การพัฒนาระบบเศรษฐกิจพอเพียงระดับชุมชน บ้านนาฝาย (๒)


เนื่องจากมีผู้นำที่เข้มแข็ง กล้าตัดสินใจ กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้องให้กับชุมชน โดยเน้นการพัฒนาระบบการประกอบอาชีพ ที่สามารถลดช่องว่าง รูรั่วทางเศรษฐกิจของชุมชน โดยเฉพาะด้านอาหาร อันได้แก่ ข้าว ปลา ผัก และอาหารพื้นบ้านอื่นๆ จนสามารถพึ่งพาตนเองด้านการผลิตอาหาร จำนวนทั้งหมด 103 ครัวเรือน ที่แทบไม่ต้องซื้ออาหารจากภายนอกเลย

เป็นที่น่ามหัศจรรย์ของสังคมไทย ที่หมู่บ้านนาฝาย ต.หัวเรือ อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม ได้มีการพัฒนาระบบเศรษฐกิจพอเพียงในระดับชุมชนอย่างเต็มรูปแบบ โดยเริ่มต้นจากการสร้างความสามัคคีในชุมชน ทำงานอย่างเชื่อมโยงกันเป็นขั้นตอน เนื่องจากมีผู้นำที่เข้มแข็ง กล้าตัดสินใจ กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้องให้กับชุมชน โดยเน้นการพัฒนาระบบการประกอบอาชีพ ที่สามารถลดช่องว่าง รูรั่วทางเศรษฐกิจของชุมชน โดยเฉพาะด้านอาหาร อันได้แก่ ข้าว ปลา ผัก และอาหารพื้นบ้านอื่นๆ จนสามารถพึ่งพาตนเองด้านการผลิตอาหาร จำนวนทั้งหมด 103 ครัวเรือน ที่แทบไม่ต้องซื้ออาหารจากภายนอกเลย ...

        นอกจากนี้ ในระบบการผลิตอาหาร ก็ยังใช้ปัจจัยการผลิตที่พึ่งตนเองทั้งหมด มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นหลัก ไม่มีการใช้สารพิษ ยาปราบศัตรูพืช แต่ใช้สารขับไล่แมลงเป็นหลักในการปฏิบัติ ทำให้ไม่มีสารพิษในชุมชน อีกทั้งยังทำให้อาหารที่ผลิตขึ้นมีคุณภาพดีและปลอดภัย สมบูรณ์แบบ ตามหลักการผลิตอาหารอินทรีย์ ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์นั้น เกษตรกรเลี้ยงวัวควายกันทุกครัวเรือน โดยเฉลี่ย ครัวเรือนละ 3-4 ตัว มีการเลี้ยงปลา เพื่อการบริโภคและขาย ทั้งในบ่อซีเมนต์ บ่อในไร่นา บ่อสาธารณะของชุมชน โดยใช้อาหารสัตว์ที่ผลิตขึ้นจากวัสดุในชุมชน  น้ำทิ้งจากการเลี้ยงปลาก็นำไปรดผักที่ปลูกในแปลงผักสวนครัว และปลูกในกระถางล้อรถยนต์ที่วางเรียงรายไว้ในหมู่บ้าน พืชผักเหล่านี้ จะมีการปลูกทยอยกันไปตลอดปีเพื่อการบริโภคของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับครัวเรือนอื่นๆ  ในการปลูกพืชผักสวนครัว รั้วกินได้ ทำให้มีอาหารธรรมชาติสมบูรณ์ สำหรับกิจกรรมที่เป็นงานของกลุ่มในชุมชน ก็มีการเลี้ยงหมูหลุมชีวภาพ ทำปุ๋ยอินทรีย์จำหน่าย กลุ่มสตรีทอผ้า และโรงสีชุมชน ซึ่งทำให้มีการแปรรูป และทำหัตถกรรม ไปพร้อมๆกันแหล่งเงินรายได้ที่สำคัญของชุมชน นอกจากการขายผลผลิต ก็ยังมีจากหัตถกรรมและการขายปศุสัตว์ ทำให้มีรายได้เป็นตัวเงิน ใช้จ่ายในกรณีจำเป็น เช่น ค่าใช้จ่ายในด้านการศึกษาและการเจ็บป่วย ซึ่งทำให้ครอบครัวในชุมชน ไม่มีใครมีหนี้สินที่เป็นเงินก้อนใหญ่ จนไม่สามารถจัดการได้ เงินกู้ที่ยังมีอยู่ในชุมชน ได้แก่ กองทุนหมู่บ้านและเงินกู้ ธกส. บางส่วน เพื่อการลงทุน แต่ก็เป็นวงเงินที่ไม่มากนัก และสามารถใช้คืนได้หมดในกรณีจำเป็น จึงถือได้ว่าชุมชนนี้มีระดับเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งด้านอาหาร และเงินใช้จ่ายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน อันเกิดมาจากความเข็มแข็งของชุมชนเป็นหลัก มีความสามัคคี ลด ละ เลิก อบายมุข ไม่มีการดื่มสุราในงานพิธีกรรมต่างๆ มีการสอนเด็กให้รู้จักการประกอบอาชีพ เช่น ให้เด็กช่วยทำงานบ้าน ให้อาหารปลาในบ่อ หรือทำงานหัตถกรรมก่อนและหลังไปโรงเรียน จึงทำให้เด็กมีความรับผิดชอบและมีความรักในอาชีพเกษตรกรรม

จากระบบการจัดการทรัพยากรดังกล่าวข้างต้น ทำให้มีการพัฒนาระบบทรัพยากรดินและน้ำเพื่อความยั่งยืน และมีระดับเศรษฐกิจแบบพอเพียงที่น่าเอาเยื่องอย่าง หมู่บ้านนี้ได้รับรางวัลหมู่บ้านดีเด่นของกระทรวงมหาดไทย ประจำปี พ.ศ. 2549 ซึ่งถือว่าเป็นการประสานงานร่วมกัน ทั้งบ้าน วัด โรงเรียน มีความเชื่อมโยงการบริหารจัดการของกลุ่มกิจกรรมต่างๆ แบบประสานงานร่วมกับหน่วยงานราชการต่างๆ และองค์การบริหารส่วนตำบล อย่างบูรณาการ จนทำให้มีศูนย์การเรียนรู้ที่เข็มแข็ง และเป็นแหล่งเรียนรู้ ดูงาน ของหมู่บ้านในเขตจังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดใกล้เคียง ผู้สนใจสามารถติดต่อและเยี่ยมชมได้ที่บ้านนาฝาย อยู่ใกล้กับถนนทางหลวงหมายเลข 2045  พยัคภูมิพิสัย - วาปีปทุม หมู่บ้านนี้อยู่ห่างจากถนนใหญ่เพียงประมาณ 500 เมตร มีถนนถึง เดินทางสะดวก สามารถใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้เป็นอย่างดี

หมายเลขบันทึก: 62344เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2006 13:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณมากครับอาจารย์ที่ได้นำเรื่องเล่าดีๆ มาสู่ฟังครับ ซึ่งผมมีความสนใจมากที่จะเรียนรู้มากเลย ถ้าหากมีโอกาสจะได้ขอขอมูลอาจารย์อีกครั้งครับ

อย่างไรก็ตามในการพัฒนานั้น ผมมองว่าหากผู้นำชุมชนเอาจริง และมีหน่วยงานสนับสนุนผมเชื่อเหลือเกินว่าเกษตรกรเข้าร่วมแน่นอน เพราะเกษตรกรก็ต้องการหาแนวทางในการปรับปรุง การพัฒนาอาชีพตนเองเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพเช่นกัน

ขอบคุณครับ

อุทัย

ขอบคุณมากๆๆๆๆๆๆๆคร้ฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท