​บทวิพากษ์ หลักการพื้นฐาน 3 หลัก ที่มีพลังสูง ในการแยกพระ เก๊-แท้


บทวิพากษ์ หลักการพื้นฐาน 3 หลัก ที่มีพลังสูง ในการแยกพระ เก๊-แท้

-----------------------------------------------
1. หลัก 3(123) เหี่ยว ฉ่ำ นวล
2. หลัก 7 งอกหลากอายุ บนจุดกร่อน และ
3. หลัก 3+2 (ผง) ปูนสุก ปูนดิบ น้ำมัน เหี่ยว พรุน ในทุกตารางมิลลิเมตร
...........................................
ที่เกิดและ ยืนบนฐานคิดเดียวกัน
ใครจะเลือกใช้อะไรก็ได้ ตามถนัดครับ
***************************************************
อนุสนธิ จากการทดสอบระดับความรู้ความสามารถของคนที่เข้ามาเรียนรู้ วิธีการแยก แท้ เก๊ พระทุกเนื้อ พบว่า.......
------------------------------------------------
นักเรียนจำนวนมาก ถนัดใช้หลักการกลาง ที่ใช้ได้กับทุกเนื้อ

ใน "หลัก 3(123)" คือ เหี่ยว ฉ่ำ นวล
.......................................................
เพราะ หลักเดียวนี้ ใช้ได้กับทุกเนื้อ ทั้ง ดิน หิน ชิน ผง ว่าน ฯลฯ

โดยเฉพาะ เมื่อใช้คล่องแล้ว จะสามารถรวบความรู้ เข้าหาหลัก 2 (123) คือ การงอกหลากอายุ ความใหม่แทรกซ้อนในความเก่า ได้เป็นอย่างดี

หลักการนี้ เมื่อใช้คล่องจริงๆแล้ว จะสามารถ ขมวดปมหลักการนี้ เข้าหา หลัก 1(123) คือ "ดูความเก่าให้เป็น" หรือที่วงการใช้คำว่า "ความเป็นธรรมชาติ" ได้อีกด้วย

ถือว่าเป็นหลักที่มีพลัง เริ่มต้นได้ง่ายและเชื่อมโยงไปสู่ความก้าวหน้า และพัฒนาสู่ความรู้องค์รวม ได้ง่าย
-------------------------------------------------------

ในหลักรวมนี้ สำหรับท่านที่เริ่มใหม่ ขอแนะนำให้ใช้หลัก 7 เพราะเป็นการตัดตอน หลัก 3(123) มาใช้เฉพาะ การกร่อน-การงอก ในจุดเดียวกัน ที่เป็นเรื่องที่สังเกตได้ง่ายกว่า ว่าพระแท้ ที่มีอายุพอสมควร ควรจะมีการกร่อนบนจุดนูน ขอบ และ จุดสูง (ที่ใช้ตวจสอบเอกลักษณ์ของ "พุทธศิลป์" ได้อีกด้วย)

ที่เป็นเรื่องสังเกตง่ายๆ ในจุดสำคัญ ที่ควรจะมีการกร่อน และ งอก อย่างชัดเจน จึงจะถือว่าเก่า และ มีอายุยาวนานพอสมควร

ถ้าไม่กร่อน ก็อาจจะเป็นพระสวย ดูยาก แต่ถ้าไม่งอกเลย น่าจะเป็นพระงานฝีมือ ค่อนข้างแน่นอนครับ

-----------------------------------------------------------
สำหรับพระเนื้อผง ที่มีการงอกของเนื้อปูน ทั้ง 2 ชนิด อย่างแน่นอน เพื่อการสร้างความแกร่งของผิว และเนื้อ อย่างเป็นปกติธรรมดาของปูน นั้น
จะสามารถใช้หลักการที่ผมกำหนดขึ้นต่างหาก คือ 3+2

ที่เป็น 3 แบบของการงอกของปูนสุก ปูนดิบ และน้ำมัน ในทุกตารางมิลลิเมตร ที่จะทำให้เกิด อีก +2 ลักษณะ คือ ความเหี่ยว และ มีความพรุนโดยทั่วไปทั้งองค์ ในพื้นที่ 1 ตารางมิลลิเมตร เช่นกัน
ที่อาจจะต้องอาศัยจินตนาการค่อนข้างมาก เสริมต่อจากที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือส่องด้วยเลนส์ส่องพระทั่วไป

แต่คนที่ใช้หลักนี้แล้ว จะสามารถก้าวผ่านงานฝีมือ ได้เกือบ 100%
ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า หลัก 3 (123) เหี่ยว ฉ่ำ นวล อย่างแน่นอน เพียงแต่อาจจะยากกว่าในการเรียนรู้ เท่านั้นเอง

การจะดูหลัก 3+2 นั้น ส่วนใหญ่ เราก็ต้องเล็งไปที่จุดเรียบๆ มองได้ง่าย กร่อนมาไม่นาน สามารถสังเกตการงอกใหม่ๆ แบบ 3+2 ได้โดยง่าย

ในที่สุด ก็กลับไปหาฐาน หลัก 7 และ ประกบกับหลัก 3 นั่นเอง
---------------------------------------------------------
จึงอาจจะกล่าวได้ว่า ทั้ง 3 หลัก ดังกล่าว มี ฐานคิด มาจากหลักเดียวกัน ก็คือ การกร่อน การงอก หลากแบบ ในพระแท้ และมีอายุ เท่านั้นเอง

เลือกใช้ตามถนัดเลยครับ
+++++++++++++++++++

หมายเลขบันทึก: 618695เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2016 14:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2016 14:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท