หลักปฏิบัติการเรียนรู้ แบบ ๑๒ส.


เมื่อวานนี้ (๒๒ มิ.ย. ๖๐) ระหว่างที่อบรมอาจารย์มหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาด้านการเรียนการสอน ผมผุดพบว่า กระบวนการเรียนรู้ตามนวคิด ๓PBL สามารถสงเคราะห์เป็นหลักปฏิบัติในการจัดการเรียนรู้ได้ ๑๒ ขั้นตอน เรียกว่า "๑๒ส."(อ่านว่า สิบสองสอ หรือ ย่อว่า สสส. หรือก็คือ ๓ส.) เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ เชิญพิจารณาครับ


วิธีอ่าน

  • สีฟ้าแสดง "คุณสมบัติของใจ" ที่ต้องพานักเรียนฝึกฝน บ่อย ซ้ำ ประจำ ยาวนาน ให้เกิดมีแก่จิตใจ
    • สติ ฝึกด้วยการเจริญสติ โดยเฉพาะสัมมาสติ หรือ สติรู้กาย รู้ใจของตนเอง และใช้สตินั้นรักษาใจไม่ให้ผิดศีล ๕ ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า
    • สมาธิ ฝึกด้วยการฝึกสมาธิ หรือความตั้งมั่นของจิต (หรือลักขนูปนิฌาณ)
    • สุข เป็นผลจากการเจริญสติและสมาธิที่ถูกต้อง
    • สงบ เป็นผลจากที่ใจเกิด "สุข" จากการตื่นรู้อันเป็นผลจากการเจริญสติที่ถูกต้อง
  • สีส้มแสดง นิสัยหรืออุปนิสัยของใจในการคิด ต้องฝึกทักษะการคิด ด้วยการฝึกคิด อาจแบ่งเป็น ๒ ขั้นตอนใหญ่
    • ฝึกให้เกิดความ "สงสัย" ด้วยการใช้กิจกรรมหรือเครื่องมือนำคิด หรือให้ "ตั้งใจคิด" ฝึกคิด ฝึกตั้งคำถาม บ่อยซ้ำย้ำประจำยาวนาน
    • ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ "สังเคราะห์" หรือสร้างองค์ความรู้ในตนเองด้วยการคิด
  • สีเขียว แสดงกระบวนการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
    • สืบค้น เมื่อสงสัย ให้เริ่มจากการสืบค้นหาคำตอบด้วยตนเอง สมัยนี้สำคัญและสะดวกค้นออนไลน์ ง่ายยิ่ง
    • สำรวจ หมายถึง ต้องลงพื้นที่ หรือลงไปค้นหาความรู้จากประสบการณ์ตรงของตนเอง เข้าถึงปัญหาหรือภูมิปัญญาที่มีอยู่จริง ๆ
    • สัมภาษณ์ คือ การสัมภาษณ์ สนทนา กับผู้รู้ หรือแหล่งข้อมูลเบื้องแรก ให้ได้ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data)
    • สร้างสรรค์ คือ การลงมือทำสิ่งใด ๆ ให้สิ่งใหม่ ๆ หรือดี ให้เกิดขึ้น แก้ปัญหา สร้างปัญญา หรือพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้น
    • สร้างสื่อ คือ สร้างสื่อจากบทเรียนหรือประสบการณ์ตรงจากการเรียนรู้ของตนเอง ขั้นนี้รวมการสะท้อนการเรียนรู้ และถอดบทเรียน
    • เสนอ คือ ให้ได้นำเสนอเผยแพร่ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ปฏิบัติอื่นๆ

นอกจาก ๑๒ส. นี้จะเป็นแนวปฏิบัติในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด ๓PBL แล้ว ยังสามารถนำมาเป็นหลักคิดในการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ได้ครบคลุม "ปัญญา ๓ ฐาน" ได้แก่ ฐานกาย (สีเขียว) ฐานคิด(สีส้ม) และ ฐานใจ (สีฟ้า) อีกด้วย คล้ายกับรูปแแบบ "๓ กำลัง ส." ที่ได้เสนอไว้แล้ว

คำสำคัญ (Tags): #๑๒ส.#๓PBL#๓ กำลัง ส.
หมายเลขบันทึก: 630198เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2017 23:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2017 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท