ทำไม? พุทธศาสนาจึงเหือดแห้งไปจากอินเดีย


ช่วงนี้ สื่อกำลังเล่นกับ พรบ.คณะสงฆ์ไทยอย่างสนุกสนาน เมื่อพิจารณาความสนใจของผู้คนในสังคมออนไลน์ เราอาจพิจารณาเห็นถึงผู้รับสื่อในหลายลักษณะ คือ (๑) กลุ่มหนึ่งจำนวนมากกำลังรุ่มร้อนอยู่กับความสนุกสนานของสื่อ (๒) กลุ่มหนึ่งจำนวนมากกำลังเศร้าสลดใจ ความเศร้าสลดใจมีอยู่ ๒ ลักษณะ (๒.๑) เศร้าสลดใจที่รับรู้เหตุการณ์ตาแดง (เหตุการณ์การปะทะกันทั้งความคิดและวาทะ) ที่เกิดขึ้นในแวดวงที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ (๒.๒) เศร้าสลดใจเพราะผลกระทบจากเหตุการณ์ โดยที่ตนก็ไม่เคยจะคิดร้ายหรือเบียดเบียนใคร (๓) กลุ่มหนึ่งที่กำลังใช้ความรู้สะสมเพื่อวิเคราะห์เหตุการณ์ ก่อนที่จะตัดสินว่า ทำไมตนจึงเลือกที่จะเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอย่างนั้น (๔) กลุ่มหนึ่งไม่รู้จะทำอะไร ฐานความรู้และประสบการณ์ไม่มี จึงได้แต่เฝ้ามองและติดตาม แต่ด้วยความที่เปราะบางจึงมักเอนเอียงไปตามกระแส อย่างไรก็ตาม มีอีกกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มที่ไม่เคยใยดีต่อข่าวคราวจากสื่อต่างๆ กลุ่มนี้อาจจะกำลังปฏิบัติธรรมอยุ่ในป่า บ้านที่แสนสงบ งานที่รัดตัว ฯลฯ ขออนุญาตนำบางข้อความมาเป็นตัวอย่างจากข้อสังเกตข้างต้น เช่น "พระพวกนี้มันไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก มันหวังแต่เงิน...เมื่อได้สมณศักดิ์ทำเป็นหยิ่งจองหองฯลฯ" "พระรูปนี้ถือศีลครบและท่านทำเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ท่านทุ่มเทชีวิตเพื่อญาติโยม อบรมสอนเทศน์ให้ความรู้...เธอไม่ชอบ ทำไมไม่เปิดใจที่จะติดตามและลองใส่ใจดูวิธีปฏิบัติามกิจสงฆ์ของท่าน..." "ถ้าจะใส่บาตรพระแบบนี้ เอาข้าวไปให้หมาจรจัดกินดีกว่า..." "พระต้องปลง ไม่ยึดติดกับทุกสิ่ง..." ฯลฯ "สุขใจ ใส สว่าง สงบ เย็น เป็นบุญแท้ .... ขอให้ทุกท่านสั่งสมบุญด้วยการสวดมนต์ข้ามปีกันนะ" "สนช.ที่คิดจะแก้ไข พรบ.สงฆ์ รักษาศีลครบ ๕ ข้อไหม..." ฯลฯ ดูๆ แล้ววุ่นวายดีเหมือนกัน มาถึงตรงนี้มีความคิดบางอย่างคือ (๑) ความวุ่นวายเกิดขึ้นเพราะอะไร (๒) พรบ.เก่าใช่ไม่ได้หรืออย่างไร? (๓) พรบ.ใหม่ดีอย่างไร? (๔) ไม่มี พรบ.จะเป็นอย่างไร ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม? มีคำถามหนึ่งที่ผมอยากรู้ จากเหตุการณ์ทางศาสนาที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองคือคำถามว่า "ทำไม? พุทธศาสนาจึงเหือดแห้งไปจากอินเดีย เมื่อค้นไปที่ครูกู พบบทความนี้ ที่เผยแพร่ในเว็บของวิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล มีการนำเอาทัศนะของผู้รู้มาเรียบเรียง จากทัศนะดังกล่าว ทำให้เห็นว่า มีหลายเงื่อนไขที่ทำให้พุทธศาสนาเหือดแห้งไปจากอินเดีย มาถึงตรงนี้ทำให้คิดว่า ถ้าพุทธศาสนาจะหมดไปจากประเทศไทยก็ไม่น่าจะเป็นไร เพราะเดิมทีน่าจะไม่มีพุทธศาสนาอยู่ก่อนแล้ว เมื่อไม่อาจจะนำมาใช้ได้อย่างดีในบริบทพื้นที่ใด ก็ควรส่งคืนเจ้าของไป (สิ่งที่อยู่ตามธรรมชาติไม่มีใครเป็นเจ้าของ สมมติตามสังคมมนุษย์สิ่งดังกล่าวจะมีเจ้าของก็ต่อเมื่อมนุษย์คนนั้นจดลิขสิทธิ์)

ผมย้อนถามมาถึงตัวเอง พุทธศาสนามีประโยชน์อะไรกับสังคมบ้าง? ซึ่งพุทธศาสนาดังกล่าวได้รับการขับเคลื่อนจากคนในศาสนา ถ้าผมเห็นว่าพุทธศาสนามีประโยชน์ ผมจะมีท่าทีแบบใด หรือควรเดินไปอยู่ในกลุ่มใด แนวโน้มจากการตรวจสอบตัวเองในเวลานี้คือ "ปิดสื่อ" แล้วทำอะไรบางอย่างที่อยากทำในห้องเงียบๆคนเดียว เบื่อๆ ก็ขับรถไปน้ำตก อยากสนุกสนานก็ร้องคาราโอเกะวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ "โลกคือสังคมมนุษย์นั้นหนักมาก"

หมายเลขบันทึก: 620858เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2016 10:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 ธันวาคม 2016 10:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

-สวัสดีครับ

-ปีใหม่นี้ขอจงมีแต่ความสุขนะครับ

-ลาทีปีเก่า สวัสดีปีใหม่นะครับ

A good reminder for Buddhists.

We spend our lives working and building (worldly material) wealth (of course some of us have interest in higher-forms of wealth too). So we also add security measures to protect our wealth, to ensure we can receive 'full' benefits from our wealth. That is we must defend our wealth (material and otherwise) too.

[Above is just my way of retelling a Buddha's teaching.

Your ...ทำให้คิดว่า ถ้าพุทธศาสนาจะหมดไปจากประเทศไทยก็ไม่น่าจะเป็นไร เพราะเดิมทีน่าจะไม่มีพุทธศาสนาอยู่ก่อนแล้ว เมื่อไม่อาจจะนำมาใช้ได้อย่างดีในบริบทพื้นที่ใด ก็ควรส่งคืนเจ้าของไป (สิ่งที่อยู่ตามธรรมชาติไม่มีใครเป็นเจ้าของ สมมติตามสังคมมนุษย์สิ่งดังกล่าวจะมีเจ้าของก็ต่อเมื่อมนุษย์คนนั้นจดลิขสิทธิ์)

ผมย้อนถามมาถึงตัวเอง พุทธศาสนามีประโยชน์อะไรกับสังคมบ้าง? ซึ่งพุทธศาสนาดังกล่าวได้รับการขับเคลื่อนจากคนในศาสนา ถ้าผมเห็นว่าพุทธศาสนามีประโยชน์ ผมจะมีท่าทีแบบใด หรือควรเดินไปอยู่ในกลุ่มใด แนวโน้มจากการตรวจสอบตัวเองในเวลานี้คือ "ปิดสื่อ" แล้วทำอะไรบางอย่างที่อยากทำในห้องเงียบๆคนเดียว เบื่อๆ ก็ขับรถไปน้ำตก อยากสนุกสนานก็ร้องคาราโอเกะวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ "โลกคือสังคมมนุษย์นั้นหนักมาก"...

shows that we no longer treat wealth (of dhamma) as worth the bother anymore. What is Buddhadhamma if not a guide for living harmoniously in society? Is living well and happily not a wealth worth working for and defending? Is Buddhism not teaching and promoting 'freedom' from oppression (of all forms including dukkha) and development of 'self' by self (in comparison to 'by devine rules' as in other beliefs)?

I say it's time for stock-taking our wealth and strongly defence of what 'good' for us.

  • ขอบคุณครับท่าน sr
  • เป็นความคิดที่สะอาดครับ :-)

ถ้าแบก..ก็หนัก....ทุกข์ หนัก..น่ะเจ้าค่ะ

ศาสนาไม่มีวันเหือดแห้งไปจากใจคนไม่มักมาก แต่จะเหือดแห้งไปกับคนที่มักมาก เล่นพวก หลอกลวง ผมกลัวอย่างเดียวศาสนาอื่นเข้ามาเบียดที่เพราะพวกมักมาก เล่นพวก หลอกลวง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท