ยูยินดี
นาย นายธรรมศักดิ์ ช่วยวัฒนะ

สอนให้ผู้เรียนเกิดการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร


ผู้เรียนจำเป็นต้องอาศัยทักษะพื้นฐานที่สำคัญต่อกระบวนการคิด

   กระบวนการคิดเป็นสิ่งที่เกิดจากการประมวลผลในรูปแบบตรรกะ  ที่นักวิทยาศาสตร์มีสมมุติฐานว่า กระบวนการทางสมองมีปฏิกิริยาทางเคมีที่กระตุ้นด้วยกระบวนการทางไฟฟ้า (สัญญญาฯทางไฟฟ้า) ที่มักจะพบว่ามีสนามไฟฟ้าสลับสนามแม่เหล็กเกิดขึ้น จนทำให้วิวัฒนาการที่จะเชื่อมระบบประสาทของมุษย์กับอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ไปเร็วเกินความคาดการในอดีต เกือบ 20 ปี และเชื่อได้ว่า ในอนาคตอีกไม่เกิน 5 -10 ปี มนุษษย์ก็จะสร้างสมองอเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานดุจสมองมนุษย์ได้โดยเร็ว

  ถ้าทฤษฎีการเรียนรู้ของประเทศไทยยังใช้รูปแบบเดิม ๆ คงจะมีกระบวนการคิดแบบพึ่งพาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แบบผู้ใช้ (User )เท่านั้น เราก็จะพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างม่ได้  เมื่อความเชื่อเรื่องการเรียนรู้แบบโปรแกรมประยุกต์ กับความเชื่อการเรียนรู้แบบผู้สร้างโปรแกรมมันคนละมิติ  ประเทศไทยรุ่งเรืองมากและมีศักยภาพสูงในการสร้างผู้ใช้โปรปกรมประยุกต์ได้ย่างยอดเยี่ยม แต่ขาดแคลนนักเขียนโปรแกรมอย่างสินเชิง ซึ่งจะพบได้จาก โปแกรมต่าง ๆ หรือภาษาคอมพิวเตอร์เฉพาะ เราไม่มีให้ดาวน์โหลดเลย มีแต่โปรแกรมมัลติเมียประยุกต์ หรือ Modle ที่เราพัฒนาต่อเขาเท่านั้น Open source  ของไทยแท้ขาดการสนับสนุนอย่างสิ้นเชิง

  ปัญหานักคิดเนื่อจากความเชื่อเรื่องทฤษฎีการเรียนรู้หลัง พ.ศ. 2518 หรือ ประมาณ 30 ปีที่แล้ว นักเรียนที่เป็นผลผลิตของหลักสูตรดังกล่าว ได้แสดงให้เห็นว่าเขาเหล่านี้คือบุคคลที่อยู่ในช่วงวัยกำลังสร้างสรรค์ กลับไม่สามารถที่จะปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงได้แม้แต่น้อย ยังเป็นผู้ตามวัตถุ ที่เฝ้ารอคอยเขาเอาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาล่อ เพื่อให้เราเป็นผู้บริโภคปัญญาวัตถุนั้นอยู่อย่างไม่สิ้นสุด มิหนำซ้ำหลักสูตรที่เปลี่ยน ที่คิดว่าเป็นหลักสูตร พ.ศ. 2544 น่าจะสร้างเด็กให้ดีขึ้นกลับแย่มากกว่าหลักสูตรพ.ศ.  2533 เสียอีก

     เพราะเราหลงทางที่เชื่อว่ากระบวนการเรียนรู้สำคัญมากกว่ากระบวนการสร้างการเรียนรู้จึงทำให้คนเก่งแต่ขาดคุณธรรม ขาดกระบวนการคิดในเชิงแตกฉาน เด็กที่มีแววอัจฉริยะก็ถดถอย เพราะขาดการฝึกจิตที่จะข่มให้ชนะกระบวนการทางสมองแบบหลักสูตรเดิม หายไป  ไปเชื่อแนวคิดต่างชาติที่โลเลตลอด คิดว่าความบ้า ความหลงไหล ที่จะนำไปสู่ความแตกฉาน (Literlacy) คนไทยพร่ำสอนเรื่องจิตใจ กับสมองมันมันคนละมิติ แต่สามรถควบคุมจิต เพื่อให้สมองคิดในเชิงประสงค์ได้

     แม้จะปรับเป้าหมายของหลักสูตร ให้ความดีมาก่อนความเก่ง ก็ตาม ถ้าคุณยังเชื่อกระบวนการคิดทางสมองแบบที่กำลังแพร่หลายในไทย (ต่างชาติเขาเลิกแล้ว) นักการศึกษาไทยไปอ่านบทความหรืองานวิจัยของเด็ก ๆ ฝรั่งบ้าง จะหูตาสว่างขึ้น เรายังพึ่งานวิจัยต่างชาติอยู่ ก็พึ่งต่อไป เพราะเราเชื่อว่า กระบวนการคิดเป็นสิ่งที่รอได้ ซื้อได้ หรือ ลอกเรียนแบบได้(เรียนรู้หลังเขา)

   จะสร้างผู้เรียนให้เป็นนักเรียนได้จะต้องปรับ แนวคิดความเชื่อกระบวนการคิดให้ทันยุกต์สมัย เพราะในอนาคตกระบวนการคิดอาจจะอยู่ในรูปแบบอื่นก็ได้ เพราะองค์ความรู้มนุษย์ยังค้นพบได้ไม่มีที่สิ้นสุด แต่กระบวนการคิด  หรือเครื่องมือที่จะนำไปสู่องค์ความรู้ที่เป็นอวิชานั้น มันต้องพัฒนาด้วยเช่นกัน

    การคิดในเชิงวิทยาศาสตร์จึงเป็นกระบวนการคิดที่มีรูปแบบที่พัฒนาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์มากที่สุด ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการคิดที่ฉายภาพของกระบวนการออกมาหลังจากปฏิกิริยาหรืออันตรกิริยา ทางสมองนั้น สังเกตได้จาก เช่น กระบวนการคิดเรื่องโจทย์ปัญหา ที่มี เทียน 2 เล่มขนาดเท่ากันทุกอย่าง แต่สีต่างกัน ด้วยคำถามที่ว่า เทียนเล่มใดให้แสงสว่างมากกว่ากัน

     ถ้าคิดในเงื่อนไขเดียวเรื่องความเท่ากัน  ก็จะตอบได้ว่าสว่างเท่ากัน แลพเด็กอีคนเห็นสีต่างกันตอบว่าต่างกัน ส่วนเด็กคนหนึ่ง เขาใช้สายตาเป็นเครื่องรับรู้ เห็น(รับรู้ทางประสาทสัมผัสตา) ความต่างในสี กระบวนการทางสมอง ที่เขาคนนั้นมีความรู้เดิม (pier knowlage) ชึ่งจะเป็นกระบวนการในการแก้ปัญญหาว่า สีของเทียนต่างกัน เนื้อเทียนน่าจะให้ผลความสว่างแตกต่างกัน(คำตอบที่ยังไม่ได้พิสูจน์ นี้ คือ การคิดในเชิงสมมุติฐาน) เขามีความเชื่อเรื่องการพิสูจน์ในรูปแบบที่น่าเชื่อถือได้ จะต้องทำอย่างไร กระบวนการคิดที่จะเกิดขึ้นต่อมาคือ กระบวนการคิดในการออกแบบ ในกระบวนการออกแบบนั้น จำเป็นต้องอาศัยความรู้เดิมอีเช่นเคย ในการคิดคำนึงถึงกระบวนการแห่งการคิดแบบยุติกรรม เพราะการคิดแบบพิสูจน์ว่าใครดีกว่าหรือเก่งกว่าจำเป็นต้องมีเงื่อนไขแห่งความเท่ากัน ตัวแปรในทางวิทยาศาสตร์จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการใช้กระบวนการพิสูจน์ที่น่าเชื่อถือได้อย่างมากที่สุด

      คนนี้เขาคิดแบบไตร่ตรองว่า ถ้าใช้เที่ยนที่มีเงื่อไขของตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม เพีบงเหตุการณ์การพิสูจน์ครั้งเดี่ยวก็จะไม่น่าเชื่อถือ เขาจึงคิดแบบการทดลองซ้ำ ได้ เรียกกว่าการคิดแบบไตร่ตรอง จากนั้นเขาคิดว่า ความสว่างของแสงวัดได้อย่างไร เครื่องมือวัด และทักษะการวัด จึงเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการคิด เมื่อเลือกเครื่องมือวัดได้แล้วนั้น ต่อมาการพิสูจน์ผลจึงเกิด แล้วเห็นว่าผลเป็นอย่างไร ทำไมผลจึงเป็นเช่นนั้น การคิดสรุปผลจึงบังเกิดขึ้น องค์ความรู้ที่ได้จากความต่างของสีเนื้อเทียนจึงเกิดขึ้น และมีค่ามากกว่าการอ่านผลงานที่ว่า เที่ยนสีต่างกันให้ความว่างต่างกัน องค์ความรู้สั้น ๆ ที่ตอนจบของเด็กสองในสามคนเห็นตรงกัน คุณคิดว่า ช้าเพราะมัวแต่ไปพิสูจน์อยู่นั้นแหละ เดี่ยวไม่ทันเขา มันมีคุณค่าต่างกันหรือไม่

     ถ้าคุณยังมีความเชื่อว่า ผู้เรียนวิทยาศาสตร์ให้อ่านเอาความรู้เลย ตอบแบบวิทยาศาสตร์ได้แน่นอน  จะพบว่า นักเรียนไทยส่วนมากไปเรียนอยู่เมืองนอกกลายเป็นเด็กนักเรียนที่สามารถสอบองค์ความรู้ได้ที่หนึ่งตลอด แต่กระบวนการแก้ปัญหา หรือทักษะกลับตกอย่างราบคาบ กว่าที่นักเรียนไทยจะได้เหรียญวิชาการ แสดงให้เห็นแล้วว่า กระบวนการคิด ตลอดจนความเชื่อเรื่องการเรียนรู้จากการอ่าน หรือรับรู้แบบไม่ได้ผ่านกระบวนการคิดแบบค้นพบ จึงทำให้เด็กไทยไม่พัฒนาอย่างที่คิดในปัจจุบัน 

    กระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์เกิดมีมานานแล้ว  และปัจจุบันก็ยังใช้อยู่เปลี่ยนแปลงไม่มาก สมัยพระพุทธเจ้า พระองค์ใช้กระบวนการที่สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์มากที่สุดในกระบวนการคิดแห่งการมรรคผล ในรูปแบบทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

   ทำอะไรอย่าคิดเพียงอย่างเดี่ยวกระบวนการคิดจะสำเร็จนั้นจะต้องดำเนินไปควบคู่กับกระบวนการกระทำ Learning by doing น่าจะเป็นคำที่ใช้ได้ในปัจจุบัน  คุณจะอ้างว่า  doing ใช้งบประมาณมาก doing ใช้เวลามาก  หลักสูตรเรียนเร่งรัดไม่มีในโลก  แต่ในไทยมี เรียน ไม่กีปีจบปริญญา เราขาดการเรียนรู้แบบคุณธรรม  ครูสมัยก่อนสอนคุณธรรม หรือการคิดในเชิ่งยุติธรรม ในเชิงมานะ บากบั่น อดทน ให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ แค่ 4 ปี หรือ ป.4 ที่เรามองว่าเป็นหลักสูตรที่ครูสมัยก่อนไม่มีคัมภีร์ ที่สอนแต่จิต และเครื่องมือแห่งการเรียนรู้ ที่ครูสมัยก่อนบอกกว่า ครูมีความรู้เท่านี้แหละ นอกนั้นครูเชื่อว่าเธอจะหาเองได้และอาจจะมากกว่าครูด้วยซ้ำ นักเรียนป4 ได้แต่เครื่องมือชีวิตมา ที่ถูกฝึกแต่เคื่องมือมานะ บากบั่น อดทน ยุติธรรม จึงกลายเป็นเครื่องมือที่เอาตัวรอดได้ในปัจจุบัน ดั่งคำสอนแห่งพุทธองค์ที่ยังคงได้ในปัจจุบัน

หมายเลขบันทึก: 61928เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2006 23:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท