บัณฑิตผู้สมบูรณ์


สังคหธรรม

บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

เป็นคนละเอียดและมีไหวพริบ

มีความประพฤติเจียมตน

ไม่แข็งกระด้าง เช่นนั้น ย่อมได้ยศ

คนขยัน ไม่เกียจคร้าน

ย่อมไม่หวั่นไหวในอันตรายทั้งหลาย

คนมีความประพฤติไม่ขาดตอน

มีปัญญาเช่นนั้น ย่อมได้ยศ

คนชอบสงเคราะห์

ชอบสร้างไมตรี รู้เรื่องที่เขาบอก

ปราศจากความตระหนี่ เป็นผู้ชอบแนะนำ

ชี้แจงแสดงเหตุผล เช่นนั้น ย่อมได้ยศ

ทาน(การให้) เปยยวัชชะ(วาจาเป็นที่รัก)

อัตถจริยา(การประพฤติประโยชน์) ในโลกนี้

และสมานัตตตา(การวางตนสม่ำเสมอ)

ในธรรมนั้น ๆ ตามสมควร

สังคหธรรมเหล่านี้แลช่วยอุ้มชูโลก

เหมือนลิ่มสลักเพลาคุมรถที่แล่นไปไว้ได้ฉะนั้น

ถ้าไม่มีสังคหธรรมเหล่านี้

มารดาหรือบิดาก็ไม่พึงได้การนับถือ

หรือการบูชาเพราะบุตรเป็นเหตุ

แต่เพราะบัณฑิตเล็งเห็นความสำคัญของสังคหธรรมเหล่านี้

ฉะนั้น บัณฑิตเหล่านี้จึงถึงความเป็นใหญ่และเป็นผู้น่าสรรเสริญ”

............................................


พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑

หมายเลขบันทึก: 619850เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2016 13:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม 2019 04:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท