ความดันโลหิตสูงและวิธีการรักษา


ความดันโลหิตสูงและวิธีการรักษา

ดร. ถวิล อรัญเวศ
รอง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 4

กล่าวกันว่า ทุกๆคนต้องมีความดันโลหิต เพราะความดันโลหิต จะเป็นแรงผลักดัน ให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกายของเรา แต่สูงเกินไปก็ไม่ดี ต่ำเกินไปก็ไม่ดีเช่นกัน

ดังนั้น ทุกคนจึงควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับความดันโลหิต และพยายามรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติให้จงได้ เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดแข็งและตีบ เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือด

หัวใจคนเราเต้นประมาณ 60-80 ครั้งต่อนาที หรือ 60-100 ครั้ง บางครั้งก็เรียกว่า

การเต้นของชีพจร ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว และลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว

ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับท่า ความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับ ค่าปกติความดันโลหิตของคนเราคือ 120/80 มิลิเมตรปรอท แต่ไม่ควรเกิน 140/90 หากสูงกว่านี้แสดงว่าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ดังนั้นการป้องกันความดันโลหิตสูง สามารถป้องกันอัตราการตายจากโรคหัวใจ และโรคอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบ ที่คุกคามชีวิตของทุกท่านเนื่องจากไม่มีอาการเตือนภัยมาก่อน ดังนั้น การจะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูง จำเป็นต้องวัดความดันโลหิต นิยามเรื่องความดันโลหิต

ความดันโลหิตสูงหมายถึงระดับความดันตัวบน systolic blood pressure >140 mmHg และความดันตัวล่าง diastolic blood pressure>90 mmHg

Isolated systolic hypertension (ISH) หมายถึง ระดับความดันตัวบน systolic blood pressure >140 mmHg และความดันตัวล่าง diastolic blood pressure<90 mmHg

Isolated office hypertension หรือ White coat hypertension หมายถึงระดับความดันโลหิตวัดที่คลินิค หรือโรงพยาบาลมากกว่า 140/90 mmHg แต่เมื่อวัดที่บ้านความดันโลหิตจะต่ำกว่า 135/85 mmHg

Masked hypertension (MH) หมายถึงความดันโลหิตเมื่อวันที่คลินิกหรือโรงพยาบาลน้อยกว่า 135/85 mmHg แต่เมื่อวัดเองที่บ้านมากกว่า 140/90 mmHg

เมื่อไรจึงเรียกว่าความดันโลหิตสูง

เนื่องจากความดันโลหิตมีปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องมาก การจะบอกใครเป็นความดันโลหิตสูง จะต้องมีการวัดความดันหลายครั้ง และต้องพิจารณาว่ามีโรคประจำตัวหรือไม่ คนปรกติจะมีความดันโลหิตไม่เกิน 120/80 มิลิเมตร ความดันโลหิตที่สูงกว่า 140/90 มิลิเมตรปรอทจะเรียกว่าความดันโลหิตสูง นอกจากนั้นยังมีภาวะอื่นๆ

สาเหตุของความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงมี 2 ชนิดคือ

โรคความดันโลหิตที่ไม่ทราบสาเหตุ Primary hypertension หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า essential hypertension เป็นความดันโลหิตสูงที่พบมากที่สุด กลุ่มนี้ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดมักจะมีสาเหตุหลายองค์ประกอบรวมกัน พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 95 เป็นผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มนี้ แต่มักจะพบว่าผู้ป่วยกลุ่มความดันโลหิตสูงนี้มีความสัมพันธ์กับปัจจัยดังต่อไปนี้

การรับประทานอาหารเค็มซึ่งจากการศึกษาพบว่าการรับประทาน อาหารเค็ม จะมีส่วนทำให้เกิดความดันโลหิตสูง แนะนำว่าคนปรกติไม่ควรรับประทานเกลือเกิน 3.8 กรัมต่อวันกรรมพันธุ์ เชื่อว่าพันธุกรรมจะมีผลต่อระบบฮอร์โมนทำให้มีการหลั่งสารเคมีมากไป Renin angiotensin มากทำให้ความดันโลหิตสูงความผิดปรกติของหลอดเลือดเนื่องมาจากโรคอ้วน อายุมาก เชื้อชาติ และการขาดการออกกำลังกาย

โรคความดันโลหิตที่ทราบสาเหตุ Secondary hypertension

เป็นความดันโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุ พบได้ประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสาเหตุที่พบได้บ่อยคือโรคไต ผู้ป่วยที่มีหลอดแดงที่ไปเลี้ยงไตตีบทั้งสองข้างมักจะมีความดันโลหิตสูง เนื้องอกที่ต่อมหมวกไตพบได้สองชนิดคือชนิดที่สร้างฮอร์โมน hormone aldosterone ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีความดันโลหิตสูงร่วมกับเกลือแร่โปแตสเซียมในเลือดต่ำ อีกชนิดหนึ่งได้แก่เนื้องอกที่สร้างฮอร์โมน catecholamines เรียกว่าโรค Pheochromocytoma ผู้ป่วยจะมีความดันโลหิตสูงร่วมกับใจสั่นโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบ Coarctation of the aorta พบได้น้อยเกิดจากหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบบางส่วนทำให้เกิดความดันโลหิตสูงยาคุมกำเนิดยาโคเคน ยาบ้า

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นโรคที่คนปัจจุบันเป็นกันมาก และคนส่วนใหญ่ก็ไม่รู้ตัวว่าเป็น โรคความดันโลหิตสูง แต่หากปล่อยให้เป็น โรคความดันโลหิตสูง ไปนาน ๆ อาจนำมาซึ่งโรคร้ายอื่น ๆ ตามมา

อย่างไรจึงเรียกว่า โรคความดันโลหิตสูง

ความรุนแรงของ โรคความดันโลหิตสูง แบ่งเป็น 3 ระยะคือ

ระดับที่ 1 ความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรก ค่าความดันโลหิต ระหว่าง 140-159/90-99 มม.ปรอท

ระดับที่ 2 ความดันโลหิตสูงระยะปานกลาง ค่าความดันโลหิต ระหว่าง

160-179/100-109 มม.ปรอท

ระดับที่ 3 ความดันโลหิตสูงระยะรุนแรง ค่าความดันโลหิต มากกว่า 180/110

มม.ปรอท

ทั้งนี้ การวัดความดันโลหิตควรจะวัดขณะนอนพัก และควรวัดซ้ำ 2-3 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นความดันโลหิตสูงจริง ๆ

อาการของผู้เป็น โรคความดันโลหิตสูง

ปกติแล้วผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง มักไม่ปรากฏอาการใด ๆ ให้ทราบ อาจพบอาการปวดศีรษะ มึนงง เวียนศีรษะ เหนื่อยง่ายผิดปกติ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หรือนอนไม่หลับ สูญเสียความจำ สับสน มึนงง ซึ่งล้วนเป็นอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ นั่นจึงทำให้คนไม่เอะใจ จึงไม่ได้รับการรักษา และควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับเหมาะสม ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมาได้

ภาวะแทรกซ้อนของ โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ 2 กรณีคือ

  • ภาวะแทรกซ้อนโดยตรง คือ ภาวะหัวใจวาย ที่เกิดจากหัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้
  • ภาวะแทรกซ้อนจากหลอดเลือดแดงตีบ หรือตัน เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง ซึ่งจะส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ รวมทั้งหลอดเลือดสมองตีบ เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ไตวายเรื้อรัง จากการที่เลือดไปเลี้ยงไตไม่เพียงพอได้ รวมทั้งอาการตาบอด ที่เมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง อาจทำให้หลอดเลือดแดงในตาค่อย ๆ เสื่อมลง จนอาจมีเลือดออกที่จอตา ทำให้ประสาทตาเสื่อมจนตาบอดได้

ผนังหัวใจหนาตัว เกิดหัวใจโต และหัวใจวายตามมา หลอดเลือดในสมองแตก หรือตีบตัน

ทั้งนี้ มีข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่า ผู้ป่วน โรคความดันโลหิตสูง หากไม่ได้การรักษา อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวาย 60-75%, เสียชีวิตจากเส้นเลือดในสมองอุดตัน หรือแตกราว 20-30% และเสียชีวิตจากไตวายเรื้อรัง 5-10%

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง

1. พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม พบว่า คนประมาณ 30-40% ที่บิดามารดาเป็นโรคความดันโลหิตสูง จะมีแนวโน้มเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้มากกว่า คนที่ไม่มีประวัติในครอบครัว

2. ความเครียด หากคนมีความเครียดสูง อาจทำให้ความดันโลหิตสูงไปด้วย

3. อายุ โดยปกติเมื่ออายุมากขึ้น ความดันโลหิตจะสูงขึ้นตามไปด้วย แต่สำหรับโรคความดันโลหิตสูง มักพบในผู้ที่อายุ 40-50 ปีขึ้นไป แต่ในอายุต่ำกว่านี้ก็สามารถพบได้เช่นกัน

4. เพศ มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังวัยหมดประจำเดือน

5. รูปร่าง มักพบในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน หรือคนอ้วนมากกว่าคนผอม

6. พฤติกรรมการกิน ผู้ที่ชอบทานเค็ม ทานเกลือ มักมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าคนปกติ

7. สภาพภูมิศาสตร์ ผู้ที่อาศัยอยู่ในเมือง มักมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ที่อยู่อาศัยในชนบท เพราะมีความเครียด และสภาพแวดล้อมที่วุ่นวายรบกวนจิตใจอารมณ์มากกว่า

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

หมอบอกว่า สามารถทำได้ 2 ทางคือ การใช้ยา และไม่ใช้ยา โดยผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่เริ่มรู้ตัวว่าเป็นความดันโลหิตสูง แพทย์จะสามารถรักษา โรคความดันโลหิตสูงได้ โดยป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน แต่สำหรับผู้ที่มีโรคแทรกซ้อนร่วมด้วย แพทย์จะต้องให้ยา และพยายามควบคุมระดับความดันให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติให้ได้ ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรไปตรวจวัดความดันโลหิตสูงอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด เพราะเกลือจะทำให้ความตึงตัวของผนังหลอดโลหิตแดงเพิ่มขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารกลุ่มไขมันจากสัตว์ เช่น กะทิ เนื้อสัตว์ รวมทั้งอาหารกลุ่มแป้งและน้ำตาลขัดขาวทุกชนิด เพราะจะทำให้น้ำหนักตัว และระดับไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น งดสูบบุหรี่ และงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจดื่มได้ในปริมาณพอเหมาะ คือ วิสกี้ 2 ออนซ์ หรือ ไวน์ 8 ออนซ์ พยายามควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนมากจนเกินไป เพราะความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ ออกกำลังกายให้พอควรและสม่ำเสมอ ด้วยการเดินเร็ว ๆ วิ่งเหยาะ ๆ เบาๆ หรือปั่นจักรยาน ประมาณ 15-20 นาที อย่างน้อย 3-6 ครั้งต่อสัปดาห์ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้เบิกบาน ไม่เครียด ทำให้ให้ร่าเริง แจ่มใส


สรุป

คนเราแม้จะรวยล้นฟ้าสักปานใด แต่ถ้าสุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิตใจไม่ดีแล้วไซร้ทรัพย์สินทั้งหลายทั้งปวง ประดุจเศษแก้ว เศษถ่านแบตเตอรี่หมดอายุ หรือหญ้าที่ไม่มีประโยชน์ คือเป็นเสมือนไร้ค่า ความดันโลหิตสูง เป็นบ่อเกิดสารพัดโรค ทำอย่างไร เราจะไม่เป็น ให้รู้วิธีป้องกันให้ได้

เรายังสามารถลดระดับความดันโลหิตได้ ทั้งการรู้จักรับประทานอาหาร และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การรับประทานอาหาร ควรลดปริมาณเกลือ ด้วยการหันมาทานอาหารที่มีธาตุโพแทสเซียม และแมกนีเซียม ซึ่งมีมากในผักและผลไม้สด เช่นกล้วย มันฝรั่ง และผักใบเขียวต่าง ๆ ดื่มน้ำสมุนไพร เช่น ขึ้นฉ่าย กระเจี๊ยบแดง และบัวบก ด้านอารมณ์ ควรมีกิจกรรมผ่อนคลายความเครียดด้วยการฟังเพลง ใช้น้ำมันหอมระเหยกลิ่นต่าง ผ่อนคลายอารมณ์และความเครียด นั่งสมาธิตามความเหมาะสม 15-30 นาที ข้อสำคัญคือรักษาสภาพอารมณ์ทางจิตใจให้ปกติ ไม่โลภ โกรธ อาฆาต พยาบาท เกรี้ยวกราด มองโลกในแง่ดี รู้จักปล่อยวาง เพราะพระท่านว่า ทุกข์อยู่ที่ถือ สุขอยู่ที่ปล่อยวาง

ทำอะไรอย่าให้เขาว่า เมืองพอไม่มี มีแต่เมืองพล การทำมาหากิน ก็ไม่ควรเครียดเกินไป ทำงานให้สนุก และมีความสุขกับงานที่ทำ สิ่งเหล่านี้แหละจะช่วยบรรเทาปัดเป่าหรือป้องกันความดันโลหิตสูงได้อีกประการหนึ่งนะครับลองทำดู ให้รู้จักฝึกความฉลาดทางอารมณ์และความเฉียบคมทางปัญญา


แหล่งข้อมูล

เว็บไซต์

http://health.kapook.com/view2514.html

http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/heart_disease/Hypertension/symtom.html#.VuGtTjU5N_8


หมายเลขบันทึก: 626401เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2017 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2017 13:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท