มั่นคงแบบ"ดอระดัด"


"ความมั่นคงทางอาหารสร้างได้ด้วยตัวเรา" ไม่ได้เป็นสิ่งใหม่แต่เป็นการดำรงชีพแบบวิถีไทย....ขอเก็บเรื่องราวของ"ดอระดัด"ผักพื้นบ้านที่ใคร ๆ อาจจะเลือนลืม มาบันทึกเอาไว้บนสมุดออนไลน์เล่มนี้...มาร่วมกัน"อนุรักษ์ผักพื้นบ้าน"ไปพร้อม ๆ กับครอบครัวเล็ก ๆ ของเรานะคร้าบ!!!!!!

-"ความมั่นคงทางอาหาร"ณ เวลานี้ดูจะเป็นเรื่องที่กำลังกล่าวถึงกันมากขึ้นนะครับ...อาจจะด้วยสภาวะแห่งการก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติบนโลกใบนี้ ทำให้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเราเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ในทางการพัฒนามันอาจจะหมายถึงความเจริญ/ความก้าวหน้า/ความสะดวกสบาย ฯลฯ ซึ่งก็ตามแต่ผู้ใดจะให้ความหมายไปทางไหน...ในทางกลับกันก็อาจจะเป็นการลดทอนแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือแหล่งอาหารต่าง ๆ ให้ลดน้อยถอยลงไป สิ่งนี้ก็ถือว่าเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจและเป็นแง่คิดตามในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นบนโลกแห่งความเป็นจริงเช่นนี้ครับ...สำหรับตัวผมแล้วได้รับรู้และร่วมแลกเปลี่ยนในเรื่องของ"ความมั่นคงทางอาหาร"มาบ้าง และสิ่งหนึ่งที่ตั้งใจที่จะทำก็คือ"การปรับเปลี่ยน"วิถีแห่งการดำรงชีพให้พึ่งพา พึ่งพิง ธรรมชาติให้มากที่สุดครับ....เอาล่ะครับ..บันทึกนี้ถือเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับครอบครัวเล็ก ๆ ของผม ที่จะนำเอาสิ่งรอบตัวมาบันทึกเอาไว้ จะเกี่ยวข้องกับ"ความมั่นคงทางอาหาร"หรือเรื่องใดบ้าง ก็แล้วแต่ผู้อ่านจะมองเห็นเป็นดังเช่นนั้น คร้าบ!!!!!



1.หลังจากเกี่ยวข้าวในนาแปลงเล็ก ๆ ของเราแล้ว ตามบันทึกนี้ ข้าวขวัญ..พัทลุง ในนาข้าวยังมี"ผักพื้นบ้าน"นามว่า"ตาลปัตรฤาษี/ผักก้านจอง หรือชื่ออื่น ๆ "แต่บ้านผม(ภาคเหนือ,ลำปาง,เถิน,สุขสวัสดิ์)จะเรียกว่า"ดอระดัด"ครับ...เกี่ยวกับข้อมูลผักชนิดนี้เคยมีสมาชิก G2K ได้บันทึกเอาไว้แล้วตามบันทึกนี้ครับ ผักก้านจอง หรือ ตาลปัตรฤาษี โดย กอหญ้า G2K และเย็นวานนี้ผมก็ได้ไปเก็บ"ดอระดัด"ซึ่งอยู่บริเวณนาข้าวข้าง ๆ บ้านมาทำเมนูลิ้มลอง ว่าแต่จะเป็นเมนูอะไรนั้น..ตามผมไปชมพร้อมๆ กันได้เลยคร้าบ!!!!




2."ดอระดัด"กำลังชูช่ออวบๆ และออกดอก"ให้ผมได้เก็บมาทำอาหารในวันนี้ครับ "ดอระดัด"ที่กำลังเห็นอยู่นี้่"ผม"กับ "ลุงวร"ได้นำมาปลูกเอาไว้เองครับ...เป็นเพราะความชอบส่วนตัวของตัวผมเองที่ต้องการนำเอาผักพื้นบ้านต่าง ๆ มาเก็บเอาไว้ในพื้นที่เล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ให้มากที่สุด และเมื่อถึงฤดูกาลนั้น ๆ เราก็จะมีแหล่งอาหารมาหล่อเลี้ยวชีพเราได้อย่างไม่เดือดร้อนครับ....



3.ความจริงแล้ว หากผู้อ่านท่านใดเคยได้ลิ้มลอง"ผักดอระดัด"แล้ว ก็จะทราบถึงวิธีการนำมาทำอาหารประเภทต่างๆ โดยพื้น ๆ แล้วก็จะนำมา"ลวกจิ้มน้ำพริก/แกงส้ม/ใส่ส้มตำ/ผัดน้ำมัน"โดยเนื้อสัมผัสของ"ดอระดัด"เมื่อสุกแล้วจะ"นิ่มๆ "สำหรับรสชาติก็จะมีรส"ขมนำหวานตาม"ครับ..แต่วันนี้ผมจะนำเอา"ดอระดัด"มาทำ"ยำดอระดัด"ครับ...ดังนั้นผมจึงเริ่มด้วยการ"ลวกดอระดัด-แช่น้ำเย็น-หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ"ก่อนที่จะทำการปรุงน้ำยำครับ...



4.สำหรับ"น้ำยำ"นั้น ก็ไม่มีอะไรมาก ซึ่งผมก็ได้นำเอาภาพมาบันทึกเอาไว้ให้ได้ติดตามชมกันแล้ว หากผู้อ่านท่านใดจะทำตามก็สมารถทำได้เลยครับ..เมนูง่ายๆ ที่ผมมักจะบอกเอาไว้อยู่เสมอๆ ว่า"ใคร ๆ ก็ทำได้"คร้าบ!!!!!!


5.และนี่ก็คือหน้าตาของ"ยำดอระดัด"ครับ..สรรพคุณทางสมุนไพรเขาบอกเอาไว้ว่า"แก้ไข้หัวลม" และสิ่งนี้่นี่เองที่ผมถือว่าธรรมชาติได้สรรสร้างสิ่งต่างๆ เอาไว้อย่างลงตัว เพียงแต่เราจะรู้หรือไม่ก็เท่านั้น...ภูมิปัญญาแบบไทยๆ ส่งต่อได้ด้วยตัวเรานะคร้าบ......

"ความมั่นคงทางอาหาร สร้างได้ด้วยตัวเรา"

สำหรับวันนี้..

สวัสดีครับ

เพชรน้ำหนึ่ง + มดตะนอย

23/11/2559

Hi Hug House@หนองราง

คำสำคัญ (Tags): #ดอระดัด#ผักก้านจอง#ตาลปัตรฤาษี#ไร่เกษตร#เจ้าพนักงานเคหกิจเกษตร#ความมั่นคงทางอาหาร#ความมั่นคง#อาหารเพื่อสุขภาพ#ความสุข#บ้านไร่#บ้านฉัน#บ้านหนองราง#อำเภอพรานกระต่าย#จังหวัดกำแพงเพชร#กรมส่งเสริมการเกษตร#g2k#Change to the Best#foods#อาหารไทย#อนุรักษ์ผักพื้นบ้าน#ผักพื้นบ้าน#การทำนา#เศรษฐกิจพอเพียง#ตามรอยเท้าพ่อ#เกษตรทฤษฎีใหม่#บุญส่ง จอมดวง#ปรียารัตน์ จอมดวง#ยำดอระดัด#ยำผักก้านจอง#ยำตาลปัตรฤาษี#ภัตตาคารบ้านทุ่ง#การปลูกผักก้านจอง#เกษรบ้านพราน#เมนูพื้นบ้าน#อำเภอเถิน#ลำปาง#กอหญ้า#ระเบียบ ปิมวงศ์#สมุนไพรไทย#ไข้หัวลม#ภูมิปัญญาท้องถิ่น#ภูมิปัญญา#ท่องเที่ยวเชิงเกษตร#เกษตรกรรม#ลูกชาวนา
หมายเลขบันทึก: 619037เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2016 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2016 11:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดคีครับ ดูรายละเอียดถ้าได้ลิ้มชิมรสทันทีทัก็ดีเนาะ เคยพบจะใช่หรือเปล่าในท้องทุ่ง ถ้าพบจะนำไปยำบ้างสักชาม ยิ่งทราบว่ามีรสขมปนอยู่ด้วย แสดงถึงความเป็นยามีแน่นอนครับ

เคยกินครับ ตอนไปกินส้มตำ กินเป็นผักสด ต้องเป็นร้านคนอิสานนะครับ จะมีผักชนิดนี้ และผักอื่น ๆ ที่แปลกและกินอร่อยครับ

หวัดดีน้องเพชร

สัก สาม สี่สิบปีก่อน แถว ๆ ในนา

บ้านพี่ ก็เคยมีผักแบบนี้นะ แต่ตอนนี้

นาข้าวกลายเป็น..นากุ้ง...ไม่มีผักนี้แล้ว

จะเห็นมีก็แต่ " ผักชะคราม" มาแทนที่จ้ะ

คิดถึงน้องเพชร น้องมดนะจ๊ะ



ดอระดัด ใครหนอช่างคิดตั้งชื่อ น่าจะเคยเห็นในแกงแครึเปล่าไม่แน่ใจ แต่ในรูปน่าทานน่าอร่อยยิ่งนัก

สวัสดีครับ
ยอมรับว่าไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จักมาก่อนเลย
อ่านเอนทรี่นี้จึงได้รู้สรรพคุณ
ยำ ดอระดัด น่าลองลิ้มชิมรส มากมาย

ขอบคุณครับ

ใช่ครับ การนิยามความหมาย เป็นได้ทั้งเหมือนแลต่างกัน

ความเจริญ/ความก้าวหน้า/ความสะดวกสบาย.

สามคำนี้ ....ก็ชวนคิดตามไม่ใช่ย่อยครับ เป็นพลวัต แค่อย่างว่าครับ เหรีญมีสองด้าน สามคำนี้ก็มีความหมายมากกว่าสองมุมด้วยเช่นกัน

ขอบพระคุณครับ

ไม่เคยเอามายำเลย

ปกติกินจิ้มน้พพริกจะลองเอามาทำยำดูนะครับ

ขอบคุณมากๆครับ

-สวัสดีครับอาจารย์ธนา

-ในท้องทุ่งมีอาหารหล่อเลี้ยงเราได้อยู่ทุกช่วงฤดูกาลครับ

-ยินดีที่ได้แบ่งปันเรื่องราวดี ๆ แบบนี้ออกไป

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจบันทึกนี้ครับ

-สวัสดีครับอาจารย์ Wasawat

-เป็นเมนูที่คิดมาใหม่...น่าจะถูกใจวัยสะรุ่นครับ 555

-ขอบคุณอาจารย์ที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจครับ

-สวัสดีครับคุณ nobita

-เป็นผักพื้นบ้านที่คนทางภาคเหนือและภาคอีสานได้ใช้เป็นอาหารหล่อเลี้ยงชีวิตครับ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจบันทึกนี้ครับ

-สวัสดีครับพี่ครูมะเดื่อ

-มีผักหลายชนิดที่บ้านพี่ครูหายไปแล้ว

-ดีใจจัง..ที่บ้านของผมมีครับ

-ยินดีที่ได้แบ่งปันประสบการณ์ชีวิตดี ๆ นี้ครับพี่ครู

-รอต้อนรับพี่ครูครับ

-สวัสดีครับอาจารย์ GD

-เป็นชื่อพื้นถิ่นของบ้านผมครับ

-ได้โอกาสเหมาะ ๆก็เลยขอนำเอาชื่อผักพื้นบ้านนามว่า"ดอระดัด"มาฝากบันทึกเอาไว้ให้คนได้รู้จักน่ะครับ

-ขอบคุณครับ

-สวัสดีครับลุงชาติ

-ถือเป็นความสำเร็จอีกประการหนึ่งที่ได้เผยแพร่ผักชนิดนี้ และทำให้คนทั่วไปได้รู้จักครับอาจารย์

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมชมบันทึกนี้ครับ

-สวัสดีครับอาจารย์แผ่นดิน

-แง่มุมต่างๆ เป็นแง่มุมแห่งความคิด+ประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคนนะครับ

-แง่ต่าง ๆ ทำให้ได้คิดตามได้มากมาย

-ขอบคุณที่มาร่วมแชร์และเพิ่มความอิ่มอุ่นใจในบันทึกนี้นะครับ

-สวัสดีครับอาจารย์ขจิต

-เมนูลวกจิ้มน้ำพริก ถือเป็นเมนูที่คนส่วนใหญ่ได้ลิ้มลองครับ

-ลองเอามายำๆ ดูก็อร่อยดีครับ

-ขอบคุณอาจารย์ที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจบันทึกนี้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท