หลักสูตร พัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT Assistant Director Development Program: EADP 2017) - EADP 13 (ช่วงที่ 1: ระหว่างวันที่ 13-14 มีนาคม 2560)


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ EADP รุ่น 13 ทุกท่าน

วันจันทร์ที่ 13 มีนาคม 2560 จะเป็นพิธีเปิดหลักสูตร พัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT Assistant Director Development Program: EADP 2017) - EADP 13

แม้ว่าจะเป็นการทำงานต่อเนื่องเรื่องคนให้กับ กฟผ. มาปีนี้เป็นปีที่ 13 แต่ผมก็ยังรู้สึกตื่นเต้น และพยายามจะแสวงหาความรู้ที่สด และทันสมัยมาแบ่งปันกับลูกศิษย์ของผมเสมอ

จากการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารของ กฟผ. ในระดับผู้อำนวยการ 3 รุ่น และในระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายอีก 9 รุ่นที่ผ่านมา ผมมีความภาคภูมิใจในลูกศิษย์ของผมที่วันนี้หลายคนเติบโต และเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพของสังคม

"ทุนมนุษย์" ใน กฟผ. นั้นเข้มแข็งและมีศักยภาพอยู่แล้ว ผมเป็นเพียงผู้ที่จะช่วยทำหน้าที่จุดประกาย สร้าง Inspiration ให้พวกเขามีพลัง มี Ideas ใหม่ ๆ มีความเข้าใจสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกและพยายามเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ไปสู่ความสำเร็จ รวมทั้งการทิ้งผลงานหรือสิ่งที่มีคุณค่าไว้สำหรับสังคมไทยของเรา

สำหรับการพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 13 ในปีนี้ ผมก็หวังว่าจะมีสิ่งที่เราจะได้เรียนรู้ร่วมกันเพื่อประโยชน์ในการทำงานของ กฟผ. และเป็นการสร้างที่สร้างความสุขให้แก่คนไทยต่อไป และผมขอให้ทุกท่านใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ของพวกเรา และแบ่งปันความรู้เหล่านี้ไปสู่สังคมของเราครับ

ติดตามและส่งความคิดเห็นได้ที่ Blog นี้ครับ


โครงการหลักสูตร พัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย

ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

13 มีนาคม – 9 มิถุนายน2560

วันที่ 13 มีนาคม 2560

สรุปโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy



กล่าวรายงานและกล่าวต้อนรับ

โดย คุณนรินทร์ พุทธนวรัตน์

ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาบุคลากร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ฝ่ายบริหารได้มอบหมายให้ อพบ. ดูเรื่องการพัฒนาความพร้อมของผู้บริหารในแต่ละระดับ เน้นการพัฒนาและสร้างคนให้สอดคล้องกับความเก่ง เป็นคนดีที่ได้รับการยอมรับจากสังคมรอบด้าน และเป็นคนที่มีความสุข

แนวทางพัฒนาประกอบด้วยเรื่อง

  • การตัดสินใจ
  • การวางแผน
  • การสอนงาน
  • การจัดการเชิงกลยุทธ์
  • สร้างความจงรักภักดีต่อลูกค้า

และ การเตรียมความพร้อมเพื่อการพัฒนาก้าวสู่ตำแหน่ง พัฒนาการบริหารงาน โดยเน้นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในการสานประโยชน์ในอนาคต

กล่าวเปิดหลักสูตรฯ และให้ข้อคิดเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา

โดย คุณสืบพงษ์ บูรณศิรินทร์

รองผู้ว่าการบริหาร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่ผลักดันและเตรียมความพร้อมสำหรับผู้บริหารทุกระดับ โดยเฉพาะกลุ่มนี้เป็นกลุ่มระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายฯ เป็นกลุ่มที่ต้องเรียนรู้งานอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 ปี คุณสืบพงษ์ ได้กล่าวถึงว่าเคยเรียนในหลักสูตรนี้เช่นกันในรุ่นที่ 5 และเช่นเดียวกันสำหรับในรุ่นที่ 13 นี้ ผู้บริหารได้ฝากความหวังไว้เช่นเดียวกัน

อพบ.แจ้งว่าคน กฟผ. จะลดจำนวนลง ความท้าทายเกิดขึ้น ดังนั้นการบริหารงานจะทำแบบเดิมก็ไม่ได้ สิ่งที่คิดแบบเดิมจะไม่เอาหมดเลย อะไรที่คิดใหม่จะเอาหมด อยากให้การอบรมวันนี้ขอให้ทุกคนตักตวงให้มากที่สุด ในทุกการอบรม ในทุกเวลา และคณะอาจารย์ในชุดนี้เข้าใจกฟผ.เป็นอย่างดี จะช่วยผลักดัน เป็นคณะที่มีความผูกพันตั้งแต่ผู้ว่ากฟผ.ไกรสีห์ เป็นต้นมา คนที่อบรมส่วนใหญ่จะเป็นคนที่มีอายุงานส่วนหนึ่ง และเป็นกลุ่มที่จะเป็นผู้นำในอนาคต มีโอกาสที่จะก้าวเป็นผู้อำนวยการฝ่าย ผู้ช่วยผู้ว่าการฯ และรองผู้ว่าการฯ จึงอยากให้ทุกคนตักตวงความคิดจากการอบรมในหลักสูตรนี้ให้ดี

อยากให้ EADP ทุกรุ่น มีการสื่อสาร ติดต่อ เชื่อมโยงกันมากขึ้น และคาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมมากเพราะคณาจารย์ชุดนี้ได้มีการเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ในวันที่เรา Workshop นี้มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงและปรับปรุงมาก จะเห็นว่าทิศทางองค์กรคงไม่เหมือนเดิม อะไรที่รุงรัง อ้วนท้วน ก็จะทำให้เล็กลง มีการนำเรื่อง LEAN มาใช้เพื่อให้มีการขับเคลื่อนอย่างประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังได้มีการติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ฯ

โครงการ EADP นี้ จึงถือเป็นโอกาสที่ได้รับมุมมองใหม่ ๆ จากอาจารย์ที่มาให้ความรู้เป็นผู้ที่ติดตามความก้าวหน้าภายนอกตลอดเวลา อย่างไรก็ตามเราต้องมีความต่อเนื่องเช่นกัน

การรวมกลุ่มในวันนี้จะมี Workshop เพื่อให้การศึกษาและเรียนรู้เพิ่มเติม

กลุ่มคนที่อบรมนี้จะเป็นกลุ่มที่ดูแลอนาคตของ กฟผ. และดูแลคนรุ่นหลังที่จะเกิดขึ้นมา เพื่อสานต่อให้องค์กร กฟผ. อยู่อย่างยั่งยืน ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่ต้องสานสัมพันธ์อย่างดีไว้ ใครทำอะไรแล้วต้องรู้พร้อมกันเลยตั้งแต่แรกไม่ต้องรอเป็นขั้น ๆ

ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

และประธาน Chira Academy

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกำลังเผชิญกับแนวการเปลี่ยนแปลงใน 3 แนว

1. เร็ว

2. ไม่มีความแน่นอน การทำอะไรขอให้รัฐบาลช่วยด้วย

3. ไม่สามารถคาดเดาได้ (Unpredictability)

หลักสูตรนี้จะคิดไปที่ Reality กับ Relevance เราควรพูดในสิ่งที่ Relevance กับ Reality และทุกอย่างที่ทำต้องศึกษาก่อนว่าแต่ละคนคิดอะไรอยู่ เราจำเป็นที่ต้องทำงานร่วมกัน ในหลักสูตรนี้อยากให้มีความสุขในการเรียน ให้มีนิสัยในการอ่านหนังสือ และถ้า EGAT มีสังคมการเรียนรู้เมื่อไหร่ EGAT จะเก่งมาก

ในวันนี้ ถ้าเป็นผู้บริหารและขึ้นไปข้างบน อุปนิสัยเหล่านี้จะมีบ้าง

ขอขอบคุณที่ลูกศิษย์ ให้เกียรติ ดร.จีระ ลูกศิษย์เป็นคนสำคัญที่สุด มีเกียรติ มีศักดิ์ศรีที่สุด อยากให้ทั้ง 6 กลุ่มมีการแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น ทำแบบ Cross Over กันมากขึ้น แล้ววิธีการเรียนคือ คิด วิเคราะห์ร่วมกัน แล้วอย่าวิเคราะห์เฉพาะทฤษฎี แต่ไป Apply กับความจริงให้ได้

ค้นหาตัวเองให้เจอว่าคุณคือใคร มีความสามารถอย่างไร ทำงานร่วมกับคนอื่น อย่าทำงานคนเดียว เปิดโลกทัศน์กว้างขึ้น มีพันธมิตรมากขึ้น อ่านข้อมูลของคนอื่นมากขึ้นด้วย

หลักสูตรนี้เป็น Intangible คือเป็นอะไรที่มองไม่เห็น แต่ละวินาที่ที่ผ่านไปจะมี Moment เกิดขึ้นกับตัวเอง และ Moment เหล่านั้นคือการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ และสิ่งสุดท้ายคือ Impact ต่อชีวิต อาทิ มีเหตุการณ์เกิดแล้วมีผลกระทบต่อชีวิตคุณ ในแต่ละวันจะมีสิ่งที่วิ่งไป ขึ้นอยู่กับจะหาข้อมูลจากไหน

วิชาการสำคัญอยู่ที่ว่าเอาไปเปลี่ยนแปลง และต่อเนื่องหรือไม่อย่างไร

กฟผ.ในอนาคตข้างหน้า ถ้าจะสร้าง Networking ควรคำนึงถึงตัวละครที่มีส่วนเกี่ยวข้องประกอบด้วย อาทิ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคชุมชน ประชาชน กฟผ. ไม่ต้องสร้างด้วยคนเดียว ต้องหาพันธมิตรเพื่อช่วยกัน

ในการไปศึกษาดูงานที่จังหวัดน่าน ขอให้ก่อนไปศึกษาได้มีการวางแผนและคุยกันให้ดีว่าจะสามารถไปทำอะไรต่อเนื่องได้

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เวลาใช้กำลังภายในของท่านทั้งหลาย ต้องดูถึง ทฤษฎี 2 R’s คือ ความจริง และตรงประเด็น ต้องเลือกใช้อย่างเหมาะสม ไม่ให้กำลังภายในของเราหมดไป

ในเรื่องความจริง อะไรคือความจริงที่เราต้องเจอ และตรงประเด็นต้องดูว่าสิ่งใดมีความเฉียบแหลม แหลมคม ต้องเรียนรู้วิธีการจัดการแบบใหม่ สามารถเลือกกระบวนการในการจัดการที่ดี ว่าจะเลือกแบบแรง หรืออ่อนนุ่ม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สิ่งที่ทำ 3 อย่างคือ

1. ปลูก – พัฒนา

2. เก็บเกี่ยว

3. Overcome difficulty แก้ไขและเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น

4L’s

1. Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี

2. Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

3. Learning Opportunities สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้

- การปะทะกันทางปัญญา

4. Learning Communities สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

- ไม่หยุดการเรียนรู้

2I’s

  • Inspiration – จุดประกาย
  • Imagination – สร้างแรงบันดาลใจ

3 V’s

1. Value Added สร้างมูลค่าเพิ่ม

2. Value Creation สร้างคุณค่าใหม่ (เหมือน Thailand 4.0)

3. Value Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

3L’s

  • Learning from pain เรียนรู้จากความเจ็บปวด
  • Learning from listening เรียนรู้จากการรับฟัง

2.Learning from experiences เรียนรู้จากประสบการณ์

C & E Theory

  • Connecting
  • Engaging

C – U - V

  • Copy
  • Understanding
  • Value Creation/Value added

การสอนของ ดร.จีระ เป็นลักษณะการสอน HR เพื่อไปจัดการการเปลี่ยนแปลง ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจเป็น Silo Based ถ้ากฟผ. เอาจริงกับเรื่องชุมชน ไม่ใช่แค่สร้างโรงไฟฟ้าไปเรื่อย ๆ ให้มีพันธมิตรกับ NGOs มากขึ้น

WORKSHOP (1)

กลุ่ม 1 หลักสูตรนี้จะค้นหาตัวเองอย่างไร? และตัวเองต้องปรับปรุงอะไร? เพื่อความเป็นเลิศ

กลุ่ม 2 การทำงานแบบ Networking และ TEAMWORK เพื่อพัฒนาฝ่ายงานของท่านอย่างไร และช่วยพัฒนาการทำงานข้าม Silo อย่างไร?

กลุ่ม 3 จะทำให้องค์กร EGAT มีความยั่งยืนโดยมีความมั่นคงทางด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศ และเป็นที่ไว้วางใจของสังคมอย่างไร?

กลุ่ม 4 จะทำอะไรให้เป็นประโยชน์แก่ประเทศ หรือ ASEAN บ้าง

กลุ่ม 5 ท่านคิดว่า.. EADP 13 จะใช้ Social Medias ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร

กลุ่ม 6 หลังจากจบโครงการฯ นี้ อยากให้มีการร่วมมือกันอย่างไรบ้าง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ต่อเนื่อง ยั่งยืน

การนำเสนอ WORKSHOP (1)

กลุ่ม 1 หลักสูตรนี้จะค้นหาตัวเองอย่างไร? และตัวเองต้องปรับปรุงอะไร? เพื่อความเป็นเลิศ

หลักสูตรนี้จะช่วยให้ค้นหาตัวเองคือทั้งตัวบุคคล และกฟผ. มีจุดอ่อน จุดแข็งในเรื่องอะไร จะเพิ่มจุดแข็ง และลดจุดอ่อนได้อย่างไรบ้าง โดยวิธีการเรียนรู้ทั้งทางกว้างและทางลึก และมองให้เห็นความจริงเพื่อเรียนรู้ได้ตรงจุด และนำความรู้ที่ใช้ไปปรับให้ได้เรียนรู้กับสถานการณ์

จากจุดแข็งและจุดอ่อนจะนำสู่การสื่อสารให้คนอื่นได้เข้าใจได้มากน้อยแค่ไหน มีการสร้างเครือข่าย การแบ่งปันความรู้ อาทิในเรื่องข้อเท็จจริง กฟผ.มีเยอะมาก บางครั้งอาจลืมในเรื่องการเข้าใจความรู้สึกมากไปเนื่องจากสื่อสารเฉพาะเรื่องความรู้อย่างเดียว

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสริมว่า

ความรู้อย่างเดียวไม่พอ ต้องมีกำลังภายในด้วย และแทนที่จะให้ความรู้อย่างเดียวต้องให้ความรู้สึกที่ดีด้วย ต้องมีการปรับปรุงวิธีการพูดให้เหมาะสมกับกลุ่มคนต่าง ๆ ด้วย การแสดงท่าทีของเราต่อชุมชนควรเป็นอย่างไร ต้องมีความละเอียดอ่อน และต้องฝึกมากขึ้น ดังนั้นการสื่อสารในองค์กรเป็นความจำเป็นอย่างหนึ่ง

กลุ่ม 2 การทำงานแบบ Networking และ TEAMWORK เพื่อพัฒนาฝ่ายงานของท่านอย่างไร และช่วยพัฒนาการทำงานข้าม Silo อย่างไร?

ในกลุ่ม มีทั้งงานโครงการ ฯ บัญชี สื่อสาร ระบบไฟฟ้า และนโยบายและแผน อยู่ด้วยกัน กฟผ.จะมีการปรับปรุงการทำงาน Network มีการให้แต่ละฝ่ายให้ข้อมูลกับแต่ละฝ่ายได้ตรงกัน เพื่อการทำงานร่วมกัน

ในหลักสูตรนี้จะเน้นการนำ 4.0 เข้ามาช่วย เน้นการบริหารจัดการด้าน IT ที่ช่วยให้ได้ข้อมูลทันสมัยและว่องไว การบริหารงาน มีการเรียนรู้ข้ามสายงาน และกระจายอำนาจ มีการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันและแบ่งปันกันได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสริมว่า

สิ่งที่เกิดคือ Informal Networking ควรมีการเลือกประธานเพื่อช่วยในการสนับสนุนให้ทำงานอย่างต่อเนื่อง ได้ยกตัวอย่างที่ทับสะแก ใครที่เป็นประธานรุ่นต้องสร้างความสัมพันธ์เชิงไม่เป็นทางการ โดย Trend คือ Vitual

ในรุ่นที่ 13 นี้ ถ้ามีไลน์กลุ่ม อยากให้มีโปรเจคขึ้นมา ปัญหาของ กฟผ.คือแต่ละคนอยู่ใน Silo ของตนเอง มี Budget ของตัวเอง หลักสูตรนี้แม้ทุกคนอยู่ร่วมกัน แต่เมื่อจบไปแล้วจะทำอะไรร่วมกัน ความรู้สึกจึงน่าอยู่ต่อ ดังนั้น Informal Network กับ Virtual Silo น่าจะเป็นหัวใจของกลุ่มนี้

กลุ่ม 3 จะทำให้องค์กร EGAT มีความยั่งยืนโดยมีความมั่นคงทางด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศ และเป็นที่ไว้วางใจของสังคมอย่างไร?

ต้องเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจของกฟผ.ให้มีนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อรองรับเทคโนโลยีที่ กฟผ.ล้มหายตายจากไป ถ้ากฟผ.หายไปประเทศอาจขาดเครื่องมือด้านความมั่นคงของพลังงาน

กฟผ.เป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่งที่ประชาชนให้ความเชื่อถือด้านเทคนิค แต่สิ่งที่ผ่านมาคือประชาชนต้านเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้ามาโดยตลอด สิ่งที่ควรทำคือใช้จุดแข็ง ในการเข้าถึงชุมชน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสริมว่า

กลุ่มนี้ได้มองถึงอนาคตชัดเจนในการมองเรื่อง Innovation ในหลักสูตรนี้ยังขาดจิตวิญญาณผู้ประกอบการ

สิ่งที่ทำควบคู่กันไปคือชุมชน กฟผ.ในอนาคตควรมี New Business ที่มีรายได้ของตนเอง

กลุ่ม 4 จะทำอะไรให้เป็นประโยชน์แก่ประเทศ หรือ ASEAN บ้าง

การมองเรื่อง EGAT Academy และเรื่อง Thailand 4.0 สู่การพัฒนาชาติจะทำอย่างไร

<p “=”“>เสริมสร้างความรู้ระบบส่ง ระบบผลิต OEM และขยายไปสู่ ASEAN Power Grid เพื่อให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น </p>

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสริมว่า

ด้าน EGAT Academy น่าจะเอาความรู้ที่มีอยู่ไปช่วย Education และเป็น Brand ของ EGAT EGAT น่าจะมีฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ และควรมีฝ่ายต้อนรับที่ดีด้วย อย่างเรื่องการดูงาน หรือ EGAT เคยเหมาะอย่างการทำ วปอ.ของ EGAT แต่วันนี้ไม่มั่นใจว่าช้าไปหรือไม่ เพราะมีหลายส่วนอย่างกระทรวงพลังงานทำแล้ว

กลุ่ม 5 ท่านคิดว่า.. EADP 13 จะใช้ Social Medias ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร

ที่ใช้ง่ายคือใช้โปรแกรมไลน์ โดยคาดว่าจะใช้ Social Medias มากขึ้น เพื่อ

1. รวบรวมข่าวสารและรับข่าวสารของเราเอง ในกลุ่มจะมีหลายหน่วยงาน ควรมีการกลั่นกรองข้อมูลให้ถูกต้องก่อนการกลั่นกรองไปข้างนอก

2. เพื่อพบปะสังสรรค์

3. สลายความเป็น Silo ใน กฟผ.ได้ส่วนหนึ่ง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสริมว่า

ควรมีการขยายไปยังกลุ่มเป้าหมายข้างนอกด้วย อย่างเช่น กฟผ.เป็นองค์กรธรรมาภิบาล ปราศจากการเมือง จะทำอย่างไรที่จะส่งข้อความเหล่านี้ไปคนภายนอกทราบด้วย

หลักสูตรนี้สร้างความเป็นมืออาชีพ (Professionalism) ต้องไปแข่งกับภาคเอกชนด้วยจึงอยากให้ทุกท่านเข้าใจด้วย แต่บางครั้ง กฟผ.มีข้อจำกัดเนื่องจากเป็นรัฐวิสาหกิจ

ใช้ Social Media อะไรที่เป็นประโยชน์ให้ลูกน้องรับทราบ ให้ Stakeholders และคนอื่นได้รับทราบด้วยว่าเราทำอะไรไปบ้างแล้ว

กลุ่ม 6 หลังจากจบโครงการฯ นี้ อยากให้มีการร่วมมือกันอย่างไรบ้าง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ต่อเนื่อง ยั่งยืน

นำเครื่องมือสื่อสารของไลน์กลุ่มที่มี อย่างไลน์กลุ่มหน่วยงาน กฟผ. อยากให้มีการสื่อสารและพูดคุยต่อเนื่องโดยเน้น 2 เรื่อง

1. Knowledge Sharing บางท่านอาจหยิบยกความรู้ไป Share ประโยชน์ได้

2. บางท่านอาจ Update สถานะว่าอยู่ที่ไหน ทำอะไรอยู่ เพื่อเป็นประโยชน์ในการประสานงานของกลุ่มไฟฟ้าต่อไป

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

สิ่งที่ท่านพูดทั้งหมดเป็นเสมือนการ Exercise ในการวิเคราะห์ร่วมกัน ไม่มีถูกผิด ในกลุ่ม 1 พูดเรื่องการเรียนรู้ทั่วไป และใช้ให้เก่งขึ้น

กลุ่มที่ 1 พบว่ามีส่วนผสมของในห้องนี้เป็นเสมือนรสชาติของไทย วันนี้การทำ Workshop วันแรกได้เห็นความน่าสนใจ แบบ รสชาติมีแหลม ไม่ได้นัวไปหมด

กลุ่มที่ 2 มีประเด็นเรื่อง Teamwork กับ Network อย่าง Teamwork ไม่ต้องสอนเนื่องจากอยู่ในงานของแต่ละคนอยู่แล้ว แต่ที่ยากที่สุดคือเรื่อง Networking จะไปเป็นหัวหน้าเครือข่ายที่มาจากชุมชน หรืออย่างอื่นไม่ได้ สิ่งที่ต้องคิดต่อคือเรื่องเครือข่ายที่ต้องเรียนรู้มากขึ้น จะใช้ประโยชน์จากเครือข่ายและแต่ละกลุ่มอย่างไร มีการนำแต่ละกลุ่มที่หลากหลายแล้วไปใส่ใน Social Media

กลุ่มที่ 3 แค่เข้าใจคำว่า Change ก็สามารถปรับได้หมด เปลี่ยนคนเดียวไม่เท่ากับเปลี่ยนร่วมกัน

กลุ่มที่ 4 เป็นการพูดถึงความเป็นมืออาชีพ ถ้าเป็น กฟผ.ต้องเก่ง มีการโยงไปเรื่องชุมชน

กลุ่มที่ 5 เรื่อง Social Media จะไปช่วยชุมชนได้อย่างไร

กลุ่มที่ 6 จะร่วมมือกับกลุ่มอื่นอย่างไร

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสริมว่า

อย่างกลุ่ม 3 นอกจากชุมชนแล้วยังมีวิธีการใหม่ ๆ ไป Explore ที่ 4.0 ถ้าเรามีคุณธรรม กับจริยธรรมแล้ว ต้องไปที่ Creativity and Innovation ต้องเป็น Entrepreneurial and Including International Business อยากให้มีนิสัยในความสนใจอ่านหนังสือมากขึ้นทั้งต่างประเทศและในประเทศ

Entrepreneurial จะเกิดได้ต้องเกิดจากบรรยากาศแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และถ้าประเทศจีน ไม่มี เติ้ง เสี่ยว ผิง อย่าง 1 Country 2 System อะไรจะเกิดขึ้น อย่างวิชา Entrepreneurial คือมีลูกค้าใหม่และลดต้นทุน อย่างในวันนี้ กฟผ. ต้องสร้างให้เกิด Demand Shift มากขึ้น และบางครั้งอาจไม่รู้ว่าเรื่องขายเป็นเรื่องสำคัญ

สิ่งที่พูดในวันนี้ ขอให้ตรงประเด็น 2R’s มี Relevance และมี Impact ต่อ กฟผ. อยากให้เปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น และมีเวลาในการหาความรู้ร่วมกัน

วิชาที่ 2

Learning Forum & Workshop

หัวข้อ EGAT 4.0 กับการพัฒนาภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ (1)

โดยศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

และประธาน Chira Academy

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

Workshop

กลุ่ม 1 ข้อ 1 วิเคราะห์คุณลักษณะและบทบาทของผู้นำ EGAT ที่พึงปรารถนาที่สุดในอนาคต 5 ข้อ พร้อมทั้งเหตุผล

กลุ่ม 2 ข้อ 2 โจทย์ประเทศไทย 4.0 มาสู่ EGAT 4.0 เกี่ยวข้องกับเรื่อง Human Capital 4.0 ภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำของ กฟผ. อย่างไร อธิบาย และหากจะตอบโจทย์ประเทศไทย 4.0 กฟผ. ควรจะมีวิธีการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ ๆ อย่างไร

กลุ่ม 3 ข้อ 3 วิเคราะห์ Diversity ที่ กฟผ. มีกี่ชนิด และผู้นำจะบริหาร Diversity ได้อย่างไร?

กลุ่ม 6 ข้อ 4 จากแนวคิด “HUMAN-CENTRED LEADERSHIP” ของหนังสือเรื่อง “Humanise” กับหนังสือ “พลังแห่งคุณธรรมจริยธรรม” ลองค้นหาช่องว่างของ กฟผ. ที่จะนำมาสู่การพัฒนาผู้นำ 3 ข้อ พร้อมอธิบายเหตุผล

กลุ่ม 5 ข้อ 5 วิเคราะห์เรื่องที่จะต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนา กฟผ. ให้เติบโตอย่างยั่งยืน 3 เรื่องที่สำคัญที่สุด และผู้นำ กฟผ. จะต้องใช้กลยุทธ์/ยุทธวิธีใด (อ้างอิงจาก Kotter 7C Principles และ Chira)

กลุ่ม 4 ข้อ 6เสนอแนะแนวทาง/วิธีการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ของ กฟผ. ที่ได้ผล 3 แนวทาง พร้อมทั้งอธิบายเหตุผล

วีดิโอ ดร.สุวิทย์ เมษิณทรีย์

ประเทศไทยแต่ก่อนเป็นประเทศไทย 3.0 คือเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และปัจจุบันติดอยู่ในกับดับ Middle Income Trap เนื่องจากการผลิตยังไม่ได้ผลิตในด้าน Knowledge Based Economy , Creative Economy Innovation

ประเทศไทย 4.0 จะขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมอย่างไรที่นำสู่ Creative Economy เพื่อนำพาให้ประเทศไทยหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลางสู่รายได้สูงขึ้น ประกอบด้วย

1. Productive Growth Engine

2. Green Growth Engine

3. Inclusive Growth Engine 8nvให้คนมีส่วนร่วมได้อย่างไร

โลกในอนาคตอยู่ที่ใครจะ Smart กว่ากัน หมายถึง

1.คิด Beyond Product ที่ไม่ใช่ Different คือเน้นจากตัวสินค้ามาเน้นที่ Business Model แล้วเราจะทำกำไรอย่างไร

2. ธุรกิจ Shift สู่ Service Economy ดังนั้นจะผสมผสานระหว่าง Product and Service อย่างไร

3. ตลาดของเรา แทนที่เราจะเจาะตลาดเป็นประเทศ แต่เราเจาะเป็นเมือง จากนี้ไปไม่จำกัดในประเทศไทย แต่กำลังมองเป็นเมือง เป็นประเทศมากขึ้น ต้องคิดถึงการพึ่งพาจากต่างประเทศด้วย จำเป็นที่ต้องเจาะให้ลึกโดยลงทุนในต่างประเทศ ลงทุนทางธุรกิจ ผ่าน Business Model คิดถึงการลงทุนต่างประเทศ คิดถึงการสร้าง Brand ไทย สร้าง Platform ในการทดสอบตัวเองว่า สินค้า และ Business Model ดีหรือไม่

สรุปคือ ไม่ใช่แค่ Nation Competitiveness แต่เป็น Enterprise competitiveness คือ

สามารถแข่งขันได้ เป็นการผนึกกำลังกัน และ Connect to the world หลายโลกธุรกิจต้องเข้าสู่ Digital Platform มากขึ้น

ต้องสามารถตอบโจทย์ว่า 1. ลูกค้าต้องการอะไร 2. เราเก่งอะไร 3. เก่งคนเดียวไม่ได้ เพราะต้องมองถึงส่วนต่าง ๆเป็น Collaborative Network

ในโลกปัจจุบัน ใครเข้าช้าหรือเร็วไม่มีความได้เปรียบเสียเปรียบมากกว่ากัน ไม่ขึ้นกับการลงทุน เป็นลักษณะ Brain ที่แข่งกัน ขึ้นอยู่กับมีไอเดียมากขนาดไหน แล้วรัฐบาลเป็นตัวช่วย

เริ่มตั้งแต่ Cloud Funding ฯลฯ

สังคมที่เป็นผู้ประกอบการคือคนที่กล้าเสี่ยงเมื่อมองเห็นโอกาส เมื่อเปรียบเทียบความเสี่ยงที่ได้รับ ใครก็ตามที่ร่วมมือกับคนอื่นมากเท่าไหร่ ยิ่งเพิ่ม Collaborative มากเท่านั้น ดังนั้น Idea ทำธุรกิจสมัยใหม่ ต้องมี 3 อย่าง คือ 1. Collaborative 2.Open 3. Sharing

ในวันนี้จะทำอย่างไรให้คนยุคใหม่คิดบนพื้นฐานที่มีอยู่บนการมีไอเดีย บนโอกาส แล้วสามารถรวยได้

เมื่อโอกาสเจอกับความสามารถถึงเจอกับสังคมผู้ประกอบการ

1. Entrepreneur Spirit คือต้องเป็นจิตวิญญาณผู้ประกอบการ

2. Innovative Idea

3. Collaborative

Business Model จะอยู่ยืนยงหรือไม่ต้องอยู่ที่นิเวศวิทยา คือมี Collaborative ที่จะสามารถตอบโจทย์หรือไม่ แล้วรัฐบาลจะเป็นส่วนช่วยเสริม

จะปรับสู่โครงสร้าง Entrepreneurial สู่ Creative Driven Economy แล้วจะสร้างValue Added สิ่งที่อยากฝากไว้ คือ Innovative Product

ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

เสนอว่า EGAT น่าจะมี EGAT Human Capital 4.0 คิดว่า EGAT 4.0 น่าจะถึง New Business

ชุมชนต้องเป็นตัวอย่างของ 4.0 การอยู่อย่างยั่งยืนได้ ปัญญาและจริยธรรมต้องมี

8K’s ทฤษฎีทุน 8 ประการพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capitalทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capitalทุนทางจริยธรรม

Happiness Capitalทุนแห่งความสุข

Social Capitalทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capitalทุนทาง IT

Talented Capitalทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

ดร.จีระยกตัวอย่างทุนแห่งความยั่งยืน คือต้องมีสุขภาพดี และมีความรู้ อย่าง คนใน กฟผ.ความยั่งยืนคือหลังจากได้ความรู้จากอาจารย์จีระแล้ว ต่อไปจะหาความรู้อย่างต่อเนื่องหรือไม่

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

Creativity Capitalทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capitalทุนทางความรู้

Innovation Capitalทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capitalทุนทางอารมณ์

CulturalCapitalทุนทางวัฒนธรรม

Creativity ต้องมาก่อน Innovation

อยากฝากไว้คือถ้าจะใช้ 4.0 ให้เป็นประโยชน์ต้องฟังเขาและคิดให้ดี ยุคต่อไปต้องเป็นการสร้างความหลากหลายและเป็นการสร้างพลัง

อย่างน้อย 4.0 ทำให้คนไทยมีความหวังคือการ Shift ขึ้น ประเด็นอยู่ที่จะทำอย่างไร ถ้าไม่ลงไปที่เรื่องคนจะยาก

ดร.สุวิทย์ ได้มีการปรับตัวมากขึ้น ตอนแรก ดร.สุวิทย์ยังไม่ได้พูดเรื่องความยั่งยืน แต่ตอนหลังได้มีการพูดถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น มีการพูดถึง Community มากขึ้น

ได้ยกตัวอย่างเรื่อง Trust ว่ามี 4 ประเภทคือ

1) Self Trust

2) Relationship Trust

3) Organization Trust

4) Social Trust

กฟผ.ส่วนใหญ่จะเป็นแบบที่ 1 มาก ต้องมีตัวละครที่เป็นตัวเสริม

Thailand 4.0 ต้องสามารถพึ่งตนเองได้ด้วย EGAT อย่างน้อยต้องสามารถเชื่อมโยงการทำ 3 Sector คือ 1. ท่องเที่ยว 2. เกษตร 3. Healthcare อย่างน้อยทั้ง 3 ส่วนสามารถขึ้นมา 4.0 ด้วย ต้องมีการร่วมมือกับ กฟผ.ด้วย

ความเก่งของคนต้องรู้แล้วนำไปทำด้วย และเรียนรู้จากความล้มเหลว แล้วทำอีกดังนั้น 4.0 ต้องเน้นให้ดีว่า EGAT จะมีส่วนไหนบ้างที่เป็นประโยชน์EGAT ต้องเป็น Human Capital 4.0 จะเปลี่ยนวัฒนธรรมของ EGAT ได้อย่างไร

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

สิ่งที่รัฐบาลพูด พยายามเน้นไปที่ภาคธุรกิจมากแต่อยากให้ดูที่ภาคชุมชนด้วย การมีไอเดีย ต้องมีทักษะประกอบด้วย เป็นการดึงของดี ๆ ที่มีอยู่แล้วสร้างขึ้นมา

หลักคือ

1. เป้าหมายปฏิรูปของรัฐบาลเพื่อยกระดับจากรายได้ปานกลาง โดยการสร้างมูลค่าเพิ่ม แบบ Value Creation แต่อย่างไรก็ตาม Value Creation อย่างเดียวไม่เกิดต้องมีทักษะด้วย จึงเน้นไปที่งบประมาณด้านการวิจัยด้วย

2. หลักเรื่องคน ประชารัฐ

การจะทำอะไรหาตัวละคร 4 กลุ่มไม่ยาก มุ่งไปที่ภาคประชาชน หรือประชาสังคม และเอาธุรกิจเข้ามาช่วย เน้นเรื่องภาควิชาการ และต่อยอดองค์ความรู้ วงหนึ่งเป็นสังคม(Social) รัฐบาล (Government) และ ธุรกิจ (Business) กฟผ. ต้องคิดว่าจะไปอยู่ตรงไหนของประชารัฐ

3. New Engine of Growth

ยุค 1.0 เกษตร 2.0 อุตสาหกรรมเบา 3.0อุตสาหกรรมหนัก และจะขยายเรื่องการส่งออก

ยุค 3.0 เริ่มมีการพูดเรื่องทุนทางวัฒนธรรม

ยุค 4.0 พูดเรื่องเศรษฐกิจที่สร้างมูลค่าและขับเคลื่อนด้านเทคโนโลยี

1)การเปลี่ยนสินค้าไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม

2)เปลี่ยนการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมมาสู่เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม เปลี่ยนจากภาคการผลิตไปสู่สินค้าบริการมากขึ้น

3) การสร้างให้เกิด Creativity

ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

Quotations

“คน คือ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร” - พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา

“People have unlimited Potential”- Antony Robbins

“Cultivation is necessary but harvesting is more important”

- ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หลักสูตรนี้มีอุปสรรคตรงไหนต้องเอาชนะให้ได้

ปลูกพืชล้มลุก..3-4 เดือนปลูกพืชยืนต้น..3-4 ปีพัฒนาคน..ทั้งชีวิต - สุภาษิตจีน

“การมองภาพทรัพยากรมนุษย์ จาก Macro สู่ Micro” - ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

“If we don’t change, we perish” - Peter Drucker

Fact

“The Net worth of Microsoft is 5% physical assets, 95% human imagination”

ประเด็นสำคัญในการพัฒนา-บริหารทุนมนุษย์ และสร้างผู้นำ

  • ปลูก

2.เก็บเกี่ยว

3.Execution

+ Macro – Micro

ทฤษฎีHRDS

  • Happiness

2.Respect

3.Dignity

4.Sustainability



ผู้นำและผู้จัดการแตกต่างกันอย่างไร?

ผู้นำ

  • เน้นที่คน
  • Change

-Trust

-ระยะยาว

-What , Why

-มองอนาคต ขอบฟ้า/ภาพลักษณ์

-เน้นนวัตกรรม

ผู้บริหาร

  • เน้นระบบ
  • ควบคุม
  • ระยะสั้น
  • When , How
  • กำไร/ขาดทุน ทุก 3 เดือน
  • จัดการให้สำเร็จ มีประสิทธิภาพ
  • Static

ชนิดของผู้นำ

- Trust / Authority

- Charisma

- Situational

- Quiet Leader

Trust มี 3 ขั้นตอน

  • สร้าง (Grow)
  • ดึงกลับ ถ้าหายไป(Restore)

2.ขยาย (Extend)

Trust มีหลายประเภท

  • Self Trust – ตัวเองต้องมีก่อน สัญญาจะทำอะไรกับตัวเองต้องสำเร็จตามสัญญา
  • Social Trust

2.Relationship Trust – ความสัมพันธ์ระหว่างคนในองค์กร

3.Organization Trust

วิธีการได้มาซึ่ง Trust ระหว่างบุคคล(Relationship Trust)

  • พูดจริงทำจริง ชัดเจน ไม่คลุมเครือ
  • รักษาคำมั่นสัญญา (Commitment)

2.ยกย่องนับถือเพื่อนร่วมงาน (Respect)

3.ทำงานด้วยความโปร่งใส

4.มีปัญหาที่ไม่ดี แก้ให้ดี ถูกต้อง

5.เน้น Results มากกว่าทำโดยไม่รู้ว่าผลสำเร็จคืออะไร

6.ต้องปรับปรุงตัวเองตลอดเวลา

7.รับความจริงหรือรู้ศึกษาความจริง (Reality)

8.มีความชัดเจนต่อความคาดหวังของผู้ร่วมงาน และของตัวเอง

9.รับฟังอย่าสั่งการข้างเดียว

จากหนังสือ Humanise why Human-Centred Leadership is the Key to The 21st Century

1. ความท้าทายคือ EGAT ต้องเป็นทั้ง Technical Leader และ Human Centred Leader

3.ต้องให้ศีลธรรมมีบทบาทมากขึ้นเท่ากับทุนนิยม

4. ต้องมีการฝึกอบรม

การวิเคราะห์ของอาจารย์ที่ University of Washington ผู้นำจะต้องมี 4 วิธี

1. Character หรือ คุณลักษณะที่พึงปรารถนา เช่น

- ชอบเรียนรู้

- มีทัศนคติเป็นบวก

- การมีคุณธรรม จริยธรรม

2.มี Leadership skill ที่สำคัญ

คือ- การตัดสินใจ

- การเจรจาต่อรอง

- การทำงานเป็นทีม

- Get things done

3. เรียกว่า Leadership process

คือ การมี Vision และมอง

อนาคตให้ออก

4. คือ Leadership value

สำคัญที่สุดคือ

Trust ความศรัทธาในผู้นำนั้น ๆ

John Kotter ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Leading Change พูดถึง กลยุทธ์ในการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลง 8 ขั้นตอน โดยถือเป็นภาระของผู้นำที่จะต้องกระตุ้นองค์การให้เปลี่ยนแปลง ดังนี้

1.สร้างความรู้สึกถึงตระหนักถึงความจำเป็น สร้างความรู้สึกกระตือรือร้น และเร่งด่วนที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร (Establishing a sense of urgency)

2.การรวมกลุ่มที่มีพลังมากพอที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง (Forming a powerful guiding coalition)

3.สร้างวิสัยทัศน์ (Creating a vision)

4.การสื่อสารและถ่ายทอดวิสัยทัศน์ (Communicating the vision)

5.การให้อำนาจ และทำให้คนในองค์กรดำเนินการตามวิสัยทัศน์ (Empowering others to act on the vision)

6.การวางแผนเพื่อให้เกิดความสำเร็จในระยะสั้น (Planning for and creating short-term wins)

7.ประมวลการปรับปรุงเหล่านี้ให้ครบถ้วน (Consolidating Improvements and Producing Still More Change)

8.ปลูกฝังวิธีใหม่ในองค์การให้คงอยู่ (Institutionalizing new approaches)

กฎเกณฑ์ 7 Change

1. Complexity

2. Clarity

3. Confidence

4. Creativity

5. Commitment

6. Consolidation

7. Change

Principle 5 ข้อของ Leaders กับ Change

  • แต่ละคนมีความรู้สึกเรื่อง Change แตกต่างกัน
  • ต้องศึกษาความต้องการของแต่ละคนเกี่ยวกับ Change
  • Change กับ Loss ไปด้วยกัน ศึกษาให้ดีว่าจะต้องจัดการกับ loss อย่างไร
  • การคาดหวัง Expectation ต้องบริหารให้ดี
  • ต้องบริหาร Fear หรือความกลัวให้ได้

กฎ 9 ข้อ Chira - Change Theory

1.Confidence มั่นใจ

2. Understanding Future

3. Learning Culture

4. Creativity

5. Networking

6. ชนะเล็กๆ

7. ทำต่อเนื่อง 3 ต.

8. ผลประโยชน์ต้องกระจายทุกกลุ่ม

9. Teamwork in diversity

Fixed and growth mindset



คนที่ไม่เปลี่ยนเรียก Fixed Mindset คนที่พร้อมจะเปลี่ยนเรียก Growth Mindset

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

EGAT ต้องดูภาพกว้างด้วยนอกจากแค่ EGAT อย่างเดียว

Smart City กับ Smart Grid . Electrical Vechicles, Bio Economy, New Generation of Renewable ,Smart Energy Management, Public-Private Collaboration

Thailand 4.0 – Energy 4.0 – EGAT 4.0
EGAT Human Capital 4.0 & Leadership Development

- Smart city / Smart Grid,

- Electrical Vehicles,

- Bio Economy,

- New Generation of Renewable,

- Smart Energy Management

- Public-Private Collaboration (ประชารัฐ)

EGAT Human Capital 4.0

Energy Saving

Alternative/Renewable Energy

New Business – International Business

Networking & Partnership

Communities

Social Innovation

Etc.

EGAT ต้องเน้นคนเป็นศูนย์กลาง และเพิ่ม Trust อย่างไร ต้องเพิ่มการเป็น Entrepreneurial Skill

มีความเป็นผู้นำที่พึงประสงค์ คือต้องรู้ว่าอะไรที่เร่งด่วน อันไหนค่อยทำ มองเรื่องเครื่องมือต่าง ๆ ที่จะช่วย มีเรื่อง Teamwork เครือข่าย พันธมิตร และการก้าวข้ามปัญหาอุปสรรค และความแตกต่าง ผู้นำต้องสร้าง Life Long Learning และผู้นำจะทำคนเดียวไม่ได้ต้องทำร่วมกัน มีการแบ่งปันกัน

การนำเสนอ Workshop

กลุ่ม 1 ข้อ 1 วิเคราะห์คุณลักษณะและบทบาทของผู้นำ EGAT ที่พึงปรารถนาที่สุดในอนาคต 5 ข้อ พร้อมทั้งเหตุผล

1. คนดี มีคุณธรรม ต้องเริ่มจากจิตใจที่ทำสิ่งที่ดีก่อน

2. มีความกล้าตัดสินใจ มีการสื่อสาร คิดในมุมบวก ทำงานเป็นทีม

3. มีวิสัยทัศน์ชัดเจน เพื่อนำพาไปสู่ในอนาคตได้

4. สร้างความศรัทธาเพื่อให้เวลา กฟผ.จะทำอะไรได้ราบรื่น

5. การบริหารเครือข่าย เวลาทำอะไรเราจะทำได้สำเร็ย

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสริมว่า

1. EGAT ต้องเปิดกว้าง ต้องมี Networking ในต่างประเทศ และในประเทศด้วย

2. คนปัจจุบันที่เป็นอยู่น่าจะคิดเรื่อง Crisis Management ให้ดี เพราะบางเรื่องคนสามารถทำแทนได้

3. วิกฤติในอนาคตมาแล้วมาอีก แล้วก็เลิกไป

4. ต้องกระตุ้นให้คนอื่นเป็นเลิศ อย่าให้ตัวเองเป็นเลิศคนเดียว ซึ่งการทำให้ลูกน้องเป็นเลิศ คือการ Motivate และ Inspire ต้องทำอย่างต่อเนื่องเพราะศักยภาพคนอยู่ข้างในเป็น Intangible

กลุ่ม 2 ข้อ 2 โจทย์ประเทศไทย 4.0 มาสู่ EGAT 4.0 เกี่ยวข้องกับเรื่อง Human Capital 4.0 ภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำของ กฟผ. อย่างไร อธิบาย และหากจะตอบโจทย์ประเทศไทย 4.0 กฟผ. ควรจะมีวิธีการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ ๆ อย่างไร

1.ความคิดสร้างสรรค์เปิดโอกาสให้เขาแสดงความคิดเห็น

2.Knowledge ต้องจัดให้มีกลุ่ม Community ที่เกี่ยวกับความรู้ เกี่ยวกับ Connection ให้มีการ Share ความรู้ร่วมกัน

3. Innovation สนับสนุนนวัตกรรมที่เกิดขึ้น มีการเปิด Open กับหน่วยงานภายนอกทุกที่เพื่อเสนอนวัตกรรมได้

4. ชุมชน ต้องสร้างความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม ต้องไปร่วมในกิจกรรมของชุมชน มีวัตนธรรมองค์กร

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์ เสริมว่า

Human Capital 4.0 มีกี่เปอร์เซ็นต์ ถ้าไม่มี Human Capital 4.0 จะไปสู่ EGAT 4.0 ไม่ได้ และการเน้นที่ Relevance กับธุรกิจใหม่ ๆ บางเรื่องทำอยู่แล้ว บางเรื่องที่มีนวัตกรรมสร้างสรรค์อยู่แล้วอาจไม่น่าสนใจเท่าไหร่ อาจให้เสริมเรื่อง New Business กับชุมชน มากขึ้น

กลุ่ม 3 ข้อ 3 วิเคราะห์ Diversity ที่ กฟผ. มีกี่ชนิด และผู้นำจะบริหาร Diversity ได้อย่างไร?

ความหลากหลายมีมากในทุกสายงานมี 100 ฝ่าย มีเรื่อง Generation ที่ต่างกัน ปัญหาคือจะทำอย่างไร

รูปแบบโครงสร้างเดิมอาจไม่เหมาะสมอีกต่อไป ต้องมีการ Change แนวคิดองค์กร และปรับโครงสร้างองค์กรให้เหมาะกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ผู้นำต้อง Share Vision และถ่ายทอดออกมาที่องค์กรให้ได้เห็น มีการใช้ทีมผสม อาศัยประสบการณ์ของคน Gen Baby Boom และการเติมเต็มของคนที่ขาดไปในรุ่นใหม่ เช่น IT มีการผสมทีมอายุมากอายุน้อย ทำงานแบบ Matrix สร้าง Networking สร้างสรรค์ทีมใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อเป็นทางรอดขององค์กรต่อไป

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์ เสริมว่า

อยากให้รวมถึงเรื่องเพศ และสถาบันการศึกษาให้มีความหลากหลายมากขึ้น เรื่องแนวความคิด

ในเรื่อง Diversity เป็นเรื่องที่อยู่ข้างใน ต้องมีความอดทน ใช้ความเข้าใจให้มากที่สุด ยกตัวอย่างเรื่องผิวขาว ผิวดำ จะอยู่ที่ทัศนคติของผู้นำที่ต้องฝึกด้วย

กลุ่ม 6 ข้อ 4 จากแนวคิด “HUMAN-CENTRED LEADERSHIP” ของหนังสือเรื่อง “Humanise” กับหนังสือ “พลังแห่งคุณธรรมจริยธรรม” ลองค้นหาช่องว่างของ กฟผ. ที่จะนำมาสู่การพัฒนาผู้นำ 3 ข้อ พร้อมอธิบายเหตุผล

มีเรื่องคนดี คนเก่ง และความกล้าหาญ

1. คนดี ที่กฟผ.ควรเน้นเรื่องการสร้าง Social Trust มากขึ้น

2. ความเก่ง ต้องพัฒนาเรื่องความรู้เชิงกว้างด้วยนอกจากความลึกอย่างเดียว

3. ความกล้าหาญต้องกระตุ้นให้คนคิดมากขึ้น และยอมรับความเปลี่ยนแปลงมากขึ้น และก้าวไปสู่ความเป็นมืออาชีพมากขึ้น ก้าวออกจาก Safe Zone

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์ เสริมว่า

กฟผ.ต้องเอาใจใส่ Social Trust มากหน่อยกฟผ.ดีหมดแต่ในระดับสังคม กฟผ.อาจอ่อนไปนิดนึงจึงควรพัฒนาสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาเป็นส่วนของ Human Leadership

ยกตัวอย่าง สิจิ้นผิง พูดเรื่องคนคืเรื่องความโปร่งใส ธรรมาภิบาล และมืออาชีพ ซึ่งคำว่ามืออาชีพ กฟผ.ใช้มาก ๆ แล้วดี

กลุ่ม 5 ข้อ 5 วิเคราะห์เรื่องที่จะต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนา กฟผ. ให้เติบโตอย่างยั่งยืน 3 เรื่องที่สำคัญที่สุด และผู้นำ กฟผ. จะต้องใช้กลยุทธ์/ยุทธวิธีใด (อ้างอิงจาก Kotter 7C Principles และ Chira)

1.คน ต้องมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคนให้มี Mindset ที่สามารถทำงานโดยมีทัศนคติต่อการเปลี่ยนแปลงให้ทัน มีศักยภาพในการเรียนรู้สิ่งที่เป็นปัญหาอุปสรรค และพัฒนาให้ทันการเปลี่ยนแปลง

2. เครือข่าย ต้องมีเครือข่ายพันธมิตร ต้องสร้างให้ได้ ไม่ให้อยู่คนเดียว ต้องสร้างให้ชุมชนยอมรับเราให้ได้ ต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ทำงานอย่างโปร่งใส ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

3. โครงสร้าง กฟผ.ต้องสามารถยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว มีระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ไม่อุ้ยอ้าย

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์ เสริมว่า

ชอบทุกอัน ส่วนอันสุดท้ายมีหนังสือออกใหม่ ชื่อ Agility คือความรวดเร็ว ว่องไวในการทำงาน การตัดสินใจของ กฟผ.ต้องเน้นความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

เครือข่ายขอ 3 เรื่อง คือ 1. ขอให้ตัวละครที่เราส่งไปต่อเนื่อง อย่าเปลี่ยนบ่อย ให้เขารู้จริง 2. ให้เขาเข้าใจความหลากหลายของคนในเครือข่าย 3.ให้มี Emotional Capital และ Ego ให้เก็บไว้ที่บ้าน

ประชารัฐที่บิ๊กตู่ทำ ไม่ได้ผล ตัวละครที่ไปเล่นต้องยอมรับความแตกต่างมีความอดทน มี Mutual Trust มี Mutual Benefit แต่สังคมไทยเป็นสังคมที่มีชนชั้นอยู่แล้ว แต่บางครั้ง กฟผ.ลืมไปว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย

บางเรื่องให้ฉกฉวยโอกาส และถ้าเลือกประธานรุ่นแล้ว อยากให้มีโครงการต่อเนื่องจากรุ่นที่ 13 ไปรุ่นที่ 14 อยากให้มีการกระเด้งเกิดโครงการเล็ก ๆ ขึ้นมา

กลุ่ม 4 ข้อ 6เสนอแนะแนวทาง/วิธีการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ของ กฟผ. ที่ได้ผล 3 แนวทาง พร้อมทั้งอธิบายเหตุผล

กฟผ.ปัญหาที่ประสบคือ หัวปลาวาฬ เป็นคนรุ่นเก่า แล้วคนรุ่นใหม่เลย ในรุ่นกลางอย่างรุ่นนี้ต้องเน้นวิธีการพัฒนาที่ได้ผลรวดเร็ว ดังนั้นแนวการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ ต้องมีการกำหนด Success Profile ต้องมีกำหนดอายุงาน การสร้างเขา ความรู้ ประสบการณ์ และคุณสมบัติที่ส่งเสริมให้ความรู้ใหม่ ๆ แล้วหา Gap ดูแนวทางที่จะพัฒนาว่าจะพัฒนาอะไรได้บ้าง การวัดผลที่ผ่านมาไม่ได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ยังใช้โมเดลเรียนรู้แบบ 10:20:70 ให้แต่ละคนหาความรู้ได้เร็วที่สุดทั้งอบรมและเรียนรู้เอง 20% เป็นลักษณะโค้ชชิ่งให้ไปดูลูกน้องให้เร็วที่สุดให้โค้ชตัวเองด้วยและดูว่าทำอย่างไรถึงได้ผลชัดเจนที่สุดและในอนาคตข้างหน้าอาจมีการ Sharing

70% เป็นลักษณะ On the job training มีการส่งบุคลากรไปฝึกงานกับบริษัทลูก ฝึกการคิดเชิงธุรกิจ รับและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และเรื่อง Settlement เรียนรู้และแก้ไขปัญหา มีการเจริญเติบโตตามที่ไปได้ มีการนำไปพัฒนาจุดเด่น จุดแข็ง ส่งเสริมให้เขาทำเลย ให้เป็นบุคลากรที่เข้มแข็ง และรองรับความดุเดือดด้านการเปลี่ยนแปลงด้วย

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์ เสริมว่า

เวลาไปฝึกงานบริษัทลูกบางคนอาจไม่กลับมาก็มี หรือบางคนไปฝึกงานที่อื่น เป็นเรื่องดีที่เป็นการสร้าง Network ก็เสมือนกับการสร้าง Fast Track ต้องดูบุคลิกเรื่องความนอบน้อมด้วยต้องฝึกเรื่องมารยาทในการทำงานด้วย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

จุดที่แลกเปลี่ยน พบว่าแต่ละกลุ่มคมมากขึ้น ควบคุมประเด็นเป็น สิ่งนี้เป็นการฝึก Agility อย่างหนึ่งคือเป็นการฝึกในความคิดร่วมกัน และที่สำคัญที่สุด ทั้ง 6 กลุ่มไม่มีผิด เพราะมาจากความจริง แต่เป็นสิ่งที่ไม่เคยพูดกัน

เป็นองค์ความรู้ที่ได้รับเหมือนกัน และเพิ่มความแตกฉาน

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

เราควรมีการปะทะกันทางปัญญามากขึ้น

วิชาที่ 3

การบรรยายพิเศษ

หัวข้อประสบการณ์ของข้าพเจ้าในการบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรองและจิตวิทยามวลชน

โดยดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

ประธานที่ปรึกษา บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด

ถามคำถาม : ในชีวิตการทำงานหรือชีวิตส่วนตัวมีความขัดแย้งอะไรบ้าง

1. ความคิดเห็น

2. การทำงานเรื่องการเวนคืนต้องใช้เทคนิคเจรจาต่อรองขั้นสูง

3. การทำงานเรื่องเจริญเติบโต

4. เจ้านาย ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน คู่ค้า

5. เทคนิคการเจรจา ต้องใช้คนในพื้นที่ช่วย

6. ความคิดเห็นทางการเมือง วิธีที่ใช้ ใช้ Mutual Respect ช่วยลดความขัดแย้งได้

7. สัญญาร่วมทุนกับบริษัทย่อยในเครือ

ประสบการณ์การใช้เทคนิคในการคลี่คลายความขัดแย้ง

ยกตัวอย่าง ACT ยื่นแถลงการณ์สถานทูตสหรัฐฯ ค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม

คุณหญิงชฎา ภาพลักษณ์ของท่านจริง ๆ คือซื่อสัตย์และสุภาพ คุณดนัยเป็นอยู่ในส่วนฝ่ายกลยุทธ์ พ.ร.บ.สุดซอย ไปยื่นหนังสือที่สถานทูตสหรัฐ ฯ และกระทรวงต่าง ๆ สิ่งที่ทำคือต้องการทำในลักษณะ Symbolic

ประเด็นคือ ACT เป็นองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) และต้องการเคลื่อนมวลชน ภายในวันเดียวมีการจุดประเด็นต่อต้านทั่วมหาวิทยาลัย และมีการต่อต้านจากส่วนต่าง ๆ สิ่งที่ทำเพื่อกระตุ้นสังคมว่าประเด็นนี้จะปล่อยผ่านไม่ได้มีการออกสื่อ Social ทุกชนิด มีการใช้จิตวิทยามวลชน ในการขับเคลื่อน

วิธีการในการมีประเด็นต่าง ๆขึ้นมา

1. ในกรณีมีความขัดแย้ง สิ่งที่ต้องการคือเวลามีคู่เจรจา สิ่งที่เราต้องการคืออะไร ต้องคุยเพื่อให้ได้ผลลัพธ์คือการยอมรับ Yes

2. นโยบายด้านการทูตคือศิลปะในการดึงให้คนมาเห็นคล้อยกับเรา

- การเจรจาต่อรองไม่ใช่หมายถึงการล้อมโต๊ะหรือนั่งตรงข้าม แต่ความจริงหมายถึงวิธีการทั้งหมดที่ไม่ต้องนั่งโต๊ะเจรจาแต่จะต้องทำให้การเจรจาต่อรองสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราได้เลย

สิ่งที่ควรทำ Generate Option

1. Joint Problem Solving คือ สิ่งที่เราต้องมาถึงจุดร่วมกันคือ Win – Win

1. Soft on people, hard on the problem

Soft on people - เวลามีปัญหาอย่าไปตีที่หัวใจคน อย่าไปทำให้คนไร้เกียรติ ต้องถนอมน้ำใจ เกียรติยศ ศักดิ์ศรี คนทุกคนมี Ego ทุกคน เป็นเรื่องที่แตะไม่ได้

จะพบว่ายิ่งทุกท่านยิ่งสูง เขาจะยิ่งอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นรวงข้าวมาก ยกตัวอย่างพระมหาจักรพรรดิญี่ปุ่นมาด้วยความนอบน้อม

Hard on the Problem – ประเด็นที่ต้องเจรจาต่อรองต้องชัดเจนว่าต้องการอะไร

ต้องแยกให้ชัดว่าเรื่องของคน กับปัญหาเป็นคนละเรื่อง แต่ส่วนใหญ่มองเป็นเรื่องเดียวกัน และจะทำให้เกิดปัญหา ซึ่งเขาจะไม่ฟัง ประตูจะปิด และการเจรจาจะเกิดขึ้นเมื่อเปิดประตูหัวใจแล้ว

2. Interests not Position

สิ่งที่ต้องตกลงร่วมกันระหว่างเรากับเขา เป็นผลประโยชน์ที่เราต้องตกลงร่วมกัน ไม่ใช่เขา ไม่ใช่เรา แต่เป็นองค์กร ต้องหา Mutual Benefit ให้เจอ

แต่ประเด็นที่พบส่วนใหญ่ มีความกลัว ความวิตกกังวล มีทั้งฝั่งเขาและฝั่งเรา แล้วเราจะจัดการตรงนี้อย่างไร ต้องเข้าใจสิ่งที่เขาต้องการ อะไรคือ Motive สิ่งที่เขาต้องการที่สุด กลัวที่สุด แคร์ที่สุด เพราะบางทีการให้เขา เขาอาจไม่ต้องการก็ได้

2. Cutting out posturing ต้องตัดมาดออก

การหาทางออกร่วมกันต้องมี 1,2,3 ต้องหาให้การเจรจาต่อรองสามารถสรุปตรงนั้นให้ได้ โดยเฉพาะ

3. Better working Relationship

ผลลัพธ์การเจรจาต่อไปต้องดีขึ้นเรื่อย ๆ

อุปสรรค 5 ข้อในการทำงานร่วมกัน

เป็นเรื่องพูดง่ายแต่ทำยาก ไม่สามารถปฏิบัติได้จริงในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ทุกอย่างมีความกดดัน ตึงเครียด อารมณ์ เราต้องมาต่อสู้ทางอารมณ์ และระบบ ระเบียบขององค์กร

1. ปฏิกิริยาคู่เจรจาเรา

- อารมณ์

- ตำแหน่ง

- อำนาจ

2. ปฏิกิริยาเรา

- เวลากระทบเรามีความรู้สึกอย่างไร เราจะรู้สึกเหมือนถูกโจมตีอะไรหรือไม่ ปฏิกิริยาของมนุษย์ที่ไม่ได้ฝึกเรื่องสติสัมปชัญญะ จะสู้หรือจะหนี แล้วจะเกิดเรื่องของ Action กับ Reaction แล้วเราจะเสมือนเป็นฝ่ายสูญเสียหรือคนที่อ่อนแอ

3. อารมณ์ของฝั่งเขา

- ส่วนใหญ่การเจรจามาด้วยอารมณ์ที่เป็นลบ เพราะเขาต้องมาทวงสิทธิ์บางอย่างที่ละเมิดอยู่ ภายใต้อารมณ์ โกรธ และเป็นปฏิปักษ์อยู่ บางครั้งหน้านิ่งเฉย แต่ภายในรู้สึก

- ภายใต้ความกังวล และความกลัว จะก่อให้เกิดความไม่ไว้ใจ ความไม่เชื่อถือ

- ถ้าไม่เป็นที่ไว้วางใจเมื่อไหร่ อะไรก็เกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่ไว้ใจอย่างไรการเจรจาก็ไม่จบ ดังนั้นต้อง Build Trust ให้ได้

- ฝั่งคู่เจรจาจะรู้สึกว่าเขาเป็นฝ่ายถูก เราเป็นฝ่ายผิด แล้วเขาจะไม่ฟังเรา

4. ตำแหน่งของเขา

- ในมุมมองของเขา เป็นสิ่งที่เขาจะต้องยอม ยิ่งตำแหน่งสูงเท่าไหร่ เขาจะไม่ยอม

5. ความไม่พอใจ

- คู่เจรจาอาจไม่มีความสนใจที่จะตกลงอะไรกับเรา เพราะเขามองไม่เห็นผลประโยชน์ที่เขาได้รับ

- เขาอาจรู้สึกเสียเกียรติ เสียหน้าถ้าจะต้องยอมรับข้อตกลงเรา และถ้าเป็นไอเดียของเรา เขาจะยิ่งไม่เอา

6. อำนาจของเขา

- ถ้าสิ่งที่กำลังทำอยู่นี้ เป็นเรื่อง Win-Loose เขาจะรู้สึกเป็นฝ่าย Win

- อะไรที่เป็นของผม ก็เป็นของผม อะไรที่เป็นของคุณอาจเป็นของผม ด้วย หมายถึง เขาจะถืออำนาจไว้ในมือแล้ว ประเด็นคือทำไมถึงต้องมาร่วมมือกับเราด้วย

ดังนั้นทำอย่างไรที่เขาจะต้องมาร่วมกับเรา เราจะทลายกำแพงตรงนี้ได้อย่างไร

1. มองหาทางออกร่วมกันที่เป็น Win-Win กับคู่เจรจา

2. อุปสรรค 5 เรื่องในการหา Joint Problem

3. ใช้กลยุทธ์เจรจาต่อรองอย่างไร

ทำอย่างไรให้คู่เจรจานั่งอยู่ฝั่งเดียวกับเรา สิ่งที่เราต้องต่อรองคืออะไร ยกตัวอย่าง สื่อเราต้องดึงสื่อเป็นเพื่อนให้ได้ เพราะเมื่อเราชนะสื่อหมายถึงเราแพ้แล้ว การนั่งต้องนั่งติดกันหมายถึงไม่มีอะไรปิดบัง เป็นพวกเดียวกัน ต้องนั่งอยู่ข้างกันให้ได้ เป็นเพื่อนเดียวกัน พวกเดียวกัน และต้องตกลงร่วมกันให้ได้

ปฏิกิริยาที่เราต้องทำ

1. Go to the Balcony เวลาเราโกรธ เราไม่พอใจ กลยุทธ์ที่เราใช้คือ ไปยืนที่ระเบียง หมายถึงไปสงบสติอารมณ์ก่อน อย่าเพิ่งเข้าสู่ในสังเวียน แล้วมองมาที่เกมส์การแข่งขัน

ออกไปยืนที่ระเบียง เพื่อป้องกันความขัดแย้งมิเช่นนั้น เราอาจต้องตัดความสัมพันธ์ดังนั้นเพื่อให้เรามีสติมากขึ้นคนที่โกรธอยู่ สติปัญญาจะปิดกั้นทันที อารมณ์โกรธจะปิดกั้นความดี สติปัญญาทั้งหมด ให้ทบทวนว่าเราต้องการอะไรกันแน่

เวลาโกรธ อย่าตอบโต้ออกไป เพราะเวลาโกรธจะมีคำพูดที่ทำให้เราเสียใจไปตลอดชีวิต

2. Step to Their Side ไปยืนอยู่ข้างเขา เอาใจเขามาใส่ใจเรา เข้าใจความรู้สึกของเขา แต่ไม่ได้หมายถึงเห็นด้วย มีความรู้สึกร่วมกัน คือสุขร่วมกัน ทุกข์เหมือนกัน วิธีการคือไปอยู่กับเขา เข้าใจเขา เสมือนไปใส่รองเท้าคู่เดียวกับเขา

ไปยืนข้างเขา เพื่อให้เขารู้สึกว่าสิ่งที่เรารู้สึกเช่นเดียวกับเขา เราเข้าใจ เห็นใจ แต่ไม่ได้หมายถึงเราเห็นด้วยกับสิ่งที่เขาเรียกร้อง

และเราสามารถช่วยให้เขาลดสิ่งที่เขาปกป้องตัวเองได้ ก็คือการฟัง เพราะมนุษย์ส่วนใหญ่ต้องการให้คนรับฟัง ให้ความเข้าใจมนุษย์ด้วยกัน

ความคิดลบของเรา ไม่จำเป็นต้องแก้ทันที เพราะเขาคิดมาชั่วชีวิต ต้องเรียนรู้ที่จะล่องเรือหรือแล่นเรือใบไปในทิศทางใด ต้องรู้จักวิธีการเล่นกับอารมณ์

3. Reframe คือการใส่กรอบใหม่ คนที่เก่ง Reframe เขาจะยอมเห็นด้วยกับเรา

พยายามตะล่อมถามไปเรื่อย ๆ แล้วตบหรือตะล่อมเข้ามาใหม่ เป็นการทวนคำถาม เน้นลักษณะแบบ Open ไปเรื่อย ๆ แล้วสุดท้ายจะได้สรุปอย่างที่เขาได้มา

อย่าปฏิเสธว่าไม่ได้ เพราะเขาจะเริ่มตั้งกาดป้องกันตัว และเมื่อฟังเขาพูดไปเรื่อย ๆ เขาจะรู้สึกว่าเขา Expert แล้วเราค่อยหาหนทางว่าจะช่วยแก้ไขอย่างไรดีKeyword ที่ใช้จะใช้คำว่าเรา คือเราจะมาหาทางออกทางนี้ดีไหม ใช้คำว่าเราตลอด

4. Build Them a Golden Bridge ในกรณีที่เขาปิดประตู เขาไม่สนใจสิ่งที่เราจะให้ เสมือนเขาสร้างกำแพง ดังนั้นเราต้องสร้างสะพานเชื่อมกันให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะเชื่อมกันไม่ได้ เพราะยิ่งเราเสนอมากเท่าไหร่ เขาจะยิ่งต้านมากขึ้นเรื่อย ๆ

กลยุทธ์ในการสร้างกำแพง คือให้ดึงคู่เจรจาของเรามาในเรื่องของกระบวนการ คือทำงานร่วมกัน มา Workshop หรือ Brainstorm สร้างให้เขามีส่วนร่วมใน Process ต้องสร้าง Trust ให้พอใจซึ่งกันและกัน และเมื่อเขามีส่วนร่วม เขาจะยอมรับในไอเดียตรงนั้น แล้วจะเป็นสิ่งที่ผสมไอเดียร่วมกัน เพราะจะทำให้คนสามารถรักษาหน้าตัวเองไว้ได้ด้วย เพราะ Keyword คือคำว่า Victory เนื่องจากคนต้องการเป็นผู้ชนะ จนถึงการตกลงขั้นสุดท้ายเพราะเขาเป็นผู้ชนะแล้วการเจรจาจะสำเร็จ

Don’t Push : Build Them a Golden Bridge เป็นกลยุทธ์ของซุนวู

5. Use Power to Educate เขามีอำนาจอยู่ในมือ เขาจะไม่ยอม เขาจะมองว่าเราต้องยอม ดังนั้นต้องทำให้เขาเห็นให้ได้ว่าการไม่บรรลุข้อตกลงอะไรเลยจะเป็นสิ่งที่เสียหายคือจะแสดงให้เห็นถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งสองฝั่งเป็นความเสียหายที่ไม่สามารถตกลงร่วมกันได้ เราต้องทำให้ผู้เจรจาของเราได้ว่าสะพาน Golden Bridge เปิดตลอดเวลาให้เขาเดินมาตรงนี้ได้ ทำอย่างไรที่จะใช้อำนาจที่มีอยู่ให้ความเข้าใจ

กลยุทธ์คือ สร้างสภาพแวดล้อมให้เขาเข้าใจในบริบทของเขาเอง จนกว่าสิ่งที่เขาเห็นเองเป็นทางออกที่ดีที่สุด

กลยุทธ์การเจรจาต่อรองขั้นเทพ

ให้เลือก Indirect Action คือ ใช้วิธีการอื่นเสมือนเล่นเกมส์ตรงนั้นได้ด้วย ยกตัวอย่างเวลาเล่นเรือใบ ตอนลมแรงมาก เราต้องผ่อนใบเรือ ถ้าลมเบาเราต้องขึ้นใบเรือ

Indirect Action เป็นวิธีการที่เจรจาต่อรองด้วยทางอ้อม คือ

- แทนที่พยายามยัดเยียดไอเดียเราไปใส่เขา ทำอย่างไรให้ไอเดียนี้เป็นไอเดียของเขาเอง ให้ทุกคนเป็นเจ้าของ

- แทนที่บอกเขาว่าขั้นตอนจะทำอย่างไร ให้เขาคิดด้วยตัวเขาเอง เพราะมนุษย์เป็นสิ่ง Uncontrollable อย่าพยายามกดดัน เขาให้สร้างสภาพแวดล้อมให้เขาเห็นแสงสว่างตรงนั้นเอง

Preparation Worksheet

ดูว่าอะไรที่เป็นของเรา และของเขา ให้ดูว่าทั้งสองฝ่ายมีอะไรที่พึงพอใจ สามารถอยู่ในข้อเสนอตรงนี้ได้

คำถาม

การสร้าง Power เราสามารถใช้ความเป็นผู้รู้ หรือยืมมือที่สามมาช่วยได้หรือไม่

ตอบ

การสร้างความเข้าใจ บางครั้งใช้บุคคลที่สาม หรือคนมาช่วยก็ได้ สร้างสภาพแวดล้อมให้คนที่ไม่เข้าใจสามารถเข้าใจ แล้วดูว่าจะมีอะไรที่เดินหน้า 1,2,3

ยกตัวอย่าง EM Ball

ได้ยกตัวอย่างว่า Content is King but Context is Queen

Content คือสิ่งที่เราสื่อสาร แต่ไม่มีน้ำหนักเท่า Context คือบริบท สภาพแวดล้อม หมายถึง ถ้าโพสต์ 1 โพสต์ โพสต์มาถูกจังหวะ ก็จะไปได้ มีแค่ Content อย่างเดียวแต่ถ้าไม่ถูกจังหวะ ก็ไปไม่รอด

โครงการมวลชน

การเคลื่อนมวลชนที่ดีที่สุดคือการเคลื่อนโดยไม่รู้ว่าคือใคร แต่ทุกคนมีเจ้าของ เช่น โครงการสวดมนต์ข้ามปี

เมื่อไม่มีใครเป็นเจ้าของจะรู้สึกว่าทุกคนช่วยกันเพราะการมีเจ้าของจะเคลื่อนไปได้แค่ระดับหนึ่ง ไปได้ไม่ไกล

งานมวลชนจะไม่มีประธาน มีแต่กริยาที่ทำ

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

กรณีเรื่องโรงไฟฟ้าที่กระบี่ จะมีคำแนะนำอย่างไรในอนาคตที่จะมีทางออกที่ดี

คุณดนัยตอบ การไปสำรวจในพื้นที่ขอมีการทำการบ้านก่อน เนื่องจากทุกอย่างมีความละเอียดอ่อนมาก ไม่สามารถทราบข้อมูลที่แน่ชัด โดยส่วนตัวมีที่ปรึกษาอยู่หลายที่ แต่ขอได้รับข้อมูลที่ชัดเจนก่อน ก่อนที่จะให้คำปรึกษา

สรุปคือ มนุษย์เป็นคนที่ไม่มีเหตุผล แต่เวลาทะเลาะกันทะเลาะที่ความคิด ที่สมอง จุดที่เชื่อมได้คือต้องใช้ใจเชื่อม ถ้าใจเปิดทุกอย่างจะเชื่อมได้หมด โลกนี้ขับเคลื่อนด้วยอารมณ์ ต้องจับประเด็นให้ได้ว่ามนุษย์ขับเคลื่อนด้วยอารมณ์ก่อน แล้วเหตุผลมาที่หลัง ต้องจับจุดให้ได้แล้วเราจะสามารถเจรจาต่อรองได้ทั้งหมด


วิชาที่ 5

Learning Forum

หัวข้อ บุคลิกภาพของนักบริหาร

­ ศิลปะการแต่งกายสไตล์นักบริหารยุคใหม่

­ เทคนิคการดูแลใบหน้าและแต่งหน้าให้ดูดีมีสไตล์

- การเลือกทรงผมกับบุคลิกคนทำงานรุ่นใหม่/ มาดและท่วงท่าอิริยาบถของคนทันสมัย

­ มารยาททางธุรกิจ มารยาทสังคม และมารยาทในการรับประทานอาหารแบบต่าง ๆ

โดยอาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์

วันที่ 14 มีนาคม 2560

สรุปโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy

Outline

1. Imageภาพลักษณ์ภายนอก

  • แต่งกายและเครื่องใช้ที่แสดงถึงรสนิยมดี
  • Head to Toe

เสื้อผ้า........หน้า.........ผม

2. Social & Business manners, Table manners

3. Know how to use Body Language

4. Know your Role:

5. Know how to present yourselfin the public

6. Always active and lively

7. Good posture

การสร้างความประทับใจแรกพบ

ขึ้นอยู่ที่แต่ละบุคคลว่าต้องรู้ว่าตอนนี้ต้องการเล่นบทอะไร

Body Language

ต้องแสดงความใส่ใจ

- Look 55%(ตามองเห็นบุคลิกภาพภายนอก)

- Sound 33% (น้ำเสียง)

- Word 12 % (คำพูด)

การพัฒนาบุคลิกภาพ

1. การแต่งตัว

2. มาด

3. อารมณ์ดี

4. กาลเทศะ

5. พูดจาดี

3 องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อบุคลิก

1. สีสัน

2. สัดส่วน

3. เส้นสาย

1. สีสัน

เลือกสีให้เหมาะสมกับกาลเทศะ อาทิ สีสุภาพเช่น ขาว น้ำเงิน ดำสีร้อนแรง เช่น สีแดง สีสดใส เช่น สีเหลือง

ข้อสังเกต :1. แต่ละคนจะมีโทนสีที่เหมาะสมไม่เหมือนกัน

สีโทนร้อน แดง เหลือง ชมพู ส้ม น้ำตาล ทอง

สีโทนเย็น น้ำเงิน เขียว ขาว เทา เงิน

2. สีเดียวกันแต่ถ้าการแต่งกายไม่เหมือนกัน ก็สามารถสื่ออารมณ์ไม่เหมือนกัน

ความหมายและอิทธิพลของสี

สีแดง: ความรัก ความลุ่มหลง ความร้อนแรง ความสนุกสนานอำนาจ

สีชมพู: ความหวาน ความน่ารักใคร่ ขี้เล่น ความละเอียด

สีเหลือง: ความสุข ความสนุกสนาน ร่าเริง การระลึกความหลังที่ตรึงตรา

สีส้ม:พละกำลัง ความอบอุ่นการเปลี่ยนแปลง สุขภาพที่ดี

สีน้ำตาล:ความเป็นคนติดดินซื่อ สะอาด เรียบง่าย มีมนุษยสัมพันธ์ดี

สีทอง: ความมั่งคั่ง ความวิจิตรวิลิศมาหลา พิธีการ ความสว่างโดดเด่น

สีดำ:ความเป็นคนหัวโบราณ ลึกลับแต่ทันสมัย

สีเงิน: ความโก้ เพรียว มีเสน่ห์ หรูหรา

สีเขียว:ความเจริญรุ่งเรือง สุขภาพดี ความอุดมสมบูรณ์ ความร่มเย็น รื่นรมย์ ก่อให้เกิดความไพเราะเสนาะหู

สีขาว: ความสมบูรณ์ ใสซื่อ นุ่มนวล

สีเทา: ความเป็นทางการ หัวโบราณ ทันสมัย

สีม่วงแดง:บ่งถึงความเป็นผู้สูงศักดิ์ ล้ำค่า โรแมนติก ศักดิ์สิทธิ์

สีม่วงอ่อน: ความสงบเยือกเย็น สง่าหรูนุ่มนวลอบอุ่นเหมือนเพศหญิง

สีฟ้าแจ๋นเทอคอยส์:ลักษณะที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น ชัดเจน สมัยใหม่

สีเบจ: คนหัวเก่าสบายๆ

รูปแบบการแต่งกาย

ผู้ชาย

เน็คไทด์ ให้ความยาวอยู่ที่หัวเข็มขัดขนาดพอดีให้เหมาะสมกับขนาดหน้า

คอปกเสื้อ ให้พอดีกับรูปหน้า เลือกคอปกเสื้อที่มีรูปทรงตรงกันข้ามกับขนาดของใบหน้า

รองเท้า แนะนำไม่ควรเลือกหัวทู่ ถ้าใส่หัวค่อนข้างแหลมจะทำให้ดูดี
จะช่วยให้ดูสูงและดูผอม

ความยาวกางเกง ความยาวไม่ให้ลากพื้น และไม่ให้ความยาวสั้นเกินไป

สีเสื้อ เลือกให้เข้ากับกาลเทศะ และสีผิว

ขนาดเสื้อ เลือกให้พอดีกับตัว

แว่นเลือกให้เหมาะสมกับใบหน้าแว่นกรอบโครเมี่ยม ไม่ใช้แล้ว

สามารถเลือกแว่นที่มีสีสันให้หน้าดูสดใส

สูท ต้องเห็นเสื้อข้างในด้วย

กางเกงใส่แบบพอดีตัว ไม่มีจีบ อย่าใส่ของที่กระเป๋ากางเกง

ใส่กางเกงต้องอยู่ตรงสะดือ อย่าใส่ต่ำ

ถ้าคนช่วงบนใหญ่ให้ใส่กางเกงที่ข้างล่างกว้างขึ้นนิดนึง

ผู้หญิง

โช้กเกอร์เหมาะสำหรับคนคอยาว

ปกเสื้อ ถ้าคอตันให้ใส่ปกเสื้อกว้าง

Good posture

1. การไหว้

  • ไหว้ด้วยใจ ให้นิ้วพนมมืออยู่กลางอก
  • การรับไหว้ หรือไหว้ให้เหมือนกันคือไหว้ด้วยใจ และให้พนมมืออยู่กลางอก

-ยิ่งไหว้สวยคนยิ่งรัก

2. การนั่งเก้าอี้

- ผู้หญิงนั่งเก้าอี้แค่ครึ่งเดียว ผู้หญิงนั่งเท้าเยื้องกัน

- ผู้ชายนั่งเก้าอี้เต็มเก้าอี้แต่ไม่พิงมาก

- ไม่นั่งไขว่ห้าง

3. การยืน

- ผู้หญิงยืนเท้าซ้อนกันข้างหน้าข้างหลังประมาณ 10 นาฬิกา

- ผู้ชายยืนห่างกัน 1 ฝ่ามือ

- ถ้าเมื่อยขยับเท้าไปมาได้

4. การเข้าที่นั่งเก้าอี้

- ให้เก้าอี้อยู่ขวามือทุกครั้ง

- จับพนักเก้าอี้ก่อนนั่ง

5.การเดิน

- เดินตรง

- ให้เอาส้นลงก่อน หน้าตาม จะทำให้ดูสง่ากว่า

6. การนั่งเก้าอี้โซฟา

- เก้าอี้ที่ติดประตูเก้าอี้เดียว อย่านั่ง เพราะเป็นที่เจ้าของบ้าน จะเข้าออกหรือเอาของง่ายกว่า

- อย่าให้ผู้หญิง เด็ก ผู้อาวุโส ใกล้ประตู

- ในกรณีที่สุภาพสตรีเป็นผู้นำรู้จักกับเจ้าของบ้าน ผู้หญิงจะนั่งมุมโซฟาติดกับเจ้าของบ้าน

- ถ้ามาคนเดียวให้นั่งโซฟา (โซฟาคือที่ของแขก)

- ถ้าเจ้าบ้านเป็นผู้ใหญ่จะนั่งโซฟาฝั่งซ้ายมือ ส่วนคนที่สนิทเจ้าของของบ้านที่เป็นผู้ใหญ่ หรือแขกผู้มาเยือน จะนั่งโซฟาฝั่งขวามือติดกับเจ้าของบ้านเสมอ

7. การนำเสนองาน

- ต้องนั่งฝั่งตรงข้ามประตูเสมอ

- คนที่เป็นประธานนั่งตรงข้ามจอ

- คนนำเสนอนั่งติดกับประธานเสมอ

- คนที่ 2 นั่งติดกับคนที่นำเสนอ ส่วนอีกคนนั่งถัดมาตรงไหนก็ได้

8. การนั่งรถยนต์

- อาวุโสน้อยสุดต้องนั่งตรงกลาง

- อาวุโสน้อยลำดับ 2 นั่งข้างหลังคนขับ

- อาวุโสมากสุดนั่งข้างหลังเยื้องคนขับ

9. การนั่งทานข้าว

- แขกคนที่สำคัญที่สุดต้องนั่งขวามือของเจ้าภาพเสมอ

10. การรดน้ำสังข์

- ผู้ชายอยู่ฝั่งขวามือผู้หญิง

- หอยสังข์อยู่ฝั่งเจ้าบ่าว

- หยิบหอยสังข์รดน้ำเจ้าสาวก่อนแล้วค่อยมารดน้ำเจ้าบ่าว

11. การไปรับแขก

- ถ้าไม่ใช่คนขับรถไปรับแขก ให้เชิญเขานั่งหน้ากับเรา จะได้ชวนคุย

12 .การนั่งรถตู้

- ที่ VIP Seat จะอยู่โซนแถวแรกหลังคนขับ ผู้ใหญ่สุดจะนั่งตรงกลาง ให้คนเด็กกว่าเข้าไปก่อน

13. การแนะนำคนให้รู้จักกัน

- เมื่อเดินมากับเพื่อนแล้วเจอคนรู้จัก

- เดินเข้าไประยะห่างที่กำลังดีคือ 1 ช่วงแขน

- ให้ทักทายคนรู้จักเล็กน้อยก่อน

- เวลาเริ่มแนะนำให้เกียรติใครให้เรียกชื่อคนนั้นก่อน

- ถ้าเป็นทางการมาก ๆ เช่น ท่านผู้อำนวยการค่ะผมขออนุญาตแนะนำ

- แล้วบอก Background สั้น ๆ เพื่อให้คนสองคนคุยกันต่อได้ ไม่ให้มี Dead Air แล้วคนกลางจะสบายใจ

- ในกรณีที่มากับภรรยาต้องให้เกียรติภรรยาก่อน โดยเรียกชื่อภรรยาก่อนแล้วค่อยแนะนำ

- ในกรณีที่มากับหลาน เป็นข้อยกเว้น เรียกชื่อหลานแล้วให้กล่าวสวัสดี

- ในกรณีที่ชุมชน ไม่จำเป็นต้องแนะนำ หรือรอแนะนำ ให้คนรู้จักทักทายกันเองนิดเดียวพอ

14. การลงบันได ขึ้นบันได้ หรือเข้าลิฟท์

- ให้ดูเรื่องความปลอดภัยของผู้หญิง เด็ก ผู้อาวุโสก่อน

- ถ้าขึ้นบันไดให้ผู้หญิงขึ้นก่อน ถ้าลงบันได ผู้ชายลงก่อน

- ถ้าเข้าลิฟต์ ผู้ชายเข้าก่อน

15. การมาต้อนรับและเดินนำทางแขก

- กล่าวสวัสดี แนะนำตัวเองก่อน แล้วเดินนำทางโดยให้เดินนำอยู่อยู่ด้านขวามือด้านหน้าของแขก เนื่องจากมือขวาเป็นมือที่ใช้ในการเปิดทางและเปิดประตู

16. การเดินตามมาพร้อมกับเจ้านายหรือแขกผู้ใหญ่

- ให้เดินฝั่งซ้ายข้างหลัง เนื่องจากเขาจะถือเอกสารอยู่ขวา

17. การนั่งรับประทานอาหาร

- ไม่ต้องเสิร์ฟให้กันเพื่อบริการ เน้นการยกจานให้เขาตักเอง

- ไม่เสียความเป็นกุลสตรี และเสียความเป็นสุภาพบุรุษ

18. การเรียกชื่อ

- คำว่าท่านไม่ใช้นำหน้าชื่อใช้นำหน้าเฉพาะตำแหน่งเท่านั้น เรียกใช้คำว่าคุณเนื่องจากเป็นภาษาสุภาพที่สุดแล้ว

19. การแนะนำตัว

- ให้แนะนำตัวเองก่อนถามคนอื่นเพื่อทำความรู้จัก

- การยื่นนามบัตร จะยื่นสองมือหรือมือเดียวก็ได้แต่ให้สุภาพ ให้ยื่นฝั่งตัวหนังสือให้เขาอ่าน คนที่อาวุโสน้อยต้องรีบรับก่อน


หมายเหตุ : การทำทุกอย่างให้นึกถึงความพอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป ไม่บริการมากเกินไป

มารยาทบนโต๊ะอาหาร

1.ผ้ากันเปื้อน

- ไว้เฉพาะกันเปื้อน ไม่ใช่เช็ดปาก หรือสั่งน้ำมูก ผ้าใช้เฉพาะกันน้ำหกเท่านั้น

- ควรมีกระดาษทิชชู่ติดกระเป๋าอยู่เสมอ แล้วสอดไว้ในผ้า

- ในกรณีฉุกเฉินการคายเศษอาหารให้คายบนผ้าได้

2. การเข้าที่นั่งเก้าอี้

- เข้าทางซ้ายของเข้าอี้ให้มือควาจับพนักเก้าอี้แล้วนั่ง

3. อาณาเขต

- แก้วน้ำอยู่ฝั่งขวา

- ขนมปังอยู่ฝั่งซ้าย

4. อุปกรณ์

- ใช้อุปกรณ์ที่อยู่คู่นอกสุด ไล่มาหาข้างใน เริ่มจากอาหารว่างก่อน แล้วค่อยเข้ามาอาหารหลักข้างใน

- การทานใช้ส้อมกับมีดเสมอ ไม่ใช้ช้อน แม้เป็นข้าวก็ใช้ส้อม จะใช้มีดปาดไว้ที่หลังส้อม แล้วกินหลังส้อม

- การทานขนมปังให้ บิขนมปังทีละคำ แล้วนำมีดปาดเนยทาขนมปัง

- การวางอุปกรณ์ที่ยังกินไม่เสร็จให้วางมีดใต้ส้อมที่โค้งอยู่ หันคมมีดเข้าหาเรา (จะเป็นที่รู้กันว่ายังทานไม่เสร็จ)

- การเก็บอุปกรณ์ให้วางมีดอยู่เหนือส้อม

- การทานสปาเก็ตตี้ให้จิ้มมา 3 เส้นพอแล้วม้วน ๆ จะพอดีปาก

5. การถือแก้วไวน์แดง

- ให้ถือแค่ 3 นิ้วพอ

หมายเหตุ : 1.ไม่ถามเรื่องเจ็บป่วยตอนรับประทานอาหาร

2. ไม่ต้องถามเรื่องคนที่รู้จักมาก่อน เพราะเราไม่รู้ว่าความสัมพันธ์กับปัจจุบันเป็นอย่างไร


วิชาที่ 6

Learning Forum & Workshop

หัวข้อ 3 V’s - Innovative Project Designing and Presentation

(การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานส่วนบุคคลและวิธีการนำเสนอ)

(*หมายเหตุ เป็นผลงานของ EADP 13 จำนวน 1 ชิ้น และงานกลุ่ม 3 คน 1 ชิ้น)

โดยอาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ผศ.กิตติ ชยางคกุล

คณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย อีสเทิร์นเอเชีย

ผศ.กิตติ ชยางคกุล

หัวข้อ 3 V’s - Innovative Project Designing and Presentation

(การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานส่วนบุคคลและวิธีการนำเสนอ)

แบ่งเป็น 2 โครงการฯ

1. โครงการใหญ่สำหรับรุ่น 1 โครงการ

- มุ่งที่การพัฒนา

2. โครงการจับกลุ่ม 3 คน

- โจทย์คือสามารถนำไปใช้ได้ในการทำงานปกติ

ดังนั้น โครงการฯในรุ่นนี้จะมี 2 ระดับและจะนำเสนอในวันสุดท้าย ต้องคำนึงถึงว่า

1. โปรเจคใหญ่ ผู้บริหารซื้อหรือไม่

2. โปรเจคเล็ก นำไปใช้ได้จริงหรือไม่

Project Methodology การนำเสนอโครงการฯ 4 ขั้นตอน

วิธีการที่ EGAT จะทำตอนนี้มีอะไร

1. Where are we? คือ EGAT ปัจจุบันเป็นอย่างไร

ฐานการคิดโครงการฯ คิดจากฐาน

1) Problem Based Approach ดูจากปัญหา

ตัวอย่าง EGAT ที่ทำอยู่นี้มีปัญหาหรือไม่

- ดูว่าถ้าปัญหานี้ไม่กลับมาคุยกัน EGAT นี้แย่แน่ ๆ ตัวอย่างเช่นการสร้างโรงไฟฟ้า การ Deal กับชาวบ้านกับนักธุรกิจต่างกัน วิธีการพูดเลยต่างกัน มุมมองต่างกัน

2) Opportunities Based Approach ดูจากโอกาส

ตัวอย่าง การสร้างโอกาสสำหรับ EGAT ในอนาคต เมื่อโอกาสเปิดจะไปสร้างมูลค่าให้กับ EGAT

- การไปคว้าโอกาสได้เราต้องเตรียมอะไร มีปัญหามากน้อยแค่ไหน

2. Where do we want to go? วิสัยทัศน์ของ EGAT

3. How to do it? EGAT จะไปอย่างไร

4. How to do it successfully ? จะไปได้จริงหรือ

การวิเคราะห์ Where are we?

1. วิเคราะห์ SWOT Analysis

- ทำ SWOT อย่างไรให้ได้คุณภาพ

- ดูค่านิยม Core Value อะไรคือจุดแข็งของ EGAT

- อะไรที่ EGAT สะท้อนให้เห็น

- ถ้ายังไม่มี EGAT มีอะไร

การมองที่ปัญหาต้องแก้ การมองที่โอกาสต้องคว้า ดังนั้น เป้าหมายที่คิดต้องสอดคล้องกับที่ EGAT ต้องการ ให้ดูถึงวิสัยทัศน์ของ EGAT ว่าเราจะสอดคล้องกับวิสัยทัศน์อย่างไร

วิธีการคิดโครงการฯ (Project = Innovation + EGAT)

1. โครงการต้องสะท้อนความเป็นจริงขององค์กร และมีความเกี่ยวข้องกับ EGAT (2R’s –Reality,Relevance)

2. โครงการน่าสนใจ

3. เป็นโครงการฯ นวัตกรรม หมายถึง เป็น Innovation ในการพัฒนาองค์กร คือ Do the same things in different way

- การสร้างให้งานเป็นนวัตกรรมได้ ด้วยแนวคิด 3 V (Value Added, Value Creation, Value Diversity)

4.เกิด Impact ต่อองค์กร

5. ทำได้

6. วัดผลได้ (Measurable)

การนำเสนอ

1. นำเสนอในรูป A3 1 แผ่น นำเสนอแปะบอร์ด ให้รู้ว่าหลักการและเหตุผลคืออะไร ทำไมต้องทำ ทำอย่างไร

2. การนำเสนอสิ่งที่เราคิด นำเสนอได้ 2 แบบ

1) การเขียน

2) การพูด

ให้นำเสนอผ่านคลิปวีดิโอสั้น ๆ เป็นการ Present ได้

การตัดสิน

1.ผู้บริหารดูการนำเสนอผ่านวีดิโอ และกระดาษ A3

2. มี 3 รางวัล คือ

- Innovation

- Big Impact

- Popular Vote

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

สิ่งที่เราทำนี้เป็นเสมือนงานวิจัยเล็ก ๆ (Mini Research) เป็นลักษณะฝึกการปฏิบัติการกลุ่มใหญ่ และปฏิบัติการย่อย

สิ่งที่ได้ในการทำโครงการ คือ

1. Learn –Share-Care คือ1)การฝึกการเรียนรู้ร่วมกัน (Learn) 2)การร่วมแบ่งปันความคิดเห็น (Share) 3) การคัดสรรประเด็น (Care)

2. ออกแบบโครงการตาม Methodology

3. การสร้างมูลค่าเพิ่มจาก 3 V คือ

- Value Added

- Value Creation

- Value Diversity ไปสร้างความเชื่อมโยงกับใครได้บ้างแล้วได้อะไร เป็นการเพิ่มมูลค่าและคุณค่าขึ้นมา

ถ้าพูดแล้วดูว่าผู้บริหาร Wow ต้อง Thailand 4.0 ต้องมี

1) นวัตกรรมใหม่ ๆ

2) มี Digital หรือ IT เข้ามา

3) ลดความเหลื่อมล้ำ

4) ลดกับดักการพัฒนาที่ไม่สมดุล

ผศ.กิตติ ชยางคกุล

การคิดโครงการใหญ่ 1 โครงการ สำหรับรุ่น

โจทย์ 1. ให้แต่ละกลุ่มคิดประเด็นการนำเสนอเพื่อจัดทำโครงการใหญ่ในนามของรุ่นกลุ่มละ 2 ประเด็น และเหตุผลว่าทำไมเลือกประเด็นนี้ (รวมทุกกลุ่มจะได้ 12 ประเด็น)

2. ให้ในรุ่นโหวตว่าจะเลือกประเด็นอะไรมา 1 ประเด็นในการนำเสนอในนามของรุ่น

การนำเสนอ

กลุ่ม 5

1. รีสอร์ทโรงไฟฟ้า

แนวคิดคือการมีโรงไฟฟ้าอยู่มากในต่างจังหวัดหลายโรง โรงไฟฟ้าพลังน้ำมีรีสอร์ทอยู่แล้ว แต่โรงไฟฟ้าพลังความร้อน คนกลัวไม่กล้าเข้าถึง จะทำเป็นรีสอร์ทที่คนเข้าถึงได้ เป็น Green Area ที่คนเข้าไปใช้ มีชุมชนสามารถหารายได้มี OTOP มีคนเข้ามาบริหาร

ได้ช่วยทั้ง CSR และกฟผ.

2. Smart Battery

ใช้พลังงานประหยัด เป็นคนนำร่องให้ประชาชนทั่วไปในการใช้รถไฟฟ้า EV ทำเป็น Pilot Project ก่อน

กลุ่ม 6

1. จัดทำข้อมูลโครงสร้างค่าไฟ เพื่อนำเสนอความเข้าใจให้กับประชาชนในภาพใหญ่

ผศ.กิตติ ชยางคกุล

เสนอว่าถ้าเสนอให้กับประชาชนเข้าใจง่ายจะได้รับผลบวกกับ EGAT

2. พัฒนา Software ในระดับการสื่อสารและส่งไฟฟ้าไปขายในภาคพื้นเอเชีย

ผศ.กิตติ ชยางคกุล

พัฒนาและสร้างมูลค่าขึ้นมา

กลุ่ม 1

1. ออกแบบการสื่อสารเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน

อาทิSocial Media ให้ผู้มีหน้าที่สื่อสารนำหน้าในองค์กร

มีปัญหาเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าที่เทพามาก ประเด็นคือประชาชนไม่เชื่อ ไม่มั่นใจ กฟผ.

กฟผ.มีปัญหากับชุมชนมาโดยตลอด ในวันนี้ กฟผ.ไม่มีความสามารถในการสื่อสาร เขาไม่เข้าใจเรา เราต้องมีภารกิจให้สังคมและประชาชนเชื่อมั่นว่าเป็นองค์กรของรัฐ ของประชาชน

2. การแก้กฎหมาย มีการหาพันธมิตรร่วมและการสื่อสาร มีการมองหาโอกาสไปในอนาคต เพื่อให้บุคลากรได้เตรียมความพร้อมในเรื่องนี้

กลุ่ม 3

1. โมเดล ทับสะแก 4.0 เป็น Smart City

อยากทำให้ประชาชนเห็นภาพชัดเจน จะใช้ศาสตร์พระราชาคือดึงชาวบ้านมาร่วมกัน ทำอะไรให้เขาเห็น ให้ชุมชนอยู่ได้ ให้ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่เห็นผลว่าสามารถอยู่ร่วมกันได้ จำลองภาพประเทศไทยมาอยู่ในทับสะแก เป็นลักษณะ Dynamic การปรับเปลี่ยนว่าสัดส่วนการใช้พลังงานมีความหลากหลายและมีการเปลี่ยนแปลง

2.โรงไฟฟ้า Hybrid ทำโมเดลคล้าย ซี.พี. ช่วยเกษตรกร เลี้ยงไก่ ทำคล้ายสหกรณ์ คือให้ชาวบ้านทำโครงการฯ และ กฟผ.รับซื้อ

กลุ่ม 2

1. Renewable เน้นการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ และมุ่งสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็กไปด้วย ปัจจุบันได้โควตา 500 เมกะวัตต์ แต่ไม่ได้ดำเนินการเท่าไหร่ สาเหตุคือโรงไฟฟ้าที่ทำเป็นไบโอมาสเป็นการ FIRM ในบางช่วง มีเชื้อเพลิงที่ต้องสมเหตุ สมผล แนวคิดคือสร้างภาพลักษณ์ให้กับ กฟผ. มีการตกลงกับชาวบ้าน

ออกแบบโรงไฟฟ้าที่ผสมผสานได้หลายอย่าง เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับประชาชน และสร้างภาพลักษณ์ให้ กฟผ.

2. Distributed Generation การลงทุนสายส่งขนาดใหญ่แพงมาก แต่ถ้าเอาโรงไฟฟ้าขนาดเล็กไปอยู่ตามจุดที่ใช้ จะสร้างความมั่นคง และลดภาระส่วนหนึ่ง และสร้างประโยชน์ชาวบ้าน ใช้วัตถุดิบในประเทศ ลดการนำเข้า และชาวบ้านจะได้ประโยชน์มากขึ้น

กลุ่ม 4

1. โครงการนำร่องการกำหนดค่าไฟตามต้นทุนเชื้อเพลิง

สิ่งที่มุ่งหวังคือการยอมรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าตามแผน EADP โดยประชาชนแต่ละพื้นที่ยอมรับ แนวคิดคือ ปัจจุบันเมื่อก่อนเคยจ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากันตามต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง จะนำแนวคิดนี้มาปรับค่าไฟ EGAT จะทำการศึกษา Package ต่าง ๆ ที่เหมาะสมในแต่ละส่วนต่าง ๆ เช่น ภาคใต้มีการศึกษาในพื้นที่จริง ทำเป็น Package เช่น ถ่านหินอย่างเดียว ถ่านหินบวกกับชีวมวล คิดต้นทุนออกมา ให้ชาวบ้านเลือกPackage และชาวบ้านจ่ายราคานั้นเลย เลือกพื้นที่ ให้ชาวบ้านลงประชามติ แล้วจะสร้างโรงไฟฟ้าตรงไหน ให้ตีกรอบว่าจะได้อะไร ให้ชาวบ้านตัดสินใจเอง

2. การสื่อสารความรู้ด้านพลังงานหมุนเวียน

เรื่องการใช้ Use Power ถ้าไปถามคนโดยทั่วไปจะพบว่าคนต้องการพลังงานที่เป็นสีเขียว เนื่องจากไม่เข้าใจว่าพลังงานมีกี่ประเภทอะไรบ้าง จึงอยากให้ความรู้ที่ถูกต้อง ดึงสื่อมาให้ได้รับความรู้ที่ถูกต้อง เช่นพลังงานแสงอาทิตย์ กลางวันใช้ กลางคืนดับ ให้ดึงสื่อสารมวลชนเข้ามารับในการสื่อสาร เพื่อไปถ่ายทอดให้ถูกต้อง

ผศ.กิตติ ชยางคกุล

1.ทั้ง 12 ประเด็น จะพบว่ามีจุดหนึ่งที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่คือ คนไม่เข้าใจ กฟผ. และกฟผ.ปฏิเสธไม่ได้ว่า กฟผ.มี Bad History ดังนั้น กฟผ.จะทำอย่างไรให้ลด Bad History และสร้างไอเดียใหม่ที่คนยอมรับ

2. ทำอย่างไรให้การสื่อสารจาก EGAT กับคน ประสบความสำเร็จ

พบว่าไอเดียทุกกลุ่มมีความคล้ายกัน เนื่องจากทุกกลุ่มมาจากไอเดียที่ทำจริง ๆทำอย่างไรที่ EGAT จะได้เม็ดเงินเพิ่มขึ้น ทำอย่างไรให้คนไม่ต่อต้าน คนยอมรับ

หลังจากนี้ 12 ไอเดียจะ Blend ให้เข้าหากันได้อย่างไร

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

สิ่งที่พบคือ แนวคิดที่ทั้ง 6 กลุ่มเปลี่ยน และใกล้เคียงไปสู่ Thailand 4.0 เพราะการนำเสนอของโครงการมาจากกำลังภายในของแต่ละท่านที่จะผุดขึ้นมา

1. Social Trust ทำอะไรให้สังคมเชื่อถือจากสิ่งที่เราทำได้จริง

2. คิดโครงการให้ผู้ใหญ่ซื้อ ซื้อแล้วได้เปรียบ คิดโครงการฯ ที่เขย่งหน่อย

3. เสียดายที่จะทิ้งทั้ง 12 โครงการฯ สามารถมารวมกันได้หมด คิดเป็นโมเดลแล้วเสนอมาร่วมกันได้

ผศ.กิตติ ชยางคกุล

1. การนำเสนอเพื่อการรับรู้ VAK Method

อาทิ กลุ่มที่ 1 ถามเพื่อนกลุ่มที่ 2 หาอินเตอร์เน็ตหาข้อมูลกลุ่มที่ 3 คือลองเลย

Visual – การรับรู้ด้วยตา มีภาพ มีหนังสือ สีสัน Powerpoint

Auditory – กลุ่มชอบฟัง

Kinesthetic - มีกิจกรรมให้เขาจับต้องทดลองทำ

เราทุกคนมี VAK หมดแต่อยู่ที่ว่าอะไรเด่น จึงต้องมีการผสมผสานกันทั้ง 3 ส่วน

ดังนั้น เวลานำเสนอต้องประกอบทั้ง 3 อย่างคือมีการสอน สีสัน การพูด และให้เขาจับต้องได้

2. งานกลุ่ม 3 คน

- อยู่ในส่วนที่รับผิดชอบหรือไม่

- ช่างน้ำหนักให้ใช้ประโยชน์ได้โดยการผสมผสาน

- ใช้ในการทำงานกลุ่ม

#EADP2017

#EADP13


โปรดคลิกที่ลิ้งค์ข้างล่างนี้เพื่อติดตามข่าวโครงการ

http://www.gotoknow.org/posts/626196

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 20 มีนาคม – 3 เมษายน 2560

http://www.gotoknow.org/posts/626982

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 4-19 เมษายน 2560


ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ”. ตอน : EADP 13..ห้องเรียนสัญจร ตอนที่ 1.. “น่าน” สืบสานการทำงานตามศาสตร์พระราชา ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 13 เมษายน 2560 เวลา 21.00-21.30 น.ทางสถานีโทรทัศน์: TGN Global Networks


ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ”. ตอน : EADP 13..ห้องเรียนสัญจร ตอนที่ 2.. บทบาท “กฟผ.”กับการทำงานในระดับชุมชน..กรณีศึกษาจังหวัดน่าน ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2560 เวลา 21.00-21.30 น.ทางสถานีโทรทัศน์: TGN Global Networks


ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ”. ตอน : EADP 13..ห้องเรียนสัญจร ตอนที่ 3..เรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองน่านเพื่อสืบสานงาน กฟผ. และรายงานพิเศษ : CNC GROUP กับการพัฒนาองค์กรธรรมาภิบาล ออกอากาศ : วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2560 ทางช่อง TGN ระหว่างเวลา 21.00-21.30 น.

หมายเลขบันทึก: 625694เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2017 20:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2017 16:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (45)
นายสายัณห์ คะเชนทร์

วันที่ 13 มึค.2560

การขับเคลื่อน Thailand 4.0 เพื่อผลักดันรายได้ประชาขาติเพิ่มขึ้น

-ในขณะที่ประเทศไทย 3.0 ที่มุ่งเน้นอุตส่หกรรม ที่ประเทศเราเป็นแค่ฐานผลิต มีรายได้จากการขายแรงงาน แต่เราไม่มีเทคโนโลยีที่เป็นของเราเอง ถึงแม้เรามีต้นทุนด้านแรงงานที่มีความรู้ ทักษะ แต่เราไม่สามารถเป็นผู้ผลิตเอง เราซื้อเทคโนโลยีต่างประเทศมาโดยตลอด ขาดการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเอง และไม่ส่งเสริมให้มีการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ

-ที่สุดสิ่งที่พบในสังคมยุคประเทศไทย 3.0 ประเทศประกอบด้วยประชากรที่ต้องแก่งแย่ง เพื่อความอยู่รอด คุณธรรมและจริยธรรม ในตัวคนลดน้อยลง แบบอย่างที่ดีหาได้ยาก นักการเมืองที่มีเกียรติกลับโกงกินกอบโกยหาผลประโยชน์กันตั้งแต่ระดับชาติถึงระดับท้องถิ่น ข้าราชการที่มองหาส่วนแบ่งงบประมาณจากโครงการต่างๆ นักบวชที่อาศัยช่องโหว่ของศรัทธาและความเขลาของคนหาผลประโยชน์ เด็กขาดต้นแบบในการดำเนินชีวิต ปัญหาเหล่านี้จะก้าวผ่านอย่างไร และควรแก้อย่างเร่งด่วน

-การอยู่รอดของประเทศที่ก้าวเดินตามศาสตร์พระราชา มุ่งให้นำเศรฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับทุกอาชีพ เมื่อรัฐบาลยึดอำนาจใหม่ๆได้ประกาศชัดเจนที่จะเดินเส้นทางนี้ แต่Thailand 4.0 กลับนำ ICT นวัตกรรม และวิชาการ มาเสริมเติม Thailand 3.0 เพื่อให้รายได้ประชาชาติหลุดพ้นจากการมีรายได้ปานกลาง

-อยากเห็น Thailand 4.0 ปรับเปลี่ยนควบคู่สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นศาสตร์ของพ่อ

การบรรยายพิเศษ

หัวข้อประสบการณ์ของข้าพเจ้าในการบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรองและจิตวิทยามวลชน

โดยดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

ประธานที่ปรึกษา บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด

เป็นวิชาที่ได้ประโยชน์กับการทำงานและการใช้ชีวิตมาก

ชาที่ 5

Learning Forum

หัวข้อ บุคลิกภาพของนักบริหาร

ศิลปะการแต่งกายสไตล์นักบริหารยุคใหม่

เทคนิคการดูแลใบหน้าและแต่งหน้าให้ดูดีมีสไตล์

- การเลือกทรงผมกับบุคลิกคนทำงานรุ่นใหม่/ มาดและท่วงท่าอิริยาบถของคนทันสมัย

มารยาททางธุรกิจ มารยาทสังคม และมารยาทในการรับประทานอาหารแบบต่าง ๆ

โดยอาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์

วันที่ 14 มีนาคม 2560

ควรมีเวลามากพอที่สามารให้คำแนะนำเป็นการส่วนตัวกับทุกๆคน

ส่วนช่วงบ่ายเป็นการหา Project กลุ่มย่อน และรุ่น

นพวรรณ กาญจนะวรรณ กลุ่ม 6

Assignment 1 13-14 มีนาคม 2560

ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

กฟผ. กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่แน่นอน และ ไม่สามารถคาดเดาได้ ดังนั้น กฟผ. ต้องการความร่วมมือทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร ต้องมีพันธมิตร และมองสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง และ ตรงประเด็น (ทฤษฎี 2 R’s) โดยต้องรู้จักพัฒนา ใช้ 4L’s คือ มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ สร้างโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ และสร้างให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ และใช้ 2I’s คือ ต้องกระตุ้นให้เกิดการจุดประกาย (Inspiration) และ สร้างแรงบันดาลใจ (Imagination)

ต้องเรียนรู้ที่จะใช้ 3 V’s คือ สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) สร้างคุณค่าใหม่ (Value Creation) สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย(Value Diversity)

ดร.สุวิทย์ เมษิณทรีย์

โลกปัจจุบันเน้น Business Model ธุรกิจกำลังเปลี่ยนสู่ Service Economy และต้องมองการลงทุนในต่างประเทศ ที่สามารถแข่งขันได้ ธุรกิจต้องเข้าสู่ Digital Platform มากขึ้น ต้องตอบโจทย์ ลูกค้าต้องการอะไร ต้องรู้ว่าเราเก่งอะไร และมี Collaborative Network เพียงใด ต้องเปิดกว้าง และ แบ่งปัน

ประเด็นที่ได้เรียนรู้ กฟผ. จะก้าวไปสู่ 4.0 ต้องพัฒนาคนก่อน สร้าง Entrepreneurial Skill สร้างคนให้มี ความคิดสร้างสรรค์เพื่อจะสร้างนวัตกรรม และให้สามารถบริหารความหลากหลาย (Diversity) ตัดสินใจฉับไว รวดเร็ว (Agility) สามารถสร้าง Social Trust เพื่อให้สังคมยอมรับและมีพันธมิตรสร้างเครือข่าย เพื่อเสริมสร้างการดำเนินงานขององค์กร

ดร. ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

การแก้ปัญหาความขัดแย้งต้องสร้างทางเลือก ที่จะก่อให้เกิด Win – Win Joint Problem Solving : Soft on people, hard on the problem เน้น Mutual Benefit ตัดความเป็นตัวตน และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

ทำอย่างไรให้คู่เจรจานั่งอยู่ฝั่งเดียวกับเรา ไม่ใช่การเอาชนะ รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา เอาใจเขามาใส่ใจเรา สร้างความเชื่อถือไว้วางใจ สิ่งสำคัญ คือ ความจริงใจที่จะแก้ปัญหาร่วมกัน

ในการสร้างกระแส ต้องมีทั้ง Content และ Context ต้องสร้าง Content ให้ถูกจังหวะ กระแสจึงจะเกิด

อาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์

ภาพลักษณ์ภายนอกมีผลต่อการรับรู้โดยตรง การสร้างความประทับใจเกิดจากบุคลิกภาพและการแต่งกายที่เหมาะสม (55%) น้ำเสียง (33%) คำพูด12 %

การปฏิบัติตนและการต่างกายที่เหมาะสม ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพความเป็นผู้บริหาร ทั้งนี้ในการปฏิบัติในสังคมยึดหลัก อาวุโส ตำแหน่ง ให้เกียรติ เพศ และ ความปลอดภัย

ผศ. กิตติ ชยางคกุล

3 V’s - Innovative Project Designing and Presentation (การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานส่วนบุคคลและวิธีการนำเสนอ)

Project Methodology

1. Where are we? คือ EGAT ปัจจุบันเป็นอย่างไร โดยดูจากปัญหา หรือดูจากโอกาส วิเคราะห์ SWOT Analysis ดูค่านิยม Core Value อะไรคือจุดแข็ง

2. Where do we want to go? วิสัยทัศน์คืออะไร

3. How to do it? EGAT จะไปอย่างไร

4. How to do it successfully? จะไปได้จริงหรือ

Project = Innovation + EGAT โดยคำนึง 2R’s –Reality,Relevance โครงการต้องสะท้อนความเป็นจริงขององค์กร และมีความเกี่ยวข้องกับ EGAT น่าสนใจ เป็นนวัตกรรม คือ Do the same things in different wayตามแนวคิด 3 V (Value Added, Value Creation, Value Diversity) ทำแล้วเกิด Impact ต่อองค์กร สามารถทำได้ และวัดผลได้

นายประพันธ์ อนันตวราศิลป์ กลุ่ม1

เรียน ผู้ประสานงานโครงการอบรมหลักสูตร EADP

ช.อทด-ห. ขอเรียนรายงานสรุปผลการอบรม EADP ช่วงระหว่างวันที่ 13-14 มีนาคม 2560 ดังนี้

  • คุณลักษณะ และบทบาทของผู้นำ กฟผ. ในอนาคตควรต้องเป็น ดังนี้

1.1 เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม

1.2 มีภาวะผู้นำ กล้าตัดสินใจ ทำงานเป็นทีม

1.3 มีวิสัยทัศน์แสดงความคิดริเริ่ม

1.4 สร้างศรัทธาทั้งภายใน และภายนอก

1.5 มีทักษะการบริหารเครือข่าย

1.6 การบริหารจัดการภาวะวิกฤต

1.7 การบริหารผู้ใต้บังคับบัญชาให้เป็นเลิศ

2. การบริหารโครงการพัฒนางาน ผู้บริหารต้องมีคุณลักษณะดังนี้

2.1 มองตัวเอง (ปัญหาอุปสรรคของหน่วยงาน วิเคราะห์ SWOT)

2.2 มองอนาคต (โอกาสเป้าหมาย และ VISION)

2.3 มองแนวทาง (แผนยุทธศาสตร์ กลยุทธ์)

2.4 มองผลสำเร็จ (งานแล้วเสร็จตามแผน)

3. โครงการประชารัฐ ซึ่งต้องมีความร่วมมือและประสานงานระหว่าง รัฐบาล ชุมชน เอกชน และวิชาการ เพื่อให้การดำเนินการ ไปสู่ EGAT 4.0

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

นายประพันธ์ อนันตวราศิลป์

วันที่ 20 มีนาคม 2560

นายทิเดช เอี่ยมสาย (กลุ่ม 6)

สาระสำคัญในวันที่ 13 มีนาคม 2560

จากที่ ดร.จีระ กล่าวถึง การ กฟผ. เผชิญกับปัญหาที่เกิดขึ้น ในเรื่อง ความเร็วของการเปลี่ยนแปลง, ความไม่แน่นอน และ สถาณะการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ เป็นปัญหาที่ทุกคนควรตะหนัก วิธีการทำงานต้องมีการประสานงานกันมากขึ้น การทำงานไปแนวทางเดียวกัน ต้องชัดเจนเพิ่มมากขึ้น

ในด้านของการสื่อสาร เป็นหน้าที่ทุกคนควรช่วยกันทำ รวมทั้งการสร้างแบรนด์ของ กฟผ. ให้ชัดเจนมากกว่านี้ ใน กฟผ. มีเรื่องราวมากมายที่สามารถ นำเสนอให้สังคมภายนอกรับทราบยังมีอีกมาก ผู้ปฏิบัติต้องช่วยกันคิดและช่วยกันทำ

Thailand 4.0 ที่รัฐบาลกำลังขับเคลื่อน เมื่อมองในมุมของ กฟผ. ยังมีโอกาสอีกมากที่สามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การท่องเที่ยว การเกษตร และ Healthcare การคิดนอกกรอบน่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยเปิดโอกาสในเรื่องนี้ได้

ในเรื่อง การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรองและจิตวิทยามวลชน โดย ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย, สนใจในประเด็นเกี่ยวกับ ปฏิกิริยาที่ควรทำ ในระหว่างการเจรจาต่อรอง ขอบันทึกเฉพาะหัวข้อหลัก

  • Go to the Balcony
  • Step to Their Side
  • Reframe
  • Build Them a Golden Bridge
  • Use Power to Educate

โดยเฉพาะเกี่ยวกับ Reframe คือการใส่กรอบใหม่ เพื่อที่จะเขาจะยอมเห็นด้วยกับเรา ทำในลักษณะพยายามตะล่อมถามไปเรื่อย ๆ แล้วตบหรือตะล่อมเข้ามาใหม่ เป็นการทวนคำถาม เน้นลักษณะแบบ Open ไปเรื่อย ๆ แล้วสุดท้ายจะได้สรุปอย่างที่เขาต้องการและเราต้องการด้วย ซึ่งวิธีการนี้ เป็นสิ่งที่ ตัวผมเองเคยทำในการเจรจามาบ่อยๆ เหมือนกัน ส่วนอีกวิธีการหนึ่ง Use Power to Educate ถ้าใช้ในสถานการณ์ของ กฟผ. เกี่ยวกับการโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่ ไม่ทราบว่า จะใช้วิธีการนี้ ได้หรือป่าว?

มีวันที่ 14 มีนาคม 2560 ต่ออีกนะครับ >>>
นายทิเดช เอี่ยมสาย (กลุ่ม 6)

สาระสำคัญในวันที่ 14 มีนาคม 2560

เรื่อง บุคลิกภาพของนักบริหาร โดย อ.ณภัสวรรณ จิลลานนท์, ทำให้เห็นมุมมองของคนภายนอก ที่มองถึงภาพลักษณ์ ที่มองต่อผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะผู้บริหาร ทำให้ตัวผมเอง ต้องระวังการแต่งตัว เสื้อผ้า หน้า ผม รวมถึง การยืน เดิน การรับประทานอาหาร และการพูดจา ให้มากกว่านี้ เพราะเมื่อมีคนภายนอก มาทักกันขนาดนี้คงต้องปรับปรุงตัวกันบ้างละครับ แต่ขออยู่เรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับใส่รองเท้าหัวแหลม ผมขอไม่ใส่นะครับ เป็นความไม่ชอบส่วนตัวจริงๆ (-.-")

สำหรับเรื่อง การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานส่วนบุคคลและวิธีการนำเสนอ โดย อ.กิตติ ชยางคกุล, ผมว่าอยู่ที่ 4 ขั้นตอนการได้มาของโครงการ สำหรับเรื่องที่เกี่ยวกับ กฟผ. สิ่งที่น่าสนใจ ที่ช่วยปรับทิศทางในการหาหัวข้อโครงการได้ดี

  • กฟผ. ตอนนี้มีปัญหาอยู่หรือไม่
  • วิสัยทัศน์ของ กฟผ. ไปในทิศทางไหน
  • กฟผ. จะไปได้อย่างไร
  • แล้วมีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จหรือไม่

ในกลุ่ม 6 นำเสนอ 2 โครงการ ได้แก่

  • จัดทำข้อมูลโครงสร้างค่าไฟ เพื่อนำเสนอความเข้าใจให้กับประชาชนในภาพใหญ่
  • พัฒนา Software ในระดับการสื่อสารและส่งไฟฟ้าไปขายในภาคพื้นเอเชีย

แต่เมื่อดู โครงการที่กลุ่มอื่น เสนอจะมีจุดร่วมที่คล้ายๆกันตามที่ อ.กิตติ เสนอคือ คนภายนอกไม่เข้าใจ กฟผ. และ กฟผ.เองก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า กฟผ.มี Bad History ดังนั้น กฟผ.จะทำอย่างไรให้ลด Bad History และสร้างไอเดียใหม่ที่คนยอมรับ ซึ่งโครงการที่เกี่ยวกับสื่อสารต่อบุคคลภายนอก น่าจะโครงการที่ทำเป็นโครงการกลุ่มใหญ่ ของ EADP รุ่นที่ 13 (ความเห็นส่วนตัวนะครับ)


แล้วพบกับที่น่านครับ :-)

นายสุธีร์ พร้อมพุทธางกูร กลุ่ม 6

การบ้าน 1 วันที่ 13-14 มีนาคม 2560

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

โลกปัจจุบัน ปลี่ยนแปลงเร็วมาก ไม่แน่นอน และคาดเดาได้ยาก ดังนั้น การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ การแลกเปลี่ยนข้อมูล การทำงานเป็นทีม การหาพันธมิตร จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้งานประสบผลสำเร็จ

การที่จะเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้ กฟผ. จะต้องสร้างองค์กรให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ให้ได้

วีดิโอ ดร.สุวิทย์ เมษิณทรีย์

ประเทศไทย ประกาศปรับเปลี่ยน จาก 3.0 เป็น 4.0 เพื่อนำพาไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง การที่จะปรับเปลี่ยนได้ ต้องอาศัยนวัตกรรม เพื่อนำไปสู่ Creative Economy เพื่อสร้าง Valve Added ในตัวผลิตภัณฑ์นั้น แต่การที่เปลี่ยนงานประจำให้เป็นนวัตกรรมนั้น ไม่ง่ายเลย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กฟผ. 4.0 ต้องมีธุรกิจใหม่ๆมาเสริม และควรจะเชื่อมโยงกับภาคส่วนอื่น เช่น เกษตร ท่องเที่ยว และสุขภาพ กฟผ. ควรจะปรับปรุงตัวเองเพื่อให้สังคมเกิดความไว้วางใจ (Social Trust) ใช้ทรัพยากรที่มี เช่น สถานที่ ทุน และ คน ช่วยท้องถิ่นให้มีรายได้สูงขึ้น

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เป้าหมายของรัฐบาล ต้องการยกระดับรายได้จากปานกลาง ไปสู่รายได้สูง จึงต้องอาศัยนวัตกรรม แต่นวัตกรรม จะเกิดไม่ได้ถ้าประชาชนไม่มีทักษะ กฟผ. จึงควรมุ่งเน้นไปที่งานวิจัย โดยไม่ต้องคำนึงว่า กฟผ.จะได้อะไรจากผลของงานวิจัยแต่ควรคิดว่า ประเทศได้อะไรมากกว่า

ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

การเจรจาต่อรอง ต้องพยายามหาคำตอบที่เป็น win-win solution จึงจะสำเร็จโดยง่าย คนที่จะเจรจาต้องมีคุณสมบัติอ่อนน้อม เข้ากับคนได้ดี ให้เกียรติคู่เจรจา ช่างสังเกตุ ใจเย็น ห้ามโกรธ แต่ต้องมีความชัดเจนในปัญหา

อ.ณภัสวรรณ จิลลานนท์

แนะนำเรื่องบุคคลิกและการแต่งกาย การเข้าสังคม มรรยาทบนโต๊ะอาหาร แต่เวลาน้อย จึงแนะนำไม่ทั่วถึง หลายเรื่องต้องนึกตาม ทั้งๆที่ควรจะต้องปฏิบัติจริง

ผศ.กิตติ ชยางคกุล และ อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

หลักการคิดโครงการ ต้องรู้ตัวเอง รู้เป้าหมาย กำหนดแนวทางปฏิบัติ และวิเคราะห์ความเป็นไปได้

นายสมเกียรติ ย้อยเสริฐสุทธิ์

สรุปประเด็นในช่วงที่ 1 (13-14 มีค.60)

ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์ และ อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

- ผู้นำต้องมี ความดี ความเก่ง และ ความกล้าหาญ

- คน กฟผ.เป็นประเภทความรู้เชิงลึกซึ่งต้องพัฒนาเรื่องความรู้เชิงกว้างด้วย

- EGAT ต้องดูภาพกว้างด้วยนอกจากมองแค่ EGAT อย่างเดียว เปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น

- EGAT มีประเด็นเรื่อง Social trust

- ยังขาดจิตวิญญาณผู้ประกอบการ

ดร. ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

- อย่าเอาชนะสื่อ แต่ต้องเอามาเป็นเพื่อนเป็นพวก ถ้าคุณชนะสื่อแสดงว่าคุณแพ้แล้ว

- การขับเคลื่อนมวลชน การสร้างกระแสนั้น Context มีน้ำหนักกว่า Content ( Content is King but context is Queen)

- การเคลื่อนมวลชนที่ดีที่สุดต้องไม่ให้รู้ว่าใครเป็นเจ้าของ แต่ต้องให้ทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของ

- การขยับตัวของ กฟผ.ออกไปปะทะกับภายนอก ระวังอารมณ์สังคมที่จะถูกมองแบบ แจ็คกับยักษ์

- เปิดประตูหัวใจเขาให้ได้ก่อนเจรจา การเจรจาที่ดีต้องสร้างทางเลือก

- มนุษย์เป็นคนที่ไม่มีเหตุผล แต่เวลาทะเลาะกันทะเลาะที่ความคิด ที่สมอง จุดที่เชื่อมได้คือต้องใช้ใจเชื่อม ถ้าใจ เปิดทุกอย่างจะเชื่อมได้หมด โลกนี้ขับเคลื่อนด้วยอารมณ์ ต้องจับประเด็นให้ได้ว่ามนุษย์ขับเคลื่อนด้วยอารมณ์ ก่อน แล้วเหตุผลมาที่หลัง ต้องจับจุดให้ได้แล้วเราจะสามารถเจรจาต่อรองได้ทั้งหมด

อาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์

- เป็นวิชาที่ตื่นเต้นเร้าใจใคร่รู้ที่สุดเท่าที่เคยเข้ารับการอบรมในเรื่องต่างๆมาตลอดชีวิตการทำงาน ทำให้ตัวเองใช้เวลาก่อนออกไปทำงาน ในการหมุนซ้ายหมุนขวาหน้ากระจกเพิ่มขึ้น และได้ข้อสรุปว่า ตัวเองแต่งตัวเชยจริงๆ

ผศ. กิตติ ชยางคกุล

- คิดโครงการให้มีคนสนใจจะซื้อ ต้องคิดโครงการฯ ที่เขย่งหน่อย

นายสุพัฒนพงศ์ สิกขาบัณฑิต (ช.อจพ.) กลุ่ม 2

ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์ & อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล (ทฤษฎีสำคัญ)

กฟผ. กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่แน่นอน และ ไม่สามารถคาดเดาได้ ดังนั้น กฟผ. มองสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง และ ตรงประเด็น (ทฤษฎี 2 R’s) ต้องสร้างให้ คน กฟผ. มีนิสัยรักการอ่านหนังสือ และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ (ทฤษฎี 4L’s) นอกจากนั้น ต้องฝึกให้มีการสร้างมูลค่าเพิ่มกับสิ่งที่ต้องรับผิดชอบ คิดสิ่งใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และสร้างคุณค่าจากความหลากหลายที่จะเกิดขึ้น (3V’s) เพื่อให้องค์การอยู่รอด ทั้งนี้จะเกิดขึ้นได้ต้องให้มีการจุดประกายความคิดจากบุคลากรภายในองค์การ และให้มีการสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดขึ้นก่อน (2I’s) ถึงแม้ความคิดบางอย่างไม่ใช่สิ่งใหม่ในโลก แต่อาจเกิดจากการลอกเลียนแบบ (Copy) แต่ก็ต้องมีความเข้าใจให้ลึกซึ่ง (Understanding) และสร้างมูลค่าเพิ่มให้ได้ (Value Creation/Value added) ตามทฤษฎี C–U-V

ที่ผ่านมาการดำเนินงานโครงการต่างๆ ของ กฟผ. ที่ไม่ประสบความสำเร็จ กฟผ.ควรนำมาเรียนรู้ทั้งความเจ็บปวด ประสบการณ์ การรับฟัง (3L’s) และตระหนักในการสร้างเครือข่ายที่มีองค์ประกอบจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน และพยายามทำให้ NGO’s เป็นพันธมิตรกับ กฟผ. มากขึ้น

ดร. ดนัย จันทร์เจ้าฉาย (การบริหารความขัดแย้ง / การเจรจาต่อรอง)

การเจรจาต่อรองมุ่งแบบ Win-Win ไม่จำเป็นต้องล้อมโต๊ะเจรจา การเจรจาจะเกิดขึ้นเมื่อเปิดหัวใจเขาได้ก่อน และต้องเน้นที่ผลประโยชน์ร่วมกันได้ โดยอย่าคิดแบ่งแยกฝั่งขององค์กร นอกจากนั้นต้องเตรียมทางเลือกเอาไว้ด้วย และอย่าลืมว่าการเจรจาต้องให้เกิด Better Working Relationship ซึ่งอาจต้องใช้การเจรจาหลายรอบก็ตาม

วิธีการ Break through negotiation คือ

-เขาสร้างกำแพง เราสร้างสะพาน

-เปลี่ยนกรอบ : หาหนทางแก้ไขร่วมกัน

-เข้าใจเขา (ไม่ใช่เห็นด้วย) พร้อมแสดงความเสียใจ

-ข้ามไปยืนข้าง ๆ กับเขา

-ชี้ประเด็นให้เขาเห็นความเสียหายของการไม่สามารถตกลงกันได้

-อาจถึงขั้นต้องออกไปสงบสติอารมณ์

อาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์ (บุคลิกภาพของนักบริหาร)

ภาพลักษณ์ภายนอกมีผลต่อการรับรู้โดยตรง การสร้างความประทับใจเกิดจากบุคลิกภาพและการแต่งกายที่เหมาะสม 55% น้ำเสียง 33% คำพูด12% ทำให้กระผมเริ่มใส่ใจการแต่งตัวมากขึ้น

สำหรับพิธีการต่าง ๆ เช่น การไหว้ ตำแหน่งการนั่งในรถ การนั่งโซฟา การใช้อุปกรณ์บนโต๊ะอาหาร การรดน้ำสังข์ มีหลักการที่เข้าใจง่าย สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้ทั้งหมด

ผศ.กิตติ ชยางกุล&อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล (Innovation Project)

Innovation Project ของ EADP13 ได้มีการบูรณาการโครงการแบบสมบูรณ์แบบ ซึ่งได้มีการผสมผสานความคิดของทั้ง 6 กลุ่ม เข้าด้วยกันอย่างลงตัว ในพื้นที่ที่ กฟผ. มีอยู่ ซึ่งครอบคลุมและรองรับกับสิ่งที่ กฟผ. จะต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดขององค์กรในอนาคต และคาดว่าจะสามารถตอบสนองกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งต้องติดตามรายละเอียดกันต่อไปจนกว่าจะจบโครงการอบรมครับ

อลิสา จินตณวิชญ์ กลุ่ม 2

การพัฒนาในครั้งนี้มุ่งเน้นการพัฒนาตนเองสู่การสร้างความยั่งยืนให้องค์กรโดยอาจารย์ได้นำเสนอทฤษฎีต่างๆให้เลือกนำมาประยุกต์ใช้และฝึกปฏิบัติในการเรียนรู้ร่วมกันซึ่งเป็นการเปิดมุมมองให้ผู้เข้าอบรมได้แสดงความคิดเห็นให้กว้างขึ้นมิใช่อยู่ในวิชาชีพของตนเพียงอย่างเดียวต้องมีเครือข่ายเปิดใจร่วมกันเป็นการบริหารการเปลี่ยนแปลง และเป็นการสร้างแนวร่วมในการขับเคลื่อนองค์กรร่วมกัน

การมุ่งสู่นวัตกรรมสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ 2 R ต้องมองหาความจริงและตรงประเด็นเพื่อมองให้ออกว่าวันนี้เป็นอย่างไร แล้วจะมุ่งสู่เป้าหมายอะไรเพื่อให้เกิดนวัตกรรม โดยเลือกใช้ 3Vs

อย่างไรก็ดีสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ผู้นำขององค์กรต่อการเปลี่ยนแปลง จะต้องสร้างให้มีความเข้าใจในบทบาทต่อองค์กร หากพิจารณาทฤษฎีต่างๆที่นำเสนอพบว่าของอาจารย์จิระเป็นแนวทางที่เข้าใจง่ายและมองเห็นเป้าหมายในการนำมาปฏิบัติ ได้แก่

1.Confidence มั่นใจ

2. Understanding Future

3. Learning Culture

4. Creativity

5. Networking

6. ชนะเล็กๆ

7. ทำต่อเนื่อง 3 ต.

8. ผลประโยชน์ต้องกระจายทุกกลุ่ม

9. Teamwork in diversity

การบริหารความขัดแย้งและเจรจาต่อรองเป็นแนวทางที่ไม่ยากในการนำมาปฎิบัติ แต่จะต้องมีการฝึกให้เกิด

ทักษะ แต่อย่างน้อยที่สุดก็ได้ทราบว่า วิทยากรได้นำมาใช้และเกิดผลได้จริงเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ผู้นำต้องพบใน

การบริหารงานประจำวัน

บุคลิกภาพของนักบริหาร วิทยากรได้ชี้ประเด็นให้เห็นว่า บุคลิกภาพมีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์ตัวเราและ

ต่อองค์กรอย่างไร ซึ่งผู้บริหารไม่ควรมองข้าม และต้องให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน

การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานส่วนบุคคลและวิธีการนำเสนอ

เป็นหัวข้อที่แนะนำการออกแบบโครงการ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม 3 คน หรือโครงการรุ่น มีหลักการเดียวกันคือ

1. Where are we? โดยพิจารณาจาก ปัญหาเป็นหลักโดยใช้ Swot Analysis

2. Where do we want to go? ดูวิสัยทัศน์ของกฟผ. ตัวแปรที่ทำให้ กฟผ.มีโอกาส

3. How to do it? จะไปอย่างไร ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ มองจุดแข็งจุดด้อยแต่ละแนวทาง

4. How to do it successfully ? จะไปได้จริงหรือไม่

นาย ถาวร วิศิษฏ์เกียรติชัย กลุ่ม2

สรุปการเรียนหัวข้อ1-6 วันที่13-14มีนาคม2560

โดย นายถาวร วิศิษฏ์เกียรติชัย กลุ่ม 2

13มีนาคม2560

วิชาที่ 2

Learning Forum & Workshop

หัวข้อ EGAT 4.0 กับการพัฒนาภาวะผู้นาและการสร้างผู้นาแห่งทศวรรษใหม่

โดย .ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เมื่อได้เรียนในหัวข้อนี้ ทำให้ได้รับความรู้ที่สมควรจะต้องรู้เกี่ยวกับความเป็นผู้นำ ทฤษฎีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และอีกหลายทฤษฎี ผู้นำที่ต้องเป็นมากกว่าผู้จัดการหรือผู้บริหาร ทรัพยากรที่ดีที่สุดในปัจจุบันก็คือ คน ไม่ใช่ เงิน สิ่งของ หรือเครื่องจักร ถ้าองค์กรใดได้นำทฤษฎีเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ องค์กรนั้นก็จะได้ผู้นำที่ยอดเยี่ยม

วิชาที่ 3 ประสบการณ์ของข้าพเจ้าการบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรองและจิตวิทยามวลชน

โดย คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย ประธานที่ปรึกษา บรัทดีซีคอลซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด

ความขัดแย้งคือสถานการณ์ที่คนหรือกลุ่มคนเกิดความไม่เข้าใจกัน จึงต้องมีกลยุทธและจิตวิทยามวลชนในการเจรจาต่อรอง

ไม่มีวิธีการใดที่ดีที่สุดซึ่งสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งได้อย่างเบ็ดเสร็จ จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับเหตุการณ์นั้นๆโดยสรุป คือ

1.ถ้าเป็นเรื่องการเมืองควรทำให้เป็นกระแสสังคม การมีผู้นำที่โปร่งใส จะทำให้กระแสสังคมทั่วไปยอมรับ สามารถสร้างเป็นพลังสู่ชัยชนะได้

2.ในการเจาจาต่อรองไม่จำเป็นต้องนั่งโต๊ะเจรจา อาจใช้เทคนิคในการเจรจาแทน เช่น

-ในการเจรจาที่เกิดขึ้นต้องเปิดประตูหัวใจเขาให้ได้ก่อน

-หาผลประโยชน์ร่วมกัน

-อย่าไปพูดจา แสดงกริยา ให้เขาเจ็บช้ำน้ำใจ

ไม่ว่าจะเจรจา รอบไหนๆ ก็ควรที่จะ

1.better working relationship

2.better future outcomes

วิชาที่ 4 กิจกรรมสัมพันธ์

14 มีนาคม 2560

วิชาที่ 5 บุคลิกภาพของนักบริหาร

โดย ณภัสวรรณ จิลลานนท์

การได้เรียนรู้บุคลิกภาพที่เหมาะสม ดูดี แบบว่า LOVE AT FIRST SIGHT

เช่น ในการแต่งกาย จะต้องเลือกเสื้อผ้า รองเท้า สิ่งประดับให้เหมาะสม กับรูปร่าง สีเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับผิวพรรณ ถูกกาละเทศะ

การมีมารยาทในการนั่งรับประทานอาหาร ตั้งแต่การเริ่มเข้านั่ง เลือกตำแหน่งการนั่ง การลุกออกจากเก้าอี้

มารยาทในการนั่งรถ ตำแหน่งในการนั่งรถ

มารยาทการนั่งและตำแหน่งที่นั่งที่โต๊ะรับแขก

วิชาที่ 6

Learning Forum & Workshop

หัวข้อ 3 V’s - Innovative Project Designing and Presentation

(การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรม เพื่อพัฒนางานส่วนบุคคลและวิธีการนาเสนอด้วยรายงานแบบ 1 หน้า A3)

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ผศ.กิตติ ชยางคกุล คณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย อีสเทิร์นเอเชีย

การเรียนรู้ถึงงานหรือโครงการที่จะต้องทำ 2 งาน คือ

1.งานกลุ่ม3 คน ที่สามารถเอาไปimplement ได้ในงานปกติ

2.งานกลุ่มใหญ่ทั้งรุ่นEADP13

วิธีการทำโครงการ(Project Methodology) จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ คือ

-Where are we?

-Where do we want to go?

-How to do it

-How to do it successfully

เมื่อให้แต่ละกลุ่มนำเสนอโครงการ กลุ่มละ2 โครงการ ทำให้ได้ข้อเสนอ ดังนี้

ควรจะทำเป็นทับสะแกโมเดล โดยที่แต่ละกลุ่มสามารถคิดและพัฒนางานของกลุ่มเอง

แล้วนำมารวมไว้ในทับสะแกโมเดล เช่น

-รีสอร์ทโรงไฟฟ้า

-โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่ให้ประชาชนมี่ส่วนร่วม

ค่าFT.จัดทำข้อมูลโครงสร้างค่าไฟ

ฯลฯ

นายกัมปนาท แสงสุพรรณ กลุ่ม 1

โครงการอบรมหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย (EADP : รุ่นที่ 13 ) Assignment ที่ 1 : 13 – 14 มีนาคม 2560 สรุปประเด็นสำคัญ 1. โลกาภิวัฒน์กับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่รวดเร็ว ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ , การเมือง, สังคม , เทคโนโลยี , การแข่งขันและอีกหลายๆ ด้าน ที่กระทบต่อการบริหารงานในองค์กร ผู้นำรุ่นใหม่จึงต้องเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างมีศิลปะ 2. ทฤษฎีแห่งการทำให้ Human Resources (HR) เป็นเลิศ การพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นทรัพยากรสำคัญขององค์กรให้เป็นเลิศ ทฤษฎีด้าน HR - ทฤษฎี 5K’s - ทฤษฎี 2R ว่าด้วย Reality and Relevance - ทฤษฎี 3V ว่าด้วย Value added , Value Creation และ Value Diversity - ทฤษฎี HRDS ว่าด้วย Happiness , Respect , Dignity และ Sustainability 3. ร่วมกันขับเคลื่อน EGAT 4.0 กับการพัฒนาภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ การขับเคลื่อนตาม THAILAND 4.0 โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลสู่พลังงาน 4.0 และ EGAT 4.0 หลายกูรู เห็นตรงกันว่า ทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยหลักในการสร้างนวัตกรรม , การเพิ่ม productivity , สร้าง Potential และการเก็บเกี่ยวองค์ความรู้ไม่มีที่สิ้นสุด สู่ความเป็นเลิศขององค์กร Jack Welch กล่าวว่า “Change before you are forced to change” มีตัวอย่างผู้นำหลายท่านที่ถือเป็นตำนาน เช่น Super K ท่านอดีตผู้ว่าเกษม จาติกวณิช ที่ได้รับการยกย่องอย่างมากมายของคน กฟผ. เป็นต้น 4. การบริหารความขัดแย้ง มนุษย์มีชีวิต มีความรู้สึก การบริหารความขัดแย้งต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา เพ่อให้เกิด win-win และเป็นการใช้จิตวิทยาเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน แก้ปัญหาร่วมกัน จนได้วิธี Problem Solvingในที่สุด 5. บุคลิกภาพนักบริหาร นักบริหารกับศิลปะการแต่งการที่ถูกต้อง, ถูกกาละเทศะ มีเทคนิคดีๆ ที่มาใช้ในการปรับการแต่งกาย, การดูแลใบหน้า, มาดและท่วงท่าอริยาบทของนักบริหารต่อการมีกิจกรรมต่างในสังคม ที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒาบุคลิกภาพของผู้บริหารต่อไป 5. ทฤษฎี 3V’s Value added Value Creativity Value Diversity นำมาใช้กับการออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรม (Innovation Project Designing and Presentation) ทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่ม 3 คน และหลักคิดสำคัญตอบโจทย์ -Where are we? -Where do we want to go? -How to do it ? -How to do it successfully ? สรุปสิ่งที่สามารถนำมาปรับใช้กับการทำงาน 1. ปรับทัศนคติในการทำงานให้เป็นไปในทิศทาง EGAT 4.0 ให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลในการมุ่งสู่ THAILAND 4.0 2. ได้เรียนรู้และเข้าใจถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในหลากหลายแนวทาง สามารถเลือกนำข้อเสนอแนะจากกูรูหลายๆ ท่านมาปรับใช้กับการบริหารงานบุคลลากรภายในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพและเพิ่ม Productivity 3. การพัฒนาบุคลิกภาพของนักบริหารเป็นจุดเริ่มต้นของคำว่า Impression ให้เกิดความประทับใจมากจากท่าทาง , การแต่งกาย,การเข้าสังคม, เป็นต้น ทำให้ผู้พบเห็นหรือผู้ที่เกี่ยวข้องมีทัศนคติเชิงบวกก่อนการดำเนินเรื่องอื่นๆ ต่อไป นายกัมปนาท แสงสุพรรณ ช.อสท.กลุ่ม 1 วันที่ 24 มีนาคม 2560

สิริพร ขำคม กลุ่ม 2

สรุปหลักสูตร พัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EADP) วันที่ 13 – 14 มี.ค. 60

เรื่องที่สำคัญที่สุดในตอนนี้คือการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเกิดขึ้น เราต้องพร้อมเสมอ โดยต้องค้นหาตัวเองว่ามีจุดอ่อน จุดแข็งอะไร ต้องมีอะไรปรับปรุงหรือไม่ เพื่อต่อไปเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง จะสามารถมองปัญหาได้ตรงจุด นอกจากนี้ไม่ว่าจะทำอะไร ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม ของประเทศชาติด้วย

ในปัจจุบัน ประเทศไทยต้องการเป็นประเทศไทย 4.0 ที่นำไปสู่ Creation Economy ซึ่งอาศัยปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน คือ productive Growth Engine / Green Growth Engine / Inclusive Growth Engine หากในอนาคตเป็นประเทศไทย 4.0 แล้ว กฟผ. และผู้ปฏิบัติงานทุกคน ต้องปรับตัวให้เชื่อมโยงกับการทำ 3 sector ด้วย คือ ท่องเที่ยว เกษตร และ Healthcare

ซึ่งในโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สิ่งที่ทำให้องค์กร/บริษัทต่างๆอยู่รอดคือการเสนอแนวความคิดใหม่ๆ/ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่ไม่เหมือนใคร เป็นลักษณะการแข่งขันทางความคิด ไม่ขึ้นอยู่กับการลงทุน ซึ่งมีปัจจัยอื่นประกอบคือ ต้องมีโอกาสและความสามารถของผู้ประกอบการ

เห็นด้วยว่าคนคือทรัพยากรสำคัญที่สุดขององค์กร กฟผ. ต้องให้คนเป็นศูนย์กลาง และสร้างคนให้มีความเป็นผู้นำ คือต้องรู้ว่าอะไรเร่งด่วน รู้จักแบ่งงาน เป็น Teamwork และต้องมี Connection (Network)

การเจรจาต่อรองเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ บางครั้งเรามีการเจรจาต่อรองโดยไม่รู้ตัว เช่น การไปซื้อสินค้า การเสนอความคิดของตัวเองในการทำงานร่วมกันคนอื่น ซึ่งการเจรจาต่อรองคือวิธีการทั้งหมดเพื่อให้สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราได้ โดยเวลาเจรจาต่อรอง เรามีทางเลือกต่างๆให้ใช้ เช่น Joint Problem Solve คือต้องร่วมมือกันโดยทุกฝ่าย Win – win / Soft on people, Hard on the Problem คือต้องถนอมน้ำใจคู่เจรจา แต่ประเด็นในการเจรจาต้องชัดเจน เป็นต้น ซึ่งวิธีการเหล่านี้เป็นเทคนิคที่มีประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

บุคลิกภาพ
รูปลักษณ์ภายนอกเป็นสิ่งที่สำคัญ เวลาไปติดต่องาน จำเป็นต้องสร้างความประทับใจแรกพบ จึงจำเป็นต้องใส่ใจรายละเอียดเล็กๆน้อยๆทั้งในเรื่องของการแต่งกาย บุคลิกภาพ หรือแม้กระทั่งการแต่งหน้าก็ตาม โดยต้องทำทุกอย่างให้พอดี เหมาะสม และถูกกาลเทศะ

การเข้าสังคม เช่น การแนะนำให้คนรู้จักกัน การนั่งเก้าอี้ การเข้าที่นั่งเก้าอี้ ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ถึงความเหมาะสม และสามารถนำไปใช้ทั้งในชีวิตประจำวันและในหน้าที่

การคิดโครงการต่างๆ เราจำเป็นต้องตั้งคำถามเพื่อถามตัวเองก่อนว่า

1. Problem Based Approach โดยดูจากปัญหาที่เกิดขึ้น

2. Opportunities Based Approach คือดูจากโอกาส เช่น พิจารณาจากวิสัยทัศน์ วิธีการ ความเป็นไปได้

โดยต้องมองที่ปัญหาและโอกาสที่ต้องคว้าไว้ ดังนั้น เป้าหมายของเราต้องสอดคล้องกับที่ กฟผ. ต้องการ

นายพงษ์สิทธิ์ ศิริฤกษ์อุดมพร กลุ่ม 6

วันที่ 13-14 มีนาคม 2560

สรุปประเด็นสำคัญจากการเรียนรู้

1. หัวข้อ EGAT 4.0 กับการพัฒนาภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ (โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และอาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล)

1.1 มีตัวย่อที่น่าสนใจที่อาจารย์ จีระฯ รวมรวมไว้ให้ หลายประการ เช่น 4L’s/2I’s/3 V’s/3L’s/C & E Theory/C – U – V/8K’s หรือแม้กระทั้ง 5 K’s (ใหม่)

1.2 แต่ที่ผมสนใจคือ 2I’s

- Inspiration – จุดประกาย

- Imagination – สร้างแรงบันดาลใจ

เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาคน ที่ตรงกับสิ่งผมมุ่งมั่นตั้งใจในการดำเนินการเสมอมาคือ พัฒนาคนก่อน จะได้ผลงานตามมา นั่นคือ พัฒนาคน นำไปสู่การพัฒนางาน ด้วยการปรับ MindSet คนก่อน ซึ่งสามารถนำ 2I’s มาใช้ได้เป็นอย่างดีมากๆ คือ Inspiration – จุดประกาย และ Imagination – สร้างแรงบันดาลใจ ถ้ามี 2I คนจะมีแจงจูงใจในการทำงาน เกิดความมุ่งมั่น สุดท้ายจะนำไปสู่ความผูกพันต่อองค์กร และทำให้ได้ผลงานที่เป็นเลิศได้

1.3 จากนั้น ผมขอนำเสนอต่อด้วย 2I’s คือ

- Information Technology (IT) – ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

- Inovation – สร้างนวัตกรรม

เมื่อคนพร้อม ก็นำไปสู่การพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ ด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อให้งานของเราสะดวก รวดเร็วขึ้น และท้ายที่สุด การที่จะทำให้งานเป็นเลิศได้ต้องมีการพัฒนาไปสู่นวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็น นวัตกรรมกระบวนการ นวัตกรรมสินค้าและบริการ หรือนวัตกรรมโมเดลทางธุรกิจใหม่ก็ได้ ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวคิดของ Thailand 4.0 เลยทีเดียวครับ

1.4 สรุปในมุมส่วนตัวของผมที่ประยุกต์ต่อจากอาจารย์จีระคือ 2I’s(คน)+ 2I’s(งาน) เป็น 4I’s ดังนี้

คน- Inspiration – จุดประกาย

คน- Imagination – สร้างแรงบันดาลใจ

งาน- Information Technology (IT) – ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

งาน- Inovation – สร้างนวัตกรรม

เป็นมุมคิดส่วนตัวเล็กๆกับ “การพัฒนาคน และ พัฒนางาน” ในการต่อยอดเพื่อการพัฒนาภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่มุ่งสุ่ EGAT 4.0 ต่อไปครับ

2. ประสบการณ์ของข้าพเจ้าในการบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรองและจิตวิทยามวลชน (โดย ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย)

2.1 โดยส่วนตัว ได้มุมคิดที่หลากหลายและได้ประสบการณ์ที่ อาจารย์ดนัยฯ เล่าให้ฟังมากมาย ถึงแม้เป็นทฤษฎีต่างประเทศ แต่สามารถนำมาประยุกต์ได้เป็นอย่างดี เช่น

1. Go to the Balcony

2. Step to Their Side

3. Reframe

4. Build Them a Golden Bridge

5. Use Power to Educate

2.2 แต่ที่ชอบมากที่สุดคือ 1. Go to the Balcony เพราะเป็นกลยุทธ์ที่ดีมากในการสงบสติอารมณ์ของเราก่อนเพราะถ้าเราโกรธ ยิ่งเจรจายิ่งจะขัดแย้งขึ้นเรื่อยๆ ควรหาจังหวะที่เหมาะสมในการพัก โดยเปรียบเสมือนการ ไปยืนที่ระเบียง หมายถึงไป อย่าเพิ่งเข้าสู่ในสังเวียน แล้วค่อยๆสงบสติ คิดทบทวนว่า จะดำเนินการต่อไปอย่างไรเพื่อให้เกิด win-win solution อาจารย์ดนัยฯ อธิบายไว้ได้ดีว่า “เวลาโกรธ อย่าตอบโต้ออกไป เพราะเวลาโกรธจะมีคำพูดที่ทำให้เราเสียใจไปตลอดชีวิต” ซึ่งเป็นเรื่องจริงที่เราเคยผิดพลาดบ่อยๆ และไม่สามารถย้อนเวลากลับไปแก้ไขได้อีก และเราต้องเผชิญกับสิ่งที่เราได้ทำไปแล้วทั้งชีวิต


3. บุคลิกภาพของนักบริหาร (โดยอาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์)

3.1 เป็นวิชาที่อยู่เหนือความคาดหมายของผมอย่างมาก ทึ่งในประสบการณ์ของอาจารย์ ณภัสวรรณฯ ที่มีบุคลิกดีมากๆ สอนด้วยข้อเท็จจริงง่ายๆสมเหตุสมผลล้วนๆ สนุกครับ

3.2 คนส่วนใหญ่ตัดสินกันที่บุคลิกภาพภายนอกตั้งแต่มองครั้งแรก ผมเชื่อในคำพูดนี้ครับ แต่เดิมอาจจะไม่เคยใส่ใจในการแต่งตัวมาก่อน ต่อไปคงต้องสนใจมากขึ้น

3.3 มารยาทต่างๆ อาจารย์ ณภัสวรรณฯ สอนด้วยการใช้หลักง่ายๆ เช่น

- ความปลอดภัย

- ความสะดวก

- การให้เกียรติ

ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เป็นอย่างดี

3.4 วิชานี้ นำไปใช้กับการพัฒนาบุคลิกภาพ มารยาททางธุรกิจ มารยาทสังคม และมารยาทในการรับประทานอาหาร ได้เป็นอย่างดี

4. หัวข้อ3 V’s - Innovative Project Designing and Presentation (การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานส่วนบุคคลและวิธีการนำเสนอ) (โดยอาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล และ ผศ.กิตติ ชยางคกุล)

4.1 Project Methodology การนำเสนอโครงการฯ 4 ขั้นตอน

1. Where are we? คือ EGAT ปัจจุบันเป็นอย่างไร ฐานการคิดโครงการฯ คิดจากฐาน

1.1) Problem Based Approach ดูจากปัญหา

1.2) Opportunities Based Approach ดูจากโอกาส

2. Where do we want to go? วิสัยทัศน์ของ EGAT

3. How to do it? EGAT จะไปอย่างไร

4. How to do it successfully ? จะไปได้จริงหรือ

4.2 สิ่งที่ได้ในการทำโครงการ คือ

1. Learn –Share-Care คือ1)การฝึกการเรียนรู้ร่วมกัน (Learn) 2)การร่วมแบ่งปันความคิดเห็น (Share) 3) การคัดสรรประเด็น (Care)

2. ออกแบบโครงการตาม Methodology

3. การสร้างมูลค่าเพิ่มจาก 3 V คือ

- Value Added

- Value Creation

- Value Diversity

4.3 มีการแบ่งกลุ่ม เพื่อคิดโครงการใหญ่ 1 โครงการ สำหรับรุ่น โดยกลุ่มผมคือกลุ่ม 6 ระดมสมองได้มาประมาณ 5 หัวข้อ สุดท้ายทางกลุ่มได้เลือก 2 โครงการเพื่อนำเสนอ คือ

1. จัดทำข้อมูลโครงสร้างค่าไฟ เพื่อนำเสนอความเข้าใจให้กับประชาชนในภาพใหญ่

2. พัฒนา Software ในระดับการสื่อสารและส่งไฟฟ้าไปขายในภาคพื้นเอเชีย

4.4 งานกลุ่ม 3 คน อาจารย์กิตติฯ ให้ไปรวบรวมคนที่ทำงานในลักษณะงานคล้ายกัน 3 คนเพื่อทำโครงการ โดยใช้กลไกเดียวกันกับที่อาจารย์ได้สอนไว้ โดยย่อสเกลเป็นโครงการสร้างนวัตกรรมเล็กสำหรับ 3 คนคิดครับ

*********************

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/625694
นายโสตถิพันธุ์ คมสัน ช.อสอ-สผ. กลุ่ม 2

กฟผ. ในยุค 4.0 เป็นยุคที่มุ่งสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และขึ้นอยู่กับการปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ ดังนั้น การตอบโจทย์ที่ตรง (ทฤษฎี 2 R’s) จะทำให้สามารถอยู่รอดได้ การเรียนรู้ตลอดเวลาเป็นเรื่องสำคัญ (ทฤษฎี 4L’s) นอกจากนั้น ต้องฝึกให้มีการสร้างมูลค่าเพิ่มกับสิ่งที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคม คิดสิ่งใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และสร้างคุณค่าจากความหลากหลายที่จะเกิดขึ้น (3V’s) เพื่อให้องค์การอยู่รอด ทั้งนี้ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ต้องมีการจุดประกายความคิดจากบุคลากรภายในองค์การ และให้มีการสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดขึ้นก่อน (2I’s) ถึงแม้ความคิดบางอย่างไม่ใช่สิ่งใหม่ในโลก แต่อาจเกิดจากการลอกเลียนแบบ (Copy) แต่ก็ต้องมีความเข้าใจให้ลึกซึ่ง (Understanding) และสร้างมูลค่าเพิ่มให้ได้ (Value Creation/Value added) ตามทฤษฎี C–U-V

การเจรจาต่อรองมุ่งแบบ Win-Win ไม่จำเป็นต้องล้อมโต๊ะเจรจา การเจรจาจะเกิดขึ้นเมื่อเปิดหัวใจเขาได้ก่อน และต้องเน้นที่ผลประโยชน์ร่วมกันได้ โดยอย่าคิดแบ่งแยกฝั่งขององค์กร นอกจากนั้นต้องเตรียมทางเลือกเอาไว้ด้วย และอย่าลืมว่าการเจรจาต้องให้เกิด Better Working Relationship ซึ่งอาจต้องใช้การเจรจาหลายรอบก็ตาม

วิธีการ Break through negotiation คือ

-เขาสร้างกำแพง เราสร้างสะพาน

-เปลี่ยนกรอบ : หาหนทางแก้ไขร่วมกัน

-เข้าใจเขา (ไม่ใช่เห็นด้วย) พร้อมแสดงความเสียใจ

-ข้ามไปยืนข้าง ๆ กับเขา

-ชี้ประเด็นให้เขาเห็นความเสียหายของการไม่สามารถตกลงกันได้

-อาจถึงขั้นต้องออกไปสงบสติอารมณ์

ภาพลักษณ์ภายนอกมีผลต่อการรับรู้โดยตรง การสร้างความประทับใจเกิดจากบุคลิกภาพและการแต่งกายที่เหมาะสม 55% น้ำเสียง 33% คำพูด12% ซึ่งเป็นการให้แนวทางเพื่อนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับสไตล์ของตนเอง

โครงการนวัตกรรม ของ EADP13 ได้มีการหลอมรวมโครงการให้มีการผสมผสานความคิดของทั้ง 6 กลุ่ม ให้ลงตัวเข้าด้วยกัน ในกรอบที่วางไว้ เพื่อความอยู่รอดขององค์กรในอนาคต และคาดว่าจะสามารถตอบสนองกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งต้องติดตามรายละเอียดกันต่อไปจนกว่าจะจบโครงการอบรมครับ

  • ชอบมาก ตรงที่อาจารย์จีระ บอกว่า ต้องค้นหาตัวเองให้เจอ ว่าเราเป็นใคร ต้องทำงานร่วมกับคนอื่น อย่าทำคนเดียว มองโลกทัศน์ให้กว้าง

บางครั้งพวกเราก็ลืมไปเหมือนกันว่าเราเป็นใคร ก็เลยเดินกันสะเปะสะปะ ตอนนี้ที่ฝ่ายได้วาง Business Model มาได้หลายปีแล้ว แต่ก็ยังไม่ไปถึงไหนเพราะส่วนใหญ่จะมองลึกลงไป แต่ไม่ได้มองภาพกว้าง คงต้องเอาแนวทางของอาจารย์มาปรับใช้ และสร้างความเข้าใจ พร้อมจุดประกายกับเพื่อนร่วมงาน อาจต้องใช้กำลังภายในด้วย เพื่อให้หน่วยงานเกิดการ Change และก้าวเดินไปสุ่จุดหมายพร้อมกัน อย่างยั่งยืน

  • การบริหารความขัดแย้ง บาง case เป็นเรื่องที่ยากมากๆ จนบางครั้งเกิดการฟ้องร้องจากคู่กรณี คงต้องเอาแนวทาง ของอาจารย์ดนัย มาปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสม แต่การทำ Step to their side ถ้าไม่ได้ทำด้วยใจ (2 R’s ) บางคนอาจมองว่าเราเสแสร้งก็ได้
  • ข้อแนะนำดีดี ของอาจารย์ณภัสวรรณ ในเรื่องการปรับปรุงบุคลิกภาพ เป็นประโยชน์มาก สำหรับผู้บริหาร กฟผ เพราะหลายครั้งเราเองก็วางตัวไม่ถูก ในการเข้าพบผู้ใหญ่ หรือการออกงานในที่สาธารณะ รวมไปถึงการแต่งตัวที่ต้องปรับปรุงกันยกใหญ่
  • Innovation Project Designing and Presentation อาจารย์กิตติ และ อาจารย์พิชญ์ภูรี มาจุดประกายให้แนวทาง ในการคิดโครงการและสร้างนวตกรรมไปพร้อมกัน แต่จะได้ผลหรือไม่ คงต้องติดตามกันต่อไป แต่พวกเราสามารถเอาแนวทางนี้มากระตุ้นผู้ปฎิบัติงานของแต่ละหน่วยงานให้เกิด Innovation ตามนโยบาย Thailand 4.0 ได้ในอนาคต

หลักสูตรนี้อะไรก็ดี เสียอย่างเดียว การบ้านเยอะมาก จนไม่รู้จะทำทันรึเปล่า

นำพร ลิขิตลือชา

ประสาท จันทร์เพ็ญ ชใอคภ.-ภ. กลุ่ม 5

สรุปประเด็นการเรียนรู้ วันที่ 13-14 มีนาคม 2560

วิชาที่ 1 ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญการรเรียนรู้

โดย ศ.ดร. จิระหงส์ลดารมย์ และ อาจารย์พิชญ์ภูรีจันทรกมล

กฟผ. กำลังเผชิญ 3 เรื่อง

1.การเปลี่ยนแปลงที่เร็วมาก

2.ไม่มีความแน่นอน พันธมิตรสำคัญมากต้องให้รัฐบาลช่วยด้วย

3.ไม่สามารถคาดเดาได้ (Unpredictability)

  • ทฤษฎี 2R’s คือ ความจริง (Reality และตรงประเด็น(Relevance) ต้องเลือกใช้อย่างเหมาะสม

หลักสูตรนี้

- เป็น Intangible เป็นอะไรที่มองไม่เห็น และวินาทีที่ผ่านไปจะเกิด Moment กับตัวคุณเอง Moment ที่ยิ่งใหญ่ และสิ่งสุดท้ายคือ Impact ต่อชีวิต

- มีการเรียนรู้เพื่อที่จะให้เก่งขึ้นมีการค้นหาตนเองและปรับปรุงตนเองเพื่อเป็นมืออาชีพ

- มีการทำงานแบบ Networking และ Team Work เพื่อพัฒนางานของตนเอง และการทำงานข้าม Silo

วิชาที่ 2 Learning Forum & Workshop

หัวข้อ EGAT 4.0 กับการพัฒนาภาวะผู้นำ และการสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ (1)

โดย ศ.ดร. จิระ หงส์ลดารมย์ และ อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

Thailand 4.0 - Energy 4.0 – EGAT 4.0

- Smart City / Smart Grid

- Electrical Vehicles

- Bio Economy

- New Generation and Renewable

- Smart Energy Management

- Public – Private Collaboration

ประเทศไทย 4.0 มาสู่ EGAT 4.0 ต้องมี Human Capital 4.0 และการเน้นที่ Relevance กับธุรกิจใหม่ๆ New Business กับชุมชนมากๆ เน้นการสร้าง Social Trust กฟผ. ต้องเอาใจใส่ Social Trust มากๆ

ทฤษฎี5K’s (ใหม่) 5 ประการ คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัฒน์

Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

Innovation Capitalทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

Culture Capitalทุนทางวัฒนธรรม

Creativity ต้องมาก่อน Innovation

ผู้นำต้องมี 4 วิธี (จากการวิเคราะห์ของอาจารย์ University of Washington)

1.Character คุณลักษณะที่พึงปรารถนา เช่น ชอบเรียนรู้ มีทัศนคติเป็นบวก มีคุณธรรมจริยธรรม

2.Leadership skill ที่สำคัญ ได้แก่การตัดสินใจการเจรจาต่อรองการทำงานเป็นทีม

3.Leadership Process คือ การมี Vision และมองอนาคตให้ออก

4.Leadership Values สำคัญที่สุดคือ Trust ความศรัทธาในผู้นำนั้นๆ

วิชาที่ 3 การบรรยายพิเศษ

หัวข้อ ประสบการณ์ของข้าพเจ้าในการบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และจิตวิทยามวลชน

โดย ดร.ดนัยจันทร์เจ้าฉาย

อุปสรรค 5 ข้อในการทำงานร่วมกัน (Five Barriers to Cooperation)

1.ปฏิกิริยาคู่เจรจา (Your Reaction)

2.อารมณ์ฝั่งเขา (Their Emotion)

3.ตำแหน่งของเขา (Their Position)

4.ความไม่พอใจ (Their Dissatisfaction)

5.อำนาจของเขา (Their Power)

กลยุทธ์ 5 ขั้นตอนที่ต้องทำ (Five step strategy for breaking through each of the five barriers)

Step 1 Go to the Balcony ไปยืนที่ระเบียงเพื่อสงบสติอารมณ์ก่อน

Step 2 Step to their side ไปยืนอยู่ข้างเขา เอาใจเขามาใส่ใจเรา

Step 3 Reframe การใส่กรอบใหม่ คนที่ reframe เก่ง เขาจะยอมเห็นด้วยกับเรา

Step 4 Build Golden Bridge กลยุทธ์ในการสร้างกระบวนการ ทำงานร่วมกัน สร้างให้เขามีส่วนร่วม สร้างtrust ให้พอใจซึ่งกันและกัน เมื่อมีส่วนร่วมจะยอมรับไอเดียตรงนั้น

Step 5 Use Power to Educate การไม่บรรลุข้อตกลงใดๆ เลย เป็นสิ่งที่เสียหายทั้งสองฝั่ง ใช้อำนาจที่มีอยู่ให้เข้าใจในต้นทุน BATNA (Best Alternative)

วิชาที่ 5 หัวข้อ บุคลิกภาพของนักบริหาร ศิลปะการแต่งกายสไตล์นักบริหารยุคใหม่

โดย อาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์

สิ่งที่ได้เรียนรู้

1. Image ภาพลักษณ์ภายนอก
  • การแต่งกาย
  • Head to Toe

2 Social & Business manners, table manners

3. Know how to use body language

4. Know how to present yourself in the public

5. Know your Role

6. Always active and lively

7. Good Posture

วิชาที่ 6 Learning Forum & Workshop

หัวข้อ 3V’s Innovative Project Design and Presentation

การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานส่วนบุคคลและวิธีการนำเสนอ

โดย อาจารย์ พิชญ์ภูรี จันทรกมล และ ผศ.กิตติ ชยางคกุล

Project Methodology การนำเสนอโครงการ 4 ขั้นตอน

1. Who are we?มองตนเอง

- EGAT ปัจจุบันเป็นอย่างไร

2. Where do you want to go? มองอนาคต

- วิสัยทัศน์ของ EGAT

3. How to do it? มองแนวทางที่จะไปสู่เป้าหมาย

- EGAT จะเป็นอย่างไร

4. How do to it successfully? มองความสำเร็จ

  • จุดแข็งและข้อด้อยของแต่ละแนวทาง
  • ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ

การวิเคราะห์ Where are we ?

  • ทำ Swot อย่างไรให้ได้คุณภาพ
  • ดูค่านิยม Core Value อะไรคือจุดแข็งของ EGAT
  • ถ้าไม่มี ต้องสร้างอะไร
  • อุปสรรคจากภายในและภายนอก

วิธีการคิดโครงการ (Project = Innovation + EGAT)

  • โครงการต้องสะท้อนความเป็นจริงขององค์กรและเกี่ยวข้องกับ EGAT (2R’s)
  • โครงการน่าสนใจ
  • เป็นโครงการนวัตกรรม – การสร้างนวัตกรรมด้วยแนวคิด 3V’s (Value Added, Value Creation, Value Diversity) ) Innovation เอามาพัฒนาองค์กรได้
    3V’s - Value Added สร้างคุณค่า / มูลค่าเพิ่ม

- Value Creation ความคิดสร้างสรรรค์

- Value Diversity มูลค่าจากความหลากหลาย ความเห็นต่าง แต่ต้องสอดคล้องเอาไปใช้ได้

หลักสูตรพัฒนาสมรรณนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าของ กฟผ. ( EADP.13 )

ช่วงที่1 วันที่ 13 - 14 มีนาคม 2560

คนเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร ต้องมีการบริหารจัดการที่ดี มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ภาวะผู้นำของผู้บริหารสมัยใหม่ รวมทั้งทรัพยากรมนุษย์ทุกระดับเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน โดยที่สามารถจัดการความไม่แน่นอน วิกฤตต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่เน้นคนเป็นหลัก ต้องสร้างให้คนมีความรู้ความเข้าใจในคุณธรรมจริยธรรม เน้นที่ความดีมาก่อน ซึ่งถ้าผู้นำมีคุณธรรมก็ทำให้คนมีความ Trust เกิดศรัทธาในตัวผู้นำ และเสริมสร้างความเก่ง ความสามารถด้านอื่นๆ ( ชนิดของผู้นำ Trust / Authority, Charisma , Situational , Quiet Leader)

ได้เรียนรู้ ทฤษฎี 3 วงกลม นำไปใช้เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญของอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์ เช่น ทฤษฎี 8K’s+5K’sทฤษฎี 4 L’s 2 I’s 2 R’s 3 V’sรวมทั้ง C & E Theory ที่นำไปประยุกต์ใช้ได้เช่น การมุ่งเน้นนวัตกรรม(Innovation) สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ 2 R’sและ3 V’s

ผู้นำและผู้ปฏิบัติงานในองค์กร กฟผ. ต้องเริ่มจากการมี Trust ในตนเองก่อน (Self Trust ) ซึ่งจะนำไปสู่ Organization Trust แล้วจะขยายผลออกไปสู่ Social Trust ได้ต่อไป

ผู้นำ กฟผ. ควรมีลักษณะ ดังนี้

1. มีคุณธรรม จริยธรรม

2. มีวิสัยทัศน์ ความคิดริเริ่ม คาดการการเปลี่ยนแปลงได้

3. การจัดการภาวะวิกฤต

4. กล้าตัดสินใจ

5. รู้จักใช้จังหวะและความรวดเร็ว

6. Team Work

7. Networking

นายมานพ จำปาทิพย์ กลุ่ม 2

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

“EGAT 4.0 กับ การพัฒนาภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำแห่งศตวรรษใหม่”

  • พันธมิตรเป็นสิ่งสำคัญมากๆ ในปัจจุบัน กฟผ. จำเป็นต้องสร้าง โดยเฉพาระภาคกำกับ เช่น รัฐบาล ประชาชน คู่ค้า คู่ความร่วมมือ เป็นต้น กฟผ. ควรจะปรับปรุงตัวเองเพื่อให้สังคมเกิดความไว้วางใจ (Social Trust) ใช้ทรัพยากรที่มี เช่น สถานที่ ทุน และ คน ช่วยท้องถิ่นให้มีรายได้สูงขึ้น
  • กระแส Global Warming ยังแรงอยู่ แต่อย่างไร ประธานธิบดีใหม่ของอเมริกาก็ยังให้ความสำคัญของโรงไฟฟ้าถ่านหิน
  • กระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างทรัพยากรบุคคล
  • 3 Circles => Context, Competencies, Motivation
  • 5K’s (Capital)=> Creativity , Knowledge , Innovation, Cultural, Emotional
  • 2R’s => Reality, Relevance
  • 4L’s ZLearning) => Methodology, Environment, Opportunity, Communities

เน้นค้นหาตัวเองให้เจอ เน้นทำงานเป็นทีม เน้นกระบวนที่เป็นระบบ


วีดิโอ ดร.สุวิทย์ เมษิณทรีย์ รมช.พาณิชย์

  • Green Growth
  • ไม่เน้นสินค้า แต่เน้น Business Model
  • Service Economics Service ตามด้วย Product
  • Market CLMV เจาะเข้าเป็นกลุ่ม cluster เน้นลงทุนใน ตปท. เจาะให้ลึก สร้าง Brand

3C’s => Competitive, Collaborative, Connect to the World


อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

รัฐบาลปัจจุบันต้องการยกระดับรายได้จากปานกลาง ไปสู่รายได้สูง จึงต้องอาศัยนวัตกรรม แต่นวัตกรรม จะเกิดไม่ได้ถ้าประชาชนไม่มีทักษะ กฟผ. จึงควรมุ่งเน้นไปที่ Innovative โดยไม่ต้องคำนึงว่า กฟผ.จะได้อะไรจากผลของงานวิจัยแต่ควรคิดว่า ประเทศได้อะไรมากกว่า


ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

การเจรจาต่อรอง ต้องพยายามหาคำตอบ win-win solution คนที่จะเจรจาต้องมีคุณสมบัติอ่อนน้อม เข้ากับคนได้ดี ให้เกียรติคู่เจรจา ช่างสังเกตุ ใจเย็น แต่ต้องมีความชัดเจนในปัญหา

Joint Problem Solving

  • Soft on people, hard on the problem
  • Interest not positions
  • Each side’s interest => concerns, Needs, fears, desires
  • That underline and motivate
  • Guarantee options มีทางเลือกไว้หลายทาง อย่าทำตัวใหญ่ ทำตัวเป็นรอง
  • Five Barriers
  • Your Reaction
  • Their Emotion
  • Dissatisfaction
  • Win-win
  • Breakthrough Nego ผ่อนหนัผ่อนเบา ฟังมากๆ reframe ค่อยๆปรับเข้าหาเป้าหมายเรา
  • สร้างสะพาน เพื่อทำลายกำแพง
  • อย่าสอนเขา แสดงให้เห็นว่าเป็นความคิดของเขา
  • สร้าง Event โดยเราไม่ต้องออกหน้าว่าเราทำให้ทุกคนมีส่วนร่วม ดูเหมือนว่าเขาเป็นคนทำ
นิทัศน์ วรพนพิพัฒน์

สรุปประเด็นสำคัญเนื้อหาวิชาระหว่างวันที่ 13-14 มีนาคม 2560

โดย นายนิทัศน์ วรพนพิพัฒน์ กลุ่มที่ 3

กฟผ. กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่

  • รวดเร็ว
  • ไม่มีความแน่นอน
  • คาดเดาไม่ได้

สิ่งเหล่านี้ทำให้ กฟผ. จะต้องปรับตัว (Change) การจะคิดทำอะไร ขอให้ใช้หลัก 2R’s คือ Reality (มองความจริง) และ Relevance (เกี่ยวเนื่อง ตรงประเด็น)

การมองเรื่องต่างๆ นั้น ให้มอง 2 มิติ คือ แนวกว้างและแนวลึก สำหรับ กฟผ. เองมีความสามารถในการมองแนวลึกอยู่แล้ว (Technology , engineering) ทั้งนี้ยังต้องเสริมการมองแนวกว้าง (เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม) จึงจะสามารถเผชิญการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้

นอกจากนี้ ควรให้มีการ “ปะทะทางปัญญา” และการให้ กฟผ. มี Networking ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญ การที่ กฟผ. จะทำเรื่องดังกล่าวได้ กุญแจสำคัญคือ “คน” การบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ สามารถใช้หรือดึงศักย์ภาพออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ การจะบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้น สามารถใช้หลัก 3 Circles, 8K’s + 5K’s, 4L’s, 2R’s, …., Learn-Share-Care, HRDS (สามารถหาอ่านได้ในเอกสาร) ในประเด็นทรัพยากรมนษย์ นั้น “คน” เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน ไม่ใช่เงิน สิ่งของ หรือเครื่องจักร เราจะต้อง ปลูก (ลงทุนกับคน) เก็บเกี่ยว (สร้างแรงจุงใจ ใช้ประโยชน์จากผลงาน) และ Execution (นำไปใช้งานสร้างคุณค่า)

การเป็นผู้นำ Leadership นั้นจะต้องมีคุณลักษณะที่ เรียนรู้ตลอดเวลา คิดสร้างสรรค์ มีภาพลักษณ์ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ดี มีความสามารถในการตัดสินใจ เจรจาต่อรอง สามารถนำทีม สร้างการมีส่วนร่วม สร้างความเชื่อใจ (Trust) กับทุกๆระดับทั้งในและนอกองค์กร มีการแบ่งปันวิสัยทัศน์และสามารถสือสารวิสัยทัศน์ให้ทุกๆคนเห็นได้ และที่สำคัญต้องมีเครื่อขาย (Networking)

ในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มีการแข่งขันสูงนั้น การมาก่อนหรือหลัง ไม่ได้มีความได้เปรียบเสียเปรียบกันอีกต่อไป ขอให้มองโอกาส โดยคำนวณความเสี่ยงว่าอยู่ในระดับที่ยอมรับได้

เรื่องการเจรจาต่อรองนั้น หลักสำคัญคือ ใจต้องถึงใน ถ้าไม่สามารถเปิดใจคู่เจรจาได้ ต่อให้สิ่งที่เราเสนอดีแค่ไหน เขาก็จะไม่รับฟัง เขาจะสร้างกำแพง ทำให้การเจรจาไม่ประสบผลสำเร็จ เทคนิคหนึ่งคือการเปลี่ยน Frame (เปลี่ยนกรอบความคิดของคู่เจรจา) โดยใช้การถาม เพื่อหาความต้องการที่แท้จริง และใช้คำพูดที่ให้ความรู้สึกว่าเป็นฝ่ายเดียวกัน เปลี่ยนจากคำว่า “คุณ” (ทำไมคุณไม่ลองทำแบบนี้ละ) เป็น “เรา” (ทำไมเราไม่ลองทำแบบนี้ละ) มองหาผลประโยชน์ที่จะมีร่วมกัน ให้ตีที่ปัญหา ห้ามตีที่คน (เพราะคนมีศักดิ์ศรี กระทบไม่ได้ จะเกิดการสร้างกำแพงในการเจรจา)

"การจะขับเคลื่อนโครงการใดๆ ให้ใช้วิธีการให้ทุกคนมีส่วนร่วม ให้ทุกคนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการ ไม่ให้เราเป็นเจ้าของ (อยู่เบื้องหลัง) โครงการนั้นๆจะขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จโดยทุกๆคน"

การจะออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรม ให้เริ่มต้นที่หลักคิด

  • Where are we? (มองตัวเอง)
  • Where do we want to go? (มองอนาคต)
  • How to do it? (มองแนวทาง)
  • How to do it successfully? (มองผลสำเร็จ)

ส่วนวิธีการมอง สามารถมองได้ 2 แนวทางคือ มองที่ปัญหา (Problem Base) กับมองที่โอกาส (Opportunity Base)

Project + Innovation + EGAT

(Impact) (3V’s) (Vision & 2R’s)

ส่วน Project ควร Executable และ Measurable

ส่วน Innovation ควร Added, Creation และ Diversity

ส่วน EGAT ควร ตรงกับ Vision และใช้หลัก 2R’s (Reality and Relevance)

นายนิพันธ์ พันธ์ไพศาล

นายนิพันธ์ พันธ์ไพศาล EADP 13 กลุ่ม 5

ช่วงที่ 1 ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ : สร้างวิสัยทัศน์ผู้นำ

Assignment 1 13-14 มีนาคม 2560

EGAT 4.0 กับการพัฒนาภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ อ.พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การที่ กฟผ. จะก้าวไปสู่ EGAT 4.0 เช่นเดียวกับที่รัฐบาลจะนำพาประเทศไปสู่ Thailand 4.0 นั้น จำเป็นที่ กฟผ. จะต้องมี EGAT Human Capital 4.0 ซึ่งประกอบไปด้วยทุนพื้นฐาน 8 ประการ ดังนี้

  • Human Capital ทุนมนุษย์
  • Intellectual Capital ทุนทางปัญญา
  • Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม
  • Happiness Capital ทุนแห่งความสุข
  • Social Capital ทุนทางสังคม
  • Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน
  • Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

พวกเราจึงต้องเข้ารับการอบรมหลักสูตรนี้ เพื่อพัฒนาศักยภาพให้เป็นผู้นำที่มีความคิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจฉับไว มี Trust ในทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็น Self Trust, Social Trust, Relationship Trust และ Organization Trust


การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และจิตวิทยามวลชน

คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

เทคนิคการบริหารความขัดแย้งที่สามารถนำไปใช้ได้ในการทำงาน

Join Problem Solving เป้าหมายคือ win-win โดยใช้เทคนิค Soft on people, Hard on the problem


บุคลิกภาพของนักบริหาร

อ.ณภัสวรรณ จิลลานนท์

นอกจากความสามารถในการบริหารแล้ว สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ผู้บริหารต้องมีก็คือ บุคลิกภาพที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย เสื้อผ้า หน้าผม การพูดจาปราศรัย มารยาทในการเข้าสังคม โดยมีหลักง่ายๆ ที่อาจารย์ให้ไว้ คือ

  • ปลอดภัย
  • ให้เกียรติ
  • สะดวกสบาย
  • อัธยาศัย ไมตรี
  • มีระเบียบ เรียบร้อย


การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานส่วนบุคคลและวิธีการนำเสนอ

ผศ.กิตติ ชยางคกุล

Project Methodology มี 4 ขั้นตอน

1. Where we are?

- Problem based approach

- Opportunities based approach

2. Where do we want to go?

3. How to do it

4. How to do it successfully ?

โดยโครงการจะต้องมี 3 V คือ

  1. Value Added
  2. Value Creation
  3. Value Diversity
นัฐวุธ พิริยะจิตตะ ช.อบค-ว. กลุ่ม 3

สรุปประเด็นการเรียนรู้ วันที่ 13-14 มีนาคม 2560

วิชาที่ 1 ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญการรเรียนรู้

โดย ศ.ดร. จิระหงส์ลดารมย์ และ อาจารย์พิชญ์ภูรีจันทรกมล

1 EGAT และสถานการณ์ ปัจจุบัน. กำลังเผชิญกับแนวการเปลี่ยนแปลง 3 เรื่อง ดังนี้

1.1 การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก

1.2 .ไม่มีความแน่นอน การทำอไรขอให้รัฐบาลช่วยด้วย

1.3 ไม่สามารถคาดเดาได้ (Unpredictability)

2 แนวคิดของหลักสูตรคิดไปที่ ทฤษฎี 2R’s คือ

2.1 ความจริง (Reality) จะต้องนำไปใช้กับใคร

2.2 ตรงประเด็น (Relevance) ต้องเฉียบแหลม หรือแหลมคม

ทฤษฎี 2R’s ต้องเลือกใช้อย่างเหมาะสม

3 หลักสูตรนี้ เน้นอีก 3 เรื่องคือ

3.1 ค้นหาตัวเอง

3.2 ทำงานร่วมกับคนอื่น เปิดโลกทัศน์ หาพันธมิตร

3.3 วิธีการทำงาน

4 สิ่งที่ได้ในหลักสูตรนี้

เป็น Intangible เป็นอะไรที่มองไม่เห็น

วินาทีที่ผ่านไปจะเกิด Moment กับตัวคุณเอง Moment ที่ยิ่งใหญ่ หรือ กำลังภายใน

Impact ต่อชีวิต

เน้น 3 ต. คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และ ต่อเนื่อง

สิ่งที่ต้องทำ 3 อย่าง คือ 1 ปลูก-พัฒนา 2 เก็บเกี่ยว 3 Overcome difficulty แก้ไขและเอาชนะอุปสรรค

5 Key word ที่นำกลับไปศึกษา

4L’s, 2I’s, 3V’s, 3L’s, C&E Theory, C-U-V

วิชาที่ 2 Learning Forum & Workshop

หัวข้อ EGAT 4.0 กับการพัฒนาภาวะผู้นำ และการสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ (1)

โดย ศ.ดร. จิระ หงส์ลดารมย์ และ อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

VDO ดร.สุวิทย์ เมษิณทรีย์

ประเทศไทย ต้องขับเคลื่อนไปสู่ Thailand 4.0 จะต้องขับเคลื่อนด้วย นวัตกรรม และการผลิตยังไม่ได้ดำเนินการด้าน Knowledge Based Economy, Creative Economy Innovation

ประเทศไทย 4.0 จะขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมที่จะนำไปสู่ Creative Economy เพื่อให้ประเทศหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลางไปสู่รายได้สูง ประกอบด้วย

Productive Growth Engine

Green Growth Engine

Inclusive Growth Engine

ธุรกิจใหม่ต้องคิด 4 เรื่อง

1 คิด Beyond Product ทำในสิ่งที่ลูกค้าต้องการและคาดหวัง มีCustomer Value

2 มองธุรกิจแบบService Economy โดยผสมผสานกันระหว่าง Product & Service

3 มองหาและทบทวน Business Model ใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ

4 เน้นลงทุนในต่างประเทศ

เวลานึกถึง Thailand 4.0 ให้นึกถึง 3 C ได้แก่

1 Competitive

2 Collaborative

3 Connect to the world

ทำธุรกิจเน้น 3 C

1 Customer Focus

2 Competency

3 Collaborative Network

ทำธุรกิจ ให้เริ่มต้นด้วย

Idea / โอกาส + ความสามารถ / Sell ได้

เน้นเรื่อง Networking & partnership

Thailand 4.0 คือการเปลี่ยนโครงสร้างจากการผลิตเป็น Value Added และถูกขับเคลื่อนโดย นวัตกรรม & เทคโนโลยี & ความคิดสร้างสรรค์

Key word ที่ต้องไปศึกษาเอง

8 K’s, 5K’s , 7 Change, Principle 5 ข้อของ Leaders กับ Change, กฏ 9 ข้อ Chira-Change Theory, Fixed & Growth Mindset


วิชาที่ 3 การบรรยายพิเศษ

หัวข้อ ประสบการณ์ของข้าพเจ้าในการบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และจิตวิทยามวลชน

โดย ดร.ดนัยจันทร์เจ้าฉาย

สิ่งที่ต้องทำเมื่อมีการบริหารความขัดแย้ง

1 Joint problem Solving หา win-win

2 Soft on people, Hard on Problem โดยอ่อนน้อม ให้เกียรติ มีน้ำใจกับคน และ ประเด็นที่ต้องการต่อรองต้อวชัดเจนว่าต้องการอะไร

3 Interest not Position หาผลประโยชน์ร่วมกันให้ลงตัว ไม่ใช่เขาไม่ใช่เรา

4 Cutting Out Posturing ตัดมาดออก (ทำตัวให้เหมาะสม

5 Better Working Relationship ผลการเจรจาต่อรองต้องดีขึ้นเรื่อยๆ

อุปสรรค 5 ข้อในการทำงานร่วมกัน (Five Barriers to Cooperation)

1.ปฏิกิริยาคู่เจรจา (Your Reaction)

2.อารมณ์ฝั่งเขา (Their Emotion)

3.ตำแหน่งของเขา (Their Position)

4.ความไม่พอใจ (Their Dissatisfaction)

5.อำนาจของเขา (Their Power)

กลยุทธ์ 5 ขั้นตอนที่ต้องทำ (Five step strategy for breaking through each of the five barriers)

Step 1 Go to the Balcony ไปยืนที่ระเบียงเพื่อสงบสติอารมณ์ก่อน

Step 2 Step to their side ไปยืนอยู่ข้างเขา เอาใจเขามาใส่ใจเรา

Step 3 Reframe การใส่กรอบใหม่ คนที่ reframe เก่ง เขาจะยอมเห็นด้วยกับเรา

Step 4 Build Golden Bridge กลยุทธ์ในการสร้างกระบวนการ ทำงานร่วมกัน สร้างให้เขามีส่วนร่วม สร้างtrust ให้พอใจซึ่งกันและกัน เมื่อมีส่วนร่วมจะยอมรับไอเดียตรงนั้น

Step 5 Use Power to Educate การไม่บรรลุข้อตกลงใดๆ เลย เป็นสิ่งที่เสียหายทั้งสองฝั่ง ใช้อำนาจที่มีอยู่ให้เข้าใจในต้นทุน BATNA (Best Alternative)

วิชาที่ 5 หัวข้อ บุคลิกภาพของนักบริหาร ศิลปะการแต่งกายสไตล์นักบริหารยุคใหม่

โดย อาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์

สิ่งที่ได้เรียนรู้

1. Image ภาพลักษณ์ภายนอก

    • การแต่งกาย
    • Head to Toe

2 Social & Business manners, table manners

3. Know how to use body language

4. Know how to present yourself in the public

5. Know your Role

6. Always active and lively

7. Good Posture

การพัฒนาบุคลิกภาพเป็นเรื่องสำคัญ เสื้อผ้าหน้าผม การเลือกเสื้อ กางเกง เช็มขัด รองเท้า ประกอบกับสีที่ควรใช้

กริยา มารยาทในสังคม

การไหว้ การยืน การเดิน การนั่ง การนั่งรถกับผู้บริหาร การทานข้างบนโต๊ะอาหาร การขึ้นลงบันได รถ เรือ การเข้า ออก ลิฟท์ การแนะนำตัว เป็นประโยชน์มากๆ ในการเข้าสังคม

วิชาที่ 6 Learning Forum & Workshop

หัวข้อ 3V’s Innovative Project Design and Presentation

การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานส่วนบุคคลและวิธีการนำเสนอ

โดย อาจารย์ พิชญ์ภูรี จันทรกมล และ ผศ.กิตติ ชยางคกุล

มี Project ที่ต้องทำ 2 แบบ

1 Project รุ่น (50-60คน) สะท้อน EGAT ผู้บริหารมานั่งฟัง แล้วผลคือ ซื้อหรือไม่ซื้อ

2 Project จับกลุ่ม 3 คน ควรอยู่ในที่ทำงานลักษณะเดียวกัน สามารถนำไปใช้หรือปฏิบัติได้จริง

Project Methodology การนำเสนอโครงการ 4 ขั้นตอน

คิด Project ที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน หรือ โอกาสในอนาคต

1. Who are we? มองตนเอง

- EGAT ปัจจุบันเป็นอย่างไร

- โอกาสของ EGAT ในอนาคต

2. Where do you want to go? มองอนาคต

- วิสัยทัศน์ของ EGAT

3. How to do it? มองแนวทางที่จะไปสู่เป้าหมาย

- EGAT จะเป็นอย่างไร

4. How do to it successfully? มองความสำเร็จ

  • จุดแข็งและข้อด้อยของแต่ละแนวทาง
  • ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ

การวิเคราะห์ Where are we ?

  • ทำ SWOT อย่างไรให้ได้คุณภาพ
  • ดูค่านิยม Core Value อะไรคือจุดแข็งของ EGAT
  • ถ้าไม่มี ต้องสร้างอะไร
  • อุปสรรคจากภายในและภายนอก

วิธีการคิดโครงการ (Project = Innovation + EGAT)

1 Project è Impact

ต้องทำได้จริง (Acceptable)

วัดผลได้ (Measurable)

2 Innovation è3 V’s เป็นโครงการนวัตกรรม – การสร้างนวัตกรรมด้วยแนวคิด 3V’s

Value Added

Value Creation

Value Diversify

3 EGATè Vision 2 R’s , Interesting

  • Vision 2R’sà Reality , Relevance โครงการต้องสะท้อนความเป็นจริงขององค์กรและเกี่ยวข้องกับ EGAT
  • Interestingà Surprise, Wow โครงการน่าสนใจ
Suwanna Makkasorn : Vice President-Domestic Asset Management Division : RATCH : Group 6

March 13 , 2017
EGAT 4.0 with Leader Development 1 Professor Dr.Chira Hongladalom

Find your capabilities

Good interpersonal skills and ability to work with others

Working process


March 13 , 2017
EGAT 4.0 with Leader Development 2 Professor Dr.Chira Hongladalom

Competitive Collabolative Connecto the world


March 13 , 2017

Conflict Management

Mr.Danai Chanchaochai

Win-Win

Soft on People / Hard on Problem

Mutual Benefits

Cutting out posturing

Better Relation


March 14 , 2017
Personality for Management and The art of modern management style dress Miss Napaswan Jillanont

How to be an excelency in manner and personality


March 14 , 2017 3V’s Innovative Project Design and Presentation
Assistance Professor Kitti Chayangkhakul


1.Where we are ?

2.Where do we want to go ?

3.How to do it ?

4.How to do it successfully ?








Suwanna Makkasorn : Vice President-Domestic Asset Management Division : RATCH : Group 6

March 13 , 2017
EGAT 4.0 with Leader Development 1

Professor Dr.Chira Hongladalom


Find your capabilities

Good interpersonal skills and ability to work with others

Working process


March 13 , 2017
EGAT 4.0 with Leader Development 2

Professor Dr.Chira Hongladalom

Competitive Collabolative Connecto the world


March 13 , 2017

Conflict Management

Mr.Danai Chanchaochai


Win-Win

Soft on People Hard on Problem

Mutual Benefits

Cutting out posturing

Better Relation


March 14 , 2017
Personality for Management and The art of modern management style dress

Miss Napaswan Jillanont

How to be an excelency in manner and personality


March 14 , 2017

3V’s Innovative Project Design and Presentation
Assistance Professor Kitti Chayangkhakul


1.Where we are ? 2.Where do we
want to go ?


3.How to do it ? 4.How to do it
successfully ?

พิธีเปิดและปฐมิเทศน์

ผู้บริหารระดับสูงเห็นความสำคัญของผู้บริหารระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายที่จะต้องขึ้นมาเป็นผู้นำและรับผิดชอบงานของ กฟผ. ต่อไปในอนาคตและเชื่อมั่นในเนื้อหาของหลักสูตรซึ่งจัดต่อเนื่องกันมาถึงรุ่นที่13แล้ว เชื่อว่าแนวทางการอบรมและโปรแกรมที่จัดตาม”Chira Ways” ซึ่งได้รวบรวมทฤษฎีที่คัดสรรมาไว้แล้ว จะทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้ความรู้ประสบการณ์และนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานในอนาคตได้อย่างมั่นใจ เพราะเชื่อว่าคนคือทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของหน่วยงานและความเป็นผู้นำที่ดีมีคุณธรรมคือสิ่งที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำร็จตามเป้าหมายและยั่งยืน

EGAT 4.0 กับการพัฒนาภาวะผู้นำและการสร้าผู้นำแห่งทศวรรษใหม่

การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมโดยรอบส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ กฟผ. เร็วมากและมีความไม่แน่นอนผู้บริหารต้องปรับตัวให้ทันและเหมาะสมโดยใช้หลัก 2R คือ มองความจริง และตรงประเด็นเพื่อปรับการตอบสนองให้เหมาะสม ยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 เป็นแนวทางหนึ่งที่ กฟผ.จะต้องศึกษาอย่างลึกซึ้งและวางแผนให้สอดคล้องกัน

การบริหารความขัดแย้งและการเจารจาต่อรอง

ได้เรียนรู้หลัการและจิตวิทยาของการจัดการความขัดแย้งและแนวทางในการเจรจาต่อรองเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ สิ่งสำคัญต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้เกิดขึ้นตามคำกล่าวที่ว่า “Without trust nothing happen…”

Getting to know

เป็นการสร้างบรรยากาศให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้แสดงออก ได้รู้จักคุ้นเคยและมีความเป็นกันเองมากขึ้นแต่ยังไม่ชื่นมื่นมากนัก....

การพัฒนาบุคลิกภาพของผู้บริหาร

เป็นหัวข้อที่เคยอบรมมาหลายครั้งตั้งแต่เป็นประจำแผนกหรือหัวหน้าแผนก แต่ครั้งนี้รู้สึกว่าสนใจและมีความจำเป็นมากเพราะต้องเป็นตัวแทนของหน่วยงานทั้งงานภายในและนอก กฟผ. รู้สึกว่าการที่ต้องให้ดูดีตามกาละเทศะมีความจำเป็น และในการนำไปใช้จริงจะพลาดไม่ได้ ที่สำคัญเชื่อมั่นในตัววิทยากรว่ามีความรู้และประสพการณ์จริงในหัวข้อการบรรยายและมารถให้ตำแนะนำอย่างเชื่อมั่นตรงประเด็น

3V’s –Innovative Project Designing and Presentation

เป้นการแนะนำวิธีการคิดโครงการที่ใช้นวัตรกรรมโดยใช้หลักการ 3V ได้แก่ Value Added Value Creation Value Diversity และวิธีการที่ใช้จะต้องรู้ว่าเราอยู่ตรงไหน เราจะไปที่ไหน ไปอย่างไร และที่สำคัญจะต้องรู้ว่าทำอย่างไรจึงจะสำเร็จ เพื่อเป็นการเตรียมการสร้างโครงการนำเสนอก่อนจบหลักสูตร

ชฎิล ศุขะพันธุ์ ช.อขน-ห. กลุ่ม 4

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน ในช่วงที่ 1 ; วันที่ 13-14 มีนาคม 2560

ช่วงที่ 1 ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ : สร้างวิสัยทัศน์ผู้นำ

วิชาที่ 1 ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และ

ประธานChira Academy

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

1. กฟผ.กำลังเผชิญกับแนวการเปลี่ยนแปลงใน3 แนว คือ เร็ว , ไม่มีความแน่นอน การทำอะไรขอให้รัฐบาลช่วยด้วย , ไม่สามารถคาดเดาได้ (Unpredictability)

2. หลักสูตรมุ่งเน้น Reality กับ Relevance ในหลักสูตรนี้อยากให้มีความสุขในการเรียน ให้มีนิสัยในการอ่านหนังสือ และถ้า EGAT มีสังคมการเรียนรู้เมื่อไหร่ EGAT จะเก่งมาก

3. อยากให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันมากขึ้น ทำแบบ Cross Over กันมากขึ้น แล้ววิธีการเรียนคือ คิด วิเคราะห์ร่วมกัน แล้วอย่าวิเคราะห์เฉพาะทฤษฎี แต่ไป Apply กับความจริงให้ได้

4. กฟผ.ในอนาคตข้างหน้า ถ้าจะสร้าง Networking ควรคำนึงถึงตัวละครที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคชุมชน ประชาชน กฟผ. ไม่ต้องสร้างด้วยคนเดียว ต้องหาพันธมิตรเพื่อช่วยกัน

5.การแนะนำทฤษฎี ที่มีการเชื่อมโยงหลักการเพื่อการพัฒนาองค์กร ซึ่งเป็นกระบวนการ/วิธีการเรียนรู้ของ ดร.จีระ เพื่อ HR เป็นเลิศ เช่น 3 Circles , 8K’s + 5K’s ( New ),4L’s,2R’s,2I’s,3V’s,3L’s,C&E,C-U-V,Learn-Share-Care,HRDS เป็นต้น

6. สิ่งที่ทำ 3 อย่างคือ ปลูก – พัฒนา , เก็บเกี่ยว , Overcome difficulty แก้ไขและเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน จากการปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้ สรุปได้ดังนี้

  • พิ่มนิสัยในการอ่านหนังสือให้มากขึ้น และเพิ่มสังคมการเรียนรู้ให้มากขึ้น
  • นำทฤษฎี ซึ่งเป็นกระบวนการ/วิธีการเรียนรู้ของ ดร.จีระ ที่เป็นเลิศ เชื่อมโยงหลักการและประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์กร เช่น 3 Circles , 8K’s + 5K’s (New),4L’s,2R’s,2I’s,3V’s,3L’s,C&E,C-U-V,Learn-Share-Care,HRDS เป็นต้น

โดย อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

1.ทฤษฎี 2 R’s คือ ความจริง และตรงประเด็น ต้องเลือกใช้อย่างเหมาะสม

2. ต้องเรียนรู้ให้ได้ว่า อะไรคือความจริง และอะไรคือความเฉียบแหลมที่นำไปสู่การตรงประเด็น

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

  • การประยุกต์ใช้ ทฤษฎี 2 R’s ได้อย่างเหมาะสม

วิชาที่ 2 Learning Forum & Workshop

หัวข้อ “EGAT 4.0 กับการพัฒนาภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่”

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ จากข้อสรุปการนำเสนอ Workshop1ของ ทั้ง 6 กลุ่มและข้อ Comment จาก อาจารย์จีระฯ

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

1. การประยุกต์ใช้ทฤษฎี 2 R’s คือ ความจริง และตรงประเด็น ให้เหมาะสม

2. การจัดการการทำงานแบบ Networking และ TEAMWORK โดยการใช้ Informal Network กับ Virtual

Silo น่าจะเป็นหัวใจในการทำงานเป็นทีม มากขึ้น

3. พัฒนาด้าน Innovation และNew Business ที่มีรายได้ของตนเอง

4.พัฒนาใช้ Social Media ที่เป็นประโยชน์ให้ลูกน้องรับทราบ ให้ Stakeholders และคนอื่นได้รับทราบในการประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้มากขึ้น

วิชาที่ 2 Learning Forum & Workshop

หัวข้อ “EGAT 4.0 กับการพัฒนาภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่”

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

  • วีดิโอ ดร.สุวิทย์ เมษิณทรีย์ ประเทศไทย 4.0 จะขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมอย่างไรที่นำสู่ Creative Economy เพื่อนำพาให้ประเทศไทยหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลางสู่รายได้สูงขึ้น ประกอบด้วย Productive Growth Engine , Green Growth Engine, Inclusive Growth Engine 8nvให้คนมีส่วนร่วมได้อย่างไร ไม่ใช่แค่ Nation Competitiveness แต่เป็น Enterprise competitiveness คือ สามารถแข่งขันได้ เป็นการผนึกกำลังกัน และ Connect to the world หลายโลกธุรกิจต้องเข้าสู่ Digital Platform มากขึ้น และต้องสามารถตอบโจทย์ว่า ลูกค้าต้องการอะไร ,เราเก่งอะไร ,เก่งคนเดียวไม่ได้ เพราะต้องมองถึงส่วนต่าง ๆเป็น Collaborative Network
  • ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสนอว่า EGAT น่าจะมี EGAT Human Capital 4.0 คิดว่า EGAT 4.0 น่าจะถึง New Business ชุมชนต้องเป็นตัวอย่างของ 4.0 การอยู่อย่างยั่งยืนได้ ปัญญาและจริยธรรม ซึ่งจะสอดคล้องกับหลัก8K’s ทฤษฎีทุน 8 ประการพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง EGATมีทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital)ที่ดีอยู่แล้ว สำหรับทุนแห่งความยั่งยืน คือต้องมีสุขภาพดี และมีความรู้ อย่าง คนใน กฟผ.ความยั่งยืนคือหลังจากได้ความรู้จากอาจารย์จีระแล้ว ต่อไปจะหาความรู้อย่างต่อเนื่องหรือไม่ โดย อาจารย์ได้เสนอ ทุนเพื่อความยั่งยืนเพิ่มเติม คือ 5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

- Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

- Knowledge Capital ทุนทางความรู้

- Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

- Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

- Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ จากข้อสรุปการนำเสนอ Workshop2 ของ ทั้ง 6 กลุ่มและข้อ Comment จาก อาจารย์จีระฯ จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับหน่วยงานได้เป็นอย่างดี

วิชาที่ 3 การบรรยายพิเศษ

หัวข้อ “ประสบการณ์ของข้าพเจ้าในการบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรองและจิตวิทยา”

โดย ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในชีวิตการทำงานหรือชีวิตส่วนตัวมีความขัดแย้งอะไรบ้าง และอุปสรรค 5 ข้อในการทำงานร่วมกัน เช่นปฏิกิริยาคู่เจรจาเรา อารมณ์ ตำแหน่ง อำนาจ, ปฏิกิริยาเรา ,อารมณ์ของฝั่งเขา ,ตำแหน่งของเขา ,ความไม่พอใจ ,อำนาจของเขา เป็นต้น

ปฏิกิริยาที่เราต้องทำ เพื่อนำไปสู่กลยุทธ์การเจรจาต่อรองขั้นเทพ

1. Go to the Balcony

2. Step to Their Side

3. Reframe

4. Build Them a Golden Bridge

5. Use Power to Educate

วิชาที่ 4 กิจกรรมสัมพันธ์ “ Getting to know ” และรัปทานอาหารเย็นร่วมกัน

โดย อาจารย์ศรัณยา มหากนก

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ การสร้างบรรยากาศ ให้เกิดความคุ้นเคย พบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ด้วยการรับประทานอาหารเย็น และมีกิจกรรมร้องเพลง ซึ่งทำให้รู้จักกันมากขึ้น

วิชาที่ 5 Learning Forum

หัวข้อ “บุคลิกภาพของนักบริหาร”

โดย อาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ทำให้ทราบถึงศิลปการแต่งกายสไตล์นักบริหารยุคใหม่ รวมทั้งมารยาททางธุรกิจ มารยาททางสังคม และมารยาทในการรับประทานอาหารแบบต่างๆ รวมทั้งการจัดบุคลิกคนทำงานรุ่นใหม่ มาดและท่วงท่าอริยาบทของคนทันสมัย

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงานสามารถประยุกต์ใช้ในการสร้างบุคลิกภาพ ในทุกๆด้านของผู้บริหารรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี

วิชาที่ 5Learning Forum & Workshop

หัวข้อ “3 V’s – Innovative Project Designing and Presentation ”

( การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานส่วนบุคคลและวิธีการนำเสนอ)

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ , อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล , ผศ.กิตติ ชยางคกุล

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ Project แบ่งเป็น 2 โครงการฯ

1. โครงการใหญ่สำหรับรุ่น 1 โครงการ

2. โครงการจับกลุ่ม 3 คน

Project Methodology การนำเสนอโครงการฯ 4 ขั้นตอน

1. Where are we? คือ EGAT ปัจจุบันเป็นอย่างไร

1) Problem Based Approach ดูจากปัญหา

2) Opportunities Based Approach ดูจากโอกาส

2. Where do we want to go? วิสัยทัศน์ของ EGAT

3. How to do it? EGAT จะไปอย่างไร

4. How to do it successfully ? จะไปได้จริงหรือ

วิธีการคิดโครงการฯ (Project = Innovation + EGAT)

1. โครงการต้องสะท้อนความเป็นจริงขององค์กร และมีความเกี่ยวข้องกับ EGAT (2R’s –Reality,Relevance)

2. โครงการน่าสนใจ

3. เป็นโครงการฯ นวัตกรรม หมายถึง เป็น Innovation ในการพัฒนาองค์กร คือ Do the same things in different way

- การสร้างให้งานเป็นนวัตกรรมได้ ด้วยแนวคิด 3 V (Value Added, Value Creation, Value Diversity)

4.เกิด Impact ต่อองค์กร

5. ทำได้

6. วัดผลได้ (Measurable)

ชฎิล ศุขะพันธุ์ ช.อขน-ห. กลุ่ม 4

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน ในช่วงที่ 1 ; วันที่ 13-14 มีนาคม 2560

ช่วงที่ 1 ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ : สร้างวิสัยทัศน์ผู้นำ

วิชาที่ 1 ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และ

ประธานChira Academy

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

1. กฟผ.กำลังเผชิญกับแนวการเปลี่ยนแปลงใน3 แนว คือ เร็ว , ไม่มีความแน่นอน การทำอะไรขอให้รัฐบาลช่วยด้วย , ไม่สามารถคาดเดาได้ (Unpredictability)

2. หลักสูตรมุ่งเน้น Reality กับ Relevance ในหลักสูตรนี้อยากให้มีความสุขในการเรียน ให้มีนิสัยในการอ่านหนังสือ และถ้า EGAT มีสังคมการเรียนรู้เมื่อไหร่ EGAT จะเก่งมาก

3. อยากให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันมากขึ้น ทำแบบ Cross Over กันมากขึ้น แล้ววิธีการเรียนคือ คิด วิเคราะห์ร่วมกัน แล้วอย่าวิเคราะห์เฉพาะทฤษฎี แต่ไป Apply กับความจริงให้ได้

4. กฟผ.ในอนาคตข้างหน้า ถ้าจะสร้าง Networking ควรคำนึงถึงตัวละครที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคชุมชน ประชาชน กฟผ. ไม่ต้องสร้างด้วยคนเดียว ต้องหาพันธมิตรเพื่อช่วยกัน

5.การแนะนำทฤษฎี ที่มีการเชื่อมโยงหลักการเพื่อการพัฒนาองค์กร ซึ่งเป็นกระบวนการ/วิธีการเรียนรู้ของ ดร.จีระ เพื่อ HR เป็นเลิศ เช่น 3 Circles , 8K’s + 5K’s ( New ),4L’s,2R’s,2I’s,3V’s,3L’s,C&E,C-U-V,Learn-Share-Care,HRDS เป็นต้น

6. สิ่งที่ทำ 3 อย่างคือ ปลูก – พัฒนา , เก็บเกี่ยว , Overcome difficulty แก้ไขและเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน จากการปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้ สรุปได้ดังนี้

  • พิ่มนิสัยในการอ่านหนังสือให้มากขึ้น และเพิ่มสังคมการเรียนรู้ให้มากขึ้น
  • นำทฤษฎี ซึ่งเป็นกระบวนการ/วิธีการเรียนรู้ของ ดร.จีระ ที่เป็นเลิศ เชื่อมโยงหลักการและประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์กร เช่น 3 Circles , 8K’s + 5K’s (New),4L’s,2R’s,2I’s,3V’s,3L’s,C&E,C-U-V,Learn-Share-Care,HRDS เป็นต้น

โดย อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

1.ทฤษฎี 2 R’s คือ ความจริง และตรงประเด็น ต้องเลือกใช้อย่างเหมาะสม

2. ต้องเรียนรู้ให้ได้ว่า อะไรคือความจริง และอะไรคือความเฉียบแหลมที่นำไปสู่การตรงประเด็น

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

  • การประยุกต์ใช้ ทฤษฎี 2 R’s ได้อย่างเหมาะสม

วิชาที่ 2 Learning Forum & Workshop

หัวข้อ “EGAT 4.0 กับการพัฒนาภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่”

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ จากข้อสรุปการนำเสนอ Workshop1ของ ทั้ง 6 กลุ่มและข้อ Comment จาก อาจารย์จีระฯ

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

1. การประยุกต์ใช้ทฤษฎี 2 R’s คือ ความจริง และตรงประเด็น ให้เหมาะสม

2. การจัดการการทำงานแบบ Networking และ TEAMWORK โดยการใช้ Informal Network กับ Virtual

Silo น่าจะเป็นหัวใจในการทำงานเป็นทีม มากขึ้น

  • พัฒนาด้าน Innovation และNew Business ที่มีรายได้ของตนเอง

4.พัฒนาใช้ Social Media ที่เป็นประโยชน์ให้ลูกน้องรับทราบ ให้ Stakeholders และคนอื่นได้รับทราบในการประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้มากขึ้น

วิชาที่ 2 Learning Forum & Workshop

หัวข้อ “EGAT 4.0 กับการพัฒนาภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่”

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

  • วีดิโอ ดร.สุวิทย์ เมษิณทรีย์ ประเทศไทย 4.0 จะขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมอย่างไรที่นำสู่ Creative Economy เพื่อนำพาให้ประเทศไทยหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลางสู่รายได้สูงขึ้น ประกอบด้วย Productive Growth Engine , Green Growth Engine, Inclusive Growth Engine 8nvให้คนมีส่วนร่วมได้อย่างไร ไม่ใช่แค่ Nation Competitiveness แต่เป็น Enterprise competitiveness คือ สามารถแข่งขันได้ เป็นการผนึกกำลังกัน และ Connect to the world หลายโลกธุรกิจต้องเข้าสู่ Digital Platform มากขึ้น และต้องสามารถตอบโจทย์ว่า ลูกค้าต้องการอะไร ,เราเก่งอะไร ,เก่งคนเดียวไม่ได้ เพราะต้องมองถึงส่วนต่าง ๆเป็น Collaborative Network
  • ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสนอว่า EGAT น่าจะมี EGAT Human Capital 4.0 คิดว่า EGAT 4.0 น่าจะถึง New Business ชุมชนต้องเป็นตัวอย่างของ 4.0 การอยู่อย่างยั่งยืนได้ ปัญญาและจริยธรรม ซึ่งจะสอดคล้องกับหลัก8K’s ทฤษฎีทุน 8 ประการพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง EGATมีทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital)ที่ดีอยู่แล้ว สำหรับทุนแห่งความยั่งยืน คือต้องมีสุขภาพดี และมีความรู้ อย่าง คนใน กฟผ.ความยั่งยืนคือหลังจากได้ความรู้จากอาจารย์จีระแล้ว ต่อไปจะหาความรู้อย่างต่อเนื่องหรือไม่ โดย อาจารย์ได้เสนอ ทุนเพื่อความยั่งยืนเพิ่มเติม คือ 5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

- Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

- Knowledge Capital ทุนทางความรู้

- Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

- Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

- Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ จากข้อสรุปการนำเสนอ Workshop2 ของ ทั้ง 6 กลุ่มและข้อ Comment จาก อาจารย์จีระฯ จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับหน่วยงานได้เป็นอย่างดี

วิชาที่ 3 การบรรยายพิเศษ

หัวข้อ “ประสบการณ์ของข้าพเจ้าในการบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรองและจิตวิทยา”

โดย ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในชีวิตการทำงานหรือชีวิตส่วนตัวมีความขัดแย้งอะไรบ้าง และอุปสรรค 5 ข้อในการทำงานร่วมกัน เช่นปฏิกิริยาคู่เจรจาเรา อารมณ์ ตำแหน่ง อำนาจ, ปฏิกิริยาเรา ,อารมณ์ของฝั่งเขา ,ตำแหน่งของเขา ,ความไม่พอใจ ,อำนาจของเขา เป็นต้น

ปฏิกิริยาที่เราต้องทำ เพื่อนำไปสู่กลยุทธ์การเจรจาต่อรองขั้นเทพ

1. Go to the Balcony

2. Step to Their Side

3. Reframe

4. Build Them a Golden Bridge

5. Use Power to Educate

วิชาที่ 4 กิจกรรมสัมพันธ์ “ Getting to know ” และรัปทานอาหารเย็นร่วมกัน

โดย อาจารย์ศรัณยา มหากนก

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ การสร้างบรรยากาศ ให้เกิดความคุ้นเคย พบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ด้วยการรับประทานอาหารเย็น และมีกิจกรรมร้องเพลง ซึ่งทำให้รู้จักกันมากขึ้น

วิชาที่ 5Learning Forum

หัวข้อ “บุคลิกภาพของนักบริหาร”

โดย อาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ทำให้ทราบถึงศิลปการแต่งกายสไตล์นักบริหารยุคใหม่ รวมทั้งมารยาททางธุรกิจ มารยาททางสังคม และมารยาทในการรับประทานอาหารแบบต่างๆ รวมทั้งการจัดบุคลิกคนทำงานรุ่นใหม่ มาดและท่วงท่าอริยาบทของคนทันสมัย

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน สามารถประยุกต์ใช้ในการสร้างบุคลิกภาพ ในทุกๆด้านของผู้บริหารรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี

วิชาที่ 5Learning Forum & Workshop

หัวข้อ “3 V’s – Innovative Project Designing and Presentation ”

( การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานส่วนบุคคลและวิธีการนำเสนอ)

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ , อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล , ผศ.กิตติ ชยางคกุล

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ Project แบ่งเป็น 2 โครงการฯ

1. โครงการใหญ่สำหรับรุ่น 1 โครงการ

2. โครงการจับกลุ่ม 3 คน

Project Methodology การนำเสนอโครงการฯ 4 ขั้นตอน

1. Where are we? คือ EGAT ปัจจุบันเป็นอย่างไร

1) Problem Based Approach ดูจากปัญหา

2) Opportunities Based Approach ดูจากโอกาส

2. Where do we want to go? วิสัยทัศน์ของ EGAT

3. How to do it? EGAT จะไปอย่างไร

4. How to do it successfully ? จะไปได้จริงหรือ

วิธีการคิดโครงการฯ (Project = Innovation + EGAT)

1. โครงการต้องสะท้อนความเป็นจริงขององค์กร และมีความเกี่ยวข้องกับ EGAT (2R’s –Reality,Relevance)

2. โครงการน่าสนใจ

3. เป็นโครงการฯ นวัตกรรม หมายถึง เป็น Innovation ในการพัฒนาองค์กร คือ Do the same things in different way

- การสร้างให้งานเป็นนวัตกรรมได้ ด้วยแนวคิด 3 V (Value Added, Value Creation, Value Diversity)

4.เกิด Impact ต่อองค์กร

5. ทำได้

6. วัดผลได้ (Measurable)

สรุปการเรียนรู้รายวิชา

วันที่ 13 มีนาคม 2560

  • วิชา EGAT ๔.๐ กับการพัฒนาภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่

สวัสดีค่ะอาจารย์ พบอาจารย์อีกครั้งหลังจากที่วิถีชีวิตเปลี่ยนไป ได้ไปเรียนรู้งานใหม่ๆ กลับมาครั้งนี้ยังเห็นอาจารย์ท่านเดิมที่มุ่งมั่น ตั้งใจที่จะให้ความรู้แก่ลูกศิษย์ให้สามารถคิดได้ เปลี่ยนได้ ทำได้ โดยชี้แนะถึงการนำไปสู่การพัฒนาภาวะผู้นำ รวมถึงการที่เราจะพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ขึ้นมาท่ามกลางสภาวะการเปลี่ยนแปลง การแข่งขัน เป็นเรื่องไม่ง่ายนัก แต่ก็ไม่ยากเกินไปหากเราเห็นว่าความเปลี่ยนแปลง การแข่งขันนั้นเป็นสิ่งท้าทาย เราต้องเตรียมพร้อม ไม่รอให้สิ่งแวดล้อมรอบด้านมาบังคับให้เปลี่ยน หากเราเป็นผู้นำหมายถึงยังมีผู้ที่อยู่ข้างหลังเราอีกจำนวนมากที่เราจะต้องพัฒนาเขาไปพร้อมๆ กับเราด้วย ในการเตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เราจึงต้องขยันเรียนรู้ ให้มาก อย่างที่อาจารย์ชี้แนะคือไม่ว่าจะ Learning from pain , Learning form experiences , Learning form listening เมื่อ Learning แล้วมาทบทวนปรับใช้ การ Learn จากผู้นำระดับโลก ทำให้เราเรียนรู้ผ่านประสพการณ์ของท่านเหล่านั้นได้เร็วขึ้น ซึ่งสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับทั้งตนเอง ทีมงานและองค์การค่ะ

วันที่ 14 มี่นาคม 2560

วันนี้ได้เรียนวิชาพัฒนาบุคลิกภาพ ต้องขอชื่นชมทีมค่ะที่หาวิทยากรที่สอนวิชานี้ได้สุดยอด มีบุคลิกเป็นแบบอย่าง เรียนอย่างเพลิดเพลิน และนำไปใช้ได้ทันทีค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกายให้สมกับเป็ผู้บริหารเป็นภาพลักษณ์ที่ดีของงองค์การ มารยาทสังคม การไหว้ซึ่งเป็นสิ่งที่งดงามของคนไทยซึ่งกำลังจะค่อยๆ เลือนหายไป การไหว้ที่บ่งบอกได้ถึงความรู้สึกของผู้ไหว้ ชอบมากๆ ที่อาจารย์บอกว่าการกระทำใดๆก็ตามที่บ่งบอกถึงการให้เกียรติผู้อื่น ให้ทำ เพราะถ้าเริ่มจากความรู้สึกนี้เราจะทำโดยไม่ต้องฝืน ไม่ต้องปรับแต่งใดๆ มากมาย เช่น ให้เกียรติสถานที่ ให้เกียรติผู้อื่นโดยไม่เลือกชั้น วรรณะ จะทำให้ผู้กระทำดูงดงาม

กณิกนันท์ ปฐมนุพงศ์ กลุ่ม 5

สรุปบทเรียนที่ได้เรียนรู้ วันที่ 13-14 มี.ค 2560

วันที่ 13 มี.ค. 2560

ทฤษฎีสำคัญ

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงใน 3 ด้านคือ เร็วไม่มีความแน่นอน และ ไม่สามารถคาดเดาได้ จำเป็นต้องสร้าง กฟผ. ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยมีการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีคุณภาพโดยต้องสร้างให้ มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ สร้างโอกาสจากการเรียนรู้ และสร้างชุมชนจากการเรียนรู้ (4 L’s)

เมื่อมีความไม่แน่นอนสูง จำเป็นต้องพัฒนาบุคคลากรให้สามารถที่จะ สร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างคุณค่าใหม่ และสร้างคุณค่าจากความหลากหลาย (ทฤษฎี 3 V)

EGAT 4.0 กับการพัฒนาภาวะผู้นำ และการสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่

สิ่งที่ผู้นำของ กฟผ. ควรมี คือ การจัดการภาวะวิกฤตคาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงได้ การกระตุ้นให้ผู้คนสู่ความเป็นเลิศ แก้ไขความขัดแย้ง การสร้างโอกาสแก่ผู้อื่น รู้จักใช้จังหวะและความรวดเร็ว กล้าตัดสินใจ ทำงานเป็นทีม และการบริหารความไม่แน่นอน

ผู้นำจะต้องมีกลยุทธ์ในการกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้

  • สร้างความรู้สึกให้ตระหนักถึงความจำเป็น สร้างความรู้สึกกระตือรือล้น และเร่งด่วนที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงในองคืกร
  • รวมกลุ่มที่มีพลังมากพอที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
  • สร้างวิสัยทัศน์
  • การสื่อสารและถ่ายทอดวิสัยทัศน์
  • การให้อำนาจ
  • การวางแผนเพื่อให้เกิดความสำเร็จในระยะสั้น
  • ประมวลการปรับปรุงให้ครบถ้วน
  • ปลูกฝังวิธีการใหม่ให้คงอยู่

การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และจิตวิทยามวลชน

สิ่งที่ควรทำในการบริหารความขัดแย้งคือ

  1. Soft on people, hard on the problem ต้องอ่อนน้อมถ่อมตน ประเด็นที่จะเจรจาต้องชัดเจน
  2. Interest not position สิ่งที่ต้องตกลงร่วมกัน ต้องเป็นผลประโยชน์ร่วมกัน
  3. Better working relationship ผลลัพธ์การเจรจาต้องดีขึ้นเรื่อยๆ

กลยุทธ์การเจรจาต่อรองคือ

สร้างสภาพแวดล้อมให้เขาเข้าใจในบริบทของเขาเอง จนกว่าสิ่งที่เขาเห็นเองเป็นทางออกที่ดีที่สุด

การสร้างความเข้าใจ บางครั้งใช้บุคคลที่สาม หรือคนมาช่วยก็ได้ สร้างสภาพแวดล้อมให้คนที่ไม่เข้าใจสามารถเข้าใจ

มนุษย์เป็นคนที่ไม่มีเหตุผล แต่เวลาทะเลาะกันทะเลาะที่ความคิด ที่สมอง จุดที่เชื่อมได้คือต้องใช้ใจเชื่อม ถ้าใจเปิดทุกอย่างจะเชื่อมได้หมด โลกนี้ขับเคลื่อนด้วยอารมณ์ ต้องจับประเด็นให้ได้ว่ามนุษย์ขับเคลื่อนด้วยอารมณ์ก่อน แล้วเหตุผลมาที่หลัง ต้องจับจุดให้ได้แล้วเราจะสามารถเจรจาต่อรองได้ทั้งหมด

วันที่ 14 มี.ค. 2562

บุคลิกภาพของนักบริหาร

องค์ประกอบที่มีความสำคัญของบุคลิก คือ สีสัน สัดส่วน และเส้นสาย

Good posture การไหว้ การยืน การนั่ง การเดิน การนั่งเก้าอี้โซฟา การนำเสนองาน การนั่งรถยนต์ มารยาทบนโต๊ะอาหาร การแนะนำให้คนรู้จักกัน การเข้า-ออกลิฟท์ การต้อนรับแขก

การออกแบบโครงการเชิงนวตกรรมเพื่อพัฒนางานส่วนบุคคลและวิธีนำเสนอ

วิธีการคิดโครงการฯ

โครงการต้องสะท้อนความเป็นจริงขององค์กร และมีความเกี่ยวข้องกับ EGAT และ การสร้างให้งานเป็นนวัตกรรมได้ ด้วยแนวคิด 3 V (Value Added, Value Creation, Value Diversity)

โครงการของกลุ่มที่ 5 คือ

  1. รีสอร์ทโรงไฟฟ้า

แนวคิดคือการมีโรงไฟฟ้าอยู่มากในต่างจังหวัดหลายโรง โรงไฟฟ้าพลังน้ำมีรีสอร์ทอยู่แล้ว แต่โรงไฟฟ้าพลังความร้อน คนกลัวไม่กล้าเข้าถึง จะทำเป็นรีสอร์ทที่คนเข้าถึงได้ เป็น Green Area ที่คนเข้าไปใช้ ชุมชนสามารถหารายได้ โดยนำสินค้าของชุมชนมาจำหน่าย ซึ่งเป็นการทำ CSR ของ กฟผ. ไปด้วย

2. Smart Battery

ใช้พลังงานประหยัด เป็นการนำร่องให้ประชาชนทั่วไปในการใช้รถไฟฟ้า EV ทำเป็น Pilot Project ก่อน

ฤดีมาส ปางพุฒิพงศ์

การนำ กฟผ.ไปสู่EGAT 4.0 ตามแนวทางThailand 4.0

เน้นที่

1.การสร้างมูลค่าเพิ่ม

2.ขับการเคลื่อนนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี การบริหารจัดการ และการสื่อสาร

3.สร้างพลัง creativity

4.สร้างมีส่วนร่วม ในลักษณะพันธมิตร

ซึ่งทั้งหมดจะได้มาจากการนำศักยภาพที่ทุกคนมีอยู่มาผสมผสานกันในการสร้างความสำเร็จแก่องค์กรด้วยการทำองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดย

1.มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี

2.มีการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

3. มีการสร้างโอกาสจากการเรียนรู้ด้วยการปะทะกันทางปัญญา

4.สร้างสังคมและชุมชนแห่งการเรียนรู้

การนำมาใช้ งานกฟผ.:

เสริมจุดแข็ง ปิดจุดอ่อน

จุดแข็ง :

-มีความหลากหลายในทรัพยากร บุคคลากร

-มีจริยธรรม

จุดอ่อน

-ทำงานไม่มีพันธมิตร

-คนกฟผ.มีความรู้เชิงลึก แต่ไม่กว้าง

-การสื่อสาร

ดังนั้นจึงควรใช้ประโยชน์จากความหลากหลายมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กร และสร้างพันธมิตรในการทำงาน โดยปรับปรุงการสื่อสารคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ของกลุ่มเป้าหมายอารมณ์และความรู้สึกของสังคมและชุมชน

สำหรับในงานด้านCSR ที่รับผิดชอบ คือการพัฒนางานไปสู่ CSV และสร้างสรรค์ให้เกิดความโดดเด่น เพื่อก่อให้เกิดความยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

และองค์ประกอบที่สำคัญคือการพัฒนาบุคคลากร ทั้งในด้านการพัฒนาองค์ความรู้ บุคลิกภาพ ภาวะผู้นำและการบริหารงานตามบทบาทที่ควรจะเป็น

นายพรชัย สุจิตตานนท์รัตน์

วันที่ 13 มีนาคม 2560 ช่วงเช้า

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อ.จีระ ได้เตือนให้ กฟผ. ตระหนักถึงภัยคุกคามที่มากระทบ กฟผ. 3 ประเด็น ได้แก่

  • ความรวดเร็ว
  • ความไม่แน่นอน
  • ความคาดการณ์ไม่ได้

ซึ่งทั้ง 3 ประเด็นตรงใจผมมาก เนื่องจาก กฟผ. อยู่ในสถานการณ์ดังกล่าวจริงๆ เรามีการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เกิดขึ้นน้อยมาก ภายใน 10 ปี ที่ผ่านมา สัดส่วนถือครองเหลือประมาณ 37% รัฐบาลมีนโยบายให้ กฟผ. สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งกระทบความรู้สึกประชาชนในเรื่องของสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะก่อให้เกิดความร่วมมือยาก ผนวกกับการผลิตกระแสไฟฟ้า ด้วย Solar cell ในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้จะมีราคาถูกลง และมีประสิทธิภาพดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อ กฟผ. ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่ง กฟผ. อาจถึงขั้นสภาวะพังทลาย
อย่างไรก็ตาม ในความคิดผม กฟผ. ต้องพยายามเปลี่ยนแปลง หลายเรื่องในเวลาเดียวกันถึงจะมีโอกาสรอด เช่น พิจาณาสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่ใหม่ที่มีอยู่แล้ว เช่น โรงไฟฟ้าทับสะแก อ่าวไผ่ โดยผสมผสานเชื้อเพลิงทุกรูปแบบ แบบ Mixed Used และมีต้นทุน ให้ธุรกิจ และอุตสาหกรรมในประเทศสามารถแข่งขันได้ และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ลดคน ลดการประชุม/งาน ที่ไม่มีคุณค่า

.....................................................

วันที่ 13 มีนาคม 2560 ช่วงบ่าย

อ.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

Tactic ในการนำเสนอการบริการบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง เป็นประเด็นของคนดี/มี เหตุผลคุยกัน มีผลประโยชน์ที่ต่างคนต้องรักษา แต่อยู่บนหลักของเหตุผล และเป็นข้อมูลที่จับต้องได้ กรณี กฟผ. ต้อ

สร้างความเข้าใจกับชุมชน มีกมี NGOs ต่อต้านคัดค้านทุกรูปแบบซึ่งไม่อยู่บนหลักคิดที่ว่า “เสียสละส่วนน้อย แต่ได้ผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่อของประเทศ”

สรุป วิธีก่รนำสนอของ อ.ดนัย ใช้ไม่ได้กับ กฟผ.

.....................................................

วันที่ 14 มีนาคม 2560 ช่วงเช้า

บุคลิกภาพ

เรื่องนี้คน กฟผ. ต้องปรับปรุงมากที่สุด โดยเฉพาะเครื่องแต่งกาย ขาดความพิถี ไม่รู้ความเหมาะควร ส่วนใหญ่คิดว่าไม่สำคัญ ทำงานดี /ได้ เป็นพอ แต่จริงๆนั้นยังไม่พอ

สำหรับผม การแต่งกายดีเป็นการเสริมบุคลิกภาพให้คน กฟผ. ให้อยู่ในมาตรฐานสากล เนื่องจากเราต้องทำธุรกิจ ไม่ได้อยู่คนเดียว เห็นว่า อาจารย์มาแนะนำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ หากจะทำเรื่องนี้ให้ได้ผลให้เพิ่มเวลาจัดคอร์ส Before/After จะทำให้เรื่องนี้เป็นรูปธรรมที่สุด

............................................................

วันที่ 14 มีนาคม 2560 ช่วงบ่าย

เป็นการนำเสนอแผนงานของกลุ่มต่างๆ ที่จะทำให้ กฟผ. มีโอกาสรอดจากวิกฤตที่เป็นอยู่ในส่วนของกลุ่มนี้ ได้นำเสนอเรื่องการพัฒนาโครงการทับสะแก ให้เป็นลักษณะการทำโครงการแบบสมผสาน โดยให้มีการศึกษาการสร้างโรงไฟฟ้าหลายรูปแบบ หลากประเภทเชื้อเพลิงมีต้นทุนที่หลากลหาย และคำนึงถึงการอยู่ร่วมกับชุมชน เป็น Smart Projects ประเด็นคือจะต้องเป็นต้นทุนที่แข่งขันได้สำหรับธุรกิจโดยทั่วไป บนพื้นที่ทับสะแกที่ กฟผ. มีอยู่แล้วประมาณ 4,000 ไร่ ซึ่งเป็นขนาดพื้นที่พอเหมาะที่จะทำเรื่องดงักล่าวได้ หากดำเนินโครงการสำเร็จจะถือเป็นโครงการต้นแบบที่นำไปประยุกต์ใช้สำหรับพื้นที่ กฟผ. ส่วนอื่นได้ โดยปรับเปลี่ยนตามพื้นที่ที่มีอยู่

บทเรียนจาก รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

อย่าสอนลูกให้รวย แต่จงสอนลูกให้เก่งและเป็นคนดี เพราะเมื่อเก่งก็จะรวยได้และความดีจะทำให้ยั่งยืน คนเก่งจะมีการพัฒนาการคิดมีโลจิกเห็นสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง

การอยู่ใกล้กันมิใช่หลักประกันทางใจ ครอบครัวที่ใกล้ชิดกันหากมองแต่มุมตัวเองก็อาจแตกหักกันได้ดังนั้น เราต้องมองรอบด้านต้องวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงได้ดีรู้จักตัวเองปรับมองอนาคตและต้องหลุดพ้นจากกับดักความเคยชิน เช่น ความสำเร็จในอดีต

ปรับ Mindset 5% ชนะ 95 % คือให้ทำเรื่องที่สำคัญก่อนเช่น สิ่งที่มีผลกระทบชีวิต องค์กร โดยการมองไปข้างหน้าและเข้าใจตนเอง



นายสรวิชญ์ หิมะมาน (กลุ่ม 3)

สรุปประเด็นสำคัญในเนื้อหาวิชา และการนำไปปรับใช้ในการทำงาน

แนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทฤษฎี 4L : Learning Methodology / Environment / Opportunity / Communities ทฤษฎี 2R : Reality / Relevance

ทฤษฎี 2I : Inspiration / Imagination ทฤษฎี C&E : Connecting / Engaging ทฤษฎี CUV : Copy / Understanding / Value added ในส่วนตัวที่คิดว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันอย่างยิ่ง คือ ทฤษฎี 2R มองความจริง (Reality) + ตรงประเด็น (Relevance) และในการทำ workshop ก่อให้เกิด “การปะทะทางปัญญา” ในกลุ่มและได้ประโยชน์เป็นอย่างมาก

EGAT 4.0 กับการพัฒนาภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล (วีดิโอ ดร.สุวิทย์ เมษิณทรีย์)

จากประโยคที่ว่า “คน คือ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร” โดยคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา จึงนำมาสู่การเรียนรู้ 8K ที่เป็นพื้นฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (human / intellectual / ethical / happiness / social / sustainability / digital / talented) รวมทั้ง 5K (creativity / knowledge / innovation / emotional / cultural) มีการพูดถึง Trust ซึ่งมี self / relationship / organization / social โดยมีการอภิปรายว่า กฟผ. จะมี self trust เป็นส่วนใหญ่ แต่ประสบปัญหา social trust ในปัจจุบัน

ในส่วนประเด็นประเทศไทย 4.0 คือการนำพาประเทศให้หลุดกับดัก สู่การนำนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน (Productive / Green / Inclusive growth engine) Beyond product = product + service เจาะตลาดเป็นเมืองๆ แทนที่จะเป็นประเทศ

ประสบการณ์ของข้าพเจ้าในการบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรองและจิตวิทยามวลชน โดย ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

การเจรจาต่อรอง เป็นเรื่องที่กว้างและแทรกอยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นบนโต๊ะประชุม หลายครั้งเราได้เคยใช้ในชีวิตจริงสำหรับแนวทางต่างๆมาก่อน แต่วันนี้ได้ทราบในหลักการและทฤษฎี และได้แง่คิดในเรื่อง”คน”กับ”ปัญหา”เป็นคนละเรี่องกัน อย่านำมาปะปนกัน ที่เรามักจะเคยนำมาใช้คือ กลยุทธ win – win / การเคารพต่อตัวคนแต่มุ่งไปที่ตัวปัญหา / การไม่สนใจตำแหน่งหน้าที่การงาน(หัวโขน) ส่วนข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์ อาทิ การไปหาที่สงบสติอารมณ์ ไม่ตอบโต้ด้วยความโกรธ / การคิดถึงใจเขาใจเยา / การหาจุดยืนหรือแนวทางร่วมกัน

บุคลิกภาพของนักบริหาร ศิลปะการแต่งกายสไตล์นักบริหารยุคใหม่ ฯลฯ โดยอาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์

ที่ผ่านมาเคยอบรมในลักษณะการบรรยาย แต่ในครั้งนี้ วิทยากรได้นำเสนอตัวต่อตัว พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบทำให้เกิดภาพที่ชัดเจน สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งกายที่สร้างภาพลักษณ์ต่อตนเองและองค์กร การไหว้ที่เหมาะสม หลักการเข้าใจง่ายสำหรับการนำไปใช้ในสังคม อาทิ การนั่งเก้าอี้ การนำเสนอ การแนะนำตัว การนั่งรถไปกับผู้บังคับบัญชา ถือว่าได้ประโยชน์มากๆ (เวลาสำหรับหัวข้อนี้ค่อนข้างน้อย และอุปกรณ์ สถานที่ ไม่ค่อยเอื้ออำนวยนัก)

3V’s – Innovative Project Designing and Presentation โดย อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล และ ผศ.กิตติ ชยางคกุล

แนวทางการคิดโครงการ คือ 1. ปัจจุบัน กฟผ เป็นอย่างไร โดยดูจากปัญหา / โอกาส 2. ทิศทางของ กฟผ 3. กฟผ จะไปอย่างไร 4. กฟผ จะไปถึงความสำเร็จได้หรือไม่ สรุปได้ดังนี้ โครงการ = นวัตกรรม + กฟผ ที่รวมๆต้องสะท้อนความเป็นจริง น่าสนใจ มีนวัตกรรม เกิดผลที่รุนแรงต่อหน่วยงาน มีความเป็นไปได้ และต้องวัดผลเป็นรูปธรรมได้

ในส่วนสิ่งที่จะได้ คือ มีการเรียนรู้ร่วมกัน แบ่งปันกัน และ สนใจในบางประเด็น / มีการดำเนินการตามวิธีที่กล่าวไว้ รวมทั้งต้องมีการสร้างมูลค่าเพิ่มในแง่ปริมาณ ความคิดสร้างสรร และมีความหลากหลาย

มีการมอบหมายโครงการสำหรับรุ่น 1 โครงการ โครงการของกลุ่ม 3 คน 1 โครงการ

หลักการสำหรับโครงการของรุ่น คือผู้บริหารให้ความสนใจ ส่วนโครงการของกลุ่ม 3 คน ควรจะนำไปใช้ได้จริง

นายสมชัย ชัยโรจน์นิพัฒน์ (กลุ่มที่ 1)

สรุปบทเรียนที่ได้เรียนรู้ วันที่ 13-14 มี.ค 2560

วันที่ 13 มี.ค. 2560 ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กระบวนการ วิธีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเป็นเลิศ มีหลายทฤษฎีต้องเลือกใช้อย่างเหมาะสม แต่ที่เด่นๆคือทฤษฎี 2 R’s คือ ความจริง และตรงประเด็น ทฤษฎี 3V คือสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างคุณค่าใหม่ สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย และทฤษฎี HRDS เพื่อสร้างทุนแห่งความสุข การทำงานร่วมกับผู้อื่นและการบริหารทุนมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

หัวข้อ EGAT 4.0 กับการพัฒนาภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่

คนคือทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร ปลูกพืชล้มลุก 3-4 เดือน ปลูกพืชยืนต้น 3-4 ปี พัฒนาคน ทั้งชีวิต ผู้นำสามารถสร้างผลงานได้มากกว่าผ้จัดการ โดยผู้นำจะมีคุณลักษณะเน้นที่คน มีความน่าเชื่อถือ มองอนาคต เน้นนวัตกรรมและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

นโยบายของรัฐบาลในชุดปัจจุบัน วางแนวนโยบายประเทศไทย 4.0 คือการนำพาประเทศให้หลุดกับดักจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางเป็นประเทศที่มีรายได้สูง โดยอาศัยนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน

วันที่ 14 มีนาคม 2560 หัวข้อ บุคลิกภาพของนักบริหาร โดยอาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์

­ เพิ่มบุคลิกภาพของนักบริหารโดยแนะนำศิลปะการแต่งกายสไตล์นักบริหารยุคใหม่ ­ เทคนิคการดูแลใบหน้าและแต่งหน้าให้ดูดีมีสไตล์ การเลือกทรงผมกับบุคลิกคนทำงานรุ่นใหม่/ มาดและท่วงท่าอิริยาบถของคนทันสมัยและ­ มารยาททางธุรกิจ มารยาทสังคม และมารยาทในการรับประทานอาหารแบบต่าง ๆ หากสามารถปฏิบัติได้ตามที่วิทยากรแนะน้ำก็จะทำให้ดูดี มีเสน่ห์และเพิ่มความน่าเชื่อถือในวงสังคม

นาย ณัฐ ยุทธสารประสิทธิ์ กลุ่ม 3

สรุปประเด็นสำคัญเนื้อหาวิชาระหว่างวันที่ 13-14 มีนาคม 2560.....

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การบริหารคน การค้นหาตัวเอง คุณสมบัติผู้นำแบบต่างๆ ภาวะผู้นำและความสำคัญของ การมีเครือข่ายแนวร่วม หลักสูตรเน้นการให้คิดวิเคราะห์ใช้กระบวนการความคิดมาเสนอความเห็น ให้มีการอ่านหนังสือ และ การปะทะทางปัญญา นอกจากนี้ได้รับความรู้ในเรื่องของ

2R's-Reality /Relevance

3V's - Value Added/Value Creation/Value Diversities

ทฤษฏี 7 Change Kotter 7c Principles
ทฤษฎี Peter Drucker 8 ข้อ
กฎ 9 ข้อ Chira way ของดร.จีระและทฤษฏีอื่นๆ

ผู้นำและผู้จัดการแตกต่างกันอย่างไร?

ผู้นำ

  • เน้นที่คน
  • เป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลง
  • สร้างความเชื่อมั่น (trust)
  • เน้นนวัตกรรม
  • มองอนาคต ขอบฟ้า/ภาพลักษณ์
  • What , Why

ผู้บริหาร

  • เน้นระบบ
  • ควบคุม
  • ระยะสั้น
  • When , How
  • กำไร/ขาดทุน ทุก 3 เดือน
  • จัดการให้สำเร็จ มีประสิทธิภาพ

สิ่งที่จะสามารถ นำไปปรับใช้ - ในด้านการไฝ่เรียนรู้ ทำให้เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ด้วยตนเอง สร้างนิสัยการอ่านหนังสือ และที่สำคัญการได้พบปะรู้จักเพื่อนๆร่วมงานในระดับเดียวกันที่ถือเป็น Network เป็นเพื่อนในการติดต่อประสานงานในอนาคตมีมุมมองการปรับความคิดไม่ติดอยู่ในการทำงานแบบ Silo Based และ เอาจริงกับเรื่องชุมชน ไม่ใช่แค่สร้างโรงไฟฟ้าไปเรื่อย ๆ ให้มีพันธมิตรกับ NGOs มากขึ้น

การบริหารความขัดแย้งและเจรจาต่อรอง ดร. ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

การเจรจาต่อรอง ต้องพยายามหาคำตอบที่เป็น win-win solution จึงจะสำเร็จโดยง่าย มี keywords

ที่น่าสนใจได้แก่

- Soft on people / Hard on Problems

- Without trust nothing can happen

- Interests not position

คนที่จะเจรจาต้องมีคุณสมบัติอ่อนน้อม เข้ากับคนได้ดี ให้เกียรติคู่เจรจา ช่างสังเกตุ ใจเย็น ห้ามโกรธ แต่ต้องมีความชัดเจนในปัญหา.....

บุคลิกภาพของนักบริหาร อ.ณภัสวรรณ จิลลานนท์

วิทยากรได้ชี้ประเด็นให้เห็นว่า บุคลิกภาพมีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์ตัวเราและ

ต่อองค์กรอย่างไร ซึ่งผู้บริหารไม่ควรมองข้าม และต้องให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ทำให้ทราบถึงศิลปการแต่งกายสไตล์นักบริหารยุคใหม่ รวมทั้งมารยาททางธุรกิจ มารยาททางสังคม และมารยาทในการรับประทานอาหารแบบต่างๆ รวมทั้งการจัดบุคลิกคนทำงานรุ่นใหม่ มาดและท่วงท่าอริยาบทของคนทันสมัย สามารถ นำไปปรับใช้กับการทำงาน สามารถประยุกต์ใช้ในการสร้างบุคลิกภาพ ในทุกๆด้านของผู้บริหารรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี

การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานส่วนบุคคลและวิธีการนำเสนอ

ผศ.กิตติ ชยางคกุล และ อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล.....

เป็นหัวข้อที่แนะนำการออกแบบโครงการ

1. Where are we? โดยพิจารณาจาก ปัญหาเป็นหลักโดยใช้ Swot Analysis

2. Where do we want to go? ดูวิสัยทัศน์ & ตัวแปรขององค์กร

3. How to do it? จะไปอย่างไร ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ

4. How to do it successfully ? จะไปได้จริงหรือไม่

นายชัยโรจน์ ปานพรหมมินทร์

สรุปบทเรียนที่ได้เรียนรู้ วันที่ 13-14 มี.ค 2560

EGAT 4.0 กับการพัฒนาภาวะผู้นำ และการสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่

ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์ และ อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

จะสร้างผู้นำที่มีคุณภาพได้อย่างไร เนื่องจาก กฟผ. ต้องการผู้นำที่ต้องนำพาองค์กรให้สามารถอยู่ได้อย่างมั่นคง และ ยั่งยืน เนื้อหา section นี้เต็มเปี่ยมไปด้วยแนวทางปฏิบัติและทฤษฎีการสร้างผู้นำในหลายๆรูปแบบ สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายสถานะการ อีกทั้งยังมีตัวอย่างผู้นำแบบต่างๆในโลก พร้อมกับการวิเคราะห์เทคนิคการทำงานของแต่ละคนที่ส่งผลให้ได้งานที่มีคุณภาพเป็นที่ยกย่องของคนทั่วไป ให้เป็นตัวอย่างการศึกษาและเรียนรู้

การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และจิตวิทยามวลชน

ดร. ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

ในสภาพสังคมปัจจุบัน การสื่อสารข้อมูลมากมาย ความขัดแย้งในสังคมก็มีมากขึ้นและรุนแรงมากขึ้นและสามารถกระจายได้รวดเร็วมากขึ้น การบริหารความขัดแย้ง โดยการเจรจาต่อรอง เป็นหนทางที่ตอบโจทย์ข้างต้นได้ดีที่สุด อย่างน้อยผลของการเจรจาก็จะเป็นการสรุปเงื่อนไขที่แต่ละฝ่ายได้ยื่นข้อเสนอ ซึ่งอาจได้เพียงบางเงื่อนไขของแต่ละฝ่าย หนทางการเจรจาเพื่อจะได้ข้อสรุปในแต่ละครั้งก็ไม่ใช่จะเป็นเรื่องที่จะทำกันได้ง่ายๆ ผู้เจรจาจะต้องใช้จิตวิทยามวลชนสูง

สิ่งสำคัญในการเจรจาต่อรองและจิตวิทยามวลชน

  • เน้น Win – win / Soft on people, Hard on the Problem ต้องพยายามหาจุดร่วมที่บรรลุความต้องการของทุกฝ่ายให้มากที่สุด
  • ถ้าความขัดแย้งมีความซับซ้อนมาก ก็จำเป็นต้องการเจรจากันมากครั้ง เพราะในการเจรจาในแต่ละครั้งจะได้ผลลัพธ์ที่ดีมากขึ้นเรื่องๆ
  • ถ้าสถานะการตึงเครียดจะต้องหยุดการเจรจาชั่วคราว ไม่ฝืน
  • บุคคลที่สามที่มีประสบการณ์ และ มีความน่าเชื่อถือ สามารถช่วยให้การเจรจาได้สำเร็จมากขึ้น
  • การขับเคลื่อนมวลชนได้จะต้องมีการสร้างกระแสสนับสนุน
  • หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ เน้นที่เหตุผล และเปิดใจรับฟังให้มากที่สุด

บุคลิกภาพของนักบริหาร

อาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์

การเป็นผู้บริหารสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งคือบุคลิกภาพและการวางตัวให้เหมาะสมในทุกๆด้าน เช่น การแต่งกาย การรับประทานอาหาร การวางตัวในโอกาสต่างๆ ซึ่งคนส่วนใหญ่ตัดสินกันที่บุคลิกภาพภายนอกตั้งแต่มองครั้งแรก สำหรับพนักงาน กฟผ. ส่วนที่ก้าวจากตำแหน่งปฏิบัติการส่วนใหญ่จะมีประสบการณ์ค่อนข้างน้อย สิ่งที่ได้จากอาจารย์นับว่าเป็นการกระตุ้นกระผมที่จะต้องศึกษาและพัฒนาบุคลิกภาพให้ดียี่งขึ้นต่อไป

Assignment 1 13-14 มีนาคม 2560

ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

ตามนโยบายประเทศไทยที่ขับเคลื่อนไปสู่ Thailand 4.0 ที่เปลี่ยนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ก้าวกระโดด ไม่แน่นอน และ ไม่สามารถคาดเดาได้ ต้องขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ให้มีการสร้างมูลค่าเพิ่ม คิดสิ่งใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อให้องค์การอยู่รอดตลอดจน ต้องการความร่วมมือทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร ต้องมีพันธมิตร

สร้างบรรยากาศ/โอกาสในการเรียนรู้ ทำให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ ต้องกระตุ้นให้เกิดการจุดประกาย (Inspiration) และ สร้างแรงบันดาลใจ (Imagination)

ดร.สุวิทย์ เมษิณทรีย์

โลกปัจจุบันเน้น Business Model ธุรกิจกำลังเปลี่ยนสู่ Service Economy และต้องมองการลงทุนในต่างประเทศ ที่สามารถแข่งขันได้ ธุรกิจต้องเข้าสู่ Digital Platform มากขึ้น ต้องตอบโจทย์ ลูกค้าต้องการอะไร ต้องรู้ว่าเราเก่งอะไร และมี Collaborative Network เพียงใด ต้องเปิดกว้าง และ แบ่งปัน

ประเด็นที่ได้เรียนรู้ กฟผ. จะก้าวไปสู่ 4.0 ต้องพัฒนาคนก่อน สร้าง Entrepreneurial Skill สร้างคนให้มี ความคิดสร้างสรรค์เพื่อจะสร้างนวัตกรรม และให้สามารถบริหารความหลากหลาย (Diversity) ตัดสินใจฉับไว รวดเร็ว (Agility) สามารถสร้าง Social Trust เพื่อให้สังคมยอมรับและมีพันธมิตรสร้างเครือข่าย เพื่อเสริมสร้างการดำเนินงานขององค์กร

ดร. ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

การแก้ปัญหาความขัดแย้งต้องสร้างทางเลือก Joint Problem Solving คือ สิ่งที่เราต้องมาถึงจุดร่วมกันคือ Win – Win

1. Soft on people, hard on the problem

Soft on people - เวลามีปัญหาอย่าไปตีที่หัวใจคน อย่าไปทำให้คนไร้เกียรติ ต้องถนอมน้ำใจ เกียรติยศ ศักดิ์ศรี คนทุกคนมี Ego ทุกคน เป็นเรื่องที่แตะไม่ได้Hard on the Problem – ประเด็นที่ต้องเจรจาต่อรองต้องชัดเจนว่าต้องการอะไร

ต้องแยกให้ชัดว่าเรื่องของคน กับปัญหาเป็นคนละเรื่อง แต่ส่วนใหญ่มองเป็นเรื่องเดียวกัน และจะทำให้เกิดปัญหา ซึ่งเขาจะไม่ฟัง ประตูจะปิด และการเจรจาจะเกิดขึ้นเมื่อเปิดประตูหัวใจแล้ว

2. Interests not Position

สิ่งที่ต้องตกลงร่วมกันระหว่างเรากับเขา เป็นผลประโยชน์ที่เราต้องตกลงร่วมกัน ไม่ใช่เขา ไม่ใช่เรา แต่เป็นองค์กร ต้องหา Mutual Benefit ให้เจอ

แต่ประเด็นที่พบส่วนใหญ่ มีความกลัว ความวิตกกังวล มีทั้งฝั่งเขาและฝั่งเรา แล้วเราจะจัดการตรงนี้อย่างไร ต้องเข้าใจสิ่งที่เขาต้องการ อะไรคือ Motive สิ่งที่เขาต้องการที่สุด กลัวที่สุด แคร์ที่สุด เพราะบางทีการให้เขา เขาอาจไม่ต้องการก็ได้

ทำอย่างไรให้คู่เจรจานั่งอยู่ฝั่งเดียวกับเรา ไม่ใช่การเอาชนะ รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา เอาใจเขามาใส่ใจเรา สร้างความเชื่อถือไว้วางใจ สิ่งสำคัญ คือ ความจริงใจที่จะแก้ปัญหาร่วมกัน

ในการสร้างกระแส ต้องมีทั้ง Content และ Context ต้องสร้าง Content ให้ถูกจังหวะ กระแสจึงจะเกิด

อาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์

บุคลิกภาพของนักบริหาร ศิลปะการแต่งกายสไตล์นักบริหารยุคใหม่ เทคนิคการดูแลใบหน้าและแต่งหน้าให้ดูดีมีสไตล์ - การเลือกทรงผมกับบุคลิกคนทำงานรุ่นใหม่/ มาดและท่วงท่าอิริยาบถของคนทันสมัย มารยาททางธุรกิจ มารยาทสังคม และมารยาทในการรับประทานอาหารแบบต่าง ๆ

ภาพลักษณ์ภายนอกมีผลต่อการรับรู้โดยตรง การสร้างความประทับใจเกิดจากบุคลิกภาพและการแต่งกายที่เหมาะสม (55%) น้ำเสียง (33%) คำพูด12 %การปฏิบัติตนและการต่างกายที่เหมาะสม ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพความเป็นผู้บริหาร ทั้งนี้ในการปฏิบัติในสังคมยึดหลัก อาวุโส ตำแหน่ง ให้เกียรติ เพศ และ ความปลอดภัย

ผศ.กิตติ ชยางคกุล และ อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การเรียนรู้ถึงงานหรือโครงการที่จะต้องทำ 2 งาน คือ

1.งานกลุ่ม3 คน ที่สามารถเอาไปimplement ได้ในงานปกติ

2.งานกลุ่มใหญ่ทั้งรุ่นEADP13

หลักการคิดโครงการ ต้องรู้ตัวเอง รู้เป้าหมาย กำหนดแนวทางปฏิบัติ และวิเคราะห์ความเป็นไปได้Innovation มีการบูรณาการโครงการแบบสมบูรณ์แบบ ซึ่งได้มีการผสมผสานความคิดของทั้ง 6 กลุ่ม เข้าด้วยกันอย่างลงตัว ในพื้นที่ที่ กฟผ. มีอยู่ ซึ่งครอบคลุมและรองรับกับสิ่งที่ กฟผ. จะต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดขององค์กรในอนาคต และคาดว่าจะสามารถตอบสนองกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่

ชัยพร รัตนกุล EADP13 กลุ่ม 2

สรุป ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้ารับการอบรม EADP 13 วันที่ 13-14 มีนาคม 2560

1.ในองค์กร คนคือทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุด ดังนั้นจึงต้องหาวิธีการในการสร้างคนในองค์กรเพื่อเป็น ผู้นำ ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้องค์กรขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล บรรลุเป้าหมายและประสบความสำเร็จ โดยสามารถใช้ ทฤษฎี 3 วงกลม และ ทฤษฎี HRDS มาปรับใช้กับ กฟผ.ได้

2.ในเรื่องของ Social Trust กฟผ.มีความจำเป็นที่ต้องอยู่ร่วมกับสังคม ต้องให้สังคมเชื่อมั่น เชื่อใจและไว้วางใจ ไม่เคลือบแคลงและมีข้อสงสัยในการดำเนินงาน กฟผ.ต้องสร้าง Networks กับทุกชุมชนแม้ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเป้าหมายก็ตาม

3.ทฤษฎี 3 V กฟผ.จำเป็นต้องสร้างนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อให้องค์กรก้าวต่อไปอย่างไม่หยุดนิ่ง โดยเริ่มจากการมองที่ตนเองในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร มองไปที่อนาคตว่าต้องการเป็นอะไรและอยู่ตรงจุดไหนกำหนดเป้าหมาย จากนั้นจึงมากำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์และประสบความสำเร็จ

เสน่ห์ ตรีขันธ์ EADP13 กลุ่ม4

ในยุค 4.0 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก เราต้องปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า การทำงานเป็นทีม การหาพันธมิตร องค์กรจึงจะอยู่รอด

การเจรจาต่อรองเป็นแบบ win-win solution จึงจะสำเร็จการเจรจาจะเกิดขึ้นเมื่อสามารถเปิดหัวใจเขาให้ได้ก่อน เน้นผลประโยชน์ร่วมกัน การเจรจาต้องมีความอ่อนน้อม

ภาพลักษณ์ภายนอกมีผลต่อการรับรู้ การแต่งตัว มารยาทบนโต๊ะอาหาร การนั่งในสถานการณ์ต่างๆก็จำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อนำไปปรับใช้


ภักดี ปฏิทัศน์ EADP13 กลุ่ม 4

ช่วงที่1 13-14 มี.ค. 2560

วันที่ 13 มี.ค. 2560 ไม่ได้เข้าเรียน ติดภารกิจ

14 มี.ค.2560

บุคลิกภาพของนักบริหาร

  • การแต่งกายที่เหมาะสม
  • มารยาทบนโต๊ะอาหาร
  • มารยาททางสังคม

วิชานี้จำเป็นมากสำหรับผู้บริหารยุคใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้การทำงานประสบควานสำเร็จ และราบรื่นไร้อุปสรรคได้ เนื่องจากบุคคลเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กัน สิ่งแรกที่จะเห็นก็คือการแต่งกาย บุคลิกท่าทาง อากับกริยา ซึ่งถ้าไม่เป็นที่ประทับใจแล้ว ก็อาจจะทำการมีปฏิสัมพันธ์ในครั้งนั้นๆประสบความสำเร็จได้ยาก เช่นคำที่ว่า "ไม่ถูกชะตา" หรือ "Love At First Sight"บุคลิกภาพจะช่วยแก้ความรู้สึกเหล่านี้ได้

  • วิชานี้ควรเรียน บนพื้นฐานการปฏิบัติจริง ทุกคนควรได้ปฏิบัติจริง จะทำให้ได้ผลดีมากกว่าการเรียนโดย Power Point เนื่องจากสถานที่และเวลาไม่อำนวย
กรรณิการ์ อนุสิฏฐกุล

ช่วงที่ 1 : วันที่ 13-14 มีนาคม 2560

วิชาที่ 1 : แนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้ : วันที่ 13 มีค.2560

กฟผ.กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง 3แนวคือ เร็ว ความไม่แน่นอน และไม่สามารถคาดเดาได้

มีหลายทฤษฎีที่จะนำมาปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม

2R’s คือ Reality : ความจริง และ Relevance ตรงประเด็น

3L’s คือLearning from pain เรียนรู้จากความเจ็บปวด ,Learning from listening เรียนรู้จากการรับฟัง , Learning from experiences เรียนรู้จากประสบการณ์

4L’s คือ Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี, Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้,

Learning Opportunities สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้- การปะทะกันทางปัญญา, Learning Communities สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้- ไม่หยุดการเรียนรู้

C – U – V คือ Copy ,Understanding ,Value Creation/Value added

3 V’sคือ Value Added สร้างมูลค่าเพิ่ม , Value Creation สร้างคุณค่าใหม่ , Value Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

C & E Theory คือ Connecting , Engaging

วิชาที่ 2 : EGAT 4.0 กับการพัฒนาภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ วันที่ 13 มีค.2560

เรามาพิจารณาดูว่า กฟผ. มี Trust ด้านใดบ้างใน 4 ประเภท คือ Self Trust , Relationship Trust ,

Organization Trust , Social Trust กฟผ. เราอ่อนด้านใด ก็ควรเพิ่มและสร้างให้แข็งแกร่งขึ้น

การพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อไปสู่ EGAT 4.0 กฟผ. ต้องเน้นคนเป็นศูนย์กลาง และสร้าง Trust ในทุกๆด้าน

ผู้นำและผู้จัดการแตกต่างกันอย่างไร?

ผู้นำ : เน้นที่คน, Change, Trust , ระยะยาว , What , Why , มองอนาคต ขอบฟ้า/ภาพลักษณ์ , เน้นนวัตกรรม

ผู้บริหารหรือผู้จัดการ : เน้นระบบ , ควบคุม , ระยะสั้น When , How , กำไร/ขาดทุน ทุก 3 เดือน ,จัดการให้สำเร็จ มีประสิทธิภาพ , Static

กฟผ. เรามีผู้บริหารมากอยู่แล้ว ทำอย่างไรจึงจะสร้างผู้นำขึ้นมาเพื่อนำองค์กรไปสู่ EGAT 4.0

ข้อสรุปจากการทำworkshop ทั้ง 6 กลุ่ม กฟผ. ต้องการผู้นำที่มีลักษณะ คนดี , คนเก่ง , กล้าหาญ

ในส่วนขององค์กร จะต้องสร้างinnovation มีเครือข่ายพันธมิตร มีโครงสร้างองค์กรที่ยือหยุ่น

วิชาที่ 3 การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และจิตวิทยามวลชน วันที่ 13 มีค.2560

Joint Problem solving ใช้เทคนิคดังนี้

  • Soft on people , Hard on the problem เวลามีปัญหาอย่าทำให้เขารู้สึกว่าไร้เกียรติ ให้แยกเรื่องคนกับปัญหาออกจากกัน การเจรจาจะเกิดขึ้นได้ต้องเปิดหัวใจเขาให้ได้ก่อน
  • Interests not Positions ผลประโยชน์ร่วมกัน ไม่ใช่ตำแหน่งเรา-เขา
  • Each side’s interest ( concerns, needs, fears, desires)
  • Cutting out posturing ตัดมาดออก ตัดความเป็นกฟผ.
  • Better Working Relationship ดีขึ้นทุกครั้งที่มีการเจรจา แม้จะยังไม่สำเร็จ
  • Better further Outcome

กำแพง 5 ข้อ ของการบริหารความขัดแย้ง และการเจรจาต่อรอง ( Five Barrier to Cooperation) และกลยุทธ์ที่ควรใช้

  1. Your Reaction ปฏิกิริยา ของคู่เจรจา ใช้กลยุทธ Go to the Balcony
  2. Their Emotion ส่วนใหญ่การเจรจามาด้วยอารมณ์ ต้องมองให้เห็นอารมณ์ของเขา ใช้กลยุทธ์ Step to their Sides ต้องพยามยามเข้าใจความรู้สึกของเขา
  3. Their Position การเจรจากับคู่เจรจาที่ตำแหน่งสูง ยิ่งยาก ใช้ กลยุทธ์ Reframe ตีกรอบของปัญหา
  4. Their Power ถ้าอีกฝ่ายเห็นว่าการเจรจาที win – lose เขาจะต้อง win ใช้กลยุทธ Use Power to Educate ให้เขาเข้าใจถึงต้นทุนความเสียหาย หากไม่สามารถตกลงร่วมกันได้
  5. Their Dissatisfaction คู่เจรจาไม่เห็นผลประโยชน์ การเสียหน้า เสียเกียรติ ถ้าต้องยอมรับข้อตกลง ต้องใช้กลยุทธ Build Them a Golden Bridge เมื่อคู่เจรจาปิดประตูการเจรจา ให้ดึงเขาเข้ามาในเรื่องของขบวนการ ให้เขารู้สึกได้ว่าเขามีส่วนร่วม เช่น ตั้งเป็นคณะทำงานร่วมกัน ให้เขารู้สึกว่าเขาเป็นผู้ชนะ

วิชานี้มีประโยชน์มาก เพราะ การทำงานจะมีเรื่องให้เกิดการเจรจาต่อรองในทุกระดับขั้นของการทำงาน

วิชาที่ 5 บุคลิกภาพของนักบริหาร วันที่ 14 มีค.60

การสร้างความประทับใจเมื่อแรกพบ เมื่อพบกันครั้งแรก คนจะมองที่บุคลิกภายนอกก่อน

Look 55%(ตามองเห็นบุคลิกภาพภายนอก) - Sound 33% (น้ำเสียง)- Word 12 % (คำพูด)

ในวิชานี้ อาจารย์สอนเรื่องการแต่งกาย ทั้งเรื่องโทนสีเสื้อผ้ากับสีผิว การแต่งกายให้เหมาะกับรูปร่าง รวมทั้งบุคลิกภาพด้านการยืน การไหว้ การนั่ง การนั่งในรถตามลำดับอาวุโส การเดิน การแนะนำตัว การแนะนำให้คนรู้จักกัน มารยาทและการใช้อุปกรณ์บนโต๊ะอาหาร ซึ่งเป็นประโยชน์มากในชีวิตประจำวัน

วิชาที่ 6 3 V’s Innovation Project Designing and presentation วันที่ 14 มีค.2560

Project Methodology การนำเสนอโครงการ

มองตัวเอง Where are we

มองอนาคต Where do we want to go

มองแนวทาง How to do it

มองผลสำเร็จ How to do it successfully

การคิดโครงการ Project + Innovation + EGAT

Project Innovation EGAT

-เกิด Impact กับองค์กร - ทำสิ่งเดิมด้วยวิธีใหม่ๆ -สอดคล้องกับ Vision

-Executable ทำได้ - ทำงาน routine ให้เป็นนวัตกรรม3V’s - 2R’S (Reality,Relavants)

-Measurable วัดผลได้ Value Added

Value Creation

Value Diversity

นายไวฑูรย์ เกียรติเฉลิมคุณ

สรุปประเด็นจาการเรียนรู้ช่วงที่ 1 (13-14 มี.ค.60)

นายไวฑูรย์ เกียรติเฉลิมคุณ กลุ่ม 2

-ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เนื่องจาก กฟผ. กำลังเผชิญกับเผชิญกับปัญหาการต่อต้านจากผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เก่าหรือใหม่ เช่นล่าสุดโครงการโรงไฟฟ้ากระบี่ซึ่งใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน ก็ทุกให้เลื่อนโครงการเพื่อทำ EHIA ใหม่ ทั้งที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับ กฟผ.ในเรื่องการผลิตตามสัดส่วนที่ควรจะเป็น กฟผ.ต้องกับมาดูใหม่อะไรคือปัญหาที่แท้จริง ตามที่ อ.จิระสอนคือ 2 R’s Reality กับ Relevance และการ เปลี่ยนแปลงที่ที่ต้องนำมาพิจารณาคือเร็ว ,ไม่มีความแน่นอน, ไม่สามารถคาดเดาได้ (Unpredictability) ซึ่ง กฟผ.กลับมามองตัวเองมากขึ้น การทำงานยังเป็น Silo ต้องคนต่างทำ ต่างคนต่างคิดจำเป็นที่ต้องบูรณาการความคิด และทำงานร่วมกันให้ได้ ค้นหาตัวเองให้เจอว่า กฟผ.คือใคร คนรู้จัก กฟผ.อย่างไร มากน้อยแค่ใหน เห็น กฟผ.ในมุมมองของคนข้างนอกเป็นอย่าง คงต้องมี Connection กับผู้เกี่ยวข้องมากขึ้น อีกทั้งเทคโนโลยี่ และนวัตกรรมเปลี่ยนแปลงเร็วมากต้องตามให้ทัน อะไรที่จะมาImpact ต่อกฟผ.ในอนาคต ต้องคิดให้ออกและตามให้ทัน โดยการนำทฤษฎีของ อ.จีระ มาใช้ในการวางแผนในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน คือสิ่งที่ทำ 3 อย่างคือ1. ปลูก – พัฒนา2. เก็บเกี่ยว 3. Overcome difficulty แก้ไขและเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น และยังใช้ 4L’s ในการเรียนรู้, 2I’s สร้างจุดประกายและแรงบันดาลใจ, 3 V’s การสร้างมูลค่า พร้อมทั้งแนวคิดจากกิจกรรมกลุ่มที่เห็นแนวคิดของกลุ่มต่างตามโจทย์ที่ได้ สามารถนำมาประยุกต์ในการบริหารงานได้อย่างดี

-EGAT 4.0 กับการพัฒนาภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่

การที่จะก้าวไปสู่ 4.0 นั้นจะต้องบริหารจัดการในเรื่องของบุคลากรในองค์กร เพื่อให้เกิดแนวคิดที่ ที่คิดไปแนวทางเดียวกันก่อน ตามทฤษฎี 8K’s ทฤษฎีทุน 8 ประการพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, 5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์,

-เรื่องการบริหารความขัดแย้ง โดย ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ได้รับความรู้เรื่องวิธีการจัดการการบริหารความขัดแย้ง ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่การทำงานหรือเจรจายอมเกิดความคิดที่แตกต่างกันได้ แต่บางครั้งถ้าต่างเจรจาด้วยเหตุด้วยผลก็อาจจะเป็นการเจรจาที่จบไปได้ด้วยดี แต่บางกรณีมีความคิดต่างและไม่ยอมรับซึ่งกันและกันก็จะนำไปสู่ความขัดแย้ง จากความรู้ที่ได้ทำให้ทราบในกรณีมีความขัดแย้ง สิ่งที่ต้องการคือเวลามีคู่เจรจา สิ่งที่เราต้องการคืออะไร ต้องคุยเพื่อให้ได้ผลลัพธ์คือการยอมรับ Yes นโยบายด้านการทูตคือศิลปะในการดึงให้คนมาเห็นคล้อยกับเราสิ่งที่ควรทำใน การเจรจาต่อรองไม่ใช่หมายถึงการล้อมโต๊ะหรือนั่งตรงข้าม แต่ความจริงหมายถึงวิธีการทั้งหมดที่ไม่ต้องนั่งโต๊ะเจรจาแต่จะต้อง Win – Win ทั้ง 2 ฝ่าย

-หัวข้อบุคลิกภาพของนักบริหาร ได้เรียนรู้วิธีการแต่งกายที่เหมาะสมกับตัวเอง เรื่องของ Body Language ใช้อย่างไรให้ดูดี เกิดความประทับใจเมื่อฝ่ายตรงข้ามพบ การเดินการนั่ง อย่าง Smart การรับประทานอาหาร และเทคนิคอื่นที่สามารถนำไปปรับใช้กับตนเองได้

-Innovation Project Designing and Presentation (การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานส่วนบุคคลและวิธีการนำเสนอ) ผศ.กิตติ ชยางคกุล

แบ่งเป็น 2 โครงการฯ

1. โครงการใหญ่สำหรับรุ่น 1 โครงการ

- มุ่งที่การพัฒนา

2. โครงการจับกลุ่ม 3 คน

- โจทย์คือสามารถนำไปใช้ได้ในการทำงานปกติและต้องคำนึงถึงว่า

1. โปรเจคใหญ่ ผู้บริหารซื้อหรือไม่

2. โปรเจคเล็ก นำไปใช้ได้จริงหรือไม่

นายพนม บวรวงศ์เสถียร EADP 2017 กลุ่ม5

ประเด็นสำคัญสิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้ในการทำงาน

ช่วงที่1. วันที่ 13-14 มีนาคม 2560

ได้เรียนรู้ประเด็นสำคัญความคาดหวังต่อหลักสูตร EADP 2017 ว่าเป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะเตรียมความพร้อมของผู้บริหารระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย ในรุ่นที่ 13 ให้มีศักยภาพ เสริมสร้างภาวะผู้นำ รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงที่จะมีผลกระทบกับองค์กร การเรียนรู้ร่วมกัน การสร้างคุณค่า เปิดรับมุมองใหม่ๆ ร่วมคิด ร่วมค้นหา พูดคุย แลกเปลี่ยน ซึ่งจะช่วยสร้างความสัมพันธ์การทำงาน ลดความเป็น SILO ประสานร่วมมือกันในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ เตรียมความพร้อมเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลงให้ทัน มิฉะนั้น EGAT เราจะเป็นองค์กรที่ถูกลืม แบบ กบต้ม กว่าจะรู้สึกตัวก็สายเสียแล้ว

ที่สำคัญสิ่งที่ผู้นำต้องมี คือการมีVISION มองอนาคตให้ออก สร้างแรงบันดาลใจ มีคุณธรรมจริยธรรม มีการตัดสินใจที่เฉียบแหลมเปลี่ยนแปลงให้ทันต่อเหตุการณ์ มีการสื่อสารที่ดี มีศิลปะในการเจรจาต่อรองโน้มน้าวจูงใจ สร้างพันธมิตรเครือข่ายให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มเป็นพันธมิตรกับ NGO’s ให้มากขึ้น

ทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้ ประมวลความคิดแบบ 2R’s เรียนรู้แบบ 4L’s นำแบบ 2I’s และ3V’s

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำ workshop มีการร่วมเสนอประเด็นแลกเปลี่ยนอย่างอิสระ ทุกความเห็นและได้ข้อสรุปร่วมกัน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์กับการทำงานจริง ผู้นำต้องสร้าง Life Long Learning และผู้นำจะทำคนเดียวไม่ได้ต้องทำร่วมกัน มีการแบ่งปันกัน ต้องเพิ่มการเป็น Entrepreneurial skill

เรื่องการบริหารความขัดแย้ง ได้เรียนรู้จาก ดร.ดนัย ว่าความขัดแย้งถือเป็นเรื่องปกติของการทำงานหรือการเจรจาต่างๆย่อมเกิดความคิดที่แตกต่างกันได้ ถ้าเจรจาด้วยเหตุด้วยผลที่ยอมรับซึ่งกันและกันก็จะนำไปสู่ความสำเร็จด้วยดี ในกรณีที่มีความขัดแย้ง ต้องรู้ว่าสิ่งที่คู่เจรจาต้องการและสิ่งที่เราต้องการคืออะไร ควรหลีกเลี่ยง ZERO SUM game ต้องคุยเพื่อให้ได้ผลลัพธ์คือการยอมรับ Yes ที่ดีที่สุดคือ WIN-WIN ทั้งสองฝ่าย

การสร้างบุคลิกภาพผู้บริหาร เริ่มเรียนก็รู้ว่าเป็นอะไรที่เราไม่เคยทำหรือให้ความสนใจกับเรื่องนี้มาก่อนเลย เช่นเรื่องการแต่งกาย การนั่ง การเดิน เรามักจะมองแค่ตัวเองว่าเอาแบบสบายๆเรียบๆง่ายๆแต่หลังเรียนแล้วได้รู้ว่า เราต้องอยู่ในสังคม การเป็นผู้บริหารต้องพบปะผู้คน ยิ่งตำแหน่งสูงก็ต้องยิ่งมีความนอบน้อมถ่อมตนมากขึ้น จึงต้องทราบมารยาททางสังคม และแบบวิธีทางการสากลให้ถูกต้องเพื่อสร้างบุคลิกภาพ ความน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นส่วนเสริมการทำงานของเรา

นายธานี โพธิ์เอี้ยง ช.อผม-บ. กลุ่มที่5

ช่วงที่1 ของหลักสูตร

ในช่วงนี้ได้รับความรู้ทฤษฎีการบริหารงานบุคคลและ การปรับปรุงตนเอง ทั้งในด้านวิธีคิดและการปฏิบัติ ซึ่งเริ่มจากตนเอง ขยายออกไประดับทีมงาน ระดับ องค์กร และระดับประเทศ ซึ่งท่านอาจารย์ทุกท่านได่พยายามกระตุ้นให้ ผู้เข้าอบรมให้นำเอาศักยภาพภายในของแต่ละคนออกมา เพื่อการเป็นผู้นำ/ผู้บริหาร ที่ครบเครื่อง

EGAT 4.0 กับการพัฒนาภาวะผู้นาและการสร้างผู้นาแห่งทศวรรษใหม่ โดย.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ สิ่งที่ผู้นำในอนาคตต้องมี 6 อย่าง1. Crisis

Management2. Motivation ให้คนอื่นมีความสามารถ

3. เป็นคนดี คนเก่ง 4. มีทักษะในการสื่อสาร 5. Trust (สร้าง

Social Trust)6. Professionalism มีความเป็นมืออาชีพให้คน

ยอมรับ

-หลัก 2Rs 1.Reality (มองความจริง) 2. Relevance ( ตรงประเด็น)

-มุมมองของคน Egat ของอาจารย์ จิระ รู้ลึก ไม่กว้างผู้บริหารจะ

ต้องรู้กว้าง

Thailand 4.0 -> Energy 4.0 -> Egat 4.0

Egat 4.0 ต้องทำอะไรบ้าง เช่น New Business , Networking,

Egat Human capital 4.0

สามารถนำไปพัฒนาตัวเองหากมีโอกาส เปลี่ยนจากผู้บริหารเป็นผู้นำ พัฒนาทำให้ตัวเองเป็นคนรู้กว้าง

ประสบการณ์ของข้าพเจ้าในการบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และจิตวิทยามวลชน

โดย คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

สิ่งที่ได้เรียนรู้ คู่เจรจาต้องนั่งติดกันไม่นั่งตรงข้ามกัน ถ้าโกรธระงับ

อารมณ์ไม่ไหวให้เดินออกมาสงบสติ ก่อนเข้าไปเจรจาใหม่ การเจรจา

ให้ win-win ทั้งสองฝ่าย

สามารถนำไปใช้กับการทำงาน เจรจาข้อขัดแย้งต่างที่เกิดขึ้นกับ เพื่อนร่วมงาน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คู่ค้า หรือพันธมิตร

บุคลิกภาพของนักบริหาร โดย อาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ การแต่งกายให้ดูดีเช่นการเลือกสี ความยาวของขนาดเสื้อ

กางเกง แว่นตาที่รับกับใบหน้า การเลือกรองเท้า เข็มขัดการไหว้ให้ถูกต้อง-มารยาทบนโต๊ะอาหาร-การขึ้นรถไปกับเจ้านาย

สามารถนำไปใช้กับการทำงานการแต่งกายให้เหมาะสมดูเท่ห์สม

กับเป็นผู้บริหาร การรับประทานอาหารกับแขกสำคัญการปฏิบัติ

เมื่อขึ้นรถไปกับเจ้านาย


การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกำลังเผชิญกับแนวการเปลี่ยนแปลงใน 3 แนว

1. เร็ว

2. ไม่มีความแน่นอน การทำอะไรขอให้รัฐบาลช่วยด้วย

3. ไม่สามารถคาดเดาได้ (Unpredictability

สิ่งที่ กฟผ.ควรทำ

1.รู้จักจุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง ปิดจุดอ่อนและนำจุดแข็งมาใช้

2.ควรทำลายกำแพง silo และทำงานเป็นทีมข้ามสายงานเพื่อให้เกิดความหลากหลายทางความคิด

3.สร้างพันธมิตร เปลี่ยนผู้ไม่เห็นด้วยและศัตรูให้กลายเป็นมิตร

4.ใช้ social media ให้เกิดประโยชน์ในการสื่อสารเชิงบวกทั้งภายในและภายนอกองค์กร ทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าใจ กฟผ.ว่าเป็นหน่วยงานของรัฐและทำเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติประชาชน ไม่มีแนวคิดที่จะเอาเปรียบประเทศชาติและประชาชน

วิชาที่ 2

Learning Forum & Workshop

หัวข้อ EGAT 4.0 กับการพัฒนาภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่

EGAT 4.0 เป็นเรื่องที่ กฟผ.จะต้องเข้มแข็งที่จะต้องเปลี่ยนตัวเองจนแทบจะจำภาพเดิมของตัวเองไม่ได้ทั้งโครงร่างองค์กรและจิตวิญญาณเดิมที่เคยเป็นอยู่

ผู้บริหารจะต้องเปลี่ยนตัวเองใหม่หมด ต้องมีคุณลักษณะพึงประสงค์สำหรับรองรับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ๋ไปสู่การเป็น EGAT 4.0 และยังมีภาระต้องเปลี่ยนแปลงโครงร่างองค์กรขนานใหญ่ซึ่งจะต้องมี

ผลกระทบต่อตัวพนักงานอย่างแน่นอนซึ่งหมายถึงจะต้องเจอแรงต้านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ซึ่งนับเป็นภาระหนักของผู้บริหารกฟผ.นอกจากนี้ยังต้องสร้างเครือข่ายเพื่อหารแนวร่วมในการที่จะดำเนินการกิจการพลังงานไฟฟ้าโดยไม่มีแรงต้านจาก

หลายๆฝ่ายเช่น สื่อมวลชน เอ็นจีโอ ชาวบ้านบริเวณรอบโรงไฟฟ้า และประชาชนผู้ร้บรู้ข่าวสารผ่านทางโซเชียลมีเดีย…นอกจากนี้ยังต้องสร้างนวตกรรมใหม่ๆ วิธีการผลิตพลังงานไฟฟ้าแบบใหม่ที่ไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว…เรื่องเหล่านี้นับเป็นความท้าทายของ

ผู้นำกฟผ.อย่างแท้จริง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท