​ตัวชี้วัดแบบง่ายๆ ของ "ทางสายกลาง" คือ "ไม่พัก+ไม่เพียร" ...


ตัวชี้วัดแบบง่ายๆ ของ "ทางสายกลาง" คือ "ไม่พัก+ไม่เพียร" ...

****************
ทั้งนี้ เพราะ วิริยะ หรือ การ "ไม่พัก" เป็นหลักแห่งความสำเร็จในทุกเรื่อง
...............................
แต่ถ้า "ไม่พัก" ตลอดเวลา หรือ "เพียร" มากเกินไป ก็อาจจะเกินกำลัง เกินจากหลัก "ธรรมะ" (ความเป็นจริง) และนำไปสู่การ "ติดข้อง" กับ "ความเป็นตัวตน" ที่เป็นที่มาของ "ความทุกข์" ก็ได้
.........................................
ดังนั้น ทางสายกลาง ก็คือ การกลับมาพิจารณาทุกสิ่งที่กำลังทำ อย่างตั้งใจ อย่างจริงจัง ไปตามความเป็นจริง ในปัจจุบัน (ไม่ต้องกังวลกับอดีต หรือ อนาคต ให้เสียพลังงาน พลังความคิด ไปโดยเปล่าประโยชน์)
...........................
โดยการที่จะต้องหมั่น หันกลับมา พิจารณาปรับระดับการ "ปฏิบัติ" ให้อยู่ในระดับที่พอเป็นไปได้ จริงๆ ก็คือ "การไม่เพียร" จนเกินกำลัง

ทำทุกอย่าง อย่างเต็มที่ อย่างพอดีๆ กับสิ่งที่เป็นอยู่จริงๆ ในปัจจุบัน แบบ "ทางสายกลาง" นั่นเอง

.......................................
ซึ่งเป็นที่มาของทางสายกลางของแต่ละคน ไม่เท่ากัน และ ไม่เหมือนกัน
.........................
เมื่อทำได้ดั่งนี้แล้ว นอกจาก จะทำให้เราก็จะเข้าใจตัวเองดียิ่งขึ้นแล้ว
ก็จะทำให้เราเข้าใจคนอื่นๆ ทั้งระดับปัจเจก และระดับสังคม ได้ดียิ่งขึ้น
++++++++++++++++++++++

คำสำคัญ (Tags): #ทางสายกลาง
หมายเลขบันทึก: 620949เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2017 12:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2017 07:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท