เปิดประเด็นอภิปรายและนำเสนอความหมายคำว่า พอเพียง กับ เพียงพอ (แบบอีสาน)


พอเพียง น่าจะแปลได้ว่า มีครบเสมอกัน (กับอะไร??สักอย่าง)

ในการสืบค้นข้อมูลเศรษฐกิจพอเพียง ได้พบการตีความหมายของคำว่า พอเพียง กับ เพียงพอ อย่างแตกต่างกัน ทำให้ผมมาไตร่ตรองว่า ๒ คำนี้มีอะไรที่ต่างกัน ทั้งที่มองเผินๆน่าจะเหมือนกันคำว่า พอ น่าจะจะหมายครบตามความจำเป็น ถ้ามากกว่านั้นก็ เกินพอคำว่า เพียง ภาษาอีสานใช้กันมาก แปลว่า เสมอ หรืออยู่ในระดับเดียวกัน (ภาษาภาคกลาง อาจแปลว่า สมเหตุสมผล ตามในพระราชดำรัส ก็จะไม่มีความสับสนอยู่แล้ว) ดังนั้นในภาษาอีสาน พอเพียง น่าจะแปลได้ว่า มีครบเสมอกัน (กับอะไร??สักอย่าง)และ เพียงพอ น่าจะแปลได้ว่า เสมอกับระดับความจำเป็น (ของตนเอง??) สองประเด็นนี่และที่อาจทำให้คนในสังคมสับสนในทางปฏิบัติถ้าจะทำให้เสมอกับผู้อื่น (พอเพียง) โดยทั่วไปก็ไม่น่าจะยาก แต่ปุถุชนอย่างเราๆมักจะมองว่าต้องทำให้ได้ดีกว่าและมากกว่าคนอื่นสักเล็กน้อยจึงจะถือว่า ใช้ได้ หรือเสมอกับคนอื่น แล้วในที่สุดก็ต่างคนต่างแข่งกันทำหรือกอบโกย จนไม่มีใครเสมอใครสักที และแม้จะได้มากเท่าไหร่ ก็ยังดูว่าได้น้อยกว่าบางคนอีกอยู่ดี ยิ่งมีการจัดระดับความร่ำรวยแล้ว ยิ่งไปกันใหญ่ หาที่สุดมิได้จริงๆ แต่ถ้าทำให้ เสมอกับระดับความจำเป็นของตนเอง(เพียงพอ) น่าจะทำง่ายกว่า และบรรลุผลง่ายกว่า เพราะเมื่อเราพอแล้ว ก็เท่ากับคนอื่นที่พอแล้วเช่นกัน ไม่ต้องไปมองว่าใครได้มากได้น้อย เพราะ พอ เท่ากันอยู่แล้วท่านเห็นอย่างไรครับ จะได้หาข้อสรุปกัน ลดความสับสนในสังคมให้น้อยลงดีกว่าครับ

หมายเลขบันทึก: 63347เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2006 12:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณ อาจารย์แสวง มาก ที่นำเสนอความหมาย ของ 2 คำนี้ เพราะผมกำลังหาความแตกต่างของคำว่า พอเพียง กับ เพียงพอ อยู่พอดี ผมได้อ่านแล้วมีความเห็นคล้อย เพราะตามนัยที่ว่าไว้ ทำให้เข้าใจง่ายขึ้น  และแยกความต่างออกได้ 

และขออนุญาตเสนอความเห็นเพิ่มว่า  ไม่ว่าจะ พอเพียง  หรือเพียงพอ  หากในใจมีความมุงหมายว่าให้เป็นไปอย่าง    พอ(แต่)เพียง(เท่านี้ก็ไม่เดือดร้อน) หรือ  เพียง(เท่านี้ก็)พอ(ต่อความจำเป็นแล้ว) ผมก็ว่าน่าจะลดความสับสนลงไปได้ นะครับ

พินิตย์ 

ครับ

ขอบคุณครับที่มาต่อยอดครับ

P

ดร. แสวง รวยสูงเนิน

เห็นชื่อบันทึกนี้ อาตมาสนใจทันที นึกว่าเพิ่งเขียน แต่อาจารย์เขียนไว้นานแล้ว หาไม่เจอ ต้องไปค้นที่สารบัญ (ครั้งแรกที่ค้นหาบันทึกเพื่ออ่านจากสารบัญของชาวโกทูโน)... ก็แปลกใจนิดหน่อยว่า ประเด็นบันทึกนี้ น่าจะมีผู้สนใจเยอะ แต่ก็เพิ่งมีความเห็นเข้ามา (ใช้เวลาเกือบปี)....

เพื่อจะทำให้ความหมายของคำว่า พอเพียง และ เพียงพอ ชัดเจนยิ่งขึ้น... อาตมาจะนำเอาแนวคิดของเจ้าประคุณสมเด็จฯ วัดสามพระยารูป (ท่านมรณภาพหลายปีแล้ว ก่อนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเด่นขึ้นมา) ท่านยกคำว่า มีไม่พอ และ พอไม่มี ...

มีไม่พอ คือ บางคนหรือบางครอบครัว ขัดสน รายได้น้อย รายจ่ายเยอะ แม้จะประหยัดอดออมและขยันทำงานอย่างไร ก็รู้สึกว่าสิ่งที่ได้มาก็ยังไม่ค่อยพอ....

พอไม่มี คือ บางคนหรือบางครอบครัว แม้จะร่ำรวย มั่งคั่งอย่างไร แต่คำว่า พอ ก็ไม่เคยเกิดขึ้นภายในความรู้สึกของพวกเขา ยังคงเร่งทำงานและกอบโกยต่อไป.....

ทั้งสองนี้ เจ้าประคุณสมเด็จฯ ว่าไม่ดีทั้งสองอย่าง และบอกแนวทางแก้ไขไว้... มีไม่พอ จะต้องขยัน ประหยัด และปรับปรุงการจัดการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น... ส่วน พอไม่มี คงจะต้องแก้ที่ความรู้สึก ... ประมาณนี้

ระหว่าง มีไม่พอ กับ พอไม่มี น่าจะมี ความพอเพียง หรือ ความเพียงพอ เพื่อให้เกิดความสมดุล ... ประมาณนี้

เจริญพร 

 

กราบนมัสการท่านมหาชัยวุธ

ผมก็เกือบลืมไปแล้วว่าเขียนเรื่องนี้ไว้แล้ว

แต่ ผมก็ใช้ความหมายของอีสานเป็นหลักครับ

ท่านมาในเชิงธรรมะ ก็ทำให้แนวคิดนี้กว้างขวาง และครอบคลุมมากขึ้น ครับ

เป็นพระคุณอย่างยิ่งครับ

ขอบคุณอาจารย์มากนะคร้าเพราะหนูกำลังทำงานเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่พอดี

ขอบคุณน้าคร้าอาจารย์

ขอบคุณครับอาจารย์สุดหล่อผมจะทำตามนี้ครับผม

นมัสการครับท่านมหาชัยวุธ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท