บทบาทและแนวทางการทำงานร่วมกันของสถาบันจัดการความรู้ งานพัฒนาจินตนาการ และงานการพัฒนาปัญญาของสังคมไทย


การดำเนินงานของทั้ง ๓ องค์กรข้างต้น สามารถทำแบบบูรณาการ หรือพัฒนาเป็นงานย่อยของ สคส ไปก่อนก็ได้ จนกว่าจะเข้มแข็งเป็นองคาพยพที่หนุนช่วยกันอย่างเต็มที่

จากที่นำเสนอในเบื้องต้นไว้แล้ว คราวนี้ผมขอเสนอตัวอย่างบทบาทของ สถาบันพัฒนาจิตนาการ (IDI- Imagination development institute) และวิธีการทำงาน ที่น่าจะประกอบด้วย การทำให้ตนในสังคมเป็นคนช่างสงสัย ไม่เชื่อในสิ่งที่เห็นอยู่ด้วยสัมผัสต่างๆ รู้วิธีการตั้งสมมติฐาน รู้จักการทดสอบ ทดลอง (คล้ายกับงานวิจัย) แต่ต้องเพื่อการสร้างความรู้ ไม่ใช่เพื่อสร้างขยะกระดาษเปื้อนหมึกเพียงอย่างเดียง แล้วนำความรู้ไปสนับสนุนการทดสอบและขยายผลการสร้างจินตนาการในเรื่องต่างเพื่อการพัฒนาความรู้เพียงอย่างเดียว

สำหรับบทบาทของ สถาบันจัดการความรู้ (KMI- Knowledge Management Institute) ก็น่าจะเริ่มที่การกระตุ้นให้คนค้นหา รวบรวม แบ่งแยก จำแนก จัดระบบ ตรวจสอบ บ่มเพาะ และเผยแพร่ความรู้ไปในที่และรูปแบบที่เหมาะสม

ส่วนบทบาทของสถาบันพัฒนาปัญญา (WDI-Wisdom development institute) ก็เน้นการนำความรู้ไปใช้งานจริงเพื่อพัฒนาภูมิปัญญาและทักษะในการดำรงชีวิต ทดสอบ บ่มเพาะ ขยายผลการใช้งาน ทั้งในระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน องค์กร และระดับประเทศ ที่สนับสนุนการทำแผนและนโยบายที่ดีกว่าเดิม

 

การดำเนินงานของทั้ง ๓ องค์กรข้างต้น สามารถทำแบบบูรณาการ หรือพัฒนาเป็นงานย่อยของ สคส ไปก่อนก็ได้ จนกว่าจะเข้มแข็งเป็นองคาพยพที่หนุนช่วยกันอย่างเต็มที่

ถ้าทำได้ การจัดการความรู้น่าจะชัดเจนและเข้มแข็ง จนสามารถเป็นที่พึ่งของชาวบ้าน สังคมและ ประเทศชาติได้เป็นอย่างดี

 จึงเรียนมาด้วยความเคารพในความคิดของนักจัดการความรู้ทุกท่าน
คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 63132เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2006 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท