิตตกต่ำลง ขาดความมั่นคงในชีวิต ดังนั้นจึงมีแนวคิดการนำ HR Architecture มาเป็นแนวทางในการสร้างหัวข้อวิทยานิพนธ์ เรื่อง การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ หาแนวทางหรือมาตราการในการส่งเสริมผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์ โดยมีเป้าประสงค์เพื่อ

      1. มีความรู้ มีสุขภาพที่ดี และสามารถพึ่งพาตัวเองได้ โดยไม่เป็นภาระของครอบครัวและสังคม

      2. มีศักยภาพในการทำงานและหารายได้เพื่อยังชีพ
      3. </ol>

        นับเป็นการคงศักยภาพของผู้สูงอายุและสร้างคุณค่าของผู้สูงอายุในเชิงเศรษฐกิจและสังคม

         

        3) จะนำเอา HR Architecture มาเป็นรูปแบบระดับ Micro ได้อย่างไร

        จากการศึกษา Human Capital ผ่านทาง HR Architecture นั้น ทำให้เห็นภาพรวมของปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบ ต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ทั้ง Demand Side และ Supply Side ซึ่งเราสามารถใช้เป็นแนววิเคราะห์ เจาะลึกลงระดับ Micro เพื่อหาแนวทางจัดการกับอุปสรรคต่างๆ ได้ ตรงประเด็น เช่น ความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจโลก ตลาดธุรกิจขององค์กรและคู่แข่งทางธุรกิจ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อความสำคัญต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กร  ดังนั้นองค์กรจำเป็นต้องเรียนรู้และจัดการความรู้ที่จำเป็นในการพัฒนาองค์กรอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กร  และต้องมีการพัฒนาทุนมนุษย์ให้เชื่อมโยงกับการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นระบบ เป็นต้น

          

        สมาชิกกลุ่ม 2

        1. วรสิทธิ์    วงศ์อดิศัย
        2. ธิเบศร์     จันทวงศ์
        3. ดุจดาว    บุนนาค
        4. ณภพ      ชัยศุภณัฐ
        5. ณธกร     คุ้มเพชร
        6. สมรัฐ      กมลเวคิน
        7. </ol>


HR Architecture

1.วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของ HR Architecture อย่างละเอียดอย่างละ 3 เรื่อง  

  จุดแข็ง

  • 1.แผนผังนี้ อธิบายได้อย่างดีเกี่ยวกับ เรืองการพัฒนามนุษย์ตั้งแต่การเกิด การได้รับการปลูกฝัง จนเป็น ทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร และหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
  • 2.เน้นถึงทรัพยากรมนุษย์ที่มีการคิดวิเคราะห์ คิดเป็น คิดแบบวิทยาศาสตร์และคิดสร้างสรรค์ เกิดความคิดเชิงนวัตกรรมและมีจิตสาธารณะ
  • 3.แบ่งให้เห็นอย่างชัดเจน ในด้านDemand and Supply

จุดอ่อน

  •  1. การนำเสนอไร้แรงจูงใจ กระผมได้มอง Flow ของ HR Architecture พยายามทำความเข้าใจแต่ละส่วนของภาพอยู่นาน กว่าจะรู้ว่าทำไปเพื่ออะไรต้องรอให้ดูและทำความเข้าใจ ทีละส่วน มาดูด้านล่างถึงได้ทราบว่าทำไปเพื่อ ความยั่งยืน ความสุขสมดุล แล้วต้องกลับมาทบทวนใหม่อีกครั้งว่าในแต่ละหัวข้อที่เราเข้าใจ ไปนั้น  ทำเป็นเพื่อความยั่งยืน ความสุขสมดุลหรือไม่ เราเข้าใจหรือทีความตามผลลัพธ์ของHR Architecture หรือไม่ผมเสนอ ว่าถ้าเรานำผลลัพธ์ที่ต้องการ เป็นหัวเรื่อง และทำความเข้าใจไล่ลงไป  จะทำให้ การทำความเข้าใจ ทำได้เร็วขึ้น
  •  2. หัวข้อที่เขียนว่าประชาธิปไตยในโลกปัจจุบัน ระบบการปกครอง ของโลก ใบนี้นั้น เป็นแบบผสมผสาน  ไม่ได้มีการแบ่งแยก ที่ชัดเจน เหมือนดังแต่ก่อน  ในบางประเทศ เช่น ภูฐาน ยังใช้การปกครองระบบกษัตริย์อยู่ และ ปกครองประชาชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือในประเทศจีนที่ใช้การปกครองระบบ  สังคมนิยม ได้มีการปรับตัวตามสภาพเศรษฐกิจ ของโลกและสร้างชาติสร้างการปกครองให้มีประสิทธิภาพ ได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะเวลาอันสั้น หัวข้อนี้ ผมเสนอว่าใช้ คำว่า ระบบการปกครองที่เหมาะสมและแข่งขันได้
  • 3. ในยุคปัจจุบัน Social Media มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนข้อมูลทั้งหมด ในสังคมการทำความเข้าใจ กำหนดสิทธิหน้าที่ และเสรีภาพ   การเข้าถึงและการจำกัดข้อมูลใน โลก Social Media นั้นสำคัญมาก

 

 

2. จะทำ HR Architecture มาเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ PH.D ได้อย่างไร ยกตัวอย่าง

               - หัวข้อวิทยานิพนธ์ในความคิด แบบ HR Architecture นั่นคิดได้จาก ความยั่งยืน   ความสุขสมดุลย์ การทำงาน  การใช้ชีวิต  เพราะฉะนั้น การแข่งขันต้องสามารถ ทำได้จริงในแง่ของการแข่งขัน คนที่ได้เปรียบคือคนที่มีต้นทุนต่ำกว่าหรือมีทรัพยากร   ความรู้ หรือแหล่งข้อมูลที่คู่แข่งขันไม่สามารถเข้าถึงหรือทำได้ดีเท่าเรา การสร้างนวัตกรรม เป็นกระบวนการที่จำเป็นอย่างมากในการสร้างสิ่งเหล่านั้น

               - ในแง่ของสิ่งแวดล้อม   สังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั่น เพื่อแก้ปัญหาความยากจน และความเป็นอยู่ในปัจจุบันในหลายๆธุรกิจมีการกระทำหรือสายกิจกรรม กระบวนการผลิต ที่ทำให้สภาวะสิ่งแวดล้อม นั่นมีความสมดุลย์ ที่เปลี่ยนแปลงไปหรือมีการสร้างมลภาวะทำให้ความเป็นอยู่ ของสิ่งมีชีวิต นั่นแย่ลงไม่ว่าจะเป็นสารเคมีต่างๆที่ทำให้ เกิดปนเปื้อนหรือ ก๊าซเรือนกระจก ที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์โลกร้อน ( Global Worming ) สิ่งต่างๆเหล่านั้นเป็นผลที่เกิดขึ้นในแบบที่ ถ้าปล่อยไว้จะทำให้ในที่สุดมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น จะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในทีสุด นวัตกรรม  การจัดการ มลภาวะ เพื่อป้องกัน ไม่ให้โลกเกิดการเสียหายมากขึ้น และ ปรับปรุงส่วนที่เสียหายไปให้กลับมาดีดังเดิม

               - ในด้านการเกิดคอรัปชั่น / ศีลธรรม   เกิดจากที่ทำงานของบุคลากรในสังคม ขาดความรู้ความเข้าใจในการทำงานที่ดี  ขาดการมีมุมมองที่เปิดกว้างในการทำงานด้านการบริหารจัดการของอำนาจที่โปร่งใสและขาดการตรวจสอบที่เป็นระบบที่ชัดเจน ดังนั่น นวัตกรรมการศึกษาที่ทำให้สังคม  จึงจัดให้เกิดสังคมการเรียนรู้  คนในสังคมตั้งแต่ระดับเยาวชน นั้นมีความรู้และหลักการคิดที่มากพอที่สามารถสร้างคุณค่าในงานได้เองโดยที่ไม่ต้องทุจริตหรือคดโกง ในการบริหารจัดการและการมอบหมายงาน(การกระจายอำนาจ)นั่นต้องมีหลักคิดใหม่ที่สามารถนำมาปรับใช้กับวัฒนธรรมการเป็นอยู่ของคนในสังคมที่ไม่สามารถนำการบริหารของประเทศอื่นมาใช้งานได้ตรง นั่นซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องใช้แผนการปฏิรูป การสื่อสาร ซึ่งก็ต้องใช้ หลักการคิดในการนำมาปรับใช้  เช่นกัน   ล้วนแล้วแต่เป็นนวัตกรรมทั้งสิ้น ส่วนในด้านการตรวจสอบก็ต้องใช้ ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์และบารมีของผู้ตรวจสอบและนำมาประยุกต์ใช้ให้ ผู้ถูกตรวจสอบยอมรับและปฏิบัติตามกติกา ซึ่งนั่นก็ต้องใช้หลักการคิดใหม่ๆเพราะไม่เช่นนั้นก็กลับไปอยู่ในรูปแบบเดิมคือคนของผู้มีอำนาจไม่สามารถถูกตรวจสอบได้หรือวิจารณ์ได้

ในด้านการศึกษา  ระบบการศึกษาของประเทศไทย  ถือได้ว่า ไม่ประสบความสำเร็จ เมื่อเทียบกับระดับสากล ดังนั้น  การพัฒนา และปรับปรุง ระบบการศึกษา จึงเป็นเรื่องที่จำเป็น ในการทำหัวข้อวิทยานิพนธ์ Ph.D ในเรื่องนวัตกรรม กับ การพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศไทย  สอดคล้องกับ HR Architecture ในเรื่องของการสร้างทรัพยากรมนุษย์  ตั้งแต่ องค์กรการศึกษาอย่างไร  ให้ได้คนที่คิดเป็น วิเคราะห์เป็น มีความคิดสร้างสรรค์ และมีจริยาธรรม เพื่อเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ของประเทศไทย ต่อไป

 

3. จะนำเอา HR Architect  มาเป็นรูปแบบ ระดับ Micro ได้อย่างไร การนำ HR Architect  มาเป็นรูปแบบ ระดับ Micro นั้น ทำได้ หลากหลายมาก เช่น ในแง่ของ คุณธรรม และไม่มีการคอร์รัปชั่น  จำเป็นต้องมีการ ศึกษาหาความรู้ ในด้าน การตรวจสอบ โดยจำเป็น ต้องไป หาความรู้ จากผู้มีประสบการณ์ และผู้มีความรู้ ทั้งในด้าน การทำงาน และความรู้ด้านบัญชี การเงิน และยังต้องเข้าใจ กฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย  จากนั้น  ต้องนำความรู้ทั้งหมด มาแบ่งปัน กับคณะทีมบริหารงาน  เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน และสิทธิในการอนุมัติ การบริหารจัดการ  ในด้านการตรวจสอบ เพราะเมื่อพูดถึง การตรวจสอบ คนมักจะกลัว และรู้สึกไม่ปลอดภัย  ต้องมีสิทธิอำนาจ  และการสื่อสาร ที่ชัดเจน   เพื่อความเข้าใจ  ที่นำไปสู่ ความร่วมมือ ในระดับปฏิบัติการ  นอกจากนั้น ยังจำเป็นต้องมี เครือข่าย ที่สร้างเพิ่ม   ทั้งภายใน  และภายนอก องค์กร และประสานเครือข่ายทั้งหมด   และสิทธิ อำนาจที่มี และ ยังจำเป็น ต้องสร้างทีมงาน  ที่มีความเข้าใจ ในด้านการทำงาน การตรวจสอบ  ที่เป็นระบบ และสากล   และการบังคับใช้กฎหมาย ที่เป็นจริง  เพื่อทำให้ อยู่ในระดับ ปฏิบัติการที่ทำได้จริง  และต่อเนื่องได้  ทั้งหมดนี้ ถือเป็น นวัตกรรมที่ต้องทำในระดับ Micro ทั้งสิ้น 



ผู้ร่วมทีม นำเสนองาน ดังนี้ 

1.  สินสวัสดิ์ รุ่งเรืองธนาพร

2.  ว่าที่ ร.ต. กฤษกร  สุขสมโสตร์ 

3.  นันทพล  จรรโลงศิริชัย 

4.  นิพันธ์   หรรษสุข

5.  ธีรเดช   วิริยะกุล


                                                     บทวิเคราะห์หนังสือ

                              8K’s + 5k”s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

            ชื่อหนังสือ “8K’s + 5k”s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน” เล่มนี้แสดงให้เห็นถึงเป้าหมายและความตั้งใจของอาจารย์จีระในการถ่ายทิดความรู้และประสบการณ์ ที่เกี่ยวกับทฤษฎีการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียน (AEC) การเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่จะต้องช่วยกัน แต่ปัญหาของคนไทยก็คือ คนไทยไม่ค่อยใฝ่รู้ ซึ่งเราสามารถสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ได้ตามหลัก 4L’S และ 2I’S

            สิ่งที่ได้รับจากการอ่าน

            แนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบ TWIN เป็นโครงสร้างหลักในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือการแข่งขันต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาที่ยั่งยืน เพราะคนเป็นสิ่งที่สำคัญ เราจึงต้องมีคนที่มีศักยภาพ มีความสามารถ ไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดก็ตาม การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนซึ่งมีรายละเอียดหลักๆประกอบไปด้วย 1.การเปิดการค้าเสรี 2.การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 3.การลดช่องว่างในประชาคม 4.การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก อาจมีทั้งโอกาสและความเสี่ยง อาจมีทั้งประโยชน์และโทษ แต่หากเรามีความพร้อม มีทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ จะทำให้เรามีภูมิคุ้มกัน อยู่รอด เติบโต และแข่งขันได้อย่างยั่งยืน แล้ว AEC จะเป็นทั้งโอกาสและคุณประโยชน์ต่อประเทศไทยเรา

8 K’s เป็นทฤษฎีพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพมนุษย์ ได้แก่ Intellectual Capital (ทุนทางปัญญา) / Ethical Capital (ทุนทางจริยธรรม) / Happiness Capital (ทุนแห่งความสุข) / Social Capital (ทุนทางสังคม) / Sustainability Capital (ทุนแห่งความยั่งยืน) / Digital Capital (ทุนทาง IT) / Talented Capital (ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ)

 5 K’s  เป็นทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ ซึ่งเป็นแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรที่ต่อยอดมาจาก 8 K’s เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัย ได้แก่ Creativity Capital (ทุนแห่งการสร้างสรรค์) / Knowledge Capital (ทุนทางความรู้) / Innovation Capital (ทุนทางนวัตกรรม) / Emotional Capital (ทุนทางอารมณ์)  และ Cultural Capital (ทุนทางวัฒนธรรม)

ถึงแม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะถูกตีพิมพ์ก่อนหน้าที่เราจะเข้าสู่ AEC โดยมีจุดมุ่งหมายในการเตรียมความพร้อม และแนวทางในการพัฒนาทุนมนุษย์ แต่เนื้อหาในเล่มก็มิได้ล้าสมัย ในกลุ่มประเทศในอาเซียน 10 ประเทศ อาจมีความเท่าเทียมกันในเรื่อง กฎ ระเบียบ กติกา นโยบายต่างๆ แต่สิ่งที่ต่างกันคือ คุณภาพของทุนมนุษย์ของแต่ละประเทศ ที่จะเป็นเครื่องวัดความสามารถในการแข่งขัน และประเทศไทยเรายังต้องพัฒนาเรื่องทรัพยากรมนุษย์อีกมาก และการพัฒนานั้น เราต้องทำอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง (ตามทฤษฏี 3ต) สำหรับข้อด้อยของหนังสือเล่มนี้ก็คือ เนื้อหาบางเรื่อง เช่น แบบผัง HR Architecture ที่เป็นภาพรวมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ดูแล้วเข้าใจยาก เพราะไม่ได้มีคำอธิบายใดๆ

พีรวีร์ เทพประเทืองทิพย์

นศ. ปริญญาเอก สาขาการจัดการนวัตกรรม รุ่นที่15

PHD 8205 การจัดการทุนมนุษย์ และทุนสังคม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

สรุป HR Architecture

วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2560

โดย กลุ่ม 3 นักศึกษา ป.เอก รุ่นที่ 15

 

นายสันติ  เอี่ยมวุฒิปรีชา

นางสาวอรุณศรี  รัตนธัญญาภรณ์

นางสาววันดี  พลรักษ์

นางสาวรุ่งนภา  ภัทรธีรานนท์

นางณิศรามิล  โภคินพีรวัศ

  • วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งของ HR Architecture อย่างละเอียด อย่างละ 3 เรื่อง
  • จะทำ HR Architecture มาเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ PhD ได้อย่างไร ยกตัวอย่าง การจะนำพาประเทศไทยสู่ยุค Thailand 4.0 จึงต้องเน้นเรื่อง Sustainability, Wisdom, Creativity, Innovation และ Intellectual Capital การสร้างเครือข่ายของปัญญา Networking of Intelligence หรือ Intellectual Network โดยเฉพาะในประเทศอาเซียน ที่สำคัญที่สุด คือต้องมีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมที่หลากหลาย และสามารถบริหารความแตกต่างทางวัฒนธรรมให้ได้ เพราะปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญ ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน การลงมือทำและเอาชนะอุปสรรคหรือ Execution มี Technology อย่างเดียวไม่พอ ต้องเน้นไปสู่การสร้างคุณค่าใหม่ๆ ให้เกิดความสำเร็จ

(1.1) ปัจจุบันสังคมไทยมีจุดอ่อนมากมายที่เกิดจากการที่ทุนมนุนย์ของประเทศไทยให้ความสำคัญกับเรื่องระยะสั้นเท่านั้น โดยที่ไม่มองการอยู่รอดในระยะยาวและความยั่งยืน หน่วยงานต่างๆ ของประเทศไทยที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทุนมนุษย์ขาดการทำงานแบบบูรณาการ ต่างคนต่างทำ ซ้ำซ้อน ไม่ได้เน้นที่คุณภาพเท่าที่ควร เกิดปัญหาที่สำคัญมาก คือ คุณภาพของบัณฑิตที่จบมาในวันนี้ ไม่ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน และขาดแคลนแรงงานในบางธุรกิจ บางสาขา หรือคุณภาพของแรงงานมีมาตรฐานไม่เพียงพอ จุดแข็งของ HR Architecture ใช้เป็นแนวทางของภาพรวมในการพัฒนาทรัพยากรมนุนย์ ซึ่งนำมาปรับใช้ได้ทั้งในภาพใหญ่ (Macro) คือ ระดับประเทศ สังคม ชุมชน และในระดับองค์กร (Micro)

(1.2) ปัญหาใหญ่ของสังคมไทยยังมีค่านิยมว่าคนรุ่นใหม่ต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป คนส่วนใหญ่จึงไม่ชอบเรียนและทำงานในสายอาชีวศึกษา ซึ่งจริงๆ แล้วมีความต้องการมากมายในตลาดแรงงาน แต่ขาดแคลน คนที่จบสายอาชีวะมาแล้วก็ตะเกียกตะกายเพื่อให้จบปริญญาตรีซึ่งเป็นค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง ฉะนั้นการสร้าง 'มาตรฐานวิชาชีพ' น่าจะช่วยยกระดับของทุนมนุษย์ในสายวิชาชีพได้มาก

(1.3) จุดอ่อนของประเทศไทย คือเรื่องการศึกษา คนส่วนใหญ่เรียนเพื่อได้ปริญญา ไม่ได้เน้นปัญญา บัณฑิตส่วนใหญ่คิดเองไม่เป็น ได้แต่ copy จุดอ่อนที่สำคัญที่สุดของสังคมไทยคือคนไทยไม่ใฝ่รู้ หลายคนอาจมองว่าเป็นปัญหาที่ไม่สำคัญ แต่จริงๆ แล้วอาจจะเป็นปัญหาที่สำคัญมากที่สุด เพราะนี่คือสิ่งที่ประเทศไทยของเราเสียเปรียบประเทศอื่นๆ ในอาเซียน สิ่งที่ควรจะเป็นในอนาคต คือ การทำให้ระบบการศึกษาของไทย สอนให้คนคิดเป็น จะเป็นการสร้างทุนทางปัญญาให้กับคนไทย 

3.          จะนำเอา HR Architecture มาเป็นรูปแบบระดับ Micro ได้อย่างไร การ "ปลูก"  จึงควรเริ่มตั้งแต่แรกเกิด เริ่มต้นที่ครอบครัว โรงเรียน มหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษา ช่วงอายุ 22-60 ปี เป็นช่วง "Lifelong Learning" ถ้าเราปลูกได้ดีเราก็จะได้คุณภาพของทุนมนุษย์ที่พร้อมจะรองรับ Digital System คือ "8K's + 5K's" แต่ที่สำคัญต้อง 8K's มาก่อน โดยเฉพาะต้องปลูกฝัง "ทุนทางคุณธรรมจริยธรรม" เป็นพื้นฐาน เพราะ Digital Economy ที่ขาดทุนทางคุณธรรม จริยธรรม อาจจะทำให้เกิด Corruption แบบ Digital ซึ่งสร้างปัญหามากมาย และเมื่อมี 8K's แล้วต้องพัฒนาต่อยอดให้มีอีก 5 ทุนที่สำคัญในยุค Thailand 4.0 แต่ในการบริหารทุนมนุษย์ต้อง "สร้างแรงจูงใจ" โดยเฉพาะต้องเน้นให้ตรงกับการดำรงชีวิตในยุค Digital และการสร้างแรงจูงใจที่เป็น "สิ่งที่มองไม่เห็น" หรือ "Intangibles" การพยายามเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไทยให้ใฝ่รู้ ให้ชอบการเรียนรู้ ให้กระหายความรู้ ทุกคน ทุกครอบครัว และทุกองค์กรสามารถช่วยกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้ขยายวงกว้างออกไป

บทวิเคราะห์หนังสือ “8K’S + 5k’S ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน”

รายวิชา : PHD8205 Management of Human and Social Capital

ผู้สอน : Prof.Chira Hongladarom, Ph.D

 K1 Human Capital คนเป็นจุดเริ่มต้นของต้นทุนของทั้งหมดจำเป็นต้องผ่านการลงทุนด้าน – การศึกษา, โภชนาการ, การฝึกอบรม,การเลี้ยงดูครอบครัว- บางคนเรียนน้องแต่อาจสามารถมีคุณภาพดีกว่าคนที่เรียนสูงกว่าปัญญาจึงอาจไม่ใช่ปริญญาดังนั้นสำหรับคนการลงทุนด้านโภชนาการและการศึกษาอาจจะไม่เพียงพอ

K2.Intellectual Capital ทุนทางปัญญาคือยุทธศาสตร์การมองอนาคตการศึกษาควรเน้นให้ทำความเข้าใจวิเคราะห์แก้ไขปัญหาไม่ใช่ท่องจำการเรียนรู้แบบทฤษฎี 4L’Sสามารถทำให้เสริมการคิดวิเคราะห์ได้ซึ่งประกอบด้วย 1. Learning Methodology(การเรียนรู้ที่น่าสนใจ) 2. Learning Environment(สร้างบรรยากาศการเรียนรู้) 3. Learning Opportunity(สร้างโอกาสการเรียนรู้ 4. LearningCommunities (สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้)การสร้างทุนทางปัญญาโดยผ่านองค์กรแห่งการเรียนรู้และปลูกฝังวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้นั้นสำคัญมากๆสำหรับประเทศไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน – การสร้างมุมมองใหม่ๆ นั้นอาจารย์จิระใช้การเรียนรู้ผ่านทฤษฎี 2R’S คือการมองความจริง(Reality)และมองสิ่งที่ตรงตามต้องการ (Relevance)

K3.Ethical Capital แนวทางการสร้างจริยธรรมนั้นสร้างได้จาก 2 หลักคิด 1.จากคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เรายึดมั่นใน ศีล/สมาธิ/ปัญญาและ 2. จาก Peter Drucker ซึ่งให้มี Integrity (ความถูกต้อง) ก่อนที่จะมี Imagination (จินตนาการ) และ Innovation (นวัตกรรม)ทั้งสองหลักการตรงกันนั่นคือความเก่งนั้นต้องมาก่อนความดี  

 K4. Happiness Capitalทุนแห่งความสุขคือพฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมีเพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ นั่นคืองานที่ทำนั้นต้องมีความหมาย (Meaning) และเป้าหมาย (Purpose) และรู้ว่าความสุขสมดุลคืออะไร ก็จะทำให้ทำงานได้อย่างไม่รู้สึกเบื่อหรือเหน็ดเหนื่อยและผลงานที่ออกมาก็จะมีคุณค่า (Value) ทั้งต่อตนเองและสังคมกฎในการสร้างต้นทุนแห่งความสุข (Dr. Chira Hongladarom’s Model 1. สุขภาพร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม (Healthy) 2. ชอบงานที่ทำ (Passion) 3. รู้เป้าหมายการทำงาน (Purpose) 4. รู้ความหมายของงาน (Meaning) 5. มีความสามารถที่จะทำงานให้เสร็จ (Capability) 6. เรียนรู้จากวานและลูกค้าตลอดเวลา (Learning) 7. เตรียมตัวให้พร้อม  (Prepare) 8. ทำงานเป็นทีมอย่าทำคนเดียว (Teamwork) 9. ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม (Coaching) 10. ทำงานที่ท้าทาย (Challenge) 11. ทำงานที่มีคุณค่า ( Enrichment) และ Sharp/Hongladarom’s Model) 1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ (Exercise) 2. อย่าแบกงานที่หนักเกินไป (Put down your burden) 3. ศักยภาพในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Communicateeffectively) 4. ทำงานในจุดแข็งของตัวเอง (Recognize yourstrength) 5. มุ่งมั่นในงาน (Keep focus) 6. ทำในสิ่งที่อยากทำไม่ใช่เพราะต้องทำ (Reduce the “Shoulds”)7. ทำงานในองค์กรที่มองคุณค่าของคนและงานคล้ายๆกัน (Clarify your value)8. อย่าทำงานเครียดและวิตกกังวล (Overcome worriesand stress) 9. บริหารภาระงานให้เหมาะกับตัวเอง (Refine yourworkload) 10. ใช้คำว่าขอบคุณกับลูกน้องและเพื่อนร่วมงาน (Choose your word) 11. สร้างบรรยากาศการทำงานให้มีความสุขร่วมกัน (Create goodenvironment)

K5.Social Capital (Networking) ทุนเครือข่ายนั้นลงทุนต่ำเป็นทุนที่ต้องลงทางอ้อม คือหาว่าคนเก่งในแต่ละด้านอยู่ที่ไหน และหาทางเจรจาต่อรองมาเป็นแนวร่วมโดยไม่ใช้เพียงอำนาจบังคับและทำให้เกิดสถานการณ์แบบwin-winโดยการสร้าง comfort zone , สร้าง trust & respect และ หาจุดแตกต่างเพื่อสร้างพลัง โดยการมี Networking นั้นจะทำให้เรามา ต้นทุนที่ถูกลง ในด้านข้อมูลข่าวสารและการเจรจาต่อรอง

K6.Sustainable capital เป็นการมองศักยภาพในตัวว่าเราจะอยู่รอดในระยะยาวได้หรือไม่โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชการที่ 9 โดยใช้ 3 หลักการคือ –พอประมาณ/มีเหตุผล/มีภูมิคุ้มกัน-โดยใช้หลัก 6 ปัจจัยของความยั่งยืน 1.ต้องมองออกว่าสิ่งสำคัญที่ต้องทำคืออะไรและจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาระยะยาว2. GreenDevelopment ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม 3.มีการพัฒนาศีลและจริยธรรมคู่ไปกับความเจริญ 4. คิดเป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เป็น และเป็นสังคมเรียนรู้5. ความเจริญไปสู่คนส่วนใหญ่ไม่ใช่เจริญแค่กับคนส่วนน้อย 6. Self-reliance คือพึ่งตนเองได้

K7.Digital Capital ใช่สื่อ digital ต่างๆ เพื่อหาความรู้และแบ่งปันอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งการจะทำได้ทักษะภาษาต้องดีด้วย

K8.Talented Capital ต้องมี 3 องค์ประกอบคือ ทักษะ/ความรู้และ ทัศนคติ ซึ่ง3 องค์ประกอบนี้ควรทำตั้งแต่อายุยังน้อยและสามารถทำได้โดยอาศัย ทฤษฎี 5 E คือ 1. Example คือมีบุคคลตัวอย่างที่ดี 2. Experience เรียนจากผู้มีประสบการณ์ 3. Education การศึกษาอบรมค้นคว้า 4. Environment สร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ 5. Evaluation มีการประเมินผลการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ทฤษฎี 5 K’S ใหม่ ประกอบด้วย 5K’S 1. Creativity Capital ประกอบด้วย 1. คิดเป็น วิเคราะห์ และเรียนรู้ข้ามศาสตร์ 2. เวลาคิดต้องมีสมาธิ3. ต้องคิดเป็นระบบให้ได้ ก่อนที่จะคิดแบบสร้างสรรค์ 4. มีความอยากสร้างสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ  

  5K’S 2. Knowledge Capital ต้องนำข้อมูล (Data) มาเปลี่ยนเป็นข่าวสาร (Information) และเปลี่ยนเป็นความรู้ (Knowledge) และสามารถเพิ่มมูลค่า (Vale Added)  แล้วจึงแปลงเป็นความเฉลียวฉลาดของเรา (wisdom) และเลือกข้อมูลข่าวสารที่จะรับอย่าให้เป็น IOKO คือ Information Overload Knowledge Overflow จะทำได้ต้องใช้ 2R’S

5K’S3. Innovation Capital ประกอบด้วย 3 เรื่องคือ1. มีความคิดใหม่ความคิดสร้างสรรค์ และนำมาผสมผสานความรู้ 2.นำไปปฏิบัติจริงคือ –ออกแบบโครงการ/ผลักดันโครงการให้ได้รับการอนุมัติ/และบริการโครงการ-3. ทำให้สำเร็จ นวัตกรรมมี หลายแบบได้แก่ – สินค้าใหม่/บริการแบบใหม่/การบริหารแบบใหม่เช่นการพัฒนาตราสินค้าหรือกระบวนการ/นวัตกรรมทางสังคม-โดยมีต้นทุนทางนวัตกรรม 3Cซึ่งได้แก่ 1. Customer 2. Change management 3.  Command &Control

5K’S4. Cultural Capital คือความเข้าใจในความสำคัญของวัฒนธรรมที่ประกอบด้วยขนบธรรมเนียม, ศาสนา, ประวัติศาสตร์, ประเพณี, วิถีชีวิต, ภูมิปัญญา,แนวทางปฏิบัติ และความเชื่อและต้องมีความรู้และเข้าใจถึงความหลากหลายและการบริหารจัดการความแตกต่างของวัฒนธรรมได้ด้วย

5K’S5. Emotional Capital คือการควบคุมอารมณ์ไม่โกรธง่ายไม่เครียด ไม่อ่อนไหวหดหู่ตกใจ ตื่นกลัว โดยมีต้นทุนที่ประกอบด้วย – Courage, Caring,Optimism, Self control & Communication-

8K’S5K’S เพื่อการรองรับประชาคมอาเซียน อาเซียนจัดตั้งมาเพื่อ 1.เปิดเสรีการค้า 2. เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เช่นลดการกีดกันด้านภาษี กฎหมาย e-commerce และทรัพย์สินทางปัญญา 3.ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศเช่นการแชร์ทรัพยากรแรงงานฝีมือ หรือเงินลงทุน 4. สามารถบูรณาการเข้ากันเศรษฐกิจโลกได้

10 ประเด็นที่ต้องรู้จริงเพื่อก้าวเข้าสู่ AEC ได้อย่างสง่างาม 1. AEC ประกอบด้วยประเทศอะไรบ้าง 2. AEC มีการร่วมมือกันด้าน – เศรษฐกิจ, สังคมวัฒนธรรม และการเมือง3.เกิดการแข่งขันเสรีในภูมิภาค และการกระจายเงินทุนและฝีมือแรงงาน 4. ค้นหาตัวเองและเตรียมพร้อมที่จะหาโอกาส5. ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงเช่นตลาดจะใหญ่ขึ้น 6.รักษาภูมิปัญญาเดิมและเพิ่มมูลค่า 7. พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษและภาษาท้องถิ่นแต่ละประเทศ 8. สร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ 9.พัฒนาทรัพยากรมนุษย์  10.บริการความเสี่ยงโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง

นันทพล จรรโลงศิริชัย

บทวิเคราะห์หนังสือ “8K’S + 5k’S ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน” 

โดย แจ่มจันทร์ คล้ายวงษ์ นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 15 

1 เนื้อหาของเล่มนี้ มีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร คือสามารถนำไปวางรากฐานของการจัดทำนโยบายการศึกษาและค่านิยมของคนในสังคมกับการสร้างมนุษย์สายอาชีพสามารถเอาชนะ อุปสรรคที่ไม่ใฝ่รู้ ของคนไทยและช่วยให้หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สามารถทำงานแบบบูรณาการ ไม่ซ้ำซ้อน โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีของท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์

สรุปประเด็นเนื้อหาจากหนังสือ ที่ อ.จีระได้ให้แนวคิดไว้ ได้แก่

ทฤษฎี 8K’S

 K1 Human Capital คนเป็นจุดเริ่มต้นของต้นทุนของทั้งหมดจำเป็นต้องผ่านการลงทุนด้าน – การศึกษา, โภชนาการ, การฝึกอบรม,การเลี้ยงดูครอบครัว- บางคนเรียนน้องแต่อาจสามารถมีคุณภาพดีกว่าคนที่เรียนสูงกว่าปัญญาจึงอาจไม่ใช่ปริญญาดังนั้นสำหรับคนการลงทุนด้านโภชนาการและการศึกษาอาจจะไม่เพียงพอ 

K2.Intellectual Capital ทุนทางปัญญาคือยุทธศาสตร์การมองอนาคตการศึกษาควรเน้นให้ทำความเข้าใจวิเคราะห์แก้ไขปัญหาไม่ใช่ท่องจำการเรียนรู้แบบทฤษฎี 4L’Sสามารถทำให้เสริมการคิดวิเคราะห์ได้ซึ่งประกอบด้วย 1. Learning Methodology(การเรียนรู้ที่น่าสนใจ) 2. Learning Environment(สร้างบรรยากาศการเรียนรู้) 3. Learning Opportunity(สร้างโอกาสการเรียนรู้ 4. LearningCommunities (สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้)การสร้างทุนทางปัญญาโดยผ่านองค์กรแห่งการเรียนรู้และปลูกฝังวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้นั้นสำคัญมากๆสำหรับประเทศไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน – การสร้างมุมมองใหม่ๆ นั้นอาจารย์จิระใช้การเรียนรู้ผ่านทฤษฎี 2R’S คือการมองความจริง(Reality)และมองสิ่งที่ตรงตามต้องการ (Relevance) 

K3.Ethical Capital แนวทางการสร้างจริยธรรมนั้นสร้างได้จาก 2 หลักคิด 1.จากคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เรายึดมั่นใน ศีล/สมาธิ/ปัญญาและ 2. จาก Peter Drucker ซึ่งให้มี Integrity (ความถูกต้อง) ก่อนที่จะมี Imagination (จินตนาการ) และ Innovation (นวัตกรรม)ทั้งสองหลักการตรงกันนั่นคือความเก่งนั้นต้องมาก่อนความดี  

 K4. Happiness Capitalทุนแห่งความสุขคือพฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมีเพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ นั่นคืองานที่ทำนั้นต้องมีความหมาย (Meaning) และเป้าหมาย (Purpose) และรู้ว่าความสุขสมดุลคืออะไร ก็จะทำให้ทำงานได้อย่างไม่รู้สึกเบื่อหรือเหน็ดเหนื่อยและผลงานที่ออกมาก็จะมีคุณค่า (Value) ทั้งต่อตนเองและสังคมกฎในการสร้างต้นทุนแห่งความสุข (Dr. Chira Hongladarom’s Model 1. สุขภาพร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม (Healthy) 2. ชอบงานที่ทำ (Passion) 3. รู้เป้าหมายการทำงาน (Purpose) 4. รู้ความหมายของงาน (Meaning) 5. มีความสามารถที่จะทำงานให้เสร็จ (Capability) 6. เรียนรู้จากวานและลูกค้าตลอดเวลา (Learning) 7. เตรียมตัวให้พร้อม  (Prepare) 8. ทำงานเป็นทีมอย่าทำคนเดียว (Teamwork) 9. ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม (Coaching) 10. ทำงานที่ท้าทาย (Challenge) 11. ทำงานที่มีคุณค่า ( Enrichment) และ Sharp/Hongladarom’s Model) 1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ (Exercise) 2. อย่าแบกงานที่หนักเกินไป (Put down your burden) 3. ศักยภาพในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Communicateeffectively) 4. ทำงานในจุดแข็งของตัวเอง (Recognize yourstrength) 5. มุ่งมั่นในงาน (Keep focus) 6. ทำในสิ่งที่อยากทำไม่ใช่เพราะต้องทำ (Reduce the “Shoulds”)7. ทำงานในองค์กรที่มองคุณค่าของคนและงานคล้ายๆกัน (Clarify your value)8. อย่าทำงานเครียดและวิตกกังวล (Overcome worriesand stress) 9. บริหารภาระงานให้เหมาะกับตัวเอง (Refine yourworkload) 10. ใช้คำว่าขอบคุณกับลูกน้องและเพื่อนร่วมงาน (Choose your word) 11. สร้างบรรยากาศการทำงานให้มีความสุขร่วมกัน (Create goodenvironment) 

K5.Social Capital (Networking) ทุนเครือข่ายนั้นลงทุนต่ำเป็นทุนที่ต้องลงทางอ้อม คือหาว่าคนเก่งในแต่ละด้านอยู่ที่ไหน และหาทางเจรจาต่อรองมาเป็นแนวร่วมโดยไม่ใช้เพียงอำนาจบังคับและทำให้เกิดสถานการณ์แบบwin-winโดยการสร้าง comfort zone , สร้าง trust & respect และ หาจุดแตกต่างเพื่อสร้างพลัง โดยการมี Networking นั้นจะทำให้เรามา ต้นทุนที่ถูกลง ในด้านข้อมูลข่าวสารและการเจรจาต่อรอง 

K6.Sustainable capital เป็นการมองศักยภาพในตัวว่าเราจะอยู่รอดในระยะยาวได้หรือไม่โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชการที่ 9 โดยใช้ 3 หลักการคือ –พอประมาณ/มีเหตุผล/มีภูมิคุ้มกัน-โดยใช้หลัก 6 ปัจจัยของความยั่งยืน 1.ต้องมองออกว่าสิ่งสำคัญที่ต้องทำคืออะไรและจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาระยะยาว2. GreenDevelopment ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม 3.มีการพัฒนาศีลและจริยธรรมคู่ไปกับความเจริญ 4. คิดเป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เป็น และเป็นสังคมเรียนรู้5. ความเจริญไปสู่คนส่วนใหญ่ไม่ใช่เจริญแค่กับคนส่วนน้อย 6. Self-reliance คือพึ่งตนเองได้ 

K7.Digital Capital ใช่สื่อ digital ต่างๆ เพื่อหาความรู้และแบ่งปันอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งการจะทำได้ทักษะภาษาต้องดีด้วย

K8.Talented Capital ต้องมี 3 องค์ประกอบคือ ทักษะ/ความรู้และ ทัศนคติ ซึ่ง3 องค์ประกอบนี้ควรทำตั้งแต่อายุยังน้อยและสามารถทำได้โดยอาศัย ทฤษฎี 5 E คือ 1. Example คือมีบุคคลตัวอย่างที่ดี 2. Experience เรียนจากผู้มีประสบการณ์ 3. Education การศึกษาอบรมค้นคว้า 4. Environment สร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ 5. Evaluation มีการประเมินผลการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ทฤษฎี 5 K’S ใหม่ ประกอบด้วย

5K’S 1. Creativity Capital ประกอบด้วย 1. คิดเป็น วิเคราะห์ และเรียนรู้ข้ามศาสตร์ 2. เวลาคิดต้องมีสมาธิ3. ต้องคิดเป็นระบบให้ได้ ก่อนที่จะคิดแบบสร้างสรรค์ 4. มีความอยากสร้างสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ  

  5K’S 2. Knowledge Capital ต้องนำข้อมูล (Data) มาเปลี่ยนเป็นข่าวสาร (Information) และเปลี่ยนเป็นความรู้ (Knowledge) และสามารถเพิ่มมูลค่า (Vale Added)  แล้วจึงแปลงเป็นความเฉลียวฉลาดของเรา (wisdom) และเลือกข้อมูลข่าวสารที่จะรับอย่าให้เป็น IOKO คือ Information Overload Knowledge Overflow จะทำได้ต้องใช้ 2R’S

5K’S3. Innovation Capital ประกอบด้วย 3 เรื่องคือ1. มีความคิดใหม่ความคิดสร้างสรรค์ และนำมาผสมผสานความรู้ 2.นำไปปฏิบัติจริงคือ –ออกแบบโครงการ/ผลักดันโครงการให้ได้รับการอนุมัติ/และบริการโครงการ-3. ทำให้สำเร็จ นวัตกรรมมี หลายแบบได้แก่ – สินค้าใหม่/บริการแบบใหม่/การบริหารแบบใหม่เช่นการพัฒนาตราสินค้าหรือกระบวนการ/นวัตกรรมทางสังคม-โดยมีต้นทุนทางนวัตกรรม 3Cซึ่งได้แก่ 1. Customer 2. Change management 3.  Command &Control

5K’S4. Cultural Capital คือความเข้าใจในความสำคัญของวัฒนธรรมที่ประกอบด้วยขนบธรรมเนียม, ศาสนา, ประวัติศาสตร์, ประเพณี, วิถีชีวิต, ภูมิปัญญา,แนวทางปฏิบัติ และความเชื่อและต้องมีความรู้และเข้าใจถึงความหลากหลายและการบริหารจัดการความแตกต่างของวัฒนธรรมได้ด้วย 

5K’S5. Emotional Capital คือการควบคุมอารมณ์ไม่โกรธง่ายไม่เครียด ไม่อ่อนไหวหดหู่ตกใจ ตื่นกลัว โดยมีต้นทุนที่ประกอบด้วย – Courage, Caring,Optimism, Self control & Communication

8K’S5K’S เพื่อการรองรับประชาคมอาเซียน อาเซียนจัดตั้งมาเพื่อ 1.เปิดเสรีการค้า 2. เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เช่นลดการกีดกันด้านภาษี กฎหมาย e-commerce และทรัพย์สินทางปัญญา 3.ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศเช่นการแชร์ทรัพยากรแรงงานฝีมือ หรือเงินลงทุน 4. สามารถบูรณาการเข้ากันเศรษฐกิจโลกได้

2. บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ ที่ประทับใจ มีอะไรบ้าง เพราะอะไร

บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับคือ แนวคิดในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ มี 3 ทฤษฎีที่สำคัญ ดังนี้

1) ทฤษฎี 4L’s เพื่อการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้

L ที่ 1 – Learning Methodology คือ มีวิธีการเรียนรู้ที่น่าสนใจ

L ที่ 2 – Learning Environment คือ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้

L ที่ 3 – Learning Opportunities คือ สร้างโอกาสการเรียนรู้

L ที่ 4 – Learning Communities คือ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

 

2) ทฤษฎี 2R’s คือ มองความจริง (Reality) และมองสิ่งที่ตรงกับความต้องการ (Relevance)

3) ทฤษฎี 2I’s เพื่อการเรียนรู้และสร้างพลังในการทำงาน ประกอบด้วย

Inspiration แรงบันดาลใจ  , Imagination จินตนาการ

และยังได้ทฤษฎีเพื่อการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

- ทฤษฎี C&E เพื่อการเรียนรู้และการทำงานยุคใหม่ ประกอบด้วย

Connecting การติดต่อ/เชื่อมต่อกัน , Engaging การมีส่วนร่วม

- ทฤษฎี HRDS เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข ประกอบด้วย

Happiness คือ การสร้างความสุขเพื่อส่วนรวม

Respect คือ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน

Dignity คือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน

Sustainability คือ ความยั่งยืนซึ่ง เป้าหมายระยะยาว

- ทฤษฎี 3L’s เพื่อการทำงานยุคใหม่ คือ

Learning from pain คือ การเรียนรู้จากความเจ็บปวด

Learning from experience คือ การเรียนรู้จากประสบการณ์

Learning from listening คือ การเรียนรู้จากการฟัง

สรุปมุมมองเรื่องทุนมนุษย์ของ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

เน้น HR Architecture – มองเรื่อง HR ทั้งในระดับ Macro และ Micro

ทฤษฎีทุนมนุษย์ 8K’s และ 5K’s (ใหม่)

ทฤษฎี 3 วงกลม เพื่อการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ทฤษฎี HRDS

ทฤษฎีเพื่อสร้างวัฒนธรรมและสังคมการเรียนรู้ 4L’s, 2R’s, 2I’s

ความสำเร็จของงาน HR มาจาก CEO+Smart HR+Non-HR

HR Execution

10 ประเด็นที่ต้องรู้จริงเพื่อก้าวเข้าสู่ AEC ได้อย่างสง่างาม

1. AEC ประกอบด้วยประเทศอะไรบ้าง 2. AEC มีการร่วมมือกันด้าน – เศรษฐกิจ, สังคมวัฒนธรรม และการเมือง3.เกิดการแข่งขันเสรีในภูมิภาค และการกระจายเงินทุนและฝีมือแรงงาน 4. ค้นหาตัวเองและเตรียมพร้อมที่จะหาโอกาส5. ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงเช่นตลาดจะใหญ่ขึ้น 6.รักษาภูมิปัญญาเดิมและเพิ่มมูลค่า 7. พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษและภาษาท้องถิ่นแต่ละประเทศ 8. สร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ 9.พัฒนาทรัพยากรมนุษย์  10.บริการความเสี่ยงโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง 

3. จากความรู้ที่ได้สามารถนำไปเป็นประโยชน์กับตนเองอย่างไร

สามารถนำทฤษฎีของ อ.จีระ นำไปใช้ต่อการกำหนดหัวข้อวิทยานิพนธ์และแนวทางการดำเนินการ โดยต้องมองเหนือไปกว่าในปัจจุบันที่องค์กรเป็นอยู่ และมีแผนที่จะกำหนดหัวข้อวิทยานิพนธ์ในเรื่องของนวัตกรรมการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในสถานพยาบาลเพื่อผลสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการให้บริการผู้ป่วยตามมาตรฐานสากล ซึ่งต้องเร่งอ่านหนังสือ แนวคิดทฤษฎีให้มีความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น และคิดวิเคราะห์ตามในขณะที่ได้มีโอกาสฟังคำบรรยายโดยตรงจากท่านอาจารย์จีระ ที่เราจะต้องค้นหาความจริงให้เจอ จะไปแบบไหนที่ไม่คดเคี้ยว สามารถก้าวข้ามอุปสรรค สอดคล้องกับชีวิตการทำงานที่เป็นอยู่

แจ่มจันทร์ คล้ายวงษ์ นักศึกษาปริญญาเอกรุ่นที่ 15 หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการ


นางสาววันดี พลรักษ์ (ตุ๊ก)

บทวิเคราะห์ The Ethical Power พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม

1. ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มที่อ่าน มีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

ชื่อหนังสือ The Ethical Power พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม มีความสำคัญต่อสังคม คือ เมื่ออ่านแล้ว จะสร้างพลังในการขับเคลื่อนสังคมไทยไปสู่สังคมคุณภาพ ด้วยคุณธรรม จริยธรรม และความดีงามของคนในชาติ เป็นหนังสือ ที่มีคำตอบและเป็นสิ่งที่คนทุกระดับในสังคม สามารถนำไปปรับใช้ได้ เพื่อประโยชน์และความสุขสงบของสังคมไทยในภายภาคหน้า สังคมที่เราคาดหวังว่าคุณธรรม จริยธรรม จะเป็นสิ่งล้ำค่าค้ำจุน จรรโลงประเทศชาติของเราตลอดกาลนาน


2. บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ ที่ประทับใจ มีอะไรบ้าง เพราะอะไร

ความประทับใจ คือ ได้ทราบถึง 4 ต้นแบบผู้ที่มีพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม คนธรรมศาสตร์

  • ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ (11 เมษายน 2477 – 18 มีนาคม 2495)
  • ศาสตราจารย์พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอฯ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (19 ธันวาคม 2506 – 31 มีนาคม 2514)
  • ศาตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ( 1 ธันวาคม 2513 – 31 มีนาคม 2514 และ 1 เมษายน 2514 – 16 ตุลาคม 2516)
  • ศาตราจารย์ พันตรี ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (30 มกราคม 2518 – 6 ตุลาคม 2519)

 

หลักคุณธรรม จริยธรรม ทำให้ประเทศไทย ดำรงอยู่ได้ อย่างที่ในหลวงท่านพระราชทานพระราชดำริไว้ว่า ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมือง มีความปกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่ การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวาย นี่คือหัวใจของบ้านเมืองที่คนไทยจะต้องตระหนัก และต้องพยายามปฏิบัติให้ได้

เยาวชน คือ คนที่จะต่อช่วงจากบุคคลรุ่นปัจจุบันนี้ คนรุ่นต่อไป ต้องมีความเข้มแข็งไม่ใช่ว่าแค่เพียงร่างกาย แต่ต้องเข้มแข็งทั้งจิตใจ สมอง วิญญาณ ความเชื่อมั่น เรื่องของความถูกต้องชอบธรรม คุณธรรม จริยธรรม

การปลูกฝังของครอบครัว เป็นสิ่งที่จำเป็น ครอบครัวจะต้องปลูกฝังว่า “สิ่งใดที่ควรทำและไม่ควรทำ” ครอบครัว พ่อ แม่ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เป็นจุดเริ่มต้น ของการปลูกฝังเรื่องคุณธรรม จริยธรรม 

ส่วนบทบาทที่สำคัญของกระทรวงศึกษาฯ ในอนาคต คือ ต้องสร้างสะพาน ให้บ้าน วัด โรงเรียน เชื่อมโยงกันให้ได้

3. จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้ คืออะไร ให้ข้อเสนอแนะ เพื่อการพัฒนา

จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้ คือ มีการพิมพ์ตก ในหลายจุด จึงอยากให้มีการตรวจทาน ก่อนสั่งตีพิมพ์

 

นางสาววันดี พลรักษ์ (ตุ๊ก)

นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 15

Ph.D. Innovative Management

Email: [email protected]

วิจารณ์หนังสือ พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม

สันติ  เอี่ยมวุฒิปรีชา ปริญญาเอกราชภัฏสวน สุนันทา รุ่น 15

 

ชื่อเรื่องของหนังสือมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

หนังสือถูกตีพิมพ์ในปี 2558  ประมาณ 1 ปี หลังการรัฐประหารในวันที่ 16 มิถุนายน 2557  สาเหตุเกิดจากวิกฤตนักการเมืองขาดคุณธรรมและจริยธรรม ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อประเทศ จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อหนังสือ ซึ่งมีความชัดเจน และ คงเป็นที่สนใจสำหรับ กลุ่มผู้ใหญ่  วิกฤตครั้งนี้ต่างจาก ปี 2540 ที่เกิดจากปัญหาเศรษฐกิจ ฟองสบู่แตก ครั้งนั้นปัญหาเกิดจากนักธุรกิจ มีความโลภ ขาดคุณธรรมและจริยธรรม  สังคมไทยจึงควรเรียนรู้จากความล้มเหลวในอดีต และ กลับมาพัฒนาทุนพื้นฐานของมนุษย์  ใช้พลังแห่งคุณธรรมและจริยธรรม ขับเคลื่อนสังคมไปในทางที่ดี สร้างความสงบสุข และยั่งยืน

บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้

" คุณธรรม" หมายถึง สิ่งที่ดีงามที่อยู่ในจิตใจของมนุษย์โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ ประสบการณ์ และการอบรม จนทำให้เกิดการประพฤติปฏิบัติที่ดี

" จริยธรรม" หมายถึง แนวทางในการประพฤติปฎิบัติตนให้เป็นคนดี ซึ่งนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคม

หลักการของหนังสือ คือ การสอน ปลูกฝัง และ พัฒนา คุณธรรมและจริยธรรม เริ่มตั้งแต่ ระดับตัวเอง ครอบครัว สถาบันการศึกษา องค์กร และ สังคม โดยการที่คนรุ่นหนึ่งจะชี้นำคนอีกรุ่นหนึ่ง และ สอนให้เชื่อว่า ประสบการณ์ ความดี ของบุคคลเหล่านั้น จะเป็นแบบอย่างที่ดี สร้างความเข้าใจเรื่อง การเป็นคนดี มีคุณธรรม และ  จริยธรรม ซึ่งสำคัญกว่าและต้องมาก่อนการเป็นคนเก่ง เมื่อมีจิตใจที่ยึดมั่นในหลัก คุณธรรม และ จริยธรรม จะทำให้เกิดทุนแห่งความสุขได้

เพื่อให้สอดคล้องกับสถานะการณ์ในขณะนั้น หนังสือจึงยกตัวอย่าง Role Model ของอาชีพ นักการเมือง ข้าราชการ และ นักวิชาการ เพื่อเป็นแบบอย่าง คุณธรรมและจริยธรรมระดับบุคคล ที่มีต่อสังคมประชาธิปไตย สำหรับผู้นำที่ยกตัวอย่าง นอกจากจะมี คุณธรรม และ จริยธรรม แล้ว ต่างก็มีคุณสมบัติที่เหมือนกันคือ เป็นผู้นำที่กล้าหาญ เสียสละ และ ยึดถือ ยึดมั่น ในหลัก คุณธรรมและจริยธรรม ที่เรียกว่ามี Integrity ด้วย

อาจารย์จีระ ให้ความสำคัญกับทุนทางจริยธรรม ( Ethical Capital )  รองจาก Human Capital ซึ่งเป็นทุนมนุษย์ตัวหลัก  ต่างจาก Gary Becker ที่ให้ความสำคัญกับ input ของ Human Capital คือ การศึกษา ทักษะ สุขภาพ อนามัย โภชนาการ  อาจารย์เห็นว่า  ทุนทางจริยธรรม มีความสำคัญ เพราะเป็นพื้นฐานของทุนมนุษย์ทั้งหมด กล่าวคือ ต้องประพฤติตนให้มี  คุณธรรม และ จริยธรรม ก่อน จึงจะไปพัฒนาทุนตัวอื่นๆได้ เราจึงต้องช่วยกัน ปลูกฝัง คุณธรรม และ จริยธรรม เพื่อช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ เป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องช่วยกันตามแต่ละบทบาท ในทุกระดับของสังคม

มีการพูดถึง คุณธรรม และ จริยธรรม ของนักการเมืองไทย มานานมากกว่า 10 ปี มีบทความให้หาอ่านมากมาย หากอ่านย้อนหลังไปหลายๆปี จะพบว่า ปัญหาคอร์รัปชั่นของนักการเมืองมีมานานแล้ว และ เป็นสาเหตุของการยึดอำนาจทุกครั้ง การคอร์รัปชั่น มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น ทั้งในแง่จำนวนเงิน และ กำลังขยายตัวไปในทุกภาคส่วนอย่างรวดเร็ว สาเหตุส่วนหนึ่ง อาจเพราะ การเข้าสู่อาชีพนักการเมืองไทย ทำได้ง่ายเกินไป ต่างจากอาชีพอื่นที่ต้องอาศัยเวลาในการบ่มเพาะความรู้ ประสบการณ์ ต้องอยู่ในกฎระเบียบ บางอาชีพมีกรอบคุณธรรมจริยธรรมกำกับ และ มีบทลงโทษ เช่น หมอ ทนายความ วิศวกร สื่อ 

คุณธรรมของนักการเมืองที่ดี คือ  มีธรรมาภิบาล ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ยอมรับการตรวจสอบ แต่การเป็นนักการเมืองไทยเป็นเรื่องง่าย หากมีเงินก็สามารถเป็นได้  จึงมีการถอนทุน ในระยะสั้นกับนักการเมืองปัจจุบัน การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนักการเมืองคงทำได้ยาก คงต้องอาศัยระบบตรวจสอบ และ การบังคับใช้กฎหมาย  และ กระบวนการยุติธรรมที่รวดเร็ว ให้เห็นผลเป็นตัวอย่างให้เกิดความเกรงกลัว เหมือนอย่างประเทศอื่น เช่น เกาหลี เป็นต้น

การสร้างทุนทางจริยธรรม ( Ethical Capital ) ตามแนวทางในหนังสือ บางส่วนน่าจะสอดคล้องกับสิ่งที่ผมได้ทำอยู่ จึงขอนำเสนอข้อสังเกตจากประสบการณ์จริงที่ได้ปรับใช้ และ เพื่อต่อยอด ดังนี้:

ครอบครัว 

ผมเห็นว่าเราต้องปลูกฝังเรื่อง คุณธรรม และ จริยธรรม ตั้งแต่เด็ก จึงเน้นปลูกฝังเรื่อง ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ไม่โกง ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ไม่ไปสาย  หลักสูตรการศึกษายุคใหม่ ไม่มีวิชาหน้าที่พลเมือง หรือ ศีลธรรม การปลูกฝังเรื่องนี้ จึงเป็นหน้าที่ของพ่อ แม่ ต้องเสียสละเวลาส่วนตัว และ หาเวลาใกล้ชิดเด็กให้มากที่สุด ใช้วิธีพูดอบรม สั่งสอน ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี และทำซ้ำๆให้เห็น หลีกเลี่ยงที่จะทำให้เด็กรู้สึกว่าเป็นการบ่นที่น่ารำคาญ ไม่สนใจฟัง ควรคุยเรื่องบุคคลอื่นใกล้ตัวเป็นตัวอย่าง เช่น จากที่ทำงาน โรงเรียน หรือ บุคคลที่กำลังเป็นข่าว พร้อมสอดแทรกคุณธรรม ทำอย่างไรไม่ให้น่าเบื่อหรือเป็นเรื่องไกลตัว ทำให้เห็นว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ทุกเวลา ไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องสูงส่งเกินกว่าจะทำได้

สื่อ

ปี 2553-2554 ศูนย์คุณธรรม ได้ทำการวิจัยเชิงคุณภาพจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 667 คน พบว่า หากสื่อมวลชนนำเสนอด้านคุณธรรมน้อย จะส่งผลกระทบให้สังคมขาดความดีงาม ไม่สงบสุข เกิดความแตกแยกวุ่นวาย ที่สำคัญทำให้กลุ่มเยาวชนได้รับการปลูกฝังที่ไม่ดี กระทบต่อการพัฒนาประเทศ กลุ่มเด็กและเยาวชนตั้งแต่ 10-24 ปี เห็นว่าสื่อไม่นำเสนอข้อมูลด้านคุณธรรม จะทำให้ตนเองไม่รู้จักคุณธรรม  ระยะยาวจะทำให้เยาวชนขาดสติ ประพฤติสิ่งไม่ดี ขาดความซื่อสัตย์ไม่เกรงกลัวต่อบาป ขาดคนดีในสังคม องค์กรสื่อส่วนใหญ่เน้นการทำงานเพื่ออยู่รอด หวังผลเชิงธุรกิจ ไม่เน้นเรื่องคุณธรรม

สื่อโทรทัศน์น่าจะเป็นปัญหามากที่สุดสำหรับเด็ก ที่บ้านจึงดูละคร และ เกมโชว์น้อยมาก เนื่องจากเห็นว่า เนื้อหามักสร้างค่านิยมที่ผิด ขัดแย้งกับคำสอนของเรา จึงเน้นการดูสารคดี ข่าว และ กีฬา เพื่อให้เด็กหัดคิด มีวิจารณญาณ

 ศาสนา

ตามความเห็นของ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี การเรียนจริยธรรม ต้องเรียนแบบประพฤติปฏิบัติจริงตั้งแต่เด็ก ผู้นำที่ดีควรรักษาศีล 5  ท่านด้วิเคราะห์ปัญหาการคอร์รัปชั่นโดยใช้ อริยสัจสี่ คือ

ทุกข์ คือ เกิดปัญหาวิกฤตกับสังคมไทย ประเทศไม่ก้าวหน้า

สมุทัย คือ สาเหตุของปัญหา คือ ระบบศีลธรรมอ่อนแอ การเมืองเต็มไปด้วยการคอร์รัปชั่น กฎหมาย การศึกษาอ่อนแอ ไม่สอนให้คนคิด

นิโรธ คือ เป้าหมายของสังคมไทยในอนาคต การเมืองมีธรรมาภิบาล เศรษฐกิจ และสังคมเข้มแข็ง มีการพัฒนาที่ยั่งยืน คนไทยมีความสุข

มรรค คือ หนทางในการแก้ปํญหา คือ  เปลี่ยนวิธีคิดของคนไทย ปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา

คำสอนของศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจที่ดี แต่ วัด ซึ่งทำหน้าที่เป็น สื่อคำสอน ยังไม่ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง มุ่งเน้นความเชื่อทางวัตถุมากกว่าคำสอน โดยเฉพาะในเขตเมือง  ยกเว้น วัดป่า ที่ยังคงเน้นคำสอน และ ความเรียบง่าย  คนไทยยุคใหม่จึงเริ่มหันเหความสนใจไปยังสถานปฏิบัติธรรมมากกว่าวัด  สำหรับเด็ก ผมเคยให้เข้าร่วมกิจกรรมของยุวพุทธิกสมาคม เมื่อเด็กกลับมาบ้านหลังเข้าร่วมกิจกรรม 2 อาทิตย์ เห็นผลดี เกิดการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นมาก

โรงเรียนคุณธรรม และ องค์กรคุณธรรม

ปี 2555 กระทรวงศึกษาธิการได้ริเริ่ม โครงการ โรงเรียนคุณธรรม เพื่อสนองพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ที่ว่า ' ให้โรงเรียนสร้างคนดีให้บ้านเมือง '  ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการไปแล้ว ประมาณ 3,300 โรงเรียน จากโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน( สพฐ.) ทั่วประเทศจากทุกศาสนา จำนวน 30,000 กว่าแห่ง เพื่อปลูกฝัง คุณธรรม และ จริยธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทย และ วิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

ตั้งแต่ปี 2556 ถึงปัจจุบัน บริษัทที่ผมทำงานได้ให้การสนับสนุน โครงการ โรงเรียนคุณธรรม ใน กทม. จำนวนทั้งสิ้น 11 แห่ง โดยการจัดให้มี การอบรม เรื่อง คุณธรรมและจริยธรรม ให้ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง  และ ชุมชน ให้นักเรียนระดมความคิดเห็น สร้างค่านิยม และ คุณธรรม ของนักเรียน เช่น มีน้ำใจ มีวินัย โตไปไม่โกง ซื่อสัตย์ จิตอาสา  เป็นต้น โดยใช้ ตัววัดผลต่างๆ เช่น การทำผิดระเบียบลดลง การมาสายลดลง ของหายลดลง เป็นต้น ตลอดระยะเวลา 4 ปี ได้เห็นผลเชิงประจักษ์ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เป็นการสนับสนุนความเชื่อที่ว่า  คุณธรรมต้องปลูกฝังตั้งแต่ เด็ก  ผลแห่งความสำเร็จนี้ ทำให้ได้รับความสนใจ  มีโรงเรียนอื่นๆต้องการร่วมโครงการจำนวนมาก จนปัจจุบัน กทม. ได้กำหนดให้ โรงเรียนในสังกัด 438 แห่ง ต้องเป็นโรงเรียนคุณธรรมทั้งหมดแล้ว

สืบเนื่องจากความสำเร็จดังกล่าว ฝ่ายบริหารบริษัทฯ จึงนำแนวทางดังกล่าวมาใช้กับพนักงาน มุ่งเน้นสร้างค่านิยม คุณธรรมและจริยธรรม ของพนักงาน อาศัยจุดแข็งเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมของพนักงาน สร้างความเชื่อมั่นกับลูกค้าเพื่อการเติบโตในระยะยาว โดยการจัดทำโครงการ  ' องค์กรคุณธรรม '  ระยะเวลาโครงการ 18 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2560 โดยกำหนดให้ พนักงานทุกคน จากทุกระดับ ต้องเข้าอบรม ดูงาน 100>#span### เพื่อระดมความคิดเห็นจนได้ค่านิยม หรือ คุณธรรมเป้าหมายของพนักงาน คือ ซื่อสัตย์ มีวินัย รับผิดชอบ หลังจากนี้จะต้องจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมความดี และ พฤติกรรมที่ดี ตั้งแต่ระดับ พนักงาน ฝ่าย บริษัท และ ขยายถึงชุมชน ต่อไป ผมเชื่อว่าสิ่งที่บริษัทฯทำนี้ เป็นการพัฒนา คุณธรรมและจริยธรรม ควบคู่ไปกับการพัฒนาธุรกิจ เป็นการสร้างจุดแข็ง ทำให้บริษัทฯได้รับความเชื่อถือมากขึ้น สร้างความยั่งยืนระยะยาวให้บริษัทฯ ( Sustainable Capital )

โครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต ( Thailand's Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption : CAC)

ปีนี้  บริษัทฯ ยังได้เข้าร่วม กับ CAC ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และ ปปช. จัดตั้งขึ้นมาโดยองค์กรธุรกิจชั้นนำของประเทศ อาทิ สภาอุตสาหกรรมไทย สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย หอการค้าไทย เพื่อมุ่งสร้างและขยายแนวร่วมในภาคเอกชน เพื่อสร้างกระแสการต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชั่น ด้วยการส่งเสริมให้บริษัทต่างๆ กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติ ในการที่จะปฏิเสธการจ่ายสินบน รวมถึงการทุจริต คอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ มีผู้มีชื่อเสียงหลายท่านเป็นกรรมการของ CAC  เช่น  คุณประมนต์ สุธีวงศ์ และ คุณพารณ อิศรเสนา

บริษัทที่ได้รับการรับรองจาก CAC จะต้องมีมาตรฐานระบบป้องกันการทุจริต และ จะถูกกำหนดเป็นเงื่อนไขในการคัดเลือกเป็นคู่สัญญากับรัฐในการจัดซื้อจัดจ้าง และ การเลือกลงทุนสำหรับนักลงทุนสถาบัน เป็นต้น 

จุดอ่อนของหนังสือ

Role Model ในหนังสือบางท่าน อาจไม่เป็นที่รู้จักของคนรุ่นใหม่

 

หมายเหตุ

ในหน้า 29 และ 30 มีการกล่าวถึงโลกยุคที่ 4 และ ใช้คำว่า Forth Wave ไม่แน่ใจว่า หมายถึง Forthcoming Wave หรือ Fourth Wave ซึ่งหมายถึง คลื่นลูกที่ 4 ตามหนังสือ The Third Wave ของ Alvin Toffler 

บทวิเคราะห์หนังสือ “The ethical power พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม”

รายวิชา : PHD 8205 Management of Human and Social Capital

ผู้สอน : Prof. Chira Hongladarom, Ph.D

โลกในยุคนี้มี4 เรื่องสำคัญคือ – โลกาภิวัตน์, วิกฤติและความเสี่ยง, การสร้างความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตอย่างยั่งยืน- คนส่วนใหญ่ทำเพื่อการแข่งขันเป็นหลัก ไม่ได้มองถึงความยั่งยืน โดยความยั่งยืนต้องอาศัยคุณธรรม จริยธรรม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญการจะทำให้ คุณธรรม จริยธรรม ทำได้จริงจะต้องทำในทุกระดับซึ่งหมายถึงในระดับ –ตัวเราเอง, ครอบครัว,องค์กร, ชุมชน, สังคม, ระดับประเทศ และระดับโลก-  เพราะการแข่งขันทำให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากร เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว จนขาดหรือละทิ้งคุณธรรมและจริยธรรม ดังนั้นผู้นำต้องมีสองคุณสมบัติสำคัญ คือ – ซื่อสัตย์ และ ทำงานเพื่อส่วนรวม ผู้นำที่ฉลาดรอบรู้มีวิสัยทัศน์ และมีคุณธรรม จริยธรรม จะทำให้การตัดสินใจต่างๆ เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว จะทำให้ทุกฝ่ายในสังคมเอาชนะเหตุการณ์ต่างๆ ไปได้แบบ win-win

ธรรมภิบาลคือคุณธรรม จริยธรรม และความโปร่งใสความรับผิดชอบ คือกรอบกติกาในการบริหารงาน ซึ่งจำเป็นต้องใช้ผู้นำที่มีคุณธรรมในการเพื่อสร้างจริยธรรมในองค์กร ผู้นำที่ดีต้องมีพรหมวิหาร4 คือมี EQ มากกว่า IQ คือนึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมการกว่าส่วนตน ลักษณะผู้นำที่ดีประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ – มีจิตสาธารณะ, มีวิชาความรู้, มีความเสียสละ, มีคุณธรรมและความกล้าหาญ-

ปัญหาคอรัปชั่นสามารถมองได้ในแง่ของอริยสัจ 4 ได้ดังนี้ 1. ทุกข์ คนไทยแก่งแย่งผลประโยชน์ ช่วยแหลือแค่พวกพ้องกลุ่มเล็กๆ จนไม่สามารถพัฒนาแบบยั่งยืนได้โกงกินร่ำไป 2. สมุทัย โครงสร้างทางการเมืองและสังคม มีแต่คนโกงอาศัยอยู่ประชาชนอ่อนแอ จนเกิดเป็นระบบอุปถัมภ์ผู้มีอำนาจกลุ่มเดิมๆ 3. นิโรธ สร้างการเมืองที่มีธรรมาภิบาล ให้เศรฐกิจที่เข้มแข็ง ต่อต้านคอรัปชั่น 4. มรรค ต้องปฏิรูป ค่านิยมคนไทยต่อเรื่องความโกงตั้งแต่การศึกษากระบวนการยุติธรรม รัฐบาล ราชการ ประชาชนและสื่อ ทำประสานกันทั้งหมด (Collective awareness)

ทุนจริยธรรมมีสองความหมายคือ – ทุนทางจริยธรรมทางเศรษฐศาสตร์และการเมือง ถ้าไม่มีทุนขอนี้ จะทำให้เกิดการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนและคอรัปชั่น การแข่งขันมีปัญหา คนมีฝีมือไม่ได้รับโอกาส ขาดการพัฒนาต่อเนื่อง และข้อสองคือทุนจริยธรรมทางสังคม หากขาดทุนข้อนี้คนจะเป็นอยู่อย่างไม่เป็นสุขทะเลาะกันเพื่อการเอาเปรียบ และผลประโยชน์ส่วนตน- การสร้างจริยธรรม ได้จาก 1 กลุ่มปฐมภูมิ คือมาจากครอบครัว พ่อแม่และสถาบันการศึกษา 2 มาจากการมีกฎหมาย และการสร้างระเบียบที่เอาจริงกับการคอรัปชั่น และทำให้เป็นวัฒนธรรม เช่นการมีความเข้มงวดเรื่องการมาสายของคนญี่ปุ่น การจะสร้างสิ่งเหล่านี้ต้องมีอุดมการณ์ และจากอุดมการณ์จะผลักดันให้เกิดเป็น Socialization

การมองการพัฒนาประเทศมี 2 วิธี คือ 1. มองที่ผู้นำซึ่งต้องมีคุณธรรม และจริยธรรมสูง 2. และต้องมีระบบการบริหารประเทศที่ดี และไม่เพียงพึ่งพาแต่ความดีของผู้นำแต่เพียงอย่างเดียว

โดยสรุปการปลูกฝังจริยธรรมนั้นสร้างได้จากปัจจัย 6 ประการ

  1. ครอบครัว โดยผ่านการอบรมจากครอบครัวผู้ปกครอง พ่อแม่
  2. โรงเรียนมีหน้าที่สำคัญในการอบรมสั่งสอนนักเรียนให้มีความดีและไม่อายที่จะทำความดีท่ามกลางปัญหาความรับผิดชอบต่างๆ
  3. ศาสนา เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจที่สำคัญทำให้คนมีความเข้าใจในเรื่องการทำความดีและหลักคิดที่ทำให้คนอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขและยั่งยืน
  4. สังคม ในข้อนี้ผมรวมถึงวัฒนธรรมเข้าไปด้วยคือการปฏิบัติทั่วไปของคนหมู่มากที่ต้องไม่ยอมให้การคดโกงเอาเปรียบเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ และต้องต่อต้านอย่างแข็งขัน
  5. สื่อ คนที่มีบทบาทในการสร้างสื่อ (รวมถึง social media ด้วย) ต้องรับผิดชอบต่อการรับรู้ข้อมูลของคนในสังคม กล่อมเกลาคนในสังคมด้วยข้อมูลที่สำคัญและมีสาระ และรับผิดชอบต่อการจัดการข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์ต่อคนในสังคม

ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มที่อ่านมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

จากการที่โลกเปลี่ยนจากยุคที่ 1 คือยุคเกษตรกรรมสู่ยุคที่2 คือยุคอุตสาหกรรมเบา สู่ยุคที่ 3 คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)  สู่ยุคที่ 4 คือ Forth Wave ที่ประกอบไปด้วยคุณธรรม จริยธรรม (Ethics),ความยั่งยืน (Sustainability), ความเฉลียวฉลาด (Wisdom), ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity),นวัตกรรม (Innovation), Intellectual capital (ทุนทางปัญญา),ภาวะผู้นำ (Leadership) และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องมีทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม (Ethical Capital) เป็นพื้นฐานจึงจะพัฒนาไปสู่ผู้นำในรูปแบบ Trust/Authority หรือรูปแบบ “ผู้นำ” ที่สร้างศรัทธาจากสังคมให้เกิดขึ้นด้วยความดีงาม ความซื่อสัตย์ ความมั่นคง และความกล้าที่จะตัดสินใจด้วยการเลือกทำเพื่อประโยชน์ส่วนร่วมเพื่อวางรากฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้แก่ประเทศไทย  ซึ่ง ศ.ดร.จีระ ได้ยกตัวอย่างความดีงามของคนในชาติที่ อาจารย์ จีระ ชื่นชมในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม คือ

1. ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ 
2. ศาสตราจารย์พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอฯ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
3. ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์
4. ศาสตราจารย์พันตรี ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์

บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ที่ประทับใจมีอะไรบ้าง เพราะอะไร

จุดเริ่มต้น สู่จุดหมายของการสร้างพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม สู่บทสรุปเพื่อการนำไปปรับใช้ จากทฤษฎี 8K’s แนวคิดการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ ของ ศ.ดร.จีระนั้นจะเห็นได้ว่า ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม (Ethical Capital) เป็นพื้นฐานที่สำคัญว่า คุณธรรมและจริยธรรม หรือความดี ความถูกต้องจะต้องมาก่อนความเก่ง ซึ่งต้องอาศัยการปลูกฝังตั้งแต่เกิด มาจากปัจจัย 6 ประการคือ ครอบครัว, โรงเรียน, ศาสนา, สังคม, สื่อ, ตัวอย่างคนดีต้นแบบ (Role Model)

วิธีการสร้างทุนแห่งคุณธรรม จริยธรรม โดยนำความรู้ที่ได้จาก พระมหาวุฒิชัย วชิเมธี (ว.วชิรเมธี)-แง่คิดหลักธรรม กับท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  และหลักคิดและมุมมองของบุคคลตัวอย่าง 3 ท่านคือ ศ.พิเศษ วิชา มหาคุณ,คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์,คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย รวมถึง มุมมองของนักคิดและนักปฏิบัติระดับประเทศ ได้แก่ ศ. คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี, นายชวนหลีกภัย, ศ.พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์, รศ. สุขุม นวลสกุล มารวบรวม นำมาปรับและประยุกต์ใช้ได้กับทุกระดับ ดังนี้ 

ระดับ               วิธีการสร้างพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม ที่ได้ผล
ตัวเอง รักษาศีล 5 และค่านิยม 12 ประการ เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่คนรอบข้างประกอบอาชีพที่สุจริต ไม่โกง รู้จักคุณค่าของตัวเอง
ครอบครัว ปลูกฝังเรื่องสิ่งใดควรทำและสิ่งใดไม่ควรทำ หาเวลาว่างทำกิจกรรมร่วมกัน ในครอบครัวพูดคุยกัน ปลูกฝัง ให้ความคิด ให้วิธีการตัดสินใจและการแก้ปัญหา ไม่เอาผลประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นผลประโยชน์ส่วนตัว   พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม ควรจะกำหนดให้มีการไปไหว้พระ ทำบุญที่วัด นั่งสมาธิวิปัสนาบ้าง ต้องเชื่อมโยงบ้าน วัด โรงเรียน เข้าด้วยกันให้ได้
สถาบันการศึกษา -การเรียนการสอนเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ต้องนำมาสู่ภาคปฎิบัติที่แท้จริง ประยุกต์เข้าสู่ชีวิตจริง ยกตัวอย่างโรงเรียนของ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยาท่านสอนแบบ Learning by doing ต้องเรียนจากของจริงตั้งแต่เด็ก เป็นการปลูกจิตสำนึก บทบาทของครูมีความสำคัญควรเรียนรู้บุคคลต้นแบบเพื่อเป็นแบบอย่างด้านคุณธรรม จริยธรรม เช่น อาจารย์ป๋วย อาจารย์ปรีดี เป็นต้น       -กระทรวงศึกษาธิการมีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานและพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศไทย สิ่งที่ควรทำ1. มีหลักสูตรเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ในชั่วโมงเรียนมากขึ้นและเน้นปฎิบัติจริงให้มีจิตสาธารณะ     รู้จักเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม2. นำบุคคลที่ทำตวามดีมาเป็นต้นแบบ Role Model3. เร่งปลูกฝังค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ให้นักเรียนไทยมีแก่นนิยมเป็นหลักเป็นยุทธศาสตร์ต่อเนื่อง ต่อยอด ต่อไป
องค์กร ศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจ จะต้องไม่มองข้ามความถูกต้อง ธุรกิจจะต้องปลูกฝังเรื่องคุณธรรม จริยธรรมซึ่งเป็นพื้นฐานในการขับเคลื่อนความเป็นเลิศขององค์กร ผู้นำองค์กรต้องมีธรรมภิบาล สร้างค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรที่ดี เพื่อให้ทุกคนในองค์กรยึดถือและปฎิบัติตาม
ชุมชน/สังคม ค่านิยมที่ดีต่อชุมชน ต้องไม่ตกเป็นเหยื่อของ “สื่อ” หรือ “ความเจริญทางเทคโนโลยี”  ปฎิบัติตามสิทธิและหน้าที่ของการเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมและประเทศชาติ
ประเทศ -ปลูกฝังค่านิยมต่อต้าน ผู้นำประเทศ นักการเมือง ผู้นำทุกระดับ ต้องไม่ทุจริตและคอรัปชั่นทุกชนิด ควบคู่ไปตามกรอบแนวคิดแบบอริยสัจสี่ ในทัศนะของท่านพระอ. ว.วชิรเมธี ได้แก่

ทุกข์ คือ ปัญหาวิกฤตสังคมไทยในปัจจุบัน ย่ำอยู่กับที่และไม่มีสันติสุขสมุทัย คือ สาเหตุของปัญหาในปัจจุบัน ได้แก่ โครงสร้างการเมืองและสังคมที่เต็มไปด้วยคอร์รัปชั่น ภาวะสองมาตราฐาน เอื้อต่อการทุจริตนิโรธคือเป้าหมายของสังคมไทยในอนาคตได้แก่ การเมืองไทยมีธรรมภิบาล  คนทั้งชาติเกลียดการคอรัปชั่น และคนไทยมีสันติสุขมรรค คือ หนทางในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นนั้นควจจะปฏิรูปค่านิยมและโครงสร้างของสังคมไทยต่อต้านคอร์รัปชั่นทุกภาคส่วน สร้างค่านิยมสังคมที่รู้จักพอเพียง

  - การเลือกผู้นำ การเมืองภาคประชาชนต้องเข้มแข็งมีความรู้ความเข้าใจในหลักประชาธิปไตยที่แท้จริง เข้าใจภาพรวมของเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน สิ่งสำคัญคือยึดมั่นในหลักคุณธรรม จริยธรรมความถูกต้อง มีความกล้าหาญ และไม่ยอมให้อำนาจเงินมาอยู่เหนือความถูกต้อง

อาเซียน ปลูกฝังค่านิยมในการอยู่รวมกัน แบ่งปันทรัพยากรซึ่งกันและกัน การปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง เช่น ความแตกต่างด้านเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ โดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้ทุกประเทศในอาเซียนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขธรรมที่เป็นโลกบาลที่รักษาโลกให้อยู่ร่วมกัน มี 2 ข้อ คือ “หิริ” ละอายชั่ว และ “โอตัปปะ”กลัวบาป “หิริ” ละอายตัวเอง “โอตัปปะ” ละอายคนอื่น

 จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้ คืออะไร ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ให้ความสำคัญกับการสร้างพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม ในระดับครอบครัวและระดับผู้นำประเทศ นักการเมือง และผู้นำในระดับต่างๆ แต่ให้ความสำคัญในเรื่องระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับโลกน้อยมาก เนื่องจากประเทศไทยจะก้าวสู่ประชาคาอาเซียน (AEC) การสร้างคุณธรรม จริยรรม ให้เป็นวัฒนธรรมในการอยู่ร่วมกันในความแตกต่างในหลายๆด้านได้อย่างไร เช่นความแตกต่างด้านศาสนา, ภาษา, ขนบธรรมเนียมประเพณีที่หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น สิงคโปร์กับความหลากหลายของชนชาติ เชื้อชาติที่ต้องอยู่ร่วมกัน

 

อรุณศรี รัตนธัญญาภรณ์   นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่15

E-mail : [email protected]

วิจารณ์หนังสือ พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม

            นายวิชา ขันคำ ปริญญาเอกราชภัฏสวน สุนันทา รุ่น 15

            ชื่อเรื่องของหนังสือมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

            หนังสือถูกตีพิมพ์ในปี 2558  ประมาณ 1 ปี หลังการรัฐประหารในวันที่ 16 มิถุนายน 2557  สาเหตุเกิดจากวิกฤตนักการเมืองขาดคุณธรรมและจริยธรรม ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อประเทศ จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อหนังสือ ซึ่งมีความชัดเจน และ วิกฤตครั้งนี้ต่างจาก ปี 2540 ที่เกิดจากปัญหาเศรษฐกิจ ฟองสบู่  สังคมไทยจึงควรเรียนรู้จากความล้มเหลวในอดีต และ กลับมาพัฒนาทุนพื้นฐานของมนุษย์  ใช้พลังแห่งคุณธรรมและจริยธรรม ขับเคลื่อนสังคมไปในทางที่ดี และยั่งยืน

การได้อ่านหนังสือเล่นนี้แล้วได้บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้

                " จริยธรรม" หมายถึง แนวทางในการประพฤติปฎิบัติตนให้เป็นคนดี ซึ่งนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคม

                " คุณธรรม" หมายถึง สิ่งที่ดีงามที่อยู่ในจิตใจของมนุษย์โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ ประสบการณ์ และการอบรม จนทำให้เกิดการประพฤติปฏิบัติที่ดี

            หลักการของหนังสือ คือ การสอน ปลูกฝัง และ พัฒนา คุณธรรมและจริยธรรม เริ่มตั้งแต่ ระดับตัวเอง ครอบครัว สถาบันการศึกษา องค์กร สังคม และ สอนให้เชื่อว่า ประสบการณ์ ความดี จะเป็นแบบอย่างที่ดี สร้างความเข้าใจเรื่อง การเป็นคนดี มีคุณธรรม และ  จริยธรรม  คุณธรรม และ จริยธรรม จะทำให้เกิดทุนแห่งความสุขได้ ไม่ช้าก็เร็วเราควรมีการปลูกฝังในสิ่งที่ดีๆ ให้กับตัวเองและครอบครัวหรือว่าองค์กร นั้น

            สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ท่านอาจารย์จีระ ให้ความสำคัญกับทุนทางจริยธรรม ( Ethical Capital )  รองจาก Human Capital ซึ่งเป็นทุนมนุษย์ตัวหลัก  ต่างจาก Gary Becker ที่ให้ความสำคัญกับ input ของ Human Capital คือ การศึกษา ทักษะ สุขภาพ อนามัย โภชนาการ  อาจารย์กล่าวว่า ทุนทางจริยธรรม มีความสำคัญ เพราะเป็นพื้นฐานของทุนมนุษย์ทั้งหมด กล่าวคือ ต้องประพฤติตนให้มี  คุณธรรม และ จริยธรรม ก่อน จึงจะไปพัฒนาทุนตัวอื่นๆได้ เราจึงต้องช่วยกัน ปลูกฝังให้มี คุณธรรม และ จริยธรรม เพื่อช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

            ท่านอาจารย์จีระได้พูดถึง คุณธรรม และ จริยธรรม ของนักการเมืองไทย มานานมากกว่า 10 ปี มีบทความให้หาอ่านมากมาย หาพูดถึงจะพบว่า ปัญหาคอร์รัปชั่นของนักการเมืองมีมานานแล้วและเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ และ ในการบริหารประเทศของรัฐบาลเป็นยึดอำนาจทุกครั้ง การคอร์รัปชั่น มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น สาเหตุส่วนหนึ่ง อาจเพราะ การเข้าสู่อาชีพนักการเมืองไทย ทำได้ง่ายเกินไป ต่างจากอาชีพอื่นที่ต้องอาศัยเวลาในการบ่มเพาะความรู้ ประสบการณ์ ต้องอยู่ในกฎระเบียบ ของแต่ละอาชีพ

            ในปี 2553-2554 ศูนย์คุณธรรม ได้ทำการวิจัยเชิงคุณภาพจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 667 คน พบว่า หากสื่อมวลชนนำเสนอด้านคุณธรรมน้อย จะส่งผลกระทบให้สังคมขาดความดีงาม ไม่สงบสุข เกิดความแตกแยกวุ่นวาย ที่สำคัญทำให้กลุ่มเยาวชนได้รับการปลูกฝังที่ไม่ดี กระทบต่อการพัฒนาประเทศ กลุ่มเด็กและเยาวชนตั้งแต่ 10-24 ปี เห็นว่าสื่อไม่นำเสนอข้อมูลด้านคุณธรรม จะทำให้ตนเองไม่รู้จักคุณธรรม  ระยะยาวจะทำให้เยาวชนขาดสติ ประพฤติสิ่งไม่ดี ขาดความซื่อสัตย์ไม่เกรงกลัวต่อบาป ขาดคนดีในสังคม องค์กรสื่อส่วนใหญ่เน้นการทำงานเพื่ออยู่รอด หวังผลเชิงธุรกิจ ไม่เน้นเรื่องคุณธรรม

            ในเรื่องของสื่อโทรทัศน์น่าจะเป็นปัญหามากที่สุดสำหรับเด็ก ที่บ้านจึงดูละคร และ เกมโชว์น้อยมาก เนื่องจากเห็นว่า เนื้อหามักสร้างค่านิยมที่ผิด ขัดแย้งกับคำสอนของเรา จึงเน้นการดูสารคดี ข่าว และ กีฬา เพื่อให้เด็กหัดคิด มีวิจารณญาณ

            ในเรื่องศาสนาตามความเห็นของ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี การเรียนจริยธรรม ต้องเรียนแบบประพฤติปฏิบัติจริงตั้งแต่เด็ก ผู้นำที่ดีควรรักษาศีล 5  ท่านด้วิเคราะห์ปัญหาการคอร์รัปชั่นโดยใช้ อริยสัจสี่ และคำสอนของศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจที่ดี แต่ วัด ซึ่งทำหน้าที่เป็น สื่อคำสอน ยังไม่ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง มุ่งเน้นความเชื่อทางวัตถุมากกว่าคำสอน โดยเฉพาะในเขตเมือง  ยกเว้น วัดป่า ที่ยังคงเน้นคำสอน และ ความเรียบง่าย  คนไทยยุคใหม่จึงเริ่มหันเหความสนใจไปยังสถานปฏิบัติธรรมมากกว่าวัด  สำหรับเด็ก ผมเคยให้เข้าร่วมกิจกรรมของยุวพุทธิกสมาคม โรงเรียนคุณธรรม และ องค์กรคุณธรรม และปี 2555 กระทรวงศึกษาธิการได้ริเริ่ม โครงการ โรงเรียนคุณธรรม เพื่อสนองพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ที่ว่า ' ให้โรงเรียนสร้างคนดีให้บ้านเมือง '  ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการไปแล้ว ประมาณ 3,300 โรงเรียน จากโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน( สพฐ.) ทั่วประเทศจากทุกศาสนา จำนวน 30,000 กว่าแห่ง เพื่อปลูกฝัง คุณธรรม และ จริยธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทย และ วิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

 

 

 

วิเคราะห์หนังสือ "The Ethical POWER" พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม

                        1. ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มที่อ่าน มีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

                         จุดเริ่มต้นของหนังสือ “พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม” เล่มนี้ เกิดจากแรงบันดาลใจของพระอาจารย์ ว.วชิรเมธี และศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่อยากเห็นสังคมไทยเป็นสังคมคุณภาพ มีความสุข มีความสมดุล มีทุนมนุษย์ที่ยึดถือเรื่องคุณธรรม จริยธรรมเป็นหลักในการดำรงชีวิตและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ประเทศไทยสามารถพัฒนาอยู่ในสังคมโลกอย่างสง่างามและยั่งยืนโดยการยกย่องบุคคลสำคัญในอดีตทั้ง4ท่าน ที่เปี่ยมไปด้วยคุณงามความดี เพื่อเป็นตัวอย่างต่อคนรุ่นหลัง

                         ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ วิเคราะห์และนำเสนอแบบอย่างของผู้นำที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์ ที่จะนำพาหน่วยงาน องค์กร สังคมและประเทศชาติให้ก้าวผ่านสู่โลกยุคที่ 4 หรือ Forth Wave แต่ที่สำคัญที่สุดคือ การมีคุณธรรม จริยธรรม ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนผ่านไปสู่รูปแบบใด ผู้นำที่พึงประสงค์จะต้องมี คุณธรรมจริยธรรม(Ethics) ความยั่งยืน(Sustainability) ความเฉลียวฉลาด(Wisdom) ความคิดสร้างสรรค์(Creativity) นวัตกรรม(Innovation) ทุนทางปัญญา(Intellectual Capital) ภาวะผู้นำ(Leadership) และที่สำคัญที่สุด คือ ต้องมีทุนทางคุณธรรม จริยธรรม(Ethical Capital) เป็นพื้นฐานจึงจะสามารถพัฒนาไปสู่ผู้นำในรูปแบบ Trust/Authority หรือผู้นำที่สร้างศรัทธาจากสังคมให้เกิดขึ้นด้วยความดีงาม ความซื่อสัตย์ มั่นคง และกล้าตัดสินใจเลือกทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม

                         หนังสือ “The Ethical Power : พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม” เป็นการนำเสนอแบบอย่างคุณงามความดีและความกล้าหาญทางคุณธรรม จริยธรรมของบุคคลต้นแบบ4 ท่าน ได้แก่

(1) พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า วรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

(2) ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์

(3)ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ และ

(4) ศาสตราจารย์ พันตรี ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ 

                   บุคคลทั้งสี่ท่านเป็นต้นแบบของผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรมในระดับสูง ที่สามารถเป็นแบบอย่างให้แก่คนรุ่นหลัง และของสังคมต่อไป ในแนวคิดเรื่องทุนมนุษย์ว่าคุณสมบัติของทุนมนุษย์ที่สำคัญที่สุดคือ คุณธรรม จริยธรรม 

                   บุคคลต้นแบบ (Role Model) นั้นมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของคนรุ่นต่อๆมา โดยเฉพาะในยุคที่คนไทยยุคนี้เห็นเรื่องการคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องธรรมดา บุคคลต้นแบบยิ่งกลายเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง หากเราต้องสอนลูกหลานให้เห็นคุณค่าของคำว่า “คุณธรรม จริยธรรม” โดยใช้หลักคิดและมุมมองของนักคิดและนักปฏิบัติระดับประเทศ ได้แก่ ศ. คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี, นายชวนหลีกภัย, ศ.พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์, รศ. สุขุม นวลสกุล , รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ เป็นต้น

 

                   2. บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ ที่ประทับใจ มีอะไรบ้าง เพราะอะไร

                   ในสังคมไทยปัจจุบันที่เห็นแก่การทำงานให้ได้เพียง เงิน บ้าวัตถุนิยม มองระยะสั้นมากกว่าระยะยาว มีความโลภไม่สิ้นสุด ทำให้คุณธรรม จริยธรรมของนักธุรกิจรุ่นใหม่จางหายไป                    จะเห็นว่าปัญหาการขาดคุณธรรม จริยธรรม สร้างความหายนะให้แก่ธุรกิจในประเทศไทยอย่างมหาศาลในทุกช่วง เช่น ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง หรือวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ของสหรัฐ เป็นตัวอย่างที่ดี                    สถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้อยู่ท่ามกลางภาวะวิกฤตทางการเมืองและความขัดแย้งของคนในสังคม รากเหง้าของปัญหาสังคมในวันนี้ คือ ประเทศไทยและคนไทย ขาดทุนทางคุณธรรมจริยธรรมอันเป็นรากฐานที่สำคัญเหนือทุกสิ่ง ที่สำคัญ คือ วันนี้...สังคมไทยขาดผู้นำที่มีคุณธรรม จริยธรรม   สังคมไทยในยุคหลังการปฏิรูปจำเป็นต้องใช้ทุนทางคุณธรรมจริยธรรมเป็นเครื่องนำทางของคนในชาติ คนไทยต้องเรียนรู้บทเรียนและคุณงามความดีของคนในยุคก่อน ๆ เพื่อนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต คนไทยต้องยกย่องเชิดชูคนดีมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สังคมไทย จึงจะเกิดพลังแห่งความดีงามอันเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาในทุก ๆ มิติและเป็นทางออกของปัญหาทุก ๆ ปัญหาได้อย่างแท้จริง 

                   สรุปสาระสำคัญของบุคคลทั้ง 4 ท่านในหนังสือเล่มนี้ คือ                                                                                  -มีคุณธรรมอย่างเดียวไม่พอ ที่สำคัญจะต้องพิสูจน์ในการกระทำที่มีประโยชน์ต่อส่วนรวม ไม่ใช่ส่วนบุคคลเท่านั้น                                                                                                                                                                      -การกระทำดังกล่าวจะเน้นความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว กล้าตัดสินใจ                                                                        -มี Wisdom หรือปัญญาในการกระทำดังกล่าว

                   -ทำสำเร็จ กระจายความรู้ให้คนไทยได้จดจำได้ ทิ้งไว้เป็นมรดกของรุ่นต่อไป ได้นำมาเป็นตัวอย่าง สร้างพลังร่วมกันต่อไป

 

                พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ กล่าวว่า

                “สังคมไทยวันนี้ต้องใช้พลังของคุณธรรม จริยธรรมเป็นรากฐานและเป็นเครื่องนำทาง”

“การทำความดีนั้นแม้จะทำยากแต่ก็ทำได้ แต่มีสิ่งหนึ่งซึ่งยากกว่า ก็คือ การรักษาความดีที่ทำให้คงอยู่กับผู้ทำตลอดไป และมีคนรำลึกถึงคุณงามความดีของเราที่เราประพฤติ และปฏิบัติเป็นตัวอย่าง”

                “คุณธรรมและจริยธรรม” เราจะต้องพูดสองคำนี้พร้อมๆกัน ถึงจะได้ความสมบูรณ์และชัดเจนยิ่งขึ้นมากที่สุด”

                “คุณธรรม” หมายถึง ความดีที่มีอยู่ในใจของคนทำให้ประพฤติดี ปฏิบัติดี คุณธรรมเป็นธรรมะที่ควบคุมจิตใจของคนให้คิดให้พูดให้ทำแต่สิ่งที่เป็นคุณ คือเป็นผลดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นผลดีต่อผู้อื่น คุณธรรมเป็นความรู้สึกนึกคิดที่อาจเกิดขึ้นเองหรือได้จากการอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ ครูอาจารย์ ศาสนา และสังคม ความรู้สึกนึกคิดนั้นเมื่อยึดมั่นก็จะเป็นคุณธรรมฝังอยู่ในจิตใจ

                “จริยธรรม” หมายถึงความประพฤติทางกายและวาจาที่แสดงออก ถึงธรรมะที่มีอยู่ในใจ หมายถึงการปฏิบัติในทางดี ประพฤติดี ควบคุมกายและวาจาไม่ให้เบียดเบียนกัน ไม่ลักทรัพย์ ไม่หลอกลวงกันเป็นต้น

                ในอดีตเมื่อ Gary Becker ได้คิดทฤษฎีมนุษย์ เขาจะเน้นที่การศึกษา ทักษะ สุขภาพ อนามัย โภชนาการ และคำนึงถึงการฝึกอบรมเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากมนุษย์มีความรู้สึก ทำดี ทำเลว จริยธรรมต้องคิดถึงส่วนรวม มองเป้าหมายของส่วนรวมมากกว่าส่วนตน สิ่งใดถูกก็บอกว่าถูก อะไรผิดก็ว่าผิด พฤติกรรมเหล่านี้ ถึงจะไม่มีใครเห็นก็ตาม แต่ก็เป็นที่มาของคำว่าคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งเรียกว่าทุนทางจริยธรรม หรือ Ethicl Capital

 

                พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี

                ท่าน ว.วชิรเมธี กล่าวว่า "ประเทศไทยของเราวันนี้ สังคมไทยของเราเสียหาย และมีปัญหา

เพราะว่าเรา “ขาดคุณธรรม จริยธรรมในสังคม” มีการทุจริตคอรัปชั่นในทุกวงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับ “ผู้นำ” เวลานี้สังคมของต้องการผู้นำที่เป็นคนดีเราต้องการคนไทยที่เป็นต้นแบบให้ลูกหลานของเราได้"

                ท่าน ว.วชิรเมธี กล่าวว่า ใช้คำว่าพลัง แปลว่าต้องสร้างคุณธรรม จริยธรรม ในแนวราบ คือกระตุ้นให้คนไทยร่วมมือกันหลาย ๆ กลุ่ม เพราะถ้ามีคนดี แต่ต่างคนต่างทำ ไม่รวมตัวกัน ก็จะสู้กับค่านิยม ความโลภต้องการรวยอย่างเดียว ไม่คิดว่าถูกต้องหรือเปล่า จึงขอให้นักธุรกิจรุ่นใหม่ช่วยระดมพลังคุณธรรมให้เกิดการเชื่อมโยงต่อไป

อย่าให้คอรัปชั่นกลายเป็นวัฒนธรรมคนไทยต้องช่วยกันทำให้คอรัปชั่นไปอยู่ในพิพิธภัณฑ์ให้ได้ คนไทยทุกคนต้องช่วยกัน

 

                4 คนไทยต้นแบบแห่งคุณธรรม จริยธรรม   

                1.พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า วรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

                ทรงเป็นผู้นำที่มีคุณสมบัติอันโดดเด่นประการหนึ่งคือ ทรงให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และทรงบริหารความถูกต้อง ไม่หูเบา และทรงมี “ภาวะผู้นำ” และพระปรีชาสามารถด้านการทูต ซึ่งทำให้ทรงจัดการปัญหาให้คลี่คลายไปได้ด้วยดี

                2.ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ หรือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม

                เป็นผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เป็นผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย  และเป็นผู้นำที่มีคุณธรรมและความกล้าหาญและเสียสละอย่างยิ่ง ในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมของท่านที่สามารถนำมาเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดอีกอย่าง คือ เรื่องของครอบครัว ท่านเป็นมหาบุรุษในด้านการดำรงชีวิตครอบครัวที่ให้เกียรติผู้หญิงอย่างสูงสุด โดยเฉพาะภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก คือ ท่านผู้หญิงพูนสุข พนมยงค์ ท่านยกไว้อย่างสูงแล้วก็ให้เกียรติตลอดเวลา คือการเคียงบ่าเคียงไหล่ในการดำรงชีวิตมีอะไรปรึกษาหารือกัน

                3.ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์

                ท่านได้วางรากฐานในการอบรมศึกษาทางจริยธรรมให้แก่ตุลาการ ได้ใช้คุณธรรม จริยธรรมสอดแทรกในการอบรมด้านกฎหมาย ให้ความรู้แก่ลูกศิษย์ด้วยหลักคิด “เอาธรรมะหรือคุณธรรมมาผสมกับกฎหมาย” ท่านเป็นผู้พิพากษาที่ไม่ยอมให้ความใกล้ชิดหรือเรื่องระบบอุปภัมภ์ เรื่องความสนิดสนม เครือญาติ เพื่อนฝูง พวกพ้อง เข้ามามีอิทธิพลในการเข้ามาทำหน้าที่ในตอนที่ท่านทำหน้าที่ผู้พิพากษา ท่านเห็นคนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน บทบาทการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษาหรือนายกรัฐมนตรี ไม่เปิดโอกาสให้คนรอบข้างมามีอิทธิพลหรือหน้าที่การงานของท่านให้ด่างพร้อยแม้แต่นิดเดียว

                4.ศาสตราจารย์ พันตรี ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ 

                เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านคุณธรรม จริยธรรม และการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายสมถะ ยึดเรื่องความถูกต้อง พูดอย่างไร ทำอย่างนั้น มีความซื่อสัตย์ต่อบ้านเมือง

 

                3. จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้ คืออะไร

                บุคคลต้นแบบ หรือ Role Model บางคนอาจไม่รู้จักเพราะเก่าเกินไป และชีวประวัติของแต่ละท่านก็ยังน้อยเกินไป จนยังไม่รู้จักตัวตนของแต่ละท่านดี


ดุจดาว  บุนนาค  นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 15

บทวิเคราะห์หนังสือ

“พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม”

รายวิชา : PHD 8205 Management of Human and Social Capital

อาจารย์ผู้สอน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ 

1.ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มที่อ่านมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

“พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม” หนังสือเล่มนี้ ปลูกฝังทุนทางคุณธรรม จริยธรรม ให้คนไทย สามารถนำมาปรับใช้เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมในทุกระดับ เริ่มจากตนเอง ครอบครัว องค์กร ชุมชุน สังคม รวมไปจนถึงระดับประเทศ  โดยสาเหตุสำคัญคือการพัฒนาสังคมไทยให้เติบโตบนพื้นฐานของความสุข ความสมดุล และยั่งยืน

2.บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ที่ประทับใจมีอะไรบ้าง เพราะอะไร

การปลูกฝังสิ่งที่มองไม่เห็น(จิตสำนึก) เป็นส่วนสำคัญมากในการพัฒนาสังคมไทยให้เติบโตบนพื้นฐานของความสุข ความสมดุล และความยั่งยืน

การปลูกฝังเรื่องคุณธรรม จริยธรรม มาจากปัจจัย 6 ประการ

1.ครอบครัว  การปลูกฝังความดี โดยการได้รับคำสั่งสอนที่ดีจากคุณพ่อ คุณแม่ ในเรื่องความถูกต้อง เน้นการปลูกฝังเรื่องทุนทางคุณธรรม จริยธรรม 

2.โรงเรียน  วัฒนธรรมของโรงเรียนเป็นส่วนสำคัญ โดยคุณครูได้ทำการปลูกฝังทุนทางคุณธรรม จริยธรรม ในการสอนโดยสอดแทรก คุณธรรม จริยธรรมเข้าไปด้วยและได้เห็นต้นแบบที่ดีจากคุณครูในการปฏิบัติตัว

3.ศาสนา  ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ โดยมีศีลทั้ง 5 ข้อ มาให้ปฏิบัติตนเพื่อให้ มีจิตสำนึก ซึ่งศาสนามีอิทธิพลเป็นอย่างมาก

4.สังคม  สังคมไทยเป็นสังคมทุนนิยม เน้นเรื่องวัตถุมากเกินไป ไม่ยกย่องคนดี ทุนนิยมต้องสอดคล้องไปด้วยกันกับความดี และควรสร้างวัฒนธรรมของคนไทยในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาสังคมไทยให้มีความสมดุล และยั่งยืนตลอดไป

5.สื่อ สื่อมีอิทธิพลอย่างมากเพราะการแสดงออกสื่อในประเทศและต่างประเทศ มีผลกระทบต่อเยาวชนที่ได้รับข่าวสารที่ต่างประเทศเขาจำกัดการเผยแพร่ ควรจุดประกายนำเสนอเอาคุณธรรม จริยธรรม กลับมาแสดงออกสื่อให้มากขึ้น

6.คนไทยต้องค้นหาต้นแบบ (Role Model)   การมีบุคคลตัวอย่างคนดี ทำให้สังคมไทย ด้านคุณธรรม จริยธรรมโดยมีผู้นำ 5 ท่านที่น่ายกย่อง ประกอบไปด้วย

(1) ศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ 

(2) ศาสตราจารย์ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอฯกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

(3) ศาสตราจารย์ สัญญา  ธรรมศักดิ์    

(4) ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย  อึ๊งภากรณ์    

(5) ศาสตราจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ 

         หนังสือเล่มนี้แสดงให้เห็นความสำคัญของทุนทางธรรม จริยธรรมให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมแห่งความสุขอย่างสง่างามและยั่งยืน โดยการยกย่องบุคคลสำคัญในอดีต 4 ท่านที่เปี่ยมไปไปด้วยคุณงามความดี เพื่อเป็นต้นแบบต่อคนรุ่นหลัง โดยเฉพาะกลุ่มผู้นำประเทศ ที่จะต้องประพฤติตัวเป็นแบบอย่างของการมีคุณธรรม จริยธรรม เสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่อวางรากฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้แก่ประเทศไทย

         สิ่งสำคัญจากหนังสือเล่มนี้คือการนำไปปรับใช้ให้เกิดผลในการสร้างพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรมโดยนำไปคิดต่อ ทำต่อ นำมาประพฤติปฏิบัติให้กลายเป็นวัฒนธรรมของคนไทยทั้งประเทศได้ ขอให้ทุกๆคนช่วยกันเร่ง “สร้างพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม”

 การใช้ ไตรสิกขา  โดยยึดหลัก 3 สิ่งสำคัญ

  • หลักทฤษฎีต้องมั่นคง  คือเราต้องเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ลดการเห็นแก่ตัว เพิ่มความเห็นใจแก่ผู้อื่น
  • เรื่องการปฏิบัติ  เรามีแต่หลักคิด ถ้าไม่ลงมือปฏิบัติจริง แล้วอยากให้คนอื่นชื่นชม แต่เราไม่ได้เริ่มต้นลงมือปฏิบัติเลย จะมีประสบการณ์ได้อย่างไร จะรู้ได้อย่างไรว่าอะไร คือถูกผิด ถ้ามันผิดไปแล้วก็แก้ไขให้มันถูกต้อง
  • ให้เกิดปัญญาแจ่มแจ้ง เป็นการติดตามประเมินผลและตรวจสอบตัวเองตลอดเวลา ว่าสิ่งที่ตนเองทำลงไปเสียสละเพื่อส่วนรวมหรือว่าทำไปแล้วเพื่อส่วนตัวมากกว่า  เป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม อย่างนี้เรียกว่า  ผลประโยชน์ทับซ้อน  ต้องมาตรวจสอบตนเองว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนไหม

การวิเคราะห์ปัญหาการคอร์รัปชั่นใช้โดยอริยสัจ 4  ประกอบด้วย

ทุกข์ คือปัญหาวิกฤตสังคมไทยในปัจจุบัน    สังคมไทยมีปัญหาด้านศีลธรรม แตกความสามัคคี การพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ทุกโครงการล้วนมีผลประโยชน์ โกงกินจนกลายเป็นวัฒนธรรม

สมุทัย คือ สาเหตุของปัญหาในปัจจุบัน  โครงสร้างทางการเมืองและสังคมที่อยุติธรรม  วัฒนธรรมประชาธิปไตยไม่หยั่งรากลึก การเมืองเต็มไปด้วยการคอร์รัปชั่น ค่านิยมและจิตสำนึกของคนทุจริตองค์กร  ภาวะสองมาตรฐานด้านการใช้กฎหมายมีระบบอุปถัมภ์เข้มข้น

นิโรธ คือ เป้าหมายของสังคมไทยในอนาคต  การเมืองต้องมีธรรมาภิบาล เศรษฐกิจและสังคมเข้มแข็ง  การพัฒนาที่ยั่งยืน ประเทศโปร่งใสปราศจากคอร์รัปชั่น

มรรค คือ หนทางในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น  ควรจะปฏิรูปค่านิยมและจิตสำนึกของคนไทย  ปฏิรูปโครงสร้างสังคมไทยทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม  ปฏิรูปการศึกษา   ปฏิรูประบบกฎหมาย  และกระบวนการยุติธรรมให้เข้มแข็ง 

  9 คมธรรม นำชีวิต สร้างพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม จาก พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี  คำคมที่ท่านพระอาจารย์ได้กล่าวมานี้สามารถนำมาเป็นข้อคิดดีๆในการปรับทัศนคติจากที่คิดในแง่ลบกับมาเป็นแง่บวก เช่นคำคมดังนี้

“ไม่มีคำว่าสายนะ..สำหรับการเริ่มต้นใหม่ ต่อให้คุณเคยชั่วเคยเลวขนาดไหน แต่หากวันหนึ่งมีสติ..แวบเดียวนึกขึ้นมาได้และกลับตัวเป็นคนดีก็ไม่มีคำว่าสาย”

3.จุดอ่อนของหนังสือนี้ คืออะไร ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

           หนังสือเล่มนี้ควรออกสื่อให้มากกว่านี้เพราะว่าเป็นหนังสือที่ดีควรให้คนไทยได้รับรู้ถึงบุคคลตัวอย่างที่ดีในการ ปฎิบัติตน ให้มีคุณธรรมจริยธรรมควบคู่ไปกับผู้มีอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่สำคัญ(ศาลยุติธรรม) ที่ตัดสินตรงไปตรงมาในการปฎิบัติหน้าที่ไม่คดโกง  คนรุ่นหลังจะทำตามบุคคลอย่างตัวที่ดี และสิ่งสำคัญคือต้องยกย่องคนที่ทำความดีด้วยการออกสื่อเพื่อกระตุ้นให้คนไทยได้เห็นว่าการทำความดีต้องได้สิ่งดีเป็นการตอบแทน

       

  ว่าที่ ร.ต.กฤษกร สุขสมโสตร์ (กู๋)

นักศึกษาปริญญาเอก สาขา นวัตกรรมการจัดการ รุ่นที่ 15

 

                                    วิจารณ์หนังสือพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม 

ชื่อเรื่องของหนังสือมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

                หนังสือเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางปลูกฝังทุนทางคุณธรรมจริยธรรมให้แก่สังคม เสมือนหนึ่งการเพาะเมล็ดพันธุ์ที่ดีให้แก่สังคมไทยเพราะสังคมไทยทุกวันนี้กำลังเผชิญกับวิกฤตทางการเมือง ทางสังคมที่ขาดจริยธรรมและศีลธรรมและรายละเอียดของหนังสือได้กล่าวถึงบุคคลต้นแบบ 4 ท่านที่อาจารย์จีระยกย่องในเรื่องคุณธรรมจริยธรรม และได้เชื่อมโยงคุณธรรม จริยธรรม ที่เป็นแบบอย่างมาผนวกกับทฤษฎี 8K’sและ 5K’s แต่เน้นไปที่ K ตัวที่ 3 ทุนทางจริยธรรม ( Ethical Capital )บุคคลทั้ง 4 ท่าน ได้แก่

1.  พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า วรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

2.  ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์

3. ศาสตราจารย์ดร.ปรีดี พนมยงค์

4.  ศาสตราจารย์ พันตรี ดร.ป๋วยอึ้งภากรณ์  

บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้

                จากยุคที่ 1 ถึง 4โลกมีการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ผู้นำในยุคโลกาภิวัตน์ที่จะต้องนำพาองค์กร สังคมประเทศชาติ จะต้องเป็นคนที่มีคุณธรรมจริยธรรม แต่ในปัจจุบันเกิดวิกฤตผู้นำที่ขาดคุณธรรมที่ส่งผลร้ายไปสู่ทุกส่วนของสังคมโลก ซ่งการปลูกฝังความคิดและทัศนคติทางจริยธรรมนี้จะต้องเริ่มตั้งแต่ครอบครัว และนอกเหนือไปจากบุคคลต้นแบบที่กล่าวถึงทั้ง 4ท่านแล้ว หนังสือเล่มนี้ยังมีการกล่าวนำเสนอหลักคิด มุมมองประสบการณ์และแบบอย่างการดำรงชีวิตและการทำงานของบุคคลตัวอย่างอีก 3 ท่าน ได้แก่ศาสตราจารย์ (พิเศษ) วิชา มหาคุณ, คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์, คุณดนัยจันทร์เจ้าฉาย ซึ่งท่านเหล่านี้มีหลักธรรมาภิบาล ศีล5 ในการทำงานและการดำเนินชีวิตที่สมควรได้รับการยกย่องเป็นตัวอย่าง

                นอกจากนี้ ยังได้เรียนรู้ถีงเรื่องราวเกียรติคุณต่างๆเกี่ยวกับบุคคลต้นแบบทั้ง 4 ท่านในมุมมองและคำบอกเล่าของนักคิดนักปฎิบัติระดับประเทศอีกหลายท่านได้แก่

 - ศาสตราจารย์คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี “คุณค่าของผู้นำ คือคุณธรรมและทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม”

 - นายชวน หลีกภัย “หลักคุณธรรม จริยธรรม ทำให้ประเทศไทยดำรงอยู่ได้”

 - ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนกเหล่าธรรมทัศน์ “เราต้องคิดเรื่องการสร้างคุณธรรมให้เหมาะสมกับประชาธิปไตย”

 - รองศาสตราจารย์สุขุม นวลสกุล"วีรบุรุษคนสามัญ ต้นแบบคุณธรรมที่กล้าหาญ”

                สังคมไทยในปัจจุบันมีปัญหาเรื่องคอรัปชั่น อาจารย์ ว.วชิระเมธีได้วิเคราะห์ปัญหาคอรัปชั่นผ่านอริยสัจ 4 ไว้คือ

                - ทุกข์                - ปัญหาวิกฤตสังคมไทยในด้านต่างๆ

                - สมุทัย              - สาเหตุของปัญหา เช่น โครงสร้างการเมือง สังคม ค่านิยมจิตสำนึกของคนไทย

                - นิโรธ               - เป้าหมายของสังคมไทย เช่น สังคมสะอาด, เศรษฐกิจเข้มแข็ง

                - มรรค                - หนทางแก้ปัญหาคอรัปชั่น, การปฎิรูปค่านิยมจิตสำนึกของคนไทย

              หากผู้นำของประเทศมีคุณธรรมและจริยธรรมแล้วจะสามารถนำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญ มั่นคง ดังตัวอย่างเช่นประเทศญี่ปุ่น และสิงคโปร์แต่อุปสรรคที่สำคัญของคนไทยก็คือ “ค่านิยม” ที่ไม่ถูกต้อง ให้ความสำคัญและยกย่องคนรวยจึงเป็นการส่งเสริมให้คนคอรัปชั่นดังนั้นเราจึงควรปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมให้กับทุกส่วนของสังคมตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับองค์กร จนถึงระดับชุมชน ซึ่งมาจากปัจจัย 6 ประการได้แก่

1.            ครอบครัว

2.            โรงเรียน

3.            ศาสนา

4.            สังคม

5.            สื่อ

6.            ต้นแบบ / คนดีตัวอย่าง 

จุดอ่อนของหนังสือ

                มีการสะกดตัวอักษรผิด 


พีรวีร์ เทพประเทืองทิพย์

นศ. ปริญญาเอกราชภัฏสวน สุนันทา รุ่น 15


สินสวัสดิ์ รุ่งเรืองธนาพร

บทวิเคราะห์หนังสือ  
“8K’S + 5k’S ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

รายวิชา : PHD8205 Management of Human and Social Capital

ผู้สอน : Prof.Chira Hongladarom, Ph.D

ทฤษฏี  8K’S เป็นพื้นฐาน ของทรัพยากรมนุษย์ ที่มีคุณภาพ  
8K's ได้แก่
1) Human Capital ทุนมนุษย์
2) Intellectual Capital ทุนทางปัญญา
3) Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม
4) Happiness Capital ทุนแห่งความสุข
5) Social Capital ทุนทางสังคม   Social Capital Networking
6) Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน
7) Digital Capital ทุนทาง IT (ข้อมูลข่าวสาร    และเทคโนโลยี)
8) Talented Capitalทุนทางความรู้ ทักษะ และจิตใจ 

-5K's ได้แก่ ความรู้ ความสร้างสรรค์ นวัตกรรม วัฒนธรรม อารมณ์   

ทุนแห่งการสร้างสรรค์ (Creativity Capital)
ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital)
ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital)
ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital)
ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital)

ทฤษฎี 4 L’s เพื่อการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย

Learning Methodology  วิธีการเรียนรู้

Learning Environment   บรรยากาศการเรียนรู้

Learning Opportunities  โอกาสการเรียนรู้

Learning Communities  ชุมชนแห่งการเรียนรู้

ทฤษฎี 2 R’s เพื่อการมอง วิเคราะห์ปัญหา และการเรียนรู้ ประกอบด้วย

Reality         มองความจริง
Relevance    ตรงประเด็น

การเรียนรู้ กฏ  ๖ ข้อ เพื่อการแข่งขันใน AEC
1 การเกิดของ เอ อี ซี ต้องปรับตัวอย่างไร
2 การมีตลาดใหม่ที่เกิดขี้น ใครคือคู่แข่งขันที่ เอาเปรียบและน่ากลัว คือ สิงคโปร
3 การใช้ FTA ประโยชน์จากเขตการค้าเสรี
4 การใช้ GSP Generalized System of Preferences .    
    ประเทศที่พัฒนาแล้วให้ประโยชน์พิเศษประเทศที่กำลังพัฒนา เราจะปรับตัวได้อย่างไร
5 การใช้ Supply Chain ปัจจัยการผลิตและวิชาชีพที่เข้า เออีซีได้
   เช่น หมอ หมอฟัน วิศวะ บัญชี พยาบาล    สถาปนิก นักสำรวจ 
   ประเทศไทย เตรียมความพร้อมอย่างไร เช่น ด้านภาษา
6  ทุนมนุษย์  ทำอย่างไร ให้เกิดความร่วมมือ ระหว่าง ภาครัฐ และเอกชน เป็น ทีม ไทยแลนด์  

ทฤษฎี  3 วงกลม เป็นทฤษฎีที่ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร  
สามารถที่จะนำทฤษฎี 3 วงกลมมาปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                วงกลมที่ 1  พิจารณา Context หรือ บริบท โดยจะพิจารณาจากบริบทภายนอกและภายใน ภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย ฯลฯ  ภายใน ได้แก่ การนำระบบ IT มาใช้ ขั้นตอนการทำงาน หรือ Process วิธีการบริหารจัดการ ฯลฯ

                วงกลมที่ 2   พิจารณา Skills และ Competencies เน้นการพิจารณาทักษะ และศักยภาพที่จำเป็นสำหรับบุคลากรเพื่อพัฒนา ๕ ประการ  Functional Competencies Organizational Competencies Leadership Competencies Entrepreneurial Competencies Macro and Global Competencies                

วงกลมที่ 3  พิจารณา เรื่องการสร้างแรงจูงใจ (Motivation)  นอกจากบุคลากรมีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่ดี  ประกอบกับการมีสถานที่ทำงานที่มีความพร้อมแล้ว  สิ่งหนึ่งที่มีความจำเป็นไม่น้อยกว่า ก็คือบุคลากรจะต้องมีกำลังใจ  มีความพึงพอใจ  มีความตั้งใจและทัศนคติที่ดีในการทำงาน การให้โบนัส  การยกย่องและให้เกียรติ และการให้งานที่ท้าทาย  การมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม

. จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้ คืออะไร

    ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุง คือ

·         - เนื้อหาบางส่วนมีการกล่าวซ้ำไปมา ควรจัดเรียงให้จบเป็นตอนๆ   
             เนื้อหาที่ เกี่ยวกับ ประชาคม อาเซี่ยน  หากมีมากกว่านี้ดีมากครับ

 

นายสินสวัสดิ์ รุ่งเรืองธนาพร
นักศึกษาระดับปริญญาเอก นวัตกรรมการจัดการ รุ่น 15

สินสวัสดิ์ รุ่งเรืองธนาพร

บทวิเคราะห์หนังสือ

“พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม” "The Ethical POWER"

รายวิชา : PHD 8205 Management of Human and Social Capital

อาจารย์ผู้สอน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ 
( Prof.Chira Hongladarom, Ph.D)

   1. ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มที่อ่าน มีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

        ท่านอาจารย์ ว.วชิรเมธี และ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ท่านอยากเห็นสังคมไทยเป็นสังคมที่มีคุณภาพมีความสมดุล และความสุข โดยทุนมนุษย์ที่มีคุณธรรม  จริยธรรม ในการอยู่รวมกันในสังคมอย่างมีความสุข ทำให้ประเทศไทย อยู่บนสังคมโลกได้อย่างยั่งยืน และเป็นบุคคลตัวอย่างสำหรับชนรุ่นหลัง                      
ท่าน ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้วิเคราะห์และนำเสนอแบบอย่างของผู้นำที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์ ที่จะนำพาหน่วยงาน องค์กร สังคมและประเทศชาติให้ก้าวผ่านสู่โลกยุคที่ 4 หรือ Forth Wave แต่ที่สำคัญที่สุดคือ การมีคุณธรรม จริยธรรม ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนผ่านไปสู่รูปแบบใด ผู้นำที่พึงประสงค์จะต้องมี
คุณธรรมจริยธรรม(Ethics)
ความยั่งยืน(Sustainability)
ความเฉลียวฉลาด(Wisdom)
ความคิดสร้างสรรค์(Creativity)
นวัตกรรม(Innovation)
ทุนทางปัญญา(Intellectual Capital)
ภาวะผู้นำ(Leadership) และที่สำคัญที่สุด คือ ต้องมีทุนทางคุณธรรม จริยธรรม(Ethical Capital) เป็นพื้นฐานจึงจะสามารถพัฒนาไปสู่ผู้นำในรูปแบบ Trust/Authority หรือผู้นำที่สร้างศรัทธาจากสังคมให้เกิดขึ้นด้วยความดีงาม
ความซื่อสัตย์ มั่นคง และกล้าตัดสินใจเลือกทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม

                        
หนังสือ “The Ethical Power : พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม” เป็นการนำเสนอแบบอย่างคุณงามความดีและความกล้าหาญทางคุณธรรม จริยธรรมของบุคคล    ทั้ง4 ท่านเป็นต้นแบบของผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรมในระดับสูง ที่สามารถเป็นแบบอย่างให้แก่คนรุ่นหลัง และของสังคมต่อไป ในแนวคิดเรื่องทุนมนุษย์ว่าคุณสมบัติของทุนมนุษย์ที่สำคัญที่สุดคือ คุณธรรม จริยธรรม  ได้แก่

(1) พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า วรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

(2) ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์

(3)ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ และ

(4) ศาสตราจารย์ พันตรี ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ 

   

     2  บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ที่ประทับใจมีอะไรบ้าง เพราะอะไร

การปลูกฝังเรื่องคุณธรรม จริยธรรม มาจากปัจจัย 6 ประการ 

1.ครอบครัว  การปลูกฝังความดี โดยการได้รับคำสั่งสอนที่ดีจากคุณพ่อ คุณแม่ ในเรื่องความถูกต้อง เน้นการปลูกฝังเรื่องทุนทางคุณธรรม จริยธรรม 

2.โรงเรียน  วัฒนธรรมของโรงเรียนเป็นส่วนสำคัญ โดยคุณครูได้ทำการปลูกฝังทุนทางคุณธรรม จริยธรรม ในการสอนโดยสอดแทรก คุณธรรม จริยธรรมเข้าไปด้วยและได้เห็นต้นแบบที่ดีจากคุณครูในการปฏิบัติตัว

3.ศาสนา  ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ โดยมีศีลทั้ง 5 ข้อ มาให้ปฏิบัติตนเพื่อให้ มีจิตสำนึก ซึ่งศาสนามีอิทธิพลเป็นอย่างมาก

4.สังคม  สังคมไทยเป็นสังคมทุนนิยม เน้นเรื่องวัตถุมากเกินไป ไม่ยกย่องคนดี ควรสร้างวัฒนธรรมของคนไทยในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาสังคมไทยให้มีความสมดุล และยั่งยืนตลอดไป

5.สื่อ สื่อมีอิทธิพลอย่างมากเพราะการแสดงออกสื่อในประเทศและต่างประเทศ มีผลกระทบต่อเยาวชนที่ได้รับข่าวสารที่ต่างประเทศเขาจำกัดการเผยแพร่ ควรจุดประกายนำเสนอเอาคุณธรรม จริยธรรม

6.คนไทยต้องค้นหาต้นแบบ (Role Model)   การมีบุคคลตัวอย่างคนดี ทำให้สังคมไทย ด้านคุณธรรม จริยธรรมโดยมีผู้นำ 5 ท่านที่น่ายกย่อง ประกอบไปด้วย  ศ. คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี, นายชวนหลีกภัย, ศ.พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์, รศ. สุขุม นวลสกุล , รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ เป็นต้น

เหมาะสำหรับทุกครอบครัว ทุกอาชีพ ที่ต้องเรียนรู้ จากหนังสือเล่มนี้

นอกจากนั้น หนังสือเล่มนี้   ได้กล่าวถึง   คนไทยต้นแบบแห่งคุณธรรม จริยธรรม   ได้แก่

                1.พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า วรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

ทรงมี “ภาวะผู้นำ” และพระปรีชาสามารถด้านการทูต ซึ่งทำให้ทรงจัดการปัญหาให้คลี่คลายไปได้ด้วยดี

                2.ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ หรือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม

                เป็นผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เป็นผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย  

                3.ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์

                ท่านได้วางรากฐานในการอบรมศึกษาทางจริยธรรมให้แก่ตุลาการ ได้ใช้คุณธรรม จริยธรรมสอดแทรกในการอบรมด้านกฎหมาย ให้ความรู้แก่ลูกศิษย์ด้วยหลักคิด “เอาธรรมะหรือคุณธรรมมาผสมกับกฎหมาย” ท่านเป็นผู้พิพากษาที่ไม่ยอมให้ความใกล้ชิดหรือเรื่องระบบอุปภัมภ์ เรื่องความสนิดสนม เครือญาติ เพื่อนฝูง พวกพ้อง เข้ามามีอิทธิพลในการเข้ามาทำหน้าที่ในตอนที่ท่านทำหน้าที่ผู้พิพากษา                                            
                4.ศาสตราจารย์ พันตรี ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ 

                เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านคุณธรรม จริยธรรม และการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายสมถะ ยึดเรื่องความถูกต้อง พูดอย่างไร ทำอย่างนั้น มีความซื่อสัตย์ต่อบ้านเมือง

หมายเหตุ    เป็นหนังสือที่ นักการเมืองไทย ทุกท่าน ควรอ่าน ซ้ำๆ เป้นอย่างยิ่ง

          3. จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้ คืออะไร

ภาพในเล่มได้ กล่าวถึง อดีตรัฐมนตรี หญิง ท่านหนึ่งและบุตรสาว
ซึ่งปัจจุบัน ท่านมีคดี รับเงินสินบน จากชาวอเมริกา คือ ผู้จัดการภาพยนตร์นานาชาติ 
น่าจะตัดออก หรือขีดฆ่า  เพราะท่านมีคดีโกงเงินเรียกค่าจัดงาน คดีเป็นที่สิ้นสุดแล้ว
ทำให้หนังสือ เล่มนี้ ไม่อัพเดท  
อีกประเด็นหนึ่งคือ  การที่กล่าวถึง บุคคลต้นแบบ หรือ Role Model
แต่ไม่ได้ กล่าวถึง  ชีวประวัติของแต่ละท่านก็เลย   น่าจะเสริมประวัติสั้นๆ พอสังเขป


นายสินสวัสดิ์ รุ่งเรืองธนาพร 
นักศึกษาระดับปริญญาเอก นวัตกรรมการจัดการ รุ่น 15  

บทวิเคราะห์หนังสือ “8K’S + 5k’S ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน”

โดย พรปวีณ์ กุลมา นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 15 

1 เนื้อหาของเล่มนี้ มีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร คือสามารถนำไปวางรากฐานของการจัดทำนโยบายการศึกษาและค่านิยมของคนในสังคมกับการสร้างมนุษย์สายอาชีพสามารถเอาชนะ อุปสรรคที่ไม่ใฝ่รู้ ของคนไทยและช่วยให้หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สามารถทำงานแบบบูรณาการ ไม่ซ้ำซ้อน โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีของท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์

สรุปประเด็นเนื้อหาจากหนังสือ ที่ อ.จีระได้ให้แนวคิดไว้ ได้แก่

ทฤษฎี 8K’S

 K1 Human Capital คนเป็นจุดเริ่มต้นของต้นทุนของทั้งหมดจำเป็นต้องผ่านการลงทุนด้าน – การศึกษา, โภชนาการ, การฝึกอบรม,การเลี้ยงดูครอบครัว- บางคนเรียนน้องแต่อาจสามารถมีคุณภาพดีกว่าคนที่เรียนสูงกว่าปัญญาจึงอาจไม่ใช่ปริญญาดังนั้นสำหรับคนการลงทุนด้านโภชนาการและการศึกษาอาจจะไม่เพียงพอ 

K2.Intellectual Capital ทุนทางปัญญาคือยุทธศาสตร์การมองอนาคตการศึกษาควรเน้นให้ทำความเข้าใจวิเคราะห์แก้ไขปัญหาไม่ใช่ท่องจำการเรียนรู้แบบทฤษฎี 4L’Sสามารถทำให้เสริมการคิดวิเคราะห์ได้ซึ่งประกอบด้วย 1. Learning Methodology(การเรียนรู้ที่น่าสนใจ) 2. Learning Environment(สร้างบรรยากาศการเรียนรู้) 3. Learning Opportunity(สร้างโอกาสการเรียนรู้ 4. LearningCommunities (สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้)การสร้างทุนทางปัญญาโดยผ่านองค์กรแห่งการเรียนรู้และปลูกฝังวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้นั้นสำคัญมากๆสำหรับประเทศไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน – การสร้างมุมมองใหม่ๆ นั้นอาจารย์จิระใช้การเรียนรู้ผ่านทฤษฎี 2R’S คือการมองความจริง(Reality)และมองสิ่งที่ตรงตามต้องการ (Relevance) 

K3.Ethical Capital แนวทางการสร้างจริยธรรมนั้นสร้างได้จาก 2 หลักคิด 1.จากคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เรายึดมั่นใน ศีล/สมาธิ/ปัญญาและ 2. จาก Peter Drucker ซึ่งให้มี Integrity (ความถูกต้อง) ก่อนที่จะมี Imagination (จินตนาการ) และ Innovation (นวัตกรรม)ทั้งสองหลักการตรงกันนั่นคือความเก่งนั้นต้องมาก่อนความดี  

 K4. Happiness Capitalทุนแห่งความสุขคือพฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมีเพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ นั่นคืองานที่ทำนั้นต้องมีความหมาย (Meaning) และเป้าหมาย (Purpose) และรู้ว่าความสุขสมดุลคืออะไร ก็จะทำให้ทำงานได้อย่างไม่รู้สึกเบื่อหรือเหน็ดเหนื่อยและผลงานที่ออกมาก็จะมีคุณค่า (Value) ทั้งต่อตนเองและสังคมกฎในการสร้างต้นทุนแห่งความสุข (Dr. Chira Hongladarom’s Model 1. สุขภาพร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม (Healthy) 2. ชอบงานที่ทำ (Passion) 3. รู้เป้าหมายการทำงาน (Purpose) 4. รู้ความหมายของงาน (Meaning) 5. มีความสามารถที่จะทำงานให้เสร็จ (Capability) 6. เรียนรู้จากวานและลูกค้าตลอดเวลา (Learning) 7. เตรียมตัวให้พร้อม  (Prepare) 8. ทำงานเป็นทีมอย่าทำคนเดียว (Teamwork) 9. ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม (Coaching) 10. ทำงานที่ท้าทาย (Challenge) 11. ทำงานที่มีคุณค่า ( Enrichment) และ Sharp/Hongladarom’s Model) 1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ (Exercise) 2. อย่าแบกงานที่หนักเกินไป (Put down your burden) 3. ศักยภาพในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Communicateeffectively) 4. ทำงานในจุดแข็งของตัวเอง (Recognize yourstrength) 5. มุ่งมั่นในงาน (Keep focus) 6. ทำในสิ่งที่อยากทำไม่ใช่เพราะต้องทำ (Reduce the “Shoulds”)7. ทำงานในองค์กรที่มองคุณค่าของคนและงานคล้ายๆกัน (Clarify your value)8. อย่าทำงานเครียดและวิตกกังวล (Overcome worriesand stress) 9. บริหารภาระงานให้เหมาะกับตัวเอง (Refine yourworkload) 10. ใช้คำว่าขอบคุณกับลูกน้องและเพื่อนร่วมงาน (Choose your word) 11. สร้างบรรยากาศการทำงานให้มีความสุขร่วมกัน (Create goodenvironment) 

K5.Social Capital (Networking) ทุนเครือข่ายนั้นลงทุนต่ำเป็นทุนที่ต้องลงทางอ้อม คือหาว่าคนเก่งในแต่ละด้านอยู่ที่ไหน และหาทางเจรจาต่อรองมาเป็นแนวร่วมโดยไม่ใช้เพียงอำนาจบังคับและทำให้เกิดสถานการณ์แบบwin-winโดยการสร้าง comfort zone , สร้าง trust & respect และ หาจุดแตกต่างเพื่อสร้างพลัง โดยการมี Networking นั้นจะทำให้เรามา ต้นทุนที่ถูกลง ในด้านข้อมูลข่าวสารและการเจรจาต่อรอง 

K6.Sustainable capital เป็นการมองศักยภาพในตัวว่าเราจะอยู่รอดในระยะยาวได้หรือไม่โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชการที่ 9 โดยใช้ 3 หลักการคือ –พอประมาณ/มีเหตุผล/มีภูมิคุ้มกัน-โดยใช้หลัก 6 ปัจจัยของความยั่งยืน 1.ต้องมองออกว่าสิ่งสำคัญที่ต้องทำคืออะไรและจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาระยะยาว2. GreenDevelopment ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม 3.มีการพัฒนาศีลและจริยธรรมคู่ไปกับความเจริญ 4. คิดเป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เป็น และเป็นสังคมเรียนรู้5. ความเจริญไปสู่คนส่วนใหญ่ไม่ใช่เจริญแค่กับคนส่วนน้อย 6. Self-reliance คือพึ่งตนเองได้ 

K7.Digital Capital ใช่สื่อ digital ต่างๆ เพื่อหาความรู้และแบ่งปันอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งการจะทำได้ทักษะภาษาต้องดีด้วย

K8.Talented Capital ต้องมี 3 องค์ประกอบคือ ทักษะ/ความรู้และ ทัศนคติ ซึ่ง3 องค์ประกอบนี้ควรทำตั้งแต่อายุยังน้อยและสามารถทำได้โดยอาศัย ทฤษฎี 5 E คือ 1. Example คือมีบุคคลตัวอย่างที่ดี 2. Experience เรียนจากผู้มีประสบการณ์ 3. Education การศึกษาอบรมค้นคว้า 4. Environment สร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ 5. Evaluation มีการประเมินผลการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ทฤษฎี 5 K’S ใหม่ ประกอบด้วย

5K’S 1. Creativity Capital ประกอบด้วย 1. คิดเป็น วิเคราะห์ และเรียนรู้ข้ามศาสตร์ 2. เวลาคิดต้องมีสมาธิ3. ต้องคิดเป็นระบบให้ได้ ก่อนที่จะคิดแบบสร้างสรรค์ 4. มีความอยากสร้างสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ  

  5K’S 2. Knowledge Capital ต้องนำข้อมูล (Data) มาเปลี่ยนเป็นข่าวสาร (Information) และเปลี่ยนเป็นความรู้ (Knowledge) และสามารถเพิ่มมูลค่า (Vale Added)  แล้วจึงแปลงเป็นความเฉลียวฉลาดของเรา (wisdom) และเลือกข้อมูลข่าวสารที่จะรับอย่าให้เป็น IOKO คือ Information Overload Knowledge Overflow จะทำได้ต้องใช้ 2R’S

5K’S3. Innovation Capital ประกอบด้วย 3 เรื่องคือ1. มีความคิดใหม่ความคิดสร้างสรรค์ และนำมาผสมผสานความรู้ 2.นำไปปฏิบัติจริงคือ –ออกแบบโครงการ/ผลักดันโครงการให้ได้รับการอนุมัติ/และบริการโครงการ-3. ทำให้สำเร็จ นวัตกรรมมี หลายแบบได้แก่ – สินค้าใหม่/บริการแบบใหม่/การบริหารแบบใหม่เช่นการพัฒนาตราสินค้าหรือกระบวนการ/นวัตกรรมทางสังคม-โดยมีต้นทุนทางนวัตกรรม 3Cซึ่งได้แก่ 1. Customer 2. Change management 3.  Command &Control

5K’S4. Cultural Capital คือความเข้าใจในความสำคัญของวัฒนธรรมที่ประกอบด้วยขนบธรรมเนียม, ศาสนา, ประวัติศาสตร์, ประเพณี, วิถีชีวิต, ภูมิปัญญา,แนวทางปฏิบัติ และความเชื่อและต้องมีความรู้และเข้าใจถึงความหลากหลายและการบริหารจัดการความแตกต่างของวัฒนธรรมได้ด้วย 

5K’S5. Emotional Capital คือการควบคุมอารมณ์ไม่โกรธง่ายไม่เครียด ไม่อ่อนไหวหดหู่ตกใจ ตื่นกลัว โดยมีต้นทุนที่ประกอบด้วย – Courage, Caring,Optimism, Self control & Communication

 

 

8K’S5K’S เพื่อการรองรับประชาคมอาเซียน อาเซียนจัดตั้งมาเพื่อ 1.เปิดเสรีการค้า 2. เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เช่นลดการกีดกันด้านภาษี กฎหมาย e-commerce และทรัพย์สินทางปัญญา 3.ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศเช่นการแชร์ทรัพยากรแรงงานฝีมือ หรือเงินลงทุน 4. สามารถบูรณาการเข้ากันเศรษฐกิจโลกได้

2. บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ ที่ประทับใจ มีอะไรบ้าง เพราะอะไร

บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับคือ แนวคิดในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ มี 3 ทฤษฎีที่สำคัญ ดังนี้

1) ทฤษฎี 4L’s เพื่อการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้

L ที่ 1 – Learning Methodology คือ มีวิธีการเรียนรู้ที่น่าสนใจ

L ที่ 2 – Learning Environment คือ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้

L ที่ 3 – Learning Opportunities คือ สร้างโอกาสการเรียนรู้

L ที่ 4 – Learning Communities คือ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

 

2) ทฤษฎี 2R’s คือ มองความจริง (Reality) และมองสิ่งที่ตรงกับความต้องการ (Relevance)

3) ทฤษฎี 2I’s เพื่อการเรียนรู้และสร้างพลังในการทำงาน ประกอบด้วย

Inspiration แรงบันดาลใจ  , Imagination จินตนาการ

และยังได้ทฤษฎีเพื่อการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

- ทฤษฎี C&E เพื่อการเรียนรู้และการทำงานยุคใหม่ ประกอบด้วย

Connecting การติดต่อ/เชื่อมต่อกัน , Engaging การมีส่วนร่วม

- ทฤษฎี HRDS เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข ประกอบด้วย

Happiness คือ การสร้างความสุขเพื่อส่วนรวม

Respect คือ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน

Dignity คือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน

Sustainability คือ ความยั่งยืนซึ่ง เป้าหมายระยะยาว

- ทฤษฎี 3L’s เพื่อการทำงานยุคใหม่ คือ

Learning from pain คือ การเรียนรู้จากความเจ็บปวด

Learning from experience คือ การเรียนรู้จากประสบการณ์

Learning from listening คือ การเรียนรู้จากการฟัง

สรุปมุมมองเรื่องทุนมนุษย์ของ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

เน้น HR Architecture – มองเรื่อง HR ทั้งในระดับ Macro และ Micro

ทฤษฎีทุนมนุษย์ 8K’s และ 5K’s (ใหม่)

ทฤษฎี 3 วงกลม เพื่อการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ทฤษฎี HRDS

ทฤษฎีเพื่อสร้างวัฒนธรรมและสังคมการเรียนรู้ 4L’s, 2R’s, 2I’s

ความสำเร็จของงาน HR มาจาก CEO+Smart HR+Non-HR

HR Execution

10 ประเด็นที่ต้องรู้จริงเพื่อก้าวเข้าสู่ AEC ได้อย่างสง่างาม

1. AEC ประกอบด้วยประเทศอะไรบ้าง 2. AEC มีการร่วมมือกันด้าน – เศรษฐกิจ, สังคมวัฒนธรรม และการเมือง3.เกิดการแข่งขันเสรีในภูมิภาค และการกระจายเงินทุนและฝีมือแรงงาน 4. ค้นหาตัวเองและเตรียมพร้อมที่จะหาโอกาส5. ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงเช่นตลาดจะใหญ่ขึ้น 6.รักษาภูมิปัญญาเดิมและเพิ่มมูลค่า 7. พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษและภาษาท้องถิ่นแต่ละประเทศ 8. สร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ 9.พัฒนาทรัพยากรมนุษย์  10.บริการความเสี่ยงโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง

 

 

3. จากความรู้ที่ได้สามารถนำไปเป็นประโยชน์กับตนเองอย่างไร

สามารถนำทฤษฎีของ อ.จีระ นำไปใช้ต่อการกำหนดหัวข้อวิทยานิพนธ์และแนวทางการดำเนินการ โดยต้องมองเหนือไปกว่าในปัจจุบันที่องค์กรเป็นอยู่ และมีแผนที่จะกำหนดหัวข้อวิทยานิพนธ์ในเรื่องของนวัตกรรมการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในงานด้านสื่อสารองค์กร ซึ่งต้องเร่งอ่านหนังสือ แนวคิดทฤษฎีให้มีความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น และคิดวิเคราะห์ตามในขณะที่ได้มีโอกาสฟังคำบรรยายโดยตรงจากท่านอาจารย์จีระ ที่เราจะต้องค้นหาความจริงให้เจอ จะไปแบบไหนที่ไม่คดเคี้ยว สามารถก้าวข้ามอุปสรรค สอดคล้องกับชีวิตการทำงานที่เป็นอยู่

 

ด้วยความเคารพอย่างสูง

พรปวีณ์  กุลมา นักศึกษาปริญญาเอกรุ่นที่ 15 หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการ

Book Review: พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม โดย นางสาว รุ่งนภา ภัทรธีรานนท์

ชื่อเรื่องของหนังสือมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร:

มีการพูดถึง คุณธรรม และ จริยธรรม ของนักการเมืองไทย มานานมากกว่า 10 ปี มีบทความให้หาอ่านมากมาย หากอ่านย้อนหลังไปหลายๆปีจะพบว่า ปัญหาคอร์รัปชั่นของนักการเมืองมีมานานแล้ว และ เป็นสาเหตุของการยึดอำนาจทุกครั้ง การคอร์รัปชั่น มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น ทั้งในแง่จำนวนเงิน และ กำลังขยายตัวไปในทุกภาคส่วนอย่างรวดเร็ว สาเหตุส่วนหนึ่งน่าจะเพราะ การเข้าสู่อาชีพนักการเมืองไทย ทำได้ง่ายเกินไป ต่างจากอาชีพอื่นที่ต้องอาศัยเวลาในการบ่มเพาะความรู้ ประสบการณ์ ต้องอยู่ในกฏระเบียบ บางอาชีพมีกรอบคุณธรรมจริยธรรมกำกับ และ มีบทลงโทษ เช่น หมอ ทนายความ วิศวกร สื่อ 

บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้:

" คุณธรรม" หมายถึง สิ่งที่ดีงามที่อยู่ในจิตใจของมนุษย์โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ ประสบการณ์ และการอบรม จนทำให้เกิดการประพฤติปฏิบัติที่ดี

" จริยธรรม" หมายถึง แนวทางในการประพฤติปฎิบัติตนให้เป็นคนดี ซึ่งนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคม

หลักการของหนังสือ คือ การสอน ปลูกฝัง และ พัฒนา คุณธรรมและจริยธรรม เริ่มตั้งแต่ ระดับตัวเอง ครอบครัว สถาบันการศึกษา องค์กร และ สังคม โดยการที่คนรุ่นหนึ่งจะชี้นำคนอีกรุ่นหนึ่ง และ สอนให้เชื่อว่า ประสบการณ์ ความดี ของบุคคลเหล่านั้น จะเป็นแบบอย่างที่ดี สร้างความเข้าใจเรื่อง การเป็นคนดี มีคุณธรรม และ จริยธรรม ซึ่งสำคัญกว่าและต้องมาก่อนการเป็นคนเก่ง เมื่อมีจิตใจที่ยึดมั่นในหลัก คุณธรรม และ จริยธรรม จะทำให้เกิดทุนแห่งความสุขได้

อาจารย์จีระ ให้ความสำคัญกับทุนทางจริยธรรม ( Ethical Capital ) รองจาก Human Capital ซึ่งเป็นทุนมนุษย์ตัวหลัก ต่างจาก Gary Becker ที่ให้ความสำคัญกับ input ของ Human Capital คือ การศึกษา ทักษะ สุขภาพ อนามัย โภชนาการ อาจารย์เห็นว่า ทุนทางจริยธรรม มีความสำคัญ เพราะเป็นพื้นฐานของทุนมนุษย์ทั้งหมด กล่าวคือ ต้องประพฤติตนให้มี คุณธรรม และ จริยธรรม ก่อน จึงจะไปพัฒนาทุนตัวอื่นๆได้ เราจึงต้องช่วยกัน ปลูกฝัง คุณธรรม และ จริยธรรม เพื่อช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ เป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องช่วยกันตามแต่ละบทบาท ในทุกระดับของสังคม 

ตามความเห็นของ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี การเรียนจริยธรรม ต้องเรียนแบบประพฤติปฏิบัติจริงตั้งแต่เด็ก ผู้นำที่ดีควรรักษาศีล 5 ท่านได้วิเคราะห์ปัญหาการคอร์รัปชั่นโดยใช้ อริยสัจสี่ คือ 

ทุกข์ คือ เกิดปัญหาวิกฤตกับสังคมไทย ประเทศไม่ก้าวหน้า

สมุทัย คือ สาเหตุของปัญหา คือ ระบบศีลธรรมอ่อนแอ การเมืองเต็มไปด้วยการคอร์รัปชั่น กฏหมาย การศึกษาอ่อนแอ ไม่สอนให้คนคิด

นิโรธ คือ เป้าหมายของสังคมไทยในอนาคต การเมืองมีธรรมาภิบาล เศรษฐกิจ และสังคมเข้มแข็ง มีการพัฒนาที่ยั่งยืน คนไทยมีความสุข

มรรค คือ หนทางในการแก้ปํญหา คือ เปลี่ยนวิธีคิดของคนไทย ปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา 

ข้อเสนอแนะ: 

Thailand's Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption : CAC ปัจจุบันได้มีโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC) ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการสนันสนุนจากรัฐบาล และ ปปช. จัดตั้งขึ้นมาโดยองค์กรธุรกิจชั้นนำของประเทศ อาทิ สภาอุตสาหกรรมไทย สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย หอการค้าไทย เพื่อมุ่งสร้างและขยายแนวร่วมในภาคเอกชน เพื่อสร้างกระแสการต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชั่น ด้วยการส่งเสริมให้บริษัทต่างๆ กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติ ในการที่จะปฏิเสธการจ่ายสินบน รวมถึงการทุจริต คอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ มีผู้มีชื่อเสียงหลายท่านเป็นกรรมการของ CAC เช่น คุณประมนต์ สุธีวงศ์ และ คุณพารณ อิศรเสนา บริษัทที่ได้รับการรับรองจาก CAC จะต้องมีมาตรฐานระบบป้องกันการทุจริต และ จะถูกกำหนดเป็นเงื่อนไขในการคัดเลือกเป็นคู่สัญญากับรัฐในการจัดซื้อจัดจ้าง และ การเลือกลงทุนสำหรับนักลงทุนสถาบัน เป็นต้น

การพัฒนาประเทศไทยที่ผ่านมา ระบบเราไม่ค่อยลงตัวเท่าไร มีปัญหาเรื่องการตรวจสอบ เรื่องการทุจริตคอรัปชั่น ปัญหาเรื่องความโปร่งใส เรื่องการเปิดเผยข้อมูล คนจึงเรียกร้อง อยากเห็นผู้นำที่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชนว่ามีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่คดโกง บางช่วงที่เราได้ผู้นำที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งคนก็โหยหาสิ่งนี้ วิธีที่ทำในอนาคตคือ เราต้องพัฒนาประเทศให้เกิดระบบที่ดีมากที่สุดเท่าที่ทำได้ และสรรหาผู้นำตามกติกามาตามการเลือกตั้งที่มีคุณธรรมและจริยธรรมที่มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

 บทวิเคราะห์หนังสือ

“พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม”

 ทัชยา รักษาสุข

นักศึกษาปริญญาเอก รุ่น 15

          ท่านอาจารย์ ว.วชิรเมธี และ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ท่านอยากเห็นสังคมไทยเป็นสังคมที่มีคุณภาพมีความสมดุล และความสุข โดยทุนมนุษย์ที่มีคุณธรรม  จริยธรรม ในการอยู่รวมกันในสังคมอย่างมีความสุข ทำให้ประเทศไทย อยู่บนสังคมโลกได้อย่างยั่งยืน และเป็นบุคคลตัวอย่างสำหรับชนรุ่นหลังท่าน ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้วิเคราะห์และนำเสนอแบบอย่างของผู้นำที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์ ที่จะนำพาหน่วยงาน องค์กร สังคมและประเทศชาติให้ก้าวผ่านสู่โลกยุคที่ 4 หรือ Forth Wave แต่ที่สำคัญที่สุดคือ การมีคุณธรรม จริยธรรม ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนผ่านไปสู่รูปแบบใด ผู้นำที่พึงประสงค์จะต้องมี ,คุณธรรมจริยธรรม(Ethics) ,ความยั่งยืน(Sustainability) ,ความเฉลียวฉลาด(Wisdom) ,ความคิดสร้างสรรค์(Creativity),นวัตกรรม(Innovation) ,ทุนทางปัญญา(Intellectual Capital) ภาวะผู้นำ(Leadership) และที่สำคัญที่สุด คือ ต้องมีทุนทางคุณธรรม จริยธรรม(Ethical Capital) เป็นพื้นฐานจึงจะสามารถพัฒนาไปสู่ผู้นำในรูปแบบ Trust/Authority หรือผู้นำที่สร้างศรัทธาจากสังคมให้เกิดขึ้นด้วยความดีงาม

ความซื่อสัตย์ มั่นคง และกล้าตัดสินใจเลือกทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม

ความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ที่ประทับใจหลายประเด็ด

          การปลูกฝังเรื่องคุณธรรม จริยธรรม มาจากปัจจัย 6 ประการ

          1. ครอบครัว  การปลูกฝังความดี โดยการได้รับคำสั่งสอนที่ดีจากคุณพ่อ คุณแม่ ในเรื่องความถูกต้อง เน้นการปลูกฝังเรื่องทุนทางคุณธรรม จริยธรรม

          2. โรงเรียน  วัฒนธรรมของโรงเรียนเป็นส่วนสำคัญ โดยคุณครูได้ทำการปลูกฝังทุนทางคุณธรรม จริยธรรม ในการสอนโดยสอดแทรก คุณธรรม จริยธรรมเข้าไปด้วยและได้เห็นต้นแบบที่ดีจากคุณครูในการปฏิบัติตัว

          3. ศาสนา  ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ โดยมีศีลทั้ง 5 ข้อ มาให้ปฏิบัติตนเพื่อให้ มีจิตสำนึก ซึ่งศาสนามีอิทธิพลเป็นอย่างมาก

          4. สังคม  สังคมไทยเป็นสังคมทุนนิยม เน้นเรื่องวัตถุมากเกินไป ไม่ยกย่องคนดี ควรสร้างวัฒนธรรมของคนไทยในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาสังคมไทยให้มีความสมดุล และยั่งยืนตลอดไป

          5. สื่อ สื่อมีอิทธิพลอย่างมากเพราะการแสดงออกสื่อในประเทศและต่างประเทศ มีผลกระทบต่อเยาวชนที่ได้รับข่าวสารที่ต่างประเทศเขาจำกัดการเผยแพร่ ควรจุดประกายนำเสนอเอาคุณธรรม จริยธรรม

          6. คนไทยต้องค้นหาต้นแบบ (Role Model)   การมีบุคคลตัวอย่างคนดี ทำให้สังคมไทย ด้านคุณธรรม จริยธรรมโดยมีผู้นำ 5 ท่านที่น่ายกย่อง ประกอบไปด้วย  ศ. คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี, นายชวนหลีกภัย, ศ.พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์, รศ. สุขุม นวลสกุล , รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ เป็นต้น เหมาะสำหรับทุกครอบครัว ทุกอาชีพ ที่ต้องเรียนรู้ จากหนังสือเล่มนี้ เพราะเนื้อหาสาระมามายกว่าที่คิดไว้ได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันและองค์กรอีกด้วย

          หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงคนไทยต้นแบบแห่งคุณธรรม จริยธรรม ได้แก่ ซึ่งได้กล่าวมาหลายท่านล้วนแล้วแต่เป็นผู้เป็นต้นแบบแห่งคุณธรรม จริยธรรม และได้นำบทเรียนเหล่านี้มาปรับใช้ในการทำงานอีกด้วย

                1. พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า วรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ทรงมี “ภาวะผู้นำ” และพระปรีชาสามารถด้านการทูต ซึ่งทำให้ทรงจัดการปัญหาให้คลี่คลายไปได้ด้วยดี

                2. ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ หรือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เป็นผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย

                3. ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ท่านได้วางรากฐานในการอบรมศึกษาทางจริยธรรมให้แก่ตุลาการ ได้ใช้คุณธรรม จริยธรรมสอดแทรกในการอบรมด้านกฎหมาย ให้ความรู้แก่ลูกศิษย์ด้วยหลักคิด “เอาธรรมะหรือคุณธรรมมาผสมกับกฎหมาย” ท่านเป็นผู้พิพากษาที่ไม่ยอมให้ความใกล้ชิดหรือเรื่องระบบอุปภัมภ์ เรื่องความสนิดสนม เครือญาติ เพื่อนฝูง พวกพ้อง เข้ามามีอิทธิพลในการเข้ามาทำหน้าที่ในตอนที่ท่านทำหน้าที่ผู้พิพากษา                                             

                4. ศาสตราจารย์ พันตรี ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านคุณธรรม จริยธรรม และการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายสมถะ ยึดเรื่องความถูกต้อง พูดอย่างไร ทำอย่างนั้น มีความซื่อสัตย์ต่อบ้านเมือง

[email protected]

บทวิเคราะห์หนังสือ “8K’S + 5k’S ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน”

          ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ หนึ่งในกูรูคนไทยด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ ได้จัดทำหนังสือพ๊อคเก็ตบุ๊คส์เล่มที่สาม มีชื่อว่า "8K's+5K's ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน" และได้นำออกจำหน่ายเผยแพร่ในช่วงต้นเดือน มีนาคม 2555 ผมเห็นว่าเป็นหนังสือที่ดี ควรค่าแก่การเก็บไว้เป็นสมบัติของครอบครัว ภายในเล่มมีเนื้อหาสาระมากมายที่ทำให้ทุกท่านเพิ่มปัญญา สามารถนำไปเติมเต็มทุนมนุษย์ของท่าน และคนรอบข้าง

          ผมเชื่อว่าถ้าท่านอ่านและทำการวิเคราะห์เรียนรู้ในเนื้อหาทุกหน้า และทำความเข้าใจ ท่านจะเต็มไปด้วยปัญญาที่ทำให้ท่านมีคุณค่ามากกว่าจบปริญญาเอก ขอเพียงใช้เวลาเรียนรู้จากหนังสือในช่วงเวลาที่ท่านว่าง จะมากน้อยและนานแค่ไหน ขึ้นกับตัวท่านเอง กับการลงทุนเป็นแสน บางท่านอาจเป็นล้าน และใช้เวลาเป็นปี แถมต้องพึ่งพาคนอื่น ท่านคิดว่าสิ่งไหนมีคุณค่าเหมาะแก่การลงทุนมากกว่ากัน ข้อสำคัญการลงทุนในหนังสือ สามารถใช้ได้ทั้งครอบครัว

          ก่อนที่ผมจะทำการวิเคราะห์หนังสือเล่มนี้ ผมขอเริ่มจากการสรุปเนื้อหาในแต่ละส่วน ดังนี้

          หนังสือ 8K's+5K's ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน 14 ส่วน ได้แก่ คำนำ ค่านิยม จากใจผู้เรียบเรียง บทที่ 1.เส้นทางของนักพัฒนาทุนมนุษย์พันธ์แท้ บทที่ 2.8K's ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ (ส่วนที่ 1:4K'sแรก) บทที่ 3 8K's ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ (ส่วนที่ 2:4K'sหลัง) บทที่ 4 5K's ทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี บทที่ 5 8K's และ 5K's (ใหม่) เครื่องมือที่สำคัญในการสร้างคุณภาพของทุนมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียน บทที่ 6 AEC กับคุณภาพทุนมนุษย์ของประเทศไทย จากมุมมองของนักคิดและนักปฎิบัติแถวหน้าของสังคมไทย บทที่ 7 Idea Reflection ทฤษฎีทุนมนุษย์ 8K's และ 5K's (ใหม่) ของ ดร.จีระได้มาอย่างไร ? บทที่ 8 12แนวคิดและทฤษฎีเพื่อการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน บทที่ 9 บทส่งท้าย 8K's+5K's กับการสร้างทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน บทที่ 10 เสียงสะท้อนจากลูกศิษย์อาจารย์จีระ กับ วิธีการเรียนรู้เพื่อสร้าง "คุณภาพทุนมนุษย์" ประวัติ ดร.จีระ บรรณานุกรม

          คำนำ : อาจารย์จีระ ได้กล่าวถึงแรงบันดาลใจในการจัดทำหนังสือเล่มนี้ โดยมีความตั้งใจที่จะถ่ายทอดแนวคิดเพื่อการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ไทยรองรับการก้าวสู่การเปิดเสรีอาเซียนในปี 2515 ขอบคุณผู้ที่อาจารย์เคารพนับถือที่ให้กำลังใจและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ ขอบคุณทีมงาน และขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่าน และหวังว่าแนวคิดจากหนังสือจะเป็นเข็มทิศนำทางให้กับทุกท่านได้นำไปใช้ในการพัฒนา "ทุนมนุษย์" ได้อย่างดีหนังสือเล่มนี้สามารถตอบคำถามที่อยู่ในความคิดของผมได้เป็นอย่างดี เพราะการลงทุนเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์นั้นเป็นการลงทุนที่แม้จะใช้เวลาและทรัพยากรมาก แต่ก็คุ้มค่าที่สุด ในขณะที่คนส่วนใหญ่มักมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาศักยภาพและการแข่งขันในด้านทุนนิยม โดยละเลยการพัฒนาด้านจริยธรรม คุณธรรมและคุณค่าแห่งชีวิต แต่การพัฒนาทุนมนุษย์ทั้ง 13 ด้าน (8K's+5K's) ตามแนวคิดของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ จะเป็นฐานสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนมุมมองและประสบการณ์อันเข้มข้นและหลากหลายของ ศ.ดร.จีระ ผู้ที่เรียกได้ว่าเป็น "กูรู" ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ถูกเรียบเรียงออกมาให้เข้าใจง่าย และถ่ายทอดไว้ในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งจัดว่าเป็นผลงานล้ำค่าที่กลั่นกรองออกมาจากมันสมองของนักคิดชั้นเยี่ยม และยังจะเป็นฐานความคิดสำคัญสำหรับผู้ประกอบการหรือผู้ที่คิดจะเริ่มต้นประกอบธุรกิจการค้าในการต่อยอดการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน รวมทั้งยกระดับองค์กรให้ก้าวไปสู่ความเป็นสากลมากขึ้น

          ประเทศไทยยังต้องการทุนมนุษย์ที่เป็น "คนคุณภาพ" อีกจำนวนมาก ดังนั้น ผมหวังว่าการอ่านหนังสือเล่มนี้จะเป็นการเปิดมุมมองความคิดให้กว้างขวางและจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากนำความคิดเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อองค์กรและต่อประเทศไทยในที่สุดจะมีใครเล่าที่เขียนหนังสือเพื่อสร้างความตระหนักในความสำคัญของทุนมนุษย์และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ดีไปกว่า ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ประการแรก ศ.ดร.จีระ เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง "สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" มาตั้งแต่ปี 2520 จนก่อตั้งเสร็จเมื่อปี 2524 และดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการคนแรกตั้งแต่ปี 2524 มาจนถึงปี 2542 ประการที่สองท่านเป็นผู้ริเริ่มจัดการสัมมนาระหว่างประเทศมานาน ประการที่สาม ท่านดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ซึ่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2541 ทั้งนี้ ยังไม่นับรวมถึงการบรรยาย หนังสือ บทความ รายการโทรทัศน์ วิทยุและข่าวสารที่ส่งผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่ผู้คนนับล้านเข้าถึงได้ ดังนั้น ความคิดและประสบการณ์เกือบทั้งหมดของชีวิต ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ที่เจียรนัยออกมาเป็นหนังสือ 8K's+5K's ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน จึงเป็นเพชรเม็ดงามมีคุณค่าสูงส่ง ที่มอบให้ชาวไทย ขอขอบคุณ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในฐานะนักบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ท่านได้มอบมรดกล้ำค่าไว้ให้คนรุ่นหลัง ขอขอบคุณ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในฐานะวิทยากรที่นำ 8K's+5K's ไปใช้ในการเรียนการสอน ขอขอบคุณ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในฐานะผู้ประกอบการรายย่อยที่นำไปใช้เตรียมตัวเตรียมใจรับมือกับการเปิดเสรีอาเซียน


นายวิชา ขันคำ 

นักศึกษาปริญญาเอก รุ่น 15 

การวิเคราะห์หนังสือ

เรื่อง "พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม The Ethical Power"

โดยพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี และ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

รายวิชา : PHD8205 การจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคม Management of Human and Social Capital

อาจารย์ผู้สอน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ 

 

1.ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มที่อ่านมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

หนังสือ "พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม The Ethical Power"โดยพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี และ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มีความสำคัญต่อสังคมไทยในการขับเคลื่อนสู่สังคมคุณภาพ ด้วยระบบคุณธรรมจริยธรรมและความดีงามของคนในชาติ ปลุกกระแสเพื่อสร้างพลังแห่งความดีงามในสังคมผ่านหนังสือ “พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม : The Ethical Power”นับเป็นโอกาสและจังหวะเวลาที่เหมาะสม เพราะคนในชาติขาดคุณธรรมจริยธรรม มีการทุจริตคอรัปชั่นในทุกวงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับ “ผู้นำ” ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อประเทศ ปัญหาเศรษฐกิจที่สืบเนื่องมานาน ปัญหาจากนักธุรกิจมีความโลภ ขาดคุณธรรมและจริยธรรม สังคมไทยจึงควรเรียนรู้จากความล้มเหลวในอดีต และกลับมาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง โดยใช้พลังแห่งคุณธรรมและจริยธรรม ขับเคลื่อนสังคมไปในทางที่ดี เป็นสังคมแห่งความสุขและก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

2.บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ที่ประทับใจมีอะไรบ้าง เพราะอะไร

   ประทับใจในการนำเสนอแบบอย่างคุณงามความดีและความกล้าหาญทางคุณธรรม จริยธรรมของบุคคลต้นแบบ 4 ท่าน คือ                 (1) พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์                 (2) ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์                 (3) ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์                 (4) ศาสตราจารย์ พันตรี ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์             เพราะคุณงามความดีที่บุคคลทั้งสี่ท่านได้สร้างไว้ เป็นต้นแบบของผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรมในระดับสูง ที่สามารถถือเป็นแบบอย่างให้แก่คนรุ่นหลังได้ ทั้งชีวประวัติด้านการศึกษา การครองตน ครองคน ครองงาน ล้วนประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง ได้รับการสรรเสริญจากคนรุ่นหลัง เป็นเรื่องที่น่าศึกษาและเป็นประโยชน์มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคนรุ่นหลังมีเวลาได้ถอดบทเรียนดู ก็จะพบว่า แต่ละท่านเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม รักชาติบ้านเมือง เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเหนือประโยชน์ส่วนตัว ถือเป็นบุคคลหาได้ยากในสังคมปัจจุบัน การที่พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี และ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เขียนเรื่องราวและประวัติที่ดีของท่านให้สาธารณชนได้รับรู้ เป็นสิ่งล้ำค่าต่อการศึกษาเรียนรู้ของชนรุ่นหลัง ประเทศไทยก็จะมีช่องทางในการสร้าง“ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ”อีกช่องทางหนึ่ง การเรียนรู้ประวัติที่ดีงามของบุคคลสำคัญ ถือเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้วย 8K’s และ 5K’s เช่น เมื่อปลูก (สร้าง/พัฒนาทุนมนุษย์) อย่างถูกต้อง (Reality) และตรงประเด็น (RElavance) แล้ว มนุษย์ย่อมเกิดปัญญา คิดดี  พูดดี ทำดี และมีพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม เป็นคนดีที่สังคมและประเทศชาติต้องการต่อไป

3.จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้ คืออะไร ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

          ผมมีข้อเสนอแนะ ดังนี้

          ควรเพิ่มประวัติย่อที่น่าสนใจของบุคคลสำคัญในแง่มุมต่างๆ เช่น

1. สเตฟาน คอลินยองส์ (Stefan Collingnon) นักวิชาการร่วมสมัยชาวเยอรมัน ได้กล่าว ยกย่องศาสตราจารย์ พันตรี ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ว่าเป็น "บิดาของเมืองไทยสมัยใหม่" (Founding Father of Modern Thailand) ในฐานะผู้วางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ผมว่าเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจของคนไทยและควรได้รับการยกย่อง หรือโคลงสี่สุภาพที่ท่านแต่งขึ้น แสดงถึงความเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว รักชาติ

กูชายชาญชาติเชื้อ         ชาตรี

กูเกิดมาก็ที                           หนึ่งเฮ้ย

กูคาดก่อนสิ้นชี-                      วาอาตม์

กูจักไว้ลายเว้ย                       โลกให้แลเห็น

2. ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ จากฉบับ ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445) มาเป็น พระราชบัญญัติสงฆ์ พ.ศ. 2484 ทำให้การปกครองสงฆ์เป็นประชาธิปไตย อนุวัตรคล้อยตามการปกครองของบ้านเมืองไปด้วย แต่พระราชบัญญัติสงฆ์ พ.ศ. 2484 ใช้ได้เพียง 20 ปี ก็มีเหตุการณ์ไม่ราบรื่นเกิดขึ้นในสังฆมณฑลอย่างจงใจ จนนำคณะสงฆ์กลับไปสู่การปกครองระบอบเผด็จการโดยคณะเดียว ภายใต้พระราชบัญญัติสงฆ์ พ.ศ. 2505 ฯลฯ

นายณธกร คุ้มเพชร

นักศึกษาปริญญาเอก สาขา นวัตกรรมการจัดการ รุ่นที่ 15 

[email protected]

089-973-3588

บทวิเคราะห์หนังสือ

“พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม”

รายวิชา : PHD 8205 Management of Human and Social Capital

อาจารย์ผู้สอน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ 

1.ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มที่อ่านมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

                       หนังสือ The Ethical POWER     พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม ได้เรียบเรียงและจัดพิมพ์ ครั้งที่ 1 ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2558 เป็นช่วงบ้านเมืองเกิดภาวะวิกฤตทางจริยธรรม  ผู้นำประเทศมีพฤติกรรมการทุจริตคอรัปชั่นที่รุนแรง  ก่อความเสียหายต่อประเทศชาติเป็นอย่างมาก ประชาชนทั้งประเทศเรียกร้องถึงคุณธรรมจริยธรรมของผู้นำประเทศ  ต้องการผู้นำที่มีความรู้ความสามารถด้านคุณธรรม จริยธรรม    เพื่อเป็นต้นแบบในการบริหารบ้านเมืองให้รอดพ้นวิกฤต      หนังสือ The Ethical POWER     พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม   ได้ตีพิมพ์และวางจำหน่ายในช่วงเวลาที่เหมาะสม  กล่าวคือถูกที่ ถูกเวลา   ในทางธุรกิจนับว่าเป็นวิสัยทัศน์ทางธุรกิจที่น่าจับตามอง  และอีกด้านหนึ่ง ในด้านของสังคม  หนังสือเล่มนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อนักปกครองและสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่ต้องหันมาสำนึกและตระหนักถึงความสำคัญของคุณธรรมและจริยธรรม

 

           

2.บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือ เล่มนี้ที่ประทับใจ มีอะไรบ้างเพราะอะไร

 

                 เนื้อหาจากหนังสือ    ท่านพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี( ว.วชิรเมธี)  ได้นำหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า   ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธที่ได้บัญญัติถึงคำว่า” คุณธรรม” คือ ธรรมที่อยู่ในจิตใจ และ “จริยธรรม” คือ การกระทำที่ดีงาม  การต้องมีสติ มีคุณธรรม จริยธรรม  ของผู้นำ ของบุคคลที่ควรค่า แก่การกล่าวถึงและนำมาเป็นแบบอย่าง       และท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิผู้เป็นเสาหลักของนักคิดของประเทศไทย ได้สกัดความรู้สู่มวลชนเพื่อให้เห็นเหตุการณ์และยกตัวอย่างของ ความรู้ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ของบุคคลสำคัญของประเทศไทย 4 ท่าน  คือ1.พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า วรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิป พงศ์ประพันธ์  ผู้ใช้ความสามารถด้านความรู้ บ่มเพาะความความเป็นประชาธิปไตย และให้ความเป็นธรรมและทรงบริหารความถูกต้องด้วยสติ    2.ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผู้ให้หลักปฏิบัติของการเป็นคนไทย ที่จะใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสันติ และมีระเบียบวินัย ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแรก ของไทย      3.ศาสตราจารย์สัญญา  ธรรมศักดิ์  ได้วางรากฐานของ คุณธรรม และจริยธรรม ให้กับผู้มีอำนาจในการปกครองผู้อื่น ซึ่งต้องมี สติและความเป็นธรรม ในทุกกลุ่มชน     4.ศาสตราจารย์ พันตรี ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์    ผู้ยึดหลักของคุณธรรม จริยธรรม มาปฏิบัติเพื่อเป็นแบบอย่างของชนรุ่นหลัง   เช่นด้านคุณธรรมจริยธรรม (Ethics) ความยั่งยืน (Sustainability) ความเฉลียวฉลาด (Wisdom ) ความคิด สร้างสรรค์ (Creativity) นวัตกรรม (Innovation)  ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ภาวะผู้นำ (Leadership)  คุณธรรม จริยธรรม (Ethical Capital)  เพื่อเป็นรูปแบบในการพัฒนา ตนเอง ชุมชน สังคม ประเทศ และโลก ให้มีรูปแบบขั้นตอน ด้านคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อให้สังคมได้มีต้นกล้าความคิด การกระทำที่ดีงามต่อไป และจากค่านิยม ของท่านพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ  กล่าวว่า สังคมไทยวันนี้ต้องใช้พลังของคุณธรรม  จริยธรรมเป็นรากฐานและเป็นเครื่องนำทาง   การทำความดีนั้นแม้จะยากแต่ก็ทำได้  โดยคุณธรรม คือ การปฏิบัติดี และ จริยธรรม คือวาจาดี  ร่วมแล้วคือ การปฏิบัติทางกายและวาจาดี    การปฏิบัตินี้เป็นการขับเคลื่อนให้ประเทศเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน 

                  รูปแบบของการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ตามลำดับ

1.สถาบันครอบครัว    สถาบันที่เล็กที่สุด ผู้ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมขั้นแรกให้กับมนุษย์

2.สถาบันโรงเรียน     สถาบันที่สอง ผู้ให้วิธีปฏิบัติให้สอดคล้องต่อการดำเนินชีวิต

3.สถาบันศาสนา    เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้เกิดความ สงบ มีสติ ในการคิด อย่างมีคุณธรรมจริยธรรม

4.สถาบันสังคม     สิ่งแวดล้อมที่มีทั้งดี และไม่ดี แต่ด้วยการปลูกฝังจิตสำนึกและวัฒนธรรมทำให้สามารถแยกแยะความดี และความชั่วได้

5.สถาบันสื่อ   ข่าวสารที่เผยแพร่ ถึงความดีและชั่วในแต่ละวัน ทำให้ทราบถึงการมีความดี นั้นจะถึงพร้อมด้วย กาย วาจา และตัวอย่างและผลตอบแทน ด้วยการกระทำที่เผยแพร่ได้อย่างรวดเร็ว

6.ต้นแบบ   คนไทยต้องค้นหาต้นแบบ (Role Model) บุคคลตัวอย่าง  หรือปัจจุบัน คือ “เน็ตไอดอล” ด้านคุณธรรม จริยธรรม เห็นได้จากทุกสาขาอาชีพที่ทำได้ ย่อมได้รับผลดีตอบแทนเสมอ ไม่ว่าจะ สูงต่ำดำขาว ยากดีมีจน  ก็มีคุณธรรมอยู่ในใจได้เหมือนกัน

 

3.จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้ คืออะไร

1.การเรียบเรียง การจัดลำดับความสำคัญของเนื้อหา

2.การยกตัวอย่างบุคคล  เป็นตัวอย่างที่ขาดความหลากหลายของชนชั้น วัยและสาขาอาชีพ

 

 

นายณภพ   ชัยศุภณัฐ

นักศึกษาปริญญาเอก สาขา นวัตกรรมการจัดการ รุ่นที่ 15

บทวิเคราะห์หนังสือ เล่มที่สาม

“พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม”

รายวิชา : PHD 8205 Management of Human and Social Capital

อาจารย์ผู้สอน .ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ 

วิเคราะห์โดย แจ่มจันทร์  คล้ายวงษ์ นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 15 สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการ

1.ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มที่อ่านมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

“พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม” หนังสือเล่มนี้ ปลูกฝังทุนทางคุณธรรม จริยธรรม ให้คนไทย สามารถนำมาปรับใช้เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมในทุกระดับ เริ่มจากตนเอง ครอบครัว องค์กร ชุมชุน สังคม รวมไปจนถึงระดับประเทศ  พร้อมทั้งให้แนวทางตัวอย่างในการลงมือปฏิบัติได้จริงโดยเริ่มที่ตัวเองก่อน แล้วขยายผลไปยังทุกกลุ่มทุกส่วนงาน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญของความสุข ความสมดุลและความยั่งยืน

2.บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ที่ประทับใจมีอะไรบ้าง เพราะอะไร

การปลูกฝังเรื่องคุณธรรม จริยธรรม มาจากปัจจัย 6 ประการ

1.ครอบครัว  การปลูกฝังความดี โดยการได้รับคำสั่งสอนที่ดีจากคุณพ่อ คุณแม่ ในเรื่องความถูกต้อง เน้นการปลูกฝังเรื่องทุนทางคุณธรรม จริยธรรม 

2.โรงเรียน  วัฒนธรรมของโรงเรียนเป็นส่วนสำคัญ โดยคุณครูได้ทำการปลูกฝังทุนทางคุณธรรม จริยธรรม ในการสอนโดยสอดแทรก คุณธรรม จริยธรรมเข้าไปด้วยและได้เห็นต้นแบบที่ดีจากคุณครูในการปฏิบัติตัว

3.ศาสนา  ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ โดยมีศีลทั้ง 5 ข้อ มาให้ปฏิบัติตนเพื่อให้ มีจิตสำนึก ซึ่งศาสนามีอิทธิพลเป็นอย่างมาก

4.สังคม  สังคมไทยเป็นสังคมทุนนิยม เน้นเรื่องวัตถุมากเกินไป ไม่ยกย่องคนดี ทุนนิยมต้องสอดคล้องไปด้วยกันกับความดี และควรสร้างวัฒนธรรมของคนไทยในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาสังคมไทยให้มีความสมดุล และยั่งยืนตลอดไป

5.สื่อ สื่อมีอิทธิพลอย่างมากเพราะการแสดงออกสื่อในประเทศและต่างประเทศ มีผลกระทบต่อเยาวชนที่ได้รับข่าวสารที่ต่างประเทศเขาจำกัดการเผยแพร่ ควรจุดประกายนำเสนอเอาคุณธรรม จริยธรรม กลับมาแสดงออกสื่อให้มากขึ้น

6.คนไทยต้องค้นหาต้นแบบ (Role Model)   การมีบุคคลตัวอย่างคนดี ทำให้สังคมไทย ด้านคุณธรรม จริยธรรมโดยมีผู้นำ 5 ท่านที่น่ายกย่อง ประกอบไปด้วย

(1) ศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ 

(2) ศาสตราจารย์ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอฯกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

(3) ศาสตราจารย์ สัญญา  ธรรมศักดิ์    

(4) ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย  อึ๊งภากรณ์    

(5) ศาสตราจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ 

         หนังสือเล่มนี้แสดงให้เห็นความสำคัญของทุนทางธรรม จริยธรรมให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมแห่งความสุขอย่างสง่างามและยั่งยืน โดยการยกย่องบุคคลสำคัญในอดีต 4 ท่านที่เปี่ยมไปไปด้วยคุณงามความดี เพื่อเป็นต้นแบบต่อคนรุ่นหลัง โดยเฉพาะกลุ่มผู้นำประเทศ ที่จะต้องประพฤติตัวเป็นแบบอย่างของการมีคุณธรรม จริยธรรม เสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่อวางรากฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้แก่ประเทศไทย

         สิ่งสำคัญจากหนังสือเล่มนี้คือการนำไปปรับใช้ให้เกิดผลในการสร้างพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรมโดยนำไปคิดต่อ ทำต่อ นำมาประพฤติปฏิบัติให้กลายเป็นวัฒนธรรมของคนไทยทั้งประเทศได้ ขอให้ทุกๆคนช่วยกันเร่ง “สร้างพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม”

 การใช้ ไตรสิกขา  โดยยึดหลัก 3 สิ่งสำคัญ

·       หลักทฤษฎีต้องมั่นคง  คือเราต้องเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ลดการเห็นแก่ตัว เพิ่มความเห็นใจแก่ผู้อื่น

·       เรื่องการปฏิบัติ  เรามีแต่หลักคิด ถ้าไม่ลงมือปฏิบัติจริง แล้วอยากให้คนอื่นชื่นชม แต่เราไม่ได้เริ่มต้นลงมือปฏิบัติเลย จะมีประสบการณ์ได้อย่างไร จะรู้ได้อย่างไรว่าอะไร คือถูกผิด ถ้ามันผิดไปแล้วก็แก้ไขให้มันถูกต้อง

·       ให้เกิดปัญญาแจ่มแจ้ง เป็นการติดตามประเมินผลและตรวจสอบตัวเองตลอดเวลา ว่าสิ่งที่ตนเองทำลงไปเสียสละเพื่อส่วนรวมหรือว่าทำไปแล้วเพื่อส่วนตัวมากกว่า  เป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม อย่างนี้เรียกว่า  ผลประโยชน์ทับซ้อน  ต้องมาตรวจสอบตนเองว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนไหม

การวิเคราะห์ปัญหาการคอร์รัปชั่นใช้โดยอริยสัจ 4  ประกอบด้วย

ทุกข์ คือปัญหาวิกฤตสังคมไทยในปัจจุบัน    สังคมไทยมีปัญหาด้านศีลธรรม แตกความสามัคคี การพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ทุกโครงการล้วนมีผลประโยชน์ โกงกินจนกลายเป็นวัฒนธรรม

สมุทัย คือ สาเหตุของปัญหาในปัจจุบัน  โครงสร้างทางการเมืองและสังคมที่อยุติธรรม  วัฒนธรรมประชาธิปไตยไม่หยั่งรากลึก การเมืองเต็มไปด้วยการคอร์รัปชั่น ค่านิยมและจิตสำนึกของคนทุจริตองค์กร  ภาวะสองมาตรฐานด้านการใช้กฎหมายมีระบบอุปถัมภ์เข้มข้น

นิโรธ คือ เป้าหมายของสังคมไทยในอนาคต  การเมืองต้องมีธรรมาภิบาล เศรษฐกิจและสังคมเข้มแข็ง  การพัฒนาที่ยั่งยืน ประเทศโปร่งใสปราศจากคอร์รัปชั่น

มรรค คือ หนทางในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น  ควรจะปฏิรูปค่านิยมและจิตสำนึกของคนไทย  ปฏิรูปโครงสร้างสังคมไทยทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม  ปฏิรูปการศึกษา   ปฏิรูประบบกฎหมาย  และกระบวนการยุติธรรมให้เข้มแข็ง 

  9 คมธรรม นำชีวิต สร้างพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม จาก พระอาจารย์ .วชิรเมธี  คำคมที่ท่านพระอาจารย์ได้กล่าวมานี้สามารถนำมาเป็นข้อคิดดีๆในการปรับทัศนคติจากที่คิดในแง่ลบกับมาเป็นแง่บวก เช่นคำคมดังนี้

“ไม่มีคำว่าสายนะ..สำหรับการเริ่มต้นใหม่ ต่อให้คุณเคยชั่วเคยเลวขนาดไหน แต่หากวันหนึ่งมีสติ..แวบเดียวนึกขึ้นมาได้และกลับตัวเป็นคนดีก็ไม่มีคำว่าสาย”

นอกจากนี้ ยังได้มีความประทับใจที่ ท่านอ.จีระได้ชื่นชมแนวทางการปลูกฝัง ‘ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ’ ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช) ว่ามีความตระหนัก ให้ความสำคัญในการสร้างค่านิยมหลักของคนไทยเป็นงานสำคัญอันดับต้นๆและเป็นวาระแห่งชาติที่กระทรวงศึกษาธิการได้นำค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ไปพัฒนาบรรจุในหลักสูตรระดับประถม มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา อย่างน่าสนใจและมียุทธศาสตร์ต่อเนื่อง ต่อยอด จะเป็นจุดสำคัญที่จะทำให้เกิดความสำเร็จ เพราะการปลูกฝังให้นักเรียนไทยมีแก่นนิยมเป็นหลัก จะทำให้ประเทศไทยอยู่รอดได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว ซึ่งในความเห็นของท่านอาจารย์จีระ ค่านิยม 12 ข้อในยุคพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่เพียงแต่จะมีประโยชน์ต่อนักเรียนเท่านั้น ยังมีประโยชน์ต่อคนไทยทั้งประเทศในทุกกลุ่ม และทุกภาคส่วน ที่จะต้องเร่งสร้างพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรมในวังคมไทย วันนี้คนดีๆในสังคมต้องรวมตัวกันทำความดี ยกย่องคนดี เร่งสร้างทุนทางคุณธรรม จริยธรรมในสังคมของเราอย่างจริงจัง ซึ่ง สื่อ มีบทบาทที่สำคัญมากในเรื่องนี้

3.จุดอ่อนของหนังสือนี้ คืออะไร ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

           หนังสือเล่มนี้ควรมีโอกาสได้มีการประชาสัมพันธ์ นำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีหรือผู้มีอำนาจ ในการสนับสนุนให้ช่วยมีการออกสื่อพันธ์ทั้งในรูปแบบต่างๆ ที่จะให้ประชาชน นักเรียน นักศึกษาได้มีโอกาสอ่านเนื้อหาอันเป็นประโยชน์ หรือจะเป็นในรูปแบบภาพหรือเสียงก็จะยิ่งดี เพื่อให้ประชาชนได้พอจะเห็นแนวทางการปฏิบัติตัว ทำตัวอย่างไรถึงจะมีจริยธรรม คุณธรรม อาจออกสื่อมาในรูปแบบละครเพลง ละครทีวี การประกวดร้องเพลง การล่นเกมส์โชว์ การให้ Application ที่มีการนำเอาพื้นฐานค่านิยม 12 ประการ/Role Model บุคคลตัวอย่างที่ดีที่น่าชื่นชมมาให้ประชาชนคนไทยได้มีโอกาสซึมซับได้มากกว่านี้ น่าจะเป็นประโยชน์อย่างใหญ่หลวงที่จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศไทยให้ยั่งยืนต่อไป

ขอบคุณคะ

แจ่มจันทร์ คล้ายวงษ์

นักศึกษาปริญญาเอก สาขา นวัตกรรมการจัดการ รุ่นที่ 15

วันที่ 24 กันยายน 2560

 

 

นางสาววันดี พลรักษ์ (ตุ๊ก)

Identify Guru ของโลกเรื่องคน ว่าเหมือนกันหรือแตกต่างจากทฤษฏี 8K’s+ 5K’s

ของศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ อย่างไร

คนที่ 1 ศาสตรจาย์สัญญา ธรรมศักดิ์

อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ถือว่าเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดคนหนึ่งในประเทศ เพราะได้ดำรงตำแหน่งสำคัญทั้งทางด้านทางโลกและทางธรรมและมีตำแหน่งที่สูงสุด ได้แก่ในส่วนทางโลก เป็นปลัดกระทรวง เป็นประธานศาลฎีกา เป็นอธิการบดี เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นประธานองคมนตรี ในส่วนทางธรรม ได้เป็นประธานองค์การพุทธศานิกสัมพันธ์แห่งโลก ถ้าจะพิจารณาถึงสาเหตุที่มาของความสำเร็จนี้ เราสามารถนำ HR Architecture มาพิจารณาประกอบได้ กล่าวคือในระดับ Macro ประเทศไทยในยุคนั้น (พ.ศ.2516-พ.ศ.2518) ในส่วน Demand side มีความมุ่งเน้นเรื่อง “ประชาธิปไตย” และ “คุณธรรม” ซึ่ง อาจารย์สัญญา เป็นคำตอบในส่วนนี้ จนเป็นที่มาของคำว่า นายกฯพระราชทาน สิ่งที่อาจารย์สัญญา สามารถตอบสนอง Demand side ในส่วนนี้ได้ก็เพราะ อาจารย์สัญญามีความครบถ้วนสมบูรณ์ในส่วน Supply side โดยมีพื้นฐานของสถาบันครอบครัวที่ดี ด้วยบิดาเป็นอธิบดีศาลอุทธรณ์ข้าหลวงพิเศษ และอยู่อาศัยร่วมกับปู่ คือ หลวงศักดิ์โยธาบาล ตั้งแต่เด็ก อาจารย์สัญญาจึงได้รับการอบรมเลี้ยงดูเป็นอย่างดีให้เป็นคนดี มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย ซื่อตรง รู้จักกาละเทศะ มีมารยาท อ่อนน้อมถ่อมตน เคารพตนเองและผู้อื่น ต่อมาในช่วงวัยรุ่นอาจารย์สัญญาได้มีโอกาสบวชเรียน 3 เดือนที่วัดเบญจมบพิตร ซึ่งทำให้อาจารย์สัญญา ได้เข้าใจแก่นของพระพุทธศาสนามากขึ้น ในด้านการศึกษาอาจารย์สัญญาได้รับทุนรพีฯ ไปศึกษาด้านกฎหมายที่ประเทศอังกฤษ โดยสามารถสำเร็จการศึกษาในเวลา 2 ปี 3 เดือน ซึ่งเร็วกว่าที่กำหนดคือ 3 ปี ด้วยสิ่งสำคัญหลักทางด้านครอบครัว, ศาสนา และการศึกษาเหล่านี้ที่อาจารย์สัญญาได้ถูกปลูกฝั่งมาตั้งแต่วัยเด็ก จึงทำให้อาจารย์สัญญา มีความโดดเด่นในเรื่อง Ethical Capital, Intellectual Capital และ Happiness Capital ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในระดับต้นๆ ของ 8K’s Theory ที่ทำให้อาจารย์สัญญาเป็นที่ยอมรับทางด้านความซื่อสัตย์ คุณธรรม จริยธรรม มีใจเป็นกลาง มีความรอบรู้แท้จริงด้านนิติศาสตร์ มีการบริหารงานบนพื้นฐานของความเป็นจริงและประนีประนอม  ซึ่งทำให้อาจารย์สัญญาได้ผ่านช่วงวิกฤต 14 ตุลาคม 2516 มาได้ เนื่องจากทุกฝ่ายยอมรับที่ท่านเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งท่านถือว่าเป็นอย่างที่สมบูรณ์ ของการปลูก เก็บเกี่ยว และลงมือทำจนชนะอุปสรรค  

คนที่ 2 Michael E. Porter

Competitive Strategy by Michael E. Porter ไมเคิล อี. พอร์เตอร์ กูรูด้านกลยุทธ์การแข่งขัน

หลักหรือทฤษฎีที่ทำให้พอร์เตอร์โด่งดังขึ้นมา ก็ด้วยความคิดของกลยุทธ์การแข่งขัน ซึ่งเขาบอกว่า การทำธุรกิจนั้น จะประสบกับปัญหาการต่อสู้มากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับ พลังของสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจนั้นจำนวน 5 อย่าง (5 Forces) อันประกอบด้วย

พลังกดดันทั้ง 5 ประการในการที่ธุรกิจจะถูกกระทำจากสิ่งแวดล้อม

1) Threat of New Entrants สภาพการแข่งขันภายในตัวธุรกิจนั้นเอง คือคู่แข่งต่างๆที่มีอยู่แล้ว เห็นๆ หน้ากันอยู่ อันนี้ก็คือใครดีใครอยู่ เรียกว่าทำด้วยกัน ขายของให้กับลูกค้ากลุ่มเดียวกัน เช่น Coke กับ Pepsi เป็นต้น

2) Threat of Substitutes สภาพการแข่งขันจากภายนอกธุรกิจนั้น คือคู่แข่งที่อาจจะกระโดดเข้ามาร่วมสังเวียนด้วยในอนาคต การจะป้องกันคู่แข่งที่จะเข้ามา ก็ต้องอาศัยความที่ธุรกิจได้ดำเนินการมาก่อน เช่นผลิตของจำนวนมากๆ ทำให้เกิดการประหยัดเนื่องจากขนาด (Economy of Scale) ทำให้มี Profit Margin ต่ำจนกระทั่งไม่เกิดการจูงใจให้ผู้อื่นโดดเข้ามาแข่งขันด้วย เนื่องจากไม่คุ้มค่าความเสี่ยง หรืออาจจะพยายามทำให้สินค้ามีตรายี่ห้อที่ทรงพลัง, มีความแตกต่างในสินค้าอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะซึ่งคู่แข่งไม่สามารถทำได้ (มีลิขสิทธิ์ หรือมีสิทธิบัตรคุ้มครอง), ลูกค้าไม่ต้องการเปลี่ยนไปซื้อสินค้าจากผู้อื่นเนื่องจากมีต้นทุนในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ (Switching Cost) มีการคุ้มครองจากรัฐบาลเช่นสัมปทาน เป็นต้น

3) Bargaining Power of Customers สภาพแรงกดดันจากคู่แข่งทางอ้อมหรือสินค้าทดแทน จริงๆแล้วก็เป็นธุรกิจที่ไม่ได้อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่อุตสาหกรรมนั้นสามารถทำกำไรได้มากมาย จนเป็นที่ชำเลืองมองของคนอื่นที่อยู่นอกระบบ วันหนึ่งเขาก็อาจจะอยากกระโดดเข้ามามีส่วนร่วมขายของทดแทนเพื่อทำเงินบ้าง ผู้ที่จะอยู่ได้จะต้องมีสินค้าที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า มีลักษณะเด่นกว่า ที่ไม่สามารถถูกทดแทนได้โดยง่ายจากสินค้าประเภทอื่น

4) Bargaining Power of Suppliers อำนาจต่อรองจากผู้ขายวัตถุดิบให้กับธุรกิจ เช่นหากมีผู้จำหน่ายวัตถุดิบชนิดนี้น้อยราย, หรือเป็นของจำเป็นที่ต้องซื้อ ไม่สามารถซื้อจากคนอื่นได้, หรือธุรกิจจะต้องเสียเงินในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการหากต้องการเปลี่ยนวัตถุดิบ เมื่อเป็นดังนี้แล้วผู้ขายวัตถุดิบก็เล่นตัวขึ้นราคาเอามากๆ หรือไม่ตั้งใจสำรองวัตถุดิบนั้นไว้ให้มีเพียงพอใช้ในยามต้องการ อาจจะเกิดความขาดแคลนได้ง่ายเมื่อจำเป็น

5) Industry Rivalry อำนาจต่อรองจากผู้ซื้อในกรณีนี้เช่นถ้าผู้ซื้อเป็นผู้ซื้อรายใหญ่เพียงรายเดียว หรือสามารถซื้อสินค้าจากใครก็ได้ เพราะไม่ได้มีลักษณะเด่น หรือใช้ได้เหมือนกันโดยไม่ต้องแปลงกระบวนการ (ไม่มี Switching Cost หรือมีแต่น้อยมาก) หรือเป็นสินค้าที่ผู้ซื้ออาจจะมาผลิตเองได้ ก็อาจจะขอต่อรองราคาให้มีส่วนลดได้มากๆ

อำนาจหรือแรงกดดันทั้งห้าประการนี้ หากมีมากอยู่ล้อมรอบธุรกิจ ก็จะทำให้ดำเนินงานได้อย่างลำบาก ต้องคอยจัดการหลบหลีกเลี่ยงให้เกิดปัญหาน้อยที่สุด รักษาลูกค้าไว้ให้ได้มากที่สุด

พอร์เตอร์ก็ได้คิดต่อไปถึงความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ เขาได้เขียนหนังสืออีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน ชื่อว่า Competitive Advantage ซึ่งได้กล่าวหลักการไว้ว่า หากต้องการให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้แล้ว จะต้องใส่ใจในสิ่ง 3 อย่างต่อไปนี้

1) Differentiation สร้างความแตกต่าง คือสินค้าหรือบริการที่ธุรกิจผลิตขึ้นมานั้น จะต้องมีความแตกต่างที่อาจจะไม่สามารถหาได้จากสินค้าทั่วไปของผู้อื่นหรือมีการเพิ่มศักยภาพหรือประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ จนทำให้สามารถตั้งราคาขายที่แพงกว่าคู่แข่งได้

2) Cost Leadership การมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ หากธุรกิจมีต้นทุนที่ต่ำแล้ว ก็ย่อมจะดำรงอยู่ในตลาดการแข่งขันได้แม้ว่าจะมี Profit Margin ที่ต่ำ ซึ่งลักษณะเช่นนี้จะทำให้คู่แข่งอื่นไม่อยากที่จะเข้ามาแข่งขันด้วย เพราะว่าไม่คุ้มกับความเสี่ยงในการอยู่รอดเพื่อตลาดแข่งขัน ธุรกิจที่มีต้นทุนการผลิตต่ำเองแต่อยู่มาก่อน และอยู่เพียงผู้เดียวในตลาด จะสามารถอยู่ได้เนื่องจากมีลูกค้าจำนวนมาก ทำให้กำไรสุทธิที่สร้างขึ้นได้นั้นเป็นจำนวนที่สูง

3) Focus การเจาะจงในตลาด คือการที่ธุรกิจมุ่งเน้นผลิตสินค้าหรือบริการให้กับตลาดเฉพาะส่วน อาจจะเรียกว่าเป็นตลาดเฉพาะส่วน (Niche Market) ก็ได้ เมื่อเป็นดังนี้แล้ว ด้วยสินค้าและบริการที่จำเพาะดังนั้นแล้ว จะทำให้สามารถตั้งราคาขายได้สูง เนื่องจากลูกค้าจำเป็นต้องซื้อจากธุรกิจนั้น และไม่ต้องการเสี่ยงที่จะซื้อจากผู้อื่นอีก

แนวคิดของ ไมเคิล อี. พอร์เตอร์ กูรูด้านกลยุทธ์การแข่งขันนั้นตรงกับ HR Architecture ของ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ในเรื่องการแข่งขัน และทฤษฎี 2 R (Reality & Relevance) ซึ่งต้องเชื่อมโยงทุกสิ่งอย่างให้เข้ากับสถานการณ์ที่เป็นจริงในปัจจุบัน

 

คนที่ 3 Sir Alex Ferguson

กลุ่มที่ 1 ขอนำเสนอหลักการบริหารคนของ Sir Alex Ferguson ผู้เป็นผู้จัดการทีมฟุตบอลสโมสร Manchester United ตั้งแต่ปี 1996-2013 โดยเป็นผู้จัดการทีมฟุตบอลที่ประสบความสำเร็จมาก โดยสามารถคว้าถ้วยรางวัล ได้ถึง 49 รางวัล ตลอดช่วงชีวิตการทำงาน ในฐานะผู้จัดการทีมฟุตบอล และจากนั้นก็ได้รับเชิญเป็น วิทยากรในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกหลายแห่ง เพื่อชี้แนะนักศึกษาในด้านการเป็นผู้นำ โดยจะนำเสนอหลักการบริหารทีมของ Sir Alex Ferguson ได้ดังนี้

- เป็นนักฟังที่ดี โดยเขาจะคอยฟังข้อมูลและจดจำคำแนะนำของทุกคนที่ผ่านมาในชีวิตการทำงานและวิเคราะห์ และปรับใช้กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นนักสังเกตการณ์ และมองรายละเอียดทั้งหมดวิเคราะห์ และประเมินโดยมีข้อมูลที่เฝ้าสังเกต ตัวแปรในการตัดสินใจทั้งหมด และนอกจากนี้เขายังเป็นนักอ่านตัวยงที่จะคอยศึกษาข้อมูลใหม่ๆ ตลอดเวลา เพื่อทำให้ทีมมีประสิทธิภาพสูงสุดตลอดเวลา ทั้งหมดนี้ตรงกับ ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) และทุนทางความรู้ (Knowledge Capital) อย่างชัดเจน

- เป็นผู้นำทีมที่มีวินัยสูง โดยจะให้นักเตะฝึกซ้อมอย่างหนักหน่วงโดยยึดหลักว่า ทุกแมตช์คือนัดชิงแชมป์ และไม่สนใจเรื่องความโด่งดังของนักเตะว่าจะทำให้มีอภิสิทธ์เหนือตารางการซ้อมที่เข้มงวดนี้ได้ และคอยสร้างความมุ่งมั่นให้กับนักกีฬาของเขาตลอดเวลา โดยจะตรงกับ ทุนอัจฉริยะ (Talented Capital) คือต้องมีทัศนะคติที่ชัดเจนในการทำงาน

- ในการวางระบบทีม เขาได้มีการเตรียมทีมอย่างเข้มข้น ฝึกซ้อมสม่ำเสมอ และปรับปรุงการฝึกซ้อมให้เข้ากับรูปเกมส์อย่างต่อเนื่อง การวางตัวผู้เล่น มีการเตรียมตัวผู้เล่นที่ยาวนาน โดยจะเตรียมความพร้อมนักเตะไว้ล่วงหน้าถึงสามปี และเน้นที่การเตรียมนักเตะตั้งแต่ชุดเยาวชนเป็นหลัก ไม่เน้นคนเก่งจากนอกชุดเยาวชนมากนัก ซึ่งตรงกับ ทุนมนุษย์ (Human Capital) คือมองว่าทรัพยากรที่สำคัญที่สุดคือมนุษย์ ต้องลงทุนผ่านการฝึกฝนและโภชนาการที่ดี และ ทุนความยั่งยืน (Sustainable capital) โดยประเมินการกระทำระยะสั้นและระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- การทำงานเป็นทีม คือไม่มีส่วนไหนของทีมที่ไม่มีความสำคัญ ผู้เล่นทุกคนแม้แต่ตัวสำรองมีบทบาทที่สำคัญต่อการแข่งขันและมีผลต่อการแข่งขันทั้งสิ้น โดยตรงกับทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) คือทำให้ทุกคนมีคุณค่าและรู้สึกมีความสุขและสอดคล้องกับงานที่ทำ

- การตั้งมาตรฐาน โดยจะตั้งมาตรฐานที่สูงให้กับนักเตะและทีมงานเพื่อเรียกฟอร์มและผลการชนะเลิศจากการแข่งขันเสมอ คอยสร้างแรงบันดาลใจ โดยจะคอยกระตุ้นนักเตะเพื่อให้เป้าหมายนั้นบรรลุอย่างมีประสิทธิภาพ และคอยป้อมปรามไม่ให้นักเตะชะล่าใจจากความสำเร็จที่ผ่านมา โดยจะตรงกับทุนนวัตกรรม (Innovation Capital) คือมีความสร้างสรรค์ให้ทีมงานคิดเป้าหมายมี่ท้าทายไม่ซ้ำซากและยึดติดกับเป้าหมายเดิมๆ เพื่อความเป็นเลิศอย่างไม่สิ้นสุด

- รู้จักใช้เครือข่ายที่มีในการหานักเตะชั้นเลิศสร้างทีมงาน และใช้เทคโนโลยี Social Media ในการค้นคว้าวิจัยหาข้อมูลและ ไม่ลังเลหากจะต้องคัดนักเตะออกจากทีม หากนักเตะไม่สามารถเข้ากับแผนการทำงาน เพื่อการบริหารทีมในภาพรวมยังคงมีประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งตรงกับทุนทางสังคม (Social Capital) และทุนทางIT (Digital Capital)

- โฟกัสหลักที่ชัดเจนคือ บริหารจัดการด้วยคุณธรรมและ ตรงต่อเวลา ไม่เคยบิดพลิ้ว กับทีมงานและตรงต่อเวลาแบบที่ยอมรับไม่ได้ แม้แต่นิดเดียวเรื่องการผิดเวลาซึ่งตรงกับทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital)

โดยที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นหลักการ และการปฏิบัติเพื่อการมุ่งไปสู่ความสำเร็จของ Sir Alex Ferguson ซึ่งอย่างที่ไม่มีข้อโต้แย้ง มีความคล้ายคลึงกับ ทฤษฏี 8K’s +5K’s ของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ แทบทั้งสิ้นไม่ว่าจะทั้งทางตรงและทางอ้อม    

 

สมาชิกกลุ่มที่ 1

1. นายสันติ เอี่ยมวุฒิปรีชา 

2. นางสาวอรุณศรี รัตนธัญญาภรณ์ 

3. นางสาวรุ่งนภา ภัทรธีรานนท์ 

4. นายสมรัฐ กมลเวคิน 

5. นายนันทพล จรรโลงศิริชัย 

6. นางสาววันดี พลรักษ์ 

นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรการจัดการนวัตกรรม รุ่นที่ 15 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

วิเคราะห์หนังสือ ครั้งที่ 3

วิชา  :  The Ethical Power  พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม  ; ศ.ดร จีระ หงส์ลดารมภ์ และพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี)

หนังสือ The Ethical Power  พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม  ซึ่ง ศ.ดร จีระ หงส์ลดารมภ์ และพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ร่วมกันเขียน โดยมีจุดเริ่มต้นจาก ท่าน ศ.ดร จีระ ได้สนทนากับ ท่าน ว.วชิรเมธี ในเรื่องคุณธรรมของบุคคลต้นแบบ 4 คน ที่น่าจะเป็นแบบอย่างของการดำเนินชีวิต ท่าน ว.วชิรเมธี จึงขอให้ ท่าน ศ.ดร จีระ บรรยายในรูปแบบหนังสือ และท่านจะสนับสนุนหลักธรรม ด้วย

1.ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มที่อ่านมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

หนังสือเล่มนี้ชื่อ The Ethical Power พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม เป็นหนังสือ  ที่จะช่วยปลูกฝังทุนทางจริยธรรม  สามารถนำไปเป็นแบบอย่างเพื่อพัฒนาตนเอง และสังคม  ซึ่งคุณธรรมจริยธรรมยังเป็นส่วนหนึ่งของทุนมนุษย์ ทุนจริยธรรม เพื่อนำไปสู่ทุนแห่งความอย่างยั่งยืน  อีกทั้งประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ในยุคโลกาภิวัตน์และความท้าทายในการอยู่ในสังคมได้อย่างเข้มแข็ง ราบรื่น และสง่างาม พลังแห่งคุณธรรมและจริยธรรมจึงมีบทบาทมากต่อผู้นำในสังคมไทย หากผู้นำขาดคุณธรรมอาจเกิดปัญหาในวงกว้าง  ทำให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจเป็นไปได้ยากลำบากเช่นกัน 

2.บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ที่ประทับใจมีอะไรบ้าง เพราะอะไร

2.1 การเป็นผู้นำ ปฏิบัติตนเองให้อยู่ในกรอบของธรรมะ ตามหลักพระพุทธเจ้า อย่างน้องต้องมีเมตตา  พรหมวิหาร 4  มี       EQ สูงไม่ใช้อารมณ์  ซึ่งลักษณะผู้นำที่ดี ต้องประกอบไปด้วย   

     1. มีจิตสาธารณะ   2. มีวิชาความรู้  3. มีความเสียสละ  4. มีคุณธรรมและความกล้าหาญ

2.2 หลักการสร้างพลังแห่งคุณธรรมและจริยธรรมในสังคมไทยเรานั้น สามารถเริ่มได้จาก

  •  ครอบครัว  เป็นสถาบันแรกที่สามารถปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมได้ โดยการให้คำสั่งสอน คำแนะนำ จากพ่อแม่ 
  •                 เครือญาติ เพราะครอบครัว
  •  โรงเรียน    เป็นสถาบันที่สอง ซึ่งได้ให้ทั้งศาสตร์และศิลป์ วิชาความรู้ แต่ต้องไม่ลืมเรื่องคุณธรรม จริยธรรม
  •  ศาสนา      เป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจของทุกคน  ทุกศาสนาสั่งสอนในคนเป็นคนดี อยู่ในศีลธรรม
  •  สื่อ           การนำเสนอของสื่อ ต้องเกิดความคิดสร้างสรรค์ อยู่ในหลักศีลธรรม คุณธรรมจริยธรรม ไม่ชักจูงในทาง
  •                 ที่ผิด
  •  ต้นแบบ    ปลูกฝังในทุกคนค้นหา ต้นแบบในการดำเนินชีวิตที่ดี  บุคคลต้นแบบทุกคนควรยึดหลักในคุณธรรม   
  •                 ประพฤติดี ปฏิบัติดี เป็นตัวอย่างที่ดี

3.จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้ 

จากการอ่านหนังสือเล่มนี้ พบว่า การยกตัวอย่างบุคคลสำคัญในอดีต ยังขาดความหลากหลายในอาชีพ อายุ และชนชั้น ทำให้บางครั้งจินตนาการตามไปได้ยาก

 

โดย  นายธิเบศร์  จันทวงศ์  นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการ รุ่นที่ 15

วิเคราะห์หนังสือ เล่มที่ 3 : "The Ethical Power พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม” 

วิชา  :  การจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคม   โดย ศ.ดร จิระ หงส์ลดารมภ์

โดย  นางณิศรามิล โภคินพีรวัศ  นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการ รุ่นที่ 15

 

1.            ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มที่อ่านมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

 

ชื่อของหนังสือ “The Ethical Power พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม”  ดังคำพูดท่านพุทธทาสฯ ที่ว่า “คนดีสำคัญกว่าทุกสิ่ง” นั่นหมายความเราควรที่จะร่วมพลังกันสร้างคุณธรรม จริยธรรม สร้างคนดี ให้มีอยู่ในสังคมมากๆ ไม่ใช่สร้างวัตถุนิยม หรือสร้างคนเก่งอย่างเดียว แต่ต้องสร้างคนดี มีคุณธรรม จริยธรรมให้มาก สำหรับเนื้อหาที่อยู่ด้านใน ชื่อหนังสือเล่มนี้ก็ตอบโจทย์มาก คือ เปิดมุมคิด สะท้อนให้คนมุ่งสร้างความดี โดยการนำเสนอแบบอย่างคุณงามความดี และความกล้าหาญทางคุณธรรม จริยธรรมของบุคคลต้นแบบ 4 ท่าน ได้แก่

1)  พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า วรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

2)  ศาตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์

3)  ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์

4)  ศาสตราจารย์ พันตรี ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์

 

2.            บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ที่ประทับใจมีอะไรบ้าง เพราะอะไร

 

การขับเคลื่อนพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม เป็นปัจจัยสำคัญสูงสุดในการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นสังคมแห่งความสุขและก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

หัวใจสำคัญของการอยู่รอดอย่างยั่งยืนในยุคนี้ คือ “คุณธรรม จริยธรรม”  และหากจะขับเคลื่อนให้สำเร็จได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่สังคมไทยจะต้องสร้าง “พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม” ในสังคมทุกระดับ ดังบุคคลตัวอย่างทั้ง 4 ท่านนี้คือ

                  พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า วรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงเป็นปูชนียบุคคลที่สำคัญของไทยที่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ทรงได้ประกาศเกียรติคุณในฐานะปูชนียบุคคลสำคัญผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับโลกประจำปี พ.ศ. 2534 ทรงเป็นผู้ที่มีคุณูปการต่อประเทศชาติในหลายด้าน โดยเฉพาะพระปรีชาสามารถในด้านการทูต และการต่างประเทศเป็นที่ยอมรับในระดับโลก ทรงดำรงตำแหน่งสำคัญในระดับชาติ และระดับโลกมากมาย อาทิ รองนายกรัฐมนตรี อดีตนายกราชบัณฑิตสถาน อดีตประธานสมัชชาองค์การสหประชาชาติ ท่านเป็นผู้นำที่หลายๆ คนยกย่องว่าเป็นผู้มีความเมตตา กรุณาสูงมาก รักความสามัคคี ดังคำพูดที่ว่า “ รวมกันเราอยู่แยกกันเราตาย”

ศาตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เคยดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา คณบดี คณะนิติศาสตร์ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้รับการแต่งตั้งเป็น นายกรัฐมนตรี 2 สมัย และได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นประธานองคมนตรี

ท่านเป็นผู้วางรากฐานในการอบรมศึกษาทางจริยธรรมให้แก่ตุลาการ เพราะท่านรู้ว่าการที่จะให้เรียนกฎหมายอย่างเดียว โดยไม่แทรกการอบรมด้านคุณธรรม จริยธรรมนั้นเป็นไปไม่ได้เลย...ท่านบอกว่าเวลาตัดสินคดี ต้องนึกถึง Social Welfare คือ นึกถึงว่าเราจะให้สวัสดิการอย่างไรกับประชาชน เสียสละอย่างไร ขณะเดียวกันต้องนึกถึงความยุติธรรม ธรรมะก็คือ ยุติธรรม หรือยุติโดยธรรม ไม่ใช่ยุติด้วยตนเอง

นั่นแสดงให้เห็นว่า อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ได้ใช้คุณธรรม จริยธรรมสอดแทรกในการอบรมด้านกฎหมาย ให้ความรู้แก่ลูกศิษย์ด้วยหลักคิด “เอาธรรมะ หรือคุณธรรมมาผสมกับกฎหมาย” ได้อย่างดีทีเดียว

ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ หรือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นอดีตนายกรัฐมนตรี และรัฐบุรุษอาวุโสที่ยังอยู่ในหัวใจคน ท่านเป็นผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบบประชาธิปไตย เป็นผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย 3 สมัย ในปี พ.ศ. 2542 ที่ประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 30 ขององค์การยูเนสโก ณ กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส ได้มีมติประกาศให้  ปรีดี พนมยงค์ เป็น “บุคคลสำคัญของโลก”

ท่านอบรมคนผ่านกระบวนการทำงาน โดยทำงานให้เป็นตัวอย่างว่า... ท่านคือผู้ที่เสียสละ ไม่เคยบอกว่านี่ฉันทำ นั่นฉันทำ... สิ่งที่น่าภาคภูมิใจมากๆ ก็คือ ตอนที่ท่านเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ท่านเป็นผู้ไปเจรจาเพื่อเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่ฝรั่งบังคับขู่เข็ญไทยตั้งแต่สมัยรัชการที่ 4 คือบังคับให้เราอยู่ภายใต้ศาลฝรั่ง สนธิสัญญาเสียเปรียบ จนกระทั่ง รัชกาลที่ 6 ทรงเข้าไปร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้ฝรั่งยอมรับว่านี่คือ เท่าเทียมกันแล้ว สามารถที่จะแก้ไขสนธิสัญญาได้ ท่านอาจารย์ปรีดี เป็นผู้ที่สานให้จบโดยแก้สิทธิสภานอกอาณาเขต ทำให้เราปลดแอกจากฝรั่งได้ ยิ่งใหญ่มาก ...

ศาตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เคยดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา คณบดี คณะนิติศาสตร์ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้รับการแต่งตั้งเป็น นายกรัฐมนตรี 2 สมัย และได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นประธานองคมนตรี

ท่านเป็นผู้วางรากฐานในการอบรมศึกษาทางจริยธรรมให้แก่ตุลาการ เพราะท่านรู้ว่าการที่จะให้เรียนกฎหมายอย่างเดียว โดยไม่แทรกการอบรมด้านคุณธรรม จริยธรรมนั้นเป็นไปไม่ได้เลย...ท่านบอกว่าเวลาตัดสินคดี ต้องนึกถึง Social Welfare คือ นึกถึงว่าเราจะให้สวัสดิการอย่างไรกับประชาชน เสียสละอย่างไร ขณะเดียวกันต้องนึกถึงความยุติธรรม ธรรมะก็คือ ยุติธรรม หรือยุติโดยธรรม ไม่ใช่ยุติด้วยตนเอง

นั่นแสดงให้เห็นว่า อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ได้ใช้คุณธรรม จริยธรรมสอดแทรกในการอบรมด้านกฎหมาย ให้ความรู้แก่ลูกศิษย์ด้วยหลักคิด “เอาธรรมะ หรือคุณธรรมมาผสมกับกฎหมาย” ได้อย่างดีทีเดียว

ศาสตราจารย์ พันตรี ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ท่านเคยได้รับตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังอีกตำแหน่ง และท่านยังมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการสภาพัฒน์ เป็นกรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ เป็นคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และดำรงตำแหน่งอธิการบดี ปี 2518 ด้วยประวัติชีวิตและเส้นทางของท่าน ถือว่าเป็นแบบอย่างแก่คนรุ่นหลังอย่างดีในด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่สำคัญอย่างมาก ที่ลูกศิษย์หลายคนซึมซับความเป็นคนใจเย็น มีเมตตา ใช้ชีวิตเรียบง่าย สมถะ มีมนุษยสัมพันธ์ดี และให้โอกาสผู้อื่นเสมอ จึงถือว่าท่านเป็นผู้นำที่ทรงคุณธรรมอย่างยิ่ง

สังเกตได้ว่าจากชีวประวัติผู้นำทั้ง 4 ท่านนั้น มีส่วนที่คล้ายกันอย่างมาก คือ ทั้ง 4 ท่านมีคุณธรรม จริยธรรม ยึดศีล 5 เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวประจำใจ ที่สำคัญท่านใช้ พรหมวิหาร 4 คือ มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ในการปกครองลูกน้อง และคนรอบคอบ

 

3.            จุดอ่อนของหนังสือนี้ คืออะไร ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

จากการได้อ่านชีวประวัติของผู้นำทั้ง 4 ท่าน ทำให้มั่นใจว่าผู้นำที่ดี ต้องมีคุณธรรม จริยธรรมประจำใจให้มากๆ โดยส่วนตัวแล้ว อยากให้เพิ่มเติมในส่วนของคุณสมบัติที่ดีของผู้นำ และจะเป็นประโยชน์มากๆ ถ้ามีโครงการพัฒนาผู้นำคุณธรรม จริยธรรม

การบ้าน ท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ วิคราะห์ HR Architecture

จัดทำโดย นักศึกษารุ่นที่ 15  กลุ่มที่ 1 ดังรายนามต่อไปนี้

1 แจ่มจันทร์ คล้ายวงษ์

2 พรปวีณ์ กุลมา

 3 ทัชยา รักษาสุข

4 วิชา ขันคำ

5 พีรวีร์ เทพประเทืองทิพย์

HR Architecture

  • วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของ HR Architecture อย่างละเอียด อย่างละ 3 เรื่อง

จุดแข็ง

  • Framework เป็นการออกแบบ Life Cycle ของสังคมไทย ตั้งแต่ ปลูก เก็บเกี่ยว และ execution
  • นี้สามารถชี้ชัดถึงเป้าประสงค์ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต้องมีคุณลักษณะที่ต้องมีคือ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น คิดแบบวิทยาศาสร์ คิดแบบ Creative Innovation สังคมการเรียนรู้ และจิตสาธารณะ คุณธรรมจริยธรรม
    • อาจจะต้องมีการปรับเพิ่มในเรื่องของการเป็นสมรรถนะของการผู้ประกอบการ การใช้ Digital Marketing และ Lean Management

3.    สามารถอธิบายถึงแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่ระดับประเทศ (Macro) ไปถึงระดับองค์กร บุคคล (Micro) ที่สามารถนำไปพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทำให้เราทราบอุปสรรคที่เราจะต้องเอาชนะ เพื่อให้สู่ความยั่งยืน ความสุข ความสมดุล

 

จุดอ่อน

2.     จากการศึกษาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ของศตวรรณที่ 21 ต้องมีคุณลักษณะ 2 ส่วน คือ คุณธรรมจริยธรรม และทักษะในการเรียนรู้ ซึ่ง Framework นี้ยังไม่ครอบคลุมคุณลักษณะของทุนมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ในเรื่อง Collaboration Teamwork, การสื่อสาร (Communication) และ การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy)

3.    มองภาพทีแรก อาจจะยังไม่ค่อยจะเข้าใจ ต้องมีการอธิบายว่าเริ่มปลูก จากตรงไหน แล้วมาเก็บเกี่ยว สุดท้ายมาที่ Execution ทำให้สำเร็จได้อย่างไร ที่ยังอาจจะไม่ชัดเจน

 

 

3)นำ HR Architecture มาเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ Ph.D. ได้อย่างไร ยกตัวอย่าง

จากที่กลุ่มได้ปรึกษากัน จึงขอหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่พอจะเป็นตัวอย่างคือ

                      นวัตกรรมการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในสถานพยาบาล   เพื่อผลสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการให้บริการผู้ป่วยตามมาตรฐานสากล  โดยเน้นที่กลุ่มพยาบาลว่าเราจะไปเสริมอย่างไรเพื่อให้สำเร็จ จากการที่เราทำ JCI แล้วมีปัญหาอุปสรรค    ให้มองไปข้างหน้าโดยใช้ Chira Way        

 

4) จะนำเอา HR Architecture มาเป็นรูปแบบระดับ Micro ได้อย่างไร

จากการศึกษา Human Capital ผ่านทาง HR Architecture นั้น ทำให้เห็นภาพรวมของปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบ ต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ทั้ง Demand Side และ Supply Side ซึ่งเราสามารถใช้เป็นแนววิเคราะห์ เจาะลึกลงระดับ Micro เพื่อหาแนวทางจัดการกับอุปสรรคต่างๆ ได้ ตรงประเด็น เช่น ความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจโลก ตลาดธุรกิจขององค์กรและคู่แข่งทางธุรกิจ เพื่อนำมาวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรของเรา และ นำมาวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในครอบครัวของเรา ด้วย

  

 

บทวิเคราะห์หนังสือ เล่มที่สาม

“พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม”

รายวิชา : PHD 8205 Management of Human and Social Capital

อาจารย์ผู้สอน .ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ 

วิเคราะห์โดย พรปวีณ์ กุลมา  นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 15 สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการ

1.ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มที่อ่านมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

“พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม” หนังสือเล่มนี้ ปลูกฝังทุนทางคุณธรรม จริยธรรม ให้คนไทย สามารถนำมาปรับใช้เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมในทุกระดับ เริ่มจากตนเอง ครอบครัว องค์กร ชุมชุน สังคม รวมไปจนถึงระดับประเทศ  พร้อมทั้งให้แนวทางตัวอย่างในการลงมือปฏิบัติได้จริงโดยเริ่มที่ตัวเองก่อน แล้วขยายผลไปยังทุกกลุ่มทุกส่วนงาน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญของความสุข ความสมดุลและความยั่งยืน

2.บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ที่ประทับใจมีอะไรบ้าง เพราะอะไร

การปลูกฝังเรื่องคุณธรรม จริยธรรม มาจากปัจจัย 6 ประการ

1.ครอบครัว  การปลูกฝังความดี โดยการได้รับคำสั่งสอนที่ดีจากคุณพ่อ คุณแม่ ในเรื่องความถูกต้อง เน้นการปลูกฝังเรื่องทุนทางคุณธรรม จริยธรรม 

2.โรงเรียน  วัฒนธรรมของโรงเรียนเป็นส่วนสำคัญ โดยคุณครูได้ทำการปลูกฝังทุนทางคุณธรรม จริยธรรม ในการสอนโดยสอดแทรก คุณธรรม จริยธรรมเข้าไปด้วยและได้เห็นต้นแบบที่ดีจากคุณครูในการปฏิบัติตัว

3.ศาสนา  ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ โดยมีศีลทั้ง 5 ข้อ มาให้ปฏิบัติตนเพื่อให้ มีจิตสำนึก ซึ่งศาสนามีอิทธิพลเป็นอย่างมาก

4.สังคม  สังคมไทยเป็นสังคมทุนนิยม เน้นเรื่องวัตถุมากเกินไป ไม่ยกย่องคนดี ทุนนิยมต้องสอดคล้องไปด้วยกันกับความดี และควรสร้างวัฒนธรรมของคนไทยในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาสังคมไทยให้มีความสมดุล และยั่งยืนตลอดไป

5.สื่อ สื่อมีอิทธิพลอย่างมากเพราะการแสดงออกสื่อในประเทศและต่างประเทศ มีผลกระทบต่อเยาวชนที่ได้รับข่าวสารที่ต่างประเทศเขาจำกัดการเผยแพร่ ควรจุดประกายนำเสนอเอาคุณธรรม จริยธรรม กลับมาแสดงออกสื่อให้มากขึ้น

6.คนไทยต้องค้นหาต้นแบบ (Role Model)   การมีบุคคลตัวอย่างคนดี ทำให้สังคมไทย ด้านคุณธรรม จริยธรรมโดยมีผู้นำ 5 ท่านที่น่ายกย่อง ประกอบไปด้วย

(1) ศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ 

(2) ศาสตราจารย์ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอฯกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

(3) ศาสตราจารย์ สัญญา  ธรรมศักดิ์    

(4) ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย  อึ๊งภากรณ์    

(5) ศาสตราจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ 

         หนังสือเล่มนี้แสดงให้เห็นความสำคัญของทุนทางธรรม จริยธรรมให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมแห่งความสุขอย่างสง่างามและยั่งยืน โดยการยกย่องบุคคลสำคัญในอดีต 4 ท่านที่เปี่ยมไปไปด้วยคุณงามความดี เพื่อเป็นต้นแบบต่อคนรุ่นหลัง โดยเฉพาะกลุ่มผู้นำประเทศ ที่จะต้องประพฤติตัวเป็นแบบอย่างของการมีคุณธรรม จริยธรรม เสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่อวางรากฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้แก่ประเทศไทย

         สิ่งสำคัญจากหนังสือเล่มนี้คือการนำไปปรับใช้ให้เกิดผลในการสร้างพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรมโดยนำไปคิดต่อ ทำต่อ นำมาประพฤติปฏิบัติให้กลายเป็นวัฒนธรรมของคนไทยทั้งประเทศได้ ขอให้ทุกๆคนช่วยกันเร่ง “สร้างพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม”

 การใช้ ไตรสิกขา  โดยยึดหลัก 3 สิ่งสำคัญ

·       หลักทฤษฎีต้องมั่นคง  คือเราต้องเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ลดการเห็นแก่ตัว เพิ่มความเห็นใจแก่ผู้อื่น

·       เรื่องการปฏิบัติ  เรามีแต่หลักคิด ถ้าไม่ลงมือปฏิบัติจริง แล้วอยากให้คนอื่นชื่นชม แต่เราไม่ได้เริ่มต้นลงมือปฏิบัติเลย จะมีประสบการณ์ได้อย่างไร จะรู้ได้อย่างไรว่าอะไร คือถูกผิด ถ้ามันผิดไปแล้วก็แก้ไขให้มันถูกต้อง

·       ให้เกิดปัญญาแจ่มแจ้ง เป็นการติดตามประเมินผลและตรวจสอบตัวเองตลอดเวลา ว่าสิ่งที่ตนเองทำลงไปเสียสละเพื่อส่วนรวมหรือว่าทำไปแล้วเพื่อส่วนตัวมากกว่า  เป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม อย่างนี้เรียกว่า  ผลประโยชน์ทับซ้อน  ต้องมาตรวจสอบตนเองว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนไหม

การวิเคราะห์ปัญหาการคอร์รัปชั่นใช้โดยอริยสัจ 4  ประกอบด้วย

ทุกข์ คือปัญหาวิกฤตสังคมไทยในปัจจุบัน    สังคมไทยมีปัญหาด้านศีลธรรม แตกความสามัคคี การพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ทุกโครงการล้วนมีผลประโยชน์ โกงกินจนกลายเป็นวัฒนธรรม

สมุทัย คือ สาเหตุของปัญหาในปัจจุบัน  โครงสร้างทางการเมืองและสังคมที่อยุติธรรม  วัฒนธรรมประชาธิปไตยไม่หยั่งรากลึก การเมืองเต็มไปด้วยการคอร์รัปชั่น ค่านิยมและจิตสำนึกของคนทุจริตองค์กร  ภาวะสองมาตรฐานด้านการใช้กฎหมายมีระบบอุปถัมภ์เข้มข้น

นิโรธ คือ เป้าหมายของสังคมไทยในอนาคต  การเมืองต้องมีธรรมาภิบาล เศรษฐกิจและสังคมเข้มแข็ง  การพัฒนาที่ยั่งยืน ประเทศโปร่งใสปราศจากคอร์รัปชั่น

มรรค คือ หนทางในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น  ควรจะปฏิรูปค่านิยมและจิตสำนึกของคนไทย  ปฏิรูปโครงสร้างสังคมไทยทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม  ปฏิรูปการศึกษา   ปฏิรูประบบกฎหมาย  และกระบวนการยุติธรรมให้เข้มแข็ง 

  9 คมธรรม นำชีวิต สร้างพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม จาก พระอาจารย์ .วชิรเมธี  คำคมที่ท่านพระอาจารย์ได้กล่าวมานี้สามารถนำมาเป็นข้อคิดดีๆในการปรับทัศนคติจากที่คิดในแง่ลบกับมาเป็นแง่บวก เช่นคำคมดังนี้

“ไม่มีคำว่าสายนะ..สำหรับการเริ่มต้นใหม่ ต่อให้คุณเคยชั่วเคยเลวขนาดไหน แต่หากวันหนึ่งมีสติ..แวบเดียวนึกขึ้นมาได้และกลับตัวเป็นคนดีก็ไม่มีคำว่าสาย”

นอกจากนี้ ยังได้มีความประทับใจที่ ท่านอ.จีระได้ชื่นชมแนวทางการปลูกฝัง ‘ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ’ ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช) ว่ามีความตระหนัก ให้ความสำคัญในการสร้างค่านิยมหลักของคนไทยเป็นงานสำคัญอันดับต้นๆและเป็นวาระแห่งชาติที่กระทรวงศึกษาธิการได้นำค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ไปพัฒนาบรรจุในหลักสูตรระดับประถม มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา อย่างน่าสนใจและมียุทธศาสตร์ต่อเนื่อง ต่อยอด จะเป็นจุดสำคัญที่จะทำให้เกิดความสำเร็จ เพราะการปลูกฝังให้นักเรียนไทยมีแก่นนิยมเป็นหลัก จะทำให้ประเทศไทยอยู่รอดได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว ซึ่งในความเห็นของท่านอาจารย์จีระ ค่านิยม 12 ข้อในยุคพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่เพียงแต่จะมีประโยชน์ต่อนักเรียนเท่านั้น ยังมีประโยชน์ต่อคนไทยทั้งประเทศในทุกกลุ่ม และทุกภาคส่วน ที่จะต้องเร่งสร้างพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรมในวังคมไทย วันนี้คนดีๆในสังคมต้องรวมตัวกันทำความดี ยกย่องคนดี เร่งสร้างทุนทางคุณธรรม จริยธรรมในสังคมของเราอย่างจริงจัง ซึ่ง สื่อ มีบทบาทที่สำคัญมากในเรื่องนี้

3.จุดอ่อนของหนังสือนี้ คืออะไร ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

           หนังสือเล่มนี้ควรมีโอกาสได้มีการประชาสัมพันธ์ นำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีหรือผู้มีอำนาจ ในการสนับสนุนให้ช่วยมีการออกสื่อพันธ์ทั้งในรูปแบบต่างๆ ที่จะให้ประชาชน นักเรียน นักศึกษาได้มีโอกาสอ่านเนื้อหาอันเป็นประโยชน์ หรือจะเป็นในรูปแบบภาพหรือเสียงก็จะยิ่งดี เพื่อให้ประชาชนได้พอจะเห็นแนวทางการปฏิบัติตัว ทำตัวอย่างไรถึงจะมีจริยธรรม คุณธรรม อาจออกสื่อมาในรูปแบบละครเพลง ละครทีวี การประกวดร้องเพลง การล่นเกมส์โชว์ การให้ Application ที่มีการนำเอาพื้นฐานค่านิยม 12 ประการ/Role Model บุคคลตัวอย่างที่ดีที่น่าชื่นชมมาให้ประชาชนคนไทยได้มีโอกาสซึมซับได้มากกว่านี้ น่าจะเป็นประโยชน์อย่างใหญ่หลวงที่จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศไทยให้ยั่งยืนต่อไป

ขอบคุุณคะ

พรปวีณ์ กุลมา

นักศึกษาปริญญาเอก สาขา นวัตกรรมการจัดการ รุ่นที่ 15

วันที่ 27 กันยายน 2560

 

 

การบ้าน เรียนเสนอ ท่านอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์

Identify Guru ของโลกเรื่องคน ว่าเหมือนกับหรือแตกต่างจากทฤษฏี 8K’s 5K’s ของอาจารย์ จิระ หงส์ลดารมภ์ อย่างไร

จัดทำโดย นักศึกษารุ่นที่ 15 กลุ่มที่3 ดังรายนามต่อไปนี้

1 แจ่มจันทร์  คล้ายวงษ์

2 ทัชยา รักษาสุข

3 พีรวีร์ เทพประเทืองทิพย์

4 ณภพ ชัยศุภณัฐ

5 ธีรเดช วิริยะกุล

กลุ่มที่ 3  ขอนำเสนอหลักการบริหารของศาสตราจารย์พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า วรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์ ดังนี้

- ทรงได้รับการสนับสนุนให้ได้รับการศึกษาจากประเทศอังกฤษ ตั้งแต่อายุ 14 ปี จนจบการศึกษาด้านอักษรศาสตร์ จาก Balliol College แห่งมหาวทิยาลัยออกซ์ฟอร์ดในปี พ.ศ. 2448 ซึ่งท่านได้กล่าวว่าที่นั่นเขาสอนให้เราใช้ปัญญาของเราเอง ไม่เหมือนในเมืองไทยที่เน้นการท่องจำเป็นหลัก ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของภาพรวมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของท่าน อ.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ต้องมีการพัฒนาให้คนคิดเป็น วิเคราห์เป็น คิดแบบวิทยาศาสตร์ คิดแบบสร้างสรรค์ คิดเชิงนวัตกรรม เป็นสังคมการเรียนรู้ มีจิตสาธารณะ และท่านได้เดินทางไปศึกษาต่อชั้นสูงด้านรัฐศาสตร์การทูต ทำให้ท่านสเด็จในกรมทรงเป็นต้นแบบการสร้างให้ประเทศไทยในสมัยช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1-2 ของการแนวคิดศึกษาต่อขั้นสูงด้านรัฐศาสตร์การทูต ณ Ecole Libre Des Sciences Politique กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ช่วงปี พ.ศ. 2458 – 2460 ทั้งหมดนี้ตรงกับ ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) และทุนทางความรู้ (Knowledge Capital) อย่างชัดเจน ในการที่ทำให้ท่านเป็นผู้นำทางด้านการทูตในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 และ ในยุคสงครามเย็น นอกจากนี้ ท่านยังได้มีการพัฒนาระบบการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วงที่ท่านได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทนาลัยธรรมศาสตร์ ช่วงปี พ.ศ. 2506- 2514

- ทรงมีแนวคิดเช่นเดียวกับ ท่าน อ.จีระ ในการใช้ทฤษฎี 2 R ได้แก่ Reality ที่ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองที่มีการเปลี่ยนแปลงในปี 2475 และทรงตระหนัก Relevent ที่ต้องมีการนำความรู้การเปลี่ยนแปลงที่ได้ให้ตรงกับสานงานที่ท่านรับผิดชอบอยู่ รวมทั้งท่านได้มองเห็นภาพว้างในระดับ Macro ของโลก ที่การเลี่ยนแปลงนี้ มีผลต่อประเทศไทย อย่างไร ท่านจึงได้เป็นผู้นำในการคิดริเริ่มรองรับความพร้อมของคนในสังคม

- ทรงจัดตั้งหนังสือพิมพ์ประชาชาติ ด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัวของท่านและครอบครัว เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการพัฒนาความรู้ให้กับสังคมไทยในยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เพื่อสื่อสาร เผยแพร่คำ และความหมายของการปกครองแบบใหม่ ในการสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน เป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ สอดคล้องกับทฤษฎีของท่าน อาจารย์จีระ ที่ในการพัฒนามนุษย์นั้นต้องพัฒนาให้เป็น Change Agent ให้ได้ เพื่อสร้างให้เกิดการจัดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งต้องมีความมั่นใจในตนเอง เข้าในอนาคต ใีความใฝ่รู้ แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะอยู่ที่ใด มี Creativity Nteworking ชนะเล็กๆ มีการทำอย่างต่อเนื่อง ผลประโยชน์ต้องกระจายทุกกลุ่ม และ Teamwork in diversity ซึ่งสอดคล้องอย่างยิ่งกับที่ท่านเสด็จในกรม ได้กล่าวว่า คุณภาพของนักศึกษาไทยในยุคของพระองค์นั้นที่จริงแล้วมีคุณสมบัติด้านความขันพากเพียรไม่ด้อยไปกว่านักศึกษาชาติอื่น แต่การปฏิบัติงานยังขาดสมรรถภาพและประสิทธิภาพ ซึ่งทรงวิเคราะห์ว่าสิ่งทีไม่สมบูรณ์ของนักศึกษาคือ 1 ยังไม่เชื่อใจตนเอง 2 เมื่อกระทบอุสรรคเข้ามักจะไปท้อเสีย

- โดยที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นหลักการ และการปฏิบัติเพื่อการมุ่งไปสู่ความสำเร็จในการบริหารจัดการของท่านศาสตราจราย์พระเจ้าวรวงศเธอพระองค์เจ้า วรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์  ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับ ทฤษฏี 8K’s 5K’s และ 2 R ของอาจารย์จิระแทบทั้งสิ้นไม่ว่าจะทั้งทางตรงและทางอ้อม         

วรสิทธิ์ วงศ์อดิศัย

บทวิจารณ์หนังสือ “พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม : The Ethical Power” 

รายวิชา : PHD 8205 Management of Human and Social Capital

ผู้สอน : Prof.Dr. Chira Hongladarom

 

ข้อที่ 1. ชื่อเรื่องของหนังสือมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

    ประเทศไทยนั้น เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าปัญหาเรื่องการคอรัปชั่นเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศเป็น อย่างมาก ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นมาช้า นานจนฝังรากลึกและพบเกือบทุกกลุ่มอาชีพในสังคมไทย เยาวชนและประชาชนมีค่านิยมแบบยกย่องความร่ำรวย ความสำเร็จ โดยถือ ว่าการโกงเพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์เช่น การโกงข้อสอบ การใช้อภิสิทธิ์เล่นพวก โกงเล็กโกงน้อย ต่างๆ เป็นเรื่องปกติที่ใครๆ ก็ทำกัน ทำให้ประชาชนขาดคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม คิดแต่ในเชิงแก่งแย่งแข่งขัน เอาเปรียบกันอย่างไม่เคารพกติกา ไม่มีวินัย ไม่มีจิตสำนึกที่จะทำงานร่วมกันเพื่อหมู่คณะ ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มนี้ช่วยจุดประเด็นให้เห็นถึงพลังแห่งคุณธรรม และจริยธรรม ซึ่งเป็นเสมือนบทบัญญัติของความดีและความงามของจิตใจที่ส่งผลให้บุคคลประพฤติดีประพฤติชอบ และเป็นแนวทางพื้นฐานการพัฒนาทุนมนุษย์ และใช้พลังดังกล่าว  ขับเคลื่อนประเทศไทยก้าวไปสู่สังคมอันพึงปรารถนาได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

 

ข้อที่ 2. บทเรียนหรือความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ที่ประทับใจมีอะไรบ้าง เพราะอะไร

       หนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอบุคคลที่เป็นต้นแบบ (Role Model) ในอดีตที่ผ่านมา ที่เป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยความรู้ความสามารถ ความดีงาม และเป็นผู้นำที่มีคุณธรรม  แทนที่จะยกย่องผู้นำชาวต่างประเทศเท่านั้น การยกย่องคนดีจึงเป็นบทบาทสำคัญที่สุดของพวกเรา เพราะเป็นกรณีศึกษาของประเทศไทย ประกอบด้วย

(1)    พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากรกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(2)    ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์
(3)    ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์
(4)    ศาสตราจารย์ พันตรี ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์

     บุคคลทั้งสี่ท่านเป็นต้นแบบของผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรมในระดับสูง ที่สามารถเป็นแบบอย่างให้แก่คนรุ่นหลังได้ชีวประวัติของบุคคลที่ประสบความสำเร็จและได้รับการสรรเสริญจากคนรุ่นหลังแม้จะหาชีวิตไม่แล้ว เป็นเรื่องที่น่าศึกษาและจะเป็นประโยชน์มาก แม้สังคมไทยอาจจะหาปูชนียบุคคลที่มีมาตรฐานด้านคุณธรรมและจริยธรรม ความสามารถ และความมุ่งมั่นที่จะทำให้เศรษฐกิจและสังคมไทยดีขึ้นแบบทั้ง 4 ท่านได้ยากขึ้นแต่ถ้าคนไทยรุ่นหลังได้มีโอกาสเรียนรู้และนำเอาหลักคิด หลักการใช้ชีวิตของท่าน 4 ท่าน มาถือปฏิบัติแล้ว เราจะเกิดแรงบันดาลใจ และเห็นแนวทางนำไปใช้สร้างทุนทางคุณธรรม จริยธรรมให้แก่สังคมไทย เริ่มจากตัวเราเอง ครอบครัว ขยายวงกว้างออกไปสู่สังคมในทุกระดับ เพื่อสร้างสังคมไทยก้าวไปสู่สังคมอันพึงปรารถนาได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

 ข้อที่ 3. จุดอ่อนของหนังสือนี้ คืออะไร ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

          เนื้อหาของหนังสือมีรายละเอียดที่ครบถ้วน สมบูรณ์ มีการเรียงลำดับเนื้อหาได้อย่างเหมาะ เริ่มจากการแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นของพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม พลังแห่งคุณธรรมจริยธรรมของปวงชนจะเป็นพลังเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นสังคมคุณภาพ ลดปัญหา ลดความขัดแย้ง เพราะทุกคน ทุกฝ่ายต่างยึดมั่นอยู่ในคุณธรรมจริยธรรม หลังจากนั้นได้มีการนำเอาแนวคิดของบุคคลสำคัญของประเทศผนวกกับการยกเอาปูชนียบุคคลของประเทศมาเป็นต้นแบบ ทำให้เราสามารถเรียนรู้และนำมาเป็นบทเรียน เพื่อนำไปปรับใช้ในการสร้างทุนทางจริยธรรมต่อไปได้ ส่วนจุดอ่อนของหนังสือตามความคิด คือ ควรสัมภาษณ์แนวคิดของคนรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จและเป็นที่รู้จักของเยาวชน เพื่อให้เยาวชนเกิดความสนใจและสามารถสร้างเป็นแรงบัลดาลใจให้แก่ตนเองได้    

นายวรสิทธิ์ วงศ์อดิศัย (โอ๋)

นักศึกษาปริญญาเอกรุ่นที่ 15

E-mail : [email protected]

 

 

บทวิจารณ์หนังสือ พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม The Ethical Power

ในหนังสือได้ พูดถึงสถานการณ์บ้านเมืองในขณะที่อยู่ท่ามกลางภาวะวิกฤตทางการเมืองและความขัดแย้งของคนในสังคม ทั้งสองท่านให้ความเห็นตรงกันว่า ปัญหาสังคมในวันนี้ คือ ประเทศไทยและคนไทย ขาดทุนทางคุณธรรมจริยธรรมที่เป็นรากฐานที่สำคัญ และที่สำคัญ คือ สังคมไทยขาดผู้นำที่มีคุณธรรม จริยธรรม

ในหนังสือเล่มนี้พูดถึงบุคคลหลายๆท่านที่เป็นตัวอย่างในเรื่องของคุณธรรมและจริยธรรม คือ

1) พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า วรรณไวทยากรกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

(2) ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์

(3) ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์

(4) ศาสตราจารย์ พันตรี ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์

บุคคลทั้งสี่ท่านเป็นต้นแบบของผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม ที่สามารถเป็นแบบอย่างให้แก่คนรุ่นหลังได้ ชีวประวัติของบุคคลที่ประสบความสำเร็จและได้รับการสรรเสริญจากคนรุ่นหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคนรุ่นหลังได้ถอดบทเรียนดูว่าแต่ละท่านมีแนวคิดอย่างไร และทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จโดยอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรม

สังคมไทยในยุคหลังการปฏิรูปจำเป็นต้องใช้ทุนทางคุณธรรมจริยธรรมเป็นเครื่องนำทางของคนในชาติ คนไทยต้องเรียนรู้บทเรียนและคุณงามความดีของคนในยุคก่อน ๆ เพื่อนำมาเป็นแบบอย่างในการดาเนินชีวิต คนไทยต้องยกย่องเชิดชูคนดีมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สังคมไทย จึงจะเกิดพลังแห่งความดีงามอันเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาในทุก ๆ มิติและเป็นทางออกของปัญหาทุก ๆ ปัญหาได้

จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้ 

ในหนังสือได้พูดถึงหลักธรรมที่ใช้ในการดำเนินชีวิตตามหลักคุณธรรมบางข้อ อยากให้เพิ่มบุคคลที่มีคุณธรรมและจริยธรรมเพิ่มเติม ให้มีความหลากหลายในหลายๆด้านของจริยธรรม

นิพันธ์ หรรษสุข 

นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่15

Identify Guru ของโลกเรื่องคน ว่าเหมือนกับหรือแตกต่างจากทฤษฏี 8K’s 5K’s ของอาจารย์ จิระ หงส์ลดารมภ์ อย่างไร

จัดทำโดย นักศึกษารุ่นที่ 15 กลุ่มที่2 

นายณธกร  คุ้มเพชร

ว่าที่ ร้อยตรี กฤษกร  สุขสมโสตร์

นายนิพันธ์ หรรษสุข

นายวิชา  ขันคำ

นางดุจดาว  บุนนาค


บิลล์ เกตส์ (Bill Gates)

               บิลล์ เกตส์ เกิดที่เมืองซีแอทเทิล มลรัฐวอชิงตัน วันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ.1955  โชคดีมากเนื่องจากเขาเพียบพร้อมด้วยกรรมพันธุ์ชั้นดีและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อ อำนวย พ่อ แม่มีการศึกษาดีและมีอันจะกิน ส่วนตายายเป็นเจ้าของธนาคาร หลังเขาเกิดแม่ก็ลาออก จากงานมาเลี้ยงดูเขากับพี่สาวและน้องสาว ผู้เกิดตามมาพร้อมกับสละเวลาบางส่วน ให้กับองค์กรการกุศล บิลล์ เกตส์ จึง เห็นตัวอย่างของการแทนคุณแก่สังคม ตั้งแต่ครั้งเขายังหัวเท่ากำปั้น ยายสนับสนุนให้เขาอ่านหนังสืออย่างต่อ เนื่องพร้อมกับมีรางวัลให้แทบไม่อั้น รวมทั้งกองทุนเป็นเงินถึง 1 ล้านดอลลาร์

               บิลล์ เกตส์ พกมันสมองของอัจฉริยะติดมาด้วย เขาสนใจอ่านสารพัดอย่าง เขามีความสามารถพิเศษในการนำชิ้นส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นกลไกสำหรับใช้เป็นเครื่องเล่น บุคลิกเด่นๆ ของ เขา ได้แก่ การเป็นเด็กดื้อ ซน อดทน ชนดะ ต้องเอาชนะให้ได้ ในระหว่างเรียนชั้นประถมเขาเรียนออกหน้าเพื่อนร่วมชั้นทั้งด้านภาษาและด้าน คำนวณ หลัง จากเข้าใจเนื้อหาแล้วก็มักก่อกวนเพื่อนร่วมชั้นและสร้างความรำคาญให้แก่ครู ขณะที่เขาเรียนอยู่ในชั้นมัธยม บิลล์ เกตส์เข้าศึกษาที่โรงเรียนเลคไซด์ อันเป็นโรงเรียนมัธยมที่ดีที่สุดในเมืองซีแอทเทิลซึ่งรับเฉพาะเด็กหัวกะทิ จากครอบครัวมั่งคั่ง ดังเช่นครอบครัวของเขาเท่านั้น การมีการศึกษาดีทำให้พ่อแม่ตระหนักอย่างรวดเร็วว่า การสร้างความรำคาญในชั้นเรียนของลูกชายเป็นการแสดงออกของความเบื่อหน่าย หลังจากเขาเข้าใจเนื้อหาของวิชาที่ ครูสอน ก่อนคนอื่น โดย เฉพาะโรงเรียนมีอุปกรณ์ช่วยการเรียนการสอนมากมายและให้อิสระ แก่นักเรียนที่จะทำอะไรๆ ตามความสนใจได้มากกว่าปกติ สถานีใช้คอมพิวเตอร์ (Computer terminal) ซึ่ง ต่อสายไปยังคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่ของบริษัทที่ให้เช่า และนั่นเป็นสิ่งที่บิลล์ เกตส์ ติดงอมแงมทันทีเมื่อโรงเรียนนำมาติดตั้งหลัง เขาเข้าเรียนได้ไม่นาน มันทำให้เขาได้เพื่อนรุ่นพี่ชื่อ พอล อัลเลน ซึ่งติดเล่นกับสถานีใช้คอมพิวเตอร์แบบงอมแงม เช่นกัน เพื่อนสนิทคนนี้ต่อมามีบทบาทสำคัญในการร่วมก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ โรงเรียนสามารถเรี่ยไรเงิน จากพ่อแม่ของนักเรียนได้แทบไม่อั้น เมื่อต้องการนำไปซื้อเวลาคอมพิวเตอร์เพิ่มให้แก่พวกเขา

               ฮาร์วาร์ดสร้างจุดพลิกผันสำคัญ เพิ่มขึ้นให้แก่บิลล์ เกตส์ ในจำนวนจุดพลิกผันที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษ ได้แก่ ใน ระหว่างที่พอล อัลเลน เดินทางข้ามประเทศไปเยี่ยมเขาที่นั่น ทั้งสองออกไปเดินเล่นกันแล้วเหลือบไปเห็น นิตยสารด้านอิเล็กทรอนิกส์ ที่ขึ้นปกด้วยรูปของคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ มันมีมนต์ขลังถึงขนาดบันดาลให้บิลล์ เกตส์ เลิกเล่นไพ่และพอล อัลเลน ลาออกจากงานเพื่อร่วมกันทุ่มเทเวลาหาทางเขียนซอฟต์แวร์สำหรับ คอมพิวเตอร์แบบนั้น ซึ่งทั้งสองยังไม่เคยเห็นตัวจริงเสียด้วยซ้ำว่าเป็นอย่างไร หลังจากอดตาหลับขับตานอนอยู่ 2 เดือน พอล อัลเลน ก็นำโปรแกรมที่ทั้งสองช่วยกันพัฒนา ไปเสนอแก่บริษัทเจ้าของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่รัฐนิวเม็กซิโก ปรากฏ ว่าโปรแกรมนั้นทำงานได้สร้างความอัศจรรย์ใจ ให้ผู้รู้เห็นทุกคน บริษัทนั้นจ้างพอล อัลเลน ทันที อีกไม่นานต่อมาบิลล์ เกตส์ ก็ลาออกจากฮาร์วาร์ด เพื่อเดินทางไปตั้งหุ้นส่วนเขียนซอฟต์แวร์กับเพื่อนสนิทของเขาที่ นิวเม็กซิโก หุ้นส่วนนั้นคือเมล็ดพันธุ์ที่พัฒนามาเป็นบริษัทไมโครซอฟท์ ซึ่งตรงกับทฤษฎี 8K’s คือ  Human Capital ทุนมนุษย์ , Intellcetual Capital ทุนทางปัญญา , Digital Capital ทุนทาง IT ,  Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

               เมื่อเรียนอยู่ชั้นปี 3 เขา ก็ตัดสินใจหันหลังให้กับใบปริญญา ลาออกจากฮาร์วาร์ด แล้วร่วมกับพอล อัลเลน เพื่อนสมัยเด็ก ทุ่มเทพลังงานทั้งหมดสร้างบริษัทไมโครซอฟต์ได้สำเร็จภายใน 2 ปี ด้วยความเชื่อว่าในอนาคตคอมพิวเตอร์จะต้องกลาย เป็นเครื่องมือส่วนบุคคล และเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกๆโต๊ะทำงาน และทุกๆบ้าน การคาดการณ์ล่วงหน้าที่แม่นยำและวิสัยทัศน์ ที่กว้างไกลในเรื่องนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นความสำเร็จของไมโครซอฟต์ในเวลาต่อมา ตรงกับทฤษฎี 5K’s คือ Knowledge Capital ทุนทางความรู้ ,

Creativity Capital ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ , Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

               ไมโครซอฟต์ใช้เงินลงทุนมากกว่า 4 พัน ล้านดอลล่าร์ในการทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อปรับปรุงเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ ให้ทันสมัย และคิดกลยุทธ์พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นตลอดเวลา แม้ว่าในช่วงหลัง อัตราการเติบโตของบริษัทจะลดลง แต่เกตส์ก็ยังคงครองตำแหน่งเจ้าพ่อด้านซอฟต์แวร์ของโลกเหมือนเดิม ด้วยรายได้กว่า28,000ล้านเหรียญสหรัฐ บริษัทสาขาใน 74 ประเทศและมีพนักงานกว่า 50,000 คน

               อาจดูเหมือนบุคลิกของเขาจะเป็นคนรุกกร้าวไม่มีคำว่าแพ้ แต่ บิลล์ เกตส์ เป็นผู้รู้จักฟังโดยเฉพาะ จาก พนักงานของบริษัท ไมโครซอฟท์ พนักงานทุกคนสามารถส่งข้อเสนอโดยตรงไปถึงเขาได้ และเขามักใช้เวลาตอนดึกๆ ตอบอีเมล์ของ พนักงาน นอกจากนั้นเขายังมักพาพนักงานออกไปใช้เวลานอกสำนักงานเพื่อช่วยกันระดมสมอง เขาจะไม่ถือสาถ้า พนักงานไม่เห็นด้วยกับมุมมองของเขาและยินดีจะเปลี่ยนใจและนำข้อเสนอของ พนักงานไปใช้ ถ้าข้อเสนอนั้น เหนือชั้นกว่าของเขา ความใจกว้างนี้มีผลให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ในไมโครซอฟท์เสมอมา ตรงกับทฤษฎี C&E และ HRDS

               แม้เขาจะทำงานแบบหามรุ่งหามค่ำตลอด ทั้งปี แต่เขาจะมีเวลาเป็นของตัวเองปีละ 2 ครั้ง ครั้งละหนึ่ง สัปดาห์ ในช่วงหนึ่งสัปดาห์นี้เขาจะหนีไปเก็บตัวอยู่ในสถานที่ห่างไกลที่ไม่มีอะไร รบกวน เขาจะใช้เวลาอ่านหนังสือใหม่ๆ ที่เขาไม่มีโอกาสอ่านพร้อมกับศึกษาเหตุการณ์ต่างๆ รวมทั้งในด้านธุรกิจ การใช้เวลาคิดอย่างลึกซึ้ง ถึงทุกสิ่งรอบด้านนี้ มีผลดีต่อทั้งการวางแผนระยะยาวของไมโครซอฟท์และกลยุทธ์ที่จะใช้ต่อไปในช่วง เวลาสั้นๆ นอกจากนั้นเขายังได้แนวคิดใหม่ๆ ซึ่งนำไปสู่การเขียนหนังสือ 2 เล่ม ได้แก่ The Road Ahead ซึ่งพิมพ์เมื่อปี 2538 และ Business @ the Speed of Thought ซึ่งพิมพ์เมื่อปี 2542 เล่มหลังนี้พูดถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของการทำธุรกิจ ตรงกับทฤษฎี 8K’s Sustainability ทุนแห่งความยั่งยืน และ ทฤษฎี 5K’s Knowledge Capital ทุนทางความรู้  และทฤษฎี 2R’s

               แม้ว่า บิลล์ เกตส์ จะเป็นอภิมหาเศรษฐีหมายเลขหนึ่งของโลกตั้งแต่ อายุ 39 ปี เงินของเขาส่วน ใหญ่ถูกนำไปใช้ในการลงทุนและเพื่อการกุศล ในด้านการลงทุนนานๆ จึงจะมีข่าวรั่วไหลออกมาว่าเขาไปลงทุนที่ นั่นที่นี่ ฉะนั้นจึงไม่มีใครรู้แนวคิดและการปฏิบัติของเขาแบบเต็มร้อย ส่วนในด้านการกุศล เขาและภรรยาได้ตั้ง มูลนิธิขึ้นมาเพื่อดำเนินงาน ฉะนั้นด้านนี้มีข้อมูลละเอียด หลังการเกษียณตัวเองเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 2008 ที่ผ่านมา บิลล์ เกตส์ เริ่มใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับงานการกุศลของมูลนิธิชื่อว่า Bill & Melinda Gates Foundation    บิลล์ เกตส์ และภรรยา ก่อตั้งมูลนิธิขึ้นมาเมื่อปี 2543 ในช่วงเวลา 8 ปีเขาทั้งสองได้สละทรัพย์สินส่วนตัวให้มูลนิธิ แล้ว 34, 000 ล้านดอลลาร์ อภิมหาเศรษฐีวอร์เรน บัฟเฟตต์ เพื่อนสนิทอีกคนหนึ่งของเขาได้บริจาคสมทบอีก 3,360 ล้านดอลลาร์ และจะบริจาคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีกราว 30, 000 ล้านดอลลาร์ ทรัพย์สินกองนี้เป็นเสมือนต้นทุนที่มูลนิธิ จะนำมาหมุนหาดอกผลเพื่อนำไปใช้ในโครงการการกุศลทั่วโลก ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา มูลนิธิใช้ดอกผลไปใน โครงการการกุศลต่างๆ แล้ว 16,500 ล้านดอลลาร์ ทั้งโครงการในสหรัฐอเมริกาและในอีกกว่า 100 ประเทศ

               เค้าเลือกที่จะคัดเลือกพนักงานที่เคย ล้มเหลวในการทำงานมาก่อน เพราะ เค้าถือว่าบุคคลเหล่านั้นมีประสบการณ์จากความล้มเหลวมาแล้ว จึงทำให้สามารถใช้บทเรียนเหล่านั้นในการบริหารเพื่อที่จะไม่ให้เกิดความล้ม เหลวขึ้นอีก เพราะคนที่ไม่เคยเผชิญหน้ากับความล้มเหลว จะไม่มีวันรู้จักมันมาก่อน เค้าคิดว่าความเก่งนั้น สามารถสร้างได้จากการฝึกฝน แต่ประสบการณ์แห่งความล้มเหลวนั้นเป็นสิ่งที่ได้มาจากประสบการณ์จริงและคน ที่เคยพบเจอมาแล้วจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นมาอีก ทฤษฎี 3L’s คือ Learning from pain การเรียนรู้จากความเจ็บปวด , Learning from experience เรียนรู้จากประสบการณ์ , Learning from listening เรียนรู้จากการฟัง

               เดือนกรกฎาคม 2006 บิลล์ เกตส์ ประกาศอำลาตำแหน่งสถาปนิกซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์ เพื่อจะได้มีเวลาอุทิศตนเพื่องานการกุศลของมูลนิธิบิลล์และเมลินดา เกตส์มากขึ้น โดยขอเวลาสองปีเพื่อถ่ายโอนงานให้เรียบร้อย กระทั่งในที่สุดเมื่อวันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน ค.ศ.2008 บิลล์ เกตส์ เกษียณตัวเองจากงานเต็มเวลาในบริษัทไมโครซอฟท์ด้วยอายุ 52 ปี 8 เดือน จากวันนี้ไปเขาจะทำงานให้ไมโครซอฟท์เพียงสัปดาห์ละ 1 วัน ส่วนเวลาที่เหลือเขาจะอุทิศตนเพื่องานการกุศลของมูลนิธิ บิลล์และเมลินดา เกตส์เพิ่มมากขึ้น

               อย่าง ไรก็ตาม ความเป็นสุดยอดของบิลล์ เกตส์ที่โลกทั้งโลกต้องยกย่องนั้น มิได้อยู่ที่ตัวเลขความร่ำรวย หรือความเป็นนักธุรกิจที่เก่งฉกาจ แต่อยู่ตรงที่ความเป็นคนที่มีมนุษยธรรม มีหัวใจแห่งความเมตตา และมีปรัชญาการดำรงชีวิตที่ดีงาม นอกจากเค้าจะตระหนักในความโชคดีของตนเองและรู้จักพอเพียงแล้วเค้ายังอุทิศ กำลังกาย กำลังสมองและกำลังทรัพย์ส่วนหนึ่ง เพื่อ ช่วยกันขจัดปัญหาใหญ่ๆ ในชุมชนซึ่งตนอาศัยอยู่ ชุมชนนั้นอาจเป็นหมู่บ้านเล็กๆ หรือชุมชนขนาดใหญ่ในระดับประเทศและระดับโลกซึ่งสิ่งเหล่านี้เค้าถือว่าเป็น การตอบแทนสังคม อันเป็นการแสดงถึงความมีคุณธรรมและจริยธรรมของมหาเศรษฐีของโลกคนนี้ ซึ่ง สมควรเป็นเยี่ยงอย่างแก่บุคคลทั่วไปเป็นอย่างยิ่ง เค้าแสดงให้เห็นว่าความร่ำรวยไม่ใช่ที่สุดในชีวิต แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ช่วยเหลือสังคมโดยไม่มีการแบ่งสีผิว หรือชนชั้นใดๆ ทั้งสิ้น โลกใบนี้จะไม่มีใครลืมเขา “อภิมหาเศรษฐีที่รู้จักคำว่าพอเพียง“ ตรงกับทฤษฎี 8K’s  Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม และ Social Capital ทุนทางสังคม

Peter Ferdinand Drucker หรือ Peter F. Drucker (1909–2005) เป็นนักคิดนักเขียนที่ทรงอิทธิพล เป็นที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการ ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางให้เป็นปรมาจารย์แห่งการบริหารจัดการธุรกิจสมัยใหม่ แต่ตัวเขาเองกลับกล่าวอย่างถ่อมตนว่า เขาเป็นเพียงผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนิเวศวิทยาทางสังคม

ขณะที่เขายังหนุ่ม ก็ได้เขียนผลงานขึ้นมาสองชิ้น  โดยเล่มหนึ่งกล่าวถึงนักปรัชญาชาวเยอรมันซึ่งมีชื่อว่า เฟดเดอริช จูเลียส สตาห์ล กับเรื่อง "คำถามของชาวยิวในเยอรมัน" (The Jewish Question in Germany) ซึ่งได้ถูกสั่งเผาและระงับการจัดพิมพ์โดยฝ่ายนาซี  ปี ค.ศ. 1993 ได้เดินทางออกจากเยอรมันไปยังอังกฤษ ในกรุงลอนดอน เขาได้ทำงานในบริษัทประกัน หลังจากนั้นเขาได้เป็นผู้นำนักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญในธนาคารอย่างเป็นการส่วนตัว เขายังได้ติดต่อกับ ดอริส ชมิตซ์ ผู้ซึ่งเป็นคนรู้จักจากมหาวิทยาลัยแฟรงก์เฟิร์ตอีกครั้ง ทั้งคู่ได้แต่งงานกันใน ค.ศ. 1934  และสองสามีภรรยาก็ได้ย้ายมาอยู่ที่สหรัฐอเมริกา โดยเขาได้มาเป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย รวมถึงเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ

ปีเตอร์ เอฟ ดรักเกอร์ กล่าวว่า “ผู้นำที่มีประสิทธิภาพสูง โดยส่วนตัวแล้ว ไม่เคยพูดว่า ‘ผม’ แต่เขาจะพูดโดยรวมว่าเรา หรือทีม พวกเขาเข้าใจเนื้องานว่าจะทำให้ทีมขับเคลื่อนได้อย่างไร พวกเขายอมรับในหน้าที่ และไม่ได้ปฏิเสธความรับผิดชอบ คำว่า ‘เรา’ ได้รับความเชื่อถือ มันสร้างความไว้วางใจ มันเป็นพลังที่จะผลักดันให้งานนั้น ๆ ประสบความสำเร็จ” ตรงกับทฤษฎี 8K’s Social Capital ทุนทางสังคม และทฤษฎี C&E

แนวคิดของ Peter Ferdinand Drucker

1.         แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการที่ต้องมีวัตถุประสงค์(Management by Objectives –MBO) แนวคิดนี้ปรากฏอยู่ในหนังสือที่ชื่อThe Practice of Management : 1954 โดยเน้นให้แต่ละองค์กรสร้างทีมงานที่เป็นทีมงานเฉพาะ มีองค์กรเป็นที่หลอมรวมความพยายามจากแต่ละบุคคลแม้จะทำประโยชน์ให้องค์กรต่างกันแต่ก็มีวัตถุประสงค์เดียวกันนั่นคือการพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จเหมือนกัน ผู้บริหารต้องพยายามกระตุ้นให้พนักงานทุกคนนาพลังที่มีออกมาใช้ผลิตงานอย่างเต็มที่มีการตอบแทนผลงานแห่งความสำเร็จและต้องมีเครื่องมือชี้วัดเข้ามาช่วยด้วยนั่นคือการรายงานผลและขั้นตอนการทางานแต่ควรทาอย่างกระชับในส่วนที่จะเกี่ยวข้องกับการบรรลุผลเท่านั้นส่วนผลลัพธ์ก็ดูได้จากความสำเร็จของธุรกิจนั่นเอง ซึ่งตรงกับทฤษฎี8K’s Social Capital ทุนทางสังคม ทฤษฎี C&E และยังตรงกับทฤษฎี HRDS อีกด้วย

2.         แนวคิดว่าด้วยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ(Privatization) ริเริ่มขึ้นในทศวรรษที่ 1960แนวคิดนี้เกิดขึ้นเนื่องจาก ดรักเกอร์ เชื่อว่าเป้าประสงค์ที่แท้จริงของรัฐคือการเป็นผู้ตัดสินใจและเป็นผู้นาสังคมแต่เขายังมีความกังวลว่ารัฐอาจทาความผิดต่อสังคมด้วยการแสวงหาประโยชน์แก่ตัวเองจากการจัดหาสิ่งอานวยประโยชน์ต่างๆแก่ประชาชนขณะเดียวกันรัฐต้องเสียทั้งเวลาและงบประมาณไม่คุ้มค่ากับสิ่งที่ประชาชนควรได้รับ ดรักเกอร์ จึงเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่ว่านี้ด้วยการให้รัฐขายองค์กรรัฐวิสาหกิจให้แก่เอกชนเป็นผู้ดาเนินการแทน

3.         แนวคิดว่าด้วยการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ (Professional management) ดรักเกอร์นิยามว่า“การบริหารแบบมืออาชีพ” หมายถึงกิจกรรมหรือการกระทาที่มีผลเป็นรูปธรรมโดยแยกความสับสนระหว่างประสิทธิภาพกับประสิทธิผลเพื่อให้เห็นว่าการทำให้สิ่งต่างๆถูกต้องนั้นดีกว่าการกระทำในสิ่งที่ถูกต้องหน้าที่แรกของผู้บริหารก็คือทาอย่างไรให้องค์กรมีผลการดาเนินงานที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ซึ่งต้องวิเคราะห์และสังเกตจากสภาพที่เป็นจริงก่อนด้วยการตรวจสอบหาสินค้าที่อยู่ในปัจจุบันและอนาคตลูกค้าตลาดช่องทางการจัดจำหน่ายและผู้ซื้อสินค้าซึ่งเป็นการมองจากภายนอกหลังจากนั้นจึงค่อยๆมองภายในองค์กร หัวใจสำคัญก็คือการรับผิดชอบการเจริญเติบโตขององค์กรและสมาชิกซึ่งจำเป็นต้องมีการตัดสินใจที่เปี่ยมประสิทธิผลคือรู้จักแบ่งแยกลำดับชั้นของปัญหาระบุที่มาของปัญหาได้ลงมือทำ รับฟังเสียงสะท้อนกลับและสรุปผลเพื่อนามากำหนดเป็นวัตถุประสงค์หลังจากนั้นต้องฝึกอบรมและประเมินผลการทางานของพนักงานรวมถึงการหาวิธีที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้วยการบริหารต้นทุนการผลิตให้มีประสิทธิภาพด้วย ซึ่งตรงกับทฤษฎี 2R’s Reality and Relevance ทฤษฎี 8K’s & 5K’s ในหลายๆ ข้อ

โดยภาพรวมแล้ว แนวคิดของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กับ ปีเตอร์ เอฟ ดรักเกอร์ สรุปแนวคิดหลักๆได้ดังนี้

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

ปีเตอร์ ดรักเกอร์

คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงได้

ถามตัวเองว่า ต้องทำอะไรให้สำเร็จ

การบริหารความไม่แน่นอน

ถามว่าอะไรคือสิ่งที่จะต้องลงมือทำ

การจัดการภาวะวิกฤติ

พัฒนาแผนปฏิบัติการ

การแสวงหาโอกาส

รับผิดชอบต่อการตัดสินใจ

รู้จักใช้จังหวะและความรวดเร็ว

รับผิดชอบต่อการสื่อสาร

กล้าตัดสินใจ

มุ่งที่โอกาส ไม่ใช่ปัญหา

การสร้างแรงจูงใจให้คนอื่นเป็นเลิศ

จัดการประชุมที่มุ่งให้เกิดผลผลิต

การทำงานเป็นทีม

คิดและพูดว่า เรา ไม่ใช่ ฉัน

แก้ไขความขัดแย้ง

 

 

แจ๊ค หม่า (Jack Ma) 

แจ๊ค หม่า (Jack Ma)  เป็นมหาเศรษฐีอันดับที่   1  ของจีน ปี 2017 ทรัพย์สิน รวมมูลค่าทั้งสิ้นราว 8 แสนล้านบาท โดยเริ่มจากการก่อตั้งบริษัทอาลีบาบา (Alibaba ) ในปี 1999 ซึ่งเป็นรูปแบบบริษัทอีคอมเมิร์ช( E-Commerce)ชื่อดังของจีน ต่อมาได้ขยายเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องออกไปเรื่อยๆ หนึ่งในนั้นที่คนไทยรู้จักกันดีคือ Taobao.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ลักษณะที่ให้คนทั่วไปมาลงขายสินค้าได้ นอกจากนี้ยังมีบริษัทย่อยเด่นๆอีกเช่น Tmall, Aliexpress, Aplipay, Juhuasuan, 1688.com, eTao, Alibaba Cloud Computing เพื่อชี้แนวทางให้นักศึกษาด้านการเป็นผู้นำ  โดยนำ แนะหลักการบริหารของแจ๊ค หม่า (Jack Ma)  ได้ดังนี้

              

               แจ๊ค หม่า (Jack Ma)  เขาสนใจที่จะศึกษาภาษาอังกฤษมากกว่าสิ่งใด ทำให้เขาเริ่มเพิ่มความรู้ด้านภาษาอังกฤษโดยการไปคุยกับคนต่างชาติที่มาทำงานในประเทศจีน  จนทำให้เขาผันตัวเขาได้มาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ  เรียกได้ว่า   เป็นทุนทางความรู้ (Knowledge  Capital)   จากเด็กที่ไม่ประสบความสำเร็จด้านการเรียน

               วิสัยทัศน์ที่ทำให้ แจ๊ค หม่า (Jack Ma)  เริ่มก่อตั้งทำธุรกิจ จากการไปหาเพื่อนที่อเมริกาและได้รู้จักอินเตอร์เน็ตเป็นครั้งแรก จึงได้คิดก่อตั้งรูปแบบบริษัทอีคอมเมิร์ช ได้เน้นการขายของทางอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิด ทุนทางปัญญา (Intellectual  Capital) ทำให้เกิดธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับ แจ๊ค หม่า (Jack Ma)  คือ บริษัทอาลีบาบา

               แจ๊ค หม่า (Jack Ma) ให้ความสำคัญกับคนทุกระดับทั้งในองค์กรและนอกองค์กร เรียกว่า ทุนมนุษย์ (Human Capital)  ให้โอกาส คนได้แสดงความสามารถ ไม่ดูถูกคนจน คนที่ไม่มีที่ความรู้   และหยิบยื่นโอกาสให้กับคน เหล่านั้น  เริ่มจากการมีพนักงานจาก 18 คน เพิ่มมาเป็น 2 หมื่นกว่าคน  และพยายามที่จะใส่คุณค่าลงไปในตัวบุคคลและบริษัท  ทำให้เขามั่นใจได้ว่าทุกคนจะทำงานและช่วยเหลือคนอื่นนอกเหนือจากการหารายได้

               เป็นผู้นำที่พลิกวิฤกติให้เป็นโอกาสอยู่เสมอ มองถึงความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สิ่งที่เขาพูดเสมอ “ปัญหาคือโอกาส” สี่งที่มองเห็นได้จากคำพูดนั้น คือ บริษัท  Alibaba ที่ได้ออกสู่ตลาดโลก เป็นธุรกิจด้านการค้า ช้อปปิ้ง ออนไลน์ แซง  Ebay  ไปได้ และขยายไปถึงธุรกิจอื่นๆตามมา อย่างเช่น ธุรกิจค้าไก่ทอด KFC โดยตรงกับ ทุนอัจฉริยะ(Talented Capital) คือมีทัศนะคติที่ชัดเจนในการสร้างธุรกิจ

               ธุรกิจของ แจ๊ค หม่า (Jack Ma)  ตัวประกอบหลักของบริษัท คือเทคโนโลยี  เขาได้เปลี่ยนแปลงตามเทคโนโลยีแต่สมัยนั้นๆ สมัยก่อน ช้อปปิ้ง ออนไลน์ ต้องการซื้อสินค้า ของมีคอมพิวเตอร์ แต่สมัยนี้การช้อปปิ้ง ออนไลน์ สามารถทำได้ตลอดเวลา  แค่มีมือถือ ก็สามารถสื่อสารได้ทั่วโลก และได้ต่อยอดไปถึงธุรกิจการขนส่งสินค้า  เรียกได้ว่าครบวงจร ตรงกับ ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ IT(Digital Capital)

               การเป็นผู้บริหารที่มีความสามารถของ แจ๊ค หม่า (Jack Ma)  ทำให้ผู้นำธุรกิจรายอื่นต้องการร่วมทำธุรกิจด้วย เช่นลงทุนใหญ่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าประจำภูมิภาคอาเซียนที่มาเลเซีย และร่วมผลักดันมาเลเซียให้เป็น “ศูนย์กลาง E-Commerce” ประจำภูมิภาค เป็นต้น ทำให้เกิดทุนทางสังคม(Social Capital-Networking)

                แจ๊ค หม่า (Jack Ma) จะเป็นนักธุรกิจที่เก่งไม่ได้ หากขาดกำลังใจและคนค่อยสนับสนุน อย่างภรรยาและครอบครัว เป็นบุคคลนึ่งที่ซื่อสัตย์และตั้งใจทำงาน เพื่อภรรยาที่คบหากันมา ตั้งแต่มหาวิทยาลัย อย่างนี้ก็เป็นจริยธรรมข้อหนึ่ง และจริยธรรมอีกข้อของ แจ๊ค หม่า (Jack Ma) ให้โอกาสคน และโอกาสคู่แข่งทางธุรกิจ เรียกว่าทุนทางจริยธรรม(Ethical Capital) ดังเช่น คำพูดของ แจ๊ค หม่า (Jack Ma) ที่ว่า “ผมเกลียดการเป็นธุรกิจกินรวบ ที่ฆ่าทุกคนที่ไม่ใช่พวก ผมไม่ชอบโมเดลนี้เลย ผมเชื่อในเรื่องนิเวศน์ธุรกิจ ผมเชื่อว่าทุกคนต้องเชื่อมโยงกัน และพึ่งพาอาศัยกันในระบบนิเวศน์นี้ ด้วยเหตุนี้ ผมจึงแตกบริษัทที่ใหญ่เกินไปให้เล็กลง เพื่อให้คู่แข่งของผมมีโอกาสทำธุรกิจได้” ทำให้ธุรกิจของเติบโต ไปอย่างยั่งยืน(ทุนทางความยั่งยืน Sustainable Capital)

นายสนิท ขาวสอาด

วิชา การจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคม

หลักสูตร การจัดการนวัตกรรม

วันที่ 21 มกราคม 2561 (ครั้งที่ 1)

สรุปสาระสำคัญของความรู้ที่ได้รับ

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ

            HR Architecture เป็นแนวทางในการมองภาพรวมของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งในภาพใหญ่ (Macro) คือ ระดับประเทศ สังคม ชุมชน และในระดับองค์กร (Micro)

           ทฤษฎี 4 L’s เพื่อการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี, Learning Environment สร้างบรรยากาศการเรียนรู้, Learning Opportunities สร้างโอกาสการเรียนรู้, Learning Communities เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

           ทฤษฎี 2 R’s เพื่อการมอง วิเคราะห์ปัญหา และการเรียนรู้ ประกอบด้วย Reality มองตามความเป็นจริง, Relevance วิเคราะห์ให้ตรงประเด็น

           ทฤษฎี 2 I’s เพื่อการเรียนรู้และสร้างพลังในการทำงาน ประกอบด้วย Inspiration จุดประกายสร้างแรงบันดาลใจการทำงาน, Imagination สร้างจินตนาการเชิงสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

           ทฤษฎี 3 V เพื่อการสร้างมูลค่า ประกอบด้วย Value Added การสร้างมูลค่าเพิ่ม, Value Creation การสร้างคุณค่าใหม่ผ่านความคิดนอกกรอบ, Value Diversity การสร้างคุณค่าจากความหลากหลายรอบๆตัว

           ทฤษฎี 3 L’s เพื่อการทำงานยุคใหม่ ประกอบด้วย Learning from pain เรียนรู้จากความเจ็บปวด, Learning from experience เรียนรู้จากประสบการณ์, Learning from listening เรียนรู้จากการรับฟัง

           ทฤษฎี C&E เพื่อการเรียนรู้และการทำงานยุคใหม่ ประกอบด้วย Connecting การติดต่อ/เชื่อมต่อกันทั้งในด้านการสื่อสาร ความสัมพันธ์ และข้อมูล, Engaging การมีส่วนร่วมในการทำงาน วางแผน และตัดสินใจ

           ทฤษฎี C-U-V เพื่อการเรียนรู้และเป็นกุญแจสำคัญไปสู่ความสำเร็จ ประกอบด้วย Copy  เลียนแบบน้อยๆ, Understanding เข้าใจมากๆ, Value added/Value Creation/Value Diversity สร้างคุณค่าเพิ่มบ่อยๆ

          ทฤษฎี HRDS เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข ประกอบด้วย Happiness การสร้างความสุขเพื่อส่วนรวม, Respect การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน, Dignity การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน, Sustainability ความยั่งยืนซึ่งเราจะมองไปถึงเป้าหมายระยะยาว

          นอกเหนือจากทฤษฎีข้างต้น ยังมีทฤษฎี 3 วงกลม, ทฤษฎี 8 K’s, 5 K’s เป็นทฤษฎีสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคมในยุคปัจจุบัน ซึ่งจะได้ใช้ในการเรียนรู้ในวิชานี้ต่อไป

สิ่งที่ประทับใจและการนำไปใช้ประโยชน์

          การเรียนครั้งนี้ทำให้ได้เรียนรู้และรู้จักทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชาการจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคม ซึ่งจะทำให้มีความเข้าใจถึงที่มาที่ไปของความคิด แนวทาง ที่จัดทำขึ้นว่า เป็นมายังไง เมื่อนำไปถ่ายทอดความคิด แนวทาง ดังกล่าวนี้ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ก็จะทำให้สามารถถ่ายทอดได้อย่างดี นำไปสู่การเสนอแนวความคิดให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้เกิดการพัฒนาความรู้เพิ่มขึ้นในอนาคต และนำไปสู่การวิจัยต่อไปได้

***********************************************************************************************************

วันที่ 28 มกราคม 2561 (ครั้งที่ 2)

สรุปสาระสำคัญของความรู้ที่ได้รับ

ทฤษฎีการเก็บเกี่ยว (Harvesting) : ยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร

         การบริหารทุนมนุษย์แนว Chira Way ประกอบด้วย การปลูกฝัง คือ HR Development ต้องพัฒนาตลอดเวลา การเก็บเกี่ยว พัฒนาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในแต่ละบริบท ทำให้สำเร็จ มีวิธีการคือ ดูเรื่อง Mindset ของคน ในบริบท แต่ละคนก็คิดต่อได้ว่าจะนำอะไรมาทำให้สำเร็จ การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศ การจัดการศึกษาควรเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การเปลี่ยนแปลงแนวทางการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น การศึกษาในระบบเคลื่อนช้า ในขณะที่การศึกษานอกระบบ (กศน.) สามารถขับเคลื่อนได้มากขึ้น การปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาขาดการบูรณาการร่วมกับภาคส่วนต่างๆ และขาดความต่อเนื่อง ดังนั้น การปฏิรูปการศึกษาจึงควรเน้นให้มีการศึกษาตลอดชีวิต พัฒนาให้เป็นคนดีและตามด้วยเป็นคนเก่งตามลำดับ เพื่อให้เด็กมีความรู้และความสุขไปพร้อมกัน รวมถึงการมีทักษะชีวิตควบคู่ความรู้เชิงวิชาการ มุ่งเน้นให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง ครูเป็นผู้คอยสนับสนุน ส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ควรนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษาและพัฒนาคน นอกจากนี้ควรนำความรู้สมัยใหม่ไปประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาของชาวบ้าน เช่น การพัฒนาเกษตรกร และให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายในการบริหารจัดการศึกษา เพื่อให้ได้รับความรู้ และการสนับสนุนจากภายนอก                  

สิ่งที่ประทับใจและการนำไปใช้ประโยชน์

          การเรียนครั้งนี้ทำให้สามารถเข้าใจปัญหาการจัดการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทย ซึ่งผู้เรียนสามารถนำความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้การทำงาน การจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับพื้นที่ นำปัญหาและข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปจัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารจัดการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้

***********************************************************************************************************

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561 (ครั้งที่ 3)

สรุปสาระสำคัญของความรู้ที่ได้รับ

ทุนมนุษย์ของคนไทยในยุค Thailand  4.0 ทุนทางคุณธรรมจริยธรรมในยุคที่โลกเปลี่ยนกับการพัฒนา

          การลงทุนพัฒนาทุนมนุษย์ที่ดีก่อนเข้าสู่วัยทำงานในอนาคต ต้องมาจากการปลูกฝังมาตั้งแต่ก่อนการทำงาน นวัตกรรมเป็นเป้าหมาย แต่ขึ้นกับปลูก เก็บเกี่ยว และเอาชนะอุปสรรค

          การปฏิรูปการศึกษา ควรสอนให้ประยุกต์กับสภาพความเป็นจริง การใช้ภาษาอังกฤษ Wisdom ที่เกิดในห้องกับ Moment ที่เกิดในแต่ละครั้งควรคิดว่ามีผลกระทบอย่างไร และควรให้ความสำคัญกับคนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาหรือไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษา 2R’s และควรนำ 4L’s มาประยุกต์ใช้ในการปฏิรูประบบการศึกษา

          สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศทุนนิยม มุ่งทำกำไรสูงสุด แต่ในปัจจุบันเศรษฐศาสตร์ต้องเป็นสหวิทยาการ(Multidisciplinary) ศ.ดร.จีระ หงลดารมย์ เสนอให้ใช้เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ความสุข นอกจากนี้ศาสตร์พระราชาสามารถใช้ในการเติมเต็มความบกพร่องของระบบทุนนิยม เพื่อให้เกิดความยั่งยืน คิดถึงระดับรากหญ้านอกเหนือจากการเจริญเติบโตเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ความสำเร็จที่แท้จริงคือ Happiness and Sustainability

สิ่งที่ประทับใจและการนำไปใช้ประโยชน์

          การเรียนครั้งนี้ผู้เรียนได้รับความรู้ในเรื่องของสถานการณ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก่อนเข้าสู่วัยทำงาน จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง และนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ แนวทางการปฏิรูปการศึกษาต้องเน้นการนำการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในสภาพจริง การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนา ผู้เรียนสามารถที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง การจัดการความรู้และการศึกษาได้

***********************************************************************************************************

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561 (ครั้งที่ 4)

สรุปสาระสำคัญของความรู้ที่ได้รับ

การเรียนรู้ และ Workshop เรื่อง 8K’s และ 5K’s

          ทุนทางการเงิน เงินออมเป็นทุนทางการเงิน คนไทยมีการออมน้อย และมักจะกู้เงิน เป็นหนี้ ขาดความรู้ในการจัดการเงินกู้ ควรสอนความรู้ทางเงิน (Financial Literacy) ส่วนทุนมนุษย์เป็นคุณภาพของคน เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม 8K’s และ 5K’s Adam Smith ได้อธิบายเรื่องทุนมนุษย์ โดยยกตัวอย่างความแตกต่างระหว่างค่าจ้างของสองคน ต้องวัดจากค่าจ้าง เพราะแต่ละคนมีความรู้และทักษะมากกว่าอีกคนหนึ่ง วุฒิการศึกษาต่างกันค่าจ้างต่างกัน ส่วน Prof. Gary Becker ก็วิเคราะห์เรื่องของคน 2 คนเกิดมาเท่ากัน ได้รับการลงทุนการศึกษา โภชนาการ ครอบครัวไม่เท่ากัน เมื่อเข้าทำงานแล้ว ค่าจ้างอาจจะไม่เท่ากัน คนมีการศึกษาสูงก็มีรายได้มากขึ้น Paul Schultz กล่าวว่า ถ้านำชาวนา 2 คนมาเปรียบเทียบ และถ้าคนใดมีความรู้และปัญญามากกว่า ผลผลิตของสินค้าเกษตรสูงกว่า แสดงว่ามีความสามารถมากกว่า จึงเป็นที่มาของ Smart Farmers ปัจจุบันการวิเคราะห์ทุนมนุษย์เปลี่ยนแปลงมาก การมองจำนวนปีที่เรียนและวุฒิการศึกษามีความสำคัญน้อย พบว่า คนเรียนน้อยอาจจะมีคุณภาพดีมากกว่าคนที่เรียนมากก็ได้ จึงคำพูดว่า “ปัญญาอาจจะไม่ใช่ปริญญา” การเรียนในห้องเรียนควรจะให้ทั้งปัญญาและใบปริญญาจึงจะคุ้มค่า คนเรียนจบปริญญาเอกอาจไม่ได้ดีกว่าคนจบปริญญาตรี แต่ขึ้นอยู่กับคุณภาพ มีทุนทางปัญญา หมายถึง คิดเป็น วิเคราะห์เป็น แก้ปัญหาเป็น มองอนาคตเป็น ทุนแห่งความสุข ไม่ใช่เพียงแค่ Happy Workplace (มีความสุขในที่ทำงาน) ต้องมี Happiness at work หมายถึงชอบในงานที่ทำ ทุนทางสังคม เครือข่าย Networking คือสิ่งสำคัญ มีการไว้เนื้อเชื่อใจ ความอดทน และแบ่งปันต้นทุนและกำไร ทุนแห่งความยั่งยืนต้องคิดถึงระยะยาว ทุนทางอารมณ์เป็นเรื่องสำคัญมากเช่นกัน บางคนเก่งมากแต่อารมณ์ร้อน จึงไม่ประสบความสำเร็จ

สิ่งที่ประทับใจและการนำไปใช้ประโยชน์

          ผู้เรียนเห็นว่าแนวทางการมองทุนมนุษย์และการพัฒนาทุนมนุษย์จะสามารถนำไปใช้เป็นแนวคิดในการพัฒนาตนเองและทรัพยากรมนุษย์ในหน่วยงานได้ โดยเฉพาะการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการพัฒนาคน

***********************************************************************************************************

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2561

งดคลาส

***********************************************************************************************************

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561 (ครั้งที่ 5)

สรุปสาระสำคัญของความรู้ที่ได้รับ

การนำเสนอหนังสือเรื่อง 8K’s และ 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

8K’s พื้นฐานเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ ประกอบด้วย

       1. ทุนมนุษย์ (Human Capital) ซึ่งของProf. Gary Becker เน้นการทุ่มเงินไปพัฒนาคน ลงทุนการศึกษาให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษา ส่วนของอาจารย์จีระ เน้นวิธีการเรียนรู้ มีสมรรถนะ และทักษะ

       2. ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) หากจะทำให้เกิดทุนทางปัญญาต้องทำให้คิดเป็น โดยใช้เครื่องมือคือ 4L’s ได้แก่ Learning Methodology Learning Environment Learning Opportunities Learning Communities และ 2R’s คือ Reality และRelevance

      3. ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) คิดดี ทำดี เพื่อส่วนรวม มีจิตสาธารณะทำได้โดยมีศีล สมาธิ ปัญญา

      4. ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ความสมดุลในชีวิตและการงาน

      5. ทุนทางสังคม (Social Capital) ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพก็ต้องมีเครือข่ายคุณค่าต่อการทำงาน

      6. ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability Capital) การมองอนาคตเชื่อมโยงกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

      7. ทุนทางเทคโนโลยี (Digital Capital) มีเรียนรู้ ค้นคว้า แสวงหาข้อมูลที่ทันสมัย โดยใช้เทคโนโลยี

      8. ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Talented Capital) ความรู้ ทักษะ และทัศนคติ สามารถพัฒนาได้

5K’s ประกอบด้วย Creativity Capital ทุนทางความคิดสร้างสรรค์, Knowledge Capital ทุนทางความรู้, Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม, Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม, Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

สิ่งที่ประทับใจและการนำไปใช้ประโยชน์

          การได้รับความรู้เกี่ยวกับ 8K’s และ5K’s ทำให้ทราบถึงพื้นฐานของการพัฒนาทุนมนุษย์ ทั้งในระดับตนเอง องค์กร และสังคม เพื่อความสุขและความยั่งยืน

***********************************************************************************************************

วันที่ 4 มีนาคม 2561

งดคลาส

***********************************************************************************************************

วันที่ 11 มีนาคม 2561 (ครั้งที่ 6)

สรุปสาระสำคัญของความรู้ที่ได้รับ

นวัตกรรมการจัดการทุนมนุษย์เพื่อสังคมสู่ความยั่งยืนในระดับองค์กรและระดับสังคม

            Gary Becker ได้เน้นการลงทุนการศึกษา โภชนาการ การฝึกอบรม การเลี้ยงดูของครอบครัว ซึ่งทำให้เกิดคุณภาพของทุนมนุษย์ และเน้นเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ในการวัดระดับการศึกษา คนมีระดับการศึกษาสูงมีรายได้มากกว่าคนจบการศึกษาน้อย แต่อาจารย์จีระมองว่าคนไม่จบปริญญาก็มีรายได้สูงได้ เช่น Bill Gates หรือ Steve Jobs ซึ่งตรงกับ 8K’s และ 5K’s การสร้างทุนมนุษย์ แสดงให้เห็นว่าการมีปัญญาไม่ใช่ปริญญา แม้ไม่จบปริญญา  ก็สามารถสร้างรายได้ นำไปสู่ทุนทางปัญญา ซึ่งขึ้นอยู่กับวิธีเรียน learning how to learn ให้คิดวิเคราะห์เป็น ก่อนหน้านี้การลงทุนในทุนมนุษย์วัดด้วยปริมาณ เช่น จำนวนปีที่เรียน เป็นต้น แต่ในปัจจุบันนอกจากจำนวนปีที่เรียนต้องวัดจากวิธีการเรียนที่ดีด้วย

            นอกจากนี้เราสามารถสร้างความคิดได้ตลอดเวลาเกิดเป็นภูมิปัญญา ประธานาธิบดี สีจิ้นผิง เน้นการพัฒนาทุนมนุษย์ โดยคนจีนต้องปรับตัวรองรับความเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงเร็ว ไม่แน่นอนและคาดการณ์ไม่ได้ มนุษย์ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม และต้องเป็นมืออาชีพเพื่อปกป้องประเทศตน พร้อมทั้งเป็นพลเมืองดี

           Timothy Sharp ได้กล่าวถึงวิธีทำงานให้มีความสุข อาจารย์จีระเน้นว่า ต้องทำตัวตัวเราให้มีความสุขก่อน เช่น การไม่โกรธ การมีสมาธิ ต้องแยก happy workplace และ happy at work สร้างความสมดุลงานและชีวิต และสร้าง P and M ในการทำงาน คือ Passion ทำงานแบบมีความสุข Purpose เป้าหมายการทำงาน Meaning ทำงานที่มีความหมายและคุณค่า

           การสร้างความคิดใหม่แล้วนำไปประยุกต์กับความจริง 2R’s จึงสำคัญ นวัตกรรมเป็นพฤติกรรม Means ส่วน Sustainability objective นวัตกรรมไม่ใช่ผลสุดท้ายเท่านั้น แต่รวมถึง Innovative Management

สิ่งที่ประทับใจและการนำไปใช้ประโยชน์

          การเรียนครั้งนี้ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในความสำคัญของวิธีการเรียนรู้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แนวทางการทำงานให้มีความสุข และการคิดเรื่องนวัตกรรมและความยั่งยืน

***********************************************************************************************************

18 มีนาคม 2561 (ครั้งที่ 7)

สรุปสาระสำคัญของความรู้ที่ได้รับ

การนำเสนอหนังสือเรื่อง พลังแห่งคุณธรรมจริยธรรม และการสร้างทุนทางเครือข่าย (Networking Capital)

         รากฐานทุนทางจริยธรรมเป็นเรื่องสำคัญในการคิดดี ทำดี โปร่งใส ทุนนิยมสามานย์ทำให้คนเห็นแก่เงิน การเรียนยุคใหม่ต้องสร้างความคิดใหม่ ซึ่งมาจาก Reality ของแต่ละคน ทุนทางจริยธรรมเป็นส่วนหนึ่งของ 8K’sและ 5K’s การริเริ่มทางจริยธรรม มาจากปัญหาการเมือง จริยธรรมคือการประพฤติดี นำไปสู่สังคมประเทศชาติได้ การปลูกฝังทุนทางจริยธรรมและทุนทางวัฒนธรรม ต้องมีระบบความเชื่อและภูมิปัญญา จารีต การเรียนรู้ ค่านิยม ข้อห้าม เช่น วัฒนธรรมของหลักศาสนาอิสลามไม่เน้นวัตถุนิยม ค่อนข้างประหยัดและมีวินัย เป็นต้น คนไทยสร้างแรงบันดาลใจ นำไปใช้กับตนเอง ครอบครัว ขยายวงไประดับ Global ส่วน good governance มุ่งประเทศไทยใสสะอาด ปฏิรูปจิตสำนึก โครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจสังคม การศึกษา กฎหมาย ตั้งเครือข่ายต่อต้านคอรัปชั่นระดับชาติ สร้างค่านิยมพอเพียง ประเทศไทยต้องขับเคลื่อนด้วยพลังคุณธรรม จริยธรรมทุกระดับ ผู้นำทางการเมืองต้องซื่อสัตย์และทำงานเพื่อส่วนรวม คนเก่งจำเป็นต้องมีจริยธรรม การปลูกฝังมาจากหลายแหล่ง เช่น ครอบครัว วัด โรงเรียน ต้องทำร่วมกันทุกภาคส่วน คุณธรรมเป็นส่วนหนึ่งของศาสตร์พระราชา ส่งเสริมคนดีให้    มีบทบาท

          บุคคลต้นแบบ ประกอบด้วย ศ.ดร.ปรีดี พนมยงค์ เป็นสุภาพบุรุษ ให้เกียรติภรรยา สร้างโอกาสให้คนในสังคม ท่านเป็นผู้ประศาสน์การธรรมศาสตร์ คนจนเข้าถึงการศึกษาได้ ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์ เน้นธรรมะ ธรรมะคือธรรมชาติ ยุติธรรมคือยุติโดยธรรม มีเมตตา พระองค์วรรณ มีปิยวาจา เป็นราชบัณฑิตและนักการทูต ฟังทุกอย่างรอบด้าน ไม่ว่าเป็นคนระดับใด ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มีความกล้า วิสัยทัศน์ ปฏิบัติจริง แสดงจุดยืนโดยสันติ ทั้ง      4 ท่าน มีความดีและผ่านสิ่งต่างๆ กว่าจะบรรลุเป้าหมาย แสดงถึง passion

สิ่งที่ประทับใจและการนำไปใช้ประโยชน์

          การเรียนในครั้งนี้ทำให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของทุนทางจริยธรรม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างและพัฒนาทุนมนุษย์ ใน 8K’s และ 5K’s การปลูกฝังทุนทางจริยธรรม ทำให้เป็นทั้งคนเก่งคนดี นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ตัวอย่างในการใช้ชีวิตและการทำงานที่ดีของอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 4 คน ความสำคัญ และองค์ประกอบของเครือข่ายที่ใช้ในการทำงาน

***********************************************************************************************************

วันที่ 25 มีนาคม 2561 (ครั้งที่ 8)

สรุปสาระสำคัญของความรู้ที่ได้รับ

การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

           Dave Ulrich ได้ระบุว่าต่อไป HR จะเป็น Global Business แนวคิดของ Ulrich หรือของอาจารย์จีระ สามารถประยุกต์ใช้กับทุกประเทศได้ มีเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดอยู่คือ 2R’s ต้องเข้าใจบริบทประเทศเหล่านั้น เช่น ปัญหาในระดับ Macro ได้แก่ การศึกษา สาธารณสุข เป็นต้น รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คือ วัฒนธรรม วิถีชีวิต กฎหมายแรงงาน นอกจากนี้ยังมีการเรียนรู้ใน ครอบครัว การศึกษา Lifelong Learning มีการเน้น 8K’s 5K’s

          หลักการ HR คือ ปลูก เก็บเกี่ยว Execution คือ การเอาชนะอุปสรรค ประสบความสำเร็จ ต้องมีผู้นำ ขจัดอุปสรรคต่างๆ CEO ต้องเก่งเรื่องคน เมืองไทยมองคนเป็นปัญหาไม่ใช่โอกาส หลักการ HR แต่ละประเทศมี   ตัวละครเหมือนกันคือ HR Manager Non-HR คนในบริษัทฝ่ายอื่นๆ ต้องได้รับการฝึกให้เข้าใจ CEO ต้องสนับสนุนให้มีวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ (Learning Culture)

          องค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญ กฎของ Peter Senge ประกอบด้วย Personal Mastery รู้อะไร   รู้ให้จริง ปัญหาคือ คนไทยชอบลอก แต่ควรทำความเข้าใจ มีการคิดหลากหลาย Shared Vision มีเป้าหมายร่วมกัน Team Learning เรียนรู้เป็นทีมช่วยเหลือกัน ปะทะกันทางปัญญา System Thinking มีระบบการคิด    มีเหตุมีผล การเรียนรู้ตามแนวคิดของ 4L’s ประกอบด้วย Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ Learning Opportunities สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้ ปะทะกันทางปัญญา และ Learning Communities สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ คิดว่าได้อะไรจากที่เรียนมา กัดไม่ปล่อย ติดตามใกล้ชิด แนวคิด 3L’s ประกอบด้วย learning from pain เรียนรู้จากความเจ็บปวด learning from experiences เรียนรู้จากประสบการณ์ และ Learning from listening เรียนรู้จากการรับฟัง

สิ่งที่ประทับใจและการนำไปใช้ประโยชน์

          องค์กรแห่งการเรียนรู้ นำไปเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในองค์กร เพื่อการพัฒนาองค์กร และการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน

***********************************************************************************************************

วันที่ 8 เมษายน 2561 (ครั้งที่ 9)

สรุปสาระสำคัญของความรู้ที่ได้รับ

การนำเสนอหนังสือเรื่อง Shift Ahead

          การติดตามสถานการณ์ในโลก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) มีผลต่อการจ้างงานอย่างไร และการเปลี่ยนแปลงของการค้าโลก ซึ่งต่อไปจะมี Employability คือ เด็กมหาวิทยาลัยอาจจะเป็นผู้ประกอบการ

          ภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำ ผู้นำต้องแก้วิกฤติให้ได้ ซึ่งวิกฤติมี 2 อย่างคือ วิกฤติมาแล้วมาอีก (Permanent Crisis) วิกฤติมาทุกรูปแบบเป็นทฤษฎีขนมชั้น (Multiple Crisis) ผู้นำต่างจากผู้บริหาร ผู้นำต้องทำมากกว่าผู้บริหาร ผู้นำต้องเน้นคน ผู้นำต้องคิดนอกกรอบ ผู้นำต้องฟังคน ผู้นำต้องมีอารมณ์ขัน ผู้นำต้องทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชารักและเคารพ และเสริมพลังให้กับผู้ตาม (Empower) คือการเก็บเกี่ยว ผู้นำต้องมีพลังทั้งกาย จิตและจิตวิญญาณ ผู้นำที่ดีต้องหาช่องทางให้ได้ ต้องเป็นผู้นำและผู้สอนในเวลาเดียวกัน ผู้นำต้องคาดเดาเหตุการณ์ในอนาคตได้ กระตุ้นให้คนอื่นเป็นเลิศได้ และสร้างโอกาสใหม่ ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ต้องสมถะ รับใช้ประชาชน ผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง ต้องเริ่มจากชนะเล็กๆ ก่อน อย่าทำคนเดียว และผู้นำต้องปรับ Mindset

สิ่งที่ประทับใจและการนำไปใช้ประโยชน์

          ความรู้ที่ได้รับในการเรียนครั้งนี้เป็นประเด็นที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของโลก ได้แก่ เทคโนโลยีและการค้า ที่จะส่งผลต่อสังคมและเศรษฐกิจ และการบริหารจัดการองค์กรให้สามารถอยู่รอด           ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการและการแก้ไขวิกฤติต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับผู้เรียนในการนำไปใช้ในหน่วยงาน และการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต

***********************************************************************************************************

วันที่ 29 เมษายน 2561 (ครั้งที่ 10)

สรุปสาระสำคัญของความรู้ที่ได้รับ

การไปร้านหนังสือและบ้านอาจารย์

          ในวันนี้ในช่วงเช้าเป็นวันทดสอบวิชาการจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคม จากนั้นในช่วงบ่าย นักศึกษาและอาจารย์ได้เดินทางไปที่ร้านหนังสือเอเชียบุ๊ค ห้างดิเอ็มโพเรี่ยม และร้านคิโนะคุนิยะ ห้างสยามพารากอน เพื่อเลือกซื้อหนังสือเกี่ยวกับการเรียนรู้วิชาการจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคม และได้เดินทางไปที่บ้านของอาจารย์ เพื่อพบปะพูดคุยกันระหว่างอาจารย์และเพื่อนๆนักศึกษาที่เรียนด้วยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

สิ่งที่ประทับใจและการนำไปใช้ประโยชน์

          การที่ได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนระหว่างอาจารย์กับเพื่อนๆนักศึกษาที่เรียนด้วยกัน ทำให้เกิดการถกเถียงแลกเปลี่ยนข้อมูล และปะทะกันทางความคิดเห็นในเรื่องราวต่างๆ เพื่อเปิดมุมมองอีกด้านหนึ่งให้สามารถนำไปเป็นความรู้ในการพัฒนาตนเองต่อไป รวมไปถึงเป็นการเพิ่มความสนิทสนมกันระหว่างเพื่อนๆ และระหว่างลูกศิษย์กับอาจารย์ด้วย

***********************************************************************************************************


นายสนิท ขาวสอาด

วิชา การจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคม

หลักสูตร การจัดการนวัตกรรม

วันที่ 21 มกราคม 2561 (ครั้งที่ 1)

สรุปสาระสำคัญของความรู้ที่ได้รับ

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ

            HR Architecture เป็นแนวทางในการมองภาพรวมของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งในภาพใหญ่ (Macro) คือ ระดับประเทศ สังคม ชุมชน และในระดับองค์กร (Micro)

           ทฤษฎี 4 L’s เพื่อการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี, Learning Environment สร้างบรรยากาศการเรียนรู้, Learning Opportunities สร้างโอกาสการเรียนรู้, Learning Communities เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

           ทฤษฎี 2 R’s เพื่อการมอง วิเคราะห์ปัญหา และการเรียนรู้ ประกอบด้วย Reality มองตามความเป็นจริง, Relevance วิเคราะห์ให้ตรงประเด็น

           ทฤษฎี 2 I’s เพื่อการเรียนรู้และสร้างพลังในการทำงาน ประกอบด้วย Inspiration จุดประกายสร้างแรงบันดาลใจการทำงาน, Imagination สร้างจินตนาการเชิงสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

           ทฤษฎี 3 V เพื่อการสร้างมูลค่า ประกอบด้วย Value Added การสร้างมูลค่าเพิ่ม, Value Creation การสร้างคุณค่าใหม่ผ่านความคิดนอกกรอบ, Value Diversity การสร้างคุณค่าจากความหลากหลายรอบๆตัว

           ทฤษฎี 3 L’s เพื่อการทำงานยุคใหม่ ประกอบด้วย Learning from pain เรียนรู้จากความเจ็บปวด, Learning from experience เรียนรู้จากประสบการณ์, Learning from listening เรียนรู้จากการรับฟัง

           ทฤษฎี C&E เพื่อการเรียนรู้และการทำงานยุคใหม่ ประกอบด้วย Connecting การติดต่อ/เชื่อมต่อกันทั้งในด้านการสื่อสาร ความสัมพันธ์ และข้อมูล, Engaging การมีส่วนร่วมในการทำงาน วางแผน และตัดสินใจ

           ทฤษฎี C-U-V เพื่อการเรียนรู้และเป็นกุญแจสำคัญไปสู่ความสำเร็จ ประกอบด้วย Copy  เลียนแบบน้อยๆ, Understanding เข้าใจมากๆ, Value added/Value Creation/Value Diversity สร้างคุณค่าเพิ่มบ่อยๆ

          ทฤษฎี HRDS เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข ประกอบด้วย Happiness การสร้างความสุขเพื่อส่วนรวม, Respect การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน, Dignity การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน, Sustainability ความยั่งยืนซึ่งเราจะมองไปถึงเป้าหมายระยะยาว

          นอกเหนือจากทฤษฎีข้างต้น ยังมีทฤษฎี 3 วงกลม, ทฤษฎี 8 K’s, 5 K’s เป็นทฤษฎีสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคมในยุคปัจจุบัน ซึ่งจะได้ใช้ในการเรียนรู้ในวิชานี้ต่อไป

สิ่งที่ประทับใจและการนำไปใช้ประโยชน์

          การเรียนครั้งนี้ทำให้ได้เรียนรู้และรู้จักทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชาการจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคม ซึ่งจะทำให้มีความเข้าใจถึงที่มาที่ไปของความคิด แนวทาง ที่จัดทำขึ้นว่า เป็นมายังไง เมื่อนำไปถ่ายทอดความคิด แนวทาง ดังกล่าวนี้ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ก็จะทำให้สามารถถ่ายทอดได้อย่างดี นำไปสู่การเสนอแนวความคิดให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้เกิดการพัฒนาความรู้เพิ่มขึ้นในอนาคต และนำไปสู่การวิจัยต่อไปได้

***********************************************************************************************************

วันที่ 28 มกราคม 2561 (ครั้งที่ 2)

สรุปสาระสำคัญของความรู้ที่ได้รับ

ทฤษฎีการเก็บเกี่ยว (Harvesting) : ยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร

         การบริหารทุนมนุษย์แนว Chira Way ประกอบด้วย การปลูกฝัง คือ HR Development ต้องพัฒนาตลอดเวลา การเก็บเกี่ยว พัฒนาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในแต่ละบริบท ทำให้สำเร็จ มีวิธีการคือ ดูเรื่อง Mindset ของคน ในบริบท แต่ละคนก็คิดต่อได้ว่าจะนำอะไรมาทำให้สำเร็จ การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศ การจัดการศึกษาควรเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การเปลี่ยนแปลงแนวทางการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น การศึกษาในระบบเคลื่อนช้า ในขณะที่การศึกษานอกระบบ (กศน.) สามารถขับเคลื่อนได้มากขึ้น การปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาขาดการบูรณาการร่วมกับภาคส่วนต่างๆ และขาดความต่อเนื่อง ดังนั้น การปฏิรูปการศึกษาจึงควรเน้นให้มีการศึกษาตลอดชีวิต พัฒนาให้เป็นคนดีและตามด้วยเป็นคนเก่งตามลำดับ เพื่อให้เด็กมีความรู้และความสุขไปพร้อมกัน รวมถึงการมีทักษะชีวิตควบคู่ความรู้เชิงวิชาการ มุ่งเน้นให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง ครูเป็นผู้คอยสนับสนุน ส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ควรนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษาและพัฒนาคน นอกจากนี้ควรนำความรู้สมัยใหม่ไปประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาของชาวบ้าน เช่น การพัฒนาเกษตรกร และให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายในการบริหารจัดการศึกษา เพื่อให้ได้รับความรู้ และการสนับสนุนจากภายนอก                  

สิ่งที่ประทับใจและการนำไปใช้ประโยชน์

          การเรียนครั้งนี้ทำให้สามารถเข้าใจปัญหาการจัดการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทย ซึ่งผู้เรียนสามารถนำความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้การทำงาน การจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับพื้นที่ นำปัญหาและข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปจัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารจัดการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้

***********************************************************************************************************

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561 (ครั้งที่ 3)

สรุปสาระสำคัญของความรู้ที่ได้รับ

ทุนมนุษย์ของคนไทยในยุค Thailand  4.0 ทุนทางคุณธรรมจริยธรรมในยุคที่โลกเปลี่ยนกับการพัฒนา

          การลงทุนพัฒนาทุนมนุษย์ที่ดีก่อนเข้าสู่วัยทำงานในอนาคต ต้องมาจากการปลูกฝังมาตั้งแต่ก่อนการทำงาน นวัตกรรมเป็นเป้าหมาย แต่ขึ้นกับปลูก เก็บเกี่ยว และเอาชนะอุปสรรค

          การปฏิรูปการศึกษา ควรสอนให้ประยุกต์กับสภาพความเป็นจริง การใช้ภาษาอังกฤษ Wisdom ที่เกิดในห้องกับ Moment ที่เกิดในแต่ละครั้งควรคิดว่ามีผลกระทบอย่างไร และควรให้ความสำคัญกับคนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาหรือไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษา 2R’s และควรนำ 4L’s มาประยุกต์ใช้ในการปฏิรูประบบการศึกษา

          สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศทุนนิยม มุ่งทำกำไรสูงสุด แต่ในปัจจุบันเศรษฐศาสตร์ต้องเป็นสหวิทยาการ(Multidisciplinary) ศ.ดร.จีระ หงลดารมย์ เสนอให้ใช้เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ความสุข นอกจากนี้ศาสตร์พระราชาสามารถใช้ในการเติมเต็มความบกพร่องของระบบทุนนิยม เพื่อให้เกิดความยั่งยืน คิดถึงระดับรากหญ้านอกเหนือจากการเจริญเติบโตเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ความสำเร็จที่แท้จริงคือ Happiness and Sustainability

สิ่งที่ประทับใจและการนำไปใช้ประโยชน์

          การเรียนครั้งนี้ผู้เรียนได้รับความรู้ในเรื่องของสถานการณ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก่อนเข้าสู่วัยทำงาน จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง และนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ แนวทางการปฏิรูปการศึกษาต้องเน้นการนำการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในสภาพจริง การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนา ผู้เรียนสามารถที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง การจัดการความรู้และการศึกษาได้

***********************************************************************************************************

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561 (ครั้งที่ 4)

สรุปสาระสำคัญของความรู้ที่ได้รับ

การเรียนรู้ และ Workshop เรื่อง 8K’s และ 5K’s

          ทุนทางการเงิน เงินออมเป็นทุนทางการเงิน คนไทยมีการออมน้อย และมักจะกู้เงิน เป็นหนี้ ขาดความรู้ในการจัดการเงินกู้ ควรสอนความรู้ทางเงิน (Financial Literacy) ส่วนทุนมนุษย์เป็นคุณภาพของคน เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม 8K’s และ 5K’s Adam Smith ได้อธิบายเรื่องทุนมนุษย์ โดยยกตัวอย่างความแตกต่างระหว่างค่าจ้างของสองคน ต้องวัดจากค่าจ้าง เพราะแต่ละคนมีความรู้และทักษะมากกว่าอีกคนหนึ่ง วุฒิการศึกษาต่างกันค่าจ้างต่างกัน ส่วน Prof. Gary Becker ก็วิเคราะห์เรื่องของคน 2 คนเกิดมาเท่ากัน ได้รับการลงทุนการศึกษา โภชนาการ ครอบครัวไม่เท่ากัน เมื่อเข้าทำงานแล้ว ค่าจ้างอาจจะไม่เท่ากัน คนมีการศึกษาสูงก็มีรายได้มากขึ้น Paul Schultz กล่าวว่า ถ้านำชาวนา 2 คนมาเปรียบเทียบ และถ้าคนใดมีความรู้และปัญญามากกว่า ผลผลิตของสินค้าเกษตรสูงกว่า แสดงว่ามีความสามารถมากกว่า จึงเป็นที่มาของ Smart Farmers ปัจจุบันการวิเคราะห์ทุนมนุษย์เปลี่ยนแปลงมาก การมองจำนวนปีที่เรียนและวุฒิการศึกษามีความสำคัญน้อย พบว่า คนเรียนน้อยอาจจะมีคุณภาพดีมากกว่าคนที่เรียนมากก็ได้ จึงคำพูดว่า “ปัญญาอาจจะไม่ใช่ปริญญา” การเรียนในห้องเรียนควรจะให้ทั้งปัญญาและใบปริญญาจึงจะคุ้มค่า คนเรียนจบปริญญาเอกอาจไม่ได้ดีกว่าคนจบปริญญาตรี แต่ขึ้นอยู่กับคุณภาพ มีทุนทางปัญญา หมายถึง คิดเป็น วิเคราะห์เป็น แก้ปัญหาเป็น มองอนาคตเป็น ทุนแห่งความสุข ไม่ใช่เพียงแค่ Happy Workplace (มีความสุขในที่ทำงาน) ต้องมี Happiness at work หมายถึงชอบในงานที่ทำ ทุนทางสังคม เครือข่าย Networking คือสิ่งสำคัญ มีการไว้เนื้อเชื่อใจ ความอดทน และแบ่งปันต้นทุนและกำไร ทุนแห่งความยั่งยืนต้องคิดถึงระยะยาว ทุนทางอารมณ์เป็นเรื่องสำคัญมากเช่นกัน บางคนเก่งมากแต่อารมณ์ร้อน จึงไม่ประสบความสำเร็จ

สิ่งที่ประทับใจและการนำไปใช้ประโยชน์

          ผู้เรียนเห็นว่าแนวทางการมองทุนมนุษย์และการพัฒนาทุนมนุษย์จะสามารถนำไปใช้เป็นแนวคิดในการพัฒนาตนเองและทรัพยากรมนุษย์ในหน่วยงานได้ โดยเฉพาะการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการพัฒนาคน

***********************************************************************************************************

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2561

งดคลาส

***********************************************************************************************************

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561 (ครั้งที่ 5)

สรุปสาระสำคัญของความรู้ที่ได้รับ

การนำเสนอหนังสือเรื่อง 8K’s และ 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

8K’s พื้นฐานเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ ประกอบด้วย

       1. ทุนมนุษย์ (Human Capital) ซึ่งของProf. Gary Becker เน้นการทุ่มเงินไปพัฒนาคน ลงทุนการศึกษาให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษา ส่วนของอาจารย์จีระ เน้นวิธีการเรียนรู้ มีสมรรถนะ และทักษะ

       2. ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) หากจะทำให้เกิดทุนทางปัญญาต้องทำให้คิดเป็น โดยใช้เครื่องมือคือ 4L’s ได้แก่ Learning Methodology Learning Environment Learning Opportunities Learning Communities และ 2R’s คือ Reality และRelevance

      3. ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) คิดดี ทำดี เพื่อส่วนรวม มีจิตสาธารณะทำได้โดยมีศีล สมาธิ ปัญญา

      4. ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ความสมดุลในชีวิตและการงาน

      5. ทุนทางสังคม (Social Capital) ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพก็ต้องมีเครือข่ายคุณค่าต่อการทำงาน

      6. ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability Capital) การมองอนาคตเชื่อมโยงกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

      7. ทุนทางเทคโนโลยี (Digital Capital) มีเรียนรู้ ค้นคว้า แสวงหาข้อมูลที่ทันสมัย โดยใช้เทคโนโลยี

      8. ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Talented Capital) ความรู้ ทักษะ และทัศนคติ สามารถพัฒนาได้

5K’s ประกอบด้วย Creativity Capital ทุนทางความคิดสร้างสรรค์, Knowledge Capital ทุนทางความรู้, Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม, Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม, Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

สิ่งที่ประทับใจและการนำไปใช้ประโยชน์

          การได้รับความรู้เกี่ยวกับ 8K’s และ5K’s ทำให้ทราบถึงพื้นฐานของการพัฒนาทุนมนุษย์ ทั้งในระดับตนเอง องค์กร และสังคม เพื่อความสุขและความยั่งยืน

***********************************************************************************************************

วันที่ 4 มีนาคม 2561

งดคลาส

***********************************************************************************************************

วันที่ 11 มีนาคม 2561 (ครั้งที่ 6)

สรุปสาระสำคัญของความรู้ที่ได้รับ

นวัตกรรมการจัดการทุนมนุษย์เพื่อสังคมสู่ความยั่งยืนในระดับองค์กรและระดับสังคม

            Gary Becker ได้เน้นการลงทุนการศึกษา โภชนาการ การฝึกอบรม การเลี้ยงดูของครอบครัว ซึ่งทำให้เกิดคุณภาพของทุนมนุษย์ และเน้นเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ในการวัดระดับการศึกษา คนมีระดับการศึกษาสูงมีรายได้มากกว่าคนจบการศึกษาน้อย แต่อาจารย์จีระมองว่าคนไม่จบปริญญาก็มีรายได้สูงได้ เช่น Bill Gates หรือ Steve Jobs ซึ่งตรงกับ 8K’s และ 5K’s การสร้างทุนมนุษย์ แสดงให้เห็นว่าการมีปัญญาไม่ใช่ปริญญา แม้ไม่จบปริญญา  ก็สามารถสร้างรายได้ นำไปสู่ทุนทางปัญญา ซึ่งขึ้นอยู่กับวิธีเรียน learning how to learn ให้คิดวิเคราะห์เป็น ก่อนหน้านี้การลงทุนในทุนมนุษย์วัดด้วยปริมาณ เช่น จำนวนปีที่เรียน เป็นต้น แต่ในปัจจุบันนอกจากจำนวนปีที่เรียนต้องวัดจากวิธีการเรียนที่ดีด้วย

            นอกจากนี้เราสามารถสร้างความคิดได้ตลอดเวลาเกิดเป็นภูมิปัญญา ประธานาธิบดี สีจิ้นผิง เน้นการพัฒนาทุนมนุษย์ โดยคนจีนต้องปรับตัวรองรับความเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงเร็ว ไม่แน่นอนและคาดการณ์ไม่ได้ มนุษย์ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม และต้องเป็นมืออาชีพเพื่อปกป้องประเทศตน พร้อมทั้งเป็นพลเมืองดี

           Timothy Sharp ได้กล่าวถึงวิธีทำงานให้มีความสุข อาจารย์จีระเน้นว่า ต้องทำตัวตัวเราให้มีความสุขก่อน เช่น การไม่โกรธ การมีสมาธิ ต้องแยก happy workplace และ happy at work สร้างความสมดุลงานและชีวิต และสร้าง P and M ในการทำงาน คือ Passion ทำงานแบบมีความสุข Purpose เป้าหมายการทำงาน Meaning ทำงานที่มีความหมายและคุณค่า

           การสร้างความคิดใหม่แล้วนำไปประยุกต์กับความจริง 2R’s จึงสำคัญ นวัตกรรมเป็นพฤติกรรม Means ส่วน Sustainability objective นวัตกรรมไม่ใช่ผลสุดท้ายเท่านั้น แต่รวมถึง Innovative Management

สิ่งที่ประทับใจและการนำไปใช้ประโยชน์

          การเรียนครั้งนี้ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในความสำคัญของวิธีการเรียนรู้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แนวทางการทำงานให้มีความสุข และการคิดเรื่องนวัตกรรมและความยั่งยืน

***********************************************************************************************************

18 มีนาคม 2561 (ครั้งที่ 7)

สรุปสาระสำคัญของความรู้ที่ได้รับ

การนำเสนอหนังสือเรื่อง พลังแห่งคุณธรรมจริยธรรม และการสร้างทุนทางเครือข่าย (Networking Capital)

         รากฐานทุนทางจริยธรรมเป็นเรื่องสำคัญในการคิดดี ทำดี โปร่งใส ทุนนิยมสามานย์ทำให้คนเห็นแก่เงิน การเรียนยุคใหม่ต้องสร้างความคิดใหม่ ซึ่งมาจาก Reality ของแต่ละคน ทุนทางจริยธรรมเป็นส่วนหนึ่งของ 8K’sและ 5K’s การริเริ่มทางจริยธรรม มาจากปัญหาการเมือง จริยธรรมคือการประพฤติดี นำไปสู่สังคมประเทศชาติได้ การปลูกฝังทุนทางจริยธรรมและทุนทางวัฒนธรรม ต้องมีระบบความเชื่อและภูมิปัญญา จารีต การเรียนรู้ ค่านิยม ข้อห้าม เช่น วัฒนธรรมของหลักศาสนาอิสลามไม่เน้นวัตถุนิยม ค่อนข้างประหยัดและมีวินัย เป็นต้น คนไทยสร้างแรงบันดาลใจ นำไปใช้กับตนเอง ครอบครัว ขยายวงไประดับ Global ส่วน good governance มุ่งประเทศไทยใสสะอาด ปฏิรูปจิตสำนึก โครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจสังคม การศึกษา กฎหมาย ตั้งเครือข่ายต่อต้านคอรัปชั่นระดับชาติ สร้างค่านิยมพอเพียง ประเทศไทยต้องขับเคลื่อนด้วยพลังคุณธรรม จริยธรรมทุกระดับ ผู้นำทางการเมืองต้องซื่อสัตย์และทำงานเพื่อส่วนรวม คนเก่งจำเป็นต้องมีจริยธรรม การปลูกฝังมาจากหลายแหล่ง เช่น ครอบครัว วัด โรงเรียน ต้องทำร่วมกันทุกภาคส่วน คุณธรรมเป็นส่วนหนึ่งของศาสตร์พระราชา ส่งเสริมคนดีให้    มีบทบาท

          บุคคลต้นแบบ ประกอบด้วย ศ.ดร.ปรีดี พนมยงค์ เป็นสุภาพบุรุษ ให้เกียรติภรรยา สร้างโอกาสให้คนในสังคม ท่านเป็นผู้ประศาสน์การธรรมศาสตร์ คนจนเข้าถึงการศึกษาได้ ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์ เน้นธรรมะ ธรรมะคือธรรมชาติ ยุติธรรมคือยุติโดยธรรม มีเมตตา พระองค์วรรณ มีปิยวาจา เป็นราชบัณฑิตและนักการทูต ฟังทุกอย่างรอบด้าน ไม่ว่าเป็นคนระดับใด ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มีความกล้า วิสัยทัศน์ ปฏิบัติจริง แสดงจุดยืนโดยสันติ ทั้ง      4 ท่าน มีความดีและผ่านสิ่งต่างๆ กว่าจะบรรลุเป้าหมาย แสดงถึง passion

สิ่งที่ประทับใจและการนำไปใช้ประโยชน์

          การเรียนในครั้งนี้ทำให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของทุนทางจริยธรรม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างและพัฒนาทุนมนุษย์ ใน 8K’s และ 5K’s การปลูกฝังทุนทางจริยธรรม ทำให้เป็นทั้งคนเก่งคนดี นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ตัวอย่างในการใช้ชีวิตและการทำงานที่ดีของอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 4 คน ความสำคัญ และองค์ประกอบของเครือข่ายที่ใช้ในการทำงาน

***********************************************************************************************************

วันที่ 25 มีนาคม 2561 (ครั้งที่ 8)

สรุปสาระสำคัญของความรู้ที่ได้รับ

การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

           Dave Ulrich ได้ระบุว่าต่อไป HR จะเป็น Global Business แนวคิดของ Ulrich หรือของอาจารย์จีระ สามารถประยุกต์ใช้กับทุกประเทศได้ มีเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดอยู่คือ 2R’s ต้องเข้าใจบริบทประเทศเหล่านั้น เช่น ปัญหาในระดับ Macro ได้แก่ การศึกษา สาธารณสุข เป็นต้น รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คือ วัฒนธรรม วิถีชีวิต กฎหมายแรงงาน นอกจากนี้ยังมีการเรียนรู้ใน ครอบครัว การศึกษา Lifelong Learning มีการเน้น 8K’s 5K’s

          หลักการ HR คือ ปลูก เก็บเกี่ยว Execution คือ การเอาชนะอุปสรรค ประสบความสำเร็จ ต้องมีผู้นำ ขจัดอุปสรรคต่างๆ CEO ต้องเก่งเรื่องคน เมืองไทยมองคนเป็นปัญหาไม่ใช่โอกาส หลักการ HR แต่ละประเทศมี   ตัวละครเหมือนกันคือ HR Manager Non-HR คนในบริษัทฝ่ายอื่นๆ ต้องได้รับการฝึกให้เข้าใจ CEO ต้องสนับสนุนให้มีวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ (Learning Culture)

          องค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญ กฎของ Peter Senge ประกอบด้วย Personal Mastery รู้อะไร   รู้ให้จริง ปัญหาคือ คนไทยชอบลอก แต่ควรทำความเข้าใจ มีการคิดหลากหลาย Shared Vision มีเป้าหมายร่วมกัน Team Learning เรียนรู้เป็นทีมช่วยเหลือกัน ปะทะกันทางปัญญา System Thinking มีระบบการคิด    มีเหตุมีผล การเรียนรู้ตามแนวคิดของ 4L’s ประกอบด้วย Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ Learning Opportunities สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้ ปะทะกันทางปัญญา และ Learning Communities สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ คิดว่าได้อะไรจากที่เรียนมา กัดไม่ปล่อย ติดตามใกล้ชิด แนวคิด 3L’s ประกอบด้วย learning from pain เรียนรู้จากความเจ็บปวด learning from experiences เรียนรู้จากประสบการณ์ และ Learning from listening เรียนรู้จากการรับฟัง

สิ่งที่ประทับใจและการนำไปใช้ประโยชน์

          องค์กรแห่งการเรียนรู้ นำไปเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในองค์กร เพื่อการพัฒนาองค์กร และการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน

***********************************************************************************************************

วันที่ 8 เมษายน 2561 (ครั้งที่ 9)

สรุปสาระสำคัญของความรู้ที่ได้รับ

การนำเสนอหนังสือเรื่อง Shift Ahead

          การติดตามสถานการณ์ในโลก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) มีผลต่อการจ้างงานอย่างไร และการเปลี่ยนแปลงของการค้าโลก ซึ่งต่อไปจะมี Employability คือ เด็กมหาวิทยาลัยอาจจะเป็นผู้ประกอบการ

          ภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำ ผู้นำต้องแก้วิกฤติให้ได้ ซึ่งวิกฤติมี 2 อย่างคือ วิกฤติมาแล้วมาอีก (Permanent Crisis) วิกฤติมาทุกรูปแบบเป็นทฤษฎีขนมชั้น (Multiple Crisis) ผู้นำต่างจากผู้บริหาร ผู้นำต้องทำมากกว่าผู้บริหาร ผู้นำต้องเน้นคน ผู้นำต้องคิดนอกกรอบ ผู้นำต้องฟังคน ผู้นำต้องมีอารมณ์ขัน ผู้นำต้องทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชารักและเคารพ และเสริมพลังให้กับผู้ตาม (Empower) คือการเก็บเกี่ยว ผู้นำต้องมีพลังทั้งกาย จิตและจิตวิญญาณ ผู้นำที่ดีต้องหาช่องทางให้ได้ ต้องเป็นผู้นำและผู้สอนในเวลาเดียวกัน ผู้นำต้องคาดเดาเหตุการณ์ในอนาคตได้ กระตุ้นให้คนอื่นเป็นเลิศได้ และสร้างโอกาสใหม่ ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ต้องสมถะ รับใช้ประชาชน ผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง ต้องเริ่มจากชนะเล็กๆ ก่อน อย่าทำคนเดียว และผู้นำต้องปรับ Mindset

สิ่งที่ประทับใจและการนำไปใช้ประโยชน์

          ความรู้ที่ได้รับในการเรียนครั้งนี้เป็นประเด็นที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของโลก ได้แก่ เทคโนโลยีและการค้า ที่จะส่งผลต่อสังคมและเศรษฐกิจ และการบริหารจัดการองค์กรให้สามารถอยู่รอด           ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการและการแก้ไขวิกฤติต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับผู้เรียนในการนำไปใช้ในหน่วยงาน และการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต

***********************************************************************************************************

วันที่ 29 เมษายน 2561 (ครั้งที่ 10)

สรุปสาระสำคัญของความรู้ที่ได้รับ

การไปร้านหนังสือและบ้านอาจารย์

          ในวันนี้ในช่วงเช้าเป็นวันทดสอบวิชาการจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคม จากนั้นในช่วงบ่าย นักศึกษาและอาจารย์ได้เดินทางไปที่ร้านหนังสือเอเชียบุ๊ค ห้างดิเอ็มโพเรี่ยม และร้านคิโนะคุนิยะ ห้างสยามพารากอน เพื่อเลือกซื้อหนังสือเกี่ยวกับการเรียนรู้วิชาการจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคม และได้เดินทางไปที่บ้านของอาจารย์ เพื่อพบปะพูดคุยกันระหว่างอาจารย์และเพื่อนๆนักศึกษาที่เรียนด้วยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

สิ่งที่ประทับใจและการนำไปใช้ประโยชน์

          การที่ได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนระหว่างอาจารย์กับเพื่อนๆนักศึกษาที่เรียนด้วยกัน ทำให้เกิดการถกเถียงแลกเปลี่ยนข้อมูล และปะทะกันทางความคิดเห็นในเรื่องราวต่างๆ เพื่อเปิดมุมมองอีกด้านหนึ่งให้สามารถนำไปเป็นความรู้ในการพัฒนาตนเองต่อไป รวมไปถึงเป็นการเพิ่มความสนิทสนมกันระหว่างเพื่อนๆ และระหว่างลูกศิษย์กับอาจารย์ด้วย

***********************************************************************************************************


กฤช วีระพลพล แก้วกลาง

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 2 วันที่ 28 มกราคม 2561

          จากปรัชญาความเชื่อว่าคนเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดขององค์กร การมองคนให้มองว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า มีศักดิ์ศรี มิใช่มีเพียงคุณค่าในฐานะการเป็นปัจจัยในการผลิต ดังนั้น จึงต้องมีการลงทุนในทุนมนุษย์ ในหลักการบริหารทุนมนุษย์แบบ Chira Way ไม่ว่าจะเริ่มต้นตั้งแต่ระดับครอบครัว ลงทุนด้านการศึกษา โภชนาการ และด้านอื่นๆ ซึ่งต้องพัฒนาและกระทำอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เรียกว่าเป็นการปลูก หรือ HR Development และเมื่อพัฒนาและนำทุนมนุษย์เหล่านั้นมาใช้ในแต่ละบริบท เรียกว่า การเก็บกี่ยว ทุนมนุษย์ที่มีคุณค่านั้นเมื่อถูกนำมาใช้อย่างเป็นผลสำเร็จก็จะเกิดประโยชน์ตั้งแต่ระดับองค์กรเล็กๆ หรือ Micro เรือยไปจนถึงระดับชาติ ระดับโลกหรือระดับ Macro

          หลักทฤษฎี 4 L’s (Learning Methodologies, Learning Environment, Learning Opportunities, Learning Communities) สามารถนำมาใช้ โดยเน้นกระบวนการกระตุ้นให้เกิดวิธีการและให้คิด การสร้างบรรยากาศการเรียนให้สนุกและน่าสนใจ การให้โอกาสทุกคนเป็นตัวละครที่ได้แสดงความคิดเห็น ไม่ใช่อย่างที่มักเกิดขึ้นเมื่อมีการพบปะกันระหว่างภาครัฐ เอกชนและชาวบ้าน ซึ่งชาวบ้านมักเงียบ ผู้ใหญ่เจ้าหน้าที่รัฐพูดเพียงฝ่ายเดียว ไม่เกิดการปะทะทางปัญญา ไม่เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกัน เพราะถ้าหากมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก็จะทำสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ขึ้น ท่านอาจารย์กล่าวว่า หลักสูตรการเรียนของเราต้องมองตั้งแต่ระดับนโยบายรัฐ คือให้คิดถึงระดับประเทศ ก่อนที่จะมาถึงองค์กร

          การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางด้านการศึกษาซึ่งเป็นรากฐานการสร้างคนเพื่อการพัฒนาประเทศ  การปฏิรูปการศึกษาจึงจำเป็นต้องร่วมมือกันในทุกหน่วยงานมิใช่ เฉพาะแค่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโดยตรงกับการศึกษาเท่านั้น อีกทั้งต้องทำอย่างต่อเนื่อง การปรับเปลี่ยนจะต้องทันยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลง เช่นการสร้างโปรแกรมสำเร็จรูปให้เด็กสามารถเรียนเองได้ สร้างความเพลิดเพลินแก่เด็ก

          ในปัจจุบันการเลือกที่จะพัฒนาเด็กนั้นเลือกในส่วนของคุณธรรมหรือคนดีก่อน เพราะสามารถพัฒนาให้เก่งได้ โดยปัจจัยที่ช่วยทำให้เป้าหมายนี้บรรลุผลได้คือ ต้องมีการบริหารจัดการ มีเครือข่าย มีงบประมาณ การลงทุนน้อยแต่ให้ได้ผลตอบแทนและต้องมีหลักสูตร การศึกษาต้องทำต่อเนื่องตลอดชีวิต (Lifelong Learning) อีกทั้งต้องไม่ลืมให้การสนับสนุนแก่เด็กที่ขาดโอกาสทางด้านทุนทรัพย์ตั้งแต่ระดับอนุบาลเลย

          นอกจากนั้นบุคคลากรครูก็ต้องปฏิรูปให้การสนับสนุนและพัฒนาครูทั้งระบบในเชิงสาระ พฤติกรรมอย่างต่อเนื่องเช่นกัน การสร้างขวัญและกำลังใจให้ครู ยกฐานะครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง ครูผ้สอนต้องมีโลกทัศน์ที่เปิดกว้าง เพราะครูมีส่วนสร้างให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ กล้าแสดงความคิดเห็น

 

Kris Weerapalaphon  Kaewklang (กฤช วีระพลพล  แก้วกลาง) 60484945024

Ph.D.Innovation 16 : Suan Sunandha Rajabhat University

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 3 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561

          แต่ละสัปดาห์ที่ผ่านไปขอให้ทุกคนทบทวนให้รอบคอบว่าทำอะไรไปบ้างและมีประโยชน์ต่อตนเอง

สัปดาห์แรกก็พูดถึงหลักสูตรนี้ Chira Way ทุกคนได้แนะนำตัวแล้วแบ่งความรู้

          ครั้งที่สอง ฟังเทปการศึกษาแล้วทุกคนออกความเห็นด้านการปฏิรูปการศึกษา นอกจากการศึกษา มีตัวอย่างอื่นๆที่ลงทุนเรื่องคนด้วย เช่น บทบาทของครอบครัวที่ต้องปลูกฝัง เรื่องสุขภาพ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องการลงทุนพัฒนาทุนมนุษย์ก่อนเข้าสู่วัยทำงาน ในอนาคต หลักสูตรแบบนี้ก็ขยายเป็น Macro และ Micro

          เรื่อง Macro อีกเรื่องคือสื่อ ตอนนี้มีวิเคราะห์แล้ว social media มีดีและเสีย ทำให้เด็กยุคต่อไปถูกอิทธิพลเหล่านี้ ตอนนี้สังคมไทยคิดไม่เป็น เมื่อทำเรื่องการปฏิรูปการศึกษาแล้ว จะนำความเห็นทุกคนมาเป็นแก่นแล้วแบ่งปันไปให้คนอื่นเป็นผลงานรุ่นด้วย

          การพัฒนาทุนมนุษย์ที่ดีต้องมาจากการปลุกฝังมาตั้งแต่ก่อนทำงาน ต้องช่วยกันทำ นวัตกรรมเป็นเป้าหมาย แต่ขึ้นกับปลูก เก็บเกี่ยวและเอาชนะอุปสรรค

          อาจารย์จีระ ได้ขอให้อาจารย์พิชญ์ภูรีร่างแนวทาง Chira Way ขอให้นักศึกษาวิจารณ์ ลูกศิษย์ชื่อ คุณศรัณย์ไปเยี่ยมอาจารย์จีระที่บ้าน ก็สนใจฟังรายวิทยุแล้วส่งไลน์มาบอกว่า อาจารย์มีประสบการณ์ที่รรมศาสตร์แล้วก็เดินทางบ่อยมี global view เคยเป็นประธาน APEC HRD กลุ่ม APEC เป็นการรวมตัวของ 21 เศรษฐกิจ มีการประชุม summit ทุกปี มีกรรมการรับผิดชอบในแต่ละเรื่อง อาจารย์จีระทำ HRD  จึงมีโอกาสได้ปะทะทางปัญญา เวลาคนที่คนผิวเหลืองเป็นประธาน มี Bias มาก คนผิวขาวรวมตัวโหวตเป็นบล๊อก

          ในด้านการปฏิรูปการศึกษา อาจารย์จีระถามลูกน้องว่ามีความเห็นอย่างไร คุณวราพร บอกว่า ควรพัฒนาภาษาอังกฤษ อาจารย์จีระบอกว่า ควรสอนให้ประยุกต์การศึกษาให้ใช้กับสภาพความเป็นจริงให้ได้ คนไทยควรมีความสามารถไปพูดในการประชุมภาษาอังกฤษ อาจารย์จีระเคยจัดการประชุมนานาชาติที่เมืองไทย

          ชาวบ้าน ก็ยังคิดถึงอาจารย์จีระเมื่อได้ไปให้ความรู้แล้ว

          อาจารย์จีระ จะรับหน้าที่สอนปริญญาเอกให้ดีที่สุด หลักการเรียนคือทำให้เกิดปัญญาแล้วพัฒนาตัวเรา หลักสูตรนี้ไม่ได้มีความหมายเพียงแค่ได้ปริญญาอีกใบ อยากให้เป็นบรรยากาศการเรียนที่มีคุณค่าต่อนักศึกษา แม้เรียนแค่หลักสูตรเดียวก็เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า คนที่ไม่ได้มาเรียน ก็ขอให้ติดตามใกล้ชิด

          Wisdom ที่เกิดในห้องกับ Moment ที่เกิดในแต่ละครั้งควรนำคิดว่ามีผลกระทบอย่างไร ใช้ 2R’s ความจริงและตรงประเด็น แลกเปลี่ยนความรู้เป็นทีมในช่วงที่ไม่ได้เรียนกับอาจารย์

          กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับบทความเรื่อง ศาสตร์พระราชา ทรงเน้นทุนนิยมให้ทุกคนมีส่วนร่วมที่เต็มไปด้วยจริยธรรม มีการเคารพซึ่งกันและกัน มีความรักและความยั่งยืน ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า คอลัมน์บทเรียนจากความจริง วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2561

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          บทความนี้ลึกซึ้ง มีตัวอย่างหลายเรื่องประกอบ

          ในเรื่องปฏิรูปการศึกษา ควรทำเรื่องคนตกหล่นในระบบการศึกษา ควรทำเรื่อง 4L’s ในการปฏิรูประบบการศึกษา

          ทุกคนควรส่งไลน์ตอบว่า ควรจะปฏิรูปการศึกษาในด้านใดบ้างเพื่อให้เกิดผลอย่างแท้จริง

          อาจารย์ส่วนใหญ่สอนมีแต่สาระ แต่ขาดการสร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษา

 

คนที่ 1

          บทความกล่าวถึงเรื่อง Trump บริหารประเทศเน้นเศรษฐกิจและ America First ตอนที่ไปพูด Davos ก็บอกว่าทำอะไรให้อเมริกาบ้าง ทำให้บางบริษัทจ่ายโบนัสได้ ในส่วนทุนนิยมที่เขาทำเน้นความโลภ แต่เศรษฐกิจพอเพียงลดความเหลื่อมล้ำ ให้ทางเลือกด้านจิตใจ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ควรทำวิทยานิพนธ์ ศาสตร์พระราชา

          อเมริกาเป็นทุนนิยมสอนให้ทำกำไรสูงสุด แต่ตอนนี้เศรษฐศาสตร์ต้องเป็น Multidisciplinary

อาจารย์จีระใช้เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ความสุข เวลาที่มาเรียนแต่ละคนจะได้อิทธิพลจากเพื่อนที่มาร่วมด้วย

คุณพูดเหมือนคนที่อ่านหนังสือ เป็น wisdom ที่ได้แรงบันดาลใจจากบทความนี้

 

คนที่ 2

          Trump มองประโยชน์ของอเมริกาเป็นหลัก แต่ Macron มองโลกเป็นหลัก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          Trump นำอเมริกาออกจากข้อตกลง Climate change อเมริกาควรช่วยเรื่องนี้

 

คนที่ 3

          Trump ทำตัวเป็นผู้นำโลกว่า นำเสนอเป็นตัวเลขเปรียบเทียบ มองตนเองว่าประสบความสำเร็จ คนผิวดำไม่ได้เห็นด้วย

ต่างจากศาสตร์พระราชา คิดถึงระดับรากหญ้าด้วยนอกเหนือจากเศรษฐกิจอย่างเดียว

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ควรแยกสิ่งที่วัดได้และวัดไม่ได้

          สิ่งที่วัดไม่ได้มีใน HRDS ความสุข การเคารพนับถือ เกียรติและศักดิ์ศรีและความยั่งยืน

          ถูกใจความเห็นนี้มาก

 

คนที่ 4

          บทความนี้สะท้อนว่า ศาสตร์พระราชาเติมเต็มทุนนิยม  อเมริกาสุดโต่งไป ต้องมีความยั่งยืนด้วย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ตอนที่จัดสัมมนาระดับนานาชาติ มีทูตยุโรปจะเชิญอาจารย์จีระไปพูดที่ยุโรป ควรจะมีคนระดับหมอเกษมและดร.สุเมธไปพูดในระดับ Davos ด้วย ตอนนี้ระดับ UN เข้าใจแล้ว แต่นักธุรกิจยังไม่เข้าใจ ยังวัดจากตัวเลขมากกว่า

 

คนที่ 5

          น่าเห็นใจ Trump ถ้าเขาได้เรียน Chira Way กับอาจารย์คงไม่ถูกโจมตี Trump มองแต่ทุนนิยม และผลประโยชน์ต่ออเมริกา ไม่ได้มองความยั่งยืนของโลก ไม่รู้ว่าอเมริกาให้อะไรกับโลก HRDS, 2R’s สามารถนำไปตอบโจทย์ในโลกได้ จากการได้เรียนก็นำทฤษฎีไปเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ในโลก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          รุ่นนี้ได้ Chira Way และ แรงบันดาลใจ ควรเขียนหนังสือเป็นภาษาอังกฤษให้ฝรั่งอ่านบ้าง

          มารยาททางการเมืองสำคัญมาก ในการประชุม APEC มีอคติเกิดขึ้นตลอดเวลา

          ถ้าเรารู้น้อย ก็ทำได้ยาก หลักสูตรนี้ไม่ได้สอนให้เป็นอาจารย์หรือทำวิจัยเท่านั้น Wisdom ก็นำไปใช้ในชีวิตก็ได้

          ถ้า Trump คิดว่า คนอื่นเหมือนเขา ประเทศอยู่ไม่รอด

 

คนที่ 6

          ศาสตร์พระราชา เติมเต็มความเป็นมนุษย์ ถ้าเราคิดพัฒนาแล้วแบ่งปันให้คนอื่นเจริญ มีจิตใจมีคุณธรรม

          Trump เน้นต่างคนต่างทำ มองที่ตัวเลข ไม่คิดถึงคนอื่น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          Trump ต้องคิดถึงเกิดแก่เจ็บตาย คนแบบ Trump ไม่ได้มีบ่อย แสดงว่า ในอเมริกามีคนผิวขาวคลั่งความยิ่งใหญ่ในอดีต คนผิวขาวเหล่านี้เรียนจบมัธยมแล้วทำงานในโรงงานรถยนต์ ตอนหลังมีต่างชาติเข้ามาธุรกิจจึงล่ม เขาแค้นชาติอื่นๆ คนผิวขาวลืมตัวว่าเป็นผู้อพยพเหมือนกัน คนผิวขาวขวาจัด บ้าคลั่งศาสนา แต่สังคมไทยไม่เป็นแบบนั้น คนไทยมีความอดทนสูง มีหมอ ดาราเป็นเพศที่สามมากขึ้น แต่คนผิวขาวไม่เข้าใจพหุวัฒนธรรม Value Diversity คือการเข้าใจความหลากหลาย สังคมไทยไม่ควรจะเกิดการแบ่งแยกอีกครั้ง คนเราแตกต่างกันได้แต่ไม่ควรจะฆ่ากัน

          Wisdom ต้องนำมาประยุกต์กับความจริง โดยมาจากฐานข้อมูลที่มาเรียบเรียง ตอนท่ฟองสบู่แตก ถ้าไทยไม่มีเศรษฐกิจพอเพียงก็ไม่รอด

          พูดดีมาก

 

คนที่ 7

          Trump อยู่ในช่วง honeymoon มีอีโก้สูงมาก จะเน้นตัวเลขที่ดีขึ้นและคนชอบมาเสนอ

ศาสตร์พระราชาเน้นความยั่งยืนมากกว่า

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          Professor ที่ Harvard บอกว่า ความสำเร็จที่แท้จริงคือ Happiness and Sustainability คนที่เรียนจบ Harvard 5 ปีแรกมีความสุขงานทำดี ต่อมามีปัญหาครอบครัว โรคร้าย บางคนเข้าคุก เช่น ประธานเอ็นรอน ตอนหลังสังคมมีคนเข้าคุกมากขึ้น

          ตอนนี้มี Fintech ทำให้ธนาคารปลดคน ทำให้คิดถึง Employment and Employability ต้องมีความสามารถในการจ้างงานตนเองด้วย ช่วยกันทำงาน ไม่ควรประมาทกับชีวิต

 

คนที่ 8

          Trump อยู่ในช่วงที่ทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้

          ความดีกับความยั่งยืนนั้นวัดยาก คนที่ดูศาสตร์พระราชาที่ต่างจังหวัดก็ไม่เข้าใจแก่น

แล้ว Trump ก็จะเรียนรู้ทีหลัง

          นักธุรกิจมักดูผลลัพธ์วัตถุนิยม บางบริษัทก็ทำ CSR แต่ประชาชนก็ไม่ได้เรียนรู้ นายกรัฐมนตรีก็ดูแลความสุขของประชาชน มีศูนย์ดำรงธรรม โดยมีกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ประสานความร่วมมือ         

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ควรทำวิจัยเรื่อง ศูนย์ดำรงธรรม ควรแก้ปัญหาเด็กออกจากโรงเรียนกลางคัน

 

การนำเสนอหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

 

Present Group 1

แนวคิดทรัพยากรมนุษย์

          แนวคิดเดิมของทรัพยากรมนุษย์คิดถึงเรื่องแรงงานสัมพันธ์ มุ่งแก้ปัญหาความขัดแย้งด้านแรงงาน ยังเห็นว่าคนเป็นต้นทุนการผลิต ตอนนี้แนวคิดทรัพยากรมนุษย์ก็มีการเปลี่ยนแปลงว่า คนเป็นมูลค่าเพิ่ม คนเป็นผลกำไรขององค์กร จึงต้องดูแลเอาใจใส่เพิ่มศักยภาพคนอย่างจริงจังและเป็นระบบ

          แนวคิดทรัพยากรมนุษย์ของคุณพารณมองทรัพยากรมนุษย์เป็นมูลค่าเพิ่ม ต้องมีการพัฒนาทั้งระบบควบคู่ไปกับเรื่องจิตใจ ต้องมีการกระทำตนเป็นต้นแบบมีอยู่ 4 หัวข้อด้วยกัน

          1. มีแนวคิด 4 เก่ง 4 ดี

                    4 เก่งคือ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งเรียน

                    4 ดี ก็คือประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม

          2. ตระหนักในคุณค่าของคน คนมีค่ามากกว่าทรัพย์สินอื่นใดในองค์กร เพราะฉะนั้นต้องพัฒนาคนเรื่อยๆ และรักษาคนให้ดี          มีการลงทุนพัฒนาอบรม โดยที่ในปูนซิเมนต์ไทย มีการอบรมระดับล่าง กลาง บน นอกจากนั้นยังพัฒนาบุคคลที่เกี่ยวข้องกับองค์กรทั้งหมด เช่น Supplier ผู้รับเหมา ลูกค้า จะได้รับการพัฒนาได้รู้อะไรใหม่ๆอยู่เสมอ

3.สุดท้ายแนวคิดการทำงานเป็นทีม คุณพารณชอบให้ทำงานแบบ Participative

นวัตกรรมความคิดด้าน HR ของคุณพารณ

          1. Remind Management ทัศนคติการตักเตือนผู้บริหาร เวลาที่ส่งใครไปนอกองค์กรเพื่อเป็นผู้บุกเบิกในการทำกิจกรรมใหม่ ตอนที่คุณพารณยังไม่ได้มาทำงานในเรื่องการบริหารงานบุคคล ก็ปล่อยผู้บุกเบิกออกไปไม่รู้ว่าจะกลับมาส่วนกลางเมื่อใด แนวคิดนี้สร้าง Remind Management

          2. สร้าง Corporate Culture อุดมการณ์ในการทำธุรกิจ

          3. การเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement)

HR concept ของอาจารย์จีระ

          มีความเชื่อว่า คนเป็นทรัพยากรที่มีค่า เป็นทุนที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ เพราะฉะนั้นต้องยกระดับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือต้องมองในลักษณะองค์รวม มีการเงิน การตลาดและขีดความสามารถในการแข่งขันเป็นเรื่องสำคัญ จำเป็นต้องมีการลงทุนพัฒนาทุนมนุษย์

          ต้องพัฒนามนุษย์ให้เรียนรู้กระบวนการ ให้ชี้นำตัวเองและผู้อื่นได้ด้วย ไม่ต้องรอให้ใครมาสอน ช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นได้

ต้องสนใจเรื่องผลลัพธ์ เรื่องเก็บเกี่ยวเป็นเรื่องสำคัญ

ต้องมีการรับมือความเปลี่ยนแปลงได้

นวัตกรรมความคิดด้าน HR ของอาจารย์จีระ

          1.ในช่วงแรกที่ทำงาน มีเรื่อง labor productivity และแบ่งปันผลประโยชน์แก่ผู้ใช้แรงงาน

          2.โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้บริหารมหาวิทยาลัย

          3. การจัดตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปรัชญาทรัพยากรมนุษย์

          ไม่ใช่ Training แต่เป็นการเรียนรู้ ต้องรู้ตนเองก่อนว่า ตนอยู่ในระดับใด World Bank มีตัวชี้วัดเรื่องของคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ มีกรอบคือ

          1.คุณภาพของคน  อ่านออกเขียนได้เท่านั้นถือว่าไม่มีคุณภาพ

          2.คุณภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่องของการอยู่รอดในยุคโลกาภิวัตน์และเรื่องระบบการบริหารจัดการ

          ถ้าต้องการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ต้องใช้การศึกษาสร้างและลงทุน แล้วจะได้คนที่มีความสามารถในการเพิ่มผลผลิตก็คือการเก็บเกี่ยว ประเทศไทยมีปัญหาในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือมองว่าเป็นการลงทุนระยะยาวที่ไม่เห็นผล นอกจากนั้นการเก็บเกี่ยวจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไม่ชัดเจน เมื่อลงทุนไปแล้วก็ไม่รู้ว่าจะไปจากองค์กรหรือไม่ ต้องมีการบริหารจัดการคนโดยจะให้ความรู้และพัฒนาด้านจิตใจ และทุนทางปัญญาไปพร้อมกัน ถ้าให้ความรู้เฉพาะ คนก็จะอยู่กับองค์กร ถ้าให้ความรู้ทั่วไป คนมีสิทธิ์ที่จะลาจากองค์กร คุณธรรมทำให้มีความรักในองค์กรและอยู่กับองค์กรได้

ตัวอย่าง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของปูนซิเมนต์ไทย

          สะท้อนในอุดมการณ์การทำธุรกิจของบริษัทปูนซิเมนต์ไทยคือ ต้องมีตั้งมั่นในความเป็นธรรม มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ เชื่อมั่นในคุณค่าของคน  ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม แล้วแปรออกมาเป็นปรัชญาของปูนซิเมนต์ไทยคือ เชื่อมั่นในคุณค่าของคน พนักงานเปรียบเสมือนคนในครอบครัว และต้องรับผิดชอบต่อสังคมด้วย ทำให้บริษัทปูนซิเมนต์ไทยประสบความสำเร็จได้

          เมื่อมีทรัพยากรมนุษย์แล้ว ผู้บริหารระดับสูงต้องเชื่อว่าคนเป็น Asset และหัวใจขององค์กร มี 8K’s+5K’s สำหรับพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร

          8K’s ทุนมนุษย์ต้องมีปัญญา คุณธรรม ความสุข มีสังคม ความยั่งยืน ความเชี่ยวชาญดิจิตอล มีความสามารถ

          เมื่อมีโลกาภิวัตน์ ก็มี 5K’s ใหม่ ต้องความคิดสร้างสรรค์

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ในการสอบจะเน้น HR architecture ต้องเข้าใจรากฐาน 8K’s+5K’s ก่อน มีรากมาจาก Gary Becker ซึ่งเป็น Professor จากชิคาโก ซึ่งได้รางวัลโนเบล รุ่น 16 จะขยาย 8K’s+5K’s มากขึ้น หนังสือแต่ละเล่มที่เรียนมีแรงบันดาลใจ

          หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ มาจากการเห็นคุณค่าคุณพารณ

          หนังสือ 8K’s+5K’s  ได้แรงบันดาลใจจากการที่อาจารย์จีระไปสอนที่ภูเก็ต

          หนังสือ พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม ท่านว.วชิรเมธีให้เกียรติอาจารย์จีระเพราะยกตัวอย่างอธิการบดี 4 คนคือ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ท่านวรรณ และ ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์

          หนังสือเล่มที่ 4 ได้แรงบันดาลใจจากอาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมลและคุณวราพร ชูภักดี

          รุ่น 15 ทำ Outline เรื่องภาวะผู้นำ ส่วนรุ่น 16 ในขณะเดียวกัน จะร่วมทำเรื่อง Chira Way

          คุณพูดถูกว่าหลักของอาจารย์คือ 8K’s+5K’s  อยากจะให้ลูกศิษย์ช่วยกันเขียนหนังสือด้วย ถ้ามาช่วยกันเขียนจะได้เป็นมรดกไว้ หนังสือทั้ง 3 เล่มเป็นภูมิปัญญาของคนไทย

 

 

 

 

 

 

Present Group 1

          ในส่วน 5K’s มีทุนทางนวัตกรรม ทุนทางอารมณ์และทุนทางวัฒนธรรม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ยังไม่เคยเปลี่ยนลำดับ 8K’s 5K’s นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์มาหลังจากการมีพื้นฐานจริยธรรมและความรู้ใน 8K’s

Present Group 1

          ตัวอย่างส่วนผสม 8K’s+5K’s ออกมาในแนวคิดเรื่องคุณภาพคนของปูนซิเมนต์ไทย

          1. ใช้ระบบ Merit ใช้ระบบคุณธรรมรับคน

          2. ให้ผู้บริหารระดับสูงเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินงาน ทุกสิ่งดำเนินไปได้อย่างสำเร็จ

          3. ทัศนคติฝ่ายบริหารจัดการ เน้นดูแลคนอย่างดีตั้งแต่แรกเข้าถึงเกษียณ ดูแลให้คนพัฒนาตนเอง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ระหว่างอาจารย์จีระกับคุณพารณคือคุณพารณไม่ใช่นักวิชาการแต่อาจารย์จีระมาจากสถาบันวิจัย ซึ่งตั้งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตอนที่คิดก็ไม่ได้คิดเป็นสถาบันทรัพยากรมนุษย์ แต่คิดเป็นสถาบันแรงงาน ที่มาช่วยคิดชื่ออาจารย์นิคม จันทรวิทุร ตั้งใจไว้ให้เป็นสถาบันที่ดูแลเรื่องค่าจ้าง และแรงงานสัมพันธ์แต่เสนอไปที่รัฐบาล รัฐบาลบอกว่าธรรมศาสตร์เป็นคอมมิวนิสต์ ตั้งสถาบันแรงงานไม่ได้จึงให้อาจารย์จีระเป็นประธานก่อตั้ง เขาจึงถามว่าจะใช้ชื่อใหม่หรือไม่ สถาบันประชากรศาสตร์มีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์จีระใช้คำว่า สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เขาเห็นด้วยแต่สมัยนั้นตัดคำว่า พัฒนา ออกเพราะพัฒนาเป็นการเมือง ทำให้ผู้ใช้แรงงาน นี่คือค่านิยมคนยุคเก่า ถ้าได้ทรัพยากรมนุษย์ ก็ได้พฤติกรรมด้วย ถ้าใช้ประชากรศาสตร์ก็ได้แต่ Technical ทำแต่เรื่องโครงสร้างประชากร ทำให้ไม่มี Impact

ทรัพยากรมนุษย์ทำให้ได้ life cycle ทำตั้งแต่เกิดถึงตาย

Present Group 1

          ทรัพยากรมนุษย์มีลักษณะเป็น Strategic Resources หมายความว่า ทรัพยากรมนุษย์ต้องมีความเป็นเลิศและทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจ ทำได้โดยต้องเปลี่ยนทรัพยากรมนุษย์ให้เป็น knowledge worker คือมอง HR เป็นยุทธศาสตร์ ดึงศักยภาพคนให้เป็น global citizen

บันไดความสำเร็จ

          1. ระดับ Macro เน้นคนเป็นสำคัญ มีวิสัยทัศน์วางแผนให้สอดคล้องกับธุรกิจในอนาคต ลงทุนในศักยภาพคนให้มีแรงจูงใจในการทำงานเพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับองค์กร นำ ICT มาใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการทำงาน เรื่องสุขภาพก็สำคัญ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพต้องมีสุขภาพกายใจดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี มี global knowledge เช่น ภาษา เทคโนโลยี

          2. ระดับ Micro (องค์กร) ต้องพัฒนาความรู้ด้านธุรกิจ พัฒนาพนักงานในเรื่องการเพิ่มผลผลิตให้กับองค์กร ให้ทุนการศึกษาไปต่างประเทศคือการลงทุนด้านปัญญา กำหนดจำนวนวันเข้าฝึกอบรมและกำหนดทิศทางส่งเสริมพัฒนาคน ซึ่งส่วนนี้ปูนซิเมนต์ไทยก็ได้ทำ

บันไดความสำเร็จ PPCO

          1. PDCA (Plan, Do, Check, Act) เป็นแผนที่วางไว้ก่อน

          2. Priority จัดลำดับความสำคัญ

          3. Participation ให้พนักงานและผู้บริหารในองค์กรมีส่วนร่วม

          4. Ownership การสร้างความเป็นเจ้าของแล้วจะรู้สึกว่า จงรักภักดีในองค์กร

          นำไปสู่การสร้างความจงรักภักดีในองค์กร ได้แก่ สร้างอย่างไร ทำให้ทั้งองค์กรพนักงานและได้ประโยชน์

วิธีการสร้างความจงรักภักดีในองค์กร

          1. สร้าง long-term employment แทนระบบพันธะสัญญาที่เน้น Performance อย่างเดียว ดูแลตั้งแต่เข้าทำงานวันแรกจนถึงเกษียณ

          2.สร้างความเชื่อมโยงระหว่างพนักงานและประวัติศาสตร์องค์กร ให้ตระหนักคุณค่าประวัติศาสตร์ที่มีมายาวนานและต้องรักษา

          3. การมีส่วนร่วมของคนทุกระดับในองค์กร

          4.มองความภักดีเป็นหนึ่งเดียวเป็นทรัพย์สินทางปัญญา

การทำให้ทั้งองค์กรพนักงานและได้ประโยชน์ (Win-win Situation)

          1. สร้างองค์กรให้มีชีวิต นอกจากให้เงินแล้ว ต้องให้ความรัก ให้เกียรติ ให้งานที่ท้าทายความสามารถ ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วม แล้วทุกคนจะมีความสุขที่จะอยู่ในองค์กร

          2. ทำให้ Knowledge Workers เป็น Global Citizens

                    2.1 มีวิสัยทัศน์ว่า จะเปลี่ยนคนไทยเป็นผู้เรียนรู้และกลายเป็นพลเมืองของโลก

                    2.2 เปลี่ยนวิสัยทัศน์เป็นพันธกิจคือ ให้ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันที่สูง

คุณสมบัติ Global Citizens

          เป็นคนที่สามารถค้นหาข้อมูล เปลี่ยนออกมาเป็นข่าวสารและพัฒนาไปเป็นความรู้ คล่องภาษาไทยและอังกฤษ มีความรู้ด้านเทคโนโลยี มีคุณธรรม

ตัวอย่าง การสร้าง Global Citizens ด้วยการศึกษา เพราะการศึกษาเป็นการลงทุน

          คุณพารณใช้ Learning Organization และConstructionism ออกมาในรูปโรงเรียนดรุณสิกขาลัยและโรงเรียนบ้านสันกำแพง

          1. Learning Organization ทุกคนเรียนรู้ได้และเรียนรู้ตลอดชีวิต แล้วพัฒนาเป็นทฤษฎี 4L’s เริ่มตั้งแต่หมู่บ้านไปที่โรงเรียน มหาวิทยาลัย ภาคอุตสาหกรรม แล้วไปสู่ Nation that learns ประเทศแห่งการเรียนรู้

          2. Constructionism ผู้เรียนทำในสิ่งอยากรู้ ครูก็บูรณาการวิชาการ ให้คุณค่าความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก เตรียมความพร้อมให้เด็กเป็นพลเมืองในยุคโลกาภิวัตน์ ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องสนับสนุน ทำให้เด็กรุ่นใหม่เป็น Global Citizens ด้วยการศึกษา

          โรงเรียนดรุณสิกขาลัยและโรงเรียนบ้านสันกำแพงไปสู่ภาคอุตสาหกรรมคือกลุ่มปิโตรเคมี กลุ่มเยื่อกระดาษแล้วไปจบที่ประเทศชาติ คือจาก Micro ไปสู่ Macro

กรณีศึกษาการพัฒนาคนสู่ความเป็นเลิศ

          อาจารย์จีระมีตัวอย่างความสำเร็จคือ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรปราการ อาจารย์อาจารย์จีระใช้ 4L’s 8K’s 5K’s กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ (Eager to learn) บวกกับนวัตกรรม

          Eager to learn คือสามารถคิดวิเคราะห์ วิธีการสอนน่าสนใจ มีการคิดนอกกรอบ ทำให้เกิดนวัตกรรมซึ่งมีคุณสมบัติความใหม่ ต้องมีการลงมือ ทำต่อเนื่องและวัดผลได้

          ผลผลิตที่เกิดขึ้นในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรปราการคือ

          1.มีหลักสูตรพัฒนาผู้บริหาร 48 ชั่วโมง

          2.มีหลักสูตรการเรียนการสอนในธุรกิจอุตสาหกรรม ให้นักเรียนเรียนอย่างมีแผนแล้วสุดท้ายมีงานทำ เป็น 2R’s คือ Reality และ Relevance

          3.เปลี่ยนภาพลักษณ์ของโรงเรียนให้ได้รับการยอมรับและได้รับรางวัล

การรักษาคนในองค์กร

          1.เป็นการดูแลคนในองค์กรตั้งแต่เดินเข้ามาจนออกจากองค์กร

          2.บริหารด้วยความรัก นอกจากจะให้เงินที่ใช้เลี้ยงชีพ ต้องมีคุณค่าทางด้านจิตใจด้วย

การแก้ปัญหาในองค์กรและฝึกฝนให้มีการเรียนรู้

          คนต้องเรียนรู้ด้วยตนเองเป็น แก้ปัญหาเองได้ ตรงกับ Learning Organization ทุกคนเป็นองค์กรการเรียนรู้และเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต

          เวลาที่นำเรื่องคนไปใช้องค์กร มี 3 เสาหลักในการบริหารงานบุคคล

          1. ต้องเชื่อมั่นศรัทธาในคน

          1.1 ด้านการบริหารงานบุคคล การบริหารคนเป็นหัวใจขององค์กร คนเป็นทั้งผู้สร้างปัญหาและแก้ปัญหา ถ้าบริหารคนได้ ทุกอย่างก็ราบรื่น

          1.2 ด้านเศรษฐศาสตร์ คนเป็นผู้สร้างงาน ถ้าบริหารคนได้ ธุรกิจเองก็เจริญก้าวหน้าได้ดี คนเป็นทรัพยากรที่ใช้ไปก็มีคุณค่าเพิ่มขึ้น ถ้ารู้จักพัฒนาคนก็จะมีคุณค่าทางเศรษฐศาสตร์ด้วย

          1.3 ด้านเทคโนโลยี คนเป็นคนสร้างขึ้นมา เทคโนโลยีจึงเป็นผู้สนับสนุน เพราะฉะนั้นต้องเน้นเรื่องการใช้คนไปสร้างความสำเร็จในองค์กร

ปัจจัยที่ทำให้งาน HR ของคุณพารณและอาจารย์จีระลุล่วงไป

          1. แม้ไม่ได้เรียน HR แต่คนเห็นคุณค่าความสามารถของท่าน จึงทำงาน HR ได้อย่างลุล่วง

          2. ทั้งสองท่านมีความแน่วแน่มุ่งมั่น

          3. มีอิทธิพลต่อสังคม

          4. มีวิสัยทัศน์มองไปข้างหน้า ในเรื่องความเป็นจริงและบริบทที่เกี่ยวข้อง

          5. มีความเป็นผู้ให้ ไม่ได้ต้องการผลอะไรตอบแทนนอกจากให้ปัญญาแก่สังคม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          หนังสือเล่มนี้มีอิทธิพลในด้านการทำวิทยานิพนธ์อย่างไร

 

Present Group 1

          ทฤษฎีต่างๆ สามารถย่อยออกไปเป็นหัวข้อได้ เช่น 8K’s 5K’s เป็นฐานทฤษฎีได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          หนังสือเล่มนี้เป็นประวัติอาจารย์จีระที่ธรรมศาสตร์ ได้ไปปรึกษาคุณพารณ เชื่อว่า ทรัพยากรมนุษย์เป็นหัวใจสำคัญที่สุด แรงบันดาลใจนี้ทำให้รู้สึกว่าเรื่องคนสำคัญ

          ปัญหาไทยเป็น factor proportion นำทรัพยากรธรรมชาติมาเป็นสัดส่วนทรัพยากรมนุษย์ ไทยเคยมีทรัพยากรสมบูรณ์ จึงลงทุนเรื่องคนน้อย แต่ลงทุนทรัพยากรธรรมชาติมากในอดีต แต่สิงคโปร์ไม่มีทรัพยากร ตอนนี้ซาอุดิอาระเบีย บรูไนมีปัญหาทรัพยากรมนุษย์

          ทรัพยากรธรรมชาติลดลง แต่ทรัพยากรมนุษย์ไทยในอดีตมีคุณภาพน้อย การขับเคลื่อนต้องมีคนที่คิดเป็นวิเคราะห์เป็น อาจารย์มีหน้าที่ยกบทบาททรัพยากรมนุษย์เป็นแบรนด์ประเทศผ่านการจัดการประชุมนานาชาติตลอดเวลา และมีคนระดับโลกมาพูด

          เป้าหมายอาจารย์จีระและคุณพารณเหมือนกัน แต่คนละเส้นทาง

 

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          จากที่นำเสนอ กลุ่มนี้เด่นในการนำเสนอแบบ KM ดูแล้วเข้าใจง่าย ผู้นำเสนอมีความเข้าใจดีมาก

KM คือนำความรู้มาจัดการ

          อาจารย์จีระจะเชิญรุ่น 16 เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มใหม่ Chira Way ของดร.จีระ ก็จะทำคล้ายๆ Harvard Business Review มีรวบรวมงานมาจากปริญญาเอก

          เราได้ยิน Toyota Way, Chira Way เป็นเรื่องที่ต้องเก็บสะสม ต้องเลือกว่า เก่งอะไร แล้วนำมาเป็น Way ของตน การเลือกเป็นเรื่องสำคัญ แต่ต้องเป็นเรื่องที่เราเก่งและสังคมสนใจ คนอื่นได้ประโยชน์แล้วนำไปใช้ได้

          การอ่านหนังสือเป็นการทบทวนวรรณกรรม ในวิทยานิพนธ์ต้องมีการสังเคราะห์งานที่ทบทวนวรรณกรรมต่อยอดองค์ความรู้

          ในชั่วโมงต่อไปต้องคิดต่อ SCG เปลี่ยนไปมากจากหนังสือ ต้องไปหาข้อมูลเพิ่ม ช่วงเวลาที่ต่าง บริบทเปลี่ยน

          รุ่น 16 ต้องคิดเพิ่มเวลาที่ทำหนังสือ

          คุณพารณต้องการให้เป็นองค์กรการเรียนรู้

          เวลาที่ทำหนังสือ ต้องเริ่มจากประเด็นเดิม เช่น เด็กออกนอกระบบ คุณแม่วัยใส จะต้องดูว่า จะดึงกลับเข้าระบบ ต้องดูอาชีพที่คนกลุ่มนี้ชอบ เช่น ครูสอนการแสดง ขายเครื่องสำอางค์ หรือเป็นช่างแต่งหน้า ไม่ใช่แค่เอา กศน.เข้าไปทำขนม ซึ่งเชย

          เมื่อบริบทเปลี่ยน โจทย์ก็เปลี่ยน ความจริงคือกระบวนความจริง ไม่ใช่ความจริงก้อนๆ สิ่งที่เป็น Way ก็ยังคงมี DNA อยู่

          SCG มี DNA อยู่คือ เป็นองค์กรการเรียนรู้ จากการที่ดูงาน SCG เหมือนเขาให้ไม่หมด ไม่ได้หัวใจมา เขาเริ่มตีเป็นทรัพย์สินทางปัญญาต่างจากในอดีต เป็นเพราะผู้บริหารเปลี่ยน

          เมื่อบริบทเปลี่ยน คนก็เปลี่ยน แต่คนปัจจุบันไม่ต้องให้ดูแลตลอดชีวิต เด็กรุ่นใหม่เน้นความสมดุลงานและชีวิต 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          อาจารย์พิชญ์ภูรีมีประสบการณ์มาก ในเมืองไทยมักแยกสมองซีกขวาและและซีกซ้าย ต่างจากอเมริกา คนทำการเงินเรียนจบวรรณคดีอังกฤษ

 

 

Present Group 2

ความแตกต่าง

          คุณพารณมีพื้นฐานการทำงานเป็นภาคเอกชน เป็นนักปฏิบัติ ทำงานบริษัทเชลล์ บริษัทต่างชาติ แล้วมาเป็นผู้บริหาร SCG คุณพารณให้คุณค่าทุนมนุษย์ ทำให้คนในองค์กรพัฒนาตลอดเวลา มีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง

          อาจารย์จีระเป็นนักวิชาการ เป็นนักปฏิบัติแล้วจึงมาเป็นอาจารย์ มีส่วนเกี่ยวข้อง HR ตอนเป็นผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ข้อดีคือมองลึก

 

 

 

 

Present Group 2

ความแตกต่าง

          อาจารย์จีระมีการจัดประชุมนานาชาติ สามารถให้ความรู้หรือองค์กรการเรียนรู้ไปได้อย่างกว้างขวาง ตอนแรกสนใจแรงงานแล้วต่อมาสนใจทรัพยากรมนุษย์ อาจารย์จีระมองทรัพยากรมนุษย์เป็นสินทรัพย์มากกว่าต้นทุน

 

ความเหมือน

          ทั้งสองท่านมีความตระหนักในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ มองเป็นทุนหรือสินทรัพย์มากกว่าต้นทุน ทั้งสองท่านมีชื่อเสียงในวงการ HR และสังคม

 

สิ่งที่หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ช่วยให้ตระหนัก     

          1.ทำให้ตระหนักว่า โลกเปลี่ยนแปลง หลังแผน 8 เน้นทรัพยากรมนุษย์ ต้องมีการพัฒนาคน อาจารย์จีระเน้นภาษาและเทคโนโลยี ประเทศไทยยังขาดการผลิตเทคโนโลยีและการออกแบบ

          2. ในการกำหนดหัวข้อวิทยานิพนธ์แน่นอนพวกเราต้องสนใจหนังสือเล่มนี้เพื่อนำหัวข้อหรือทฤษฎีต่างๆ ไปทำวิจัยตามเรื่องที่ถนัด เมื่อสนใจแล้วก็ต้องกำหนดกรอบ

          3.ทุนมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องลงทุนเพิ่มพูนความสามารถของบุคลากร เอกชนให้ความสำคัญพัฒนาทุนมนุษย์ ราชการจะสั่งจากบนลงล่าง เมื่อเพิ่มพูนความสามารถของบุคลากร เป็นการเพิ่มคุณค่าให้องค์กร แล้วทุกอย่างจะยั่งยืน

4.การเปิดโอกาสให้คนในองค์กรมีความคิดหลากหลาย เกิดเป็น Wisdom เป็นนวัตกรรม

ที่สำคัญที่สุด ถ้าทำแล้วต้องมีความต่อเนื่อง

          หนังสือเล่มนี้เป็นต้นทุนมนุษย์แท้จริง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          เมื่อเรียนแล้ว ต้องนำไปใช้ในวิทยานิพนธ์ด้วย หนังสือ 3 เล่มและงานเขียนอาจารย์จีระเป็นหลักฐานทางวิชาการและต่อยอดได้ สิ่งสำคัญคือต้องเกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์นั้น

          วิชานี้เป็นทุนมนุษย์ตอบโจทย์นวัตกรรม ตอบโจทย์ 4.0 ปลูก เก็บเกี่ยวเรื่องคน นวัตกรรมเกิดขึ้น นวัตกรรมเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ที่ทำอะไรให้ดีขึ้น

 

Present Group 2

สิ่งที่หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ช่วยให้ตระหนัก     

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          กลุ่มนี้เน้นเฉพาะจุดเด่นคน เมื่อ 2 กลุ่มเชื่อมโยงกันจะทำให้เห็นภาพกว้าง อาจจะเตรียม Way ของตนเองแล้วนำพวกนี้ไปจับ

          Way ของคนไทยต้องเป็นที่ยอมรับในสากล ต้องเลือกประเด็นที่เด่นและเป็นที่สนใจในต่างประเทศด้วย จากเว็บไซต์สหรัฐ ตอนนี้ไทยเป็นอันดับหนึ่งด้านความสะดวกสบายในการลงทุน ลงทุนแล้วสามารถส่งต่อไป CLMV อาจจะไปอาเซียนใต้ก็ได้

          อาจารย์จีระกล่าวถึงวรรณกรรมไทย อาจารย์บางท่านไม่ยอมรับ ต้องนำเสนอให้อาจารย์เข้าใจว่า ตรงกับความจริง

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ถ้ารวมตัวกันได้ก็มีโอกาสสำเร็จ

          ขอชมเชย

          หนังสือภาษาอังกฤษจะเน้นนวัตกรรมเป็นหลัก

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          3 วงกลมสามารถ run equation ได้ จับบริบทนำเสนอ

          ก็เชื่อในความสามารถคนไทย คนไทยไม่ทำ how to

          หนังสือที่จะทำใหม่ชื่อ หนังสือ ChiraWay วิถีแห่งการพัฒนาและจัดการทุนมนุษย์อย่างยั่งยืน

 

บทนำ 

          การที่"บุคคล"หรือ"องค์กร"หนึ่งใด จะสามารถสร้าง"วิถี"หรือ"แนวทาง"ในการบริหารจัดการใดๆ ให้ประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับ ว่าเป็นอัตลักษณ์ หรือลายเซ็นต์ (Signature) เพียงหนึ่งเดียวนั้น ต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์จริงของความล้มเหลว และความสำเร็จของบุคคลหรือองค์กรนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง จนก่อเกิดเป็นทักษะเฉพาะ ซึ่งนำไปสร้างเป็น"ระบบการจัดการความสำเร็จ" ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจ การดำเนินการ หรือสถานการณ์ต่างๆได้

 

          "ChiraWay" คือ "วิถีแห่งจีระ" คือแนวทางการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน ที่ใช้ระยะเวลายาวนานกว่าสามทศวรรษในการดำเนินงานวิชาการ และการทำงานด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่าให้กับทุนมนุษย์ไทย ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ นักเศรษฐศาสตร์ด้านทรัพยากรมนุษย์ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศไทย และในระดับสากล

 

          ChiraWay สามารถสรุปได้โดยย่อจากกรอบแนวคิด และปรัชญาพื้นฐานด้านทุนมนุษย์ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ สามประการ ที่ว่าด้วย "การปลูก การเก็บเกี่ยว และการทำให้เกิดความสำเร็จ" เป็นสามประการหลัก ที่เป็นทั้งปรัชญาขั้นมูลฐาน ที่ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มองเห็นจากประสบการณ์ทางวิชาการ และผลสัมฤทธิ์จากการทำงานของตนเองอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดเป็นกรอบการดำเนินงาน และกระบวนการความสำเร็จ ที่เป็น "DNA" หรือ "รหัสพันธุกรรม" ในรูปแบบของ ChiraWay

 

          ChiraWay ซึ่งเกิดขึ้นจากรหัสพันธุกรรมหรือDNA ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์นี้ ยังถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยตัวของผู้ก่อตั้งเอง และแนวคิดรวมถึงประสบการณ์อันแตกต่างหลากหลาย ของบรรดาลูกศิษย์ลูกหาที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในสังคมแห่งการเรียนรู้ อันเป็นรูปแบบที่ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ยึดมั่น และรังสรรค์ให้เกิดพัฒนาการใหม่ๆ เพื่อสามารถนำไปจัดการทุนมนุษย์ไทย ให้สามารถเผชิญกับความท้าทายนานาประการ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          อาจารย์มีความประสงค์ให้นักศึกษา Ph.D รุ่น 16 ร่วมเขียนหนังสือ

 

ภาคที่หนึ่ง

ความสำเร็จและที่มาของChiraWay

 

บทที่ 1 ความสำเร็จ และที่มาของChiraWay 

     - ความสำเร็จในอดีตที่ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เล่าผ่านสังคมแห่งการเรียนรู้ของลูกศิษย์หลายกลุ่ม และหลายรูปแบบ

     - ความเป็นมาของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทั้งด้านวิชาการ ประสบการณ์การทำงาน ทั้งของท่านเอง และนักวิชาการด้านทุนมนุษย์ที่ท่านสนใจ ที่ผสานและสังเคราะห์จนก่อให้เกิดปรัชญาและกรอบแนวคิดต่างๆ อันเป็นที่มาของ "วิถีแห่งจีระ" หรือ "Chira Way"

 

บทที่ 2 กรอบแนวคิด ปรัชญา และทฤษฎีทุนมนุษย์ แบบChiraWay

     - เป็นบทที่รวบรวมกรอบแนวคิด ปรัชญา และทฤษฎีทุนมนุษย์แบบ ChiraWayไว้เป็นหมวดหมู่ โดยจัดเรียงในกรอบของ "การปลูก การเก็บเกี่ยว และการทำให้สำเร็จ" ซึ่งบางทฤษฎีสามารถนำไปใช้ได้กับทุกหมวดหมู่ มีที่มาและคำอธิบายของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เพื่อความเข้าใจ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิผล 

 

บทที่ 3 การปลูก (Human Capital Development)

จะกล่าวถึงที่มา และกรอบแนวคิด ทฤษฎี และกระบวนการปลูกแบบChiraWay ซึ่งเน้นที่"สามเสาหลัก"อย่างเด่นชัด คือ

      1) Learning How to Learn. 

      2) Life Long Learning.

      3) Learning Communities.

          - 8K's ทฤษฎีทุนมนุษย์ 8 ประเภท

          - 5K's ทฤษฎีทุนมนุษย์ 5 ประเภท ( New Theory)

          - ทฤษฎีการเรียนรู้ 4 L' s

          - ทฤษฎีการเรียนรู้ 3 L' s

และบทสรุป ด้วยบทสัมภาษณ์ รวมถึงกรณีศึกษาจากความสำเร็จจริงที่พิสูจน์ได้

 

บทที่ 4 การเก็บเกี่ยว (Human Capital Management)

บทนี้จะว่าด้วย"กรอบแนวคิด ทฤษฎี กระบวนการ และ เครื่องมือ" ในการเก็บเกี่ยว หรือการบริหารจัดการทุนมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ แบบChiraWay ที่เน้นการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการทำงานที่มีคุณค่า อาทิ 

     - ทฤษฎี 2 R' s (Reality & Relevance)

     - ทฤษฎี 2 I' s (Inspiration & Imagination)

     - ทฤษฎี H R D S

     - ทฤษฎี 3 วงกลม เพื่อการบริหารจัดการทุนมนุษย์ อย่างมีประสิทธิภาพ

 

Execution หรือ การลงมือทำให้สำเร็จ 

     ประกอบด้วยกรอบแนวคิด ทฤษฎี กระบวนการ และเครื่องมือแบบ ChiraWay ประกอบกับกรณีศึกษา ประสบการณ์ แนวคิดและยุทธศาสตร์ต่างๆ ทั้งของศ.ดร.จีระ และกูรูชั้นนำ ซึ่งเน้นการเอาชนะอุปสรรค และการทำงานอย่างต่อเนื่อง ด้วยองค์ประกอบสำคัญ คือผู้นำ ตัวละครต่างๆ สถานการณ์ความเปลี่ยนแปลง และสภาวะแวดล้อม 

 

ทฤษฎีเพื่อการลงมือทำให้สำเร็จ

- Leadership

- CEO / HR./ Non HR

- Networking

- TEAMwork 

- ทฤษฎี 3 V.

- ทฤษฎี C- U -V

- C&E Theory

- ทฤษฎี 3 ต. ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง

- ทฤษฎี 3 ต.(ใหม่) แตกต่าง ติดตาม ต่อเนื่อง

- ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง แห่งความยั่งยืน

 

ภาคที่ 2

กรณีศึกษาความสำเร็จในภาพMacro และ Micro

 

บทที่ 5 ทุนมนุษย์ไทย 4.0 

-โลกในยุคคลื่นลูกที่ 4 และบริบทประเทศไทย 4.0

- Change / Social Communities / Internet of Things

-มุมมองของศ.ดร.จีระ ที่มีต่อความเปลี่ยนแปลง ความท้าทายและเครื่องมือสำคัญในการจัดการทุนมนุษย์ ยุค 4.0

 

บทที่ 6 ผู้นำในโหล

กล่าวถึงกรณีศึกษา การสร้างผู้นำเพื่ออนาคตอย่างต่อเนื่อง ด้วยกระบวนการแบบ ChiraWay ใน 12 องค์กร 12 รูปแบบ ซึ่งจะอธิบายถึงผลสัมฤทธิ์ ที่เหมือนกัน คล้ายคลึง หรือแตกต่างกัน ไปตามความแตกต่างของบริบท ประกอบด้วย

     1) ผู้นำของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต

     2) ผู้นำที่เป็นข้าราชการ (อาทิ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงศึกษาธิการ )

     3) ผู้นำของคณะแพทยศาสตร์ และ

     4) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

     5) ผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยทักษิณ

     6) ผู้นำชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

     7) ผู้นำจากต้วละคร 4 กลุ่ม งานท่องเที่ยวโดยชุมชน (โครงการของกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา)

     8 ) ผู้นำในโครงการนักศึกษาปริญญาเอก

     9) ผู้นำเยาวชน (โรงเรียน เทพศิรินทร์)

     10) ผู้นำAsean  และ CLMV.ในบริบทของการท่องเที่ยว

     11) ผู้นำ Asean ในบริบทอื่นๆ

     12) การสร้างภาวะผู้นำในห้องเรียนผู้นำระยะสั้น

 

บทที่ 7 การทูตภาคประชาชน

เป็นกรณีศึกษาการจัดการทุนมนุษย์ไทย เพื่อการร่วมมือกับต่างประเทศ

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          จากการไปบรรยายให้กระทรวงเกษตร ก็ทำเรื่องแรงบันดาลใจ

          Imagination สำคัญกว่า เป็นการมองนามธรรมและจับให้เป็นรูปธรรมให้ได้

          เหมือนรวมหนังสือ 10 เล่มมาไว้ในเล่มเดียว

 

การบ้าน ขอให้คิดถึงบทบาทรุ่น 16

คุณวราพร ชูภักดี

นักศึกษาสามารถช่วยได้ในบทที่ 5 อาจจะเน้นหน่วยงานที่กำลังทำงานอยู่ ในภาคเอกชนหรือราชการควรพัฒนาทุนมนุษย์ไปในทิศทางใด

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ประเทศไทยไม่ขาดการเขียนแผนแต่ขาดการนำแผนไปปะทะกับความจริง น.พ.วิจารณ์เห็นด้วยว่า ต้องตั้งวิสัยทัศน์ว่าทำอะไร ม.อ.เน้นคุณภาพแต่มีไซโลสกัดกั้นคุณภาพ

          รุ่นนี้มี Execution

          อาจารย์จีระได้เปรียบเพราะความต่อเนื่อง สอนทั้งแพทย์และวิศวะแล้ว และสอนปริญญาเอกมาเป็นรุ่น 16 แล้ว

คุณวราพร ชูภักดี

หนังสือเล่มนี้ อาจารย์พิชญ์ภูรีออกแบบได้ดีมาก

อาจารย์อยากเห็นพลังนักศึกษาปรับเปลี่ยนพัฒนาประเทศ ความคิดเห็นทุกท่านเป็นประโยชน์ถ้าได้มารวมหนังสือเล่มนี้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เรื่องช่วยเหลือเด็กออกจากโรงเรียนกลางคันควรจะเป็นนโยบายต่อไป

 

Kris Weerapalaphon  Kaewklang (กฤช วีระพลพล  แก้วกลาง) 60484945024

Ph.D.Innovation 16 : Suan Sunandha Rajabhat University

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 4 วันที่ 11  กุมภาพันธ์ 2561

 

          แนวคิด 8K’s และ 5K’s มาจาก Gary Becker ส่วน  “พลังแห่งคุณธรรมจริยธรรม” ต่อยอดมาจาก 8K’s +5K’s ทุนมนุษย์เกิดขึ้นในสมัยของ Gary Becker ซึ่งเป็น 1ใน 4 ของทุนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ทุนมนุษย์เป็นคุณภาพของคน จึงต้องอยู่ในทุกทุน

          นอกจาก Gary Becker ที่กล่าวถึงทุนมนุษย์แล้ว ยังมี Adam Smith ที่เข้าใจทุนมนุษย์แต่ไม่ได้ใช้เรียกว่าทุนมนุษย์โดยตรง โดยเขาได้ยกตัวอย่างเรื่องคนสองคนที่ได้ค่าจ้างที่ไม่เท่ากันเนื่องจากความรู้ วุฒิการศึกษาและทักษะที่แตกต่างกัน และ Paul Schultz พบว่านำชาวนา 2 คนมาเปรียบเทียบ ชาวนาคนที่มีความรู้มีปัญญามากกว่าได้ผลผลิตของสินค้าเกษตรสูงกว่า เป็นที่มาของ Smart Farmers เกษตรกรที่ใช้ความรู้เป็นนั่นเอง

8K’s +5K’s แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติของคนในอนาคตความแตกต่างอีกด้านหนึ่งของทุนมนุษย์ก็คือ มนุษย์มีทุกอย่างที่วัตถุไม่มี หายใจได้ คิดได้ วิเคราะห์ได้ เป็นทุนทางปัญญา

          คนที่ประสพความสำเร็จเป็นทุนมนุษย์ที่ดีได้ต้องมี ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม

ทุนแห่งความสุข หมายถึง คนชอบทำงาน ทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา งานที่ทำ ต้องมี Passion, Purpose, Meaning

ทุนทางสังคม มนุษย์จำเป็นต้องมี Networking จึงจะอยู่รอดได้ทุนแห่งความยั่งยืน เป็นพฤติกรรม ทำอะไรต้องคิดระยะยาวรวมทั้งทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และทุนแห่งความรู้ทักษะและทัศนคติ

5K’s ใหม่ตอบโจทย์ ไทยแลนด์ 4.0 เช่น ทุนทางอารมณ์ บางคนเก่ง อารมณ์ร้อนก็ไม่ประสพความสำเร็จ

 

Kris Weerapalaphon  Kaewklang (กฤช วีระพลพล  แก้วกลาง) 60484945024

Ph.D.Innovation 16 : Suan Sunandha Rajabhat University

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 5 วันที่ 25  กุมภาพันธ์ 2561

 

การนำเสนอหนังสือ “8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน”

          กลุ่มที่ 1 ได้นำเสนอเส้นทางการพัฒนาทุนมนุษย์ของท่านอาจารย์จีระ ตั้งแต่การตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ และโครงการอื่นๆอีกหลายอย่าง การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจแห่งชาติ รวมถึงการสร้างสรรค์งานสื่อต่างๆด้านการสร้างพัฒนาคุณภาพมนุษย์โดยนำความรู้ ประสบการณ์ ช่วยสร้างแรงบันดาลใจต่อสังคม พื้นฐานทฤษฏี 8K’s มีรากฐานมาจากทฤษฏีทุนมนุษย์ของ Prof. Gary Becker

 

Human Capital (K1)

          ของอาจารย์จีระแตกต่างจาก Gary Becker ในแนวคิดว่ามนุษย์ต้องมีสมรรถนะและทักษะในการทำงาน ซึ่ง Gary Becker เน้นการทุ่มเม็ดเงินไปพัฒนาคนด้านการศึกษา

Intellectual Capital (K2)

          ต้องทำให้มนุษย์คิดเป็น วิเคราะห์เป็น โดยใช้เครื่องมือการเรียนรู้ 4L’s ( Leaning Methodology,  Learning Environment, Learning Opportunities, Learning Communities) อีกทั้งนำ 2R’s (Reality และ Relevance) มาใช้ร่วม

Ethical Capital (K3)

          ทุนทางจริยธรรม คิดดี ทำดีเพื่อส่วนรวม มีจิตสาธารณะ

Happiness Capital (K4)

          ทุนแห่งความสุข มีสมดุลแห่งการใช้ชีวิตและการทำงาน

Social Capital (K5)

          ทุนทางสังคม ต้องเครือข่ายคุณค่าต่อการทำงานเป็นทุนที่ต้นทุนน้อย

Sustainability Capital (K6)

          ทุนแห่งความยั่งยืน ช่วยพัฒนาทุนมนุษย์

Digital Capital (K7)

          ทุนทาง IT ต้องีการเรียนรู้ ค้นคว้า แสวงหาข้อมูลที่ทันสมัย

Talented Capital (K8)

          ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ สามารถพัฒนาทักษะความเร็วของตนเองตลอด

 

เมื่อกระแสโลกาภิวัฒน์เข้ามาก็มีทุนเพิ่มอีก 5 ทุน เรียก 5K’s  ประกอบด้วย

          1. Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์ คิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ

          2. Knowledge Capital ทุนทางความรู้ มาจาก 2R’s เปลี่ยน Data เป็น Information และไปยัง Knowledge

          3. Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม สามารถทำสิ่งใหม่ให้สำเร็จและมีคุณค่า

          4. Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม เข้าใจตระหนักรู้ถึงความสำคัญของนวัตกรรมที่เป็นรากฐานการดำรงชีพมนุษย์

          5.  Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ รู้จักควบคุมอารมณ์และมีภาวะผู้นำ

 

นำ 8K’s และ 5K’s มาประสานเข้ากับ AEC

          AEC นอกจากเรื่องเศรษฐกิจแล้วยังมีเรื่องของแรงงาน รู้ขีดความสามารถในการแข่งขัน รู้ช้องว่างประชาคมอาเซียน บูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก นำ 8K’s+5K’s มาช่วยปรับจุดอ่อนทุนมนุษย์ให้ประเทศแข่งขันและอยู่รอดได้ อีกทั้ง พิจารณาดูถึงอุปสรรคต่างๆในการพัฒนาทุนมนุษย์ตั้งแต่อดีต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแผนพัฒนาเศรษฐกิจ นโยบายการศึกษาและอื่นๆ

 

Kris Weerapalaphon  Kaewklang (กฤช วีระพลพล  แก้วกลาง) 60484945024

Ph.D.Innovation 16 : Suan Sunandha Rajabhat University

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 6 วันที่ 11 มีนาคม 2561

 

          เรื่องทุนมนุษย์ต้องมองภาพใหญ่ (Macro) ไปสู่ภาพเล็กในระดับองค์กร (Micro) ซึ่งจะต้องรู้ HR Architecture เป็นพื้นฐานก่อน อาจารย์ยกตัวอย่างกรณีแรงงานในสหรัฐอเมริกาที่ประธานาธิบดี ทรัมป์ ตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าประเภทเหล็กและอลูมิเนียม การที่ ทรัมป์ คิดว่าการตั้งกำแพงภาษีในอุตสาหกรรมเหล็กและอะลูมิเนียม แสดงว่า อุตสาหกรรมนั้นมีความสามารถในการแข่งขัน แต่ปัญหาคือ เหล็กที่ถูกตั้งกำแพงภาษีที่สูงขึ้นไปนั้น ไม่ได้ทดแทนอุตสาหกรรมเหล็กในสหรัฐอเมริกา แต่เหล็กเป็นวัตถุดิบในการผลิตสิ่งต่างๆอีกหลายอย่าง การจ้างแรงงานจึงไม่สามารถทดแทนโดยตรง 1 ต่อ 1 แต่กลับเป็นการสร้างให้ต้นทุนการผลิตในสหรัฐอเมริกาสูงขึ้น ซึ่งพบว่า การจ้างงานโดยตรงของอุตสาหกรรมเหล็กและอะลูมิเนียมเพิ่มขึ้น 20% แต่การจ้างงานทางอ้อมของอุตสาหกรรมอื่นๆ ลดลง ถ้าไม่เข้าใจสิ่งเหล่านี้ก็จะคิดเพียงแค่ว่า การขึ้นภาษีมีผลต่อเฉพาะอุตสาหกรรมที่นำเข้ามา แต่อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบและมีต้นทุนราคาแพงก็ยังเป็นต้นทุนการผลิตของธุรกิจอื่นซึ่งได้รับผลกระทบเช่นกัน

          มีการวิจารณ์เนื่องจากสถานการณ์แรงงานต่างด้าวและสังคมผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นนั้น จะอยู่ตรงส่วนไหนของ HR Architecture โดยเฉพาะผู้สูงอายุกับการแบ่งด้วยโครงสร้างอายุ

          ทฤษฏีใน·ส่วนการปลูก เช่น Lifelong Learning การเรียนรู้ทำทุกวัยทุกช่วงเวลา   การเก็บเกี่ยว เช่น ทฤษฏี 3 วงกลม และการเอาชนะอุปสรรค คือการทำอย่างต่อเนื่อง ทำสิ่งเล็กๆให้สำเร็จก่อน ก็สามารถนำมาเชื่อมโยงกับ HR Architecture ได้

 

Kris Weerapalaphon  Kaewklang (กฤช วีระพลพล  แก้วกลาง) 60484945024

Ph.D.Innovation 16 : Suan Sunandha Rajabhat University

กฤช วีระพลพล แก้วกลาง

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 2 วันที่ 28 มกราคม 2561

          จากปรัชญาความเชื่อว่าคนเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดขององค์กร การมองคนให้มองว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า มีศักดิ์ศรี มิใช่มีเพียงคุณค่าในฐานะการเป็นปัจจัยในการผลิต ดังนั้น จึงต้องมีการลงทุนในทุนมนุษย์ ในหลักการบริหารทุนมนุษย์แบบ Chira Way ไม่ว่าจะเริ่มต้นตั้งแต่ระดับครอบครัว ลงทุนด้านการศึกษา โภชนาการ และด้านอื่นๆ ซึ่งต้องพัฒนาและกระทำอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เรียกว่าเป็นการปลูก หรือ HR Development และเมื่อพัฒนาและนำทุนมนุษย์เหล่านั้นมาใช้ในแต่ละบริบท เรียกว่า การเก็บกี่ยว ทุนมนุษย์ที่มีคุณค่านั้นเมื่อถูกนำมาใช้อย่างเป็นผลสำเร็จก็จะเกิดประโยชน์ตั้งแต่ระดับองค์กรเล็กๆ หรือ Micro เรือยไปจนถึงระดับชาติ ระดับโลกหรือระดับ Macro

          หลักทฤษฎี 4 L’s (Learning Methodologies, Learning Environment, Learning Opportunities, Learning Communities) สามารถนำมาใช้ โดยเน้นกระบวนการกระตุ้นให้เกิดวิธีการและให้คิด การสร้างบรรยากาศการเรียนให้สนุกและน่าสนใจ การให้โอกาสทุกคนเป็นตัวละครที่ได้แสดงความคิดเห็น ไม่ใช่อย่างที่มักเกิดขึ้นเมื่อมีการพบปะกันระหว่างภาครัฐ เอกชนและชาวบ้าน ซึ่งชาวบ้านมักเงียบ ผู้ใหญ่เจ้าหน้าที่รัฐพูดเพียงฝ่ายเดียว ไม่เกิดการปะทะทางปัญญา ไม่เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกัน เพราะถ้าหากมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก็จะทำสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ขึ้น ท่านอาจารย์กล่าวว่า หลักสูตรการเรียนของเราต้องมองตั้งแต่ระดับนโยบายรัฐ คือให้คิดถึงระดับประเทศ ก่อนที่จะมาถึงองค์กร

          การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางด้านการศึกษาซึ่งเป็นรากฐานการสร้างคนเพื่อการพัฒนาประเทศ  การปฏิรูปการศึกษาจึงจำเป็นต้องร่วมมือกันในทุกหน่วยงานมิใช่ เฉพาะแค่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโดยตรงกับการศึกษาเท่านั้น อีกทั้งต้องทำอย่างต่อเนื่อง การปรับเปลี่ยนจะต้องทันยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลง เช่นการสร้างโปรแกรมสำเร็จรูปให้เด็กสามารถเรียนเองได้ สร้างความเพลิดเพลินแก่เด็ก

          ในปัจจุบันการเลือกที่จะพัฒนาเด็กนั้นเลือกในส่วนของคุณธรรมหรือคนดีก่อน เพราะสามารถพัฒนาให้เก่งได้ โดยปัจจัยที่ช่วยทำให้เป้าหมายนี้บรรลุผลได้คือ ต้องมีการบริหารจัดการ มีเครือข่าย มีงบประมาณ การลงทุนน้อยแต่ให้ได้ผลตอบแทนและต้องมีหลักสูตร การศึกษาต้องทำต่อเนื่องตลอดชีวิต (Lifelong Learning) อีกทั้งต้องไม่ลืมให้การสนับสนุนแก่เด็กที่ขาดโอกาสทางด้านทุนทรัพย์ตั้งแต่ระดับอนุบาลเลย

          นอกจากนั้นบุคคลากรครูก็ต้องปฏิรูปให้การสนับสนุนและพัฒนาครูทั้งระบบในเชิงสาระ พฤติกรรมอย่างต่อเนื่องเช่นกัน การสร้างขวัญและกำลังใจให้ครู ยกฐานะครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง ครูผ้สอนต้องมีโลกทัศน์ที่เปิดกว้าง เพราะครูมีส่วนสร้างให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ กล้าแสดงความคิดเห็น

 

Kris Weerapalaphon  Kaewklang (กฤช วีระพลพล  แก้วกลาง) 60484945024

Ph.D.Innovation 16 : Suan Sunandha Rajabhat University


กฤช วีระพลพล แก้วกลาง

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 3 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561

          แต่ละสัปดาห์ที่ผ่านไปขอให้ทุกคนทบทวนให้รอบคอบว่าทำอะไรไปบ้างและมีประโยชน์ต่อตนเอง

สัปดาห์แรกก็พูดถึงหลักสูตรนี้ Chira Way ทุกคนได้แนะนำตัวแล้วแบ่งความรู้

          ครั้งที่สอง ฟังเทปการศึกษาแล้วทุกคนออกความเห็นด้านการปฏิรูปการศึกษา นอกจากการศึกษา มีตัวอย่างอื่นๆที่ลงทุนเรื่องคนด้วย เช่น บทบาทของครอบครัวที่ต้องปลูกฝัง เรื่องสุขภาพ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องการลงทุนพัฒนาทุนมนุษย์ก่อนเข้าสู่วัยทำงาน ในอนาคต หลักสูตรแบบนี้ก็ขยายเป็น Macro และ Micro

          เรื่อง Macro อีกเรื่องคือสื่อ ตอนนี้มีวิเคราะห์แล้ว social media มีดีและเสีย ทำให้เด็กยุคต่อไปถูกอิทธิพลเหล่านี้ ตอนนี้สังคมไทยคิดไม่เป็น เมื่อทำเรื่องการปฏิรูปการศึกษาแล้ว จะนำความเห็นทุกคนมาเป็นแก่นแล้วแบ่งปันไปให้คนอื่นเป็นผลงานรุ่นด้วย

          การพัฒนาทุนมนุษย์ที่ดีต้องมาจากการปลุกฝังมาตั้งแต่ก่อนทำงาน ต้องช่วยกันทำ นวัตกรรมเป็นเป้าหมาย แต่ขึ้นกับปลูก เก็บเกี่ยวและเอาชนะอุปสรรค

          อาจารย์จีระ ได้ขอให้อาจารย์พิชญ์ภูรีร่างแนวทาง Chira Way ขอให้นักศึกษาวิจารณ์ ลูกศิษย์ชื่อ คุณศรัณย์ไปเยี่ยมอาจารย์จีระที่บ้าน ก็สนใจฟังรายวิทยุแล้วส่งไลน์มาบอกว่า อาจารย์มีประสบการณ์ที่รรมศาสตร์แล้วก็เดินทางบ่อยมี global view เคยเป็นประธาน APEC HRD กลุ่ม APEC เป็นการรวมตัวของ 21 เศรษฐกิจ มีการประชุม summit ทุกปี มีกรรมการรับผิดชอบในแต่ละเรื่อง อาจารย์จีระทำ HRD  จึงมีโอกาสได้ปะทะทางปัญญา เวลาคนที่คนผิวเหลืองเป็นประธาน มี Bias มาก คนผิวขาวรวมตัวโหวตเป็นบล๊อก

          ในด้านการปฏิรูปการศึกษา อาจารย์จีระถามลูกน้องว่ามีความเห็นอย่างไร คุณวราพร บอกว่า ควรพัฒนาภาษาอังกฤษ อาจารย์จีระบอกว่า ควรสอนให้ประยุกต์การศึกษาให้ใช้กับสภาพความเป็นจริงให้ได้ คนไทยควรมีความสามารถไปพูดในการประชุมภาษาอังกฤษ อาจารย์จีระเคยจัดการประชุมนานาชาติที่เมืองไทย

          ชาวบ้าน ก็ยังคิดถึงอาจารย์จีระเมื่อได้ไปให้ความรู้แล้ว

          อาจารย์จีระ จะรับหน้าที่สอนปริญญาเอกให้ดีที่สุด หลักการเรียนคือทำให้เกิดปัญญาแล้วพัฒนาตัวเรา หลักสูตรนี้ไม่ได้มีความหมายเพียงแค่ได้ปริญญาอีกใบ อยากให้เป็นบรรยากาศการเรียนที่มีคุณค่าต่อนักศึกษา แม้เรียนแค่หลักสูตรเดียวก็เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า คนที่ไม่ได้มาเรียน ก็ขอให้ติดตามใกล้ชิด

          Wisdom ที่เกิดในห้องกับ Moment ที่เกิดในแต่ละครั้งควรนำคิดว่ามีผลกระทบอย่างไร ใช้ 2R’s ความจริงและตรงประเด็น แลกเปลี่ยนความรู้เป็นทีมในช่วงที่ไม่ได้เรียนกับอาจารย์

          กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับบทความเรื่อง ศาสตร์พระราชา ทรงเน้นทุนนิยมให้ทุกคนมีส่วนร่วมที่เต็มไปด้วยจริยธรรม มีการเคารพซึ่งกันและกัน มีความรักและความยั่งยืน ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า คอลัมน์บทเรียนจากความจริง วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2561

 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          บทความนี้ลึกซึ้ง มีตัวอย่างหลายเรื่องประกอบ

          ในเรื่องปฏิรูปการศึกษา ควรทำเรื่องคนตกหล่นในระบบการศึกษา ควรทำเรื่อง 4L’s ในการปฏิรูประบบการศึกษา

          ทุกคนควรส่งไลน์ตอบว่า ควรจะปฏิรูปการศึกษาในด้านใดบ้างเพื่อให้เกิดผลอย่างแท้จริง

          อาจารย์ส่วนใหญ่สอนมีแต่สาระ แต่ขาดการสร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษา

 คนที่ 1

          บทความกล่าวถึงเรื่อง Trump บริหารประเทศเน้นเศรษฐกิจและ America First ตอนที่ไปพูด Davos ก็บอกว่าทำอะไรให้อเมริกาบ้าง ทำให้บางบริษัทจ่ายโบนัสได้ ในส่วนทุนนิยมที่เขาทำเน้นความโลภ แต่เศรษฐกิจพอเพียงลดความเหลื่อมล้ำ ให้ทางเลือกด้านจิตใจ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ควรทำวิทยานิพนธ์ ศาสตร์พระราชา

          อเมริกาเป็นทุนนิยมสอนให้ทำกำไรสูงสุด แต่ตอนนี้เศรษฐศาสตร์ต้องเป็น Multidisciplinary

อาจารย์จีระใช้เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ความสุข เวลาที่มาเรียนแต่ละคนจะได้อิทธิพลจากเพื่อนที่มาร่วมด้วย

คุณพูดเหมือนคนที่อ่านหนังสือ เป็น wisdom ที่ได้แรงบันดาลใจจากบทความนี้

 คนที่ 2

          Trump มองประโยชน์ของอเมริกาเป็นหลัก แต่ Macron มองโลกเป็นหลัก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          Trump นำอเมริกาออกจากข้อตกลง Climate change อเมริกาควรช่วยเรื่องนี้

 คนที่ 3

          Trump ทำตัวเป็นผู้นำโลกว่า นำเสนอเป็นตัวเลขเปรียบเทียบ มองตนเองว่าประสบความสำเร็จ คนผิวดำไม่ได้เห็นด้วย

ต่างจากศาสตร์พระราชา คิดถึงระดับรากหญ้าด้วยนอกเหนือจากเศรษฐกิจอย่างเดียว

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ควรแยกสิ่งที่วัดได้และวัดไม่ได้

          สิ่งที่วัดไม่ได้มีใน HRDS ความสุข การเคารพนับถือ เกียรติและศักดิ์ศรีและความยั่งยืน

          ถูกใจความเห็นนี้มาก

 คนที่ 4

          บทความนี้สะท้อนว่า ศาสตร์พระราชาเติมเต็มทุนนิยม  อเมริกาสุดโต่งไป ต้องมีความยั่งยืนด้วย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ตอนที่จัดสัมมนาระดับนานาชาติ มีทูตยุโรปจะเชิญอาจารย์จีระไปพูดที่ยุโรป ควรจะมีคนระดับหมอเกษมและดร.สุเมธไปพูดในระดับ Davos ด้วย ตอนนี้ระดับ UN เข้าใจแล้ว แต่นักธุรกิจยังไม่เข้าใจ ยังวัดจากตัวเลขมากกว่า

 คนที่ 5

          น่าเห็นใจ Trump ถ้าเขาได้เรียน Chira Way กับอาจารย์คงไม่ถูกโจมตี Trump มองแต่ทุนนิยม และผลประโยชน์ต่ออเมริกา ไม่ได้มองความยั่งยืนของโลก ไม่รู้ว่าอเมริกาให้อะไรกับโลก HRDS, 2R’s สามารถนำไปตอบโจทย์ในโลกได้ จากการได้เรียนก็นำทฤษฎีไปเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ในโลก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          รุ่นนี้ได้ Chira Way และ แรงบันดาลใจ ควรเขียนหนังสือเป็นภาษาอังกฤษให้ฝรั่งอ่านบ้าง

          มารยาททางการเมืองสำคัญมาก ในการประชุม APEC มีอคติเกิดขึ้นตลอดเวลา

          ถ้าเรารู้น้อย ก็ทำได้ยาก หลักสูตรนี้ไม่ได้สอนให้เป็นอาจารย์หรือทำวิจัยเท่านั้น Wisdom ก็นำไปใช้ในชีวิตก็ได้

          ถ้า Trump คิดว่า คนอื่นเหมือนเขา ประเทศอยู่ไม่รอด

 คนที่ 6

          ศาสตร์พระราชา เติมเต็มความเป็นมนุษย์ ถ้าเราคิดพัฒนาแล้วแบ่งปันให้คนอื่นเจริญ มีจิตใจมีคุณธรรม

          Trump เน้นต่างคนต่างทำ มองที่ตัวเลข ไม่คิดถึงคนอื่น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          Trump ต้องคิดถึงเกิดแก่เจ็บตาย คนแบบ Trump ไม่ได้มีบ่อย แสดงว่า ในอเมริกามีคนผิวขาวคลั่งความยิ่งใหญ่ในอดีต คนผิวขาวเหล่านี้เรียนจบมัธยมแล้วทำงานในโรงงานรถยนต์ ตอนหลังมีต่างชาติเข้ามาธุรกิจจึงล่ม เขาแค้นชาติอื่นๆ คนผิวขาวลืมตัวว่าเป็นผู้อพยพเหมือนกัน คนผิวขาวขวาจัด บ้าคลั่งศาสนา แต่สังคมไทยไม่เป็นแบบนั้น คนไทยมีความอดทนสูง มีหมอ ดาราเป็นเพศที่สามมากขึ้น แต่คนผิวขาวไม่เข้าใจพหุวัฒนธรรม Value Diversity คือการเข้าใจความหลากหลาย สังคมไทยไม่ควรจะเกิดการแบ่งแยกอีกครั้ง คนเราแตกต่างกันได้แต่ไม่ควรจะฆ่ากัน

          Wisdom ต้องนำมาประยุกต์กับความจริง โดยมาจากฐานข้อมูลที่มาเรียบเรียง ตอนท่ฟองสบู่แตก ถ้าไทยไม่มีเศรษฐกิจพอเพียงก็ไม่รอด

          พูดดีมาก

 คนที่ 7

          Trump อยู่ในช่วง honeymoon มีอีโก้สูงมาก จะเน้นตัวเลขที่ดีขึ้นและคนชอบมาเสนอ

ศาสตร์พระราชาเน้นความยั่งยืนมากกว่า

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          Professor ที่ Harvard บอกว่า ความสำเร็จที่แท้จริงคือ Happiness and Sustainability คนที่เรียนจบ Harvard 5 ปีแรกมีความสุขงานทำดี ต่อมามีปัญหาครอบครัว โรคร้าย บางคนเข้าคุก เช่น ประธานเอ็นรอน ตอนหลังสังคมมีคนเข้าคุกมากขึ้น

          ตอนนี้มี Fintech ทำให้ธนาคารปลดคน ทำให้คิดถึง Employment and Employability ต้องมีความสามารถในการจ้างงานตนเองด้วย ช่วยกันทำงาน ไม่ควรประมาทกับชีวิต

 คนที่ 8

          Trump อยู่ในช่วงที่ทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้

          ความดีกับความยั่งยืนนั้นวัดยาก คนที่ดูศาสตร์พระราชาที่ต่างจังหวัดก็ไม่เข้าใจแก่น

แล้ว Trump ก็จะเรียนรู้ทีหลัง

          นักธุรกิจมักดูผลลัพธ์วัตถุนิยม บางบริษัทก็ทำ CSR แต่ประชาชนก็ไม่ได้เรียนรู้ นายกรัฐมนตรีก็ดูแลความสุขของประชาชน มีศูนย์ดำรงธรรม โดยมีกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ประสานความร่วมมือ         

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ควรทำวิจัยเรื่อง ศูนย์ดำรงธรรม ควรแก้ปัญหาเด็กออกจากโรงเรียนกลางคัน

 

การนำเสนอหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

 Present Group 1

แนวคิดทรัพยากรมนุษย์

          แนวคิดเดิมของทรัพยากรมนุษย์คิดถึงเรื่องแรงงานสัมพันธ์ มุ่งแก้ปัญหาความขัดแย้งด้านแรงงาน ยังเห็นว่าคนเป็นต้นทุนการผลิต ตอนนี้แนวคิดทรัพยากรมนุษย์ก็มีการเปลี่ยนแปลงว่า คนเป็นมูลค่าเพิ่ม คนเป็นผลกำไรขององค์กร จึงต้องดูแลเอาใจใส่เพิ่มศักยภาพคนอย่างจริงจังและเป็นระบบ

          แนวคิดทรัพยากรมนุษย์ของคุณพารณมองทรัพยากรมนุษย์เป็นมูลค่าเพิ่ม ต้องมีการพัฒนาทั้งระบบควบคู่ไปกับเรื่องจิตใจ ต้องมีการกระทำตนเป็นต้นแบบมีอยู่ 4 หัวข้อด้วยกัน

          1. มีแนวคิด 4 เก่ง 4 ดี

                    4 เก่งคือ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งเรียน

                    4 ดี ก็คือประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม

          2. ตระหนักในคุณค่าของคน คนมีค่ามากกว่าทรัพย์สินอื่นใดในองค์กร เพราะฉะนั้นต้องพัฒนาคนเรื่อยๆ และรักษาคนให้ดี          มีการลงทุนพัฒนาอบรม โดยที่ในปูนซิเมนต์ไทย มีการอบรมระดับล่าง กลาง บน นอกจากนั้นยังพัฒนาบุคคลที่เกี่ยวข้องกับองค์กรทั้งหมด เช่น Supplier ผู้รับเหมา ลูกค้า จะได้รับการพัฒนาได้รู้อะไรใหม่ๆอยู่เสมอ

3.สุดท้ายแนวคิดการทำงานเป็นทีม คุณพารณชอบให้ทำงานแบบ Participative

นวัตกรรมความคิดด้าน HR ของคุณพารณ

          1. Remind Management ทัศนคติการตักเตือนผู้บริหาร เวลาที่ส่งใครไปนอกองค์กรเพื่อเป็นผู้บุกเบิกในการทำกิจกรรมใหม่ ตอนที่คุณพารณยังไม่ได้มาทำงานในเรื่องการบริหารงานบุคคล ก็ปล่อยผู้บุกเบิกออกไปไม่รู้ว่าจะกลับมาส่วนกลางเมื่อใด แนวคิดนี้สร้าง Remind Management

          2. สร้าง Corporate Culture อุดมการณ์ในการทำธุรกิจ

          3. การเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement)

HR concept ของอาจารย์จีระ

          มีความเชื่อว่า คนเป็นทรัพยากรที่มีค่า เป็นทุนที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ เพราะฉะนั้นต้องยกระดับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือต้องมองในลักษณะองค์รวม มีการเงิน การตลาดและขีดความสามารถในการแข่งขันเป็นเรื่องสำคัญ จำเป็นต้องมีการลงทุนพัฒนาทุนมนุษย์

          ต้องพัฒนามนุษย์ให้เรียนรู้กระบวนการ ให้ชี้นำตัวเองและผู้อื่นได้ด้วย ไม่ต้องรอให้ใครมาสอน ช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นได้

ต้องสนใจเรื่องผลลัพธ์ เรื่องเก็บเกี่ยวเป็นเรื่องสำคัญ

ต้องมีการรับมือความเปลี่ยนแปลงได้

นวัตกรรมความคิดด้าน HR ของอาจารย์จีระ

          1.ในช่วงแรกที่ทำงาน มีเรื่อง labor productivity และแบ่งปันผลประโยชน์แก่ผู้ใช้แรงงาน

          2.โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้บริหารมหาวิทยาลัย

          3. การจัดตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปรัชญาทรัพยากรมนุษย์

          ไม่ใช่ Training แต่เป็นการเรียนรู้ ต้องรู้ตนเองก่อนว่า ตนอยู่ในระดับใด World Bank มีตัวชี้วัดเรื่องของคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ มีกรอบคือ

          1.คุณภาพของคน  อ่านออกเขียนได้เท่านั้นถือว่าไม่มีคุณภาพ

          2.คุณภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่องของการอยู่รอดในยุคโลกาภิวัตน์และเรื่องระบบการบริหารจัดการ

          ถ้าต้องการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ต้องใช้การศึกษาสร้างและลงทุน แล้วจะได้คนที่มีความสามารถในการเพิ่มผลผลิตก็คือการเก็บเกี่ยว ประเทศไทยมีปัญหาในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือมองว่าเป็นการลงทุนระยะยาวที่ไม่เห็นผล นอกจากนั้นการเก็บเกี่ยวจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไม่ชัดเจน เมื่อลงทุนไปแล้วก็ไม่รู้ว่าจะไปจากองค์กรหรือไม่ ต้องมีการบริหารจัดการคนโดยจะให้ความรู้และพัฒนาด้านจิตใจ และทุนทางปัญญาไปพร้อมกัน ถ้าให้ความรู้เฉพาะ คนก็จะอยู่กับองค์กร ถ้าให้ความรู้ทั่วไป คนมีสิทธิ์ที่จะลาจากองค์กร คุณธรรมทำให้มีความรักในองค์กรและอยู่กับองค์กรได้

ตัวอย่าง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของปูนซิเมนต์ไทย

          สะท้อนในอุดมการณ์การทำธุรกิจของบริษัทปูนซิเมนต์ไทยคือ ต้องมีตั้งมั่นในความเป็นธรรม มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ เชื่อมั่นในคุณค่าของคน  ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม แล้วแปรออกมาเป็นปรัชญาของปูนซิเมนต์ไทยคือ เชื่อมั่นในคุณค่าของคน พนักงานเปรียบเสมือนคนในครอบครัว และต้องรับผิดชอบต่อสังคมด้วย ทำให้บริษัทปูนซิเมนต์ไทยประสบความสำเร็จได้

          เมื่อมีทรัพยากรมนุษย์แล้ว ผู้บริหารระดับสูงต้องเชื่อว่าคนเป็น Asset และหัวใจขององค์กร มี 8K’s+5K’s สำหรับพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร

          8K’s ทุนมนุษย์ต้องมีปัญญา คุณธรรม ความสุข มีสังคม ความยั่งยืน ความเชี่ยวชาญดิจิตอล มีความสามารถ

          เมื่อมีโลกาภิวัตน์ ก็มี 5K’s ใหม่ ต้องความคิดสร้างสรรค์

 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ในการสอบจะเน้น HR architecture ต้องเข้าใจรากฐาน 8K’s+5K’s ก่อน มีรากมาจาก Gary Becker ซึ่งเป็น Professor จากชิคาโก ซึ่งได้รางวัลโนเบล รุ่น 16 จะขยาย 8K’s+5K’s มากขึ้น หนังสือแต่ละเล่มที่เรียนมีแรงบันดาลใจ

          หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ มาจากการเห็นคุณค่าคุณพารณ

          หนังสือ 8K’s+5K’s  ได้แรงบันดาลใจจากการที่อาจารย์จีระไปสอนที่ภูเก็ต

          หนังสือ พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม ท่านว.วชิรเมธีให้เกียรติอาจารย์จีระเพราะยกตัวอย่างอธิการบดี 4 คนคือ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ท่านวรรณ และ ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์

          หนังสือเล่มที่ 4 ได้แรงบันดาลใจจากอาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมลและคุณวราพร ชูภักดี

          รุ่น 15 ทำ Outline เรื่องภาวะผู้นำ ส่วนรุ่น 16 ในขณะเดียวกัน จะร่วมทำเรื่อง Chira Way

          คุณพูดถูกว่าหลักของอาจารย์คือ 8K’s+5K’s  อยากจะให้ลูกศิษย์ช่วยกันเขียนหนังสือด้วย ถ้ามาช่วยกันเขียนจะได้เป็นมรดกไว้ หนังสือทั้ง 3 เล่มเป็นภูมิปัญญาของคนไทย

 Present Group 1

          ในส่วน 5K’s มีทุนทางนวัตกรรม ทุนทางอารมณ์และทุนทางวัฒนธรรม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ยังไม่เคยเปลี่ยนลำดับ 8K’s 5K’s นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์มาหลังจากการมีพื้นฐานจริยธรรมและความรู้ใน 8K’s

Present Group 1

          ตัวอย่างส่วนผสม 8K’s+5K’s ออกมาในแนวคิดเรื่องคุณภาพคนของปูนซิเมนต์ไทย

          1. ใช้ระบบ Merit ใช้ระบบคุณธรรมรับคน

          2. ให้ผู้บริหารระดับสูงเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินงาน ทุกสิ่งดำเนินไปได้อย่างสำเร็จ

          3. ทัศนคติฝ่ายบริหารจัดการ เน้นดูแลคนอย่างดีตั้งแต่แรกเข้าถึงเกษียณ ดูแลให้คนพัฒนาตนเอง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ระหว่างอาจารย์จีระกับคุณพารณคือคุณพารณไม่ใช่นักวิชาการแต่อาจารย์จีระมาจากสถาบันวิจัย ซึ่งตั้งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตอนที่คิดก็ไม่ได้คิดเป็นสถาบันทรัพยากรมนุษย์ แต่คิดเป็นสถาบันแรงงาน ที่มาช่วยคิดชื่ออาจารย์นิคม จันทรวิทุร ตั้งใจไว้ให้เป็นสถาบันที่ดูแลเรื่องค่าจ้าง และแรงงานสัมพันธ์แต่เสนอไปที่รัฐบาล รัฐบาลบอกว่าธรรมศาสตร์เป็นคอมมิวนิสต์ ตั้งสถาบันแรงงานไม่ได้จึงให้อาจารย์จีระเป็นประธานก่อตั้ง เขาจึงถามว่าจะใช้ชื่อใหม่หรือไม่ สถาบันประชากรศาสตร์มีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์จีระใช้คำว่า สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เขาเห็นด้วยแต่สมัยนั้นตัดคำว่า พัฒนา ออกเพราะพัฒนาเป็นการเมือง ทำให้ผู้ใช้แรงงาน นี่คือค่านิยมคนยุคเก่า ถ้าได้ทรัพยากรมนุษย์ ก็ได้พฤติกรรมด้วย ถ้าใช้ประชากรศาสตร์ก็ได้แต่ Technical ทำแต่เรื่องโครงสร้างประชากร ทำให้ไม่มี Impact

ทรัพยากรมนุษย์ทำให้ได้ life cycle ทำตั้งแต่เกิดถึงตาย

Present Group 1

          ทรัพยากรมนุษย์มีลักษณะเป็น Strategic Resources หมายความว่า ทรัพยากรมนุษย์ต้องมีความเป็นเลิศและทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจ ทำได้โดยต้องเปลี่ยนทรัพยากรมนุษย์ให้เป็น knowledge worker คือมอง HR เป็นยุทธศาสตร์ ดึงศักยภาพคนให้เป็น global citizen

บันไดความสำเร็จ

          1. ระดับ Macro เน้นคนเป็นสำคัญ มีวิสัยทัศน์วางแผนให้สอดคล้องกับธุรกิจในอนาคต ลงทุนในศักยภาพคนให้มีแรงจูงใจในการทำงานเพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับองค์กร นำ ICT มาใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการทำงาน เรื่องสุขภาพก็สำคัญ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพต้องมีสุขภาพกายใจดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี มี global knowledge เช่น ภาษา เทคโนโลยี

          2. ระดับ Micro (องค์กร) ต้องพัฒนาความรู้ด้านธุรกิจ พัฒนาพนักงานในเรื่องการเพิ่มผลผลิตให้กับองค์กร ให้ทุนการศึกษาไปต่างประเทศคือการลงทุนด้านปัญญา กำหนดจำนวนวันเข้าฝึกอบรมและกำหนดทิศทางส่งเสริมพัฒนาคน ซึ่งส่วนนี้ปูนซิเมนต์ไทยก็ได้ทำ

บันไดความสำเร็จ PPCO

          1. PDCA (Plan, Do, Check, Act) เป็นแผนที่วางไว้ก่อน

          2. Priority จัดลำดับความสำคัญ

          3. Participation ให้พนักงานและผู้บริหารในองค์กรมีส่วนร่วม

          4. Ownership การสร้างความเป็นเจ้าของแล้วจะรู้สึกว่า จงรักภักดีในองค์กร

          นำไปสู่การสร้างความจงรักภักดีในองค์กร ได้แก่ สร้างอย่างไร ทำให้ทั้งองค์กรพนักงานและได้ประโยชน์

วิธีการสร้างความจงรักภักดีในองค์กร

          1. สร้าง long-term employment แทนระบบพันธะสัญญาที่เน้น Performance อย่างเดียว ดูแลตั้งแต่เข้าทำงานวันแรกจนถึงเกษียณ

          2.สร้างความเชื่อมโยงระหว่างพนักงานและประวัติศาสตร์องค์กร ให้ตระหนักคุณค่าประวัติศาสตร์ที่มีมายาวนานและต้องรักษา

          3. การมีส่วนร่วมของคนทุกระดับในองค์กร

          4.มองความภักดีเป็นหนึ่งเดียวเป็นทรัพย์สินทางปัญญา

การทำให้ทั้งองค์กรพนักงานและได้ประโยชน์ (Win-win Situation)

          1. สร้างองค์กรให้มีชีวิต นอกจากให้เงินแล้ว ต้องให้ความรัก ให้เกียรติ ให้งานที่ท้าทายความสามารถ ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วม แล้วทุกคนจะมีความสุขที่จะอยู่ในองค์กร

          2. ทำให้ Knowledge Workers เป็น Global Citizens

                    2.1 มีวิสัยทัศน์ว่า จะเปลี่ยนคนไทยเป็นผู้เรียนรู้และกลายเป็นพลเมืองของโลก

                    2.2 เปลี่ยนวิสัยทัศน์เป็นพันธกิจคือ ให้ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันที่สูง

คุณสมบัติ Global Citizens

          เป็นคนที่สามารถค้นหาข้อมูล เปลี่ยนออกมาเป็นข่าวสารและพัฒนาไปเป็นความรู้ คล่องภาษาไทยและอังกฤษ มีความรู้ด้านเทคโนโลยี มีคุณธรรม

ตัวอย่าง การสร้าง Global Citizens ด้วยการศึกษา เพราะการศึกษาเป็นการลงทุน

          คุณพารณใช้ Learning Organization และConstructionism ออกมาในรูปโรงเรียนดรุณสิกขาลัยและโรงเรียนบ้านสันกำแพง

          1. Learning Organization ทุกคนเรียนรู้ได้และเรียนรู้ตลอดชีวิต แล้วพัฒนาเป็นทฤษฎี 4L’s เริ่มตั้งแต่หมู่บ้านไปที่โรงเรียน มหาวิทยาลัย ภาคอุตสาหกรรม แล้วไปสู่ Nation that learns ประเทศแห่งการเรียนรู้

          2. Constructionism ผู้เรียนทำในสิ่งอยากรู้ ครูก็บูรณาการวิชาการ ให้คุณค่าความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก เตรียมความพร้อมให้เด็กเป็นพลเมืองในยุคโลกาภิวัตน์ ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องสนับสนุน ทำให้เด็กรุ่นใหม่เป็น Global Citizens ด้วยการศึกษา

          โรงเรียนดรุณสิกขาลัยและโรงเรียนบ้านสันกำแพงไปสู่ภาคอุตสาหกรรมคือกลุ่มปิโตรเคมี กลุ่มเยื่อกระดาษแล้วไปจบที่ประเทศชาติ คือจาก Micro ไปสู่ Macro

กรณีศึกษาการพัฒนาคนสู่ความเป็นเลิศ

          อาจารย์จีระมีตัวอย่างความสำเร็จคือ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรปราการ อาจารย์อาจารย์จีระใช้ 4L’s 8K’s 5K’s กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ (Eager to learn) บวกกับนวัตกรรม

          Eager to learn คือสามารถคิดวิเคราะห์ วิธีการสอนน่าสนใจ มีการคิดนอกกรอบ ทำให้เกิดนวัตกรรมซึ่งมีคุณสมบัติความใหม่ ต้องมีการลงมือ ทำต่อเนื่องและวัดผลได้

          ผลผลิตที่เกิดขึ้นในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรปราการคือ

          1.มีหลักสูตรพัฒนาผู้บริหาร 48 ชั่วโมง

          2.มีหลักสูตรการเรียนการสอนในธุรกิจอุตสาหกรรม ให้นักเรียนเรียนอย่างมีแผนแล้วสุดท้ายมีงานทำ เป็น 2R’s คือ Reality และ Relevance

          3.เปลี่ยนภาพลักษณ์ของโรงเรียนให้ได้รับการยอมรับและได้รับรางวัล

การรักษาคนในองค์กร

          1.เป็นการดูแลคนในองค์กรตั้งแต่เดินเข้ามาจนออกจากองค์กร

          2.บริหารด้วยความรัก นอกจากจะให้เงินที่ใช้เลี้ยงชีพ ต้องมีคุณค่าทางด้านจิตใจด้วย

การแก้ปัญหาในองค์กรและฝึกฝนให้มีการเรียนรู้

          คนต้องเรียนรู้ด้วยตนเองเป็น แก้ปัญหาเองได้ ตรงกับ Learning Organization ทุกคนเป็นองค์กรการเรียนรู้และเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต

          เวลาที่นำเรื่องคนไปใช้องค์กร มี 3 เสาหลักในการบริหารงานบุคคล

          1. ต้องเชื่อมั่นศรัทธาในคน

          1.1 ด้านการบริหารงานบุคคล การบริหารคนเป็นหัวใจขององค์กร คนเป็นทั้งผู้สร้างปัญหาและแก้ปัญหา ถ้าบริหารคนได้ ทุกอย่างก็ราบรื่น

          1.2 ด้านเศรษฐศาสตร์ คนเป็นผู้สร้างงาน ถ้าบริหารคนได้ ธุรกิจเองก็เจริญก้าวหน้าได้ดี คนเป็นทรัพยากรที่ใช้ไปก็มีคุณค่าเพิ่มขึ้น ถ้ารู้จักพัฒนาคนก็จะมีคุณค่าทางเศรษฐศาสตร์ด้วย

          1.3 ด้านเทคโนโลยี คนเป็นคนสร้างขึ้นมา เทคโนโลยีจึงเป็นผู้สนับสนุน เพราะฉะนั้นต้องเน้นเรื่องการใช้คนไปสร้างความสำเร็จในองค์กร

ปัจจัยที่ทำให้งาน HR ของคุณพารณและอาจารย์จีระลุล่วงไป

          1. แม้ไม่ได้เรียน HR แต่คนเห็นคุณค่าความสามารถของท่าน จึงทำงาน HR ได้อย่างลุล่วง

          2. ทั้งสองท่านมีความแน่วแน่มุ่งมั่น

          3. มีอิทธิพลต่อสังคม

          4. มีวิสัยทัศน์มองไปข้างหน้า ในเรื่องความเป็นจริงและบริบทที่เกี่ยวข้อง

          5. มีความเป็นผู้ให้ ไม่ได้ต้องการผลอะไรตอบแทนนอกจากให้ปัญญาแก่สังคม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          หนังสือเล่มนี้มีอิทธิพลในด้านการทำวิทยานิพนธ์อย่างไร

 Present Group 1

          ทฤษฎีต่างๆ สามารถย่อยออกไปเป็นหัวข้อได้ เช่น 8K’s 5K’s เป็นฐานทฤษฎีได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          หนังสือเล่มนี้เป็นประวัติอาจารย์จีระที่ธรรมศาสตร์ ได้ไปปรึกษาคุณพารณ เชื่อว่า ทรัพยากรมนุษย์เป็นหัวใจสำคัญที่สุด แรงบันดาลใจนี้ทำให้รู้สึกว่าเรื่องคนสำคัญ

          ปัญหาไทยเป็น factor proportion นำทรัพยากรธรรมชาติมาเป็นสัดส่วนทรัพยากรมนุษย์ ไทยเคยมีทรัพยากรสมบูรณ์ จึงลงทุนเรื่องคนน้อย แต่ลงทุนทรัพยากรธรรมชาติมากในอดีต แต่สิงคโปร์ไม่มีทรัพยากร ตอนนี้ซาอุดิอาระเบีย บรูไนมีปัญหาทรัพยากรมนุษย์

          ทรัพยากรธรรมชาติลดลง แต่ทรัพยากรมนุษย์ไทยในอดีตมีคุณภาพน้อย การขับเคลื่อนต้องมีคนที่คิดเป็นวิเคราะห์เป็น อาจารย์มีหน้าที่ยกบทบาททรัพยากรมนุษย์เป็นแบรนด์ประเทศผ่านการจัดการประชุมนานาชาติตลอดเวลา และมีคนระดับโลกมาพูด

          เป้าหมายอาจารย์จีระและคุณพารณเหมือนกัน แต่คนละเส้นทาง

 อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          จากที่นำเสนอ กลุ่มนี้เด่นในการนำเสนอแบบ KM ดูแล้วเข้าใจง่าย ผู้นำเสนอมีความเข้าใจดีมาก

KM คือนำความรู้มาจัดการ

          อาจารย์จีระจะเชิญรุ่น 16 เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มใหม่ Chira Way ของดร.จีระ ก็จะทำคล้ายๆ Harvard Business Review มีรวบรวมงานมาจากปริญญาเอก

          เราได้ยิน Toyota Way, Chira Way เป็นเรื่องที่ต้องเก็บสะสม ต้องเลือกว่า เก่งอะไร แล้วนำมาเป็น Way ของตน การเลือกเป็นเรื่องสำคัญ แต่ต้องเป็นเรื่องที่เราเก่งและสังคมสนใจ คนอื่นได้ประโยชน์แล้วนำไปใช้ได้

          การอ่านหนังสือเป็นการทบทวนวรรณกรรม ในวิทยานิพนธ์ต้องมีการสังเคราะห์งานที่ทบทวนวรรณกรรมต่อยอดองค์ความรู้

          ในชั่วโมงต่อไปต้องคิดต่อ SCG เปลี่ยนไปมากจากหนังสือ ต้องไปหาข้อมูลเพิ่ม ช่วงเวลาที่ต่าง บริบทเปลี่ยน

          รุ่น 16 ต้องคิดเพิ่มเวลาที่ทำหนังสือ

          คุณพารณต้องการให้เป็นองค์กรการเรียนรู้

          เวลาที่ทำหนังสือ ต้องเริ่มจากประเด็นเดิม เช่น เด็กออกนอกระบบ คุณแม่วัยใส จะต้องดูว่า จะดึงกลับเข้าระบบ ต้องดูอาชีพที่คนกลุ่มนี้ชอบ เช่น ครูสอนการแสดง ขายเครื่องสำอางค์ หรือเป็นช่างแต่งหน้า ไม่ใช่แค่เอา กศน.เข้าไปทำขนม ซึ่งเชย

          เมื่อบริบทเปลี่ยน โจทย์ก็เปลี่ยน ความจริงคือกระบวนความจริง ไม่ใช่ความจริงก้อนๆ สิ่งที่เป็น Way ก็ยังคงมี DNA อยู่

          SCG มี DNA อยู่คือ เป็นองค์กรการเรียนรู้ จากการที่ดูงาน SCG เหมือนเขาให้ไม่หมด ไม่ได้หัวใจมา เขาเริ่มตีเป็นทรัพย์สินทางปัญญาต่างจากในอดีต เป็นเพราะผู้บริหารเปลี่ยน

          เมื่อบริบทเปลี่ยน คนก็เปลี่ยน แต่คนปัจจุบันไม่ต้องให้ดูแลตลอดชีวิต เด็กรุ่นใหม่เน้นความสมดุลงานและชีวิต 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          อาจารย์พิชญ์ภูรีมีประสบการณ์มาก ในเมืองไทยมักแยกสมองซีกขวาและและซีกซ้าย ต่างจากอเมริกา คนทำการเงินเรียนจบวรรณคดีอังกฤษ

 Present Group 2

ความแตกต่าง

          คุณพารณมีพื้นฐานการทำงานเป็นภาคเอกชน เป็นนักปฏิบัติ ทำงานบริษัทเชลล์ บริษัทต่างชาติ แล้วมาเป็นผู้บริหาร SCG คุณพารณให้คุณค่าทุนมนุษย์ ทำให้คนในองค์กรพัฒนาตลอดเวลา มีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง

          อาจารย์จีระเป็นนักวิชาการ เป็นนักปฏิบัติแล้วจึงมาเป็นอาจารย์ มีส่วนเกี่ยวข้อง HR ตอนเป็นผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ข้อดีคือมองลึก

 Present Group 2

ความแตกต่าง

          อาจารย์จีระมีการจัดประชุมนานาชาติ สามารถให้ความรู้หรือองค์กรการเรียนรู้ไปได้อย่างกว้างขวาง ตอนแรกสนใจแรงงานแล้วต่อมาสนใจทรัพยากรมนุษย์ อาจารย์จีระมองทรัพยากรมนุษย์เป็นสินทรัพย์มากกว่าต้นทุน

 ความเหมือน

          ทั้งสองท่านมีความตระหนักในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ มองเป็นทุนหรือสินทรัพย์มากกว่าต้นทุน ทั้งสองท่านมีชื่อเสียงในวงการ HR และสังคม

 สิ่งที่หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ช่วยให้ตระหนัก     

          1.ทำให้ตระหนักว่า โลกเปลี่ยนแปลง หลังแผน 8 เน้นทรัพยากรมนุษย์ ต้องมีการพัฒนาคน อาจารย์จีระเน้นภาษาและเทคโนโลยี ประเทศไทยยังขาดการผลิตเทคโนโลยีและการออกแบบ

          2. ในการกำหนดหัวข้อวิทยานิพนธ์แน่นอนพวกเราต้องสนใจหนังสือเล่มนี้เพื่อนำหัวข้อหรือทฤษฎีต่างๆ ไปทำวิจัยตามเรื่องที่ถนัด เมื่อสนใจแล้วก็ต้องกำหนดกรอบ

          3.ทุนมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องลงทุนเพิ่มพูนความสามารถของบุคลากร เอกชนให้ความสำคัญพัฒนาทุนมนุษย์ ราชการจะสั่งจากบนลงล่าง เมื่อเพิ่มพูนความสามารถของบุคลากร เป็นการเพิ่มคุณค่าให้องค์กร แล้วทุกอย่างจะยั่งยืน

4.การเปิดโอกาสให้คนในองค์กรมีความคิดหลากหลาย เกิดเป็น Wisdom เป็นนวัตกรรม

ที่สำคัญที่สุด ถ้าทำแล้วต้องมีความต่อเนื่อง

          หนังสือเล่มนี้เป็นต้นทุนมนุษย์แท้จริง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          เมื่อเรียนแล้ว ต้องนำไปใช้ในวิทยานิพนธ์ด้วย หนังสือ 3 เล่มและงานเขียนอาจารย์จีระเป็นหลักฐานทางวิชาการและต่อยอดได้ สิ่งสำคัญคือต้องเกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์นั้น

          วิชานี้เป็นทุนมนุษย์ตอบโจทย์นวัตกรรม ตอบโจทย์ 4.0 ปลูก เก็บเกี่ยวเรื่องคน นวัตกรรมเกิดขึ้น นวัตกรรมเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ที่ทำอะไรให้ดีขึ้น

 Present Group 2

สิ่งที่หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ช่วยให้ตระหนัก     

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          กลุ่มนี้เน้นเฉพาะจุดเด่นคน เมื่อ 2 กลุ่มเชื่อมโยงกันจะทำให้เห็นภาพกว้าง อาจจะเตรียม Way ของตนเองแล้วนำพวกนี้ไปจับ

          Way ของคนไทยต้องเป็นที่ยอมรับในสากล ต้องเลือกประเด็นที่เด่นและเป็นที่สนใจในต่างประเทศด้วย จากเว็บไซต์สหรัฐ ตอนนี้ไทยเป็นอันดับหนึ่งด้านความสะดวกสบายในการลงทุน ลงทุนแล้วสามารถส่งต่อไป CLMV อาจจะไปอาเซียนใต้ก็ได้

          อาจารย์จีระกล่าวถึงวรรณกรรมไทย อาจารย์บางท่านไม่ยอมรับ ต้องนำเสนอให้อาจารย์เข้าใจว่า ตรงกับความจริง

 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ถ้ารวมตัวกันได้ก็มีโอกาสสำเร็จ

          ขอชมเชย

          หนังสือภาษาอังกฤษจะเน้นนวัตกรรมเป็นหลัก

 อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          3 วงกลมสามารถ run equation ได้ จับบริบทนำเสนอ

          ก็เชื่อในความสามารถคนไทย คนไทยไม่ทำ how to

          หนังสือที่จะทำใหม่ชื่อ หนังสือ ChiraWay วิถีแห่งการพัฒนาและจัดการทุนมนุษย์อย่างยั่งยืน

 บทนำ 

          การที่"บุคคล"หรือ"องค์กร"หนึ่งใด จะสามารถสร้าง"วิถี"หรือ"แนวทาง"ในการบริหารจัดการใดๆ ให้ประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับ ว่าเป็นอัตลักษณ์ หรือลายเซ็นต์ (Signature) เพียงหนึ่งเดียวนั้น ต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์จริงของความล้มเหลว และความสำเร็จของบุคคลหรือองค์กรนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง จนก่อเกิดเป็นทักษะเฉพาะ ซึ่งนำไปสร้างเป็น"ระบบการจัดการความสำเร็จ" ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจ การดำเนินการ หรือสถานการณ์ต่างๆได้

           "ChiraWay" คือ "วิถีแห่งจีระ" คือแนวทางการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน ที่ใช้ระยะเวลายาวนานกว่าสามทศวรรษในการดำเนินงานวิชาการ และการทำงานด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่าให้กับทุนมนุษย์ไทย ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ นักเศรษฐศาสตร์ด้านทรัพยากรมนุษย์ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศไทย และในระดับสากล

           ChiraWay สามารถสรุปได้โดยย่อจากกรอบแนวคิด และปรัชญาพื้นฐานด้านทุนมนุษย์ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ สามประการ ที่ว่าด้วย "การปลูก การเก็บเกี่ยว และการทำให้เกิดความสำเร็จ" เป็นสามประการหลัก ที่เป็นทั้งปรัชญาขั้นมูลฐาน ที่ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มองเห็นจากประสบการณ์ทางวิชาการ และผลสัมฤทธิ์จากการทำงานของตนเองอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดเป็นกรอบการดำเนินงาน และกระบวนการความสำเร็จ ที่เป็น "DNA" หรือ "รหัสพันธุกรรม" ในรูปแบบของ ChiraWay

           ChiraWay ซึ่งเกิดขึ้นจากรหัสพันธุกรรมหรือDNA ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์นี้ ยังถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยตัวของผู้ก่อตั้งเอง และแนวคิดรวมถึงประสบการณ์อันแตกต่างหลากหลาย ของบรรดาลูกศิษย์ลูกหาที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในสังคมแห่งการเรียนรู้ อันเป็นรูปแบบที่ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ยึดมั่น และรังสรรค์ให้เกิดพัฒนาการใหม่ๆ เพื่อสามารถนำไปจัดการทุนมนุษย์ไทย ให้สามารถเผชิญกับความท้าทายนานาประการ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          อาจารย์มีความประสงค์ให้นักศึกษา Ph.D รุ่น 16 ร่วมเขียนหนังสือ

 ภาคที่หนึ่ง

ความสำเร็จและที่มาของChiraWay

 บทที่ 1 ความสำเร็จ และที่มาของChiraWay 

     - ความสำเร็จในอดีตที่ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เล่าผ่านสังคมแห่งการเรียนรู้ของลูกศิษย์หลายกลุ่ม และหลายรูปแบบ

     - ความเป็นมาของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทั้งด้านวิชาการ ประสบการณ์การทำงาน ทั้งของท่านเอง และนักวิชาการด้านทุนมนุษย์ที่ท่านสนใจ ที่ผสานและสังเคราะห์จนก่อให้เกิดปรัชญาและกรอบแนวคิดต่างๆ อันเป็นที่มาของ "วิถีแห่งจีระ" หรือ "Chira Way"

 

บทที่ 2 กรอบแนวคิด ปรัชญา และทฤษฎีทุนมนุษย์ แบบChiraWay

     - เป็นบทที่รวบรวมกรอบแนวคิด ปรัชญา และทฤษฎีทุนมนุษย์แบบ ChiraWayไว้เป็นหมวดหมู่ โดยจัดเรียงในกรอบของ "การปลูก การเก็บเกี่ยว และการทำให้สำเร็จ" ซึ่งบางทฤษฎีสามารถนำไปใช้ได้กับทุกหมวดหมู่ มีที่มาและคำอธิบายของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เพื่อความเข้าใจ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิผล 

บทที่ 3 การปลูก (Human Capital Development)

จะกล่าวถึงที่มา และกรอบแนวคิด ทฤษฎี และกระบวนการปลูกแบบChiraWay ซึ่งเน้นที่"สามเสาหลัก"อย่างเด่นชัด คือ

      1) Learning How to Learn. 

      2) Life Long Learning.

      3) Learning Communities.

          - 8K's ทฤษฎีทุนมนุษย์ 8 ประเภท

          - 5K's ทฤษฎีทุนมนุษย์ 5 ประเภท ( New Theory)

          - ทฤษฎีการเรียนรู้ 4 L' s

          - ทฤษฎีการเรียนรู้ 3 L' s

และบทสรุป ด้วยบทสัมภาษณ์ รวมถึงกรณีศึกษาจากความสำเร็จจริงที่พิสูจน์ได้

บทที่ 4 การเก็บเกี่ยว (Human Capital Management)

บทนี้จะว่าด้วย"กรอบแนวคิด ทฤษฎี กระบวนการ และ เครื่องมือ" ในการเก็บเกี่ยว หรือการบริหารจัดการทุนมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ แบบChiraWay ที่เน้นการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการทำงานที่มีคุณค่า อาทิ 

     - ทฤษฎี 2 R' s (Reality & Relevance)

     - ทฤษฎี 2 I' s (Inspiration & Imagination)

     - ทฤษฎี H R D S

     - ทฤษฎี 3 วงกลม เพื่อการบริหารจัดการทุนมนุษย์ อย่างมีประสิทธิภาพ

Execution หรือ การลงมือทำให้สำเร็จ 

     ประกอบด้วยกรอบแนวคิด ทฤษฎี กระบวนการ และเครื่องมือแบบ ChiraWay ประกอบกับกรณีศึกษา ประสบการณ์ แนวคิดและยุทธศาสตร์ต่างๆ ทั้งของศ.ดร.จีระ และกูรูชั้นนำ ซึ่งเน้นการเอาชนะอุปสรรค และการทำงานอย่างต่อเนื่อง ด้วยองค์ประกอบสำคัญ คือผู้นำ ตัวละครต่างๆ สถานการณ์ความเปลี่ยนแปลง และสภาวะแวดล้อม 

 ทฤษฎีเพื่อการลงมือทำให้สำเร็จ

- Leadership

- CEO / HR./ Non HR

- Networking

- TEAMwork 

- ทฤษฎี 3 V.

- ทฤษฎี C- U -V

- C&E Theory

- ทฤษฎี 3 ต. ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง

- ทฤษฎี 3 ต.(ใหม่) แตกต่าง ติดตาม ต่อเนื่อง

- ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง แห่งความยั่งยืน

 ภาคที่ 2

กรณีศึกษาความสำเร็จในภาพMacro และ Micro

 บทที่ 5 ทุนมนุษย์ไทย 4.0 

-โลกในยุคคลื่นลูกที่ 4 และบริบทประเทศไทย 4.0

- Change / Social Communities / Internet of Things

-มุมมองของศ.ดร.จีระ ที่มีต่อความเปลี่ยนแปลง ความท้าทายและเครื่องมือสำคัญในการจัดการทุนมนุษย์ ยุค 4.0

บทที่ 6 ผู้นำในโหล

กล่าวถึงกรณีศึกษา การสร้างผู้นำเพื่ออนาคตอย่างต่อเนื่อง ด้วยกระบวนการแบบ ChiraWay ใน 12 องค์กร 12 รูปแบบ ซึ่งจะอธิบายถึงผลสัมฤทธิ์ ที่เหมือนกัน คล้ายคลึง หรือแตกต่างกัน ไปตามความแตกต่างของบริบท ประกอบด้วย

     1) ผู้นำของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต

     2) ผู้นำที่เป็นข้าราชการ (อาทิ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงศึกษาธิการ )

     3) ผู้นำของคณะแพทยศาสตร์ และ

     4) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

     5) ผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยทักษิณ

     6) ผู้นำชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

     7) ผู้นำจากต้วละคร 4 กลุ่ม งานท่องเที่ยวโดยชุมชน (โครงการของกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา)

     8 ) ผู้นำในโครงการนักศึกษาปริญญาเอก

     9) ผู้นำเยาวชน (โรงเรียน เทพศิรินทร์)

     10) ผู้นำAsean  และ CLMV.ในบริบทของการท่องเที่ยว

     11) ผู้นำ Asean ในบริบทอื่นๆ

     12) การสร้างภาวะผู้นำในห้องเรียนผู้นำระยะสั้น

 บทที่ 7 การทูตภาคประชาชน

เป็นกรณีศึกษาการจัดการทุนมนุษย์ไทย เพื่อการร่วมมือกับต่างประเทศ

 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          จากการไปบรรยายให้กระทรวงเกษตร ก็ทำเรื่องแรงบันดาลใจ

          Imagination สำคัญกว่า เป็นการมองนามธรรมและจับให้เป็นรูปธรรมให้ได้

          เหมือนรวมหนังสือ 10 เล่มมาไว้ในเล่มเดียว

การบ้าน ขอให้คิดถึงบทบาทรุ่น 16

คุณวราพร ชูภักดี

นักศึกษาสามารถช่วยได้ในบทที่ 5 อาจจะเน้นหน่วยงานที่กำลังทำงานอยู่ ในภาคเอกชนหรือราชการควรพัฒนาทุนมนุษย์ไปในทิศทางใด

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ประเทศไทยไม่ขาดการเขียนแผนแต่ขาดการนำแผนไปปะทะกับความจริง น.พ.วิจารณ์เห็นด้วยว่า ต้องตั้งวิสัยทัศน์ว่าทำอะไร ม.อ.เน้นคุณภาพแต่มีไซโลสกัดกั้นคุณภาพ

          รุ่นนี้มี Execution

          อาจารย์จีระได้เปรียบเพราะความต่อเนื่อง สอนทั้งแพทย์และวิศวะแล้ว และสอนปริญญาเอกมาเป็นรุ่น 16 แล้ว

คุณวราพร ชูภักดี

หนังสือเล่มนี้ อาจารย์พิชญ์ภูรีออกแบบได้ดีมาก

อาจารย์อยากเห็นพลังนักศึกษาปรับเปลี่ยนพัฒนาประเทศ ความคิดเห็นทุกท่านเป็นประโยชน์ถ้าได้มารวมหนังสือเล่มนี้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เรื่องช่วยเหลือเด็กออกจากโรงเรียนกลางคันควรจะเป็นนโยบายต่อไป

 

Kris Weerapalaphon  Kaewklang (กฤช วีระพลพล  แก้วกลาง) 60484945024 

Ph.D.Innovation 16 : Suan Sunandha Rajabhat University

จีรนันท์ เวือมประโคน

สรุปเนื้อหา รายวิชา PHD 8205 การจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคม

ผู้สอน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผู้สรุปเนื้อหา นางสาวจีรนันท์  เวือมประโคน  นักศึกษาปริญญาเอก  รุ่นที่ 16 รัสนักศึกษา 60484945035

ครั้งที่ 1  วิธีการเรียน เปิดเทปอาจารย์ธงทอง กับอาจารย์จีระ เรื่องการปฏิรูปการศึกษา

จากบทสนทนาของท่านอาจารย์จีระและ รศ.ธงทอง จันทรางศุ ในรายการไทยมุง สามารถสรุปและวิเคราะห์ประเด็น การปฏิรูปการศึกษาไทยในปัจจุบันของยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 โดยสิ่งที่ได้เปลี่ยนแปลงไปคือเนื้อหาการเรียนการสอนและวิธีการสอนซึ่งมีการนำปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมเข้ามาเป็นแรงขับเคลื่อนการศึกษาแต่เป้าหมายที่สำคัญของการปฏิรูปการศึกษาคือการเรียนรู้ไปพร้อมกับเทคโนโลยีและก้าวทันต่อโลกสมัยใหม่ที่มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง และการศึกษานั้นสามารถทำได้ตลอดชีวิตไม่มีคำว่าแก่เกินเรียน และก็ต้องตระหนักถึงคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมๆกันด้วย อีกบทบาทที่สำคัญก็คือผู้ถ่ายทอดข้อมูลความรู้ต่างๆหรืออาจารย์หรือคุณครูก็ต้องมีความรู้ความสามารถในด้านนั้นๆอย่างถ่องแท้ สามารถทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาได้อย่างเข้าใจ มีการกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักคิดและแสดงความคิดเห็น

โดยในความเห็นของ รศ.ธงทอง จันทรางศุ ท่านได้มองว่าปัจจุบันนั้นอาจารย์ คุณครูในปัจจุบันนั้นมีภาระค่อนข้างมาก ส่งผลทำให้งานสอนอาจไม่เต็มที่เท่าที่ควร และยังขาดขวัญกำลังใจในอาชีพ ส่วนท่านอาจารย์จีระได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า “ การทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่องจึงจะบรรลุผล ”ผ่านมานั้นการปฏิรูปการศึกษาอยู่ภายใต้ระบบราชการ (Bureaucracy) ทุกอย่างต้องตามลำดับขั้นตอน หากลดขั้นตอนหลายขั้นตอนที่ไม่สำคัญลงได้ จะเป็นประโยชน์สำหรับการปฏิรูปการศึกษามากขึ้น ไม่เพียงแค่นั้นผู้บริหารทุกภาคส่วนที่มีความเกี่ยวข้องต้องสนับสนุนอย่างเต็มที่เพื่อที่บุคลากรทางการศึกษาจะได้มีขวัญกำลังใจกับการทำงานด้านการศึกษาต่อไป

ครั้งที่ 2 เรื่องทฤษฎีการเรียนรู้ของอาจารย์จีระ

เรื่อง Macro Micro

          ก่อนที่จะมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับประเทศเราควรศึกษาสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก สภาพแวดล้อมอาจมองได้ถึงโลกาภิวัฒน์ เช่นการเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุ หรือนโยบายของประเทศ เช่น ไทยแลนด์ 4.0 ต้องมีการกระตุ้นตื่นตัวในระดับประเทศ ทั้ง Macro และ Micro โดยเฉพาะในปัจจุบันนั้นด้าน Social Media ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อสังคมเป็นอย่างมากซึ่งสำคัญสุดคือเยาวชน หากนำไปใช้ไม่ถูกทาง ขาดการไตร่ตรองที่ดีก็ส่งผลให้เยาวชนนำไปใช้ในทางที่ผิดได้

 การทำหนังสือ Chira Way

          ในส่วนของ รุ่น 16 ทางท่านอาจารย์แนะนำให้นักศึกษาเน้นการเขียนและการอ่านเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อที่ว่าในอนาคตอาจจะได้ตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลต่อไป เป็นความรู้จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง

แบ่งกลุ่มวิจารณ์หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้

          ความรู้และแนวคิดที่รับจากหนังสือเล่มนี้ คือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ในมุมมองของท่านอาจารย์จีระ มี 2 ระบบ คือ "พันธุ์แท้ที่พัฒนา" กับ "พันธุ์แท้ที่ไม่พัฒนา" ซึ่งท่านมองว่าของแท้จะต้องอยู่คงทนและจะมีความคิดใหม่ๆ อยู่เรื่อยๆ (Imaginative) และมีลักษณะของคนหลายความคิด ถ้าเปรียบกับสินค้า ก็จะเป็นสินค้าที่มีนวัตกรรม (Innovation) อยู่ตลอดเวลา จึงเป็นพันธุ์แท้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้น คำว่า "พันธุ์แท้" จึงหมายถึงการไม่หยุดที่จะพัฒนานั่นเอง ที่สำคัญ ทรัพยากรมนุษย์ คือ มูลค่าเพิ่มในระยะยาว ไม่ใช่ต้นทุนเพียงอย่างเดียว เพราะสังคมจะอยู่ได้ต้องลงทุนในคน ไม่เพียงแค่นั้นควรนำทฤษฎี 8K’s+5K’s เข้ามาปรับใช้ด้วย

ครั้งที่ 3 เรียนและ workshop เรื่อง 8K 5K

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ Human Capital ทุนมนุษย์ Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม Intellectual Capital ทุนทางปัญญา Happiness Capital ทุนแห่งความสุข Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน อธิบายว่าความยั่งยืนเกิดขึ้นได้อย่างไร ต้องมีความใฝ่รู้ และต้องมี 2 R คือ relevance และ reality Digital Capital ทุนทาง IT Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์ Knowledge Capital ทุนทางความรู้ Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

ครั้งที่ 4 การนำเสนอหนังสือเรื่อง 8K’s + 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน โดยงานแบ่งเป็นกลุ่ม

          หนังสือ “8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทย รองรับประชาคมอาเซียน”    มีความสำคัญต่อการพัฒนาคนไทย ด้วยในปี 2558 จะมีการเปิดเสรีอาเชี่ยน โดยเฉพาะการก้าวสู่ประชาคมอาเชี่ยนหรือ AEC

8 K’s คือ เป็นพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ ทุนมนุษย์ (Human Capital) ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ทุนทางสังคม (Social Capital) ทุนแห่งความยั่งยืน ( Sustainability Capital) ทุนทาง IT (Digital Capital) ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Talented Capital)

5 K’s (ใหม่) คือ ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาคุณภาพของ ทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัฒน์ ทุนแห่งการสร้างสรรค์ (Creativity Capital) ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital) ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) ทุนแห่งความยั่งยืน คือ พฤติกรรมของมนุษย์สามารถฝึกได้และปรับได้ และ มองตรงไปอนาคตว่าทําวันนี้แล้วจะไปสู่ความสําเร็จในระยะยาวหรือไม่

ครั้งที่ 5 HR Architecture  เชื่อมโยงกับทฤษฎีต่าง ๆ ของอาจารย์

          หลักในการบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็น หลักธรรมชาติ หากเรารู้ธรรมชาติของมนุษย์ เราก็จะบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ มนุษย์ทุกคนมีความต้องการและมีเป้าหมายชีวิตที่แตกต่างกัน บางคนอาจมีเป้าหมายชีวิตอยู่ที่ความร่ำรวยมีทรัพย์สินมากมาย บางคนอาจมีเป้าหมายชีวิตอยู่ที่การมีชื่อเสียง มีเกียรติประวัติเป็นที่ยอมรับของสังคม บางคนอาจต้องการใช้ชีวิตที่มีโอกาสค้นหาสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ หรือบางคนอาจต้องการใช้ชีวิตอย่างสมถะ เหล่านี้ล้วนเป็นความแตกต่างของแต่ละปัจเจกบุคคล นอกจากนั้นก็ยังมีระดับสูงต่ำที่มากน้อยแตกต่างกันด้วย แต่จุดหมายปลายทางไม่แตกต่างกันมากนัก นั่นก็คือ ความสุขและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี หากเขาพบว่าสิ่งที่เราบริหารจัดการเป็นเส้นทางเดียวกับสิ่งที่จะนำพาเขาไปสู่ความต้องการและเป้าหมายชีวิตนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างก็เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ด้วย “ใจ” ที่เต็มเปี่ยมด้วยพลัง”

ครั้งที่ 6 วิจารณ์หนังสือ พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม

          วิจารณ์หนังสือพลังแห่งคุณธรรม  จริยธรรม  เรื่องการสร้างเครือข่าย NetworkingCapital โดยดูกรณีศึกษาจากโครงการกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา

หนังสือเล่มนี้จัดว่าเป็นหนังสือที่มีผู้ทรงคุณวุฒิ10ท่านมาสรุปและกลั่นกรองเรื่องความดี คุณธรรม จริยธรรมและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในสังคมปัจจุบัน การปลูกฝังทุนทางจริยธรรม และทุนทางวัฒนธรรม ต้องมีระบบความเชื่อที่ดี มีภูมิปัญญา ซึ่งทุนทางด้านจริยธรรมควรปลูกฝังตั้งแต่แรกเกิด จนไปตลอดชีวิต เพราะอยากได้ผลผลิตที่ดีงาม โดยเริ่มทุกระดับตั้งแต่ต้นเอง-ครอบครัว-องค์กร-ชุมชน ต่อไปยังระดับประเทศ และระดับโลก การมีต้นทุนที่ดีในทางจริยธรรมจะทำให้เกิดความสงบสุข โดยใช้หลักการเหล่านี้ช่วยขัดเกลา สะสมตั้งแต่วัยเด็ก

ครั้งที่ 7 เรื่องสังคมการเรียนรู้ กรณีศึกษา สัมภาษณ์ Peter Senge

กรณีศึกษาของ กฟภ.

สังคมการเรียนรู้กับทฤษฏี 4L

4 L’s พารณ Village that Learn : หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้

                    School that Learn : โรงเรียนแห่งการเรียนรู้

                    Industry that Learn : อุตสาหกรรมแห่งการเรียนรู้

                    Nation that Learn :  ชาติแห่งการเรียนรู้

4 L’s จีระ Learning Methodology :  เข้าใจวิธีการเรียนรู้

               Learning Environment : สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

               Learning Opportunity : สร้างโอกาสในการเรียนรู้

               Learning  Community : สร้างชุมชนการเรียนรู้

ครั้งที่ 8 การนำเสนอหนังสือเรื่อง Shift Ahead

          รุ่นที่ 16 ได้แบ่งงานกลุ่มในการนำเสนอหนังสือเรื่อง Shift Ahead  ดังนี้

-บทที่ 2 กลุ่มที่ 1มีการอ้างถึงการเตือนผู้บริหารซึ่งมี 7 อย่างคือ

          -basic math           -difference           -big on data short on analysis           -neglecting table stake           -pride does go before fall           -being to deep in your comfort zone           -moral

-บทที่ 3 กลุ่มที่ 2 มีการนำเสนอตัวอย่างบริษัทที่ไม่พร้อมและต้องปิดกิจการลงเนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่างในการปฏิบัติงาน เช่นการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีการแข่งขันกัน ส่งผลให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อความอยู่รอดของกิจการนั้นๆ

ครั้งที่ 9 ไปร้านหนังสือและบ้านอาจารย์

          วันนี้ (29/04/2561) ได้มีการสอบในรายวิชา PHD 8205 เวลา 09.00-11.00 น. ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และช่วงเวลา 13.00 น. เรานักศึกษา ปริญญาเอก รุ่น 16 ได้มีนัดกับท่านอาจารย์จีระ ที่ร้านหนังสือ Asia Book และร้านหนังสือ KINOKUNIYA ณ ศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม และต่อจากนั้นได้รับความกรุณาเมตตาจากท่านอาจารย์จีระให้เข้าร่วมสนทนา ณ บ้านของท่าน ที่ซอยสุขุมวิท 23 (ซอยคาวบอย) ซึ่งท่านอาจารย์ได้ให้การต้อนรับพวกเรา รุ่นที่ 16 อย่างดี มีชา กาแฟและขนมไว้สำหรับเลี้ยงครั้งนี้ด้วย ระหว่างการรับประทานของว่าง ก็ได้มีการสนทนาขอความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากท่านอาจารย์จีระหลายประเด็น และท่านได้บอกว่าหากต้องการทราบข้อมูล หรือประเด็นอื่นๆก็สามารถนัดและเข้ามาปรึกษาได้ตลอดเวลา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท